หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา มาตรา
59 - 79
มาตรา
59 บุคคลจะต้อง
“รับผิด” ในทางอาญา
ก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิด
แม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา
กระทำโดยเจตนา
ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกัน
ผู้กระทำย่อมประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง
อันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล
หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
กระทำโดยประมาท
ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา
แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น
จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้
แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การกระทำ
ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น
โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
มาตรา 59 วรรคแรก
-
บุคคลจะต้อง “รับผิด” ในทางอาญา
ก็ต่อเมื่อได้ “กระทำโดยเจตนา”(1) เว้นแต่จะได้
“กระทำโดยประมาท”(2)
ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิด
เมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิด
แม้ได้ ”กระทำโดยไม่มีเจตนา”(3)
(1)
กระทำโดย “เจตนา” เป็นองค์ประกอบภายใน
อันเป็นเงื่อนไขที่ผู้กระทำจะต้องมี “เจตนา” จึงจะต้องรับผิด
ในทุกฐานความผิด (เว้นแต่ กรณี (2)
(3)) โดยกฎหมาย ไม่ต้องบัญญัติไว้ที่ฐานความผิดนั้นอีก
(2)
กระทำโดย “ประมาท” เป็นองค์ประกอบภายในที่กฎหมาย
ต้องบัญญัติไว้ที่ฐานความผิด เมื่อบัญญัติให้ต้องรับผิด
(3)
กระทำโดย “ไม่มีเจตนา” ต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัด
เช่น ความผิดลหุโทษ ตาม ม 104
โครงสร้างการกระทำ
กระทำ ความหมาย ปกติ
การเคลื่อนไหว หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึก อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
กระทำโดยผลของกฎหมาย
คือ การงดเว้น ไม่ป้องกันผล เมื่อมีหน้าที่ต้องป้องกัน ตาม ม 59 ว ท้าย , การละเว้น
ไม่ช่วยผู้ที่ตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต เมื่อสามารถช่วยได้ ม 374
วิธีการ กระทำด้วยตนเอง
, ใช้สัตว์เป็นเครื่องมือ
กระทำด้วยผู้อื่น ใช้บุคคลที่ไม่มีเจตนาร่วมกระทำผิดเป็นเครื่องมือ
ร่วมกับบุคคลอื่น
โครงสร้างเงื่อนไขความรับผิด ในส่วนของการกระทำแต่ละประเภท
กระทำโดยเจตนา เจตนาตามจริง มาตรา 59 วรรค 2 รู้สึกนึกฯ + ประสงค์
หรือย่อมเล็งเห็นผล
มาตรา
59 วรรค 3 หากไม่รู้ (ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด)
= ไม่เจตนา
มาตรา
62 วรรค 3 หากไม่รู้ (เหตุฉกรรจ์)
= ไม่ต้องรับโทษหนัก ขึ้น
มาตรา
61 ความสำคัญผิดในตัวบุคคล
(บทขยาย ไม่มีผลต่อความรับผิด)
มาตรา
62 วรรค 1 ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง อันเป็นคุณแก่ผู้กระทำ
มาตรา
62 วรรค 2 การไม่รู้ฯ
และความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดขึ้นโดยประมาท
ต้องรับผิด
กรณีกฎหมายบัญญัติให้รับผิด แม้กระทำโดยประมาท
เจตนาโดยผลของกฎหมาย มาตรา 60 เจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง
แต่ผลการกระทำเกิดขึ้นแก่อีกบุคคลหนึ่ง
โดยพลาดไป
ขั้นตอนของการกระทำโดยเจตนา
คือ (1.คิด
2.ตัดสินใจ และ 3.ลงมือ)
ขั้นตอนในการพิจารณาความรับผิด
ขั้นตระเตรียม –
ขั้นลงมือพยายามกระทำ - ความผิดสำเร็จ
กระทำโดยประมาท มาตรา
59 วรรค 4 เป็นการกระทำผิดที่
“มิใช่โดยเจตนา” แต่ขาดความระมัดระวังซึ่ง “บุคคลในภาวะเช่นนั้น” จักต้องมีตาม
“วิสัย” และ “พฤติการณ์” หรือได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น
ไม่เพียงพอ
กระทำโดยไม่มีเจตนา มาตรา
104 หลักที่ใช้กับกฎหมายลหุโทษ
ให้ต้องรับผิด แม้กระทำโดยไม่มีเจตนา ยกเว้น ความผิดนั้นจะมีบทบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น ในลักษณะที่ว่า นิติบุคคลอาจต้องรับผิดทางอาญาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (บทความความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล โดยอาจารย์บัญญัติ สุชีวะ)
1. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติโดยตรงให้นิติบุคคลใดต้องรับผิดทางอาญา นิติบุคคลนั้นก็ย่อมจะต้องรับผิดตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติไว้ เช่น
ความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499
2. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้นิติบุคคลใดต้องรับผิดในการกระทำของผู้อื่น ซึ่งนิติบุคคลจะต้องรับผิดชอบ
เช่น พระราชบัญญัติสมุดเอกสารแลหนังสือพิมพ์
พ.ศ. 2470 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นให้เจ้าของต้องรับผิดในความผิดที่ได้กระทำลงด้วยการโฆษณาสมุด หรือเอกสาร
หรือหนังสือพิมพ์ ฉะนั้นบริษัทจำกัดนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จึงต้องรับผิดในความผิดฐานหมิ่นประมาทอันเนื่องจากข้อความที่ตีพิมพ์ได้
(คำพิพากษาฎีกาที่ 265/2473) หรือตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่
พ.ศ. 2461 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ยื่นบัญชีแร่ไม่ถูกต้อง ก็มีความผิด
แม้ผู้ถือประทานบัตรนั้นจะเป็นบริษัทจำกัด
ซึ่งเป็นนิติบุคคล และแม้ผู้จัดการของบริษัทจะเป็นผู้ทำบัญชีก็ตาม
(คำพิพากษาฎีกาที่
185/2489)
3.
หากไม่มีกฎหมายบัญญัติโดยตรงให้นิติบุคคลต้องรับผิด
หรือต้องรับผิดในการกระทำของผู้อื่นดังกล่าวข้างต้นแล้ว นิติบุคคลจะรับผิดทางอาญา ก็ต่อเมื่อความผิดทางอาญานั้นได้กระทำไปในการดำเนินงานตามวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลนั้น
ๆ
และนิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้นแล้ว ทั้งนี้จะเห็นได้จากคำพิพากษาฎีกาที่
1669/2506 และ 584/2508
ซึ่งวินิจฉัยว่า
บริษัทนิติบุคคล แม้ไม่สามารถกระทำการทุกอย่างได้เช่นบุคคลธรรมดาก็ตาม
แต่ถ้าการกระทำนั้นเป็นไปตามความประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้
และได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้นแล้ว ก็ย่อมมีเจตนาในการรับผิดทางอาญาได้
-
มาตรา 59 วรรคแรก ความรับผิดในทางอาญาของนิติบุคคล
-
คำพิพากษาฎีกาที่
787-788/2506 เจตนาของนิติบุคคลย่อมแสดงออกทางผู้แทนของนิติบุคคล
เมื่อผู้แทนของนิติบุคคลแสดงเจตนาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้แทนในทางการของการดำเนินกิจการตามวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคล
เจตนานั้นก็ผูกพันนิติบุคคลและต้องถือว่าเป็นเจตนาของนิติบุคคลนั้นเอง ฉะนั้น นิติบุคคลจึงอาจมีเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดในทางอาญาและกระทำความผิด
ซึ่งผู้กระทำต้องมีเจตนารวมทั้งต้องรับโทษทางอาญาเท่าที่ลักษณะแห่งโทษ
เปิดช่องให้ลงแก่นิติบุคคลได้
ซึ่งต้องพิจารณาตามลักษณะความผิด
พฤติการณ์แห่งการกระทำและอำนาจหน้าที่ของผู้แทนนิติบุคคลประกอบกับวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลเป็นรายๆ
ไป Ø การที่ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
โดยกระทำไปในอำนาจหน้าที่ทางการค้า อันเป็นวัตถุที่ประสงค์และเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของห้างหุ้นส่วน
ถือได้ว่าเป็นเจตนาและการกระทำของห้างหุ้นส่วนฉะนั้น
ห้างหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดทางอาญาด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่
59/2507 บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2
เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจสั่งจ่ายเงินในเช็คแทนบริษัทร่วมกับจำเลยที่ 3
กรรมการของบริษัทอีกคนหนึ่ง เมื่อจำเลยที่
2 กับที่ 3 ได้เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าเงิน เงินในบัญชี
โดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดในฐานเป็นตัวการ Ø
การที่ผู้ทรงเช็คละเลยไม่ยื่นเช็คแก่ธนาคาร เพื่อให้ใช้เงินภายในหนึ่งเดือนนั้น
เพียงแต่ทำให้ผู้ทรงเช็คเสียสิทธิบางอย่างตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้น
หาทำให้ผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ
พ้นผิดไปด้วยไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่
584/2508 นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดา
ซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้น
กรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
ที่ได้จดทะเบียนไว้ และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น Ø
จำเลยเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเอง แต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมเช่นนั้นแล้ว
เพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่ ส.จน ส.กับโจทก์ที่ 2
ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลส่งของที่ซื้อแล้วจำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
Ø
ในการซื้อเชื่อสินค้าต่าง ๆ
เมื่อผู้ขายนำส่งสิ่งของที่ผู้ซื้อสั่งซื้อนั้น
ผู้นำส่งได้เขียนกรอกรายการสิ่งของที่นำส่ง และราคาลงในบิลด้วย เมื่อฝ่ายผู้ซื้อตรวจสอบสิ่งของและราคาถูกต้องกับจำนวนที่ฝ่ายผู้ขายนำส่งแล้ว
ก็ลงชื่อลายมือชื่อผู้รับในบิลนั้น มอบให้แก่ผู้นำส่งสิ่งของไป บิลซื้อเชื่อสินค้าต่าง
ๆ รายนี้
จึงเป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สินและสิทธิเรียกร้อง
จึงเป็นเอกสารสิทธิตามกฎหมาย Ø
โจทก์ฟ้องและนำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า
เมื่อผู้ขายนำส่งสิ่งของที่ผู้ซื้อสั่งซื้อพร้อมด้วยบิลซื้อเชื่อสินค้าให้ ส.
หรือโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมงานรับเหมาก่อสร้างของ ส.
เซ็นชื่อเป็นผู้รับของนั้น ไม่มีข้อความที่โจทก์หาว่าปลอม
การกระทำของจำเลยเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้จาก ส.เป็น ท.
และโจทก์ทั้งสองเพิ่งทราบเมื่อวันที่จำเลยส่งอ้างเอกสารเหล่านั้นเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่
1 ซึ่งเป็นหลานและเป็นผู้รับมรดกของ ท.ผู้ตายแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า
ถ้าฝ่ายจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นในตอนอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลจริง โจทก์ที่ 1 อาจได้รับความเสียหาย
โจทก์ที่ 1 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายตามความในมาตรา 2 (4)
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา Ø โจทก์ที่ 2
เป็นผู้เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทน ส. ผู้รับเหมาก่อสร้าง แล้วฝ่ายจำเลยทำการปลอมเอกสารเหล่านั้น
มาอ้างส่งเป็นพยานต่อศาล ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เซ็นชื่อรับรองไว้แทน ท.
ก็เป็นที่เห็นได้ว่าอาจทำให้โจทก์ที่ 2
ต้องรับผิดต่อ ท. หรือทายาทของ ท.ได้
โจทก์ที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1508/2515 จำเลยที่
1 เป็นบริษัทจำกัด ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าขาออกตาม
พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าขาออก ได้ออกคำรับรองต่อสภาหอการาค้าไทยว่า
แป้งมันสำปะหลังป่นที่มีผู้ขอให้รับรองมาตรฐานที่จะส่งไปต่างประเทศนั้น
ได้มาตรฐานชั้นหนึ่ง จนสภาหอการค้าไทยได้ออกใบรับรอง
ให้ผู้ขอไปความจริงแป้งมันสำปะหลังป่นรายนี้ไม่ได้มาตรฐานชั้นหนึ่งดังที่ทางการกำหนดไว้
และผู้ตรวจสอบของจำเลยที่ 1 ก็มิใช่ผู้มีอำนาจตรวจมาตรฐานสินค้าชั้นหนึ่ง การที่จำเลยที่
1 รับรองไปเช่นนั้นเป็นการจงใจกระทำการ
ให้การออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริง จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.
มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 Ø จำเลยที่ 2
เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกจัดงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้า
ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า
ไม่ได้ความว่ากระทำในฐานส่วนตัว หรือเป็นผู้จัดการหรือมีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำการแทนจำเลยที่
1 และไม่ได้ความว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำจึงไม่มีความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 63/2517
กรรมการผู้จัดการบริษัทออกเช็คสั่งจ่ายเงินในนามของบริษัท โดยเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค
ถือว่าได้ร่วมกับบริษัทกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 378,379/2517
นายอำเภอมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 118 และ พ.ร.บ.
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม
ที่จะต้องตรวจตราและจัดการรักษาทางบกทางน้ำ
ให้ไปมาโดยสะดวกตามที่จะเป็นได้ทุกฤดูกาล
จึงมีอำนาจประกาศห้ามรถยนต์วิ่งรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่กำลังก่อสร้าง
เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้โดยสาร
และอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็วได้ Ø จำเลยที่ 1
ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วยังฝ่าฝืนเดินรถรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางนั้น
จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 Ø จำเลยที่ 1
เป็นนิติบุคคลแสดงเจตนาออกโดยจำเลยที่ 2 และ จำเลยที่ 3
เป็นคนขับรถได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่าจำเลยทั้ง 3
ร่วมกันกระทำผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่
97/2518 ผู้จัดการบริษัทจำกัดโฆษณาหลอกขายที่ดินแก่ประชาชน แม้มีผู้สั่งจองโดยยังไม่ชำระเงิน มีผู้ซื้อเพียงรายเดียวที่แจ้งความร้องทุกข์
ก็เป็นความผิดตามมาตรา 343 บริษัทจำกัดมีความผิดตามมาตรานี้ด้วย
ซึ่งศาลลงโทษปรับบริษัท และจำคุกผู้จัดการ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 388/2520
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทเท่านั้น
ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานมีแร่ดีบุกไว้ในครอบครองเกินกว่าใบสุทธิแร่
แม้จะมีไว้ในครอบครองในฐานะตัวแทนบริษัท จำเลยก็มีความผิดร่วมกับบริษัทด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2567/2520
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนายจ้างไม่จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน
ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานยกอุทธรณ์เพราะยื่นเกิน 30 วัน อันเป็นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์
นายจ้างไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งอธิบดีต่อศาลภายใน 30 วัน
คำสั่งนั้นถึงที่สุดนายจ้างนำคดีมาฟ้องศาลภายหลัง การไม่จ่ายเงินเป็นความผิดตาม
ป.ว. ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ข้อ 8 นายจ้างจ่ายเงินเมื่ออัยการฟ้องนายจ้างแล้ว
นายจ้างไม่พ้นความผิด หุ้นส่วนผู้จัดการ
ซึ่งเป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคลมีความผิดเช่นเดียวกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย
-
มาตรา 59 วรรคแรก ความรับผิดของนิติบุคคล
ในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3446/2537 บริษัท
ส. จำกัด จำเลยที่ 1 และนาย ว. กรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1
มีวัตถุประสงค์ซื้อขายถังก๊าซ อุปกรณ์ก๊าซ และเคมีภัณฑ์ ฯลฯ จำเลยที่ 2
มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ในวันเกิดเหตุ
ลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง ขับรถบรรทุกก๊าซไปส่งลูกค้าด้วยความประมาท
เป็นเหตุให้รถเสียหลักทำให้ถังก๊าซหลุดออกมา เกิดระเบิดเพลิงไหม้ มีคนตาย
และบาเจ็บสาหัส รวมทั้งทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก
ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า “... แม้อุบัติเหตุคดีนี้
ส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทของลูกจ้าง ที่เป็นผู้ขับรถบรรทุกก๊าซดังกล่าวเกิดเหตุพลิกคว่ำ
... แต่ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผลของอุบัติเหตุครั้งนี้
มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1 (บริษัท ส. จำกัด) ด้วย
เนื่องจากจำเลยที่ 1 มิได้นำรถคันดังกล่าว ไปรับการตรวจรับรองจากกรมโยธาธิการ
และกระทวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 (พ.ศ.2514) ข้อ 3
โดยไม่ติดตั้งวาล์วนิรภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุกรณีก๊าซรั่วไหล ...
ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังของจำเลยทั้งสอง ที่มิได้ทำการควบคุมดูแล
เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่มุ่งคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน
เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยทั้งสอง
จักต้องมีความวิสัยและพฤติการณ์...”
ศาลฎีกาพิพากาาลงโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
โดยให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ปรับ 20,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี
และปรับ 20,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 56
กระทำ ความหมาย ปกติ
การเคลื่อนไหว หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึก อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
กระทำโดยผลของกฎหมาย
คือ การงดเว้น ตาม มาตรา 59 วรรค ท้าย , ละเว้น มาตรา 374
วิธีการ กระทำด้วยตนเอง
, ใช้สัตว์เป็นเครื่องมือ
กระทำด้วยผู้อื่น ใช้บุคคลที่ไม่มีเจตนาร่วมกระทำผิดเป็นเครื่องมือ
ร่วมกับบุคคลอื่น
-
“กระทำ” คือ
1.คิด 2.ตัดสินใจ และ 3.ลงมือ
(อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 พ.ศ.2538
/86)
-
มาตรา 59 วรรคแรก
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้ “กระทำโดยเจตนา” เว้นแต่
“กระทำโดยประมาท”...หรือ....”กระทำโดยไม่มีเจตนา”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 928/2499 ปืนลั่นจากมือจำเลยในขณะที่จำเลยกำลังเป็นลมบ้าหมูไม่รู้สึกตัวไปถูกผู้เสียหายเข้า
จำเลยไม่มีผิดฐานพยายามฆ่าคนหรือทำร้ายร่างกาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 425/2525 การที่จำเลยกับผู้เสียหายกอดปล้ำฟัดเหวี่ยงพลิกไปพลิกมา
เพื่อแย่งมีดกันนั้น อาจเป็นเหตุให้มีดที่แย่งกัน ซึ่งเป็นมีดปลายแหลม
แทงเข้าไปที่สะบักซ้ายด้านหลังของผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่มีเจตนาแทงได้ กรณีไม่อาจสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่จำเลย
เหตุที่เกิดขึ้นผู้เสียหายเป็นฝ่ายที่ท้าจำเลยให้ต่อยกันก่อน
ฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหาย คงฟังได้เพียงว่าจำเลยชกต่อยผู้เสียหาย
ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.391 เท่านั้น
-
ประเด็นเปรียบเทียบ
การกระทำ และไม่มีการกระทำ การขับรถพุ่งไปทางเจ้าพนักงาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1270/2526 จำเลยขับรถยนต์บรรทุกดินลูกรังสูงเกินกำหนด
พอถึงจุดตรวจซึ่งมีแผงเหล็กเครื่องหมาย "หยุด" ตั้งอยู่กลางถนน เจ้าพนักงานตำรวจได้เป่านกหวีดและให้สัญญาณให้จำเลยหยุด
จำเลยกลัวถูกจับจึงไม่หยุดรถ แต่ “กลับเร่งเครื่องยนต์
หลีกเครื่องหมายจราจร พุ่งเข้าใส่เจ้าพนักงานตำรวจ” ที่ยืนอยู่ทางซ้าย
2-3 คน แต่เจ้าพนักงานตำรวจกระโดดหลบเสียทัน ดังนี้ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ารถยนต์ที่จำเลยขับพุ่งเข้าใส่เช่นนั้น
จะต้องชนเจ้าพนักงานตำรวจที่ยืนอยู่ในถนนถึงแก่ความตายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2531 จำเลยขับรถยนต์สิบล้อไปถึงด่านตรวจ
ได้รับสัญญาณให้หยุดรถจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ซึ่งยื่นอยู่ริมถนนบริเวณด่านตรวจนั้นแล้วไม่ปฏิบัติตาม โดยจำเลยขับรถผ่านเลยไป
ดังนี้ เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำการอื่นใด นอกเหนือไปจากนี้ การกระทำของจำเลย
จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
-
“งดเว้น” คือ
1.มีหน้าที่ (เป็นหน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันผล) และ
2.ไม่กระทำตามหน้าที่ (อ
เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 พ.ศ.2538
/94)
-
มาตรา 59 วรรคท้าย การกระทำ
ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำ
เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
-
การกระทำ
ให้หมายความรวมถึง การให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
-
งดเว้นกระทำการ มีทั้งกรณี เจตนา และประมาท
-
งดเว้นกระทำการ โดยมีเจตนากระทำผิดแล้ว
ผลไม่เกิด รับผิดฐานพยายามกระทำผิดได้
-
งดเว้นกระทำการ มีการกระทำโดยพลาดตาม ม 60
ได้ หากผู้กระทำมีหน้าที่ป้องกันผลต่อผู้ได้รับผลร้ายด้วย
-
ความผิดที่ต้องการเจตนา หากขาดเจตนา
เพราะไม่รู้องค์ประกอบความผิด ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่กรณี
ความไม่รู้เกิดจากความประมาทตาม ม 62 ว 2
-
งดเว้นกระทำการ มีตัวการร่วมตาม ม 83
ได้
-
งดเว้นกระทำการ มีผู้สนับสนุนตาม ม 86
ได้
-
งดเว้น เป็นการตัดโอกาสผู้อื่นเข้าช่วย ผู้เสียหายแล้ว
เช่น เข้าช่วยแล้ว หยุดช่วย เป็นงดเว้นกระทำการ
-
ผิดเมื่อ มีหน้าที่ และสามารถป้องกันผลได้
แต่งดเว้น หากไม่อาจทำได้ ไม่ผิด เช่น ไม่กล้าโดดน้ำไปช่วย (ความเห็นเพิ่ม)
-
ผลต้องสัมพันธ์กับ การงดเว้นกระทำการ เช่น
ไม่พาไปรักษา แต่แม้พาไปรักษา ก็ตายอยู่ดี ไม่ผิด
-
ทำผิด พรบ.ควบคุมอาคาร
ไม่ทำทางหนีไฟ เป็น งดเว้นกระทำการ ผิด ม 291 เพราะไม่เจตนาฆ่า แต่ประมาท
-
ปล่อยให้ลูก ฆ่าตัวตาย พ่อผิด
เพราะเป็นการงดเว้นกระทำการป้องกัน
แม้ลูกทำเอง
-
งดเว้นกระทำการ ใช้กับองค์ประกอบที่ต้องมีผลเกิด
ต่างกับ มาตรา 307 ทิ้งแล้วผิดทันที เช่น ทิ้งลูก
ผิด มาตรา 307 ทันที แต่ยังไม่ต้องรับผิด ข้อหาพยายามฆ่า
โดยไตร่ตรองไว้ก่อน มาตรา 59 ว 5+80+288
-
“หน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันผล” (อ
เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 พ.ศ.2538
/72)
-
หน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1564 บิดา มารดา เลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ , มาตรา 1563
บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา , มาตรา 1461
สามีและภรรยามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูกันตามฐานานุรูป
-
หน้าที่จากการยอมรับโดยเฉพาะเจาะจง เช่น
หน้าที่ตามสัญญารับจ้างเลี้ยงเด็ก โดยมีค่าตอบแทน หรือ เพื่อนบ้านตกลงจะดูแลเด็กแทนพ่อแม่ชั่วคราว
โดยไม่มีค่าตอบแทน
-
หน้าที่จากการกระทำครั้งก่อนของตนเอง
เพราะไปตัดโอกาสผู้อื่นที่จะช่วยเหลือ เช่น จูงคนตาบอดข้ามถนน ต้องช่วยจนเสร็จ
-
หน้าที่จากความสัมพันธ์พิเศษ เช่น
ป้าเลี้ยงดูหลาน แต่หลานปล่อยให้ป้าป่วยตาย ไม่พาไปรักษา (คดีศาลอังกฤษ)
-
การงดเว้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1112-1114/2508 จำเลยเห็นผู้ตายกำลังถูกทำร้าย ไม่ได้เข้าขัดขวางแต่อย่างใด
และไล่ลูก ๆ ให้ออกไป ทั้งสั่งห้ามไม่ให้ไปบอกใครด้วย
เมื่อมีหญิงคนหนึ่งมายังที่เกิดเหตุ จำเลยวิ่งไปรับหน้า ห้ามมิให้เข้าไป
โดยกล่าวเท็จว่า ผัวเมียตีกันไม่ใช่ธุระ
เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำไปโดยตั้งใจเพื่อจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ตายถูกฆ่า
โดยไม่ต้องถูกผู้ใดขัดขวาง จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 / หมายเหตุ
ชายชู้ฆ่าสามี ภรรยาช่วยเหลือชายชู้ และงดเว้นไม่ช่วยเหลือสามี
ซึ่งภรรยามีหน้าที่ตามกฎหมายต้องช่วยเหลือดูแลสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1461
-
คำพิพากษาฎีกาที่
2210/2544 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจุดที่จำเลยจอดรถและเกิดเหตุชนกันอยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนน
ในลักษณะไม่กีดขวางการจราจรแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลามืดค่ำโดยไม่ได้เปิดไฟ
หรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(ฉบับที่ 2 พ.ศ.2522) เพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่
จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอดอยู่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นผลจากความประมาทของจำเลย
ไม่ว่าจะฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วย
จึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยเพื่องดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น
หาใช่ผลโดยตรงจากการขับรถของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐาน ขับรถโดยประมาทตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ
มาตรา 43 (4), 157 คงผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ.มาตรา
291
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
เรื่องงดเว้น
-
(ขส เน 2538/
2) แดง จ้างขาว ไปฆ่าดำ ขาวตกลง / ระหว่างรอโอกาส ดำไปว่ายน้ำในสระ
เกิดตะคริว จะจมน้ำ ดำร้องขอให้คนช่วย/ ขาวเป็นลูกจ้างประจำสระ
มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัย เห็นดำและช่วยได้ แต่ไม่ช่วยเพราะประสงค์ให้ดำตาย
ซึ่งหากขาวช่วย ดำก็จะไม่จบน้ำ (ขาวและแดงผิดฐานใด)
/ ขาวมีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้มาว่ายน้ำจมน้ำ ปล่อยให้ดำจมน้ำ เป็นการฆ่าดำ
โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น ตาม ม 59 วรรคท้าย
เมื่อมีเจตนาฆ่าอยู่ก่อนแล้ว จึงผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ม 289 (4)
เพราะเป็นการรับจ้างมาฆ่า / แดง
ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนตัวการ ตาม ม 84 วรรคสอง ผิด ม 289 (4)
ประกอบ ม 84
-
“ละเว้น” คือ
1.มีหน้าที่ (เป็นหน้าที่โดยทั่วไป
“General Duty” ไม่ใช่หน้าที่ป้องกันผล) และ
2.ไม่กระทำตามหน้าที่ (อก/74,
84)
-
มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต
ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น
/ อ จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
ความผิดตามมาตรานี้ ไม่เป็นการไม่กระทำ ไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำ
เพื่อป้องกันผลมิให้ตายตามมาตรา 59 วรรคท้าย ฉะนั้น ถ้าไม่ช่วยแล้ว
เกิดมีความตาย ผู้ไม่ช่วยไม่มีความผิดฐานฆ่าคน และความผิดตามมาตรานี้ไม่ต้องมีผล
ฉะนั้น การที่ไม่ช่วยจะตายหรือจะรอดไม่สำคัญ
และการละเว้นไม่ช่วยตามความจำเป็นต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา
ถึงแม้การที่ควรจะช่วยหรือไม่ โดยไม่ต้องมีเจตนาในส่วนนั้นก็ตาม
-
งดเว้น - ละเว้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1403/2512 (สบฎ เน 2096) ม
157 การจะเป็นความผิดนั้น ต้องเป็นการปฏิบัติ
หรือละเว้นปฏิบัติ เฉพาะแต่หน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้น
"โดยตรง" ตามที่ได้รับมอบหมาย
ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่ผิด (หมายถึงหน้าที่ในการปฏิบัติราชการ
ไม่ใช่หน้าที่ป้องกันผล ตาม ม 59 ว 5)
-
เช่น นายขาว จะแทงนายดำให้ตาย ตำรวจผ่านมา
ไม่ระงับเหตุ ทั้งที่ทำได้ ตำรวจผิด ม 157 แต่ไม่ผิด ม 288 + 59
ว 5
-
แต่หากตำรวจนั้นได้รับคำสั่งให้มาอารักขาดำ
โดยตรง ผิด ม 157 และ หากมีเจตนาฆ่า ผิด ม 288 + 59
ว 5 + 59 ว 2 หรือหากงดเว้น
ไม่ช่วยอารักขาโดยประมาท ม 59 ว 4,5 + 291)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 999/2527
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญา
และจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในกรณีที่มีผู้กระทำผิด ซึ่งหน้าแม้ในที่รโหฐาน
จำเลยก็มีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีทั้งหมายจับและหมายค้น
จำเลยเข้าไปในห้องเล่นการพนัน พบผู้เล่นกำลังเล่นการพนันเอาทรัพย์สินกัน
แล้วไม่ทำการจับกุม ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการกรมตำรวจ
มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ.ม.157
-
“หลักความรับผิดตามเจตนาและข้อเท็จจริง” คือ
(อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 พ.ศ.2538
/103)
-
ไม่รู้-ไม่เจตนา
-
ตาม เจตนาจริง ม 59 ว 2 , 3
และ เจตนาโดยผลของกฎหมาย มาตรา 60
-
ฎ 6405/2539
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี
เท่ากับไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี
ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคแรก
จึงถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดฐานนี้
-
รู้เท่าไร-เจตนาเท่านั้น
-
ตาม ม 62 ว 1 , 3
-
รับผิดไม่เกินความจริง
-
ตามองค์ประกอบของกฎหมาย บทมาตราที่ทำผิด
-
กรณีที่ความจริงเป็นคุณมากกว่าความเข้าใจ
ไม่ต้องอ้างสำคัญผิดตาม ม 62 ว 1 (อก/134)
-
ขาดองค์ประกอบภายนอก ไม่ผิดฐาน 80
อ จิตติ และ อ หยุด (อก/99)
มาตรา 59 วรรคสอง
กระทำโดยเจตนา
ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกัน
ผู้กระทำย่อมประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
กระทำโดยเจตนา มาตรา 59 วรรค 2 = รู้สึกนึกฯ
+ ประสงค์ หรือย่อมเล็งเห็นผล
มาตรา
59 วรรค 3 หากไม่รู้ (ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด)
= ไม่มีเจตนา
-
เจตนา เป็นความนึกคิดภายในใจของผู้กระทำ
การวินิจฉัยเจตนาของผู้กระทำ ในทางปฏิบัติ ใช้วิธีพิจารณาจากพยานหลักฐาน
และพฤติการณ์แวดล้อม แต่ในทางทฤษฎีโดยเฉพาะในการทำข้อสอบ
ต้องดูข้อเท็จจริงที่ให้มาในข้อสอบให้ดี เพราะบางครั้งข้อเท็จจริงที่ให้มาในข้อสอบเป็นอันยุติแล้ว
แต่ข้อเท็จจริงในส่วนอื่น ทำให้หลงวินิจฉัยไปแย้งกับข้อเท็จจริงที่ให้มาแล้วได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1958/2526
เจตนาเป็นองค์ประกอบภายในของความผิดอาญาที่จะแสดงว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ อันเป็นมูลฟ้องในข้อหาบุกรุกลักทรัพย์ของโจทก์
ศาลย่อมมีอำนาจยกเจตนาของจำเลยขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ว่ากระบวนพิจารณาอยู่ในชั้นใด
และจำเลยจะได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แล้วหรือไม่
-
กระทำโดยเจตนา
ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกัน
ผู้กระทำย่อมประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
-
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง
อันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล
หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
-
เจตนาประสงค์ต่อผล (อ
เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 /2546
น 144)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1051/2510
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผล คือ
การทำงานของผู้ที่ถูกหลอกให้ประกอบการงานให้แก่ตน
หรือบุคคลที่สามโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน ฯลฯ เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยหลอก
เพื่อให้ส่งเงินเท่านั้น ไม่ได้หลอกให้ทำงาน จึงไม่ใช่เป็นการกระทำ
เพื่อประสงค์ต่อผล ตามมาตรา 344 จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4279/2539 บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงาน
โดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเอง
หรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงาน
แต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำ
แต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัคร
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 วรรคแรก /
การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ
30 หุ้น เป็นเงิน 3,000 บาท มี ลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่าย
ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงิน ค่าครองชีพเดือนละ135
บาท จึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงิน ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ.2527 มาตรา 3 เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบ หรือจ่ายหรือตกลงหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าว
และในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ 135 บาท หรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ 54 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตาม
กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา
5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่
2 เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์
ตอบแทนดังกล่าว จึงมีความผิดตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 5 / ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผล คือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม
โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ได้ กระทำในนามของบริษัท โดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดี การรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดี
การคืนเงินประกันการ ทำงานเมื่อครบกำหนด 6 เดือน แล้วก็ดี ล้วนเป็นอุบาย
ทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อ และมอบเงินให้ แสดงว่าจำเลยที่
1 และที่ 2 หลอกลวง ผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่
1 และที่ 2 เท่านั้น มิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทำงาน
เพราะความจริง แล้วไม่มีงานให้ทำ ที่จำเลยที่ 1 และที่
2 จัดให้มีการทำงานในช่วงแรก ๆ และจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่ง
ซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้ กรณีจึงมิให้เป็นการกระทำ เพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 344 ไม่มีความผิดตามมาตรานี้
-
ประสงค์ให้เกิดผล แม้ไม่ “คาดหมาย” ว่าผลจะเกิด
ถือว่า เจตนา
-
เช่น ใช้ปืนที่มีระยะหวังผล 30 เมตร
คือระยะที่ทำให้ถึงตายได้แน่นอน แต่ลูกกระสุนไม่ได้หยุดในระยะหวังผล ยิงไปที่ ก
ซึ่งยืนอยู่ห่างไป 50 เมตร ถูกศีรษะตาย ก็ถือว่ามีเจตนาฆ่า
-
ไม่ประสงค์ให้เกิดผล แต่ “คาดหมาย” ได้ว่าผลอาจเกิด
ถือว่า ไม่ เจตนา เช่น แพทย์ผ่าตัด คนไข้ตาย
-
ประสงค์ และไม่ประสงค์ ต่อผล ส่วนที่ไม่ประสงค์ต่อผลอาจเป็น
“เล็งเห็นผล”
-
เช่น ชกหน้า (ประสงค์ต่อผล
ทำร้ายร่างกาย) แว่นแตก (ย่อมเล็งเห็นผล
ว่าทำให้เสียทรัพย์)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 321/2535
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิง และกระสุนปืนไปถูกกระจกหน้าต่าง และโต๊ะของผู้เสียหาย
ได้รับความเสียหายด้วยนั้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนายิงผู้เสียหายเป็นสำคัญ
จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น (โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผล)
และฐานทำให้เสียทรัพย์ (โดยมีเจตนาย่อมเล็งเห็นผล) ซึ่งเป็นกรรมเดียว
-
ประสงค์ต่อผล แล้วผลเกิด
ต้องรับผล แม้วิธีการผิดแปลกไปจากที่ตั้งใจไว้ (อ
เกียรติขจรฯ 8/144)
-
เล็งปืนแล้ว ยังไม่ทันยิง หรือยิงแล้วไม่ถูก
แต่ช็อกตาย หรือไล่ยิง ทำให้ผู้ถูกฆ่า ต้องกระโดดน้ำ หรือกระโดดตึกหนี แล้วตาย
-
เจตนาฆ่า แต่ยิงรูปปั้นโดยสำคัญผิด
แล้วกระสุน แฉลบมาถูกผู้ตายตามเจตนา
-
เจตนาฆ่า แม้ไม่เจาะจงตัว
ก็ประสงค์ต่อผลได้
-
เช่น ยิงไปในกลุ่มคน / กรณีไม่แน่ชัดว่าเจาะจงยิงผู้ใดในกลุ่ม
ศาลปรับ เล็งเห็นผล (อ เกียรติขจรฯ 8/167)
-
บางกรณีศาลปรับเป็นเจตนาเล็งเห็นผล / ฎ
2567/2544 (อ เกียรติขจรฯ 8/162) จำเลยใช้ปืนยิงไปที่กลุ่มคน
บนรถยนต์โดยสารที่จำเลยโดยสารมา ถือว่ามีเจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผล
-
การสำคัญผิดในตัวบุคคล (ตาม
มาตรา 61) ก็ถือเป็นการการกระทำโดยประสงค์ต่อผล
-
ดำ ประสงค์จะฆ่าขาว เมื่อแดงเดินมา
ดำยิงแดง โดยเข้าใจว่ายิงขาว ดำผิด มาตรา 288 + 59 ว 2 +
61 / แม้ไม่มีมาตรา 61 การเข้าใจผิดของดำ
ก็ยังครบองค์ประกอบภายในตาม มาตรา 288 คือ รู้ว่า “การยิง
เป็นการฆ่า” + “รู้ว่าแดง เป็นผู้อื่น” และเมื่อเข้าองค์ประกอบภายนอก คือ มีการฆ่า และฆ่าผู้อื่น
ครบโครงสร้างความรับผิด จึงต้องรับผิดตามกฎหมายเหมือนเดิม
-
เจตนาเล็งเห็นผล (อ
เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 /2546
น 156)
-
เล็งเห็นว่าผลจะเกิดแน่นอน
เท่าที่บุคคลนั้นจะคาดหมายได้
-
พิจารณาตามบุคคลในสภาพเช่นเดียวกับผู้กระทำ
ไม่ใช่วิญญูชนทั่วไป เช่น เด็กทำ คิดเหมือนเด็ก (อก/116)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1334/2510
จำเลยจะทำร้ายบุตรของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเข้าไปขัดขวาง จำเลยผลักผู้เสียหาย
ทำให้ผู้เสียหายล้มลง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่า เมื่อผู้เสียหายล้มลงแล้ว
ผู้เสียหายจะได้รับผลอย่างไร ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ
ก็ย่อมเป็นผลแห่งการกระทำโดยเจตนาของจำเลยตาม มาตรา 59 วรรค 2
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1155/2520
จ.ปลูกข้าวในหนองสาธารณะ จ.อ้างสิทธิครอบครองในหนองไม่ได้
จำเลยมีสิทธิใช้หนองได้เท่าเทียมกับ จ.แต่จำเลยนำเรือเข้าไปตัดใบบัว
ซึ่งปนอยู่กับต้นข้าวทำให้ต้นข้าวเสียหาย เป็นการกระทำโดยเล็งเห็นผลตาม ม.59
ผิดตาม ม.359
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2780/2527 จำเลยจ้องปืนมาทางจ่าสิบตำรวจ น. กับพวกแล้วก็มี เสียงปืนดังขึ้น 1 นัด จากทางด้านจำเลย ซึ่งจำเลยจะ ต้องเป็นผู้ยิงเพราะพวกของจำเลยไม่มีปืน แม้กระสุนปืนที่จำเลยยิงจะไม่ถูกใคร แต่การที่จำเลยยิงปืนมาทางจ่าสิบตำรวจ น. กับพวก จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่าอาจเป็นเหตุให้จ่าสิบตำรวจ น. กับพวกคนใดคนหนึ่งหรือ หลายคนถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
-
