ความผิดลหุโทษ
มาตรา 102 ความผิดลหุโทษ
คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 870/2496 นอกจากความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค
3 แล้ว มาตรา 102 ใช้ในกฎหมายอื่นด้วย ฉะนั้นความผิดตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ
ที่มีระวางโทษไม่เกินที่ระบุไว้ในมาตรา 102 ถือเป็นความผิดลหุโทษด้วย
มาตรา 103 บทบัญญัติในลักษณะ 1
ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดลหุโทษด้วย เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในสามมาตราต่อไปนี้
-
เหตุที่ต้องบัญญัติมาตรานี้
ก็เพราะจะใช้ มาตรา 17 กับความผิดลหุโทษในภาค 3 ไม่ได้ เนื่องจาก มาตรา
17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่น
มาตรา 104
การกระทำความผิดลหุโทษ ตามประมวลกฎหมายนี้
แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ตามบทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2516 ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้ผู้อ้างสิทธิว่าเป็นเจ้าของที่ดินในที่สาธารณประโยชน์
ไปยื่นคำร้องขอพิสูจน์สิทธิภายใน 15 วัน จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว
และเข้าใจโดยสุจริตว่าครอบครองโดยชอบ โดยทางราชการผ่อนผันให้ครอบครองไปจนกว่าทางราชการจะพิจารณาแล้ว
เห็นว่าจำเป็นจะต้องให้จำเลยออกจากที่ดิน และแจ้งให้ออกแล้ว ดังนี้ แม้ต่อมานายอำเภอได้แจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดินนั้น
โดยอ้างว่าการที่จำเลยบุกรุกเข้าไปก่อความเดือดร้อนแก่สาธารณะชน และจำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่ออกไป
ก็ไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมายหรือคำสั่งของนายอำเภอ
การกระทำของจำเลยขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 368
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1119/2517 ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น
ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 391 ผู้กระทำต้องมีเจตนาจึงจะเป็นความผิด
มาตรา
105
ผู้ใด “พยายาม” กระทำความผิดลหุโทษ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2509 โจทก์บรรยายฟ้องว่า
จำเลยยกเท้าซึ่งสวมรองเท้าเงื้อจะถีบผู้เสียหาย แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า
ถ้าจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้วจะเกิดผลอย่างไร ผลธรรมดาอันจะเกิดขึ้น เพราะการถีบ
จะทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือไม่ ไม่อาจเล็งเห็นได้
หากจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้ว
ผลที่เกิดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแล้ว
ความผิดนั้นก็เป็นเพียงลหุโทษ ผู้พยายามกระทำความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพยายามกระทำให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายแล้ว
ก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้ / การใช้เท้าเงื้อจะถีบไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจ
เพราะอันตรายต่อจิตใจนั้น ต้องเป็นผลจากการทำร้าย แต่ความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม
เจ็บใจ แค้นใจ เหล่านี้เป็นอารมณ์ หาใช่เป็นอันตรายต่อจิตใจไม่
มาตรา
106
“ผู้สนับสนุน” ในความผิดลหุโทษ ไม่ต้องรับโทษ
-
กฎหมายยกเว้นเฉพาะผู้สนับสนุน ส่วน
ผู้ร่วมกระทำความผิด และผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามมาตรา 83 และ 84
ยังมีความผิดอยู่ต่อไป
-
ความผิดที่เป็นลหุโทษ
เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่ “พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบ”
แล้ว
หรือชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป
หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ผู้ทำการในตำแหน่งนั้น ได้เปรียบเทียบแล้ว “คดีเป็นเลิกกัน” ปวิอ มาตรา 37 (2) (3)
-
ในกรณีซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ จะ “ควบคุมผู้ถูกจับ” ไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ
และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น ตาม ปวิอ มาตรา 87
วรรคสอง
-
“คำพิพากษาคดีลหุโทษ” ไม่จำเป็นต้องมีข้อหาและคำให้การ
ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความและเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
ตาม ปวิอ มาตรา 186 วรรคสอง
-
ถ้าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนในความผิดลหุโทษ
ศาลจะรอการลงโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ก็ได้
และภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56
ถ้าจำเลยกระทำความผิดลหุโทษและศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก
ศาลที่พิพากษาคดีหลังจะบวกโทษในคดีก่อนไม่ได้ (ดู มาตรา 85)
-
การกระทำความผิดลหุโทษ
ไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการตุลาการ
การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3763/2527 คดีความผิดลหุโทษตามมาตรา
368,
386 มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว
พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ ตาม
ปวิอ ม 120 ผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษจะเป็นผู้ใด หามีความสำคัญไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4947/2531 การที่จำเลยเพียงแต่ร้องบอกว่า
"เอามันให้ตายเลย" แล้วพวกของจำเลยได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายนั้น
เป็นการที่จำเลยก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ตามมาตรา 84
แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน
จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ แต่การที่จำเลยร้องบอกดังกล่าว
ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
/ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บฟกช้ำที่ใบหน้าด้านซ้าย
เพียงแห่งเดียวแพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 7 วัน
ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 295
ผู้กระทำความผิดคงมีความผิดตาม มาตรา 391 จำเลยเป็นผู้สนับสนุนความผิดดังกล่าวอันเป็นความผิดลหุโทษ
จึงไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 106
มาตรา 367 ผู้ใดเมื่อเจ้าพนักงานถามชื่อหรือที่อยู่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมาย
ไม่ยอมบอก หรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
-
(ลำดับประเด็น / องค์ประกอบ – / พยายาม – ความผิดสำเร็จ
/ ผู้เสียหาย / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง)
-
คำว่า “เจ้าพนักงาน”
หมายถึง บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งโดยกฎหมาย
ให้เป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งจากบุคคลที่มีอำนาจแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ทางบริหารหรือตุลาการ
-
“ถามชื่อหรือที่อยู่” หมายถึง ชื่อและที่อยู่ของผู้ถูกถามเท่านั้น
ไม่ใช่ของผู้อื่น
-
(ขส อ 2533 อาญา ข้อ 5 / อัยการนิเทศ
เล่ม 52 พ.ศ. 2533 / 210) ผู้ต้องหา “บอกชื่อเป็นเท็จ” ย่อมมีความผิดตาม
ปอ ม 367 เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา
ซึ่งผู้ต้องหาจะให้การต่อสู้อย่างไรก็ได้ แต่ไม่ผิดตาม ม 137
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2861/2522
นายสิบและพลตำรวจควบคุมผู้ต้องกักขังตามคำสั่งนายตำรวจปล่อยตัวผู้ต้องกักขังเหล่านั้น
แล้วเปลี่ยนตัวผู้อื่นแทน เป็นความผิดตามมาตรา 157, 191
เป็นกรรมเดียว ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนัก / ตำรวจไม่ยอมบอกชื่อผู้ต้องขังที่เข้ามาเปลี่ยน
แทนตัวผู้ที่ตนปล่อยไป แก่นายตำรวจที่มารับตัวผู้ต้องขัง ไม่ใช่ผู้ที่ถูกนายตำรวจถามชื่อเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 367
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3231/2531
เจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นรถของจำเลย ครั้งแรกจำเลยไม่ยอมให้ค้น
เนื่องจากเกรงว่าตำรวจจะกลั่นแกล้งเพราะเหตุที่เคยมีสาเหตุกับตำรวจนั้นมาก่อน
ในที่สุดจำเลยยอมให้ค้น เห็นได้ว่าจำเลยขาดเจตนาต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
ไม่ผิด ม 138
/ การที่จำเลยว่าตำรวจจะเอาของผิดกฎหมายใส่รถจำเลย
ตำรวจจะรุมทำร้ายจำเลย ไม่แน่ใจว่าเป็นตำรวจ ตำรวจแต่งเครื่องแบบปล้นก็มี
เป็นการกล่าวเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยถูกตำรวจกลั่นแกล้งเนื่องจากตำรวจหาเหตุมาหยุดรถและค้นรถของจำเลยโดยเฉพาะ
การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นเป็นการปกป้องตนเอง มิให้ตำรวจกระทำการดังกล่าว
ไม่ผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ตาม ม 136 / ตำรวจรู้จักชื่อและที่อยู่จำเลยแล้ว
การที่จำเลยมิได้แจ้งชื่อที่อยู่ตามที่ตำรวจถาม จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 367
-
(ขส อ 2533 อาญา ข้อ 5 / อัยการนิเทศ
เล่ม 52 พ.ศ. 2533 / 210) ผู้ต้องหา “บอกชื่อเป็นเท็จ” ย่อมมีความผิดตาม
ปอ ม 367 เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา
ซึ่งผู้ต้องหาจะให้การต่อสู้อย่างไรก็ได้ แต่ไม่ผิดตาม ม 137
มาตรา 368 ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุ หรือข้อแก้ตัวอันสมควร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการสั่งเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งให้ช่วยทำกิจการในหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สั่งให้ช่วยได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
คำว่า “สั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 691/2472, 109/2480 จำเลยขัดคำสั่งไม่ตอบคำถามพนักงานสอบสวน “ในฐานะผู้ต้องหา” ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
เพราะตาม ปวิอ มาตรา 134
กำหนดไว้ว่าเมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้
ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1140/2481 จำเลยขัดหมายเรียกพนักงานสอบสวน
“ในฐานะผู้ต้องหา” ไม่มีความผิดฐานนี้
เพราะพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับได้ ตาม ปวิอ มาตรา 66 (3)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1843/2499 การที่จำเลยไม่ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร
เป็นเหตุให้ออกหมายจับได้ ตาม ปวิอ มาตรา 66 จึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334 (2) (368)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 309/2500 คำสั่งผู้รักษาการนายอำเภอใน
พ.ศ.2496 ห้ามไม่ให้จำเลยทำนาในหนองสาธารณะ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเข้าทำนา พ.ศ.2498
ศาลลงโทษตามมาตรานี้ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1386/2500 พนักงานสอบสวนมีคำสั่งบังคับให้ผู้ต้องหาเขียนชื่อลงในกระดาษเปล่า
เพื่อนำไปพิสูจน์กับลายมือชื่อที่ผู้นั้นต้องหาในเรื่องก่อน
เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐาน ตาม ปวิอ มาตรา 132 ดังนี้
ไม่เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 132 มิได้ระบุไว้เลยว่าให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งเช่นนั้นได้
จึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่ง ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334 (2) (368) /หมายเหตุ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า ปวิอ มาตรา 132 ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจบางอย่าง รวมทั้ง จำลองหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ
ลายมือ หรือลายเท้า ลายมือ หมายความถึง “ลายฝ่ามือ” ไม่ใช่ “ลายมือที่เขียนเป็นหนังสือ”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 185/2503 การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานไม่ไปรายงานตนภายใน
24 ชั่วโมง นั้น ยังไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามมาตรา 368
เพราะการไม่ไปรายงานตนภายในกำหนดนั้น กฎหมายให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลในความผิดจราจรนั้น
จะถือว่ามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่ได้ / หมายเหตุ อาจารย์ยล ธีรกุล อธิบายว่า
การห้ามเปรียบเทียบ เป็นการลงโทษผู้ฝ่าฝืน คือจะถูกฟ้องต่อศาลต่อไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 227 – 229/2504 หนองสาธารณะที่ทางราชการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับคนและสัตว์ใช้อาบกินร่วมกัน
เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะดูแลรักษาตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ มาตรา
122
ต่อมาโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
มาตรา 140 วรรคสาม นายอำเภอจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้บุกรุกหนองสาธารณะออกไปจากหนองนั้นได้
ผู้ใดขัดขืนย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 281/2506 ฟ้องโจทก์บรรยายว่า
ปลัดกิ่งอำเภอสั่งให้จำเลยรื้อถอนและออกจากที่สาธารณะประโยชน์ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด
เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์มุ่งหมายเอาการสั่งของปลัดอำเภอเป็นสำคัญ ส่วนที่กล่าวถึงคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น
เป็นการขยายความให้เข้าใจว่า
เป็นการสั่งตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดอีกทอดหนึ่งเท่านั้น
จะถือว่าเมื่อปลัดอำเภอไม่ได้สั่งเองโดยลำพัง จึงเท่ากับมิได้เป็นผู้สั่งหาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 405 - 410/2506 ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เปลี่ยนจากการใช้สำหรับราษฎรเลี้ยงสัตว์
มาเป็นใช้ประโยชน์ในราชการทหาร โดยให้เจ้ากรมแผนที่ทหารเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการทวงห้ามที่ดินนั้น
นายอำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ดูแลตรวจตราที่ดินนั้นต่อไป
นายอำเภอไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินนั้น
เมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งของนายอำเภอ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 378 – 379/2517 นายอำเภอมีอำนาจตามกฎหมายที่จะต้องตรวจตราและจัดการรักษาทางบกทางน้ำให้ไปมาโดยสะดวก
ตามที่จะเป็นไปได้ทุกฤดูกาล จึงมีอำนาจประกาศ ห้ามรถยนต์แล่นรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่กำลังก่อสร้างเพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้โดยสาร
และอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว
เมื่อจำเลยทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วยังฝ่าฝืนแล่นรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางนั้นจึงมีความผิดตามมาตรา
368
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2568/2522 ทางพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยแต่ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรมา
50 -
60 ปีแล้ว จึงเป็นทางสาธารณะ จำเลยนำเสาไปปักขวาง
นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายออกคำสั่งให้จำเลยถอนเสาไม้ออกไป
จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 368
-
“ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1950/2500 ทางราชการประกาศสงวนที่ไว้ทำสุสานและฌาปนสถานหรับประชาชน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จำเลยเข้าปลูกยางมา 15 ปี
ผู้รักษาการแทนนายอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยเลิกครอบครอง แต่จำเลยไม่ยอมออก
เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินเป็นของจำเลย ครอบครองมากว่า 40 ปี
ดังนี้นายอำเภอไม่มีอำนาจสงวนเป็นที่ทำสุสานสาธารณะ
และความเชื่อมั่นของจำเลยมีเหตุผลอันดีและมีข้อแก้ตัวอันสมควรที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ไม่มีความผิดตามมาตรา 368
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 611/2503 โจทก์ฟ้องหาว่า
จำเลยขัดคำสั่งของนายอำเภอไม่ยอมออกจากที่ดินสาธารณะประโยชน์นั้น
โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในฟ้องด้วยว่า
จำเลยไม่ยอมออกโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร
เพราะเมื่อเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้จำเลยออก จำเลยขัดขืนก็ย่อมมีความผิด
นอกจากจะมีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบแสดงออกมาเพื่อให้ตนพ้นผิด
ไม่ใช่ให้โจทก์นำสืบก่อนว่าจำเลยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัว
เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะทราบล่วงหน้าได้ว่าจำเลยจะยกเอาเหตุหรือแก้ตัวในข้อไหนบ้าง
/หมายเหตุ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
ที่จริงนั้นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ความผิด (ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158) กับหน้าที่นำสืบ (ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174) เป็นคนละเรื่องกัน
ป.วิ.อ. มาตรา 174
บัญญัติลำดับการสืบพยานไว้โดยให้โจทก์นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยก่อน
เมื่อสืบพยานโจทก์แล้วจึงให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ ไม่มีกรณีให้จำเลยนำสืบพยานก่อนโจทก์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1035/2504 นายอำเภอสั่งให้จำเลยออกจากที่ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสาธารณะประโยชน์
จำเลยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าเป็นที่ของจำเลย ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร
มีความผิดตามมาตรา 368
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1381–1388/2508 จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่าที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
ซึ่งจำเลยเข้าครอบครองอยู่นั้นเป็นที่ของตน ฉะนั้น
การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอโดยอ้างว่าเป็นที่พิพาทของตนนั้น
จึงมีเหตุอันสมควรเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามมาตรา 368
ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 304/2517 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ.2505 เจ้าอาวาสมีอำนาจสั่งให้พระภิกษุ ป. ออกจากวัด เพราะไม่อยู่ในโอวาท ไปไหนไม่ลา
นำคนนอกวัดเข้ามาพำนักในกุฏิโดยไม่บอกเจ้าอาวาส
ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ตามที่เจ้าอาวาสบอกได้ เมื่อ ป. ไม่ออกตามกำหนดเป็นความผิดตามมาตรา 368
จำเลยจะอ้างว่าเจ้าอาวาสประพฤติไม่ชอบตามพระวินัยไม่ได้ ไม่เป็นข้อแก้ตัวอันสมควร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2568/2522 ทางพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลย
แต่ใช้เป็นทางสัญจรมา 50-60 ปี เป็นทางสาธารณะ
จำเลยนำเสาไปปักขวางนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ออกคำสั่งให้จำเลยถอนเสาไม้ออกไป
จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติ จำเลยย่อมมีความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5657/2530 ช.ฟ้องจำเลยว่า สร้างรั้วรุกล้ำลำรางสาธารณะประโยชน์และเรียกค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง
โดยวินิจฉัยว่าพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่ารั้วที่จำเลยสร้างรุกล้ำลำรางสาธารณะประโยชน์
ทั้งจำเลยได้ให้ทนายความมีหนังสือชี้แจงเหตุผลต่อนายอำเภอทันทีที่ทราบคำสั่ง
ถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอโดยมีเหตุ และข้อแก้ตัวอันสมควร
ไม่ผิดตามมาตรา 368
-
ความผิดตามมาตรานี้ต้องมีเจตนา เพราะกฎหมายใช้คำว่า
ผู้ใดทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 970/2504 การที่จำเลยกับพวกประชุมกันเพื่อเขียนคำร้องทุกข์ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า
พวกญวนที่ถูกเจ้าพนักงานจับในข้อหาคอมมูนนิสต์ไม่ได้กระทำผิดอะไรนั้น
ไม่ใช่เป็นการประชุมในทางการเมืองตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 13
การยื่นคำร้องดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อเจ้าพนักงานซึ่งประชาชน
ซึ่งประชาชนย่อมจะเสนอความคิดเห็นต่อเจ้าพนักงานได้
จำเลยไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2516 ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้ผู้อ้างสิทธิว่าเป็นเจ้าของที่ดินในที่สาธารณะประโยชน์ไปยื่นคำร้องขอพิสูจน์สิทธิภายใน
15 วัน จำเลยเข้าครอบครองที่ดินส่วนนั้นอยู่ก่อนแล้ว
และเข้าใจโดยสุจริตว่าครอบครองโดยชอบ โดยทางราชการผ่อนผันให้ครอบครองไป
จนกว่าทางราชการจะพิจารณาแล้ว เห็นว่าจำเป็นจะต้องให้จำเลยออกจากที่ดิน
และแจ้งให้ออกแล้ว ดังนี้ แม้ต่อมานายอำเภอได้แจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดินนั้น โดยอ้างว่าการที่จำเลยบุกรุกเข้าไป
ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่สาธารณชน จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่ออกไป
ไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมายหรือคำสั่งนายอำเภอ การกระทำของจำเลยขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา
368
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2143–46/2517
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินหนองน้ำสาธารณะนายอำเภอมีคำสั่งให้ออกไป
จำเลยฝ่าฝืนไม่ยอมออก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 จำเลยให้การปฏิเสธ
แม้จะปรากฏจากคำฟ้องเองว่าจำเลยครอบครองที่ดินนั้นมานานแล้ว แต่การครอบครองมานานก็มิใช่เหตุผลที่แสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยเชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยเอง
ไม่ใช่ที่สาธารณะ และแม้จำเลยจะให้การว่าที่ดินนั้นมี ส.ค.1 แล้ว
ซึ่งอาจเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแสดงว่าจำเลยครอบครองมาโดยไม่รู้ว่าเป็นที่สาธารณะได้
และโจทก์แถลงรับว่าจำเลยได้ยื่น ส.ค.1
ไว้ต่อพนักงานสอบสวนจริง แต่โจทก์ยังแถลงโต้แย้งอยู่ว่าที่ดินตาม ส.ค.1
ที่จำเลยอ้างนั้นเป็นคนละแห่งกับที่ที่โจทก์ฟ้องเรื่อง ส.ค.1
อันจะเป็นเครื่องสนับสนุนข้อแก้ตัวของจำเลยจึงยังเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่อีกเช่นกัน
ตามคำฟ้อง คำให้การ และคำแถลงของโจทก์ ดังนี้
ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความเชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่าที่ดินเป็นของจำเลย
อันจะถือว่าจำเลยมีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอ
ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2517)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2431/2532 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 วรรคสี่ บัญญัติไว้ว่า
ในกรณีมีคำพิพากษาว่าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำผิด
คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำผิดออกไปจากที่ดินนั้นด้วย
ตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้
กรณีต้องเป็นเรื่องที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิด
แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด กรณีไม่ต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอของโจทก์ที่ขอให้สั่งจำเลยและบริวารออกจากที่พิพาทเสียนั้นจึงชอบแล้ว / เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยครอบครองที่พิพาทโดยเชื่อว่ามีสิทธิครอบครองต่อมาจากบิดา
ทั้งยังไม่อาจพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะประโยชน์ จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุก
การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอ
อันเนื่องมาจากจำเลยเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่พิพาท การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเช่นเดียวกัน
แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215, 225 / พิพากษาแก้เป็นว่า
ให้ยกฟ้องความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เสียด้วย
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2078–80/2535 ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่
3 (พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา
9 แห่ง ป. ที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96
ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้
แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลย
นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้
บันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วน จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้
และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 และ ป. ที่ดิน มาตรา
108 อย่างไรก็ดี หากนายอำเภอออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินโดยเฉพาะจะนำ
ป.อ. มาตรา 368 มาลงโทษไม่ได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2520
-
ความผิดตามมาตรานี้อาจเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าจะลงโทษตามมาตรานี้ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1289/2508 ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครอง
ก่อสร้าง บุกเบิก แผ้วถาง ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
โดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมเป็นความผิดตั้งแต่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครอง และยังคงมีอยู่ตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองที่ดินแปลงนี้
ส่วนความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานให้จำเลยออกจากที่ดินนั้น เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดหลังจากวันที่เจ้าพนักงานสั่งให้จำเลยออกไปจากที่ดิน
ความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจึงต่างกรรม
ต่างวาระกับความผิดฐานเข้ายึดถือครอบครอง หาใช่กรรมเดียวกันไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 818–19/2520 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งความเป็นหนังสือ
ให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าฝ่าฝืนให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นออกจากที่ดินในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้เป็นความผิด คดีนี้นายอำเภอมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดินของรัฐใน
30 วัน โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินโดยเฉพาะ จำเลยไม่ยอมออกไป
จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 จะนำมาตรา 368 มาลงโทษไม่ได้
/ หมายเหตุ อาจารย์สถิตย์ ไพเราะ โปรดสังเกตว่า
คดีนี้มีประเด็นขึ้นมาสู่ศาลฎีกาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
หรือไม่เท่านั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นว่านายอำเภอออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา 108 โดยเฉพาะเมื่อจำเลยไม่ยอมออกตามคำสั่งของนายอำเภอ จึงมีความผิดตามกฎหมายมาตราดังกล่าวจะนำ
ปอ.ม.368 มาใช้บังคับลงโทษจำเลยไม่ได้
-
วรรคท้ายกฎหมายใช้คำว่า “ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สั่งให้ช่วยได้” นั้นจะต้องเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจให้สั่งให้ช่วยได้
ไม่ใช่ให้อำนาจแต่เพียง “ขอความช่วยเหลือ” เช่น พระราชบัญญัติ ปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 27 (7) ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจเรียกลูกบ้านให้ช่วยติดตามจับผู้ร้ายในกรณีเหตุร้ายสำคัญ
เป็นกรณีตามวรรคสอง ป วิ อาญา มาตรา 82 บัญญัติว่า เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ
จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้
แต่จะบังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่กายนั้นไม่ได้ เห็นได้ว่ากรณีนี้
ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานจะสั่งได้ตามมาตรา 368 วรรคสอง
มาตรา 369 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ
ให้ประกาศ ภาพโฆษณา หรือเอกสารใด ที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้
หรือสั่งให้ปิด หรือแสดงไว้ หลุด ฉีก หรือไร้ประโยชน์
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
อาจารย์พิพัฒน์ จักรางกูร อธิบายว่าการกระทำความผิดตามมาตรานี้ต้องกระทำโดยเจตนาให้ประกาศ
ภาพโฆษณา หรือเอกสารนั้นหลุดฉีก
-
ศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ อธิบายว่า แสดงว่ามาตรานี้เป็นความผิด โดยไม่ต้องมีเจตนาตามมาตรา 104
-
คำว่า
“ประกาศ
ภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้” หมายความว่าอย่างไร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 59/2473 จำเลยถอนประกาศจับจองที่ดินที่กรมการอำเภอปิดไว้ส่งไปอำเภอพร้อมด้วยคำคัดค้าน
ดังนี้ไม่ไม่มีเจตนาร้ายก็เป็นความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 972/2505
จำเลยลักปืนเขาแล้วขูดลบเอาเลขทะเบียนปืนออก โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรานี้
เพราะกระทำด้วยประการใดทำให้เอกสารนั้นไร้ประโยชน์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มาตรา ๓๖๙
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำแก่ประกาศ ภาพโฆษณา
หรือเอกสารของเจ้าพนักงานที่ปิดหรือแสดงไว้
อันเป็นทำนองโฆษณาต่อประชาชนให้หลุดฉีกหรือไร้ประโยชน์ ฉะนั้นคำว่าเอกสารใดจึงหมายถึงเอกสารที่ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะเช่นเดียวกันกับประกาศ
หรือโฆษณานั้นเอง หาได้หมายความรวมถึงเอกสารใด ๆ
ที่มิใช่เป็นลักษณะประกาศหรือโฆษณาด้วย ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1181/2506 จำเลยจอดรถในที่ห้ามจอด
ตำรวจจราจรมาพบจึงเขียนใบสั่งติดไว้หน้ารถโดยเอาที่ปัดน้ำฝนทาบไว้ จำเลยหยิบ “ใบสั่ง” มาดูแล้วฉีกทิ้งต่อหน้าตำรวจจราจร โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรานี้
เพราะทำให้ไร้ประโยชน์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ใบสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจราจรเป็นเพียงหนังสือจากบุคคลหนึ่งถึงบุคคลหนึ่งเพื่อสั่งให้บุคคลนั้นกระทำการคือให้ไปรายงานตัว
เมื่อจำเลยได้รับใบสั่งนั้นแล้วก็ถือได้ว่าหนังสือนั้นได้สมประโยชน์ตามนั้นแล้ว / และคำว่าเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ตามมาตรา
369 นั้น หมายถึง เอกสารที่ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะทำนองประกาศหรือภาพโฆษณา หาได้หมายถึงคำสั่งหรือใบสั่งถึงบุคคลเฉพาะตัว
เช่นใบสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจราจรที่ให้ไปรายงานตัวไม่ ฉะนั้น
เมื่อจำเลยได้รับใบสั่งดังกล่าว แม้จำเลยจะฉีกทำลายเสียก็หามีความผิดตามมาตรา 369
ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 144/2537 มาตรา 369
ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามมาตรานี้ต้องกระทำแก่ประกาศ ภาพโฆษณา
หรือเอกสารใดที่ปิดหรือแสดงหรือโฆษณาต่อประชาชนเท่านั้น “คำสั่งของเจ้าอาวาส” ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำตามหน้าที่ได้ออกคำสั่งเฉพาะแก่พระครู
ส. เพียงรูปเดียว
ก็ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่ได้มีการปิดหรือแสดงไว้ตามที่บัญญัติในมาตรา 369 แล้ว
/ จำเลยบังอาจแกะ ฉีก หนังสือ
คำสั่งดังกล่าวทั้งอันเป็นการทำลายเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดแสดงไว้หลุด
ฉีก เสียหาย ไร้ประโยชน์ เป็นความผิดตามมาตรานี้
มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียง
หรือกระทำการอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ และอาจารย์พิพัฒน์ จักรรางกูร อธิบายทำนองเดียวกันว่า
การกระทำความผิดตามมาตรานี้ ไม่ต้องมีเจตนาตามมาตรา 59
-
เสด็จในกรมหลวงราชบุรี
อธิบายว่า นายแดงหัดดนตรีรำมะนา ยี่เก ในหมู่บ้านตั้งแต่ 2 ยาม ไปจนจวนสว่างเป็นความผิดฐานนี้
มาตรา 371 ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน
หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร
หรือพาไปชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อมนัสการการรื่นเริงหรือการอื่นใด
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
-
คำว่า “อาวุธ” หมายความรวมถึง สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้
ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ
-
ศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ อธิบายว่า คำว่า อาวุธ แสดงอยู่ในตัวว่าต้องใช้ทำอันตรายแก่กายได้ และต้องถึงสาหัสด้วย
ที่ว่าทำอันตรายถึงสาหัสได้อย่างอาวุธ ก็แสดงภาพของอาวุธอยู่ในตัว มิใช่ว่า “อาวุธโดยสภาพ”
ทำอันตรายได้ไม่ถึงสาหัส ถือว่าเป็นอาวุธ ส่วนสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพต้องใช้ทำอันตรายถึงสาหัสได้ก็เป็นอาวุธ
อาวุธปืนตามบทนิยามพระราชบัญญัติอาวุธปืนแสดงว่าต้องใช้ยิงได้ คือ ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยอำนาจของพลังงาน
ไม่ใช่ปืนที่ยิงไม่ได้ เมื่อสิ่งที่เคยเป็นอาวุธปืนยิงได้ และเป็นท่อนเหล็กที่ยิงไม่ได้ทำอันตรายแก่กายไม่ได้
จึงไม่เป็นอาวุธตามมาตรา 371 ที่ว่าส่วนของอาวุธปืนเป็นความผิดนั้น ต้องเป็นส่วนสำคัญที่มีกฎกระทรวงกำหนดไว้
เป็นคนละเรื่องกับคดีนี้ และกลับสนับสนุนว่าสิ่งที่ยิงไม่ได้ ต้องมีกฎกระทรวงกำหนดไว้จึงเป็นความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1154/2468 อาวุธปืนไม่มีซองกระสุน
ไม่มีลูกกระสุนปืน ไม่เป็นเครื่องประหาร (อาวุธ)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1903/2520 ปืนที่ไม่อาจใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุใด
(เพราะชำรุด) ก็เป็นอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนและเป็นอาวุธโดยสภาพ เมื่อจำเลยพาไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เป็นความผิดตามมาตรา 371 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1459/2523 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3553/2529 วินิจฉัยว่า
ระเบิดของกลางซึ่งไม่อยู่ในสภาพที่ระเบิดได้
เพราะชนวนถูกทำลายและสำรอกเอาดินออกไปแล้ว
ไม่ใช่วัตถุระเบิดและไม่ใช่เครื่องกระสุนปืน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3166/2532 ลูกระเบิดของกลางอยู่ในสภาพใช้ทำการระเบิดไม่ได้เพราะชนวนถูกทำลายมาก่อน
และวัตถุระเบิดที่บรรจุอยู่ภายในตัวลูกระเบิดถูกสำรอกออกหมด
จึงไม่เป็นวัตถุระเบิดและย่อมไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 927/2519 พลุส่องแสงเป็นสิ่งที่ใช้ให้แสงสว่างไม่เป็นอาวุธตามมาตรา
1 (5)
แม้พกพาไปที่ใดก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 371
-
O คำว่า
“หมู่บ้าน” พระราชบัญญัติปกครองท้องที่
พ.ศ. 2457 กำหนดว่าต้องมีคน 200 คน
หรือ 5 บ้าน แต่ศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ อธิบายว่า คำว่า หมู่บ้าน คือที่ ๆ ประชาชนตั้งบ้านอยู่รวม ๆ
กัน จะเป็นถาวรหรือชั่วฤดูกาลก็ได้
-
เมื่ออ่านกฎหมายมาตรานี้แล้วเข้าใจได้ว่า
กฎหมายต้องการให้เกิดความสงบในหมู่บ้าน เพราะกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 335 (2) ต้องเป็นกรณีถืออาวุธโดยหวาดเสียว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1271/2481 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงสุนัขที่เข้ามาทำให้ต้นไม้เสียหาย
สุนัขตาย เป็นความผิดฐานที่ให้เสียทรัพย์ แต่ที่เกิดเหตุคือที่ซอยอโศก มีบ้านห่าง
ๆ กัน มีที่ว่างหลายแห่ง มีคนไปยิงนกแถวนั้น จึงไม่ใช่การยิงปืนในหมู่บ้าน
ไม่เป็นความผิด ม 376
-
O คำว่า
“ทางสาธารณะ” มาตรา 1 (2) หมายความว่า ทางบกหรือทางน้ำสำหรับประชาชนใช้ในการจราจร
และให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับประชาชนโดยสารด้วย
-
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) ใช้คำว่า ทางหลวง
-
คำว่า “อาวุธ” นั้น ถ้าเป็นอาวุธปืนพระราชบัญญัติอาวุธปืน มาตรา 8 ทวิ บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัว
เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์”
วรรคสอง “ไม่ว่ากรณีใด
ห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้น
เพื่อนมัสการ การรื่นเรือง การมหรสพ หรือการอื่นใด”
-
þ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
การพาอาวุธไปคือนำไปกับตัวด้วย แต่ไม่จำต้องพกติดกับตัว การพาอาวุธไปตามมาตรา 371
ต่างกับ “การพาไป” ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเพราะตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนต้องติดตัวไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3606/2528 จำเลยเช่าห้องอยู่อาศัยในแฟลตที่เกิดเหตุ
แฟลตจึงเป็นเคหสถานซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและดาดฟ้าของแฟลตเป็นบริเวณของแฟลตซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย
การที่จำเลยพกพาอาวุธปืนอยู่บนดาดฟ้าของแฟลต จึงเป็นการพาอาวุธปืนในบริเวณที่อยู่อาศัยของตน
ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน มาตรา 8 ทวิ
และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 415/2527 อาวุธปืนเป็นของบิดาของ
ช.
ช. เป็นผู้เอามาและใช้ยิงผู้ตาย แสดงว่า ช.
เป็นผู้ครอบครองอาวุธปืนนั้นตลอดมา
แม้ขณะที่เดินจากบ้านจำเลยไปที่ศาลาพักร้อน จำเลยเป็นผู้ถืออาวุธปืนนั้น แต่ก็เป็นการยึดถือไว้ชั่วคราว
เมื่อจำเลยกับ ช. เดินด้วยกันความครอบครองในอาวุธปืนนั้นยังคงอยู่ที่
ช. หาเปลี่ยนมาอยู่ที่จำเลยไม่
จำเลยจึงไม่ใช่เป็นผู้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง และถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้พาพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 417/2528 การที่จำเลยที่
1 ถือปืนกลับบ้านพร้อมจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของที่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
และการพาอาวุธปืนไปเป็นการป้องกันไม่ให้จำเลยที่ 2
นำไปใช้กระทำความผิดและนำกลับบ้านเท่านั้น มิได้มีเจตนาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง
หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน
มาตรา 8 ทวิ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3729/2528 การกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนตาม
ป.อ. ม.371
นั้นต้องได้ความว่าจำเลยได้นำอาวุธเคลื่อนที่ไปในถนนหรือทางสาธารณะหรือนำเข้าไปในหมู่บ้าน
ซึ่งประกอบด้วยการกระทำที่เป็นสาระสำคัญ
คือการนำอาวุธปืนเคลื่อนที่ไปในขณะกระทำผิด หากปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่หยิบอาวุธปืนสั้นของเพื่อน
ที่วางไว้บนโต๊ะหน้าร้านขายอาหารริมถนน มาเหน็บไว้ที่เอว
และคงนั่งอยู่ที่โต๊ะไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนี้ ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1763/2529 จำเลยรับประทานอาหารอยู่ในร้านได้ขอให้เจ้าของร้านเปิดตู้เพลง
แต่เป็นเวลาหลังเที่ยงคืนแล้ว
เจ้าของร้านจึงไม่ยอมเปิดเพราะตำรวจขอร้องไม่ให้เปิดและเจ้าของร้านจะกลับบ้าน
จำเลยตามออกไป พร้อมกับชักอาวุธปืนมายิงขึ้นฟ้า 1 นัด ดังนี้
จำเลยมีความผิดตามมาตรา 371, 376
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4092/2530 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย
การที่ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหามีและพกพาอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนนั้น
โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดจริง
โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนอย่างไร
ปืนที่จำเลยใช้กระทำความผิดเป็นปืนที่มีทะเบียนหรือไม่ จึงลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนไม่ได้
แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่บ้าน
ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 371 ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1582/2531 ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง
หมู่บ้านและทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาต เป็นความผิดที่ร่วมกันกระทำด้วยกันได้
จำเลยร่วมกับคนร้าย 7 -
8 คน ไปปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนติดตัวไป ๖ กระบอก
แม้จะฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยก็ตาม
แต่การที่จำเลยร่วมกับคนร้ายอื่นไปปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเจ้าทรัพย์โดยใช้ปืนยิงแล้วหลบหนีไปด้วยกัน
แสดงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับคนร้ายอื่นมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง
หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม ม 371
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2531 จำเลยแย่งอาวุธปืนมาจากพวกของจำเลยซึ่งทะเลาะวิวาทกัน
และยึดถือไว้ชั่วคราว จึงไม่ใช่มีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง
และจำเลยไม่ได้พาอาวุธปืนของกลางเคลื่อนที่ไป
จึงไม่ใช่พาอาวุธปืนของกลางไปในที่สาธารณะสถาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4155/2531 มีดปอกผลไม้ที่จำเลยพาติดตัวไปในโรงภาพยนต์ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ
แต่เมื่อจำเลยได้ใช้มีดดังกล่าวแทงผู้เสียหายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงเป็นอาวุธตามมาตรา
371 จำเลยมีความผิดตามกฎหมายมาตราดังกล่าว และเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 721/2534 อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นของที่ทางราชการมอบให้จำเลยที่
1 ไว้ในการปฏิบัติหน้าที่ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองก็ตาม
แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1
และพวกครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางซึ่งเป็นอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้นำไปใช้ฆ่าผู้ตาย
จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในครอบครอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 738/2536 จำเลยบอกให้พวกของจำเลยส่งอาวุธ
พวกของจำเลยก็ส่งให้ แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนจ่อที่ศีรษะผู้เสียหาย ในทันทีนั้นเอง
โดยพวกของจำเลยก็ยังอยู่ที่เกิดเหตุนั้นด้วย
พวกของจำเลยจึงยังคงควบคุมดูแลอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวอยู่อย่างใกล้ชิด
และมิได้มอบการครอบครองให้จำเลย สิทธิครอบครองอาวุธปืนและกระสุนปืนยังอยู่กับพวกของจำเลย
จำเลยไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 293/2537 จำเลยได้รับมอบถุงอาวุธปืนจากชายผู้อ้างว่าเป็นคนขับรถแท็กซี่
แล้วจำเลยได้ติดตามหาเจ้าของเพื่อมอบอาวุธปืนคืน
เมื่อไม่พบเจ้าของก็ตั้งใจจะมอบแก่เจ้าพนักงานตำรวจตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของจำเลย
แต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน ดังนี้
ไม่แสดงว่าจำเลยมีเจตนามีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองและพกพาไปในทางสาธารณะ
จำเลยไม่มีความผิดฐานมีและพกพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1400/2538 มีดคัดเตอร์ไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
แต่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยใช้มีดดังกล่าวขู่เข็ญผู้เสียหาย แสดงว่า จำเลยพามีดดังกล่าวไปโดยเจตนาจะใช้เป็นอาวุธ
จึงมีความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง
-
O คำว่า
“ไม่มีเหตุสมควร”
ส่วนพระราชบัญญัติอาวุธปืน ใช้คำว่า “มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3027/2526 จำเลยเก็บปืนและนำเงิน
70,000 บาท ไว้ในลิ้นชักรถ เมื่อจำเลยนั่งรถไปด้วย
ถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไป
และการที่จำเลยขับรถไปส่งผู้เสียหายแล้วพากันไปนั่งดื่มสุรา โดยทิ้งเงินไว้ในรถซึ่งจอดอยู่ห่างจำเลย
5 - 6 วา
แสดงว่าจำเลยไม่ได้ห่วงใยกับความปลอดภัยของทรัพย์สิน
การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไป
จึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2529 นาง ก. พานางสาว น. ไปพบบิดามารดาของจำเลยที่บ้านจำเลยเพื่อเจรจาในการสู่ขอนางสาว
น. เป็นภริยาจำเลย เมื่อจะกลับบ้านเป็นเวลาดึกมาแล้ว
จำเลยนั่งรถไปส่งบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยพาอาวุธปืนไป
ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น จำเลยมีความผิดตามมาตรา 371
และตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1763/2529 จำเลยรับประทานอาหารอยู่ในร้าน
ได้ขอให้เจ้าของร้านเปิดตู้เพลง แต่เป็นเวลาหลังเที่ยงคืนแล้ว
เจ้าของร้านไม่ยอมเปิดเพราะตำรวจขอร้องไม่ให้เปิด เจ้าของร้านจะกลับบ้าน
จำเลยตามออกไป พร้อมกับชักอาวุธปืนมายิงขึ้นฟ้า 1 นัด ดังนี้ จำเลยมีความผิดตาม
ป.อ. ม.371,376 เมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้มี ใช้อาวุธปืน
และให้มีอาวุธปืนติดตัว แม้ไม่ได้อาวุธปืนและกระสุนปืนจากจำเลยเป็นของกลาง
จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3945/2540 เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบอาวุธปืน
พร้อมกระสุนปืนของกลางในกระเป๋าเอกสารซึ่งปิดอยู่และวางอยู่ที่เบาะหลังรถยนต์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับ
ดังนี้กระเป๋าเอกสารที่อาวุธปืนของกลางบรรจุอยู่ภายในนั้นโดยสภาพ
และคำพยานจำเลยว่ามีกุญแจล็อคถึงสองด้าน ทั้งวางอยู่ที่เบาะด้านหลัง การจะหยิบฉวยอาวุธปืนมาใช้ทันทีทันใดย่อมเป็นไปได้ยาก
จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการพาติดตัว
ทั้งเหตุผลที่จำเลยนำสืบพยานประกอบกับข้ออ้างว่าเป็นการขนย้ายไปยังบ้านที่จังหวัดนครราชสีมานั้น
จำเลยมีสำเนาทะเบียนบ้านมาสืบว่ามีการย้ายภูมิลำเนาไปจริง
แม้จะภายหลังวันเวลาเกิดเหตุก็เพียงไม่กี่วัน
ต้องรับฟังเป็นคุณแก่จำเลยตามที่อ้างว่าเจตนาเพียงขนย้ายสิ่งของ
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงต้องฟังว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ที่จะพาอาวุธปืนของกลางไป
ไม่มีความผิด
-
บทบัญญัติตอนท้ายบัญญัติว่า ให้ศาลมีอำนาจริบอาวุธนั้น
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า มาตรานี้บัญญัติให้ริบปืนนั้นได้
เป็นดุลพินิจที่ศาลจะใช้ ไม่เป็นการบังคับให้ต้องริบ เหตุที่ต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
คงจะเพราะความผิดตามมาตรานี้ ไม่เป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 32, 33, 34
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
