ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“เขตอำนาจพนักงานสอบสวน”

เจ้าหน้าที่ตำรวจสนง. ตรวจคนเข้าเมืองจับกุมผู้ต้องหาซึ่งเป็นคนต่างด้าวพร้อมยึดหนังสือเดินทางซึ่งมีใบปะตรวจลงตราปลอมในท้องที่ สน. อุดมสุข ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง นำส่งพนักงานสอบสวน สนง.ตรวจคนเข้าเมืองและพนักงานสอบสวน ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดในภายหลังให้ทำการสอบสวน ได้ฝากขังผู้ต้องหาที่ศาลอาญา และส่งสำนวนไปยังสนง. อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้(พระโขนง) ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าสนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้(พระโขนง)จะรับสำนวนไว้เพื่อส่งต่ออัยการสูงสุด และจะมีอำนาจดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดพระโขนงได้หรือไม่นั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาสถานที่ตั้งของพนักงานสอบสวนซึ่งอยู่ที่สนง.ตรวจคนเข้าเมือง(ซอนสวนพูล) ก็ไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพระโขนง ทั้งพนักงานสอบสวนก็ไม่ได้ทำการสอบสวนส่วนหนึ่งส่วนใดอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง ส่วนการจับกุมและการยึดหนังสือเดินทางได้กระทำที่ สน.อุดมสุขซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนงโดยเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจสนง.ตรวจคนเข้าเมืองคนอื่น ซึ่งไม่ใช่พนักงานสอบสวน ทั้งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนจะรับตัวผู้ต้องหาไว้ทำการสอบสวน จะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนยังไม่ได้ ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะฟ้องผู้ต้องหาที่ศาลจังหวัดพระโขนง แต่หากพนักงานอัยการสนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้(พระโขนง)จะไม่รับสำนวนไว้และให้พนักงานสอบสวนนำสำนวนส่งพนักงานอัยการที่มีอำนาจก็จะทำให้พนักงานอัยการที่มีอำนาจไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาได้ทันในกำหนดครบขังครั้งสุดท้ายเพราะพนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนการสอบสวนมาให้พนักงานอัยการอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้(พระโขนง)ในวันครบกำหนดฝากขังครั้งสุดท้าย หากคืนสำนวนให้พนักงานสอบสวนรับไปส่งพนักงานอัยการที่มีอำนาจแล้วจะไม่สามารถฟ้องได้ทันในวันกำหนดครบขังครั้งสุดท้ายและต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป ผู้ต้องหาอาจหลบหนีออกนอกราชอาณาจักรไม่สามารถนำตัวมาดำเนินคดีได้ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ พิจารณาแล้วเห็นว่า ความผิดฐานปลอมแผ่นปะตรวจลงตราเป็นความผิดนอกราชอาณาจักรต้องฟ้องต่อศาลอาญาหรือศาลที่การสอบสวนได้กระทำลงซึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพระโขนง และความผิดฐานใช้แผ่นปะตรวจลงตราปลอมก็อยู่ในท้องที่สน.ดอนเมือง ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนงเช่นกัน แต่การที่เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาได้พร้อมหนังสือเดินทางที่มีแผ่นปะตรวจลงตราปลอมต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับเป็นความผิดในราชอาณาจักรและอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้แจ้งข้อหาใช้แผ่นปะตรวจลงดวงตราปลอมซึ่งเกิดในเขต สน. อุดมสุขแก่ผู้ต้องหา แต่พนักงานสอบสวนได้แจ้งพฤติการณ์ในบันทึกคำให้การผู้ต้องหาแล้วว่าเจ้าพนักงานจับผู้ต้องหาได้พร้อมหนังสือเดินทางของกลาง เมื่อพนักงานอัยการเห็นว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นอีกนอกจากที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก็มีอำนาจยื่นฟ้องในความผิดดังกล่าวได้ เมื่อความผิดฐานใช้แผ่นปะตรวจลงตราปลอมเกิดในท้องที่สน. อุดมสุข โดยไม่ต้องให้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมอีก คำพิพากษาฏีกา ๑๘๑๖/๒๕๕๒,๒๕๖/๒๕๕๓ และกรณีนี้ถือว่าความผิดฐานปลอมแผ่นปะตรวจลงตราซึ่งเป็นความผิดนอกราชอาณาจักร และความผิดฐานใช้แผ่นปะดวงตราปลอม เกิดในท้องที่สน.ดอนเมือง และสน.