คำพิพากษาฎีกาที่
114/2531 การที่จำเลยจุดไฟเผาที่นอนในห้องของโรงน้ำชา
เพราะไม่พอใจหญิงบริการของโรงน้ำชานั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าเมื่อที่นอนถูกเผาไหม้แล้ว
ไฟอาจจะลุกลามไหม้เตียงนอน ฝาพนัง เพดาน จนกระทั่งโรงน้ำชาแห่งนั้นทั้งหมดได้
เมื่อได้ความว่าโรงน้ำชานั้นมีคนอยู่อาศัยด้วย จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3322/2531 ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าตรวจค้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับ
โดยโหนตัวขึ้นไปยืนบนบันไดรถ จำเลยขับรถกระชากออกไปโดยเร็ว
และไม่ยอมหยุดรถโดยเจตนาให้ผู้เสียหายตกจากรถ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า อาจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย
ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 298
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 24/2533
แม้จำเลยจะยิงผู้เสียหาย โดยไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผล คือความตาย
เพราะผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเพื่อนกัน และยิงในขณะที่จำเลยมึนเมาสุรา
แต่การที่จำเลยยกอาวุธปืนขึ้นเล็ง แล้วยิงไปที่ผู้เสียหายในระยะกระชั้นชิด
จำเลยเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนที่ยิงจะต้องไปถูกผู้เสียหาย จำเลยจะอ้างความมึนเมามาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้พ้นความผิดไม่ได้
/ จำเลยยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ กระสุนปืนถูกที่ท้องต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัด
หากแพทย์รักษาไม่ทัน ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายได้
เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3431/2535
การที่จำเลยที่ 2 ใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงไปทางกลุ่มผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ
10 คน โดยไม่ใยดีว่ากระสุนปืนจะถูกผู้ใดหรือไม่ แม้จะเป็นการยิงเพียงนัดเดียว ก็อาจถูกผู้อื่นถึงแก่ความตายได้
จึงเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น เป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2991/2536 จำเลยอยู่บนรถกระบะที่กำลังขับไล่ติดตามรถจักรยานยนต์
ที่ผู้เสียหายขับไปตามถนนซึ่งเป็นทางลูกรังแคบและขรุขระใช้อาวุธปืนเล็กกล (เอ็ม.16) ยิงไปที่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายหลายนัด
แม้จำเลยมีเจตนายิงยางรถจักรยานยนต์ เพื่อให้รถจักรยานยนต์ล้ม แต่จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายได้
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงไปในลักษณะเช่นนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า กระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายที่บริเวณอวัยวะสำคัญทำให้ผู้เสียหายทั้งสองถึงแก่ความตายได้
จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 573/2539
จำเลยยิงปืนเข้าไปในห้องน้ำ โดยรู้ว่าผู้เสียหายอยู่ในนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็น
ได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ จึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2870/2540
แม้จำเลยกับผู้เสียหายจะเป็นญาติพี่น้องกัน สาเหตุแห่งการทำร้ายเกิดจากจำเลยโกรธที่ผู้เสียหายว่ากล่าวตักเตือนให้จำเลยเลิกดื่มสุรา
จำเลยได้ลอบเข้าไปแทงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายนอนหลับ
จำเลยเลือกแทงที่ท้องของผู้เสียหายอย่างแรง บาดแผลลึกถึง 4 นิ้ว
ทะลุลำไส้เล็กตัดเส้นโลหิตใหญ่ฉีกขาด ถึงแม้จำเลยจะมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย
แต่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้
ย่อมถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา 59 วรรคสอง
และการที่จำเลยไม่แทงซ้ำอีกทั้ง ๆ ที่มีโอกาส
จะทำได้ก็ไม่ทำให้ความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป เพราะเจตนาโดยเล็งเห็นผลนั้นมุ่งถึงลักษณะแห่งการกระทำ
และผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้นเป็นหลัก มิได้มุ่งถึงเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4252/2542
แม้ผู้ตายมีเจตนาจะใช้มีดที่ถืออยู่ประทุษร้ายจำเลยอย่างแน่นอน
อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายใกล้จะถึง แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปที่มือผู้ตาย
ขณะที่มือผู้ตายอยู่ในบริเวณใบหน้า
และจำเลยรู้ดีว่าปืนของจำเลยเป็นชนิดที่ยิงออกไปแล้วกระสุนกระจายออกหลายเม็ด
จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่า หากจำเลยยิงไปที่มือกระสุนปืนต้องถูกใบหน้าผู้ตายด้วย
ข้ออ้างของจำเลยที่อ้างว่า ต้องการยิงมือของผู้ตายเพื่อให้มีดตกลงจากมือผู้ตายฟังไม่ขึ้น
/ ผู้ตายถือมีดทำครัวใบมีดยาวเพียง 4 นิ้ว กว้าง 1 นิ้ว เข้ามาจะทำร้ายจำเลย
หากจำเลยเพียงแต่ใช้อาวุธปืนขู่ หรือเพียงแต่ยิงขู่ผู้ตายซึ่งเมาสุรา
และถือมีดดังกล่าว ก็ไม่น่าจะกล้าใช้มีดนั้นเข้ามาทำร้ายอีกต่อไป แม้จำเลยจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเพียงนัดเดียว
ก็เป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4563/2543
จำเลยถอดกางเกงเดินเข้าไป เพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย
ขณะที่ผู้ตายไม่ได้สวมกางเกง และยืนพิงลูกกรงระเบียงอาคาร ซึ่งสูงเพียงระดับสะโพก
โดยผู้ตายมิได้ยินยอม จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า หากผู้ตายหลบหลีกขัดขืน
มิให้ข่มขืนกระทำชำเราแล้ว อาจจะตกลงไปจากระเบียงอาคาร ถึงแก่ความตายได้
ผู้ตายดิ้นรนขัดขืน เพื่อมิให้จำเลยข่มขืน จนผู้ตายพลัดตกลงไปจากระเบียงอาคาร
ได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จึงเป็นผลที่เกิดโดยตรง อันเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย
-
ประเด็นเปรียบเทียบเรื่องเจตนาประสงค์ต่อผล
กับเจตนาย่อมเล็งเห็นผล
-
& การยิงยานพาหนะ คำพิพากษาฎีกาที่ 2991/2536 จำเลย อยู่บนรถกระบะ
ที่กำลังขับไล่ติดตามรถจักรยานยนต์ ที่ผู้เสียหาย ขับไปตามถนน ซึ่งเป็นทางลูกรังแคบ และขรุขระ ใช้อาวุธปืนเล็กกล
(เอ็ม.16) ยิงไปที่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย หลายนัด แม้จำเลย
มีเจตนายิงยางรถจักรยานยนต์ เพื่อให้รถจักรยานยนต์ล้ม
แต่จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า กระสุนปืน อาจถูกผู้เสียหายได้ การที่จำเลย ใช้อาวุธปืนดังกล่าว
ยิงไปในลักษณะเช่นนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า กระสุนปืน
อาจถูกผู้เสียหาย ที่บริเวณอวัยวะสำคัญ ทำให้ผู้เสียหายทั้งสอง ถึงแก่ความตายได้ จึงเป็น
การกระทำโดยเจตนาฆ่า / ข้อสังเกต แต่ถ้าจำเลย ยิงยางรถยนต์ แล้วไปถูกคนบนรถ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นการกระทำโดยประมาท ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1086/2521 ซึ่งอาจเป็นเพราะ การยิงไปที่ยางรถยนต์นั้น โอกาสที่จะถูกผู้เสียหายนั้น
มีน้อยกว่ารถยนต์ ทั้งความร้ายแรงของอาวุธปืน ก็ต่างกันด้วย / ตามแนวของศาลฎีกา ได้วางหลักตลอดมาว่า การยิงปืนเข้าไปในรถยนต์ รถไฟ
หรือเรือ หรือในห้องที่รู้ว่ามีคน หรือหมู่คน
โดยมิได้ประสงค์ จะให้ถูกผู้ใด โดยเฉพาะแล้ว ถือได้ว่า เป็นเจตนาประเภท ย่อมเล็งเห็นผล ดังนี้ เมื่อถือว่า
มีเจตนาแล้ว ถ้ายิงไม่ถูกผู้ใด ก็ยังคงเป็น
ความผิดขั้นพยายามได้
-
ประเด็นเปรียบเทียบเรื่องเจตนาฆ่า
กับทำร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1003/2512
จำเลยขับรถแซงรถผู้เสียหายขึ้นไปด้วยความเร็ว
แล้วหักพวงมาลัยให้ท้ายรถจำเลยปัดหน้ารถผู้เสียหาย
จนรถผู้เสียหายแฉลบไปจนเกือบตกถนนนั้น “หากถนนตรงนั้นเป็นที่สูงหรืออยู่หน้าผาสูงชัน”
ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ถ้ารถคว่ำไปแล้ว ทั้งรถและคนย่อมถึงซึ่งความพินาศ
เห็นผลได้ชัดว่าผู้เสียหายย่อมได้รับอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น
แม้รถยนต์ผู้เสียหายจะไม่ตกถนนลงไป จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
และไม่จำต้องคำนึงถึงว่าคนนั่งภายในรถจะมีตัวรถป้องกันหรือไม่
แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ถนนตรงที่เกิดเหตุสูงจากพื้นนาประมาณ 1 แขน หรือ 1
เมตร / “ขณะเกิดเหตุ” ผู้เสียหายขับรถอยู่ในอัตราความเร็ว 50
กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถูกจำเลยเอาท้ายรถปัดหน้ารถผู้เสียหาย ๆ
ก็แตะเบรครถหยุดทันที และเครื่องดับเอง ล้อรถด้านซ้ายยังห่างขอบถนนอีกราว 1
ศอกผู้เสียหายไม่ได้รับบาดเจ็บอันใด
จึงถือว่าจำเลยมีเจตนาพยายามฆ่าผู้เสียหายให้ถึงตายยังไม่ได้ เพราะถึงหากรถยนต์ผู้เสียหายจะตกลงไป
โดยผู้เสียหายนั่งอยู่ภายในตัวรถก็ไม่แน่ว่าจะถึงตาย
แต่ก็พอคาดหมายได้ว่าอย่างน้อยผู้เสียหาย
ย่อมได้รับการกระทบกระแทกเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บ
“ซึ่งจำเลยก็น่าจะเล็งเห็นผลอันจะเกิดแก่ผู้เสียหายได้”
ดังนี้จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำร้ายผู้เสียหาย เป็นอันตรายถึงบาดเจ็บตาม
มาตรา 295, 80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1048/2512
ผู้เสียหายใช้ของแข็งตีศีรษะจำเลย 1 ที จำเลยไปหยิบมีดโต้วิ่งเข้าหาผู้เสียหาย
ผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลยไล่ตาม ผู้เสียหายล้ม จำเลยตามทัน ก็ใช้มีดโต้ฟันผู้เสียหาย
มีบาดแผล 2 แห่ง คือ ที่ข้อศอกซ้ายและที่ไหล่ขวาแห่งละแผล แล้วจำเลยก็กลับไปเอง แม้อาวุธมีดที่จำเลยใช้ฟันผู้เสียหาย
จะเป็นมีดที่ใหญ่ยาวถึงศอกเศษ อันอาจทำให้ผู้เสียหายถึงตายได้ก็ดี
แต่จำเลยก็ใช้ฟันผู้เสียหายเพียง 2 แผล ในที่ไม่สำคัญเท่านั้น แล้วจำเลยกลับไปเอง
ทั้งที่มีโอกาสที่จะฟันซ้ำในที่สำคัญ ๆ ให้ถึงตายได้
บาดแผลก็รักษาหายในเวลาหนึ่งเดือน จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟันทำร้ายผู้เสียหาย
โดยมีเจตนาฆ่า คงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น
(ศาลวินิจฉัยว่ามีเจตนาเพียงทำร้าย หากวินิจฉัยว่ามีเจตนาฆ่า และยับยั้ง ก็จะผิด ม
288 + 80 + 82 คงรับผิดตาม ม 295 เช่นเดียวกัน)
-
กรณีไม่มีเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 509/2502 ใช้ปืนยิงขู่
โดยเข้าใจผิดว่าเป็นคนร้ายจะมางัดห้อง แต่การยิง ผู้ยิงไม่เห็นตัว
และได้ยิงลงต่ำ ไม่ประสงค์ให้ถูกใคร หากแต่เผอิญกระสุนไปถูกไม้คร่าว
จึงแฉลบไปถูกคนที่เข้าใจผิด ว่าเป็นคนร้ายเข้า ถือว่าไม่มีเจตนาฆ่า
หรือแม้แต่เจตนาจะทำร้ายร่างกาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1019/2504
จำเลยเชื่อมั่นโดยสุจริตว่าเป็นเหมืองของจำเลย
จำเลยย่อมไม่รู้ว่าเหมืองที่จำเลยกั้นน้ำนั้น เป็นสาธารณูปโภค
ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ปอ มาตรา 228 จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1381/2508
จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่า ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจำเลยเข้าครอบครองอยู่นั้น
เป็นที่ของตน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอ
โดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของตนนั้น จึงมีเหตุอันสมควร เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 368 ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 136/2515 (วรสารอัยการ
ก.ย. 34 หน้า 133) การที่ชายร่วมประเวณีกับหญิง โดยต่างยินยอมพร้อมใจ
แม้หญิงจะถึงแก่ความตาย โดยชายมิได้คาดคิด จึงไม่มีเจตนาฆ่า หรือทำร้ายร่างกาย
/ (พนักงานอัยการ กรมอัยการ โจทก์ จ่าโทแอนดรู โรเบิร์ททูมส์ จำเลย)
จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย เจตนาที่แท้จริงของจำเลย
ก็เพื่อจะร่วมประเวณีกับผู้ตายเท่านั้น
แต่เนื่องจากการร่วมประเวณีเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
โดยขณะที่จำเลยกับผู้ตายกำลังร่วมประเวณีกัน เป็นครั้งที่ 2
จำเลยกับผู้ตายได้กอดรัดกันแรงกว่าครั้งแรก เพราะความสนุก
และอาจเป็นไปได้ที่มือจำเลยบังเอิญไปถูกที่คอผู้ตาย
โดยเฉพาะตอนที่ว่าใช้มือช้อนคอขึ้นจูบหน้า เมื่อใกล้จะสำเร็จความใคร่นั้น
นิ้วมือของจำเลยไปกดถูกที่เส้นเลือดเลี้ยงสมองโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นการกดอย่างไม่แรงด้วย ประกอบกับผู้ตายมีสุขภาพไม่ดี เคยแท้งลูก
เป็นลมและเวียนศีรษะเป็นประจำ ด้วยเหตุเหล่านี้เอง
ที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และจำเลยกระทำกับผู้ตาย
เมื่อใกล้จะสำเร็จความใคร่ ด้วยความยินยอมพร้อมใจ และสนุกด้วยกันทั้งสองฝ่าย
โดยไม่อาจคาดคิดได้เลยว่า จะเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จึงเห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตาย
หรือแม้แต่เจตนาทำร้ายร่างกาย อันจะเป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนาแต่อย่างไร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 110/2516
จำเลยส่งจดหมายมีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์โดยตรง ณ
สำนักงานโจทก์ แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะให้โจทก์เท่านั้นทราบข้อความในจดหมาย
มิใช่เจตนาเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม
แม้เสมียนของโจทก์ทราบข้อความจากจดหมายที่จำเลยส่งไปถึงโจทก์นั้น
ก็เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของจำเลย
การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2516 จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดิน
ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า
ทางราชการผ่อนผันให้ครอบครองไปจนกว่าทางราชการจะพิจารณา แล้วเห็นว่าจำเป็น
จะต้องให้จำเลยออกจากที่ดินและแจ้งให้ออกแล้ว
ต่อมานายอำเภอได้แจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดินนั้น จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่ออกไป
ก็ไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย หรือคำสั่งของนายอำเภอ การกระทำของจำเลยตั้งแต่วันที่
28 กรกฎาคม 2516 เป็นต้นมา จึงขาดเจตนา อันเป็นองค์ประกอบความผิด
ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 368 และ ป ที่ดิน มาตรา 9 แต่บังอาจยึดถือที่ดินนี้
ตั้งแต่ก่อนวันที่ 28 กรกฎาคม 2513 เป็นความผิดตาม ป ที่ดิน มาตรา 9
มีโทษตามมาตรา 108 และมีอายุความ 1 ปี ตาม ป อาญา มาตรา 95 (5) โจทก์ฟ้องเมื่อเกิน
1 ปี จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 38/2524
กำนันถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน
เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้ว ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 เบิกเงินมาเพื่อจ่ายแก่ผู้รับเหมาทำถนนในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ
แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปได้
มิฉะนั้นจะต้องส่งเงินคืนคลังกำนันจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้ว ดังนี้
ขาดเจตนาแจ้งความเท็จตาม ป.อ.ม.59 แต่เมื่อรับเงินมาแล้ว
กำนันละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา
เป็นการทุจริตให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดตาม
ป.อ.ม.157
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7601/2540
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นเบอร์ 12 ยิงผู้เสียหายในระยะห่างเพียง 15 เมตร
หากจำเลยมีเจตนาฆ่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงก็น่าจะถูกผู้เสียหายหรือ ร. บ้าง
แต่ลูกกระสุนปืนก็หาได้ถูกผู้หนึ่งผู้ใดไม่
ไม่ปรากฏว่าวิถีกระสุนปืนไปในทิศทางที่ใกล้กับผู้เสียหายหรือไม่อย่างไร
น่าเชื่อว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำร้ายหรือฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้าน จำเลยมีความผิดฐานยิงปืน โดยใช่เหตุในหมู่บ้านตาม
ป.อ.มาตรา 376
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 12482/2547
ผู้เสียหายและจำเลยเคยมีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาว ในวันเกิดเหตุ
จำเลยมาหาผู้เสียหายที่บ้านและกอดรัดผู้เสียหาย
ในฐานะที่เคยมีความสัมพันธ์กันมาก่อน แม้ผู้เสียหายจะปฏิเสธและจำเลยไม่เลิกรา
ก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยต้องการแสดงความรักต่อผู้เสียหาย
ตามวิสัยชายที่มีต่อหญิงที่เคยมีความสัมพันธ์กันมาก่อน การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาบุกรุก
และขาดเจตนาอนาจารผู้เสียหาย
-
ขาดเจตนา แต่เป็นประมาท
ต้องรับผิดเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1022/2503
การที่จะลงโทษบุคคลฐานพยายามฆ่าคนนั้น
จะต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนากระทำการเพื่อการฆ่า เพียงแต่จำเลยถือปืนส่ายไปมาต่อหน้าคนหมู่มาก
แล้วกระสุนลั่นออก โดยไม่ได้จ้องยิงผู้ใด คดีมีทางส่อให้วินิจฉัยได้ว่า
จำเลยประมาทเลินเล่อ ทำให้ปืนลั่นออกไปโดยไม่มีเจตนาจะเหนี่ยวไกปืนลั่นกระสุน
จึงจะลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าคนไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 847/2527
จำเลยเสพสุราจนเมามากครองสติไม่ได้ ไม่มีเหตุทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหาย
หรือผู้ใดในบริเวณที่เกิดเหตุ เมื่อเดินออกมาที่ลานบ้านผู้เสียหาย จำเลยกดไกปืน
ทำให้ปืนลั่น โดยมิได้เจตนาจะยิงทำร้ายผู้ใด แต่เนื่องจากปืนของกลางเป็นปืนยิงเร็ว
และยิงกระสุนเป็นชุด จำเลยไม่สามารถบังคับทิศทางของกระสุนปืนได้
กระสุนปืนบางนัดจึงถูกบ้านเสียหาย หาใช่เจตนายิงใส่บ้านผู้เสียหายไม่
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายกับพวกที่อยู่ในบ้าน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2483/2528
จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้ตายมิให้เอาถ่านมาป้ายหน้าจำเลย
โดยจำเลยไม่รู้ว่าอาวุธปืนนั้นมีกระสุนปืนบรรจุอยู่
ฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จำเลยไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามที่โจทก์ฟ้อง
แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงออกมาขู่ผู้ตาย
โดยจำเลยไม่ดูเสียให้ดีก่อนว่ามีกระสุนบรรจุอยู่หรือไม่
เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
-
เจตนาพิเศษ (อ
เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 /2546
น 170)
-
สังเกตคำว่า “เพื่อ” เป็นเจตนาพิเศษ
-
ใช้ประกอบกับเจตนา ตาม มาตรา 59
วรรค 2 เสมอ
-
“เจตนาพิเศษ” ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด
ต้องเป็น “เจตนาประสงค์ต่อผล” เท่านั้น
ไม่ใช้กับ “เจตนาเล็งเห็นผล”
-
“เจตนาพิเศษ” ยกเว้นความผิด
ม 68 เพื่อป้องกัน ยกเว้นโทษ
ม 67 เพื่อให้พ้นภยันตราย บรรเทาโทษ
ม 72 บันดาลโทสะ โดยถูกข่มเหงฯ
ต้องมีเจตนา ม 59 ว 2 ประกอบเจตนาพิเศษ
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1240/2504 (สบฎ เน 632) การกระทำให้เกิดอุทกภัยตาม
มาตรา 228 จะต้องมีเจตนาให้เกิดอุทกภัยโดยตรง
จะยกเอาการเล็งเห็นผลของการกระทำตาม มาตรา 59 ว 2 มาใช้ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 717/2511 การลอบฝัง
ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา 199 ต้องทำด้วยความมุ่งหมาย
เพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเป็นผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1827/2520 จับคนไปเพื่อเรียกค่าไถ่
เป็นความผิดสำเร็จเมื่อนำตัวคนไป โดยเจตนาพิเศษ เพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่
แม้ยังไม่ได้ติดต่อเรียกค่าไถ่ก็ตาม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2907/2526 ตาม ม.157 คำว่า
"เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด”
ถือว่าเป็นเจตนาพิเศษ การที่จำเลยแก้ไขมติของสภาเทศบาลในรายงานการประชุม
โดยไม่มีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล หากเป็นการกระทำไป
เพราะความเข้าใจผิดพลาด เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม
ม.157
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5409/2530
การที่จำเลยพรากเด็กไป เพื่อให้ขอทานเงิน และเก็บหาทรัพย์สินมาให้จำเลย เป็นการกระทำไปเพื่อหาประโยชน์ในทางทรัพย์สินอันเป็นเจตนาพิเศษในการพรากเด็ก
จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไร เป็นความผิดตาม มาตรา 317 วรรคท้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่
769/2540 (สบฎ เน 31) “ได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง” นอกจากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้ว
ยังต้องมีเจตนาพิเศษ
การที่จำเลยมีเจตนากระทำเอกสารปลอมขึ้นเพื่อให้ ค. หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง
ก็เป็นความผิดแล้ว แม้จำเลยยังไม่ได้นำเอกสารดังกล่าวไปใช้แสดงต่อ ด.