การพาอาวุธไปตามมาตรา 371 อาวุธนั้น เป็น “วัตถุแห่งการกระทำผิด”
จึงบัญญัติให้ริบอาวุธนั้นได้ไว้ในมาตรา 371 อาวุธนั้น ไม่ใช่ “วัตถุที่ใช้กระทำผิด” อันจะริบได้ตามมาตรา 33
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 81/2505 การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร
อันเป็นความผิดตามมาตรา 371 นั้น
แม้อาวุธปืนของกลางจะเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนโดยจำเลยได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองก็ดี
ศาลก็ยังมีอำนาจริบได้ตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 989/2508 อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตแล้ว
จึงไม่ใช่วัตถุที่ผิดกฎหมายอันจะต้องริบตามมาตรา 32
การที่จำเลยพกอาวุธปืนไปในที่ชุมนุมชนไม่ทำให้อาวุธปืนที่มีใบอนุญาตกลายเป็นปืนที่ผิดกฎหมายไปด้วย
แต่เป็นวัตถุแห่งการกระทำผิด
อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งริบหรือไม่แล้วแต่คดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2400/2522 จำเลยพาอาวุธปืนของจำเลยที่ได้รับอนุญาตให้มีไปในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พาอาวุธปืนติดตัวและยิงปืนในหมู่บ้านนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรา
8 ทวิ,
72 และ มาตรา 371, 376 เมื่ออาวุธปืนเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียนจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิด
อันจะต้องริบ ตาม มาตรา 32
และการกระทำผิดของจำเลยไม่ทำให้กลายเป็นอาวุธปืนที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นวัตถุแห่งการกระทำผิด
ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งริบหรือไม่ก็ได้
-
ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
และการพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน
และมาตรา 371 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นความผิดหลายกรรม (คำพิพากษาฎีกาที่ 140/2515) แต่การพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน
และไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควร เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371
เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
แต่พระราชบัญญัติอาวุธปืนที่ลงโทษจำเลยไม่ได้บัญญัติเรื่องริบไว้
จะอาศัยบทเบาตามมาตรา 371 มาเพื่อริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้ เมื่ออาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบ
ไม่ทำให้ตกเป็นอาวุธปืนที่ผิดกฎหมายจึงริบปืนของกลางไม่ได้
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
การลงโทษบทหนักตามมาตรา 90 ต้องใช้มาตราที่มีโทษหนักทั้งมาตรา ไม่ใช่แยกเป็นส่วน ๆ
เฉพาะส่วนที่หนักกว่ามาตราอื่น (คำพิพากษาฎีกาที่ 942/2487, 906/2493)
เมื่อไม่ใช้มาตรา 371
ก็ไม่ใช้ทั้งมาตรารวมตลอดถึงตอนให้ริบอาวุธด้วย
-
มาตรา 371 ใช้กับอาวุธทุกชนิด
แต่ถ้าเป็นอาวุธปืน มีพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ.2490
บัญญัติลงโทษโดยเฉพาะ และมีโทษหนักกว่ามาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2145/2538 เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนซึ่งเป็นบทหนักแล้ว
จะริบอาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3674/2532 ในการพิจารณาคดีอาญา
โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด
คดีนี้โจทก์ไม่ได้เอาอาวุธปืนที่จำเลยใช้ขู่ชิงทรัพย์ผู้เสียหายมาเป็นของกลาง
และไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ให้เห็นว่าอาวุธปืนดังกล่าวไม่มีหมายเลขทะเบียน คงได้ความจากจำเลยเพียงว่า
ไม่เคยได้รับอนุญาตจากราชการให้มีและพกพาอาวุธปืนได้เท่านั้น
จึงลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
และพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5980/2530 ความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว
โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว
เมื่อโจทก์ไม่นำสืบก็ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก
มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง ไม่ได้ คงลงโทษได้เพียงมาตรา 371
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4092/2530 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย
แต่การที่ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหามีและพาอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน
โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดจริง
เมื่อโจทก์ไม่นำสืบจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
แต่ปรากฏว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่บ้านศาลลงโทษตามมาตรา 371 ได้
-
ผู้ร่วมกระทำผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1582/2531 จำเลยที่ 2 ร่วมกับคนร้าย 7-8
คนไปปล้นทรัพย์ โดยมีอาวุธปืนติดตัวไป 6 กระบอก แม้จะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2
มีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยก็ตาม
แต่การที่จำเลยที่ 2
ร่วมกับคนร้ายอื่นไปปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเจ้าทรัพย์โดยใช้ปืนยิง เสร็จแล้วหลบหนีไปด้วยกัน แสดงว่าจำเลยที่
2
มีเจตนาร่วมกับคนร้ายอื่นมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง
หมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย /
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง
หมู่บ้าน
และทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาต เป็นความผิดที่ร่วมกระทำด้วยกันได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3582/2531 ความผิด ตาม มาตรา 371 เป็นความผิดที่ร่วมกันกระทำด้วยกันได้ การที่จำเลยร่วมกับคนร้ายอื่นไปปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเจ้าทรัพย์โดยใช้ปืนยิง
แล้วหลบหนีไปด้วยกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับคนร้ายอื่น ผิด ตาม ม 371 (
เทียบ ฎ. 625/2543 ต่างครอบครองอาวุธของตน
ไม่มีเจตนาครอบครองอาวุธของผู้อื่น ไม่ผิดตัวการ ในส่วนการพาอาวุธของผู้อื่น)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 625/2543 จำเลยที่ 2
เป็นคนส่งมีดพร้าให้จำเลยที่ 1 ฟันทำร้ายพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2
ซึ่งหลังจากจำเลยที่ 2 ส่งมีดพร้าให้จำเลยที่ 1 แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรอีกเลย
แม้ว่าตอนที่จำเลยที่ 1 วิ่งตามผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้นจำเลยที่ 2
ได้วิ่งตามไปด้วยก็ดี หรือขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 จะเข้าช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2
จำเลยที่ 2 ก็ได้พูดห้ามปรามว่า อย่ารุมก็ดี ยังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2
ตั้งใจจะร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 เนื่องจากขณะที่ผู้เสียหายที่ 1
ใช้ไม้ตีมือจำเลยที่ 1 จนอาวุธปืนสั้นหลุดจากมือ จำเลยที่ 2 ก็มิได้ใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายที่
1 หรือผู้เสียหายที่ 2 เสียเอง อันพอจะเป็นการแสดงให้เห็นได้ว่า
ตั้งใจจะเข้าช่วยเหลือในลักษณะเข้ารุมทำร้ายผู้เสียหายที่ 2
ตามสภาพอาวุธของตนที่มีอยู่ ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เพียงแต่ส่งมีดพร้าให้จำเลยที่
1 โดยมิได้เข้าร่วมใช้มีดพร้าฟันทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เสียเอง
จึงถือไม่ได้ว่ามีเจตนาเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดดังกล่าว
แต่มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2
ในการกระทำผิดก่อนกระทำความผิด อีกทั้งการที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายที่ 1
ในตอนแรก จำเลยที่ 2
ยังมิได้ดำเนินการอะไรให้เห็นว่ามีเจตนาที่จะร่วมทำร้ายผู้เสียหายที่ 1
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ถืออาวุธปืนสั้นมายังที่เกิดเหตุโดยจำเลยที่ 2
ถือมีดพร้ามาด้วยนั้น
พฤติการณ์พอถือได้ว่าต่างคนต่างเจตนาจะครอบครองอาวุธของตนเองโดยลำพัง
เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาจะร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2
จึงมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนดังกล่าวทำร้ายผู้เสียหายที่ 1
และพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยที่
2จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 371
-
(ขส พ 2529/ 6) ประชุมกัน 5 คนเพื่อปล้นทรัพย์
ม 210 ว 2 ฎ 116/2471 / มีดาบคนละเล่มไปที่บ้านเจ้าทรัพย์ ผิด ม 371 เข้าปล้นเวลากลางคืน
ผิด ม 364 + 365 (2) (3) +83 / ก ฟันกุญแจบ้าน เจตนาเดียวกัน
พวกปล้น ผิด ม 358 + 83 / ช่วยกันลากหีบเหล็ก แต่ติดโซ่
แล้วถูกตำรวจจับ ผิด ม 334+80 + 335 (1) (3) (7) (8) + 80 + 83 +335 ว 2 ฎ 237/2461
มาตรา 372 ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ
หรือสาธารณะสถาน
หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถาน
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
(ลำดับประเด็น / องค์ประกอบ – / พยายาม – ความผิดสำเร็จ
/ ผู้เสียหาย / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง)
-
ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า “ทะเลาะ” หมายความถึง โต้เถียงโดยทางวาจา
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า “ทะเลาะ” คือ กล่าววาจาโต้เถียงด้วยความไม่พอใจซึ่งกันและกัน
ไม่ต้องถึงกับต่อสู้ทำร้ายกัน การทะเลาะกันต้องมีการส่งเสียงเอะอะอื้ออึง
-
อาจารย์พิพัฒน์ จักรางกูร อธิบายว่า กฎหมายไม่ใช้คำว่า
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 (150) เพราะกฎหมายอาญา หมายถึง ความชุลมุนวุ่นวายของบุคคลในสถานที่นั้น
ไม่ใช่หมายถึง
ประชาชนทั่วไปและไม่จำต้องมีเจตนาที่จะให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1811/2505 โจทก์บรรยายฟ้องว่า
จำเลยวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันในสาธารณะสถาน
ทำให้เสียความสงบเรียบร้อย ทางพิจารณาได้ความว่า
จำเลยด่าและโต้เถียงกันจึงลงโทษตามมาตรา 372 ได้ ไม่ถือว่าต่างกับฟ้องเพราะคำว่า
วิวาท หมายถึงการโต้เถียงทุ่งเถียงทะเลาะกัน และกฎหมายมาตรานี้บัญญัติด้วยว่า
หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1362/2508 ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าและเป็นที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
จึงเป็นสาธารณะสถานตามมาตรา 1 (3) เมื่อจำเลยทะเลาะอื้ออึงในสาธารณะสถานจึงผิดมาตรา
372 ข้อที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเคหสถานหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นแห่งคดี
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 894/2515 คำฟ้องข้อหาตามมาตรา
372 ไม่เคร่งครัดถึงกับต้องบรรยายโดยใช้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายเสมอไป ฉะนั้น
เมื่ออ่านคำฟ้องทั้งหมดแล้ว เข้าใจได้ว่าเป็นการทะเลาะกันอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานแล้วก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย / โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 พูดโต้เถียงทะเลาะกัน
โดยด่าซึ่งกันและกัน และใช้ผลฟักทองและลังไม้ทุ่มใส่กันและกันที่ตลาด พอเข้าใจได้ว่าเป็นการทะเลาะอย่างอื้ออึงในสาธารณะสถานครบองค์ความผิด
มาตรา 373 ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต
ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตนั้นออกเที่ยวไปโดยลำพัง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
คำว่า “บุคคลวิกลจริต”
นั้น ตามมาตรา 65 หมายความว่า คนที่เป็นโรคจิต จิตบกพร่อง
จิตฟั่นเฟือน
-
คำว่า “ปล่อยปละละเลย”
นั้น หมายความว่า กระทำโดยไม่มีเจตนา
-
คำว่า “ออกเที่ยวไปโดยลำพัง”
หมายความว่า ไม่มีผู้ใดควบคุมดูแล
มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต
ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
ความผิดตามมาตรานี้ ไม่เป็นการไม่กระทำ
ไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลมิให้ตายตามมาตรา 59 วรรคท้าย
ฉะนั้น ถ้าไม่ช่วยแล้ว เกิดมีความตาย ผู้ไม่ช่วยไม่มีความผิดฐานฆ่าคน และความผิดตามมาตรานี้ไม่ต้องมีผล
ฉะนั้นการที่ไม่ช่วยจะตายหรือจะรอดไม่สำคัญ และการละเว้นไม่ช่วยตามความจำเป็นต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา
ถึงแม้การที่ควรจะช่วยหรือไม่ โดยไม่ต้องมีเจตนาในส่วนนั้นก็ตาม
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า คำว่า “อันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น” กฎหมายมิได้กำหนดว่าถึงขนาดไหน
กฎหมายไม่ได้บังคับให้ผู้ใดต้องเสี่ยงภัยเพื่อช่วยบุคคลอื่น
จึงต้องวินิจฉัยตามความรู้สึกของคนทั่วไปว่า
ควรกลัวอันตรายแก่ผู้กระทำหรือควรเสี่ยงต่ออันตรายนั้นหรือไม่
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 374
-
(ขส พ 2501/ 6) แดง ดำ และเขียว เสพสุรา
แล้วพายเรือกลับบ้านด้วยกัน เกิดทะเลาะกัน นายดำใช้พายตีนายแดง มีบาดแผลและเรือล่ม
นายดำ และนายเขียวว่ายน้ำได้ นายแดงจมน้ำ โดยนายดำและเขียวรู้ว่าแดงว่ายน้ำไม่เป็น
/ ตามปัญหา ไม่ได้ความว่าเรือล่มเพราะเหตุตีกัน นายดำผิด ม 295
(ดูประเด็น ม 290 และเหตุแทรกแซง ) ส่วนนายเขียวไม่ผิด
ม 374 เพราะไม่ปรากฏว่า สามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วย
มาตรา 375 ผู้ใดทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำ
หรือท่อระบายของโสโครก อันเป็นสิ่งสาธารณะเกิดขัดข้องหรือไม่สะดวก
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
รางระบายน้ำ คือ
สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อให้น้ำไหลเข้าออก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 486/2472 ท่อระบายน้ำซึ่งเจ้าของที่ดินทำสำหรับใช้เป็นทางระบายน้ำทั่ว
ๆ ไป ผ่านที่ดินของตนไปออกท่อหลวงมานาน ถือเป็นสาธารณะประโยชน์ เจ้าของที่ดินถมเสีย
เป็นความผิดฐานนี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1186/2500 คลองที่เจ้าของที่ดินขุดขึ้น
ซึ่งแม้จะมีผู้อื่นใช้เรือเข้าออกมานาน แต่เจ้าของไม่ได้อุทิศให้เป็นสาธารณะ
ไม่ใช่ทางสาธารณะหรือรางระบายน้ำสาธารณะ เมื่อเจ้าของปิดกันเสียไม่เป็นความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1020 – 21/2502 คลองหรือคูที่เจ้าของที่ดินขุดขึ้น
เมื่อเจ้าของไม่ได้อุทิศให้เป็นทางสาธารณะ ฉะนั้น
แม้เจ้าของจะทำทำนบหรือคันกินกั้นก็ไม่มีความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1502/2514 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะ
ขอให้ลงโทษตามมาตรา 375 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าร่องน้ำพิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะ
เมื่อจำเลยปิดกั้นมีความผิดตามมาตรานี้ จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแม้ร่องน้ำจะเป็นร่องน้ำสาธารณะแต่จำเลยปิดกั้นโดยสุจริต
โดยเชื่อว่ามีอำนาจกระทำได้ ไม่มีความผิด พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
ดังนี้จำเลยจะฎีกาขอให้ศาลวินิจฉัยว่าร่องน้ำพิพาทไม่ใช่ร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ไม่ได้
เพราะร่องน้ำจะเป็นร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์หรือไม่
มิได้ทำให้จำเลยเสียสิทธิประการใด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลย / ขอให้สังเกตว่า ในคดีอาญานั้นมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่เท่านั้น
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่มีความผิดแล้ว
โจทก์เท่านั้นมีสิทธิที่จะฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะเป็นกรณีพิพากษากลับ
แต่จำเลยได้รับประโยชน์ ตามที่จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่มีความผิด ขอให้ยกฟ้องแล้ว
จะฎีกาโต้แย้งเหตุที่ศาลยกฟ้องไม่ได้
แต่อย่างไรก็ดีปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
ว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่
หากจำเลยไปพิพาทกับคนอื่นศาลจะนำข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาเพียงใดหรือไม่
ศาลฎีกาจึงอธิบายเหตุผลประกอบว่า ร่องน้ำจะเป็นร่องน้ำสาธารณะหรือไม่
ไม่ทำให้จำเลยเสียสิทธิแต่ประการใด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 699/2516 ความผิดตามมาตรา
375 ต้องมีข้อเท็จจริงว่า เหมืองส่งน้ำหรือรางระบายน้ำพิพาท ซึ่งอยู่ในเขตที่ดิน จ. เป็นสิ่งสาธารณะอัน จ. ได้อุทิศโดยตรงหรือโดยปริยายให้สำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน
มาตรา 376 ผู้ใดยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ในเมือง
หมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
อาจารย์พิพัฒน์
จักรางกูร อธิบายว่า การยิงปืนตามมาตรานี้ ต้องเป็นปืนที่ใช้ยิงด้วยดินระเบิด ถ้าเป็นปืนซึ่งใช้ยิงด้วยแรงอัดอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่ดินระเบิด
เช่น ปืนลมหรือดินระเบิดที่ใช้กับสิ่งอื่นซึ่งไม่ใช่ปืน ก็ไม่เป็นความผิด
-
คำว่า “โดยใช่เหตุ”
หมายความว่า ไม่มีเหตุอันสมควร
-
การใช้อาวุธปืนยิงนั้น
อาจเป็นความผิดฐานฆ่าคนหรือทำให้เสียทรัพย์ได้
-
กรณีที่ไม่ใช่ปืนซึ่งใช้ดินระเบิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5793/2544 สิ่งเทียมอาวุธปืนพกอัดลม ชนิดใช้ยิงกับลูกกระสุนพลาสติกทรงกลมขนาด 6
ม.ม. มิใช่อาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ การที่จำเลยใช้วัตถุดังกล่าวในการขู่เข็ญข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 276
-
การยิงปืนฯ โดยใช่เหตุ
หรือไม่มีเหตุอันสมควร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 117/2515 จำเลยยิงปืนสั้นเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย
7 นัด โดยจำเลยทราบว่ามีคนอยู่ในบ้านนั้น
กระสุนปืนอาจถูกเสียหายและพวกซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น
และกระสุนปืนทะลุบ้านผู้เสียหายไปถูกผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านอีกหลังหนึ่งได้รับบาดเจ็บ
ดังนี้ จำเลยมีความผิดตามมาตรานี้ และมาตรา 288, 80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1113/2516 สถานีตำรวจเป็นสำนักราชการบ้านเมือง
ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) แต่เป็นทรัพย์สินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ตามมาตรา 360
จำเลยทำให้สถานีตำรวจเสียหายไม่มีความผิดตามมาตรา 360 / จำเลยเสพสุราเมา
ประพฤติตนวุ่นวายขึ้นไปบนสถานีตำรวจและใช้ปืนยิงขึ้นโดยใช่เหตุ
กระสุนปืนถูกกระจกกรอบรูปแตก และถูกคานพื้นสถานีตำรวจเสียหาย
จำเลยมีความผิดตามมาตรา 378 กระทงหนึ่ง และมาตรา 376 กับมาตรา 358 อีกกระทงหนึ่ง
-
การยิงปืนฯ โดยมีเหตุอันสมควร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2842/2515 ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน ผู้เสียหายกระโดดเรือนของจำเลยแล้ววิ่งหนีไป
จำเลยสงสัยว่าจะเป็นคนร้ายที่เข้ามาขโมยสัตว์เลี้ยงที่ใต้ถุนเรือนจึงยิงปืนขู่ไป 1
นัด ไม่ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย และไม่ใช่การยิงปืนโดยใช่เหตุในหมู่บ้าน
ตามมาตรา 376
-
การยิงปืนฯ ในเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1271/2481 จำเลยยิงสุนัขที่เข้ามาทำให้ต้นไม้ในบ้านเสียหาย
สุนัขตายเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าซอยอโศกมีบ้านห่าง
ๆ กัน มีที่ว่างหลายแห่ง มีคนไปยิงนกแถวนั้น จึงไม่ใช่เป็นการยิงปืนในหมู่บ้าน ไม่เป็นความผิดตามมาตรา
335
(11) (มาตรา 376)
มาตรา 377 ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง
ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดสำหรับผู้ควบคุมสัตว์นั้น
คือผู้ดูแลรักษาตามความจริง ไม่ใช่ผู้ครอบครอง แต่มิได้ควบคุมดูแล
การควบคุมสัตว์ดุร้ายแสดงว่าต้องรู้ว่าสัตว์ที่ควบคุมนั้นดุร้าย
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
มาตรา 377 มีทั้งสัตว์ดุและสัตว์ร้าย สุนัขไม่ใช่สัตว์ร้ายโดยธรรมชาติ
แต่บางตัวดุเช่นในคดีนี้
-
ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า
สัตว์ดุ หมายความว่า สัตว์นั้นตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์ดุร้าย เช่น สุนัข
แต่สัตว์ตัวนั้นมีนิสัยดุ คือชอบกัดคนเสมอ คำว่า สัตว์ร้าย หมายความว่า
สัตว์ซึ่งตามธรรมชาติเป็นสัตว์ดุร้าย เช่น เสือ สิงโต งูพิษ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 17/2475 สุนัขดุอยู่ในความหมายของสัตว์ดุ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 554/2484 ช้างไม่ใช่สัตว์ดุโดยธรรมชาติ
โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่าเป็นสัตว์ดุ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 151/2505 ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 377 แบ่งสัตว์ออกเป็นสองพวก คำว่า “สัตว์ร้าย” หมายความว่า
โดยธรรมชาติของสัตว์นั้นเองเป็นสัตว์ที่มีนิสัยทั้งดุและร้ายกาจเป็นปกติอยู่ในตัว
เป็นสัตว์ที่เป็นภยันตรายอันน่าสะพรึงกลัว แต่บุคคลผู้ได้พบเห็น เช่น เสือ จระเข้
หรืองูพิษ เป็นต้น ส่วนคำว่า “สัตว์ดุ” นั้น หมายความว่า โดยธรรมชาติของสัตว์นั้นเองไม่ใช่สัตว์ร้าย
แต่อาจเป็นสัตว์ดุซึ่งเจ้าของจะต้องควบคุมดูแลเป็นพิเศษจากปกติธรรมดา โดยล่ามโซ่
หรือขังกรงไว้ เช่น สุนัข
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 162/2523 สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง
แต่ก็อาจเป็นสัตว์ดุได้ สุนัขของจำเลยเคยกัดเป็ดของผู้เสียหายมาก่อนแล้วหลายครั้ง
ครั้งนี้สุนัขตัวนั้นไปกัดเป็ดของผู้เสียหายตายและบาดเจ็บหลายตัว
ถือได้ว่าเป็นสัตว์ดุตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3435/2527 ช้างเป็นสัตว์ใหญ่เมื่อกำลังตกมันย่อมเป็นสัตว์ดุ
จำเลยไม่ควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด เพียงแต่ใช้เชือกผูกไว้
จึงเป็นการกระทำโดยประมาทและเป็นเหตุโดยตรงให้ ฟ. ผู้เสียหายถูกช้างของจำเลยแทงด้วยงาได้รับอันตรายสาหัส
แล้วช้างของจำเลยวิ่งไปพังบ้านของ ด. ผู้เสียหายอีก
จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 300 และการกระทำของจำเลยถือได้ว่าจำเลยปล่อยปละละเลยให้ช้างเที่ยวไปโดยลำพังในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ได้
จึงเป็นความผิดตามมาตรา 377 อีกบทหนึ่ง
มาตรา 378 ผู้ใดเสพสุราหรือของเมาอย่างอื่น
จนเป็นเหตุให้ตนเมาประพฤติวุ่นวาย หรือครองสติไม่ได้ ขณะอยู่ในถนนสาธารณะ
หรือสาธารณะสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
การเสพสุราหรือของเมาอย่างอื่น ต้องกระทำโดยรู้และสมัครใจ
และต้องเมาเพราะเสพสุราเท่านั้น ถ้าเป็นโรคจิตแล้วเสพสุรา โรคจิตกำเริบเพราะสุรา
เป็นอาการของโรคจิตไม่เป็นความผิดฐานนี้
-
คำว่า “ประพฤติตนวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้”
-
คำว่า “ถนนสาธารณะ”
หมายความเฉพาะ ทางบก ไม่รวมถึงทางน้ำ
และเฉพาะถนนที่รถเดินได้เท่านั้น แต่ทางน้ำอาจเป็นสาธารณะสถานได้
-
ความผิดตามมาตรานี้อาจเป็นความผิดตามมาตราอื่นด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 669/2484 จำเลยเมาสุราเดินเซเปะปะผัดหน้าขาว
ร้องเพลงรำตามขบวนแห่ แต่เมื่อเห็น จ. จำเลยก็หยุดรำและด่า จ.