อุดมสุข ซึ่งเป็นความผิดที่เกิดในราชอาณาจักร เป็นความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ตามปวอ. มาตรา ๒๔(๑) ความผิดดังกล่าวมีอัตราโทษเท่ากัน(ปอ. มาตรา ๒๖๙/๑๒และ๒๖๙/๑๓) ศาลที่มีอำนาจชำระคือศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดในความผิดเกี่ยวพันนั้นก่อน ปวอ. มาตรา ๒๔วรรคท้าย จึงสามารถยื่นฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหาที่ศาลจังหวัดพระโขนงได้ จึงรับสำนวนการสอบสวนส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาตามระเบียบการดำเนินคดีอาญา ฯ และอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพ ๗ ดำเนินคดีจนถึงที่สุด ซึ่งพนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพ ๗ ได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหารวมถึงข้อหาใช้แผ่นปะตรวจลงตราปลอมที่เกิดในเขตท้องที่สน. อุดมสุข ต่อศาลจังหวัดพระโขนง และศาลได้รับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว
ข้อสังเกต๑. อำนาจในการสอบสวนต้องกระทำในท้องที่ความผิดเกิด อ้าง หรือเชื่อว่าเกิดในเขตท้องที่ตน หรือที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับในเขตอำนาจตน ปวอ. มาตรา ๑๘ เมื่อความผิดเกิด เชื่อ หรืออ้างว่าเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลใด ให้ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณา เว้นแต่ จำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่ง หรือเมื่อเจ้าพนักงานทำการสอบสวนในท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลนั้น จะชำระซึ่งศาลซึ่งท้องที่นั้นๆอยู่ในเขตอำนาจก็ได้ และหากเป็นกรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ให้ชำระคดีที่ศาลอาญา หากการสอบสวนได้กระทำในท้องที่ใดซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลใด ให้ดำเนินคดีที่ศาลนั้นได้ ปวอ. มาตรา ๒๒
๒.ในความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทย ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักร อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือจะมอบหมายให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบแทนก็ได้ โดยในการมอบหมายให้พนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้ ปวอ. มาตรา ๒๐
๓.พนักงานสอบสวน สน.ดอนเมือง ต้องส่งสำนวนการสอบสวนให้สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๘ (ถนนรัชดาภิเษก)ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลอาญา พนักงานสอบสวนตรวจคนเข้าเมืองต้องส่งสำนวนการสอบสวนให้ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑๒(ตั้งอยู่ที่ถนนสีหบุรานุกิจ เขตมีนบุรี กทม)หรือสนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑๐ (ถนนรัชดาภิเษก)แล่วแต่ความผิดเกิดในท้องที่ใด พนักงานสอบสวน สน.อุดมสุขต้องส่งสำนวนการสอบสวนให้สนง. อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ๗(พระโขนง) ตั้งอยู่ที่อาคารรพระโขนง อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง เพื่อ พิจารณา
๔. ความผิดฐานปลอมแผ่นปะตรวจลงตรา(วีซ่า)ของสถานทูตไทยในประเทศมาเลเซีย ความผิดเกิดในประเทศมาเลเซีย ส่วนความผิดข้อหาใช้แผ่นปะลงตราปลอมต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานดอนเมือง เหตุเกิดในเขต สน.ดอนเมือง ต่อมามีการจับกุมผู้ต้องหาได้ที่สน. อุดมสุข ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง พนักงานสอบสวนได้ขอฝากขังที่ศาลอาญา และส่งสำนวนการสอบสวนมาให้พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้(พระโขนง) ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง ซึ่งตามปวอ. มาตรา ๒๒ ความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ให้ดำเนินคดีที่ศาลอาญา ซึ่งก็เป็นไปตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังไว้คือขอฝากขังที่ศาลอาญา แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการที่อยู่ในเขตอำนาจศาลอาญาคือไม่ได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑๐ แต่ส่งสำนวนการสอบสวนมาที่สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้(พระโขนง)ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนงโดยอาศัยความในตอนท้าย ปวอ. มาตรา ๒๒(๒)ตอนท้ายว่า หากการสอบสวนได้กระทำในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลใด ให้ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาได้ด้วย แต่เมื่อพิจารณาสถานที่ตั้งของพนักงานสอบสวนซึ่งอยู่ที่สนง.