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6632/2540 การที่ ป.
มารดาเด็กหญิง ส. ยินยอมให้เด็กหญิง ส. เดินทางไปกับจำเลย
ก็เพื่อไปรับจ้างทำงานเป็นลูกจ้างขายผักที่ตลาดเท่านั้น มิได้ยินยอมให้จำเลยพาไป
เพื่อการอนาจารแต่อย่างใด ฉะนั้นการที่จำเลยพาเด็กหญิง ส. เข้าไปในโรงแรม
เพื่อกระทำอนาจารหรือร่วมประเวณี แม้จำเลยยังไม่ทันกระทำการดังกล่าวก็ตาม
พฤติการณ์ของจำเลยก็เข้าองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317
วรรคหนึ่งและวรรคสาม อันเป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาใช่เพียงขั้นพยายามไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1001/2547 ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295
ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำ
โดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลถึงอันตรายสาหัสนั้น
ดังนั้น แม้จำเลยจะทำร้ายผู้เสียหายโดยหามีเจตนาทำให้แท้งลูกก็ตาม
เมื่อผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้เสียหายต้องแท้งลูกแล้ว
จำเลยก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (5)
-
ประเด็นเปรียบเทียบ
เรื่องนักศึกษาเอาทรัพย์สินของนักศึกษาต่างสถาบัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4792/2533
ฝ่ายจำเลยกับฝ่ายผู้เสียหาย ต่างเป็นนักเรียนอาชีวะ ในระยะเกิดเหตุนักเรียนอาชีวะ
มีเรื่องตีกันบ่อย แต่ไม่มีเจตนาที่จะปล้น หรือฆ่ากันวันเกิดเหตุ
เป็นเวลากลางวันและเหตุเกิดที่สถานีรถไฟ ซึ่งปกติมีผู้คนพลุกพล่าน จำเลยที่ 1
แต่งกายนักเรียน พร้อมกับพวกเมาสุรา เข้ามาหาผู้เสียหายไปหาเรื่องเพื่อนจำเลยที่ 1
เมื่อผู้เสียหายปฏิเสธ จำเลยที่ 1 ได้ล้วงเอามีดออกมาจากกระเป๋าย่าม
ทำท่าจะฟันผู้เสียหายจำเลยอื่นห้ามไว้ จำเลยที่ 1 จึงเก็บมีด
และดึงเอาปากกาและกระเป๋าของผู้เสียหายไป แล้วพูดว่าอยากได้ของ ก็ตามมาเอา
จำเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้หลบหนีไปไหน คงอยู่ที่สถานีรถไฟ
จนกระทั่งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1
ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 กระทำไปด้วยความคะนอง เพื่อแสดงอวดให้เพื่อน ๆ
เห็นเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาเอาทรัพย์สิน ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต
จึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1942/2538 จำเลยและพวกกับผู้เสียหายทั้งสี่เป็นนักศึกษาต่างสถาบัน
ซึ่งมีเรื่องยกพวกทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำ ในขณะที่สวมเครื่องแบบนักศึกษา
แม้ไม่เคยรู้จักกัน จำเลยกับพวกมีอาวุธปืน มีด
และก้อนหินขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสี่ ให้ถอดเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัด
ซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อย ผู้เสียหายทั้งสี่กลัวจึงยอมทำตาม จำเลยและพวกย่อมไม่สามารถนำเสื้อฝึกงาน
และหัวเข็มขัดดังกล่าวไปใช้ หรือแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้
จึงเป็นการกระทำโดยมิได้มุ่งประสงค์ต่อผล
ในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง
มิได้มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่น
หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ทำไปด้วยความคะนอง
ตามนิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อย
เพื่อหยามศักดิ์ศรีของนักศึกษาต่างสถานศึกษาเท่านั้น เป็นการกระทำที่ขาดเจตนาลักทรัพย์
จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
แต่เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้กระทำตามที่จำเลย
และพวกประสงค์โดยทำให้กลัวว่า จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายทั้งสี่
อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2753/2539 จำเลยกับพวกขึ้นไปบนรถโดยสารประจำทาง
บังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายถอดเสื้อฝึกงานและแหวนรุ่นทำด้วยเงินซึ่งมีราคาเล็กน้อย
จำเลยกับพวกกระทำไปเป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ด้วยความคะนอง
เพื่อให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักศึกษาต่างสถาบัน
ที่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับสถาบันของจำเลยเห็นว่า เป็นคนเก่ง พอที่จะรังแกคนได้ ตามวิสัยวัยรุ่นที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยเท่านั้น
มิใช่มุ่งหมายเพื่อจะได้ประโยชน์จากทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่โจทก์ฟ้อง
จึงต้องลงโทษตามที่พิจารณาได้ความ
ส่วนเสื้อฝึกงานและแหวนเงินจำเลยไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ต้องคืนแก่ผู้เสียหาย
หลังจากให้ถอดเสื้อฝึกงานและแหวนเงิน แล้วกลุ่มเพื่อนของจำเลย 3 คน
ได้ชกต่อยผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะห่าง 1 ฟุต
แต่ผู้เสียหายยกขาและแขนขึ้นปิดป้องไว้ และกระสุนปืนถูกกระดุมเสื้อซึ่งเป็นแผ่นเหล็ก
เป็นเหตุให้ไม่ถูกอวัยวะส่วนสำคัญ ถือได้ว่าจำเลยใช้ปืนยิงโดยมีเจตนาฆ่า
แต่การกระทำไม่บรรลุผล จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 และมาตรา 371
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5164/2542 จำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ
คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ก็ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัดรางม่วง
และกระทืบจนหลอดไฟแตก แล้วยกป้ายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2
ขับรถยนต์เข้าไปวัดถ้ำสิงโตทองนั้น แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรก
ต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์ อันสืบเนื่องมาจากความไม่พอใจวัดรางม่วง
การเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าว กระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้น
ในวาระเดียวเกี่ยวพันกัน โดยไม่ขาดตอน
จึงมิใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง จำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาจะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวเป็นของตน
หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย
มิใช่เกิดจากเจตนาทุจริต ไม่ผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 507/2543 จำเลยกับ ต. ตกลงกันว่า
หากพบเห็นนักศึกษาต่างโรงเรียนก็ให้แย่งเสื้อตัวที่นักศึกษาของสถาบันนั้นมาให้ได้ จำเลยจับเสื้อช๊อปของผู้เสียหายไว้ ขณะที่พูด ขอเสื้อ ครั้นถูกปฏิเสธ
จำเลยจึงล้วงมีดคัทเตอร์ เมื่อพวกของจำเลยต่อย
จำเลยก็เข้าชกต่อยจนกระทั่งได้เสื้อช๊อป
แสดงเจตนาว่าจำเลยประสงค์ต่อเสื้อช๊อปเป็นสำคัญ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์
-
การขาดเจตนายึดถือเพื่อตน
ไม่เป็นการครอบครอง ทำให้ไม่ครบองค์ประกอบความผิดทางอาญา
-
คำพิพากษาฎีกาที่
760/2535 (สบฎ เน 11) จำเลยมีเรื่องทะเลาะกับบิดา
จำเลยน้อยใจต้องการประชดบิดา จึงให้เพื่อนซื้อเฮโรอีน มาเป็นของกลางเพื่อให้ตำรวจจับกุม
มิใช่เจตนาที่จะยึดถือไว้ในครอบครอง ไม่มีความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
เรื่องเจตนา
-
(ขส เน 2524/
7) ชัยวิวาทก่อเรื่องวิวาทกับคนกลุ่มหนึ่ง แล้วถูกไล่ทำร้าย
ชัยกระโดดขึ้นรถสองแถว แล้วใช้มีดจี้ให้คนขับพาหนี คนขับกระโดดหนี
ชัยจึงขับรถต่อไป เมื่อหนีพ้นแล้วจอดทิ้งหนีไป / ชัยไม่ผิดชิงทรัพย์
เพราะไม่ประสงค์ต่อผลในการลักรถยนต์ และจะถือว่ามีเจตนาเล็งเห็นผลไม่ได้
เพราะลักทรัพย์ต้องมีเจตนาทุจริต ซึ่งเป็นเจตนาพิเศษ
จะยกเอาเจตนาย่อมเล็งเห็นผลมาใช้ไม่ได้ (ฎ 1240/2504) จึงไม่ผิดฐานชิงทรัพย์
/ แต่การขู่ให้ขับรถพาหนีเป็นความผิดตาม ม 309
ว 2 อ้างจำเป็น เพื่อไม่ต้องรับโทษ ตาม ม 67 ไม่ได้เพราะเป็นผู้ก่อเหตุ
โดยไปก่อเรื่องวิวาทเอง ฎ 1683/2500
-
(ขส พ 2502/
7 ครั้งที่สอง) สีจุดประทัดโยนใส่คนดูลิเก
ขาวตกใจ ปัดถูกสา สาตกใจปัดไปเกิดระเบิดขึ้น ทำให้แสงตาบอด / สีผิด
ม 297 เพราะมีเจตนาย่อมเล็งเห็นผล ว่าจะต้องมีผู้หนึ่งผู้ใด ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการกระทำของตน
ตาม ม 59 / ขาวและสา ไม่ผิดเพราะไม่มีเจตนา (และไม่มีข้อเท็จจริงว่าเป็นประมาท)
-
(ขส พ 2515/
8) คนร้ายลักวิทยุของ นาย ก ไป 15 วันต่อมา ข เก็บวิทยุได้ที่ข้างถนน
นำไปซ่อมและใส่ถ่าน แล้วขายให้นาย ค นาย ค ทราบแล้วว่า ข เก็บได้ รับซื้อไว้โดยเปิดเผยและสุจริต
นาย ง แจ้งแก่นาย ก ว่าหากต้องการวิทยุคืน จะไปรับให้ แต่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ 100
บาท แต่นาย ง ก็ไม่นำวิทยุมาคืน เพราะเล่นการพนันเสียหมด / นาย
ข ไม่ผิดฐานใด เพราะไม่รู้ว่าเป็นของได้มาโดยการกระทำผิด เพราะการเก็บของตก
อาจผิดกฎหมายก็มี ไม่ผิดกฎหมายก็มี การเก็บได้ ก็มิได้ซ่อนเร้น ยังถือไม่ได้ว่า ข
ทุจริตคิดยักยอก เพราะเมื่อเก็บได้แล้ว
ก็ไม่มีเหตุอย่างใดที่จะทำให้เชื่อว่าเป็นของใคร หรือพอจะหาเจ้าของได้ / นาย
ค ไม่ผิด เพราะ นาย ข ผู้เก็บได้ ไม่มีความผิดตามกฎหมาย จึงเอาผิดแก่ นาย ค
ผู้ซื้อไว้โดยสุจริตไม่ได้ / นาย ง ไม่ผิด เพราะเงินที่ นาย
ก ให้ เป็นค่าจ้าง
-
(ขส พ 2523/
8) อู๋หยุดรถให้เม้งแซง แล้วหักรถให้ท้ายรถปัดถูกหน้ารถเม้ง
เกือบตกถนนสูงประมาณครึ่งเมตร หน้ารถพัง เม้งชักปืนยิงอู๋
กระสุนพลาดไปถูกผู้โดยสารในรถอู๋ / อู๋ผิด ม 358
ถนนสูง ย่อมคาดหมายได้ว่าถ้าตกถนน จะได้รับอันตราย อู๋เล็งเห็นผลได้
จึงผิด ม 295+80 ฎ 1003/2512 / เม้งยิงอู๋ขณะโทสะ
กระสุนพลาดไป ผิด ม 288+80+60+72 ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดเพียงใดก็ได้
ฎ 1682/2509
-
(ขส พ 2524/
7) เช้าแก้เลขท้ายในสลาก แล้วนำไปหลอกขาย สายรู้อยู่แล้ว
แต่เห็นว่าทำแนบเนียน จึงซื้อไว้ แล้วแก้ให้ถูกรางวัลที่สูงขึ้น นำไปหลอกขายเที่ยง
/ เช้าผิด ปลอมเอกสารสิทธิ (ไม่เป็นเอกสารราชการ) และนำไปขาย
(เป็นการใช้) ผิด
ม 265+268 เช้าหลอกสาย
แต่สายชำระเงินทั้งที่รู้ว่าถูกหลอก เช้าผิด ม 341+80 เป็นกรรมเดียว
/ สายผิด ม 265+268 + (80+341) เป็นกรรมเดียว
การที่เที่ยงนำไปขึ้นเงิน อยู่นอกเจตนาของเช้า เช้าไม่ต้องรับผิดร่วมกับแสง
เพราะเจตนาฉ้อโกงนายแสงเพียงผู้เดียว
-
(ขส พ 2528/
10) นายขาวส่งจดหมายดูหมิ่นนายดำ เสมียนของนายดำ แอบอ่าน
เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของนายขาว ไม่ผิด ม 326 และการส่งกับการรับจดหมาย
ต่างเวลากัน ไม่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ตาม ม 393 ฎ
1100/2516 / เสมียนแอบอ่านนำไปเล่าต่อ ให้เพื่อฟัง
แม้จะเล่าเพราะเพื่อนถาม ก็ย่อมสำนึกในการกระทำ และเล็งเห็นผล
ถือได้ว่ายืนยันข้อเท็จจริง โดยเจตนาใส่ความนายดำ เสมียนผิด ม 326
ฎ 380/2503
-
(ขส อ 2529/
3) ขับรถชนรถตำรวจ ให้ตกน้ำตาย แต่น้ำตื้น ผิด ม 289
(2) + 80 + 358 ผลักตำรวจที่ควบคุมตัวมาในรถเดียวกัน ให้ตกรถ
ผิด ม 296 + 190 ว 2 (ไม่มีประเด็น ม 138
ว 2+140 ไม่ถือว่าขัดขวางการจับกุม
แต่น่าจะถือว่าขัดขวางการควบคุมตัว ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกัน)
-
(ขส อ 2529/
4) เจ้าของผูกช้างไว้ ช้างตกมัน ไปพังบ้านนายมั่น
และกระทืบนายมั่นซี่โครงหัก นายมาจึงยิงช้างตาย / เจ้าของผิด
ม 59 ว 4 + 300 + 377 ฎ
3435/2527 ทรัพย์เสียหายโดยประมาทไม่ผิด / นายมา
ไม่ผิด ม 385 เพราะป้องกัน ม 68
-
(ขส อ 2531/
3) เผาที่นอนประสงค์ต่อผล (ต้องผิด ม 217
แต่ธงคำตอบไม่มีประเด็น) ไฟไหม้เตียงนอน อาคาร
เล็งเห็นผล ม 218 (1) (+ ม
358) (ที่นอนลุกไหม้แล้วดับไฟทัน
ไม่บอกว่าอาคารติดไฟ ต้องผิดพยายาม ไม่ใช่ผิดสำเร็จ + ม
80)
-
(ขส อ 2531/
5) ชักปืนเล็งเล็ก ถูกปัด ปืนลั่น เบิ้มตาย คนชักปืน ผิด ม 288+80+60
คนปัด ไม่ผิด เพราะไม่มีเจตนาฆ่า และไม่ถือว่าประมาท
เพราะกระทันหันเพื่อช่วยชีวิต เป็นกรณีเร่งด่วน
จะใช้ความระมัดระวังไม่ให้ถูกผู้อื่นด้วย คงทำไม่ได้
-
(ขส อ 2541/
1) ร่วมกันทำร้าย ห้ามแล้ว แต่เพื่อนอัดตาย / เป็นตัวการ
ม 83 ห้ามแล้วเจตนาร่วมยุติ คนห้าม ผิด ม 295+83
คนทำต่อประสงค์ต่อผล ผิด ม 288 (สังเกต "ทำร้ายถึงแก่ความตาย"
ไม่ ม 290) / ต่อยกันในร้าน ย่อมเล็งเห็นผล
ว่าอาจทำให้ทรัพย์เสียหายได้ ผิด ม 358
-
พฤติการณ์ประกอบการกระทำ (อ เกียรติขจร
คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 /2546 น 174)
-
พฤติการณ์ประกอบการกระทำ
คือลักษณะของการกระทำนั้น ๆ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด
หากวิญญูชนเห็นว่า “น่าจะเสียหายฯ” ก็เข้าองค์ประกอบ
“น่าจะเสียหาย” โดยผู้กระทำไม่ต้องรู้
หรือประสงค์ต่อผล
-
หาก “ไม่น่าจะเสียหายฯ” ก็ขาดองค์ประกอบภายนอก
และไม่ต้องปรับบทพยายามกระทำผิด ม 80
แม้ผู้กระทำประสงค์จะให้เกิดความเสียหาย
-
องค์ประกอบนี้ไม่ต้องการผล เช่น “น่าจะหรืออาจเกิดความเสียหาย”
“อันเป็นการมิชอบ” “อันเป็นการเหยียดหยามศาสนา”
“โดยประการที่น่าจะทำให้…” “อันเป็นการรบกวนการครอบครอง”
-
“อันเป็นการเหยียดหยามศาสนา” ถือเป็นองค์ประกอบความผิดที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไป
(เทียบ ฎ
769/2540 (สบฎ เน น 31) )เช่น
กรณีชาวต่างประเทศมาปีนขี่พระพุทธรูป เพื่อถ่ายรูป โดยมีเจตนา คือ รู้ว่า ตนปีน
พระพุทธรูป และพระพุทธรูปนั้น เป็นวัตถุที่บุคคลซึ่งนับถือศาสนาพุทธนับถือ
แม้ไม่มีเจตนาจะเหยียดหยามโดยตรง เพียงแต่ต้องการถ่ายรูปในลักษณะที่สนุกสนาน
แต่การปีนไปขี่พระพุทธรูปในความรู้สึกของบุคคลทั่วไป
เห็นได้ว่าเป็นการเหยียดหยามศาสนา ก็เป็นความผิดตาม มาตรา 206 ได้
-
“จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น
หรือทรัพย์ของผู้อื่น” อ จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า
ไม่ใช่ผลของการกระทำ แต่เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ
ฉะนั้นจึงเป็นความผิดสำเร็จโดยที่ยังไม่เป็นอันตราย การกระทำ
ถึงขนาดน่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ “เป็นข้อเท็จจริง” เป็นความเห็นอันเป็นความรู้สึกทางจิตใจ
ถ้าเป็นสิ่งที่คนธรรมดารู้ได้ ศาลก็ย่อมรู้ได้เอง (ปวิพ
มาตรา 84) แต่ถ้าไม่ใช่กรณีที่คนธรรมดารู้ได้
โจทก์ก็ต้องสืบพยานแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย (ปวิอ
มาตรา 174)
-
“น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” อ
จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ
มิใช่ผลที่ต้องเกิดจากการกระทำ เพียงแต่น่าจะเกิดแต่ไม่เกิด ก็เป็นความผิดสำเร็จ
ถ้าไม่น่าจะเกิดความเสียหาย ก็ไม่เป็นความผิด
แม้ในฐานพยายามก็ไม่เป็นความผิด เมื่อไม่ใช่ผลของการกระทำ
ก็ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของเจตนาว่าประสงค์ต่อผล
หรือย่อมเล็งเห็นผลเป็นข้อเท็จจริงประกอบองค์ความผิดประการหนึ่ง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 256/2509 ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น
ต้องเป็นการแสดงข้อความให้คนฟังคนเห็นคนเชื่อ
จึงจะเกิดความรู้สึกเกลียดชังดูหมิ่นขึ้นได้ จำเลยกล่าวว่าโจทก์เป็นผีปอบ
เป็นชาติหมา ความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นได้
จึงไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นอย่างใด และข้อความใดจะเป็นการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียง
ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
ต้องถือตามความคิดของบุคคลธรรมดาผู้ได้เห็นได้ฟังคำกล่าวของจำเลย
จึงไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 710/2516 การทำหรือใช้เอกสารปลอม
น่าจะเกิดความเสียหายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2521
แก้ตัวเลขในสลากกินแบ่ง 1 ตัว
ให้เป็นหมายเลขที่ถูกรางวัลเพื่อให้เพื่อนเลี้ยงอาหารจำเลยก่อน
แล้วจำเลยทิ้งสลากกินแบ่งในถังขยะในบ้าน
มีผู้เก็บสลากกินแบ่งนั้นไปขอรับรางวัลนอกความรู้เห็นของจำเลย การหลอกให้เลี้ยงอาหาร
เป็นการล้อเล่นระหว่างเพื่อนซึ่งทำอยู่เป็นปกติ
ไม่เป็นความเสียหายแก่ประชาชนหรือเพื่อนของจำเลย ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1064/2531
ข้อความที่กล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว
ๆ ไปเป็นเกณฑ์ ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาท
น่าจะเสียชื่อเสียง ถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่
ไม่ใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 213/2539
จำเลยนำภาพถ่ายของตน มาปิดทับลงในสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับรถของตน แม้เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจ
และบุคคลทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นต้นฉบับเอกสารที่แท้จริง
แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ แก่ผู้อื่นหรือประชาชน
จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร และแม้จะได้นำไปใช้ก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
-
คำพิพากษาฎีกาที่
769/2540 (สบฎ เน 31) “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” ม
264 นั้น ไม่ใช่การกระทำโดยแท้
และไม่ใช่เจตนาพิเศษ จึงไม่เกี่ยวกับเจตนา แต่เป็นพฤติการณ์ที่ประกอบการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายได้
แม้จะไม่เกิดความเสียหายขึ้นจริง ก็เป็นความผิด ถือเป็นองค์ประกอบความผิดที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4408/2542
หนังสือสัญญาจ้างเหมาะแรงงานมีข้อความในลักษณะแบบสัญญา
ซึ่งมีข้อความที่พิมพ์ไว้แล้ว
มีช่องว่างสำหรับเติมข้อความที่ต้องการไว้ซึ่งสาระสำคัญที่จะต้องเติมประการแรกก็คือ
ชื่อและลายมือชื่อของคู่สัญญาที่จะต้องรับผิดและพยานท้ายสัญญาสำหรับชื่อของคู่สัญญาในเอกสารนั้นคงมีเฉพาะชื่อบริษัท
อ. โดยจำเลยที่ 1 กรรมการผู้จัดการระบุในฐานะผู้ว่าจ้างและจำเลยที่ 1
ได้ลงชื่อท้ายสัญญาในช่องผู้ว่าจ้างเท่านั้น