แสดงว่ายังจำความได้ ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ ขอให้สังเกตว่า
ศาลฎีกาวินิจฉัยเฉพาะข้อที่ว่า “ครองสติไม่ได้” เท่านั้น ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นการประพฤติตนวุ่นวายหรือไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1100/2516 จำเลยกระทำการก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในที่ชุมนุมศาสนิกชน
ตาม มาตรา 207 และตามมาตรา 378 ต้องลงโทษตามมาตรา 207 ซึ่งเป็นบทหนัก
ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลย แม้จะเปรียบเทียบจำเลยไปแล้วคดียังไม่เลิกกัน
โจทก์ฟ้องตามมาตรา 207 ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1113/2516 จำเลยเมาสุราเตะถีบโต๊ะเก้าอี้ท้าทายนายตำรวจบนสถานีตำรวจ
เป็นการประพฤติตนวุ่นวายเป็นความผิดตามมาตรานี้
มาตรา 379 ผู้ใดชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
การทะเลาะด่ากันยังไม่เป็นวิวาทต่อสู้ ชักปืนจ้องยิง ยังไม่เป็นความผิดฐานนี้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 872/2464)
-
คำว่า ต่อสู้
ต้องมีการใช้กำลังเข้าทำร้ายกันด้วย และคำว่าต่อสู้หมายความว่า ๒
ฝ่ายสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายกัน ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง
หรือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจารย์พิพัฒน์ จักรางกูร อธิบายว่า วิวาทต่อสู้
ไม่ต้องเป็นการใช้กำลัง เพียงเกิดปากเสียกันก็ผิดมาตรานี้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 417/2472, 724/2485)
-
ขอให้สังเกตว่ากฎหมายใช้คำว่า “วิวาทต่อสู้” จึงน่าจะต้องใช้กำลังด้วย
-
คำว่า “วิวาทต่อสู้”
หมายความว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างคนสองคน ต่างกับคำว่า ชุลมุนต่อสู้
ตามมาตรา 294 ซึ่งต้องเป็นการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป
มาตรา 380 ผู้ใดทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ สระ หรือที่ขังน้ำ
อันมีไว้สำหรับประชาชนใช้สอย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
คำว่า “ปฏิกูล” แปลว่า น่าเกลียด
-
ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า ตามปทานุกรมแปลว่า
ทำให้น่าเกลียด แต่ในที่นี่หมายถึงทำให้โสโครก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1108/2505
จำเลยวิดน้ำเพื่อจับปลาในหนอง เป็นเหตุให้น้ำในหนองขุ่น
ไม่ถือว่าทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในหนอง
เพราะน้ำขุ่นเป็นสภาพที่เกิดขึ้นจากโคลนในหนองนั้นเองชั่วคราว
หาใช่ทำให้เกิดปฏิกูลไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม มาตรา 380
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1130/2520 จำเลยวิดน้ำเพื่อจับปลาในหนองเป็นเหตุให้น้ำในหนองขุ่น
ไม่ถือว่าทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในหนอง
เพราะน้ำขุ่นเป็นสภาพที่เกิดจากโคลนในหนองนั้นชั่วคราว หาใช่ทำให้เกิดปฏิกูลไม่
จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 380 / ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์
อธิบายว่า เรื่องนี้ไม่ปรากฏว่าน้ำขุ่นจากโคลนอยู่ชั่วคราวนั้นนานเท่าใด ถ้าน้ำขุ่นถึงขนาดปฏิกูลแล้ว
แม้จะชั่วคราวก็เป็นความผิด ไม่มีน้ำใดที่จะปฏิกูลอยู่ตลอดกาล
มาตรา 381 ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์
หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับทุกข์เวทนา อันไม่จำเป็น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
-
คำว่า “ทารุณ” คือ การแสดงความโหดร้าย “ทุกขเวทนา” คือ ความลำบาก
-
เสด็จในกรมหลวงราชบุรีอธิบายว่า
ฆ่าหมูโดยวิธีแทงคอเอาเลือดหมูไว้ก่อน ไม่เป็นความผิดฐานนี้
-
การกระทำตามมาตรานี้ต้องมีเจตนา
มาตรา 382 ผู้ใดใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควร
หรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นป่วยเจ็บ ชรา หรืออ่อนอายุ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
-
ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า
การใช้งานจนเกินสมควรหรือใช้งานอันไม่สมควร ต้องเนื่องจากตัวสัตว์นั้นเอง
กล่าวคือจะต้องเป็นเพราะสัตว์นั้นเจ็บป่วย ชรา หรืออ่อนอายุ จึงไม่สมควรที่จะใช้ทำงานดังกล่าว
ตัวอย่างเช่น สัตว์ป่วยไม่สามารถใช้บรรทุกของได้ยังขืนใช้บรรทุกของ
-
มาตรานี้ไม่ต้องมีเจตนา
เป็นหน้าที่ของผู้ใช้สัตว์จะต้องพิจารณาว่าสัตว์อยู่ในสภาพที่จะใช้งานถึงขนาดนั้นหรือไม่
มาตรา 383 ผู้ใดเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือสาธารณะภัยอื่น
และเจ้าพนักงานเรียกให้ช่วยระงับ ถ้าผู้นั้นสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า “เพลิงไหม้” ในที่นี้หมายความว่า
เพลิงที่สามารถลุกลามเป็นภัยต่อผู้อื่นได้ ต้องมีการเรียกให้ช่วยระงับโดยเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการระงับภัยนั้น
มาตรา 384 ผู้ใดแกล้งบอกกล่าวความเท็จให้เลื่องลือ
จนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
การกระทำความผิดสำเร็จตามมาตรานี้
จะต้องเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1081/2482 จำเลยอ้างว่าเป็นหมอวิเศษ
คนเชื่อแตกตื่นพากันไปให้รักษา ดังนี้ไม่ใช่ตกใจ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 96/2517 จำเลยออกโทรทัศน์พูดเท็จว่า
พระพรหมมาเข้าฝันว่าจะเกิดจลาจลให้พวกเกิดปีมะไปรับคาถาและทอดผ้าฝ่า คนจำนวนมากหลงเชื่อพากันมาออกเงินเป็นความผิดตามมาตรา
384 กระทงหนึ่ง ผิดตามมาตรา 343 และพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 มาตรา 8, 17
อีกกระทงหนึ่ง ให้ลงโทษตามมาตรา 343 ซึ่งเป็นบทหนัก / หมายเหตุ
ท่านอุทัย โสภาโชติ อธิบายว่า ฎีกาสองเรื่องนี้แตกต่างกันมาก เพราะเรื่องแรกเป็นเรื่องหลอก
ว่าตนเป็นหมอวิเศษสามารถรักษาโรคได้
จึงไม่ได้สร้างความน่าหวาดกลัวหรือน่าแตกตื่นตกใจ
แต่ฎีกาเรื่องหลังความเท็จที่บอกเล่านั้นยืนยันว่าจะเกิดจลาจล
ซึ่งเป็นภัยที่จะเกิดแก่บุคคลเป็นความไม่สงบเรียบร้อยแก่สังคม
การที่ประชาชนพากันไปรับคาถาและทอดผ้าป่ากับจำเลยก็เพราะมีความตื่นตกใจ
มาตรา 385 ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมาย
กีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัย หรือความสะดวกในการจราจร โดยวาง
หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด
ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
คำว่า “ทางสาธารณะ”มีความหมายตามมาตรา 1 (2)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1016 – 1027/2477 จำเลยกับพวก 10 คน
ตั้งและวางรถจักรยานยนต์สองล้อให้เช่าหัดขับขี่ในสนามหลวง
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ส่วนนั้นเป็นทางสาธารณะจึงไม่มีความผิดตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1020/2503
ที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินมือเปล่า มีทางพิจารณาไม่น้อยกว่า 40 ปี
สาธารณชนได้ใช้เดินและชักลากไม้มาประมาณ 20 ปี
ตั้งแต่เจ้าของเดิมก่อนจำเลยไม่มีการหวงห้ามแสดงสิทธิใด ๆ เลย ดังนี้
ถือว่าเป็นการอุทิศโดยปริยายให้เป็นทางสาธารณะแล้ว จำเลยไปปิดกั้น ย่อมเป็นผิดตาม
มาตรา 385
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1020-1021/2505
คลองหรือคูที่เจ้าของที่ดินขุดขึ้น เจ้าของไม่ได้อุทิศให้เป็นสาธารณะ
แม้จะยอมให้ประชาชนใช้ในการสัญจรไปมาบ้าง ก็ไม่ทำให้กลายเป็นทางสาธารณะ
ถึงเจ้าของจะทำทำนบหรือคันดินปิดกั้น ก็ไม่มีความผิดฐานปิดกั้นทางสาธารณะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1465/2519 จำเลยกับพวกอีก 2 คน ใช้เส้นลวดกลมขนาด 1 หุน จำนวน 3 เส้น ยาวเส้นละ 16
เมตร ทำเป็นเกลียวเส้นเดียวขึงกั้นสะพานบนถนน โดยใช้เส้นลวดผูกติดกับราวสะพานทั้งสองข้าง
เป็นแนวเฉียง ดักรถที่ผ่านมาชนเพื่อเอาทรัพย์สิน ผู้เสียหายซึ่งมีเงินติดตัวมาด้วย
กับพวกขับรถยนต์ผ่านมาพบจำเลยถือปลายลวดข้างหนึ่งจึงจับตัวไว้ การกระทำของจำเลยกับพวกไม่ใช่ขั้นตระเตรียม
เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด ถือได้ว่าจำเลยพยายามกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามมาตรา
340, 80 และมาตรา 385
-
คำว่า “วางหรือทอดทิ้งสิ่งของ” นั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 148/2483, 449–454/2483, 411/2494
วินิจฉัยว่า การปลูกบ้านหรือยาสูบในทางหลวง ไม่ใช่การทอดทิ้ง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1626/2479 วางของขายบนบันไดที่ล้ำบนทางเท้าแขวนตู้ที่ประตูเปิดล้ำเข้าไปในทางเท้า
เป็นความผิดตามมาตรานี้
มาตรา 386 ผู้ใดขุดหลุม หรือราง
หรือปลูกปัก หรือวางสิ่งของเกะกะไว้ในทางสาธารณะ
โดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมาย หรือทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
แต่ละเลยไม่แสดงสัญญาณตามสมควรเพื่อป้องกันอุปัทวะเหตุ
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
คำว่า “โดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมาย” หมายความว่าอย่างไร
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
ความผิดตามมาตรานี้ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง แต่เป็นความผิดในขณะที่กระทำลงเท่านั้น
ถ้าได้ทำมาเกิน 1 ปี ก็ขาดอายุความตามมาตรา 95 (5)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 104/2462 จำเลยทำฝายกีดขวางลำแม่น้ำเกิน
1 ปี แต่ไม่ใช่ทำแล้วก็เลิก จำเลยยังจัดการทำซ่อมแซมฝายอยู่ตลอดเวลา
เมื่อเจ้าพนักงานตัดฝายออกเพื่อทดลองดูน้ำที่ไหล จำเลยก็ซ่อมแซมขึ้นใหม่อีก
เมื่อไม่เกิน 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 576/2477
จำเลยปลูกเรือนในทางสาธารณะมา 18 ปี แล้วขาดอายุความ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 723/2479
ปลูกบ้านรุกทางสาธารณะทุก ๆ ปี ไม่ขาดอายุความ สำหรับการกระทำที่ยังไม่ครบ 1 ปี
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2480 โจทก์ฟ้องว่า
เมื่อระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ.2477 ตลอดมาจน พ.ศ.2478 และเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2479 จำเลยได้บังอาจปลูกต้นกก และกั้นรั้วไม้ทิ้งทับในลำแม่น้ำจันทบุรี
ซึ่งเป็นทางหลวง ขอให้ลงโทษตามมาตรา 336 ข้อ 2 / จำเลยรับว่าได้ปลูกต้นกกทุกปีเสมอมา
แต่ตัดฟ้องว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 78 (4) ศาลฎีกาเห็นว่าตามคำรับของจำเลยฟังไม่ได้ว่าปลูกเมื่อไร
จำเลยกลับสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โจทก์จะต้องนำสืบว่าไม่ขาดอายุความ
แต่โจทก์หานำสืบไม่ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยตัดฟ้องว่าขาดอายุความหาได้ไม่/
ส่วนข้อที่จำเลยรับว่าในปี พ.ศ.2479 จำเลยปลูกเมื่อเดือน 11 ก็เป็นเวลาภายหลังฟ้องคดีนี้ และสำหรับปี 2478
ถ้าจำเลยปลูกก่อนวันที่ 29 กรกฎาคม (โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 29
กรกฎาคม 2479) ก็ย่อมขาดอายุความ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ให้ยกฟ้องโจทก์ (ดูปลาต.มนธา.อมาตย์) ศาลเดิมหลวงสุธรรมานุวัติ
ศาลอุทธรณ์พระยาพิจารณา ปรีชามาตย์)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 710/2482 ปลูกเรือนรุกล้ำคลองเกิน 1 ปี แล้ว รื้อหลังคาออกมุงใหม่ตามสภาพเดิมไม่เป็นการทำความผิดขึ้นใหม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 781/2491 เทศบาลให้เช่าเขตถนนที่เชิงสะพานพุทธยอดฟ้าเพื่อใช้กองหิน
เมื่อหมดสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ขนออกไป ดังนี้ไม่เป็นความผิด
เพราะเมื่อขณะจำเลยกองหินนั้นได้รับอนุญาตโดยชอบแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1377/2520 การปลูกบ้านลงในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการปลูกปักในทางสาธารณะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1377/2520 ปลูกข้าวในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม
ป.อ. ม.386 ศาลพิพากษาปรับ 300 บาท อุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.ว.อ. ม.193ทวิ
ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 104/2526 วินิจฉัยว่า
การที่เจ้าพนักงานไม่ห้ามและไม่ทักท้วงไม่เป็นการอนุญาตโดยดุษณีภาพ
มาตรา 387 ผู้ใดแขวน ติดตั้ง
หรือวางสิ่งใดไว้ โดยประการที่น่าจะตกหรือพังลง ซึ่งจะเป็นเหตุอันตราย เปรอะเปื้อน
หรือเดือดร้อนแก่ผู้สัญจรในทางสาธารณ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
คำว่า “น่าจะตกหรือพังลง”
แสดงว่า ไม่ใช่แขวน ติดตั้ง หรือวางกับพื้น จะต้องวางไว้บนที่สูง
และคำว่า “ซึ่งจะเป็นเหตุอันตรายเปรอะเปื้อน
หรือเดือดร้อนแก่ผู้สัญจรในทางสาธารณะ” หมายความว่า แขวน
ติดตั้ง หรือวาง จะต้องใกล้กับทางสาธารณะ
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
เช่น วางกระถางต้นไม้บนดาดฟ้า
หรือกันสาดน้ำที่รดต้นไม้ไหลลงมาเปียกผู้เดินถนนน่าจะเป็นความผิดตามมาตรานี้
-
คำว่า “โดยประการที่น่าจะตกหรือพังลง”
แสดงว่า แม้จะยังไม่ตกหรือพังลง ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
มาตรา 388 ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้าต่อธารกำนัล
โดยเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
คำว่า “การอันควรขายหน้า”
นั้น ศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ อธิบายว่า คือเป็นที่อับอายแก่ผู้พบเห็น ไม่จำกัดเฉพาะที่เกี่ยวกับความใคร่หรือทางเพศเท่านั้น
แต่จำกัดเฉพาะเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย เช่น แต่งกายชุดประกวดนางงาม
หรือว่ายน้ำมาเดินซื้อของในตลาดนัดสนามหลวงเป็นความผิดฐานนี้
-
ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า “การเปิดเผยร่างกาย” นั้น หมายความว่า เฉพาะอวัยวะที่ควรปกปิด
เช่นของลับ ถ้าเป็นกรณีหญิงเปิดหน้าอกต้องดูจารีตประเพณีและอายุ เช่น มารดาเปิดนมให้ลูกกิน
ต้องถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าเข้าไปเปิดนมเป็นการแสดงในไนต์คลับก็เป็นความผิด
-
คำว่า “ธารกำนัล”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 770/2482, 1231/2482 วินิจฉัยว่า หมายความถึงการกระทำที่ประชาชนเห็นได้
-
คำว่า “กระทำการลามกอย่างอื่น”
ตามมาตรา 388
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1069/2506 วินิจฉัยว่า
ไม่ได้หมายความเฉพาะเกี่ยวกับร่างกายเท่านั้น หมายถึง วาจาด้วย จำเลยกล่าวคำว่า
“เย็ดโคตรแม่มึงต่อหน้าธารกำนัล” เป็นความผิดตามมาตรานี้ด้วย
มาตรา 389 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ
ให้ของแข็งตกลง ณ ที่ใด ๆ โดยประการที่น่าจะเป็นอันตราย
หรือเดือดร้อนรำคาญแก่บุคคล หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์
หรือกระทำด้วยประการใดให้ของโสโครกเปรอะเปื้อน
หรือน่าจะเปรอะเปื้อนตัวบุคคลหรือทรัพย์
หรือแกล้งทำให้ของโสโครกเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
คำว่า “กระทำด้วยประการใด
ๆ ให้ของแข็งตกลง ณ ที่ใด ๆ
โดยประการที่น่าจะเป็นอันตรายหรือเดือนร้อนรำคาญแก่บุคคล หรือเป็นอันตรายต่อทรัพย์”
ในตอนแรกนั้น ศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ และอาจารย์พิพัฒน์
จักรางกูร อธิบายว่า ไม่ต้องกระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิดตามมาตรานี้
แต่ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า
ความผิดสำเร็จเมื่อของแข็งตกลงมาและถ้อยคำของความผิดดังกล่าวแสดงว่าผู้กระทำต้องมีเจตนา
แต่เจตนาไม่ต้องคลุมถึงความน่าจะเป็นอันตรายหรือเดือดร้อน
-
คำว่า “กระทำด้วยประการใด
ๆ” น่าจะหมายความรวมถึง
การกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ ด้วย เพราะการกระทำความผิดลหุโทษนั้นมาตรา 104
บัญญัติว่า แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด ฉะนั้น การก่อสร้างในที่สาธารณะแล้วกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ของแข็งตกลงมาโดยประการที่น่าจะเป็นอันตรายหรือเดือดร้อนรำคาญแก่บุคคล
เช่นกรณีเกิดขึ้นในการก่อสร้างรถไฟฟ้าธนายงเป็นความผิดตามมาตรานี้
-
คำว่า “กระทำด้วยประการใด
ๆ ให้ของโสโครกเปรอะเปื้อนหรือน่าจะเปรอะเปื้อน” ในตอนที่สองนั้น
คำว่า “โสโครก” หมายความรวมทั้งของแข็ง
ของเหลว อากาศ ฝุ่นละออง ขี้เถ้า
-
คำว่า “แกล้ง” ในความผิดตอนที่สามนั้น แสดงว่า ต้องกระทำโดยเจตนาจึงจะเป็นความผิด
มาตรา 390 ผู้ใดกระทำโดยประมาท
และการกระทำนั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
กฎหมายมาตรานี้เกี่ยวพันกับมาตรา 291
ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 300
ผู้ใดกระทำโดยประมาท
และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
อาจารย์ยล
ธีรกุล อธิบายว่า การฝ่าฝืนกฎหมายแล้วเกิดกระทำผิดขึ้นจะถือว่ากระทำผิดโดยประมาทนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 931/2484 วางหลักว่า การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต้องเป็นเรื่องในสภาพความผิดโดยตรง
และคำพิพากษาฎีกาที่ 1661/2499 วางหลักว่าการฝ่าฝืนกฎหมายอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท
ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 43 นั้น ต้องได้ความว่า เนื่องจากการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายนั้น
เป็นเหตุให้เกิดการกระทำความผิดนั้นด้วย เช่นกฎหมายบังคับให้จุดโคมไฟรถในเวลาเดินรถกลางคืน
จำเลยไม่จุดโคมไฟรถจึงโดนผู้อื่นเพราะมืดมองไม่เห็น ต้องถือว่าจำเลยประมาท แต่กรณีขับรถยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่นั้นเกี่ยวกับความสามารถของตัวบุคคลผู้ขับขี่
ถ้าผู้ขับขี่มีความสามารถและเหตุที่ชนกันไม่ได้เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ เพียงไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่เท่านั้น
ไม่ทำให้เป็นความผิดฐานประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 206/2503 จำเลยขับรถผิดทางเข้าไปชนรถที่ผู้เสียหายขับขี่
เพียงแต่ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่เท่านั้น
ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ฟังว่าผู้เสียหายประมาทเลินเล่อ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 567/2506 ผู้ที่ขับรถยนต์หลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไปทางขวากินทางของรถฝายที่สวนมานั้น
ตามวิสัยจะต้องเป็นฝ่ายใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ
มิฉะนั้นอาจถือได้ว่าเป็นการเสี่ยงภัยของตนเอง
จำเลยขับรถบรรทุกหลีกรถที่จอดอยู่ไปทางขวาปิดทางรถที่กำลังลงสะพานสวนมาข้างหน้าโดยมิได้ชลอความเร็ว
ทำให้ผู้ขับขี่สวนมาไม่สามารถแก้ไขอย่างอื่นได้นอกจากห้ามล้อทันที
เป็นเหตุให้รถที่สวนมาเสียหลักไถลเอาข้างไปชนรถจำเลยเกิดอันตรายแก่รถและผู้ที่นั่งมา
จำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 491/2507 รถยนต์โดยสารสองคันแล่นตามกันมา
คันหนึ่งขอทางจะแซงขึ้นหน้า คันหน้าไม่ยอมกลับเร่งความเร็ว รถทั้งสองคัน จึงแล่นด้วยความเร็วสูง
เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ในถนนซึ่งแคบ และเป็นทางโค้ง
รถคันหลังเฉี่ยวกับรถยนต์บรรทุกซึ่งจอดข้างทาง
แล้วเซไปประทะรถยนต์คันหน้าที่แข่งกันมา ตกถนนพลิกคว่ำ
คนโดยสารได้รับอันตรายถึงสาหัสและไม่สาหัส ต้องถือว่าคนขับรถทั้งสองคันประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 94–95/2512 การวินิจฉัยว่าจำเลยขับรถโดยประมาทหรือไม่นั้น
ศาลต้องวินิจฉัยโดยพิจารณาการกระทำของจำเลยฝ่ายเดียว
อีกฝ่ายหนึ่งจะกระทำโดยประมาทหรือไม่ก็ไม่สำคัญ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1770/2516 แม้การขับรถของจำเลยเป็นที่น่าหวาดเสียว
เป็นเหตุให้เกิดชนกันอย่างแรง แต่เมื่อลักษณะบาดแผลของผู้เสียหายที่ได้รับเพียงบริเวณข้อศอก
ปลายแขนซ้ายมีรอยช้ำเล็กน้อย รักษาประมาณ 2 วัน เท่านี้ยังไม่รุนแรง จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
อันเป็นความผิดตามมาตรา 390
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5548/2530 จำเลยถูกผู้เสียหายด่า
จึงยิงปืนเพื่อขู่ไม่ให้ผู้เสียหายด่าจำเลยอีกต่อไป แต่จำเลยไม่เลือกยิงขึ้นฟ้า
กลับยิงไปที่ลูกกรงไม้ชานบ้าน ห่างจากจุดที่ผู้เสียหายยืนประมาณ 2 วา
ทำให้เศษไม้กระเด็นไปถูกผู้เสียหาย ได้รับอันตรายแก่กาย
จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2154/2534 จำเลยที่
2 สำคัญผิดว่าบุตรแรกเกิดของตนถึงแก่ความตายแล้ว จึงโยนลงมาจากหน้าต่างโรงแรม แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยที่
1 ร่วมลงมือกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 แต่การที่จำเลยที่ 1
อยู่ร่วมห้องเดียวกับจำเลยที่ 2 ตามลำพัง ขณะที่จำเลยที่ 2 คลอดบุตร จำเลยที่ 2
ย่อมจะต้องเจ็บปวด ซึ่งจะต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือตน
ตามพฤติการณ์จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1
ได้รู้เห็นในการคลอดบุตรของจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นการคลอดก่อนกำหนดประมาณ 2
เดือนเศษ ก็หาใช่ว่าเด็กทารกจะไม่มีชีวิตรอดอยู่เสมอไปไม่ จำเลยที่ 1
ในฐานะบิดาย่อมมีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ดูแลบุตร ด้วยการใช้ความระมัดระวังตรวจดูให้ถี่ถ้วนเสียก่อน
ว่าบุตรที่เกิดมายังมีชีวิตรอดอยู่หรือไม่ มิใช่ปล่อยให้จำเลยที่ 2
โยนบุตรทิ้งไปโดยมิได้ห้ามปรามทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 สามารถใช้ความระมัดระวังในกรณีเช่นนี้ได้
จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาท
เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตามมาตรา 390
-
O ความผิดตามมาตรา 390 ผู้เสียหายที่จะฟ้องได้
คือ ผู้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติจราจร เอกชนไม่เป็นผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1282/2514 จำเลยที่ 1
และที่ 2 ขับเรือแล่นมาตรงกลางลำน้ำด้วยความเร็วสูง เมื่อใกล้จะสวนกัน
เรือทั้งสองแล่นเกือบจะเป็นเส้นตรงเข้าหากันในลักษณะน่ากลัวจะเกิดโดนกัน
แม้จำเลยที่ 2 จะเบนหลีกไปทางขวามือในระยะกระชั้นชิด ส่วนจำเลยที่ 1
ก็มิได้ลดความเร็ว ทั้งมิได้เบนหลีกไปทางขวา แต่คงแล่นเรือตรงไป
เรือของจำเลยทั้งสองจึงชนกัน เป็นเหตุให้ผู้โดยสารในเรือจำเลยที่ 1 ตายและบาดเจ็บ
ดังนี้เป็นการที่จำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาท
เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2082/2517 จำเลยขับรถยนต์แซงรถบรรทุกซึ่งจอดอยู่ที่ขอบถนนด้านซ้ายในเส้นทางของจำเลยล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถโจทก์ร่วมที่กำลังสวนมา
ตรงที่เกิดเหตุมีเส้นแบ่งแนวจราจรเป็นเส้นทึบคู่
ห้ามขับรถคร่อมไปตามเส้นหรือล้ำออกนอกเส้นทางไปทางขวา
เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกันในเส้นทางของรถโจทก์ร่วม จำเลยชอบที่จะใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอกับวิสัยและพฤติการณ์โดยมองไปข้างหน้าว่ามียานพาหนะอื่นใดสวนทางมาหรือไม่
หากมองไม่เห็นเพราะมีเส้นโค้งจากถนนหรือสะพานบังอยู่ ก็ชอบที่จะชะลอรถให้ช้าลง
เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้วจึงค่อยแซงรถซึ่งจอดอยู่ขึ้นไป เมื่อจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังดังว่านี้
จึงนับว่าเป็นความประมาทของจำเลย หาใช่อุบัติเหตุไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 917/2530 จำเลยใช้ด้ามปืนตีศีรษะ
ว.
แตก เลือดไหล กระสุนปืนลั่นไปถูก ด. ตาย และ ส.
ได้รับบาดเจ็บ จำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ว. ตามมาตรา 295 ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ปืนยิงเพื่อฆ่าหรือทำร้าย
ว. กรณีจึงไม่ใช่จำเลยมีเจตนากระทำต่อ ว. แต่ผลของการกระทำเกิดแก่ ด. และ ส. โดยพลาด จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 290,295
ประกอบด้วยมาตรา 60 แต่เมื่อกระสุนปืนลั่นเป็นผลให้ ด. ตาย
และ ส. ได้รับบาดเจ็บนั้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยในการใช้ปืนตี
ว. จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 291, 390
และถึงแม้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา
แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเช่นนี้
ศาลก็ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามมาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม
-
O การบรรยายฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1088/2502
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัสโดยประมาทตามมาตรา 300 ทางพิจารณาได้ความว่า
บาดแผลของผู้เสียหายไม่ถึงสาหัสก็ลงโทษตามมาตรา 390 ได้
ไม่เรียกว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2930/2517 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ซึ่งห้ามล้อเท้าใช้ไม่ได้
ถือเป็นรถยนต์ที่มีเครื่องอุปกรณ์ไม่ถูกต้องตามกฎกระทรวง ทั้งขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์มาด้วย
โดยบรรยายไว้เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายอันเนื่องมาจากจำเลยขับรถยนต์ซึ่งห้ามล้อใช้ไม่ได้เท่านั้น
ดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกระทง
มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น
โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
O คำว่า
“อันตรายแก่กายหรือจิตใจ”
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
กฎหมายอังกฤษใช้คำว่า WOUND
คือ บาดแผล ซึ่งหมายความว่าต้องทำให้หนังขาด
กฎหมายอินเดียอธิบายไว้ว่าถ้าเป็นแต่เพียงเจ็บเล็กน้อยอันบุคคลธรรมดาไม่ถือโทษไม่เป็นความผิด
กฎหมายสวิสใช้คำว่ากระทำร้ายต่อความบริบูรณ์ของร่างกายหรือต่ออนามัย
คือความเสียหายแก่กายอย่างธรรมดา
กฎหมายเยอรมันถือเอาการรบกวนอย่างรุนแรงต่อสภาพปกติทางร่างกายหรือทำให้ความสมบูรณ์ทางร่างกายลดน้อยถอยลง
โดยไม่ต้องถึงกับได้รับความเจ็บปวด กฎหมายฝรั่งเศสใช้คำว่า ทุบตี และทำให้มีบาดแผล
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1990/2500 ชกเตะและใช้ไม้ถูพื้นทำร้ายมีบาดแผลขอบตาฟกช้ำ
แขนขวาขัดยอกรักษา 5 วันหาย ไม่เรียกว่าถึงบาดเจ็บ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 116/2503
จำเลยตีผู้เสียหายด้วยเกี๊ยะเป็นแผลบวมนูนรักษาอยู่ 7 วัน และ 5 วัน
ตามลำดับจึงหาย ดังนี้ด้วยลักษณะของการกระทำของจำเลยและฐานแผลของผู้เสียหายที่บวมนูนต้องรักษาอยู่หลายวันจึงหาย
ถือได้ว่าเป็นอันตรายแก่กายแล้วไม่จำเป็นต้องมีโลหิตไหล
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 703/2506 (สบฎ เน 39) การทำร้ายแค่ไหน
จะถือว่าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 295 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาถึงการกระทำของจำเลย
และบาดแผลของผู้เสียหายประกอบกัน จำเลยเพียงแต่ใช้เท้าเตะและใช้มือตบผู้เสียหาย
มิได้ใช้อาวุธทำร้าย ผู้เสียหายได้รับบาดแผลเพียงฟกช้ำเท่านั้น รักษาเพียง 5 วัน
ก็หาย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 295
คงเป็นความผิดตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 688/2507
ใช้เท้าเตะและถีบผู้เสียหายมีบาดแผลที่ดั้งจมูกถลอกเล็กน้อยเท่าเมล็ดข้าวเปลือก หางคิ้วซ้ายถลอกเล็กน้อย
ใบหูขวาช้ำเล็กน้อย รักษา 2 วันหาย
เรียกว่ายังไม่ถึงขั้นเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ คงเป็นความผิดตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 889/2507 ใช้มีดดาบแทงทำร้ายถูกชายโครงซ้ายมีรอยช้ำแดงโตกลมครึ่งเซนติเมตร
รักษาประมาณ 5 วัน หายนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
จึงมีความผิดตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1399/2508 ถูกชก ตี
ไม่ปรากฏบาดแผลเป็นอันตรายแก่กาย แล้วถูกพาตัวไปคุมขังไว้ใต้สถานีตำรวจแต่เดียวดาย
ไกลหูไกลตาผู้ต้องหาด้วยกัน เช่นนี้ไม่เป็นอันตรายแก่จิตใจ ตามมาตรา 295
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 202/2510 บาดแผลเพียงโหนกแก้มถลอกโตกลมประมาณ
3 เซนติเมตร ข้อศอกหนังถลอกโตกลมประมาณ 5 เซนติเมตร รักษาประมาณ 4 วัน ยังไม่เป็นอันตรายแก่กายตามมาตรา
390
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1770/2516 แม้การขับรถของจำเลยเป็นที่น่าหวาดเสียว
เป็นเหตุให้เกิดชนกันอย่างแรง
แต่เมื่อลักษณะบาดแผลของผู้เสียหายที่ได้รับเพียงบริเวณข้อศอก
ปลายแขนซ้ายมีรอยช้ำเล็กน้อย รักษาประมาณ 2 วัน เท่านี้ยังไม่รุนแรงจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตามมาตรา
390
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 330/2535 ผลการชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่า
มีรอยบวมเล็กน้อยที่ขมับด้านซ้าย บาดแผลรักษาหายภายใน 3 วัน
เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ.มาตรา
391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1583/2535 ป. พวกของจำเลยไม่พอใจผู้เสียหายเพราะ ป. ขับขี่จักรยานยนต์เฉี่ยวผู้เสียหาย
ผู้เสียหายยกศอกขึ้นกันถูกศีรษะ ป. สาเหตุดังกล่าวเป็นเหตุเล็กน้อยไม่ทำให้
ป. กับพวกโกรธแค้นถึงกับจะต้องฆ่าผู้เสียหาย เมื่อ ป.
กับพวกและจำเลยพบกับผู้เสียหาย ป. ได้พูดจาโต้เถียงแล้วพวกของ
ป. ชกผู้เสียหาย ห. ใช้มีดปลายแหลมแทงผู้เสียหาย
จำเลยกับพวกที่เหลือเข้ามารุมต่อยแสดงว่าพวก ป. มีความโกรธเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที
ทั้งไม่ปรากฏว่าได้สมคบกันมาก่อน ต่างคนต่างมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย
ดังนั้น แต่ละคนจึงมีความผิดตามผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของแต่ละคน
เมื่อจำเลยเพียงแต่ชกต่อยผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่มีแผลฟกช้ำซึ่งแสดงว่าถูกต่อย
จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ตาม ป.อ. มาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2536
จำเลยใช้มือจับแขนขวาของผู้เสียหายกระชากไพล่ไปทางด้านหลัง
เป็นเหตุให้เส้นเอ็นที่หัวไหล่ขวาของผู้เสียหายอักเสบเล็กน้อย
ไม่มีบาดแผลหรือช้ำบวมภายนอก ใช้เวลารักษาประมาณ 15 วัน
ถือว่าไม่เป็นอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 295
ที่ฟ้องแต่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391
ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 658/2536 จำเลยจะใช้อาวุธปืนจะยิงผู้เสียหาย
ผู้เสียหายกระโดดจากบ้านล้มลงมีบาดแผล ถือเป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำของจำเลย
จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 708/2536 จำเลยเพียงแต่ใช้มือทำร้ายผู้เสียหาย
และบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับเพียงแต่ช้ำบวมที่หัวคิ้วขวาเท่านั้น ไม่มีโลหิตออก
แพทย์ลงความเห็นว่าบาดแผลจะหายภายใน 10 วัน นั้น ก็เป็นแต่การคาดคะเน
บาดแผลดังกล่าว อาจจะหายเวลาไม่ถึง 10 วันก็ได้ พิเคราะห์ถึงการกระทำของจำเลย
และบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับประกอบด้วย จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2192/2539
ผู้เสียหายมีบาดแผลที่ใบหน้าบริเวณโหนกแก้วขวาบวมช้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3
เซนติเมตร มีรอยถลอกเป็นทาง 1 เซนติเมตร ที่บริเวณเขียวช้ำตามร่างกายไม่พบบาดแผล
บาดเจ็บที่ใบหน้าจากของแข็งไม่มีคมใช้เวลารักษาประมาณ 1 วันหาย
ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน ลักษณะของการกระทำและบาดแผลดังกล่าว
ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2192/2539 ในทางนำสืบโจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยาน
แต่คำเบิกความของผู้เสียหายกับจำเลยยันกันอยู่
จึงต้องอาศัยพยานแวดล้อมมาฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายมีบาดแผลที่ใบหน้าบริเวณโหนกแก้วขวาบวมช้ำเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
3 เซนติเมตร มีรอยถลอกเป็นทาง 1 เซนติเมตร ที่บริเวณเขียวช้ำตามร่างกายไม่พบบาดแผล
บาดเจ็บที่ใบหน้าจากของแข็งไม่มีคมใช้เวลารักษาประมาณ 10 วัน หาย
ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน
ลักษณะของการกระทำและบาดแผลดังกล่าวไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ / แม้โจทก์จะฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
แต่ทางพิจารณาได้ความว่า
จำเลยกระทำความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ การจะลงโทษจำเลยในฐานะความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณาจะต้องดูว่าคดีไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.อ. มาตรา 95 ด้วย เมื่อความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณา
มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนจึงมีอายุความหนึ่งปี ตามมาตรา 95 (5)
นับแต่วันกระทำความผิด จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2533
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกกาคม 2535 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
-
มาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2509
การใช้เท้าเงื้อจะถีบไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจ
เพราะอันตรายต่อจิตใจนั้นต้องมีผลจากการทำร้ายความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม เจ็บใจ
แค้นใจ เหล่านี้เป็นอารมย์ หาใช่เป็นอันตรายต่อจิตใจไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 895/2509 จำเลยเอาก้อนอิฐขว้างปาผู้เสียหาย
ผู้เสียหายหลบ ก้อนอิฐไม่ถูกตัวผู้เสียหาย แต่ตัวผู้เสียหายเซไป
มือจึงฟาดถูกข้างเรือทำให้ปลายมือบวมยาว 4 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร
และเจ็บบริเวณศีรษะ ถือได้ว่าอันตรายแก่กายนี้ เนื่องจากการกระทำของจำเลย
จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 295 (ดูคำพิพากษาฎีกา 658/2536)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1069/2510 การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ตามมาตรา 295
ต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์การกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายประกอบกัน จำเลยใช้มือชกต่อยและใช้เท้าเตะผู้เเสียหายมีบาดแผลที่หน้าผากข้างขวาถลอก
โหนกแก้วขวาบวมเล็กน้อยรักษาประมาณ 5 วันหาย
ไม่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามมาตรา 295 แต่มีความผิดตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1089/2511 จำเลยใช้กำลังทำร้ายภริยาของตน
แม้จะมีแผล 6 แห่ง ก็เป็นเพียงรอยช้ำ ไม่ปรากฏว่าใหญ่ขนาดไหน
และอาจรักษาหายได้ภายใน 5 วัน เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 235/2513 จำเลยใช้กำลังทำร้ายกัน
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทำร้ายจำเลยที่ 5 มีบาดแผลเป็นรอยช้ำบวม 3 แห่ง
และทำให้ฟันโยกด้วย แม้จะไม่ปรากฏว่ามีโลหิตไหลแต่ก็ต้องรักษาตัวถึง 10 วัน
พฤติการณ์แห่งการกระทำประกอบกับลักษณะบาดแผลถือได้ว่ากระทำให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 437/2515 จำเลยเตะผู้เสียหายทั้งรองเท้า
มีบาดแผล รอยช้ำบวมที่หน้าผาก เบ้าตา ช้ำบวมเขียว ตาขวามีรอยช้ำเลือด
ริมฝีปากล่างแตก รอยช้ำบวมที่ปลายคาง หัวเข่าบวมเล็กน้อย มีรอยถลอกเลือดออกซิบ
บาดแผลทั้งหมดควรจะหายภายใน 7 วัน เช่นนี้ถือว่าเกิดอันตรายแก่กายแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 46/2519 จำเลยตบปากโจทก์
2 ครั้ง ต่อหน้าคนประมาณ 60 คน ไม่มีบาดแผล เป็นแต่ริมฝีปากบวมใช้เวลารักษา 3 วัน
บาดแผลดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่จิตใจของโจทก์
เหตุที่ให้เกิดอันตรายแก่จิตใจ
ต้องขึ้นอยู่กับการกระทำของจำเลยประกอบบาดแผลของโจทก์ผู้ถูกทำร้าย
มิได้ขึ้นกับความรู้สึกของโจทก์ว่าเป็นการหยามน้ำใจต่อหน้าคนทั้งปวง
หรือเป็นการทำร้ายจิตใจให้เกิดความหวดระแวงอยู่ตลอดเวลา
การกระทำไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 149/2520 บาดแผลถูกฟันด้วยมีดดาบ
2 แผล กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ลึกหนังถลอกไม่ถึงเป็นอันตรายแก่กาย
ตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1867/2527 การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายนั้น
จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ความรุนแรงแห่งการกระทำของจำเลย ประกอบบาดแผลที่ผู้ถูกทำร้ายได้รับ
จำเลยเป็นหญิงใช้เล็บข่วนดั้งจมูกผู้เสียหายเป็นรอยเล็บข่วนยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีโลหิตไหล
ยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายแก่กาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3442/2527 จำเลยเพียงแต่ใช้มือทำร้ายผู้เสียหาย
มีบาดแผลบวม 2 แห่ง ไม่มีโลหิตออก แม้แพทย์ลงความเห็นว่า จะหายเป็นปกติภายใน 10
วัน ก็เป็นเพียงคาดคะเน เพราะอาจจะหายก่อน 10 วันก็ได้ จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 391
เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 440/2530 จำเลยใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกขว้างผู้เสียหาย
โดยไม่ปรากฏว่าเป็นไม้ไผ่ขนาดไหน และจำเลยใช้มือตบผู้เสียหายเท่านั้น
มีบาดแผลเป็นรอยถลอกไม่มีโลหิตไหล ส่วนรอยบวมถ้ากดจึงเจ็บ
อาจหายเป็นปกติได้เร็วกว่า 5 วัน
เป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงขนาดเกิดอันตรายแก่กาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4441/2530
การที่จำเลยเข้าไปดึงสร้อยคอทองคำผู้เสียหายขาดแล้ว ผู้เสียหายเซไปถูกรถ