ตรวจคนเข้าเมือง(ซอนสวนพูล) ก็ไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพระโขนง ทั้งพนักงานสอบสวนก็ไม่ได้ทำการสอบสวนส่วนหนึ่งส่วนใดอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง ส่วนการจับกุมและการยึดหนังสือเดินทางได้กระทำที่ สน.อุดมสุขซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนงโดยเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจสนง.ตรวจคนเข้าเมืองคนอื่น ซึ่งไม่ใช่พนักงานสอบสวน ทั้งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนจะรับตัวผู้ต้องหาไว้ทำการสอบสวน จะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนยังไม่ได้ ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะฟ้องผู้ต้องหาที่ศาลจังหวัดพระโขนงได้
๔.แต่หากพนักงานอัยการสนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้(พระโขนง)จะไม่รับสำนวนไว้และให้พนักงานสอบสวนนำสำนวนส่งพนักงานอัยการที่มีอำนาจ(พนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑๐ )ก็จะทำให้พนักงานอัยการที่มีอำนาจไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาได้ทันในกำหนดครบขังครั้งสุดท้ายเพราะพนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนการสอบสวนมาให้พนักงานอัยการอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้(พระโขนง)ในวันครบกำหนดฝากขังครั้งสุดท้าย หากคืนสำนวนให้พนักงานสอบสวนรับไปส่งพนักงานอัยการที่มีอำนาจแล้วจะไม่สามารถฟ้องได้ทันในวันกำหนดครบขังครั้งสุดท้าย เมื่อไม่ฟ้องภายในกำหนดวันครบขังครั้งสุดท้าย พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลไม่มีอำนาจในการควบคุมตัวผู้ต้องหาต้องปล่อยตัวผู้ต้องหา ซึ่งเมื่อปล่อยตัวผู้ต้องหาแล้วก็จะไม่มีตัวผู้ต้องหามาศาล ผู้ต้องหาจะหลบหนีซึ่งไม่แน่ว่าจะสามารถจับกุมตัวได้หรือไม่อย่างไรหรือจะสามารถจับกุมตัวได้เมื่อไหร่ จะเกินอายุความฟ้องร้องหรือไม่อย่างไร เมื่อไม่มีตัวผู้ต้องหามาศาลพร้อมฟ้องศาลก็จะไม่รับฟ้องของพนักงานอัยการ เพราะในการยื่นฟ้องของพนักงานอัยการต้องมีตัวผู้ต้องหามาส่งศาลพร้อมฟ้อง เว้นแต่ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้วเช่นถูกฝากขังอยู่ในอำนาจศาล หรือได้รับการประกันตัวไปในระหว่างฝากขังของศาล กรณีนี้ไม่ต้องมีตัวผู้ต้องหามาส่งพร้อมฟ้อง
๕.ความผิดฐานปลอมแผ่นปะตรวจลงตรา(วีซ่า)เป็นความผิดนอกราชอาณาจักรต้องฟ้องต่อศาลอาญาหรือศาลที่การสอบสวนได้กระทำลงซึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพระโขนง ส่วนความผิดฐานใช้แผ่นปะตรวจลงตราปลอมก็อยู่ในท้องที่สน.ดอนเมือง ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนงเช่นกันเพราะมีการใช้แผ่นปะตรวจลงตราปลอมในเขตท้องที่สน.ดอนเมือง แต่การที่เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาได้พร้อมหนังสือเดินทางที่มีแผ่นปะตรวจลงตราปลอมต่อเจ้าพนักงาน ตำรวจผู้จับเป็นความผิดในราชอาณาจักรและอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระโขนง แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้แจ้งข้อหาใช้แผ่นปะตรวจลงดวงตราปลอมซึ่งเกิดในเขต สน. อุดมสุขแก่ผู้ต้องหา คือถือว่ายังไม่ได้มีการสอบสวนผู้ต้องหาในข้อหานี้แก่ผู้ต้องหาเพื่อที่จะมีอำนาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดพระโขนงได้ก็ตาม