โดยไม่มีชื่อโจทก์หรือบุคคลอื่นใดที่ระบุไว้เป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับจ้างไว้เลย ลักษณะของเอกสารดังกล่าว
จึงยังไม่เป็นสัญญาที่จะใช้บังคับผู้หนึ่งผู้ใดให้ต้องรับผิดได้การที่จำเลยที่ 1
ทำเอกสารขึ้นมาเช่นนี้
ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร
-
การบรรยายฟ้อง และการสืบพยาน
-
หาก “ผู้เสียหาย” เป็นโจทก์
ต้องบรรยายว่าเกิดความเสียหาย และตนได้รับความเสียหายแล้ว
จะบรรยายว่า “น่าจะ..หรือ
อาจเกิด..” ตามตัวบทไม่ได้
เพราะเท่ากับความเสียหายยังไม่เกิด โจทก์ยังไม่ได้รับความเสียหาย ไม่ใช่ผู้เสียหาย
/ ปวิอ ม 28 ให้
“ผู้เสียหาย” มีอำนาจฟ้อง
“ผู้จะเสียหาย” จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
/ แต่หาก “อัยการ” เป็นโจทก์
มีอำนาจฟ้อง ป.วิ.อาญา.ม
28 โดยไม่จำต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหาย
จึงบรรยายตามตัวบทได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2054/2517
การเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน
เพราะศาลทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 177
มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานอย่างเจ้าพนักงานทั่วไป
จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ / ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การแจ้งความของจำเลยอาจทำให้โจทก์เสียหายเป็นแต่กล่าวว่า
อาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหาฐานนี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3397,3398/2516 คู่ความรับกันว่า
จำเลยได้ลงข้อความเกี่ยวกับโจทก์ในหนังสือพิมพ์ ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง
คงเหลือปัญหาจะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า ข้อความตามฟ้องเป็นการใส่ความโจทก์
โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือไม่
ซึ่งเป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำ ไม่ใช่วินิจฉัยผลแห่งการกระทำ
อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัยได้เองโดยพิจารณาจากข้อความเหล่านี้ว่ามีความหมายอย่างไร
โจทก์หาต้องนำสืบไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1068/2537
คำว่าเบี้ยวมีความหมายพิเศษเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า หมายถึง ไม่ซื่อตรงหรือโกง
การแปลหัวข้อข่าวที่ว่า "แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์
เจ้าของฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน" หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง
จึงไม่เป็นการแปลความหมายผิดไปจากเจตนารมณ์หรือความหมาย หัวข้อข่าว
ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวตามฟ้อง เป็นการใส่ความโจทก์ทั้งสาม
โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ทั้งสามเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่
เป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำ อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัยได้เอง
โดยพิเคราะห์จากข้อความเหล่านั้นว่ามีอย่างไร
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
เรื่อง พฤติการณ์ประกอบการกระทำ
-
(ขส พ 2528/
7) สัญญากู้ แม้ไม่มีพยานก็สมบูรณ์แล้ว แม้จัดให้มีพยานลงลายมือชื่อภายหลัง
ก็ไม่ผิด ม 265 เพราะไม่น่าจะเสียหาย เมื่อนำไปยื่นฟ้องจึงไม่ผิด ม 268 และไม่ผิด
ม 180 ฎ 1126/2505 / ผู้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้
ก็ไม่ผิด ม 265 เพราะไม่น่าจะเกิดความเสียหาย / ผู้กู้หยิบสัญญามาดูแล้วฉีก
ผิด ม 358 และ 188 เป็นกรรมเดียว ม 90 ฎ 1418/2506
-
การกระทำความผิด โดยประมาท (อ
เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 พ.ศ.2538)`
-
กระทำโดยประมาท
ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา
แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น
จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้
แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
1.
ความระมัดระวังตาม ”วิสัยของบุคคล”
(บุคคลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับผู้กระทำ)
“ในภาวะเช่นนั้น”
(บุคคลเช่นเดียวกับผู้กระทำซึ่งอยู่ในขณะนั้น)
-
บุคคลธรรมดา พิจารณาจากอายุ เพศ การศึกษา
ฯลฯ
-
ผู้มีวิชาชีพ ผู้มีวิชาชีพในระดับปกติ / ผู้เชี่ยวชาญ
2.
ความระมัดระวังตามพฤติการณ์ พิจารณาจากข้อเท็จจริง
หรือเหตุต่าง ๆ ภายนอกตัวผู้กระทำ ที่เกิดขึ้น หรือมีอยู่ขณะนั้น
-
“ประมาท” ต้องมีการ
“กระทำ” ก่อน
ดังนั้นจึงเกิดจากการ “งดเว้น” ได้
-
ฎ 1909/2516 จำเลยขับรถยนต์บรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้ล้อพ่วง
เมื่อล้อรถพ่วงหลุด ทำให้เสาตกลงมาขวางถนน จนกระทั่งค่ำแล้ว
จำเลยก็ไม่ได้จัดให้มีโคมไฟ หรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่น
เพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนอยู่นั้น
เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสามีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท
และผลเสียหายเกิดขึ้น จากการที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำ เพื่อป้องกันผลนั้น
จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291,300 (แต่ไม่ผิด
ม 288 เพราะไม่มีเจตนาฆ่า)
-
พิจารณาความประมาทจากวิสัยของ “คนในภาวะเช่นนั้น” ไม่ใช่วิญญูชนทั่วไป
(อก/182)
-
ไม่ใช้กับเหตุ “งด”
“ลด” โทษที่ต้องมีเจตนาพิเศษ
เช่น ม.67, ม.68
และไม่ใช้กับเรื่องที่มีองค์ประกอบที่ต้องการกระทำโดย “เจตนา” เช่น
ม.80-88 (อก/192)
-
บรรยายฟ้อง ต้องบรรยายถึง “การกระทำ” ที่อ้างว่าเป็นประมาทให้ชัด
(เน 47/4/70)
-
Common law (อก/190)
-
Negligence ประมาทธรรมดา
ขาดความระวัง แต่รู้สึกเสี่ยงภัยแล้วยังทำ
-
Recklessness คาดว่าผลอาจเกิด
แต่ไม่แน่ว่าจะเกิด แล้วยังทำ (ต่างกับเล็งเห็นผล
ต้องเล็งเห็นว่าจะเกิดผลแน่)
-
“การฝ่าฝืนกฎหมาย” เป็นคนละประเด็นกับ
“การประมาท”
-
คำพิพากษาฎีกาที่
294/2501 ขับรถยนต์โดยไม่มีใบอนุญาต แต่ไม่ประมาท แม้ทับคนตาย
ก็ไม่ผิดฐานฆ่าคนโดยประมาท การทำฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นประมาทอย่างกฎหมายเก่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 206/2503
จำเลยขับรถผิดทางเข้าไปชนรถที่ผู้เสียหายขับขี่เพียง
แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่เท่านั้น ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ฟังว่าผู้เสียหายประประมาทเลินเล่อ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2961/2524 คดีละเมิด
ความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ตายแต่ฝ่ายเดียว
ที่ขับรถจักรยานยนต์โดยไม่ชำนาญ ผ่านทางแยก ชนรถยนต์ที่จำเลยขับ
แม้จำเลยขับรถยนต์ผ่านทางแยกด้วยความเร็วประมาณ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความเสียหายเกิดจากความผิดของผู้ตายฝ่ายเดียว
มิใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยขับรถเร็วฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรฯ
จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อผู้ตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3426/2516
จำเลยขับเรือเป็ดขนาดใหญ่มีกำลัง 10 แรงม้า แล่นตัดกระแสน้ำ เรือหางยาวมีกำลัง 25
แรงม้าแล่นตามกระแสน้ำมาทางขวาของเรือจำเลยด้วยความเร็วสูง คนขับเรือหางประมาท
เป็นเหตุให้เรือสองลำชนกัน มีคนถึงแก่ความตาย แม้ตามกฎกระรวง (พ.ศ.2498)
ออกตามความใน พ.ร.บ. ป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2497 หมวด 3 ข้อ 20
จำเลยจะต้องหลีกทางให้เรือหางยาวก็ตาม แต่เป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะแล่นเรือหลีกทางให้เรือหางได้
การที่จำเลยไม่หลีกทางให้เรือหางยาว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงดังกล่าว
จำเลยไม่มีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท และไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.
การเดินเรือในน่านน้ำไทย
-
หากความเสียหายเป็น “ผลโดยตรง” จากการกระทำโดยประมาท
แม้ “ผู้เสียหาย” มีส่วนประมาท
จำเลยก็ต้องรับผิด (อก/191)
-
ทางอาญา
แม้ผู้เสียหายประมาทด้วย ก็ไม่ใช่ข้อต้องพิจารณา
-
ฎ 94-95/2512 ส่วนทางแพ่ง
แต่ละฝ่ายประมาทเพียงใด มีผลต่อการพิจารณากำหนดค่าเสียหาย ม.442
(อก/10)
-
ประมาททั้งสองฝ่าย
จำเลยไม่พ้นความรับผิด
-
ศาลย่อมพิจารณาจากการกระทำของจำเลยฝ่ายเดียว
ฎ 94-5/2512 (สบฎ เน 2120)
-
อัยการฟ้องทั้งสองฝ่ายได้ ฎ 1326/2510
(อก/191)
-
แต่ผู้เสียหายมีส่วนประมาทด้วย
ถือว่าไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้อง ฎ 1167-1168/2530
(ขส เน วิอ 2538/1)
-
การกระทำโดยประมาท “ไม่มีความผิดฐานพยายาม” เพราะ
การพยายามกระทำความผิด คือการมุ่งหมายที่จะกระทำผิด จึงใช้กับเรื่องเจตนาเท่านั้น
การกระทำโดยประมาท ไม่ใช่การมุ่งหมายที่จะกระทำผิด
จึงไม่ใช่เรื่องของการพยายามกระทำผิด เช่น ขับรถประมาท เกือบชนคนถึงตาย ไม่ผิด ม 291
แต่หากช็อกตาย อาจต้องรับผิด ในกรณีที่เป็นผลโดยตรง (อก/191)
/ (หนังสือรพี 2531 เนรุ่น 40/63) คดีละเมิด Bourhill
v. Young จำเลยขับรถประมาทชนรถยนต์คันอื่น
หญิงมีครรภ์ไม่เห็นเหตุการณ์ แต่ได้ยินเสียงชนอย่างแรง
และเห็นเลือดในที่เกิดเหตุหลังรถชนกัน ทำให้ตกใจช็อคและแท้งลูก จำเลยไม่ต้องรับผิด
ในเหตุที่หญิงนั้นแท้งลูก
-
ความผิดที่แบ่งโดยผล มี 2 ลักษณะ (อก/192)
-
เกิดผลแล้วจึงจะต้องรับผิด (“…ประมาทเป็นเหตุให้…”)
ไม่มีฐาน 80 เช่น ม.291,
300, 390 หรือ
-
ยังไม่เกิดผลก็เป็นความผิด (“น่าจะ…”)
เช่น ม.225, 239 (อก/192)
-
การกระทำโดยประมาท “ไม่มี
ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน” ตาม ม 83-86 เพราะ
โดยสภาพไม่อาจ เป็น ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ตาม ม 83-86
ให้กระทำความผิดโดยประมาทได้ ฎ 1337/2534 (อก/192)
-
ประมาทหลายคน “ไม่ถือว่าเป็นตัวการประมาทร่วมกัน” ต่างรับผิดในความประมาทของตน
เช่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1199/2510 จำเลยที่ 1 เป็นนักเรียนหัดขับรถยนต์
ยังไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ จำเลยที่ 2 ได้รับใบอนุญาตขับขี่
แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นครูฝึกสอนขับรถยนต์ ได้นั่งควบคุมไปด้วย
ถนนที่จำเลยหัดขับนั้น ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นถนนสำหรับฝึกหัดขับรถยนต์ ในวันเวลาเกิดเหตุถนนตอนนั้น
มีผู้คนพลุกพล่าน ฝนตก ถนนลื่น จำเลยที่ 1 ขับจะเฉี่ยวรถสามล้อเครื่อง
หรือหักหลบรถสามล้อเครื่องไม่พ้น จำเลยที่ 2 ซึ่งนั่งควบคุมไปด้วย
ต้องเข้าช่วยถือพวงมาลัย และให้จำเลยที่ 1 ปล่อยมือ จำเลยที่ 1 จึงปล่อยมือ
แต่เท้ายังเหยียบคันเร่งน้ำมันอยู่ จำเลยที่ 2 หักพวงมาลัยเบนขวา
เพื่อให้พ้นสามล้อเครื่อง เป็นเหตุให้รถพุ่งข้ามถนนชนต้นไม้และคนถึงบาดเจ็บและตาย
จึงเป็นการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1326/2510 (สบฎ เน 1527) จำเลยที่
1 ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 2 ไม่หยุดรอให้รถของจำเลยที่
1 ซึ่งมาในเส้นทางตรง ผ่านไปเสียก่อน
การที่เกิดชนกัน จึงเป็น “ผลโดยตรง” จากความประมาทของจำเลยทั้งสองที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
เป็นความผิดด้วยกันทั้งคู่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1211/2530 จำเลยที่
2 และที่ 3 ร่วมกันลักน้ำมันที่ปั๊มผู้เสียหาย โดยใช้สายไฟต่อขั้วแบตเตอรี่กับเครื่องปั๊ม
ดูดน้ำมันจากถังใต้ดินมาใส่ถังในรถยนต์ เมื่อดูดน้ำมันได้ 4 ถังแล้ว จำเลยที่ 2
ดึงสายไฟจากขั้วแบตเตอรี่ ให้ปั๊มติ๊กหยุดทำงาน เพื่อจะเปลี่ยนสายยางไปใส่ถังที่ 5
ทำให้เกิดประกายไฟเป็นเหตุให้เพลิงไหม้ ดังนี้ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมาลักทรัพย์โดยวิธีการเช่นนี้
ทำให้เกิดไอระเหยของน้ำมันกระจายอยู่ในบริเวณนั้น ง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้
ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท
เพราะแบตเตอรี่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและน้ำมันเป็นวัตถุติดไฟได้ง่าย
เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้น เนื่องจากวิธีการในการลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสอง
ซึ่งกระทำด้วยความประมาท
ต้องถือว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทุกคนที่ร่วมกันลักทรัพย์ ดังนั้นแม้จำเลยที่
3 จะมิได้เป็นผู้ถอดสายไฟฟ้าจากขั้วแบตเตอรี่ ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 3
ร่วมกระทำด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องมีความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
-
Common law (อก/193)
ขับรถแข่งกันในถนน รับผิดทั้งคู่ ไม่ว่าผลจะเกิดจากรถคันใด (291
Manslaughter)
-
หากประมาทและผลเกิด
แต่ไม่สัมพันธ์กัน (ไม่ใช่ผลโดยตรง) ไม่ต้องรับผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่
717/2509 (ขับรถเร็ว แต่ถูกเลี้ยวตัดหน้า
แต่แม้ขับช้าก็ต้องชน ไม่ต้องรับผิด ไม่ใช่ “ผลโดยตรงจากประมาท”) จำเลยที่ 1
ขับรถเข้ามาขวางทางแล่นในช่องของจำเลยที่ 2 โดยกระชั้นชิด แม้จะขับรถเร็วน้อยกว่า
ก็ต้องชนอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นความประมาทของจำเลยที่ 2 ไม่ /
ในกรณีที่รถแล่นคนละช่อง ต้องรักษาช่องเดินรถของตน เมื่อจะเปลี่ยนช่อง
ต้องระวังมิให้กีดขวางรถที่แล่นอยู่ในช่องนั้น ๆ เมื่อจะเลี้ยวรถทางซ้าย
จะต้องแล่นชิดขอบทางด้านซ้าย จะเลี้ยวได้ เมื่อสามารถกระทำได้โดยปลอดภัย
ถ้าหากแล่นเข้าไปกีดขวางในช่องทางเดินรถอื่นแล้ว อันตรายเกิดขึ้น
เพราะการกระทำของตนจะต้องรับผิด เมื่อให้สัญญาณเลี้ยวแล้ว จะเลี้ยวทันทีไม่ได้
เพราะไม่สามารถจะป้องกันอันตรายได้
-
กระทำโดยเจตนา แต่พลาด
ด้วยความประมาท
-
ป้องกันตาม ม 68 ต่อ
ผู้เสียหายที่ 1 ผลเกิดแก่ ผู้เสียหายที่ 2 โดยประมาท
แม้ไม่ต้องรับผิด ม 288 เพราะ อ้าง ม 68
แต่อาจต้องรับผิด ม 291 ต่อ 2 ได้
(อก/195) เช่น ก ถือมีดสั้นจะทำร้าย ข / ข
มีทั้งดาบที่ยาว และมีดสั้น เกิดชะล่าใจว่าตนขว้างมีดสั้นได้แม่น จึงขว้างมีดใส่ ก
แต่มีดไปถูก ค บาดเจ็บ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 140/2494
ขับรถยนต์รับคนโดยสารมาตามถนน
เผอิญเกิดยิงกันเกี่ยวกับการจราจลจึงขับรถหนี แม้จะเร็วจนถึงขนาดผิดกฎจราจร ก็ได้รับยกเว้นโทษตาม
ก.ม. ลักษณะอาญามาตรา 49
เพราะถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหลบหนีภยันตรายอันร้ายแรง
เมื่อเอาผิดในตอนนี้ไม่ได้ การวิ่งตัดหน้ารถยนต์ภายในระยะ 1 วา
คนขับห้ามล้อรถหยุดไม่ทัน ทั้ง ๆ ที่ห้ามล้อดี
วินิจฉัยว่าวิ่งตัดหน้ารถยนต์ในระยะกระชั้นชิด ใช่วิสัยที่จะป้องกันมิให้รถยนต์ทับได้
การที่รถยนต์ทับคนที่วิ่งตัดหน้ารถนั้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย
ไม่ใช่เรื่องผู้ขับรถประมาท (ผู้สั่งต้องรับผิด ไม่ปรับ ม 83
หรือ ม 84
ไม่ใช่ผู้กระทำความผิดทางอ้อม)
-
ทฤษฎี เรื่องความรับผิดเด็ดขาด
(อก/197-205)
-
การกระทำเดียว มีส่วนที่กระทำโดยเจตนา
และส่วนที่กระทำโดยประมาท ได้ แต่ตามแนวคิดของ อ เกียรติขจร
การกระทำส่วนที่ประมาทและเจตนา มิได้เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น
สำคัญผิดเกิดจากความประมาท (อก/195)
,
-
คำพิพากษาฎีกาที่
872/2510 (สบฎ เน 1525) จำเลยใช้ปืนยิงเด็กตีกบ
โดยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าพี่จำเลย
เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
และความสำคัญผิดเกิดขึ้นโดยสำคัญผิด จำเลยมีความผิด ตาม ม 288
, ม 69 และ ม 291
เป็นกรรมเดียว
-
“เจตนา” ฆ่าโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ม 59 ว 2 + 288 + 68 + 69 + 62 ว
1
-
ความสำคัญผิดเกิดขึ้นด้วยความ “ประมาท” ม
62 ว 2 ม 59
ว 4 + ตาย =
291 กรรมเดียว)
-
กรณีที่มีการกระทำทั้งส่วนที่เกิดจากเจตนา
และส่วนที่เกิดจากความประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1094/2501
ยิงคนตายในที่มืด โดยเล็งไปทางที่คนเห็น เพราะเข้าใจว่าเป็นคนร้ายมาแย่งชิงทรัพย์
ไม่พิจารณาให้รอบคอบ เป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา โดยป้องกันทรัพย์เกินกว่าเหตุ
(เจตนาฆ่า เพราะสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่ายิงคนร้ายที่จะชิงทรัพย์
แต่ความสำคัญผิดนั้น เกิดจากการไม่พิจารณาให้รอบคอบ
ก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากความประมาทอยู่ในตัว / อ เกียรติขจร (เน 51/6/1)
เห็นว่า การกระทำโดยประมาท ต้องไม่ใช่การกระทำโดยมีเจตนา เพราะตัวบทใช้คำว่า
การกระทำโดยประมาท ได้แก่การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา ซึ่งกรณีนี้
“ความสำคัญผิดที่เกิดขึ้นก่อนการลงมือยิง” นั้น เป็นความสำคัญผิดโดยประมาท
ต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้ตาม ม 62 วรรคสองด้วย ส่วนตอนที่ “ลงมือยิง” นั้น
เป็นการกระทำโดยเจตนา วินิจฉัยในประเด็นนี้ไปตามปกติ / มองอีกแง่มุมหนึ่ง
แม้ส่วนที่ประมาท และเจตนาเกิดไม่พร้อมกัน แต่ในขณะยิง ก็อาจเป็นประมาทได้
หากดูให้ดีก็จะทราบข้อเท็จจริง การพิจารณาในแง่นี้ เมื่อแยกพิจารณาทีละส่วน
ก็ไม่น่าผิด)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 717/2511
จำเลยมีปากเสียงกับพวกผู้ตายก่อนเกิดเหตุ แล้วผู้ตายเกินมาหาพวก
ผู้ตายก้มลงเก็บของที่ทำตก จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายจากทำร้ายตน จึงยิงผู้ตายตาย
ดังนี้เป็นการเข้าใจผิดโดยไม่มีเหตุอันควร แม้ความสำคัญผิดจะเกิดจากความประมาท
ก็เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ การกระทำของจำเลย
จึงเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 917/2530
จำเลยใช้ด้ามปืนตีศีรษะ ว.แตกเลือดไหลแล้วกระสุนปืนลั่นไปถูก ด. ตาย และ ส.