ทำให้ผู้เสียหายมีบาดแผลโดยเจ็บที่บริเวณหน้าอก แต่โลหิตไม่ไหล
เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1937/2531 จำเลยเอามีดวางบนคอผู้เสียหาย
แล้วเกิดแย่งมีดกันทำให้บริเวณต้นคอด้านซ้ายของผู้เสียหายมีรอยถูกกระแทกด้วยของแข็งเป็นปื้นสีแดง
และมีรอยถลอกเป็นเส้นยาว 3 นิ้วฟุต
ยังถือไม่ได้ว่าเป็นบาดแผลถึงกับเป็นเหตุให้รับอันตรายแก่กาย จำเลยผิดตามมาตรา 391
-
O มาตรา
391 ใช้คำว่า “ใช้กำลังทำร้าย” ต้องกระทำโดยเจตนา (คำพิพากษาฎีกาที่ 1119/2517)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2584/2522 วินิจฉัยข้อกฎหมายว่า
ที่โจทก์ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการพยายามฆ่าโจทก์โดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น
โจทก์มิได้โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังจากพยานหลักฐานของโจทก์
แต่โจทก์อ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมานั้นเป็นการพยายามฆ่าโจทก์โดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 289,
80 ฎีกาข้อนี้ของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย / ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์ขับรถยนต์มาติดสัญญาณจราจรที่หัวถนนกรุงเกษม
โดยมาจอดต่อท้ายรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ และจำเลยที่ 2 นั่งมาด้วย
ต่อมารถยนต์ที่จอดข้างหลังรถยนต์ของโจทก์บีบแตรไล่จำเลยทั้งสองเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนบีบแตรไล่จึงหันมามองโจทก์ด้วยความไม่พอใจ
เมื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่างขับรถไปติดสัญญาณจราจรที่สะพานหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง
จำเลยที่ 1 ลงจากรถยนต์มาถามโจทก์ว่า โจทก์บีบแตรไล่ทำไม โจทก์ตอบว่าไม่ได้บีบแตร
แล้วต่างโต้เถียงกัน และโจทก์พูดว่าจำเลยที่ 1 เป็นทหารทำไมจึงเกเร จำเลยที่ 1
จับแขนของโจทก์ โจทก์สะบัดหลุด จำเลยที่ 1 จึงชกโจทก์แต่ไม่ถูกเพราะโจทก์หลบ
พอมีสัญญาณจราจรให้รถผ่านไปได้ จำเลยที่ 1
ก็กลับไปแล้วขับรถไปจอดที่หัวถนนมหาพฤฒาราม พอโจทก์ขับรถผ่านไปจำเลยที่ 1
ได้ขับรถตามไป แล้วจำเลยที่ 1 ขับรถปาดหน้ารถยนต์ของโจทก์รวม 4 ครั้ง แล้วจำเลยที่
1 ขับรถตามรถยนต์ของโจทก์ไป โจทก์เห็นจำเลยที่ 1
ถือปืนสั้นโดยเอากระบอกปืนพาดที่หน้าต่างรถยนต์และจ้องปากกระบอกปืนมาทางโจทก์
โจทก์ขับรถหนี พอจำเลยที่ 1 ขับรถมาอยู่ในระดับเดียวกับรถยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 2
พูดว่าเอาเลย ๆ จำเลยที่ 1 จึงยิงโจทก์ 1 นัด
แต่กระสุนปืนไม่ถูกโจทก์และพลาดไปถูกไฟท้ายรถยนต์ของโจทก์ / ศาลฎีกาพิเคราะห์ข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว
เห็นว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน
แต่จำเลยทั้งสองไม่พอใจโจทก์ เพราะเข้าใจว่าโจทก์บีบแตรไล่รถยนต์ของจำเลย
และไม่พอใจที่โจทก์พูดว่าจำเลยที่ 1 เกเร แม้จำเลยที่ 1 พยายามขับรถปาดหน้ารถยนต์ของโจทก์หลายครั้ง
เพื่อให้รถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของจำเลย
แล้วจำเลยจะได้กล่าวหาว่าโจทก์ขับรถยนต์ชนรถยนต์ของจำเลย
แต่โจทก์ก็หลบหลีกและหยุดเสียทันทุกครั้ง
จำเลยทั้งสองเกิดโทสะที่รถยนต์ของโจทก์ไม่ชนรถยนต์ของจำเลยตามแผนที่จำเลยวางไว้
จำเลยที่ 2 พูดเป็นทำนองยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่ 1 ยิงโจทก์ และจำเลยที่ 1
จึงยิงโจทก์ ทั้งปืนที่จำเลยที่ 1
ใช้ยิงโจทก์นั้นเป็นปืนที่จำเลยมีอยู่ในรถยนต์ก่อนแล้ว
ไม่ใช่เพิ่งไปหามาหลังจากที่โกรธโจทก์ดังกล่าว
จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการพยายามฆ่าโจทก์โดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว
คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 80 / ที่โจทก์ฎีกาว่า
การที่จำเลยที่ 1
จับแขนของโจทก์ดึงกระชากเพื่อให้ลงจากรถยนต์เป็นการใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 นั้น โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ด้วย
แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้
ซึ่งศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ศาลฎีกาเห็นว่าที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1
จับแขนของโจทก์ดึงกระชากเพื่อให้ลงจากรถยนต์นั้น
จากคำเบิกความของโจทก์ปรากฏเพียงว่าจำเลยที่ 1 จับแขนของโจทก์ซึ่งวางที่ประตูรถยนต์แล้วโจทก์สะบัดแขนหลุด
ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ดึงกระชากแขนของโจทก์แต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1
เพียงแต่จับแขนของโจทก์
ไม่เป็นการใช้กำลังทำร้ายโจทก์โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 / หมายเหตุ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
ใช้กำลังทำร้ายตามมาตรา 391 ไม่ใช่ “ใช้กำลังประทุษร้าย”
ตามมาตรา 1 (6) ซึ่งมีบทนิยามไว้โดยเฉพาะตามมาตรา
391 คงเทียบได้กับ “Battery” ตามกฎหมายอังกฤษ (Smith
& Hogan, Criminal Law Ed, 4 (1978) p.352 คือ
ใช้กำลังทำร้ายต่อเขา (violence) รวมถึงแตะต้องร่างกายเขาแม้แต่เล็กน้อยก็เป็นความผิดฐานนี้
อาจใช้วัตถุอย่างหนึ่งแตะต้องตัวเขา ถ่มน้ำลายรด
ขุดหลุมให้เขาตก ไล่เขาให้ชนสิ่งกีดขวาง ยุสุนัขให้กัดเขา
แตะต้องร่างกายโดยเขาไม่ยินยอมก็พอ (p.354) แต่ไม่หมายความถึงถูกต้องเนื้อตัวในกรณีที่เป็นปกติธรรมดา เช่น ถูกต้องเนื้อตัวเพื่อให้หันมาสนใจ
แม้ผู้ที่ถูกสะกิดจะบอกแล้วว่าอย่ามายุ่ง (Coward v. Baddeley (1859)
p.354) คือ ต้องการมีการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ (hostility) ต่อกัน และไม่หมายความถึงให้กินสิ่งที่เป็นพิษ (Rv. Clarence
(1888) Kenny, Outline of the Criminal Law ed.7 (1958) No p.166 p.197 note 8) ในเรื่องนี้ปรากฏเพียงจำเลยจับแขนโจทก์ที่วางอยู่ที่ประตูรถยนต์
ไม่รู้ว่าจับในการอันเป็นปกติธรรมดาหรือโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
จึงยังไม่เป็นการใช้กำลังทำร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2199/2519 จำเลยใช้กำลังจับมือผู้ตายให้ลุกขึ้นโดยผู้ตายไม่สมัครใจ
เมื่อผู้ตายบอกว่าจะไปสวมเสื้อก่อน จำเลยจึงปล่อยไป
ถือได้ว่าจำเลยใช้กำลังทำร้ายจึงเป็นความผิดตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1246/2526 ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยกับ
ข.
คบคิดกันมาก่อน
ขณะเกิดเหตุก็ไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าร่วมกันกระทำโดยเจตนา
กรณีเกิดขึ้นโดยกระทันหันต่อเนื่องจากการวิวาท ผู้เสียหายเข้าไปห้ามจำเลยเอาขวดตี
บ. ใช้มีดแทงแม้จะหลบหนีไปด้วยกันก็ไม่พอฟังว่าร่วมกระทำผิดด้วยกัน
มีบาดแผลไม่มีรอยช้ำที่ท้ายทอยและบาดแผลถูกแทง การที่ผู้เสียหายล้มคว่ำน่าจะเป็นเพราะผู้เสียหายถูกชนมิใช่เกิดจากถูกตี
จำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
ตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1416 – 7/2479 ราดด้วยอุจจาระถูกร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะลงมาตามตัว เปื้อนเนื้อตัวเสื้อผ้า เป็นการใช้กำลังทำร้าย
ผิดตาม ม 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 634/2486 ถ่ายปัสสาวะรด
เป็นการใช้กำลังอย่างหนึ่ง คือเคลื่อนไหวร่างกาย ผิดตาม ม 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1119/2517 วินิจฉัยว่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้บังอาจใช้มือผลักอกพลตำรวจสุวรรณ จูฑะจันทร์ 1 ครั้ง
โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 / ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เป็นความผิดลหุโทษ
ซึ่งมาตรา 104 บัญญัติว่า แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด
เว้นแต่ตามบทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น ปัญหาจึงมีว่า
มาตรา 391 มีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ เห็นว่า มาตรา 391 บัญญัติว่า
“ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจต้องระวางโทษ
…ฯลฯ” การใช้กำลังย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าต้องมีเจตนา
ประกอบกับคำว่า ทำร้าย
เป็นการชัดแจ้งว่าต้องมีเจตนากระทำต่อร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่นคือต้องมีเจตนาทำร้าย
เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยใช้กำลังผลักอกผู้เสียหาย
มิให้ผู้เสียหายขึ้นไปบนอัฒจันทร์ โดยจำเลยมิได้มีเจตนาทำร้าย
การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบด้วยรูปคดีแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1679/2526 จำเลยกับพวกรุมชกต่อยผู้ตาย
ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าเป็นการร่วมทำร้ายโดยเจตนาฆ่า อ. ยิงผู้ตาย จำเลยไม่ได้บอกให้ยิง ความตายไม่ได้เกิดจากผลการทำร้ายของจำเลย
เมื่อ อ. ยิงแล้ว จำเลยก็ไม่ได้กระทำต่อผู้ตายอีก
จำเลยควรรับผิดเพียงเท่าที่ตนกระทำ เมื่อไม่ปรากฏบาดแผลจากการชกต่อย
คงมีบาดแผลเฉพาะจากกระสุนปืนอย่างเดียว
จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายไม่ถึงบาดเจ็บตามมาตรา 391 เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 658/2536 จำเลยจะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย
ผู้เสียหายกระโดดจากบ้านล้มลงมีบาดแผล เป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำของจำเลย
จำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ
(ดูฎีกาที่ 895/2509)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 962/2535 โจทก์ร่วมมีบาดแผล
2 แห่ง คือ ใต้ศอกขวา แผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ลึกใต้ผิดหนังและบวม
กับที่หางตาขวาบวมแดงพื้นที่ประมาณ 1 x 1 เซนติเมตร
แพทย์ลงความเห็นว่าแผลถูกของแข็งรักษาประมาณ 7 วัน
ถือเป็นบาดแผลเล็กน้อยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 391
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3913/2534 ขณะเกิดเหตุคนที่มาในงานเลี้ยงโกรธผู้ตายที่ยิงปืน
จึงต่างคนต่างทำร้ายผู้ตาย โดยจำเลยเพียงเข้าไปเตะและกระทืบผู้ตาย
ซึ่งนั่งอยู่ในครัวโดยมิได้ใช้สิ่งใดเป็นอาวุธทำร้ายร่างกายผู้ตาย
จำเลยได้กระทำไปตามลำพังโดยมิได้ร่วมหรือสบคบกับผู้อื่น ปรากฏจากบาดแผลผู้ตายเกิดจากการถูกตีด้วยความแรง
ร่างกายส่วนอื่นไม่มีบาดแผล เหตุที่ผู้ตายตายเนื่องจากถูกตี
แสดงว่าการที่จำเลยเตะและกระทืบผู้ตาย มิได้เป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดแผลดังกล่าว
จำเลยมีความผิดเพียงใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
ตามมาตรา 391 เท่านั้น
-
ศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
ศาลวินิจฉัยว่าการกระทำผิดตามมาตรานี้ต้องมิใช่เกิดจากสมัครใจวิวาททำร้ายกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1495/2500 โจทก์ฟ้องว่า
จำเลยทั้งสองได้บังอาจใช้กำลังกายทำร้ายร่างกายกัน โดยนายเทียมจำเลยที่ 1
ใช้กำลังกายทำร้ายร่างกายนายเวียนจำเลยที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ ส่วนนายเวียนจำเลยที่ 2
ใช้กำลังกายทำร้ายนายเทียมจำเลยที่ 1 ไม่บาดเจ็บ ดังนี้ นายเวียนจำเลยที่ 2
ไม่ผิดตามมาตรานี้ เพราะมิได้ทำร้ายฝ่ายเดียว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 486/2481 ถ้าฝ่ายหนึ่งทำร้ายก่อน อีกฝ่ายหนึ่งทำร้ายตอบไม่เป็นการวิวาท
และเป็นความผิดตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 953/2484 สองฝ่ายทำร้ายกันในเวลาเดียวกัน เป็นการวิวาท
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 391
-
(ขส เน 2517/ 6) นายบรรเทิงซื้อตั๋วหนังราคาถูก
เดินจะไปนั่งชั้นที่ราคาแพง โดยเข้าใจผิด / เจ้าหน้าที่ร้องห้าม
แต่นายบรรเทิงไม่ได้ยินเดินเข้าไป ถูกเจ้าหน้าที่ผลักอกกันไว้
เป็นเหตุให้ชนคนข้างหลัง / เจ้าหน้าที่ไม่ผิด ม 391 เพราะไม่ใช่การใช้กำลังทำร้าย “โดยเจตนา” ซึ่ง ม 391 ข้อความแสดงในตัวบท
แสดงให้เห็นว่าต้องการเจตนา ฎ 1119/2517
-
(ขส อ 2542/ 4) เข้าไปรับเมีย แม้ถูกแม่ยายห้าม
ก็มีเหตุอันควร ไม่ผิด ม 364 ฎ 6506/2542 / ผลักแม่ยาย ผิด ม 391
มาตรา 392 ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
ประเด็น / องค์ประกอบ – / พยายาม – ความผิดสำเร็จ
/ ผู้เสียหาย / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
-
การกระทำที่ก่อให้เกิดความกลัว
หรือตกใจ รวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายแล้ว
เป็นความผิดที่มีโทษเบา จึงลงโทษฐานพยายามทำร้ายร่างกายอันเป็นบทหนัก
-
กฎหมายใช้คำว่า
“ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจ”
หมายความว่า ต้องมีผล คือความกลัวหรือความตกใจ
และถ้าขู่แต่ไม่กลัว ลงโทษฐานพยายามไม่ได้ ตามมาตรา 105
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 40/2509 จำเลยทั้งสองร่วมวงเสพสุรากับจำเลยที่ 2
พูดว่าจะทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ไปหาผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ตามไปด้วย
และยืนอยู่ด้วยเป็นการสมทบกำลังให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2
ถือมีดไล่แทงผู้เสียหายซึ่งยืนห่างระยะ 1 วา
ผู้เสียหายกระโดดหนีและวิ่งขึ้นเรือนได้ทันจึงแทงไม่ได้
เป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกาย ส่วนจำเลยที่ 1 วิ่งไล่ไปด้วย
จึงกระทำผิดร่วมกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 337/2517 จำเลยถือปืนพลาสติกมาขู่เข็ญทำท่าจะยิงผู้เสียหาย
ผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นปืนจริง เกิดความกลัวหรือตกใจ จำเลยมีความผิดตามมาตรา 392
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 924/2542
จำเลยกับพวกร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง
ในเวลาประมาณเที่ยงคืนในขณะที่ผู้เสียหายดังกล่าวเข้านอนแล้ว
แม้จะมีเจตนาเพียงตามหาคน โดยไม่ได้แสดงอาการข่มขู่
หรือทำร้ายผู้เสียหายดังกล่าวก็ตาม
ก็ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นการกระทำความผิดตามข้อหาที่โจทก์กล่าวอ้างแล้ว
/ แม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่าไม่กลัวต่อการขู่เข็ญของจำเลยก็ตาม แต่ตามลักษณะการกระทำของจำเลยที่ใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหาย
มิให้เกี่ยวข้องห้ามปราม หรือหยุดยั้งการกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวก
โดยปกติย่อมทำให้เกิดความกลัวหรือความตกใจ และผู้เสียหายก็ไม่กล้าขัดขืน
หรืออีกนัยหนึ่งยอมปฏิบัติตามคำขู่เข็ญ แสดงให้เห็นได้ในตัวว่าการขู่เข็ญของจำเลยทำให้เกิดผล
คือทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวแล้ว
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญตาม
ป.อ. มาตรา 392 แล้ว
-
การกระทำผิดตามมาตรานี้
ต้องเป็นการขู่เข็ญ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1110/2504 ผู้เสียหายไปทวงเงินจากจำเลย
และกลับไปแล้ว
จำเลยโกรธผู้เสียหายเดินด่าผู้เสียหายอยู่บนบ้านจำเลยว่าบักถวิลโคตรพ่อโคตรแม่มึง
มึงไม่สำนึกว่ามึงจะตายโหง กูมีปืนอยู่ 2 กระบอก กูจะเอามึงให้ตายแน่คราวนี้
โดยไม่รู้ว่าผู้เสียหายกลับมาแอบฟังอยู่ ดังนี้
เป็นการระบายอารมณ์ที่ไม่พอใจไม่น่ากลัว หรือตกใจว่าจำเลยจะยิงผู้เสียหายดังที่พูด
ไม่เป็นการขู่เข็ญ ตามมาตรา 392 คำว่า “ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ”
แสดงว่า จำเลยต้องมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหาย
แต่คดีนี้จำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายแอบฟัง จึงเห็นได้ว่าจำเลยระบายอารมณ์
ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่มีเจตนาจะขู่เข็ญผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2089/2511 จำเลยด่าโจทก์ซึ่งหน้าว่า
อีหมาไปควักเอากระดูกพ่อกระดูกแม่มึง เจ็ดชั่วโคตรมาสู้กับกู อีหน้าหมูอีหน้าหมา เป็นถ้อยคำดูหมิ่นซึ่งหน้าโจทก์
ตามมาตรา 393 ไม่เป็นการทำให้ตกใจกลัวด้วยการขู่เข็ญตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 337/2517
จำเลยถือปืนพลาสติกมาขู่เข็ญทำท่าจะยิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายเข้าใจว่าปืนจริง
เกิดความกลัวหรือตกใจ จำเลยต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2926/2522 คำพูดของจำเลยที่ว่า ฮากับคิง สู้กันที่ถนนในหมู่บ้าน คิงกับฮาต้องตายไปข้างหนึ่ง
ดังนี้เป็นคำท้า ไม่ใช่ขู่เข็ญตามมาตรา 392
-
ความผิดตามมาตรานี้
อาจเป็นความผิดรวมอยู่ในความผิดตามกฎหมายมาตราอื่น ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียว
เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3892/2529 จำเลยทั้งสองและพวกบุกรุกเข้าไปขับไล่ให้ผู้เสียหายออกไปจากขนำของผู้เสียหาย
ครั้นผู้เสียหายขัดขืนจำเลยที่ 1
และพวกจึงใช้ปืนยิงขู่จนผู้เสียหายตกใจกลัวแล้วออกจากขนำไป
การกระทำของจำเลยและพวกมีเจตนาขู่เข็ญเพื่อขับไล่ผู้เสียหายให้ออกไปจากขนำเป็นข้อสำคัญอันเป็นความผิดกรรมเดียว
อันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท คือมาตรา 365 (2) และมาตรา 392
ลงโทษตามมาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1972/2531 จำเลยกับพวกบุกรุกขึ้นไปบนบ้าน
ซึ่งเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย โดยมีอาวุธปืนติดตัวไปด้วย
แล้วใช้อาวุธปืนยิง เพื่อขู่เข็ญให้ผู้เสียหายกับพวกเกิดความกลัว
จนผู้เสียหายกับพวกลงจากบ้านหนีเข้าไปในป่า
แสดงว่าจำเลยกับพวกบุกรุกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหาย
ก็เพื่อขับไล่ผู้เสียหายให้ออกไปจากบ้าน เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมออกไป
จึงยิงปืนขู่เข็ญให้ผู้เสียหายเกิดความกลัว จะต้องออกจากบ้านเข้าไปในป่า
การกระทำของจำเลยต่อเนื่องกันโดยเจตนาประการเดียว
คือเพื่อขับไล่ผู้เสียหายกับพวกให้ออกไปจากบ้าน จึงเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียว
เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3084/2531 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339
และมาตรา 340 มิได้บรรยายและขอให้ลงโทษตามมาตรา 392 ทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา
392 ไม่ใช่การกระทำอันรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์
จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 392 ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4870/2541 แม้จำเลยจะได้พกอาวุธปืน
(เป็นอาวุธปืนพลาสติก) ไว้ที่เอวให้ตุง ๆ เพื่อให้ ส. และ ข. เห็นโดยจำเลยได้เอามือข้างหนึ่งกุมไว้ด้านหลังก็ตาม
แต่ก็ไม่ได้ใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญ หรือทำท่าจะยิงผู้เสียหายที่ 2 กับพวก
จึงไม่มีลักษณะที่น่ากลัว หรือตกใจว่าจำเลยจะยิงผู้เสียหายจริงจังดังที่พูด