๕.แต่เมื่อพนักงานอัยการเห็นว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นอีกนอกจากที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา(พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอมตาม ปอ. มาตรา ๒๖๔,๒๖๕,๒๖๘ )และทำการสอบสวนมาในความผิดดังกล่าว แต่พนักงานอัยการเห็นว่าการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดฐานปลอมและใช้แผ่นปะดวงตราดวงปลอมอีกตาม ปอ. มาตรา ๒๖๙/๑๒และ๒๖๙/๑๓ ก็มีอำนาจยื่นฟ้องในความผิดอื่นดังกล่าวอีกได้ เมื่อความผิดฐานใช้แผ่นปะตรวจลงตราปลอมเกิดในท้องที่สน. อุดมสุข จโดยไม่ต้องให้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมอีก ซึ่งมีคำพิพากษาฏีกา ๑๘๑๖/๒๕๕๒,๒๕๖/๒๕๕๓รองรับในเรื่องนี้ไว้ โดยในคำพิพากษาฏีกาดังกล่าววินิจฉัยว่าเมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเรื่องการปลอมและใช้เอกสารปลอมแล้วและแจ้งข้อหาเกี่ยวกับความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมแล้ว แม้ต่อมาปรากฏว่าพนักงานอัยการพิจารณาเห็นว่ายังเป็นความผิดฐานปลอมและใช้แผ่นปะลงตราปลอม(วีซ่า)ตาม ปอ. มาตรา ๒๖๙/๑๒และ๒๖๙/๑๓ อันเป็นความผิดฐานอื่นนอกจากที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหามาแล้ว พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องในข้อหา ปลอมและใช้แผ่นปะลงตราปลอม(วีซ่า)ได้โดยไม่ต้องให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมในข้อหาปลอมและใช้แผ่นปะลงตราปลอม(วีซ่า) อีก
๖.กรณีนี้ถือว่าความผิดฐานปลอมแผ่นปะตรวจลงตราซึ่งเป็นความผิดนอกราชอาณาจักร และความผิดฐานใช้แผ่นปะดวงตราปลอม เกิดในท้องที่สน.ดอนเมือง และสน.อุดมสุข ซึ่งเป็นความผิดที่เกิดในราชอาณาจักร เป็นความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ตามปวอ. มาตรา ๒๔(๑) ความผิดดังกล่าวมีอัตราโทษเท่ากัน(ปอ. มาตรา ๒๖๙/๑๒และ๒๖๙/๑๓) ศาลที่มีอำนาจชำระคือศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดในความผิดเกี่ยวพันนั้นก่อน ปวอ. มาตรา ๒๔วรรคท้าย จึงสามารถยื่นฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหาที่ศาลจังหวัดพระโขนงได้ จึงให้รับสำนวนการสอบสวนส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาตามระเบียบการดำเนินคดีอาญา ฯ และอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพ ๗ ดำเนินคดีจนถึงที่สุด ซึ่งพนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพ ๗ ได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหารวมถึงข้อหาใช้แผ่นปะตรวจลงตราปลอมที่เกิดในเขตท้องที่สน. อุดมสุข ต่อศาลจังหวัดพระโขนง และศาลได้รับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว
๗.ปัญหาที่เกิดคือ พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนในครบขังครั้งสุดท้ายและส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการผิดสถานที่ หากคืนสำนวนการสอบสวนให้พนักงานสอบสวนรับไปดำเนินการให้ถูกต้อง อาจเกิดความเสียหายต่อทางราชการได้เพราะพนักงานอัยการที่มีอำนาจไม่สามารถพิจารณาเรื่องนี้ได้ทันภายในกำหนดครบขังครั้งสุดท้าย ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าน่าจะแก้กฎหมายโดยกำหนดลงไปว่าให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณาอย่างน้อย ๑ ระยะเวลาการฝากขังคือ ๑๒ วัน(ในศาลอาญาหรือในศาลจังหวัด) หรือ ๖ วันในศาลแขวงหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลแขวง โดยมีบทลงโทษว่าหากพนักงานสอบสวนส่งสำนวนล่าช้ากว่ากำหนดให้เป็นความผิดตามกฎหมายและมีอัตราโทษจำคุกหรือปรับไว้ ทางปฏิบัติบางครั้งส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการในวันสุดท้ายของฝากที่ ๗ คือส่งในวันที่ ๘๔ พอดี แล้วพนักงานอัยการจะอ่านสำนวนได้ทันอย่างไร พนักงานสอบสวนบางคนก็สอบสวนไม่ได้เรื่อง(ใช้คำว่าพนักงานสอบสวนบางคนนะครับ) หากจะสั่งสอบสวนเพิ่มเติมหรือให้นำพยานมาให้พนักงานอัยการซักถามก็จะเลยกำหนดฝากขัง หรือผลัดฟ้องฝากขัง(ในศาลแขวง)ครั้งสุดท้าย ซึ่งศาลไม่มีอำนาจในการควบคุมตัวผู้ต้องหาต้องปล่อยผู้ต้องหาไป เมื่อปล่อยตัวไปแล้วยากที่จะสามารถจับกุมตัวได้อีก กลายเป็นว่าไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ครั้นจะฟ้องไปทั้งสำนวนบกพร่อง ก็จะไปถูกยกฟ้องที่ศาล ทำให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับโทษตามที่ตัวเองกระทำ จึงมีทางแก้สองทางคือ ให้พนักงานอัยการเข้าไปคุมการสอบสวนในคดีสำคัญหรือในคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูง ๑๐ ปีขึ้นไป หรือมีบทกำหนดโทษพนักงานสอบสวนที่ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการในการฝากขังครั้งสุดท้ายโดยให้ถือเป็นความผิดอาญาไปเลย