ได้รับบาดเจ็บ จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ว. ตาม มาตรา 295
แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ปืนยิง เพื่อฆ่าหรือทำร้าย ว.
กรณีจึงมิใช่เป็นการที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อ ว. แต่ผลของการกระทำผิดเกิดแก่ ด. และ
ส. โดยพลาด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 290, 295 ประกอบด้วยมาตรา 60
อย่างไรก็ตาม เมื่อการที่กระสุนปืนลั่นเป็นผลให้ ด.ตายและ ส.ได้รับบาดเจ็บนั้น
เป็นเพราะความประมาทของจำเลย ในการใช้ปืนตี ว.จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 291, 390
(เจตนาทำร้ายโดยใช้ปืนตีศีรษะ และการใช้ปืนในลักษณะนี้
ย่อมเป็นการกระทำโดยประมาทอยู่ในตัว )
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1211/2530 จำเลยที่
2 และที่ 3 ร่วมกันลักน้ำมันที่ปั๊มผู้เสียหาย
โดยใช้สายไฟต่อขั้วแบตเตอรี่กับเครื่องปั๊ม
ดูดน้ำมันจากถังใต้ดินมาใส่ถังในรถยนต์เมื่อดูดน้ำมันได้ 4 ถังแล้ว จำเลยที่ 2
ดึงสายไฟจากขั้วแบตเตอรี่ให้ปั๊มติ๊กหยุดทำงาน เพื่อจะเปลี่ยนสายยางไปใส่ถังที่ 5
ทำให้เกิดประกายไฟเป็นเหตุให้เพลิงไหม้ ดังนี้ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมาลักทรัพย์โดยวิธีการเช่นนี้
ทำให้เกิดไอระเหยของน้ำมันกระจายอยู่ในบริเวณนั้น ง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้
ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท เพราะแบตเตอรี่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
และน้ำมันเป็นวัตถุติดไฟได้ง่าย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้น เนื่องจากวิธีการในการลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสอง
ซึ่งกระทำด้วยความประมาท
ต้องถือว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทุกคนที่ร่วมกันลักทรัพย์ ดังนั้น
แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้เป็นผู้ถอดสายไฟฟ้าจากขั้วแบตเตอรี่ ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 3
ร่วมกระทำด้วย จำเลยที่ 3
จึงต้องมีความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท (เจตนาลักทรัพย์
และวิธีการลักทรัพย์นั้น เป็นการกระทำโดยประมาท)
-
คำพิพากษาฎีกาเรื่องประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาเรื่องประมาท เกี่ยวกับการขับขี่ยานพาหนะ และจราจร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 127/2503
การขับรถตามหลังคนอื่น ควรจะเว้นระยะให้ห่างมากพอที่จะหยุดรถได้ทันโดยไม่ชนรถคันหน้า
ยิ่งฝุ่นตลบ ก็ย่อมจะต้องระมัดระวังเว้นระยะให้ห่างมากขึ้น
เมื่อรถจำเลยไปชนรถคันหน้าเป็นเหตุให้คนตาย ถือได้ว่า จำเลยประมาท ทำให้คนตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 983/2508 มาตรา 291 ต้องเป็นการกระทำโดยประมาท และเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตาย การกระทำตามมาตรานี้ไม่รวมถึงการละเว้น การที่จำเลยที่ 1 “ไม่ไปตรวจหัวประแจ” ก่อนที่รถจะมาถึง
ก็เป็นเพียงละเว้น “ไม่ใช่ผลโดยตรง” ที่ทำให้รถชนกัน ผลโดยตรงที่ทำให้รถชนกันอยู่ที่ “การเปลี่ยนหัวประแจ ไม่สับกลับ” ซึ่งเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่ผิด ม 291
-
ตามแนวคิดเรื่องการตรวจสอบซ้ำ (Double Check) ใช้กับเรื่องที่มีความสำคัญมาก
ๆ เช่นการเดินรถไฟ ซึ่งมีประชาชนใช้บริการเป็นจำนวนมาก
การรักษาความปลอดภัยในระบบการเดินรถไฟ เป็นเรื่องสำคัญ หากข้อเท็จจริงฟังได้ชัดว่า
จำเลยที่ 1 นอกจากมีหน้าที่ตรวจหัวประแจโดยตรงแล้ว
และเมื่อพบว่าการสับรางยังไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องทันที
การกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ที่ไม่ไปตรวจหัวประแจ ถือเป็นการงดเว้นกระทำการ
โดยประมาทแล้ว และถือเป็นเหตุที่สำคัญอันหนึ่งซึ่งทำให้เกิดผลคือรถไฟชนกัน
และมีผู้ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในผลของการกระทำนั้นโดยตรง
ตามทฤษฎีเงื่อนไข ในแง่ Contributory cause
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 761/2511 จำเลยขับรถประจำทางมาตามถนน
เห็นรถบรรทุกแล่นสวนทางมาในระยะกว่า 50 เมตรในลักษณะผิดปกติ
คือแล่นกินทางเข้ามาด้วยความเร็วสูงและส่ายไปมา เช่นนี้ จำเลยควรมีหน้าที่หยุดรถ
หรือชะลอรถแอบเข้าข้างทาง แต่คงขับต่อไป เพิ่งจะห้ามล้อ เมื่ออยู่ห่างกันในระยะ
7-8 เมตร แล้วหักหลบไปทางขวา เป็นเหตุให้ชนรถบรรทุกจนมีคนตายและบาดเจ็บ
ถือว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
และอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานประมาททำให้คนตายและบาดเจ็บ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1563/2521 คนโดยสารเรือยนต์ตกน้ำ
เรือถอยหลังไปช่วย ทำให้ใบจักรฟันคนที่ตกน้ำตาย
แทนที่จะโยนชูชีพลงไปช่วยตามข้อบังคับการเดินเรือ เป็นการขาดความระวังตามควรแก่เหตุการ
และนายท้ายผู้ประกอบวิชาชีพเดินเรือควรได้คาดคิด จึงเป็นประมาททำให้คนตายตาม ม.291
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3052/2530 (คดีแพ่ง) พ.
ขับรถยนต์ด้วยความเร็ว 50-60
กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ตรงที่เกิดเหตุมีทางแยก
จะต้องขับรถให้ช้าลงกว่านี้อีก การที่ พ. ขับรถด้วยความเร็วดังกล่าว
และขณะที่ขับรถมาใกล้จะถึงที่เกิดเหตุ ก็ได้เห็นรถที่จอดรออยู่ตรงเกาะกลางถนนแล้ว
ก็น่าจะชะลอความเร็วของรถบ้าง หรือมิฉะนั้น เมื่อเห็นมีรถซึ่งรออยู่ตรงเกาะกลางถนน
แล่นตัดหน้าไปคันหนึ่งแล้ว ก็ควรห้ามล้อให้รถชะลอความเร็วลงได้
โดยไม่จำเป็นต้องหักรถหลบไป จนปีนเกาะกลางถนน ดังนี้ถือได้ว่า พ. มีส่วนประมาทด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาเรื่องประมาท เกี่ยวกับการใช้อาวุธ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 361/2497 เอาปืนที่บรรจุกระสุนไปจ่อล้อเพื่อนเล่น โดยไม่ระมัดระวังเพื่อนปัดกระบอกปืน
ๆ จึงลั่นถูกเพื่อนตาย ดังนี้ ก็ย่อมเป็นความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 252 / เจ้าของปืนผู้ได้รับอนุญาตแล้ว
ใช้จำเลยเอาปืนไปทำความสอาดชั่วขณะหนึ่ง
ในระหว่างนั้นจำเลยเอาปืนไปจ่อเพื่อนโดยประมาท ปืนลั่นทำให้เพื่อนตาย ดังนี้
ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต. ( อ้างฎีกาที่ 1578/2495 )
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1086/2521 ยิงยางรถยนต์พลาด กระสุนถูกรถยนต์ทะลุไปถูกคนในรถ
เป็นอันตรายสาหัส เป็นความผิดฐานทำให้เกิดอันตรายสาหัสโดยประมาทตาม ม.300
แต่ฟ้องฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนา จึงลงโทษไม่ได้ (ไม่ใช่พลาด
ม 60 เพราะไม่มีเจตนาต่อคน)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2483/2528
จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้ตายมิให้เอาถ่านมาป้ายหน้าจำเลย
โดยจำเลยไม่รู้ว่าอาวุธปืนนั้นมีกระสุนปืนบรรจุอยู่
ฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จำเลยไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามที่โจทก์ฟ้อง
แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงออกมาขู่ผู้ตาย
โดยจำเลยไม่ดูเสียให้ดีก่อนว่ามีกระสุนบรรจุอยู่หรือไม่
เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย
ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5548/2530
จำเลยถูกผู้เสียหายด่า จึงยิงปืนเพื่อขู่ไม่ให้ผู้เสียหายด่าจำเลยอีกต่อไป
แต่จำเลยไม่เลือกยิงขึ้นฟ้า กลับยิงไปที่ลูกกรงไม้ชานบ้าน
ห่างจากจุดที่ผู้เสียหายยืนประมาณ 2 วา ทำให้เศษไม้กระเด็นไปถูกผู้เสียหาย
ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
ตาม มาตรา 390
-
กรณีไม่เป็นการกระทำโดยประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3445/2535
รถยนต์โดยสารที่จำเลยขับยางล้อหลังระเบิด จำเลยจึงจอดรถยนต์ไว้ชิดไหล่ทางด้านซ้าย
ล้อหน้าอยู่ที่ไหล่ทาง ส่วนล้อหลังด้านขวาอยู่บนถนน แล้วจำเลยได้หากิ่งไม้มาวางและเปิดสัญญาณไฟกระพริบ
ถือได้ว่าจำเลยใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว
การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 383/2537 จำเลยขับรถยนต์ไปด้วยความเร็วประมาณ
40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้ตายได้วิ่งไล่ตี ช. ข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับ
ไปแล้วแต่ได้มีรถยนต์อีกคันหนึ่งแล่นมา
ผู้ตายจึงชะงักและถอยหลังกลับเข้ามาช่องเดินรถของจำเลยโดยกะทันหัน
และในระยะกระชั้นชิด ทำให้จำเลยไม่สามารถหยุดรถหรือหลบไปทางอื่นได้ทันท่วงที
และในภาวะเช่นนั้นจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่า จะมีคนวิ่งข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับไปแล้ว
กลับชะงักและถอยหลังเข้ามาขวางหน้ารถยนต์ที่จำเลยขับไปอีก
การที่จำเลยขับรถยนต์ชนผู้ตาย จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจป้องกันได้
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
เรื่องประมาท
-
(ขส พ 2502/
7 ครั้งที่สอง) สีจุดประทันโยนใส่คนดูลิเก
ขาวตกใจ ปัดถูกสา สาตกใจปัดไปเกิดระเบิดขึ้น ทำให้แสงตาบอด / สีผิด
ม 297 เพราะมีเจตนาย่อมเล็งเห็นผล ตาม ม 59 / ขาวและสา ไม่ผิดเพราะไม่มีเจตนา
(และไม่มีข้อเท็จจริงว่าเป็นประมาท)
-
(ขส พ 2519/
9) แดงให้ดำช่วยสอนขับรถ แดงขับรถประมาทชนคน ดำเห็นแดงพลาด
จึงหักพวงมาลัยรถ ชนคนตาย แดงบาดเจ็บสาหัส แดงและดำผิด ม 291 ดำผิด ม 300 อีกด้วย
เพราะก่อนดำหักพวงมาลัย แดงขับรถมาในลักษณะน่าจะอันตรายอยู่แล้ว ฎ 1199/2510
ดำถือพวงมาลัย ทั้งที่ไม่อยู่ในสภาพที่จะขับหรือควบคุมรถได้ปลอดภัย
จึงเป็นการประมาท
-
(ขส อ 2529/
4) เจ้าของผูกช้างไว้ ช้างตกมัน ไปพังบ้านนายมั่น
และกระทืบนายมั่นซี่โครงหัก นายมาจึงยิงช้างตาย / เจ้าของผิด
ม 59 ว 4 + 300 + 377 ฎ
3435/2527 ทรัพย์เสียหายโดยประมาทไม่ผิด / นายมา
ไม่ผิด ม 358 เพราะป้องกัน ม 68
-
(ขส อ 2531/
5) ชักปืนเล็งเล็ก ถูกปัด ปืนลั่น เบิ้มตาย คนชักปืน ผิด ม 288+80+60
คนปัด ไม่ผิด เพราะไม่มีเจตนาฆ่า และไม่ถือว่าประมาท
เพราะกระทันหันเพื่อช่วยชีวิต เป็นกรณีเร่งด่วน
จะใช้ความระมัดระวังไม่ให้ถูกผู้อื่นด้วย คงทำไม่ได้
มาตรา
60 ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง
แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง “โดยพลาดไป” ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น
แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น เพราะ “ฐานะของบุคคล” หรือเพราะ
“ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย” มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น
(1) “เจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง” (สังเกตตัวบทใช้คำว่า
“ผู้ใดมีเจตนา...”)