หรือแสดง อาการดังกล่าวของจำเลย เป็นเพียงแสดงอาการฮึดฮัด หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจเท่านั้น
ยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญตาม
ป.อ.มาตรา 392
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6496/2541 การที่จำเลยชักอาวุธปืนสั้น
ซึ่งยังใส่อยู่ในซองปืนออกจากเอว เล็งไปทางผู้เสียหายขณะอยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร
ทั้งยังพูดอีกด้วยว่า "มึงจะลองกับกูหรือมึงอยากตายหรือไง"
ลักษณะกิริยาอาการตลอดจนคำพูดของจำเลย
แสดงแจ้งชัดอยู่ในตัวว่าจำเลยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้เสียหาย
ซึ่งตามวิสัยวิญญูชนผู้ตกอยู่ในภาวะ อันมิได้คาดคิดมาก่อนย่อมจะต้องตกใจกลัว ผู้เสียหายซึ่งประสบเหตุการณ์เช่นนี้ก็มิได้พูดอะไรกับจำเลย
ทั้งที่ก่อนหน้านั้นยังโต้เถียงกับจำเลย
แต่ผู้เสียหายกลับขับรถจักรยานยนต์ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจทันที
แสดงว่าผู้เสียหายกลัวภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ตนตามวิสัยปุถุชนทั่วไป
การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 392
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2542 ขณะที่จำเลยทั้งสองพูดว่า
"ถ้ามึงแน่จริงมึงออกมา ทำไมไม่ออกมา ออกมาโดนแน่" นั้น
จำเลยทั้งสองอยู่ที่หน้าบ้านของผู้เสียหาย แสดงว่าเป็นการบังคับขู่เข็ญ
ไม่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย
หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันไม่ คำพูดเช่นนี้ใช้กับผู้ใดโดยปกติแล้วผู้นั้นย่อมตกใจกลัว
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ
การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 392
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 392
-
(ขส เน อาญา 2538/5) จำเลยหยิบเหล็กแหลมมาขู่ให้กลัว แต่ผู้ถูกขู่ไม่กลัว
ผิด 392+80 ไม่ต้องรับโทษตาม 105 (อ้าง
ฎ 273/2509 ซึ่งเป็นประเด็นตามมาตรา 291)
มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่น ผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
กฎหมายมาตรานี้เกี่ยวพันกับ
มาตรา 136 ซึ่งบัญญัติว่า
ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 198 บัญญัติว่า ผู้ใดดูหมิ่นศาล หรือผู้พิพากษา ในการพิจารณา
หรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณา หรือพิพากษาของศาล
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี
หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
คำว่า
“ดูหมิ่น” ในมาตราต่าง ๆ เหล่านี้มีความหมายอย่างเดียวกัน
คำว่า “ดูหมิ่น”
-
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า คือ
ดูถูกเหยียดหยามทำให้อับอายเสียหาย สบประมาทหรือด่า ไม่เพียงแต่คำหยาบคายไม่สุภาพ คำแดกดัน
คำสาปแช่งหรือคำขู่อาฆาตต่างกับหมิ่นประมาทตามมาตรา 326
ซึ่งเป็นการใส่ความทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียหาย และการดูหมิ่นลดคุณค่าของผู้ถูกดูหมิ่นลงโดยไม่ต้องกล่าวต่อบุคคลที่สาม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2465 การดูหมิ่นอาจกระทำด้วยวาจา หรือกิริยาอย่างอื่น เช่น
ยกเท้าให้ เปลือยกายให้ของลับ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 403/2481 พิมพ์โฆษณากล่าวว่าปลัดอำเภอทำการไต่สวนคดีไม่ชอบ
ช่วยผู้กระทำผิดและขู่เข็ญผู้ถูกทำร้ายและพยานเป็นเรื่องใส่ความทำให้เขาเสียชื่อเสียง
ไม่มีถ้อยคำหรือข้อความใดเป็นการสบประมาทดูถูกหรือด่ารวมอยู่ด้วย
ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 758/2498 จำเลยว่าผู้พิพากษาในเวลามีงานเลี้ยงว่า
อ้ายผู้พิพากษานี่ปรับกูหมื่นห้าพันได้ กูจะต้องเตะมึง เป็นดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1519/2500 จำเลยกล่าวแก่เจ้าพนักงานจราจรผู้จับจำเลยว่า
ผมผิดแค่นี้ ใคร ๆ ก็ผิดได้ ทำไมมาว่าผม
อย่างคุณจะเอาผมไปคุณถอดเครื่องแบบมาชกกับผมตัวต่อตัวดีกว่า
กริยาและถ้อยคำท้าทายเช่นนี้เป็นการดูถูกดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 272-273/2505 จำเลยเป็นชาย
พูดต่อหน้าผู้เสียหายซึ่งเป็นภริยาผู้ใหญ่บ้านว่า "เมียผู้ใหญ่บ้านนี้ แต่งตัวสวยน่าอยากล่ำสักที"
ซึ่งหมายความว่าผู้เสียหายแต่งตัวสวนอยากเย็ดสักทีนั้น
คำที่จำเลยกล่าวและวิธีที่จำเลยกล่าวฟังได้ว่า เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้า ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 393
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 256/2509 ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการแสดงข้อความให้คนฟังคนเห็นเชื่อ
จึงจะเกิดความรู้สึกเกลียดชังดูหมิ่นขึ้นได้ จำเลยกล่าวว่าโจทก์เป็นผีปอบเป็นชาติหมา
ตามความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่น่าเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นได้ จึงไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นแต่อย่างใด
และข้อความใดจะเป็นการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ต้องถือตามความคิดของบุคคลธรรมดาผู้ได้ฟัง
คำกล่าวของจำเลยข้างต้นไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1650/2514 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวก
โฆษณาทำให้แพร่หลายไปถึงประชาชนซึ่งเอกสารสั่งพิมพ์มีข้อความดูหมิ่น นายจิตติ
ติงศภัทิย์ ผู้ทำการในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า นายจิตติ ติงศภัทิย์
จัดให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาคดี
และตัวนายจิตติเองมีพฤติการณ์ให้การพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นไปโดยรวบรัดไม่ชอบด้วยหลักยุติธรรม
พิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมายหลักความยุติธรรม
ประชาชนผู้เดือดร้อนจะวิ่งไปขอความยุติธรรมต่อศาลให้สิ้นเปลืองเงินทองเพื่อประโยชน์อันใด
เป็นถ้อยคำที่ดูหมิ่นศาล หรือผู้พิพากษาตามมาตรา 198
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2256/2537 จำเลยและผู้เสียหายที่ 1 ไปพบผู้เสียหายที่ 2
ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเรื่องการกู้ยืมเงิน
จำเลยพูดว่าผู้เสียหายที่ 1 ต่อหน้าผู้เสียหายที่ 2 ว่า ผู้เสียหายที่ 1
เป็นผู้หญิงต่ำ ๆ เห็นเจตนาได้ว่าจำเลยมีเจตนาว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้หญิงไม่ดี
มีศักดิ์ศรีต่อกว่าผู้หญิงทั่ว ๆ ไป เป็นคำพูดที่เหยียดหยาม ผู้เสียหายที่ 1
เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ไม่ใช่คำพูดในเชิงปรารถนาหรือปรับทุกข์ / จำเลยพูดถึงผู้เสียหายที่ 2 ว่า มันก็เข้าข้างกัน
ดังนี้ ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
เพราะผู้เสียหายที่ 2 มีหน้าที่ทางอาญาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ทางแพ่ง แม้จะได้ทำการไกล่เกลี่ยและจัดการลงบันทึกประจำวัน
ก็ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6624/2537 จำเลยกับ จ.
ไปหาโจทก์ร่วมที่ห้องทำงาน เพื่อให้โจทก์ร่วมลงนามในหนังสือรับรองการเบิกค่ารักษาพยาบาลของจำเลย
โจทก์ร่วมให้ จ. นำไปตรวจสอบจึงเกิดการโต้เถียงกัน
จำเลยพูดขึ้นว่าแม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร
ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้ พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คน ร.ส.พ. ทำงานกันอย่างนี้หรือต่อหน้าโจทก์ร่วมในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่
เป็นการสบประมาทในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็นการสบประมาททำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้า
มีความผิดตาม ป.อ.ม. 393 แต่ไม่เป็นการใส่ความเพราะเป็นการวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมไม่เป็นความผิดตาม
ป.อ.มาตรา 326
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3725/2538 จำเลยเข้าใจว่า
โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีจำเลย
ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะไปกล่าวประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาท
หรือดูหมิ่นซึ่งหน้ายกเอาความชอบธรรมมาปฏิเสธความผิดไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2867/2547 คำว่า "ดูหมิ่น" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า
หมายถึง ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย เป็นที่เกลียดชังของประชาชน
โดยถ้อยคำดังกล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่
คำกล่าวของจำเลยในที่ประชุมกรรมการโรงเรียนซึ่งผู้เสียหายเป็นประธานการประชุมที่ว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น
จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้
แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียน
รวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย
เป็นการพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ตนเองและครูในโรงเรียนว่าถูกผู้เสียหายใช้งานเยี่ยงคนรับใช้
แม้จำเลยใช้คำว่า "ขี้ข้า" ซึ่งเป็นถ้อยคำเปรียบเทียบที่ไม่สุภาพมากล่าวในที่ประชุม
แต่เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึง
ตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน
มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน
ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393
-
คำด่าต่อไปนี้เป็นดูหมิ่น อ้ายทนายเช็คส้นตีน หน้าลื่นเป็นหัวควย
คำว่า อีหมาไปควักเอากระดูกพ่อกระดูกแม่มึงเจ็ดชั่วโคตรมาสู้กับกู
คำว่าไอ้ทนายกระจอก ไอ้ทนายเฮงซวย คำว่ามารศาสนา ด่าพระว่าพระหน้าผี พระหน้าเปรต
ฟ้องวานกูไม่กลัว คำว่าไอ้ห่า กูให้มึงนั่งอยู่โน่นลุกมาทำไม คำว่าหน้าด้านเย็ดแม่
กรรมการอำเภอหมา ๆ ผู้ตั้งก็ไม่ดูแลตั้งคนหมา ๆ มาเป็นกรรมการอำเภอ
อีหมาอีกหน้าหมู อีหน้าหมา กูจะฟ้องหีแม่มัน ฉายไฟหัวควยอะไร นายกเทศมนตรีเป็นสุนัขเป็นลิง
เอาขึ้นนั่งแท่นหางงอกแล้ว อีร้อยควย อีดอกทอง พวกอีดอกอีคำ กูไม่เอามึงให้เสียน้ำ
อีหน้าหัวควย เมียผู้ใหญ่บ้านนี้แต่งตัวสวยน่าอยากล่ำสักทีออกมาซิ กูจะจับหีมึง
ม่วยหีใหญ่ เย็ดหีอีม่วย ด่าสามเณรว่า ถ้าไม่ไปเดี๋ยวกูเตะลงกุฏิ (ฎ
541/2504, 1765/2506) แต่ด่าคนว่า
กูจะเตะปากมึง ไม่เป็นดูหมิ่น (คำพิพากษาฎีกาที่ 143/2510)
คำว่า อีสัตว์เดี๋ยวตบเสียนี่ ไอ้เหี้ย ได้สัตว์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2220/2518 คำว่า
"อีสัตว์ เดี๋ยวตบเสียนี่" เป็นดูหมิ่นตาม ม.393
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1105/2519 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ลงข้อความว่า
ต. ตะโกนกลางตลาดว่าจะถอดรองเท้าตบหน้า
ส. ดังนี้เป็นข้อความดูหมิ่น ส. การนำมาโฆษณาเป็นการดูหมิ่นตามมาตรา
393
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2102/2521 ถ่มน้ำลายแล้วด่าว่า "พวกอีดอกคำ"
คำว่า "อีดอก" เป็นคำหยาบซึ่งสามัญชนเข้าใจชัดเจนว่า
ผู้ถูกด่าเป็นหญิงไม่ดีเป็นดูหมิ่นซึ่งหน้าตาม ม.393
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2256/2537
จำเลยและผู้เสียหายที่ 1 ได้พบผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ
เพื่อให้ช่วยเจรจาไกล่เกี่ยวกรณีพิพาทเรื่องการกู้ยืมเงินจำเลยได้พูดว่าผู้เสียหายที่
1 ต่อหน้าผู้เสียหายที่ 2 และบุคคลอื่นว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้หญิงต่ำ ๆ
ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาว่าผู้เสียหายที่ 1
ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่ว ๆ ไป
ซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1
ซึ่งหน้าแล้ว หาใช่เป็นเพียงคำพูดในเชิงปรารภปรับทุกข์ไม่
แต่ที่จำเลยพูดพาดพิงถึงผู้เสียหายที่ 2 ว่า "มันก็เข้าข้างกัน"
ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ เพราะผู้เสียหายที่ 2
มีหน้าที่ทางอาญา หาได้เกี่ยวกับกรณีพิพาททางแพ่งไม่ แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะได้ทำการไกล่เกลี่ยเรื่องทางแพ่งให้และจัดการลงบันทึกประจำวันไ
ว้ก็หาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7572/2542 การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อโจทก์ร่วมว่า
"มึงเข้าไปในที่ของกูได้อย่างไร กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง
มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ ไอ้หน้าโง่
มึงต้องเจอกับกูแน่ที่ศาล" นั้นเห็นได้ว่า สรรพนามที่จำเลยใช้ตัวแทนตัวจำเลยและโจทก์ร่วม
ว่ากูและมึงนั้นเป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพ
ส่วนถ้อยคำในทำนองว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีอำนาจหน้าที่
ไม่รู้กฎหมายและจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมนั้น
เป็นเพียงเจตนาที่จะดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมเท่านั้น
ไม่ใช่ถ้อยคำที่ดูถูกเหยียดหยามโจทก์ร่วม
แต่ที่จำเลยว่าโจทก์ร่วมว่าไอ้หน้าโง่นั้น
ถ้อยคำดังกล่าวแสดงอยู่ในตัวถึงการดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ร่วม แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโจทก์ร่วม
ในขณะที่จำเลยและโจทก์ร่วมทะเลาะกัน
ก็ต้องถือว่าจำเลยกล่าวโดยมีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ร่วม
หาใช่ว่าการกล่าวในขณะทะเลาะกัน จะถือว่าจำเลยมิได้มีเจตนาดูหมิ่น
อันจักเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดไม่
-
คำต่อไปนี้ไม่เป็นดูหมิ่น หนังสือพิมพ์ลงข่าวด้วยถ้อยคำสุภาพ
ไม่ใช่ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2520) คำว่า
อีหน้าเลือด ไม่ปราณีคนจน กูไม่ได้คร่อมมึงนี่ เป็นคำแดกดัน คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2464,
121/2476 วินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิด คำว่าอ้ายอั้นมันพรรณนั้น
เมียมันคบชู้ ได้ลูกมา มันก็ว่าได้ลูกเอง ไม่เป็นดูหมิ่นแต่อาจเป็นหมิ่นประมาท (คำพิพากษาฎีกาที่ 22/2480) คำว่า มึงกู
เป็นแค่เพียงคำหยาบ (คำพิพากษาฎีกาที่ 957/2480) ถามพยานอย่างโง่ถามอย่างนั้นไม่ได้ ไม่เกี่ยวประเด็นอะไร
เป็นเทศมนตรีไม่เห็นดีอะไร ไม่เป็นดูหมิ่น (คำพิพากษาฎีกาที่
1902/2494) กูจะเตะปากมึง (คำพิพากษาฎีกาที่
142/2537)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 388/2505 จำเลยตะโกนกล่าวต่อผู้เสียหายซึ่งหน้าและต่อหน้าธารกำนัลในเวลากลางคืนว่า
อ้างชั้นมึงหาความอาญาหรือ ลูกกระโปกกูไม่หด กูลูกนางจักรโว้ย
ไม่ใช่ลูกบ้านน้ำเค็มจะเอายังไงก็เอาซิวะ จะเอาอ้ายแจะติดคุกก็ได้ เป็นแต่เพียงข้อความหยาบคายไม่สุภาพ
ไม่มีข้อความดูหมิ่นนายชั้นผู้เสียหาย ไม่เป็นดูหมิ่นซึ่งหน้า
แต่ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนรำคาญ จึงเป็นความผิดตามมาตรา 397 / อาจารย์ยล ธีรกุล อธิบายคำพิพากษาฎีกาที่ 388/2505
ว่า การดูหมิ่นมีหลักว่าต้องให้เป็นที่น่าอับอายคนอื่นเขา
เรื่องนี้ไม่มีเรื่องน่าละอายอย่างไร
คงมีแต่เรื่องรำคาญเพราะเกิดเหตุที่ท่าน้ำหน้าบ้านและมีคนอื่นมาคุยกับผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3247/2516 การทำประกาศบอกกล่าวให้ชำระหนี้ไปปิดก็ดี
การบอกโจทก์ว่าหากไม่ชำระหนี้จะปิดประกาศทวงหนี้ก็ดี เป็นการเตือนโจทก์ให้ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 204 วรรคแรก ข้อความตรงกับความจริง ไม่เป็นการดูหมิ่นหรือใส่ความโจทก์
ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3276/2516 คำว่า ขับรถยียวนขอจับกุม เอาใบขับขี่มา
เป็นเพียงคำพูดที่ไม่สมควรจะต้องกล่าวเท่านั้น ไม่เป็นการดูหมิ่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2520 ป.อ. ม.329 เป็นเรื่องกล่าวสุจริตตามข้อ 1 ถึง 4 ไม่เป็นความผิด ม.330
เป็นเรื่องพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง
และมิใช่ในเรื่องส่วนตัวซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เป็นความผิด
แต่ไม่ต้องรับโทษ เมื่อยกเว้นโทษตาม ม.330 แล้วก็ไม่ต้องวินิจฉัย
ว่าไม่มีความผิดตาม ม.329 หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า
มีผู้แจ้งต่อตำรวจว่าโจทก์ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรทำผิดอาญา
ตำรวจสอบสวนสั่งจับ แต่ได้สอบถามโจทก์ โจทก์ชี้แจงว่าไม่จริง ดังนี้
ไม่ใช่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงตามข่าว ที่ลงในหนังสือพิมพ์จำเลยนำสืบความจริงได้ว่า
มีการแจ้งความต่อตำรวจจริง
จำเลยไม่ต้องรับโทษไม่ต้องสืบให้ได้ว่าการทำผิดอาญาตามที่ลงในข่าวนั้นโจทก์ได้ทำผิดจริง
/ หนังสือพิมพ์ลงข่าวด้วยข้อความสุภาพ ไม่ใช่ดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาท
ไม่เป็นความผิดตาม ม.393
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 761/2525 ลูกจ้างเมาสุรา
โดยสวมเสื้อขณะปฏิบัติงานนายจ้างบอกให้สวมเสื้อ ลูกจ้างพูดว่าไม่เกี่ยว
นายจ้างสั่งให้ออกจากโรงงาน ลูกจ้างพูดว่า กูจะอยู่ที่นี่ได้ไหม
เมื่อออกไปแล้วพูดว่า กูจะเข้าไปไม่ได้หรือ เป็นเพียงคำไม่สุภาพ
และก้าวร้าวไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2874/2528 จำเลยต่อว่า ผู้เสียหายทั้งสี่ซึ่งกำลังขายข้าวแกง
ในที่สาธารณะสถานว่าไม่ล้างจานข้าว ผู้เสียหายว่าไม่มีคนล้างจาน จำเลยจึงกล่าวว่า "สี่คนไม่ใช่คนหรือไง" ดังนี้ เป็นเพียงคำแดกดัน
หรือประชดประชันด้วยความไม่พอใจเท่านั้น ไม่มีความหมายอันจะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย
ทั้งยังไม่พอถือว่าทำให้ผู้เสียหายได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ
ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.393,
397
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2411/2537
ถ้อยคำที่โจทก์ด่านางวันทนีย์ว่า
"อีหัวล้าน" เป็นเพียงคำไม่สุภาพ ไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง /
การที่จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างว่า
โจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทอย่างร้ายแรง
และกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างเท่านั้น
เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุที่ระบุ ในคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง
ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย
จำเลยจึงยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้
-
คำว่า
“ซึ่งหน้า”
-
รองศาสตราจารย์ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อธิบายว่า
คำว่า ซึ่งหน้า น่าจะหมายความถึง การกระทำที่รู้ได้ถึงอีกฝ่ายหนึ่งอาจเข้าถึงตัวก่อเหตุร้ายขึ้นในทันทีทันใดที่กระทำ
และคงจะไม่ถือเอาการเห็นหน้าหรือความใกล้ชิดอย่างเดียวเป็นสำคัญ แม้ผู้ด่ากับผู้ถูกด่าอยู่คนละห้องมีฝากั้น
ไม่เห็นหน้ากัน ถ้าด่าได้ยินถึงกันอาจไปถึงกันได้ทันที ก็น่าจะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าได้