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สำนวนควบฝาก 2 วันที่ 20 ธ.ค.62 พงส.ยื่นฝาก 3 สรุปสำนวนส่งอัยการในวันที่ 23 ธ.ค.62

อัยการแจ้งกับ พงส. ว่าขอรับลงรับสำนวนวันที่ 2 ม.ค. 63 เนื่องจาก

1 ไม่อยากมีสำนวนค้างปี
2 ลางานหมดแล้วทุดท่านแต่วันที่ 23 ธ.ค.62
3 ติดงานเลี้ยงปีใหม่

เป็นเช่นนี้ สมควรดำเนินการอย่างไรครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สำนวนครบฝาก 2 วันที่ 20 ธ.ค.62 พงส.ยื่นฝาก 3 สรุปสำนวนส่งอัยการในวันที่ 23 ธ.ค.62

อัยการแจ้งกับ พงส. ว่าขอรับลงรับสำนวนวันที่ 2 ม.ค. 63 เนื่องจาก

1 ไม่อยากมีสำนวนค้างปี
2 ลางานหมดแล้วทุดท่านแต่วันที่ 23 ธ.ค.62
3 ติดงานเลี้ยงปีใหม่

เป็นเช่นนี้ สมควรดำเนินการอย่างไรครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คดีควบคุมได้ 4 ฝาก

สำนวนครบฝาก 2 วันที่ 20 ธ.ค.62 - พงส.ยื่นฝาก 3 - สรุปสำนวนส่งอัยการในวันที่ 23 ธ.ค.62

อัยการแจ้งกับ พงส. ว่าขอรับลงรับสำนวนวันที่ 2 ม.ค. 63 เนื่องจาก

1 ไม่อยากมีสำนวนค้างปี
2 ลางานหมดแล้วทุกท่านแต่วันที่ 23 ธ.ค.62
3 ติดงานเลี้ยงปีใหม่

เป็นเช่นนี้ สมควรดำเนินการอย่างไรครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ที่แสดงความเห็นไป เพราะ อัยการมาร้องขอให้ พงส. ไปฝากขัง 4 แทน เพราะติดเที่ยว

มันคือความบกพร่องของใครกันครับ มองให้ถี่ถ้วน และอย่าเอาดีเข้าตัวแต่ฝ่ายเดียวครับ