-
เจตนาแรก เป็นเจตนาประสงค์ต่อผล
หรือย่อมเล็งเห็นผลก็ได้
-
ไม่ใช้กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิด เมื่อได้กระทำโดยประมาท และมีผู้ได้รับผลจากการกระทำหลายฝ่าย ไม่ใช้มาตรา 60 แต่ให้พิจารณาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
-
เจตนาแรกต้องถึงขั้นลงมือทำผิด
(2) ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง
“โดยพลาดไป”
/ มาตรา 60 มีผู้เกี่ยวข้องในการกระทำอยู่ 3 ฝ่าย (1)
บุคคลผู้กระทำผิด (2) บุคคลที่ผู้กระทำผิด เจตนาจะทำกระทำ และ
(3) บุคคลที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำ โดยพลาด
-
บุคคลที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำโดยพลาด
จะต้องได้รับผลร้ายนั้นแล้ว (จะถึงขั้นเป็นความผิดสำเร็จ หรือพยายามก็ได้)
-
ใช้กับ “วัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ”
อันเป็นประเภทเดียวกันเท่านั้น (ชีวิต ร่างกาย
เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน)
-
กรณีวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อนั้น
ต่างประเภทกับวัตถุที่ถูกกระทำ ต้องพิจารณาเรื่องเจตนาเล็งเห็นผล ตามมาตรา 59 วรรคสอง ประกอบวรรคแรก (คือหากมีเจตนา
ก็ต้องรับผิด ปรับเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แต่หากไม่มีเจตนา
พิจารณาเรื่องการกระทำโดยประมาทต่อ) และการกระทำโดยประมาท กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
ตามมาตรา 59 วรรคสี่ ประกอบวรรคแรก (หากไม่มีเจตนา
และไม่ได้กระทำโดยประมาท หรือกระทำโดยประมาท แต่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิด
ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด)
(3) ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น
-
เจตนาประสงค์ต่อผลโดยตรง
รับผิดตามเจตนาที่มีอยู่เดิม แม้สำคัญผิดในตัวบุคคล
-
เจตนาแรก (ฆ่า
, ทำร้ายร่างกาย , ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์) โอนไปยังผู้ถูกกระทำโดยสำคัญผิด
หรือผู้ที่ได้รับผลร้าย
-
เจตนาแรก ประกอบด้วยเจตนาพิเศษ (ป้องกัน
, จำเป็น , บันดาลโทสะ , ฆ่าโดยไตร่ตรอง ฯลฯ) โอนไปยังผู้ถูกกระทำโดยสำคัญผิด
หรือผู้ที่รับผลร้าย
-
ผู้กระทำรู้องค์ประกอบภายนอกเท่าไร
รับผิดเท่านั้น
-
หากไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด
ถือว่าไม่มีเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสาม ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด
-
หากไม่รู้ข้อเท็จจริง อันทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษหนักขึ้น
ตามมาตรา 62 วรรคท้าย
-
ผู้กระทำรับผิดไม่เกินข้อเท็จจริง
อันเป็นองค์ประกอบความผิดนั้น
-
ผู้กระทำต้องรับผิดต่อ “บุคคลที่ผู้กระทำผิด เจตนาจะทำกระทำ”
และ “บุคคลที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำผิด” (เป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษบทหนักตามมาตรา 90)
-
มาตรา 60 แม้การกระทำนั้น มีเจตนาโดยพลาด
เกิดขึ้นโดยประมาท (คือ กระทำโดยประมาทต่อ“บุคคลที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำผิด” ด้วย) มาตรา 59 วรรคสี่ ไม่ต้องปรับประมาทอีก เพราะต้องรับผิดในส่วนของ
“เจตนา” ตาม มาตรา 59 วรรคสอง ต่อ “บุคคลที่ผู้กระทำผิด เจตนาจะทำกระทำ” และ “บุคคลที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำผิด” อยู่แล้ว
(4) กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น
เพราะ “ฐานะของบุคคล” หรือเพราะ
“ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย” มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น
-
ตรงกับกรณีไม่รู้ข้อเท็จจริง อันทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษหนักขึ้น
ตามมาตรา 62 วรรคท้าย
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
“เป็นเจตนาโดยผลของกฎหมาย” เพราะไม่มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายที่
2 จริง และเป็นเรื่องเจตนาโอน (อก/160)
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
“ต้องมีผู้ถูกกระทำ 2 ฝ่ายขึ้นไป” ผู้เสียหายที่
1 ถูกกระทำโดยเจตนาประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผล
ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับผลร้ายด้วย (อก/161)
-
ยิงดำ ถูกขาว ผิดต่อดำ ม 80+288
ผิดต่อขาว ม 288+60 ปรับ ม 90
รับโทษ ม 288 (อก/161)
-
ยิงดำ ถูกกระจกรถยนต์ขาว ไม่ใช่ ม 60
(อก/161)
-
ปืนตีหัวดำ ปืนลั่นดำตาย ไม่ใช่ ม 60
(อก/162)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1937/2522 ยิง
4-5 นัด เจตนาฆ่า ก. กระสุนถูก ก. ตาย ถูก ส.อันตรายสาหัส เป็นความผิดตาม
ป.อ.ม.288 กับ ม.288,80 อีกบทหนึ่ง คำพิพากษาต้องอ้างความผิดทั้ง 2 บท ให้ลงโทษตาม
ม.288 บทหนัก คำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์ที่ได้ตัวมาเบิกความ
และที่ไม่ได้ตัวมาเบิกความเพราะติดตามตัวไม่พบ ระบุชื่อผู้ยิงว่านายประทีป
สุขเกษมมาในชั้นศาลพยานโจทก์ว่าคนยิงไม่ใช่จำเลย
แต่เป็นคนในร้านตัดเสื้อที่ชื่อประทีป แต่ไม่ทราบนามสกุล ศาลรับฟังได้ว่านายประทีป
สุขเกษม จำเลยคือผู้ยิงตามฟ้อง
-
ต้องไม่ประสงค์ต่อผล
หรือเล็งเห็นผลต่อ ผู้เสียหายที่ 2 เพราะหากมี เจตนา ตาม ม 59
ว 2 ไม่ใช่ พลาดตาม ม 60
(อก/162)
-
จะยิงดำ แต่ยิงตอไม้ ถูกขาวบาดเจ็บ
และถูกดำตาย ผิดต่อขาว ม 60+80+288 ผิดต่อดำ
ม 59+288 ไม่ใช่ ม 60 (อก/162)
-
ใช้ปืนลูกซองกระจาย ตั้งใจยิงขาว
ซึ่งยืนอยู่กับตำรวจ ถือว่ามีเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะฆ่าขาว (ม
59 ว 2 + 288) และเจตนาย่อมเล็งเห็นผลที่จะฆ่าตำรวจเจ้าพนักงาน
(ม 59 ว 2 + 289
(2) ซึ่งต้องรับโทษหนักขึ้น / แต่หากยิงด้วยปืนนัดเดียว
ไม่อาจเล็งเห็นได้ว่าจะถูกตำรวจ แต่บังเอิญกระสุนไปถูกนาฬิกาของขาว
แฉลบไปถูกตำรวจตาย รับผิดต่อขาว (ม 59 ว 2 + 288
+ 80) รับผิดต่อตำรวจเพียงแค่ (ม
59 ว 2 + 288 + 60) ไม่ผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานตาม
ม ๖๐ ตอนท้าย)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 321/2535
จำเลยใช้อาวุธปืนยิง และกระสุนปืนไปถูกกระจกหน้าต่าง และโต๊ะของผู้เสียหาย
ได้รับความเสียหายด้วยนั้น จำเลยมีเจตนายิงผู้เสียหายเป็นสำคัญ
จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น (“กระทำโดยเจตนาประสงค์ต่อผล”) และฐานทำให้เสียทรัพย์
(“กระทำโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล” แต่ไม่ใช่กระทำโดยพลาด เพราะเล็งเห็นได้
และเรื่องนี้มีผู้เสียหายเพียงคนเดียว)ซึ่งเป็นกรรมเดียว
-
ไม่ต้องดูว่า ประมาทต่อ
ผู้เสียหายที่ 2 ด้วยหรือไม่
เพราะมีเจตนาตามกฎหมายเสมอ (อก/162)
-
ยิงดำ ถูกขาว แม้ประมาทต่อขาวด้วย ไม่ต้องรับผิดฐานประมาท
เพราะต้องรับผิดตามเจตนาซึ่งโอนมาด้วย อยู่แล้ว แม้ขาวอยู่ไกลมาก (อก/162)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 784/2509
การที่จำเลยติดตามขับไล่คนร้ายไป แล้วใช้ปืนยิงคนร้าย
แต่กระสุนปืนไปถูกผู้เสียหายนั้น
เป็นการกระทำที่จำเลยได้มีเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป
ตามมาตรา 60 ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งรับผลร้าย
ไม่เป็นการกระทำโดยประมาท
-
กรณีเจตนากระทำต่อ “วัตถุประเภทหนึ่ง” แต่เกิดผลกับ
“วัตถุอีกประเภทหนึ่ง” ไม่ใช่การกระทำโดยพลาด
ตาม ม 60 ให้พิจารณาเจตนาย่อมเล็งเห็นผลและประมาทประกอบ (ชีวิต
ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1086/2521
ยิงยางรถยนต์ แต่ลูกกระสุนไปถูกคนในรถ ได้รับอันตรายสาหัส ปรับ ม 80+358
และ ม 59 ว 4
+ ม 300 ไม่ใช่ ม 60
(อก/163)
-
การกระทำโดยพลาดตาม ม 60
ใช้กับวัตถุที่มุ่งหมายเป็นประเภทเดียวกัน (ชีวิต
ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน)
-
ดำ ทำร้ายลูกของขาว / ขาวเห็นเหตุการณ์
เกิดตกใจช็อกตาย / ปรับ ม 60
ผิด ม 295 และ ม 290
+ 60 (สังเกต เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล) แต่หากดำทำลายทรัพย์ของขาว
ขาวเห็นเหตุการณ์ เกิดตกใจช็อกตาย ไม่ปรับ ม 60 (อก/163)
-
การกระทำโดยพลาดตาม ม 60
ใช้กับทรัพย์ เสรีภาพ และชื่อเสียงด้วย
-
ขส เน 2531 ยิงช้างของ ผู้เสียหายที่ 1 ไปถูกช้างของ
ผู้เสียหายที่ 2 โดยเจตนาป้องกัน
ตาม ม 68 อ้างป้องกัน ได้ทั้ง ผู้เสียหายที่ 1-2
(อก/164)
-
เจตนาโอน
ให้ดูที่เจตนาแรกเป็นหลัก
และให้รับผิดในผลของทั้งสองเจตนา แล้วปรับ
ม.90 กรณีเป็นเจตนาทำผิด
ไม่ต้องดูต่อว่าประมาทหรือไม่ เพราะต้องรับผิดตามเจตนาที่โอนไป
ซึ่งหนักกว่าอยู่แล้ว (อก/164)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 205/2516 ผู้ตาย ผู้เสียหาย
และจำเลยร่วมดื่มสุราด้วยกันจนเมา แล้วผู้ตายกับจำเลยทะเลาะกัน
ผู้เสียหายจึงชวนจำเลยกลับบ้าน
ผู้ตายตามมาต่อยและเตะจำเลยจนล้ม ลุกขึ้นก็ยังถูกเตะอีกเมื่อผู้ตายเตะ
จำเลยก็ใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวไปแทงสวนไปสองสามครั้ง ถูกผู้ตาย
ระหว่างนั้นผู้เสียหายเข้าขวางเพื่อห้าง
จึงถูกมีดได้รับบาดเจ็บ ส่วนผู้ตายถึงแก่ความตาย
การกระทำของจำเลยต่อผู้ตายเป็นการกระทำโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
แม้จะพลาดไปถูกผู้เสียหายเข้าด้วย ซึ่งตามมาตรา 60 ประมวลกฎหมายอาญา
จะถือว่าจำเลยมีเจตนาแทงผู้เสียหายก็ดี
แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยแทงผู้ตาย เพื่อป้องกันสิทธิพอสมควรแก่เหตุ
อันไม่เป็นความผิด
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1428/2520 ผู้ตายไล่จ้วงแทงจำเลยด้วยมีด
ตัวมีดยาวคืบเศษ จำเลยยิงด้วยปืนพก 7.65 มม. 7 นัด เมื่ออยู่ห่าง 1 วา กระสุน 1
นัดพลาดไปถูกผู้อื่นบาดเจ็บ เป็นการกระทำเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
ความผิดฐานฆ่าคนและพยายามฆ่าคนเป็นกรรมเดียวกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2527
จำเลยมีปากเสียงชกต่อย
ค.ด้วยสาเหตุปักใจเชื่อว่า ค.เป็นคนร้ายฆ่าบิดาตน
จำเลยสู้ไม่ได้และกลับไปก่อน ต่อมาอีก 30 นาที ค.ขี่รถจักรยานกลับบ้านมี ป.นั่งซ้อนท้ายไปด้วย
จำเลยดักซุ่มอยู่ในป่าข้างทางใช้ปืนแก๊ปยาวที่ถือติดมือมายิง ค.แต่กระสุนปืนพลาดไปถูก
ป.ตายดังนี้เป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม.289 (4)
ประกอบด้วย ม.60
-
การกระทำโดยพลาดตาม ม 60
ต้องเกิดผลแก่ ผู้เสียหายที่ 2
-
เพราะมาตรา 60 ตามตัวบทต้องมี “ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง”
-
ยิงดำ เกือบถูกขาว ไม่ต้องรับผิดต่อขาว แต่หากยิงดำ
ขาวช็อกตาย ปรับ ม 60 รับผิดต่อขาว (อก/165)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5438/2538
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่า ส. กระสุนปืนถูก ส. ได้รับอันตรายสาหัส และพลาดไปถูก
ว. ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า ส. และ ว.
อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
-
การกระทำโดยพลาดตาม ม 60
ต้องเกิดผลขณะกระทำ
-
ยิงดำลูกขาว ขาวช็อกตาย ขณะ นั้น ปรับ ม 60
แต่หากขาวมาเห็นศพ แล้วช็อกตาย ไม่ปรับ ม 60
(อก/165)
-
การกระทำโดยพลาดตาม ม 60
“เจตนาโอน” ต้องรับผิดต่อผู้เสียหายที่
2 ตามเจตนาที่มีต่อผู้เสียหายที่ 1 เช่น
-
ยิงดำ ถูกขาวสาหัส รับผิดต่อขาว ม 288
+ 80 + 60 ไม่ใช่ ม 297 (อก/165)
-
ตีดำ ถูกขาวล้มหัวแตกตาย รับผิดต่อขาว ม 290
+ 60 ไม่ใช่ ม 288 (อก/166)
-
ตีเมีย ถูกชาวบ้านตาย รับผิดต่อชาวบ้าน ม 290
+ 60 ฎ 447/2510 (อก/166)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 61/2494 น้อยโกรธเมียหลวงเพราะเมียหลวงพูดถ้อยคำบาดหู
จึงเอามีดฟันเมียหลวงไปในทันทีทันใดนั้น โดยหมายฟันตรงแขนเมียหลวง
แต่เมียหลวงเบนหนี มีดที่ฟันลงจึงไปถูกกลางศีร์ษะเด็กหญิงอายุ 7 เดือนที่เมียหลวงอุ้มพาดตักและแขนเข้า กะโหลกศีร์ษะแตกตาย ดังนี้
วินิจฉัยว่าหากเมียหลวงไม่เบนหนี
มีดที่ฟันก็จะถูกแขนเมียหลวงและเมียหลวงก็ไม่ถึงตาย
ฉะนั้นเมื่อเกิดพลาดไปถูกเด็กจนถึงตายขึ้น
ก็เป็นเรื่องที่ชี้ขาดว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาไม่ได้
คงเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 251
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 486/2499 การที่จำเลยกับพวกสมคบกันมาเจตนาจะยิงคู่ปรปักษ์
แม้กระสุนปืนของพวกจำเลยยิงไปจะพลาดพวกปรปักษ์ แต่ไปถูกผู้เสียหายซึ่งมาดูเหตุการณ์เข้าเช่นนี้.จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายพวกผู้ถูกยิงย่อมต้องมีผิดฐานพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1917/2511
ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม มาตรา 340 วรรคท้ายนั้น
หมายถึงบุคคลอื่น มิใช่พวกปล้นด้วยกันเอง
จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์และใช้ปืนยิงเจ้าทรัพย์บาดเจ็บ
กระสุนพลาดไปถูกพวกคนร้ายด้วยกันตาย จำเลยผิดฐานปล้นโดยใช้ปืนยิง
และฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา (รับผิดฐานพยายามฆ่าต่อเจ้าทรัพย์ด้วย)
-
ฎ.917/2530
“ด้ามปืนตีหัว ปืนลั่น” จำเลยตีหัว
ว.แตก ปืนลั่นถูก ด.ตาย
ส.บาดเจ็บ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 917/2530
จำเลยใช้ด้ามปืนตีศีรษะ ว.แตกเลือดไหลแล้วกระสุนปืนลั่นไปถูก ด. ตาย และ ส.
ได้รับบาดเจ็บ จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ว. ตาม มาตรา 295
แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ปืนยิง เพื่อฆ่าหรือทำร้าย ว.
กรณีจึงมิใช่เป็นการที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อ ว. แต่ผลของการกระทำผิดเกิดแก่ ด. และ
ส. โดยพลาด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 290, 295 ประกอบด้วยมาตรา 60
อย่างไรก็ตาม เมื่อการที่กระสุนปืนลั่นเป็นผลให้ ด.ตายและ ส.ได้รับบาดเจ็บนั้น
เป็นเพราะความประมาทของจำเลย ในการใช้ปืนตี ว.จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 291, 390
-
ศาลฎีกาว่า
ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเจตนายิงหรือทำร้าย ว.จึงไม่ใช่กรณีเจตนากระทำต่อ ว.แล้วผลเกิดแก่ ด.และ ส.โดยพลาด
จึงไม่ปรับ ม.290,295 + 60 แต่เป็นความประมาทจึงปรับ ม.291
,390 / คำวินิจฉัยของศาลฎีกา
ไม่ได้ชี้ในประเด็นนี้ ว่าเจตนาทำร้ายนี้ โอนได้ แต่ศาลฎีกาไปหยิบเอาผลของการกระทำที่นอกเหนือความตั้งใจเดิม
มาวินิจฉัยว่า ไม่ใช่เจตนาฆ่า จึงไม่ใช้หลักเจตนาโอน ตาม ป.อาญา มาตรา 60 ซึ่ง ขาดประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้โดยตรง
ว่าเจตนาทำร้ายนั้น ต้องโอนไปยังผู้เสียหายที่ 2 ตามมาตรา 60
ด้วย
-
อ เกียรติขจรฯ เห็นว่าการใช้ปืนตีหัว ว.เป็น
“เจตนาทำร้าย” เมื่อผลเกิดแก่
ด.และ ส. แม้จะด้วยวิธีการที่นอกเหนือไปจากเจตนา
ก็ยังถือว่าเจตนาโอน
-
รับผิด ต่อ ว. ตาม
ม.295+59 ว.2 หากปืนลั่นถูก ว.บาดเจ็บด้วย
ต้องปรับประมาท ม.390+59 ว.4
/ หาก ว.ตาย ปรับ ม.290+59
ว.4 แล้วจึงปรับด้วย ม.90
/ แต่ตามข้อเท็จจริง ว.ไม่บาดเจ็บจากกระสุน
ไม่ต้องปรับเรื่องประมาท ทั้งที่ถือว่าเป็นการประมาทด้วย
เพราะเรื่องประมาทต้องรับผิดเมื่อผลเกิดเท่านั้น
-
กรณีรับผิดต่อ ด. ปรับบทเช่นเดียวกับกรณี
ว.ตาย เพิ่ม ม.60 ตามหลักเจตนาโอน
-
กรณีรับผิดต่อ ส. ปรับ
ม.295 + 60 ตามหลักเจตนาโอน และ ม.390
เพราะถือว่าประมาทต่อ ส.ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องประมาท
ไม่ปรับเจตนาโอน แต่หาก ส.อยู่ไกลมาก ไม่เป็นประมาทต่อ ส.แล้ว
ก็ไม่ต้องปรับ ม.390
-
แม้การใช้ปืน ตบหน้าผู้อื่น
จะเป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวัง แต่ก็ไม่ต้องปรับเป็นเรื่องการกระทำโดยประมาทอีก
เพราะกรณีนี้ เป็นการกระทำที่เริ่มด้วยเจตนาทำร้าย จึงขาดองค์ประกอบของการกระทำโดยประมาท
ที่บัญญัติว่า "กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังฯ"
-
ส่วนที่กระสุนลั่นไปถูก นาย ค.