หรือแม้จะอยู่ห่างกัน 4 - 5 เส้น ผู้ด่าด่าโดยใช้เครื่องกระจายเสียงก็น่าจะเป็นความผิดซึ่งหน้าเหมือนกัน
แต่การใช้โทรศัพท์อาจเป็นปัญหา เพราะอาจอยู่ใกล้คนละห้องได้แต่ถ้าใช้โทรศัพท์คนละสถานที่จะว่าซึ่งหน้าเห็นจะไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 19/2476 ช. ด่า น. น. อยู่ในห้องไม่ได้อยู่ต่อหน้า มองไม่เห็นตัวกันเป็นดูหมิ่นซึ่งหน้า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 856–57/2502 เดินพ้นไป 3 วา
แล้วจึงด่า และด่าให้ผู้ถูกด่าได้ยิน ไม่ต้องหันหน้าหากันอยู่ข้าง ๆ
หรือข้างหลังไม่สำคัญ เป็นดูหมิ่นซึ่งหน้า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1765/2506 จำเลยลงบันไดกุฏิเดินไปราว
9-10 วา แล้วพูดว่า "ถ้าไม่เห็นแก่ผ้าเหลือง หรือไม่ใช่พระ จะเตะให้ตกกุฏิให้หมดเลย"
จำเลยกล่าวถ้อยคำเหล่านี้แก่พระภิกษุ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
แม้จะไม่ได้กล่าวต่อหน้า แต่พระภิกษุซึ่งถูกล่าวนั้นได้ยินถ้อยคำที่จำเลยกล่าว ก็เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา
393
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 256/2509
จำเลยกล่าวว่าโจทก์เป็นผีปอบ เป็นชาติหมา
ความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นได้
จึงไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นอย่างใด ความผิดฐานดูหมิ่น
ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ต้องเป็นการกล่าวซึ่งหน้าตามมาตรา 393
โจทก์มิได้อยู่ในที่เกิดเหตุ มิใช่กล่าวซึ่งหน้า จึงไม่ผิดฐานดูหมิ่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 259/2514 การดูหมิ่นซึ่งหน้าตามมาตรา
393 ผู้ถูกดูหมิ่นไม่จำต้องอยู่ต่อหน้าผู้กล่าวดูหมิ่น
ถ้าผู้กล่าวดูหมิ่นรู้อยู่ว่าผู้ที่ตนจะด่าดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้นพอที่จะได้ยินคำด่า
ดูหมิ่นได้ ก็เป็นความผิดตามมาตรา 393 /
จำเลยด่าดูหมิ่นผู้เสียหายอยู่ในสวนห่างออกไป 10 วา
โดยจำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายแอบอยู่ในสวน ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 393 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 256/2509) /ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
“ดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 หมายถึงจำเลยดูหมิ่นโดยผู้เสียหายอยู่ในที่เกิดเหตุนั้น ซึ่งอาจเป็นการอยู่ต่อหน้าหรือแม้ไม่ต่อหน้าก็ต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียหาย
อยู่ตรงนั้นและจำเลยก็รู้ว่าผู้เสียหายอยู่แถวนั้นด้วย เช่น จำเลยรู้ว่า ผู้เสียหายอยู่ในห้องน้ำจึงร้องด่าไป
ก็เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าตามมาตรา 393 แล้ว คำพิพากษาฎีกาที่
856-857/2502 ที่โจทก์อ้างมาในฎีกานั้น เป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวดูหมิ่นผู้เสียหาย
เมื่อเดินพ้นไป 3 วาเท่านั้นจึงเป็นการดูหมิ่น ซึ่งหน้าตามมาตรา
393 แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้ดังที่โจทก์นำสืบมา ว่าจำเลยได้ด่าดูหมิ่นนางหนูผู้เสียหายและในขณะที่จำเลยด่าดูหมิ่น
ผู้เสียหายอยู่ห่างที่เกิดเหตุ 10 วาอยู่ในสวนจำเลยไม่ทราบว่าผู้เสียหาย
แอบอยู่ในสวน ดังนั้น แม้จำเลยจะกล่าวดูหมิ่นผู้เสียหาย ก็หาใช่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าตามมาตรา
393 ไม่ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 256/2509 ระหว่างนายบุญมี
แผ่นทอง โจทก์ นางพิทย์ บัวระพา จำเลย ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 110/2516 จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์
แม้ข้อความในจดหมายเป็นการดูหมิ่น แต่การที่จำเลยส่งจดหมายกว่าจะไปถึงโจทก์ ก็ต่างวันเวลากัน
จึงไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือดูหมิ่นด้วยการโฆษณาตามมาตรา 393
-
คำชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 27/2549
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ต้องหาได้ส่งข้อความไปให้ผู้กล่าวหาทางโทรศัพท์มือถือรวม
12 ข้อความ ต่อมาผู้กล่าวหาและผู้ต้องหาต่างฝ่ายต่างโทรศัพท์ติดต่อกัน
ซึ่งผู้ต้องหาได้ด่าว่าผู้กล่าวหาหลายประโยค โดยข้อความที่ผู้ต้องหาส่งไปและคำด่ามีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
คดีมีปัญหาให้อัยการสูงสุดชี้ขาดว่า การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐาน ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือไม่
อัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าเป็นการกระทำที่เหยียดหยามเกียรติ
โดยทำให้ผู้ถูกระทำรู้ได้หรือทราบได้ขณะมีการกระทำในทันทีทันใดนั้นเอง กล่าวคือ เพียงแต่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงถ้อยคำให้ผู้ถูกกระทำได้ยินหรือได้ทราบในทันทีทันใดนั้นเองก็เป็นความผิดแล้ว
ไม่จำต้องกระทำต่อหน้าหรือแม้จะไม่ได้กล่าวต่อหน้า แต่ผู้ถูกกระทำได้ยินถ้อยคำที่ผู้กระทำกล่าวหรือได้ทราบขณะที่การกระทำ
ย่อมเป็นความผิดฐานนี้ ดังนั้น การดูหมิ่นผู้อื่นผ่านทางโทรศัพท์มือถือย่อมเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
จึงชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหา ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ตาม ป.อาญา มาตรา 393
-
การด่ากันเพราะวิวาท
ไม่ถือเป็นการดูหมิ่นตามกฎหมายมาตรานี้
เพราะเมื่อต่างคนต่างด่า
ก็แสดงว่าไม่อาจเกิดความอับอายขายหน้าขึ้นไม่เป็นการดูหมิ่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 738/2456 ผู้เสียหายแกล้งกระทบไหล่จำเลยจนคะมำ จำเลยจึงด่าเอา
ดังนี้จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรานี้เพราะผู้เสียหายก่อเหตุให้ถูกด่าเอง (เหตุที่ไม่เป็นความผิด
เพราะจำเลยมีเหตุที่จะด่าผู้เสียหายได้ ไม่มีเจตนาจะดูหมิ่น)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2473 จ. และ ก. ด่ากัน โดย จ. ด่า ก. ว่า
ชำเรากับนายอำเภอ ก. ด่าว่าชำเรากับนายอำเภอยังดีกว่าชำเรากับชาวบ้าน
ดังนี้ ก. มิได้ถือเอาคำที่ จ. ด่าเป็นข้อสำคัญกลับรำคำแล้วย้อนตอบเอากับ
จ. บ้าง จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 703/2474 ผู้เสียหายจับมือบุตรสาวจำเลย
จำเลยด่าทันทีและด่าต่อเนื่องกันไปไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
เพราะผู้เสียหายก่อเรื่องให้ผู้เสียหายด่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 676/2521 จำเลยทะเลาะกับผู้อื่นต่างคนต่างด่ากัน
จำเลยไม่มีความผิด อัยการเป็นโจทก์ฟ้องศาลก็ยกฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2195/2521 หนังสือพิมพ์ลงรูปจำเลยซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรวมอยู่ในพวกอาชญากร
ทำให้เข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกับจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิตอบโต้โดยสุจริต
จำเลยกล่าวว่าโจทก์เป็นบรรณาธิการเลวทรามจิตใจต่ำช้ามาก ไอ้คนปัญญาทราม
ดังนี้ไม่ผิดฐานดูหมิ่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2202/2521 จำเลยกล่าวคำไม่สุภาพขณะโต้เถียงกัน
ไม่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1420/2534 ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้านั้น
กฎหมายประสงค์จะลงโทษผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าแต่ฝ่ายเดียว
โดยที่ผู้ถูกดูหมิ่นมิได้กล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโต้ตอบด้วย โจทก์บรรยายฟ้องว่า
จำเลยกับจำเลยที่ 1
ในคดีอื่นของศาลชั้นต้นต่างสมัครใจกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นซึ่งกันและกัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างโต้ตอบกัน
การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา 393
จะนำหลักกรณีต่างทำร้ายร่างกายกันมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7572/2542 การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อโจทก์ร่วมว่า "มึงเข้าไปในที่ของกูได้อย่างไร
กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ ไอ้หน้าโง่มึงต้องเจอกับกูแน่ที่ศาล"
นั้น เห็นได้ว่าสรรพนามที่จำเลยใช้แทนตัว จำเลยและโจทก์ร่วมว่ากูและมึงนั้นเป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพ
ส่วนถ้อยคำ ในทำนองว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่รู้กฎหมาย และจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมนั้นเป็นเพียงถ้อยคำต่อว่าโจทก์ร่วมที่เข้าไปในที่ดินของ
ม. พ่อตาจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต และแสดงเจตนา ที่จะดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมเท่านั้น
ไม่ใช่ถ้อยคำที่ดูถูกเหยียดหยามโจทก์ร่วม แต่ที่จำเลยว่าโจทก์ร่วมว่าไอ้หน้าโง่นั้น
ถ้อยคำดังกล่าวแสดงอยู่ในตัวถึงการหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ร่วม แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโจทก์ร่วมในขณะที่จำเลยและโจทก์ร่วมทะเลาะกันก็ต้องถือว่าจำเลยกล่าวโดยมีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ร่วม
หาใช่ว่าการกล่าวในขณะทะเลาะกันจะถือว่าจำเลยมิได้มีเจตนาดูหมิ่นอันจักเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดไม่ (& คำพิพากษาฎีกาที่ 7572/2542 นี้ โจทก์ร่วมทะเลาะกับจำเลย แต่โจทก์ร่วมไม่ได้ดูหมิ่นจำเลย ส่วน ฎ 1420/2534
เป็นกรณีที่ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกัน)
-
การกระทำตามมาตรานี้ต้องมีเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 224/2523 หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์รูปโจทก์รวมกับภาพอื่น 20 ภาพ
ในหน้าปกเป็นภาพบุคคลและเหตุการณ์ต่าง ๆ มีคำอธิบายว่าภาพเหตุการณ์ในรอบปี
แม้มีภาพผู้ต้องหาและการกระทำผิดอาญาร้ายแรงอยู่รอบ ๆ ภาพโจทก์
ดังนี้เป็นการเสนอภาพเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ไม่มีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ โปรดสังเกตว่ามีเจตนาหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงคดีนี้
ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ตามพฤติการณ์จำเลยไม่มีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ เมื่อไม่มีเจตนาก็วินิจฉัยข้อกฎหมายว่า
จำเลยไม่มีความผิด เพราะจำเป็นความผิดตามมาตรานี้ต้องกระทำโดยเจตนา
-
คำว่า “โฆษณา” หมายความว่า การเผยแพร่หนังสืออกไปยังสาธารณะชน
การป่าวร้องทำให้ทราบถึงผู้อื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2507 บรรยายฟ้องว่า
จำเลยกล่าวดูหมิ่นนางประยูรด้วยการโฆษณา โดยจำเลยกล่าวต่อเด็กหญิงเวียน
เด็กรับใช้บ้านนางประยูรว่าให้ไปบอกอ้ายเหี้ยอีเหี้ยนายของมึงทั้งสองคน อย่ามาว่าอะไรกูมากนัก
ประเดี๋ยวกูทนไม่ได้จะเอาเรื่องอีก
ดังนี้เป็นการสั่งฝากไปบอกผู้เสียหายในลักษณะพูดกันตัวต่อตัว
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกล่าวต่อบุคคลอื่นอีก เป็นฟ้องที่ไม่ชอบในความผิด
ฐานดูหมิ่นด้วยการโฆษณาตามมาตรา 393 เพราะกฎหมายมาตรานี้
มีความหมายถึงการดูหมิ่นในลักษณะการป่าวร้องให้รู้กันหลาย ๆ คน
ฉะนั้นแม้จำเลยจะรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้ เพราะการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2524 คำว่า โฆษณา
ตามพจนานุกรมหมายความว่า การเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณะชน การป่าวร้อง
จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ ด้วยการทำบันทึกเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด และส่งสำเนาให้กระทรวงทราบ
เป็นเพียงรายงานความประพฤติของโจทก์ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปได้ทราบเท่านั้น
ถือไม่ได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทด้วยกระทำโฆษณา ตามมาตรา 328
และไม่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าด้วยการโฆษณา ตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 364/2485 จำเลยเขียนจดหมายถึง
ร.
ดูหมิ่น จ. เพื่อให้ ร. มาประกันตัว
เป็นการมีจดหมายถึง ร. โดยเฉพาะตัวไม่ประสงค์จะให้เปิดเผย
ไม่ผิดตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 110/2516 จำเลยมีจดหมายดูหมิ่นผู้เสียหาย
ซึ่งเป็นทนายความโดยจ่าหน้าซองถึงผู้เสียหายโดยตรง แต่เสมียนของผู้เสียหายอ่านเอง
ดังนี้ไม่เป็นการดูหมิ่นโดยการโฆษณา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1105/2519 จำเลยเป็นบรรณาธิการ
ทำให้เกิดข้อความในหนังสือพิมพ์ว่า ต. ตะโกนกลางตลาดว่า
ผู้เสียหายเดินผ่านหน้าร้านเมื่อใดจะถอดรองเท้าตบหน้า
เป็นข้อความทำให้ผู้เสียหายอับอาย การนำมาโฆษณาเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายตามมาตรานี้
-
การนำสืบข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของโจทก์
เช่น ด่าว่าอีหน้าไม้ขีดไฟ โจทก์ต้องนำสืบว่ากล่องไม้ขีดมีตราและเปลี่ยนไปบ่อย ๆ
คำว่า อีหน้าไม้ขีดไฟ หมายความว่าเป็นคนหลายหน้า เป็นคนกลับกลอกเชื่อถือไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1989/2506 คำกล่าวดูหมิ่นว่า "กูไม่เอามึงให้เสียน้ำ
อีหน้าหัวควายพรรค์นี้" เป็นถ้อยคำที่มีความหมายดูหมิ่นผู้อื่นอยู่ในตัวแล้ว
เพราะเป็นถ้อยคำที่สามัญชนเข้าใจได้ชัดอยู่ในตัวเอง ไม่ใช่ถ้อยคำพิเศษ
โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมาย ส่วนถ้อยคำพิเศษนั้น
เป็นถ้อยคำที่สามัญชนฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือฟังแล้วแปลเป็น 2 แง่ได้ โจทก์ไม่ต้องนำสืบอธิบาย ฟ้องว่าจำเลยดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงว่า "กูไม่เอามึงให้เสียน้ำ
อีหน้าหัวควยพรรค์นี้ ฯลฯ"
แต่ชั้นพิจารณาผู้เสียหายให้การว่า จำเลยดูหมิ่นผู้เสียหายว่า
"กูไม่เอากับมึงให้เสียน้ำ ไอ้หน้าควยพรรค์นี้ อีเฮงซวย" เป็นการแตกต่างกันแต่เพียงพลความ
ไม่ใช่แตกต่างกันในข้อสารสำคัญ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3226/2525 คำว่า
เป็นมารศาสนา หมายความว่า เป็นบุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้า
ซึ่งคอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นทำบุญและกีดกันบุญกุศลที่จะมาถึงตน
เป็นบุคคลที่สาธารณะชนรังเกียจที่จะคบหาสมาคมด้วย เมื่อจำเลยพูดกับผู้เสียหายด้วยถ้อยคำดังกล่าวและต่อหน้าผู้อื่น
ทำให้ผู้เสียหายถูกเหยียดหยาม ทำให้ได้รับความอับอาย
จำเลยมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามมาตรา 393
ทั้งเป็นถ้อยคำที่สามัญชนฟังแล้วย่อมเข้าใจได้ในตัวเองว่ามีความหมายดังกล่าว
จึงเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป โจทก์ไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมายอีก
มาตรา 394 ผู้ใดไล่ต้อน
หรือทำให้สัตว์ใด ๆ เข้าสวนไร่หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้
เพราะพันธ์ไว้หรือมีพืชพันธ์หรือผลิตผลอยู่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
คำว่า “สัตว์” ในที่นี้ไม่จำกัดว่าสัตว์ชนิดใด
เป็น ช้าง ม้า วัว ควาย กวาง หมู ไก่ ก็ได้
-
สวน ไร่ หรือนา
ต้องเป็นสวน ไร่ หรือนา สำหรับเพาะปลูก คือ เพาะพันธ์ มีพืชพันธ์หรือผลิตผลอยู่
ไม่ใช่นากุ้ง นาเกลือ คำว่าของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้เพาะพันธ์ไว้ หรือมีพืชพันธ์หรือผลผลิตอยู่
น่าจะหมายถึง สวนของบุคคลไม่ใช่สวนสาธารณะ
-
ผู้กระทำมีเจตนาไล่ต้อนหรือทำให้สัตว์เข้าไปในสวนไร่นาเท่านั้น
ไม่ต้องมีเจตนาทำให้เสียทรัพย์
เพราะหากมีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 358 หรือ 359 (4)
มาตรา 395 ผู้ใดควบคุมสัตว์ใด
ๆ ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเข้าไปในสวนไร่หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้
เพาะพันธ์ไว้หรือผลิตผลอยู่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
คำว่า “ปล่อยปละละเลย” หมายความว่า ไม่ต้องมีเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1136/2506 โคเป็นของจำเลยและพ่อตารวมกันจำเลยเป็นผู้เลี้ยงดูรักษาแต่ผู้เดียว
เวลาเช้าจำเลยเปิดคอกปล่อยให้โคออกหากินโดยลำพัง ไม่มีคนคอยควบคุมเลี้ยงดูรักษา
ตกเวลาเย็นจำเลยจึงไปไล่กลับมาจากคอก
ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ควบคุมสัตว์ตามความหมายแห่งมาตรา 395 แล้ว
การที่จำเลยไม่ควบคุม ปล่อยปละละเลยให้โคเข้าไปกัดกินพืชพันธ์ในไร่ผู้เสียหาย
จึงมีความผิด
-
คำว่า “สัตว์ใด ๆ” ไม่จำกัดว่าเป็นสัตว์พาหนะหรือปศุสัตว์
มาตรา 396 ผู้ใดทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็น
ในหรือริมทางสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
-
ซากสัตว์ หมายถึง
ซากสัตว์อะไรก็ได้ไม่จำกัด แต่ต้องอาจเน่าเหม็น
มาตรา 397 ผู้ใดในที่สาธารณะสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล
กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแก หรือข่มเหงผู้อื่น
หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 384/2505
ถ้อยคำที่จำเลยตะโกนกล่าวต่อผู้เสียหายซึ่งหน้าและต่อหน้าธารกำนัลในเวลากลางคืนว่า
อ้ายชั้นมึงมีทนายมาหากูทางอาญา หรือลูกกระโปกกูไม่หด อ้ายแจะลูกนางจักรเอาซีโว้ย
เป็นถ้อยคำกล่าวทำให้นายชั้นผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนรำคาญ
เป็นความผิดตามมาตรา 397
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1398/2506
การที่จำเลยด่าซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งที่หน้าประตูบ้านผู้เสียหายในเวลากลางคืนอันเป็นเวลาหลับนอนของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในบ้าน
ถือได้ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนรำคาญ เป็นความผิดตามมาตรา 397
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1908/2518 จำเลยจอดรถขวางกั้น
ไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอย เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ
ซอยนั้นประชาชนชอบที่จะเข้าออกได้เป็นสาธารณะสถาน จำเลยกระทำความผิดตามมาตรานี้
มาตรา 398 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด
ๆ อันเป็นการทารุณต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา
ซึ่งต้องพึ่งผู้นั้นในการดำรงชีพ หรือการอื่นใด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
คำว่า “ทารุณ” หมายความถึง
การแสดงความโหดร้าย
-
คนป่วยเจ็บไม่จำกัดว่ามากน้อยเพียงใด
-
คนชราคงต้องดูเป็นเรื่อง
ๆ ราย ๆ ไป คงจะดูอายุอย่างเดียวไม่ได้
3 ความคิดเห็น:
ขอบคุณนะคะ เป็นบทความที่มีประโยชน์มากๆ เพราะไม่เคยเจอมาตราพร้อมกับฎีกาที่อธิบายความหมายแต่ละมาตราของบทลหุโทษละเอียดขนาดนี้
ขอบคุณนะครับละเอียดมากครับ
ขอบคุณครับ ขออนุโมทนาด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น