จำเลยที่ ๑ เป็นวิศวกรคำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักของอาคารในการปลูกสร้าง ย่อมทราบดีว่าอาคารดังกล่าวได้กำหนดการรับน้ำหนักไว้ ๔ ชั้นรวมชั้นใต้ดิน แต่จำเลยที่ ๑ มาคำนวณออกแบบต่อเติมอาคารโดยทราบดีอยู่แล้วว่า อาคารเดิมรับน้ำหนักต่อเติมไม่ได้และยังใช้ฐานรากและเสาในแนวซีซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียง ๒ ชั้นเป็นจุดเชื่อมต่ออาคารและอาคารที่ต่อเติม ทำให้น้ำหนักทั้งหมดของอาคารทั้งหมดเทลงสู่เสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จำเลยที่ ๑ ได้ดูแบบแปลนอาคารเดิมทราบว่าเสาในแนวซีต้นที่ ๑๗๖ มีขนาด และส่วนประกอบผิดไปจากแปลน แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบ แม้เดิมจำเลยที่ ๑ ไม่ได้ออกแบบ แต่เมื่อพบเห็นว่าอาคารก่อสร้างไปผิดจากแบบแปลน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารในส่วนที่ต่อเติมได้หรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิม แต่จำเลยก็หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จนเป็นเหตุให้อาคารพังทลายลง มีคนถึงแก่ความตาย เพราะจำเลยคำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไว้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผลจากการกระทำของจำเลยโดยตรง จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๒๗,๒๓๘ คำพิพากษาฏีกา ๓๗๙๓/๒๕๔๓
ข้อสังเกต ๑ จำเลยที่ ๑ เป็นวิศวกรในการออกแบบ ควบคุม หรือทำการก่อสร้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณท์หรือวิธีการอันพึงกระทำตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ แม้จะไม่ได้เป็นผู้ออกแบบมาแต่ต้น แต่มาคำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักของอาคารในการปลูกสร้าง เมื่อทราบว่าอาคารดังกล่าวได้กำหนดการรับน้ำหนักไว้ ๔ ชั้นรวมชั้นใต้ดิน การคำนวณออกแบบต่อเติมอาคารโดยทราบดีอยู่แล้วว่า อาคารเดิมรับน้ำหนักต่อเติมไม่ได้และยังใช้ฐานรากและเสาในแนวซีซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียง ๒ ชั้นเป็นจุดเชื่อมต่ออาคารและอาคารที่ต่อเติม ทำให้น้ำหนักทั้งหมดของอาคารทั้งหมดเทลงสู่เสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาจทำให้อาคารพังถล่มลงมาได้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้ดูแบบแปลนอาคารเดิมทราบว่าเสาในแนวซีต้นที่ ๑๗๖ มีขนาด และส่วนประกอบผิดไปจากแปลน ก็ไม่ได้ดำเนินการอันใดที่จะทักท้วงหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เสาสามารถรับน้ำหนักอาคารเดิมและอาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ยังคงคำนวณโครงสร้างรับน้ำหนักต่อไป โดยไม่ได้หาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารในส่วนที่ต่อเติมได้หรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิม แต่จำเลยก็หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จนอาคารดังกล่าวได้พังลง ถือเป็น “ผลโดยตรง” จากการคำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักอาคารที่จำเลยเป็นผู้คำนวณ หากจำเลยสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิม เพื่อเสริมอาคารเดิมให้มั่งคงแข็งแรงเพื่อที่จะรับน้ำหนักอาคารในส่วนที่จะต่อเติมก่อนแล้วจึงทำการคำนวณโครงสร้างที่จะรับน้ำหนัก แล้วจึงทำการก่อสร้าง ก็จะทำให้อาคารเดิมและอาคารใหม่สามารถรับน้ำหนักการต่อเติมได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ การงดเว้นหาข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมเป็น “ผลโดยตรง” ให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จึงพังลงมามีคนถึงแก่ความตาย จำเลยจึงต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้นตาม “ทฤษฏีผลโดยตรง” หากไม่ทำผลไม่เกิด เมื่อผลเกิดถือเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิด เมื่อจำเลยเป็นเป็นวิศวกรในการออกแบบ ควบคุม หรือทำการก่อสร้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณท์หรือวิธีการอันพึงกระทำตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณท์วิธีการอันพึงกระทำนั้นๆโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นตาม ป.อ. มาตรา ๒๒๗ และเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้มีคนตายจึงต้องรับผิดตาม ปงอ. มาตรา ๒๓๗
๒.การกระทำที่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๒๗ เพียงแค่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณท์หรือวิธีการอันพึงกระทำตามวิชาชีพในการออกแบบ ควบคุม หรือทำการก่อสร้าง ซ่อมแซมรื้อถอน โดยประการที่น่าจะเกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นแล้ว ก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๒๗แล้ว หากผลของการกระทำดังกล่าวมีคนตายหรือได้รับอันตรายสาหัสก็จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๓๗
๓.หากผู้กระทำความผิดไม่ได้เป็นผู้มีวิชาชีพในการควบคุม ออกแบบ หรือทำการก่อสร้าง ซ่อมแซม รื้อถอนอาคาร หรือสิ่งก่อสร้าง ก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ เช่นไม่ได้เป็นวิศกรทางการก่อสร้างแต่มาหลอกว่าเป็นวิศวกรทางการก่อสร้าง แล้วมาคำนวณการก่อสร้าง
๔.ป.อ.มาตรา ๒๒๗ ใช้คำว่า “น่าเป็นอันตรายแก่ “ บุคคลอื่น” หากน่าเป็นอันตรายแก่ “ตนเอง” แล้วก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น