นั้น เมื่อการกระทำเดียวกัน เริ่มด้วยเจตนาทำร้าย แต่ผลของการกระทำไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป
แม้ในกรณีนี้ ผลที่เกิดจากกระสุนลั่น โดยไม่มีเจตนาจะยิงโดยตรง ก็เข้าองค์ประกอบ
ป.อาญา มาตรา 60
เพราะเจตนาทำร้ายนั้น โอนได้
และผู้กระทำต้องรับผิดต่อผู้เสียหายทั้งสอง
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
รับผิดต่อ ผู้เสียหายที่ 1 แม้ผลไม่เกิด
ผิด ม 80 และรับผิดต่อผู้เสียหายที่
2 ปรับ ม 90 (ดู
ม 107 ว 2 พยายามฆ่า โทษประหาร)
(อก/171)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2852/2531
จำเลยยิงผู้ตายซึ่งอยู่ในกลุ่มคน 2 นัดติดต่อกัน กระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย
และพลาดไปถูกคนในกลุ่มคือ ส. ได้รับบาดเจ็บพฤติการณ์ของจำเลยจึงเป็นการกระทำ เพื่อฆ่าผู้ตายเท่านั้น หาได้มีเจตนาจะฆ่า
ส.อีกต่างหากไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 288 บทหนึ่งและมาตรา 288,80 ประกอบด้วยมาตรา 60 อีกบทหนึ่ง ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกระทง
-
การกระทำ “โดยสำคัญผิด” ตาม
ม 61 ไม่ต้องรับผิดตาม ม 81 ต่อ
ผู้เสียหายที่ ตั้งใจจะทำร้าย แต่รับผิดต่อ ผู้เสียหายที่ ถูกกระทำอย่างเดียว (อก/171)
-
การพยายามกระทำความผิด
ซึ่งไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ ตาม ม 81
เกิดจากการกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
ได้ เช่น
ต้องการยิงดำ แต่ยิงตอไม้ กระสุนถูกขาวตาย รับผิดต่อดำ ม 288+81
และ รับผิดต่อขาว ม 288+60 (อก/171)
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
เกิดได้หลายวิธี
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
เพราะบุคคลที่สาม เช่น ยิงผู้เสียหายที่ 1 แต่บุคคลที่สาม
ปัดปืน ถูกพวกเดียวกับผู้ยิงเอง ผิด ม 288+60 ฎ 651/2513
(อก/169)
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
เพราะผู้เสียหายที่ 1 เช่น ตีดำ ดำหลบ เซไปถูกขาว
ขาวหัวแตก รับผิดต่อดำ ม 295+59/2+80 รับผิดต่อขาว
295+60 (อก/169)
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
เพราะผู้เสียหายที่ 2 เช่น หลอกให้ดำกินยาพิษ
แต่ขาวมาหยิบกิน (อก/169)
-
ผู้กระทำ ทำต่อตนเอง
แต่ผลเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง ไม่ใช่การกระทำโดยพลาดตาม ม 60
-
ฆ่าตัวตาย มือสั่น ลูกปืนไปถูกขาว ไม่ผิด ม 288
ไม่มีเจตนาฆ่า แต่อาจผิด ม 291 ประมาทได้ (อก/170)
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
ต้อง “มีการกระทำ” ต่อ
ผู้เสียหายที่ 1 “ถึงขึ้นเป็นความผิด” เช่น
ม 80
-
“การตระเตรียมการวางเพลิง” ตาม
มาตรา 219 แม้มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด
แต่โดยลักษณะของขั้นตระเตรียม ยังไม่เกิดผลของการกระทำ
จึงไม่อาจมีกรณีการกระทำโดยพลาดตาม ม ๖๐ ได้ เพราะมาตรา ๖๐ ต้องมี “ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง”
-
กรณี ”ตระเตรียม” ฆ่า
แต่ผลเกิดกับบุคคลที่สาม ไม่ใช่พลาด เช่น
-
ซื้อยาพิษมาเก็บไว้ แต่มีคนเอาไปกิน (อก/170)
-
เล็งปืนแล้ว ถูกปัด ถูกผู้เสียหายที่ 2 เป็นการกระทำโดยพลาด
ตาม ม 60 แต่ ชักปืนแล้ว ถูกปัด
ยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำผิด ปืนลั่นถูกผู้เสียหายที่ 2 ไม่ใช่
ม 60 แต่หากเป็นการกระทำโดยประมาท รับผิดตาม ม 291
ได้ (อก/170)
-
ถ้าประสงค์ต่อผลและเล็งเห็นผลพร้อมกัน
แยกเป็นสองเจตนา ยังไม่ปรับ มาตรา 60 แต่ทั้งสองเจตนานั้น
อาจพลาดไปเกิดผลกับผู้อื่นอีกได้ กรณีนี้จึงปรับ ม 60
(อก/162,167)
-
“การกระทำโดยประมาท” เจตนาไม่โอน
ให้รับผิดฐานประมาท ตาม ม 59 ว
4 ต่อผู้เสียหายทั้งหมด
-
แกว่งปืนที่สาธารณะ กระสุนไปถูก ก.แล้วแฉลบไปถูก
ข.ด้วย (อก/171)/
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1086/2521 ยิงยางรถยนต์พลาด
กระสุนถูกรถยนต์ทะลุไปถูกคนในรถ เป็นอันตรายสาหัส
เป็นความผิดฐานทำให้เกิดอันตรายสาหัสโดยประมาทตาม ม.300
(ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำโดยประมาท ส่วนที่ใช้คำว่าพลาดไปถูกคนในรถนั้น หมายถึง
ผลที่เกิดไม่ตรงกับที่ตั้งใจไว้ แต่ไม่ใช่เรื่องการกระทำโดยเจตนาโดยพลาดไปตาม ม 60)
-
การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
ใช้กับเจตนาย่อมเล็งเห็นผลด้วย (อ
เกียรติฯ 8/240)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 117/2515
จำเลยยิงปืนเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย โดยจำเลยทราบดีว่ามีคนอยู่ในบ้านนั้น
กระสุนปืนอาจจะถูกผู้เสียหายและพวกซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นได้
และกระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงได้ทะลุบ้านผู้เสียหาย
ไปถูกผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านอีกหลังหนึ่งได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้จำเลยมีความผิด
(รับผิดต่อผู้เสียหาย) ตาม มาตรา 288, 80 (+เจตนาย่อมเล็งเห็นผล) (และรับผิดต่อผู้ได้รับบาดเจ็บ
ตาม ม 288 , 80 , 60)
-
การกระทำ “โดยเจตนา” เท่านั้นที่
เจตนาแรก โอนไปยังผู้รับผล ตาม ม 60 ได้
ส่วน “การกระทำโดยประมาท” เจตนา
ไม่โอน ตาม มาตรา 60
(อ เกียรติฯ 8/240)
-
ประมาทขับรถชนรถดำ ไม่รู้ว่าดำบรรทุกระเบิด
เกิดระเบิด ขาวอยู่ริมถนนตาย ไม่ต้องรับผิดต่อขาว / ถือว่าประมาทต่อดำ
แต่ผลที่เกิดกับขาว นั้นไม่ถือว่าความประมาทที่มีต่อดำ โอนมายังขาวด้วย
เมื่อไม่ได้กระทำโดยประมาทต่อขาว จึงไม่ต้องรับผิดต่อขาว (อ
เกียรติฯ 8/240)
-
เห็นว่าเป็นการกระทำโดยประมาท
และความตายเป็นผลโดยตรง จากการกระทำโดยประมาท หากจะไม่ต้องรับผิดในผล ก็น่าจะใช้ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม
หมายถึงทฤษฎีเดิม ที่ว่าเหตุทุกเหตุ ไม่ได้มีน้ำหนักเท่ากัน
จะมีบางเหตุเท่านั้น ที่จะมีน้ำหนัก มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะทำให้ผลนั้นเกิดขึ้น
การวินิจฉัยก็จะดูว่า เหตุอันนี้กับผลที่เกิดขึ้น มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่
หรือเหตุที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดผลขึ้นมานั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดา
หรือไม่ที่จะทำให้เกิดผลอย่างนี้ขึ้นมา / ไม่ได้หมายถึงทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม
ซึ่งอาจารย์นำมาปรับใช้กับ ม 63 โดยตรง เพราะกรณีนี้ไม่ใช้ ม 63
เนื่องจากความตาย ไม่ใช่ผลแห่งการกระทำผิด ที่ทำให้ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้น
-
ตัวอย่างที่อาจารย์ยกขึ้นนี้
เทียบกับการที่รถยนต์ของดำ ไม่บรรทุกระเบิด แต่ไถลไปชนเข็นข้างทาง
แล้วรถเข็นกระเด็นไปทับขาวที่นอนอยู่ในบ้าน
หรือรถเข็นกระเด็นเข้าไปถูกถังแก็สในบ้าน แล้วระเบิดขึ้น ทำให้ขาวตาย
กรณีนี้น่าจะพิจารณาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
มากกว่าในเรื่องที่ว่าไม่ได้ประมาทต่อขาว
-
ปืนลั่นถูกดำ แฉลบไปถูกขาว ซึ่งอยู่ห่างมาก
รับผิดต่อดำ ม 291 เพราะกระทำโดยประมาทต่อดำ
แต่ไม่ต้องรับผิดต่อขาว เพราะไม่ได้กระทำโดยประมาทต่อขาว และการกระทำโดยประมาท
ไม่อาจโอนความรับผิด ในกรณีกระทำโดยพลาดตาม ม 60 ได้
เพราะใช้กับการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น (อ เกียรติฯ 8/240)
-
กรณี “ขาดองค์ประกอบความผิด” ไม่ใช่พลาด
-
จะฆ่า ก ยิงไปที่ศพ ก.แล้วไปถูก
ข หรือ จะยิงสัตว์เลี้ยงของ ก.แต่ยิงสัตว์เลี้ยงตัวเอง
แล้วไปถูกสัตว์ของ ข. (อก/172)
หรือจะยิงสัตว์ของ ก แต่ยิง ข ซึ่งอยู่หลังพุ่มไม้
(รับผิด ต่อ ทายาทของ ก. ม.358+81
ต่อ ข.ปรับ ม
59 ว 3 ขาดองค์ประกอบ “ผู้อื่น”)
(อก/179)
-
(เทียบ การพยายามกระทำความผิด
ซึ่งไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ ตาม ม 81
เกิดจากการกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
ได้ เช่น
ต้องการยิงดำ แต่ยิงตอไม้ กระสุนถูกขาวตาย รับผิดต่อดำ ม 288+81
และ รับผิดต่อขาว ม 288+60 (อก/171))
-
กรณีเจตนาแรก เป็นเจตนาพิเศษ (เช่น
ม 67 , 68 , 72) แล้วพลาด เจตนาโอน
แต่หากไม่มีเจตนาพิเศษ การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60
ไม่ต้องดูเจตนาพิเศษ เพราะไม่ต้องรับผิด (อก/172)
-
ยิงโดยป้องกัน ตาม ม 68
ต่อแดง แดงหลบ ถูกขาวตาย อ้าง ม 68 ต่อขาวได้
ฎ 205/2516 แต่หากเกิดจากประมาท รับผิด ม 291
ต่อขาวด้วย (อก/173)
-
มีเหตุจำเป็นต้องยิงดำ ม 67 ยิงแล้ว ดำหลบทัน พลาดไปถูก ขาว
(รับผิด ต่อดำ ม 59+80+288
อ้าง ม 67 และต่อขาวปรับมาตราเดียวกัน
เพิ่ม ม 60) แต่หากดำหลบแล้วกระสุนไปถูกทรัพย์ของขาว
กรณีขาวไม่ใช่เรื่องพลาด (วัตถุต่างประเภท เจตนาไม่โอน 60)
จึงไม่ต้องรับผิดต่อขาว และไม่ต้องพิจารณาเจตนาโอน (อก/174)
-
กรณีเป็นเจตนาป้องกัน
บันดาลโทสะ แล้วพลาด อ.จิตติ
ให้ดูประมาทอีกประเด็นหนึ่ง (เน 47/8/23)
-
ฐานะหรือความสัมพันธ์
(อก/176)
-
เจตนาทำ บุคคลธรรมดา ผลเกิดแก่บิดา
หรือเจ้าพนักงาน ถือว่าเจตนาทำต่อบุคคลธรรมดา
(อก/176)
-
เจตนาทำ บิดา ผลเกิดแก่
มารดา รับผิดเต็ม
ไม่นอกเหนือเจตนา (อก/176)
-
เจตนาทำ เจ้าพนักงาน ผลเกิดแก่
เจ้าพนักงานอื่น รับผิดเต็ม
ไม่นอกเหนือเจตนา (อก/176)
-
เจตนาทำ บิดา ผลเกิดแก่
เจ้าพนักงาน
-
หรือ เจตนาทำ เจ้าพนักงาน ผลเกิดแก่บิดา รับผิดเพียง
“บุคคลธรรมดา” (อก/177)
-
เจตนาทำ บิดา หรือ เจ้าพนักงาน
แต่ผลเกิดแก่บุคคลธรรมดา รับผิดเท่าบุคคลธรรมดา
(ไม่ต้องกล่าวถึงเจตนาแรก))
-
กรณีโทษหนัก
แต่ไม่ใช่เรื่องฐานะหรือความสัมพันธ์ของบุคคล
-
ทำลายทรัพย์ ผลเกิดแก่ทรัพย์สาธารณะ รับผิด ม
358+60 ไม่ใช่ ม 360+60 ไม่ปรับ
ม 60 ตอนท้าย (อกว่า
ม 60 ตอนท้าย ไม่จำเป็นต้องมี)
(ม 62 ว 3 สามารถปรับใช้ได้ทุกกรณี)
(อก/177)
-
การกระทำ “โดยสำคัญผิด” ตาม
ม 61 มีการพลาด ตาม ม 60
ได้ (อก/178)
-
ประสงค์จะยิงแดง
แต่ยิงดำโดยสำคัญผิดว่าเป็นแดง กระสุนแฉลบไปถูกขาวด้วย
-
ผลอาจเกิดขึ้นตามเจตนา
ก็ต้องรับผิด แม้ผลจะเกิดด้วยเหตุอันนอกเหนือเจตนา
-
ยิงรูปปั้นคิดว่าเป็นดำ กระสุนแฉลบ ถูกดำตาย (อก/178)
-
เจตนาแรก
อาจเป็นเจตนาประสงค์และเล็งเห็นผลในขณะเดียวกันได้
-
ตั้งใจขว้างกระจก คาดว่าจะถูกหัวดำ ผลเกิด
แจกันของเหลืองแตก แจกันล้ม ถูกเขียวหัวแตกด้วย (อก/179)
-
ตั้งใจยิง สัตว์ของดำ แต่ยิงขาว
ซึ่งอยู่หลังพุ่มไม้ (รับผิด ต่อ ดำ ม 358+81
ต่อ ขาว ปรับ ม.59 ว.3
ขาดองค์ประกอบ “ผู้อื่น” แต่อาจเป็นการกระทำโดยประมาท
ตาม ม 59 ว 4 ได้) เช่น
กระสุนพลาดไปถูก เหลือง และแมวของเขียว ตายหมด (อาจรับผิดต่อเหลือง
ม 291 ได้ (กรณีเหลือง ไม่ปรับ ม 60
เพราะวัตถุที่ถูกกระทำเป็นคนละประเภท) รับผิดต่อเขียว
ม 60+358 (อก/179)
-
ประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2145/2499 ฟ้องว่าจำเลยยิง ก.ตายโดยเจตนา
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเจตนายิง ข. แต่พลาดไปถูก ก.
ตายเช่นนี้ ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง
ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยตาม ก.ม.อาญา ม.44 ก็ต้องบรรยายลงไว้ในฟ้องให้ชัดเจน.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2500)
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1182/2512 (สบฎ เน 2071) บรรยายฟ้องว่า
"เจตนาฆ่านายทองหล่อ"
แต่กระสุนพลาดถูกนายรอด แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า "เจตนาฆ่านายรอด"
จำเลยผิดฐานฆ่านายรอดตายโดยเจตนา ม 288
-
1. ต้องมีผู้ถูกกระทำ 2 ฝ่ายขึ้นไป
-
2. ผู้กระทำจะ ต้องไม่ ประสงค์ต่อผลต่อบุคคลผู้ได้รับผลร้าย
และ ต้องไม่ เล็งเห็นผลว่าจะเกิดแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้าย ... (หากเล็งเห็นผล ก็เป็นเจตนาตามมาตรา
59)
-
3. การที่ไปเกิดแก่ผู้ได้รับผลร้ายนั้น
ไม่ต้องคำนึงว่าผู้กระทำจะประมาทหรือไม่ กล่าวคือ แม้ประมาทก็ถือว่าผู้กระทำมีเจตนาต่อผู้ได้รับผลร้าย แม้ไม่ประมาทก็ถือว่าผู้กระทำก็มีเจตนาต่อผู้รับผลร้ายเช่นกัน
-
4. หากผู้กระทำได้กระทำต่อวัตถุแห่งการกระทำ
อันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานหนึ่ง ซึ่งผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอนนั้นแล้ว แต่ผลของการกระทำไปเกิดแก่วัตถุแห่งการกระทำ
อันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดอีกฐานหนึ่ง ซึ่งผู้กระทำไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบนั้นมาก่อน เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาด
(ฎ 1086/21 ยิงยางรถยนต์พลาด กระสุนถูกรถยนต์ทะลุไปถูกคนในรถเป็นอันตรายสาหัส เป็นความผิดฐานทำให้เกิดอันตรายสาหัสโดยประมาทตาม
ม.300)
-
5. หากกระทำโดยเจตนาต่อทรัพย์ของบุคคลหนึ่ง
แต่ผลไปเกิดแก่ทรัพย์ของอีกบุคคลหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตามมาตรา 60 ได้เช่นกัน
-
6. แม้ผลจะเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกสมเจตนาของผู้กระทำ หากผลไปเกิดแก่ผู้เสียหายอีกฝ่ายหนึ่ง
ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาดด้วยเช่นกัน (
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1937/2522 ยิง 4-5 นัด เจตนาฆ่า ก. กระสุนถูก ก.
ตาย ถูก ส.อันตรายสาหัส เป็นความผิดตาม ป.อ.ม. 288 กับ ม.288, 80 อีกบทหนึ่ง คำพิพากษาต้องอ้างความผิดทั้ง 2 บท ให้ลงโทษตาม ม.288 บทหนัก)
-
7. การกระทำโดยพลาดตามมาตรา 60 จะต้องมีผลเกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายฝ่ายที่สอง
-
8. เจตนาตามมาตรา 60 คือ “เจตนาโอน” หากเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาฆ่า
เจตนาที่โอนมาก็เป็นเจตนาฆ่า หากเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาทำร้าย
เจตนาที่โอนมาก็เป็นเจตนาทำร้ายเช่นกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 447/2510 จำเลยกับภรรยาโต้เถียงกัน แล้วจำเลยใช้ไม้ไผ่ซึ่งมีขนาดโตกว่าหัวแม่มือนิดหน่อย
ยาวประมาณ 1 วา ตีภรรยา แต่ตีหนักมือไป ทำให้พลาดถูกนางบุญสืบซึ่งภรรยาของจำเลยยืนเกาะหลังอยู่ถึงแก่ความตาย เมื่อภรรยาจำเลยหนีไปแล้ว
จำเลยก็มิได้ตีซ้ำอีก ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยกระทำโดยไม่รู้สำนึกในการกระทำ และมิได้ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่านางบุญสืบอาจถึงแก่ความตายเพราะการกระทำของจำเลยได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 290
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 917/2530 จำเลยใช้ด้ามปืนตีศีรษะ
ว.แตกเลือดไหลแล้วกระสุนปืนลั่นไปถูก ด.ตาย และ ส. ได้รับบาดเจ็บ
จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ว. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ปืนยิงเพื่อฆ่าหรือทำร้าย
ว. กรณีจึงมิใช่เป็นการที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อ ว.
แต่ผลของการกระทำผิดเกิดแก่ ด. และ ส. โดยพลาด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 290, 295 ประกอบด้วยมาตรา 60 อย่างไรก็ตาม เมื่อการที่กระสุนปืนลั่นเป็นผลให้
ด.ตายและ ส.ได้รับบาดเจ็บนั้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยในการใช้ปืนตี ว.จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 291, 390)
-
9. หากเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาประเภทไตร่ตรองไว้ก่อน เจตนาที่โอนมายังผู้ได้รับผลก็เป็นเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อนเช่นกัน
-
10. การที่ผลไปเกิดแก่ผู้เสียหายอีกฝ่ายหนึ่งโดยพลาดนั้นอาจเกิดได้หลายวิธีด้วยกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 651/2513 จำเลยชักปืนสั้นออกมาง้างนกขึ้นจ้องจะยิง
ส. ซ.พวกของจำเลยรีบเข้าปัดปืนให้เฉไปเสีย
กระสุนปืนที่ลั่นออกมาจึงไปถูก จ. พวกของจำเลยถึงแก่ความตาย จำเลยก็มีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 870/2526 ผู้เสียหายกับจำเลยทะเลาะกัน
ในที่สุดจำเลยชักปืนเล็งไปที่หน้าอกผู้เสียหาย และขึ้นนกจะยิงในระยะห่างประมาณ 1 เมตรเศษ
สามีจำเลยเข้าจับมือกดลงต่ำ ปืนลั่นกระสุนถูกผู้อื่นที่เท้า ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า
-
11. หากผู้กระทำได้กระทำต่อตนเอง
แต่ผลไปเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง ก็ไม่ใช่การกระทำโดยพลาด
-
12. กรณีที่จะถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตามมาตรา
60 ได้นั้น ผู้กระทำจะต้องได้กระทำการโดยเจตนาต่อบุคคลฝ่ายแรกถึงขึ้นที่จะเป็นความผิดเสียก่อน เช่น ถึงขั้นลงมือตามมาตรา 80
หรือตระเตรียมในบางกรณี เช่น ตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ หากการกระทำในตอนแรกโดยเจตนานั้นยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นความผิด แม้ผลเกิดแก่บุคคลที่สาม
ก็มิใช่การกระทำโดยพลาดตามมาตรา 60
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1961/2528 การวิวาท หมายถึง
การสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายกัน คำพูดของจำเลยที่ว่าการย้ายตำรวจต้องมีขั้นตอน ต้องมีคณะกรรมการอย่าไปเชื่อให้มากนัก เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นในการสนทนาเท่านั้น มิได้มีข้อความใดที่เป็นการท้าทายให้ผู้ตายหรือผู้เสียหายออกมาต่อสู้ทำร้ายกับจำเลย จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุวิวาทมิได้ / หลานผู้ตายใช้ขวดตีจำเลยที่ทัดดอกไม้จนเข่าทรุดร่วงตกจากเก้าอี้ ผู้ตายเข้าไปล็อคคอและดึงคอเสื้อจำเลยไว้ พร้อมกับพูดว่าเอาให้ตายและมีคนอีกกลุ่มหนึ่งกรูกันเข้ามาจะรุมทำร้ายจำเลย จำเลยสะบัดหลุดแล้วชักปืนออกมาขู่ โดยหันปากกระบอกปืนขึ้นฟ้าพร้อมกับตะโกนว่าอย่าเข้ามา ทันใดนั้นมีคนเข้ามาตะปบปืนในมือจำเลยเพื่อจะแย่งปืน
ปืนลั่นขึ้น 1 นัด กระสุนถูกผู้ตายล้มลงถึงแก่ความตาย จำเลยวิ่งหนี แต่คนกลุ่มนั้นวิ่งไล่ตามจะทำร้ายจำเลย
จำเลยยิงปืนขู่ขึ้นฟ้าอีก 1 นัด แล้ววิ่งไปได้หน่อยหนึ่งก็หมดสติล้มลง กระสุนปืนนัดที่สองพลาดไปถูกผู้เสียหายบาดเจ็บสาหัส เมื่อจำเลยเจตนายิงขึ้นฟ้าเพื่อขู่แล้ว
ก็ถือไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่า จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้ตายหรือพยายามฆ่าผู้เสียหาย และจะถือว่าจำเลยกระทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาทหรือรับอันตรายสาหัสโดยประมาทมิได้)
-
13. การกระทำโดยเจตนาต่อผู้เสียหายฝ่ายแรกนั้น หากผลไม่เกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกตามเจตนาของผู้กระทำ ผู้กระทำต้องรับผิดฐานพยายามตามหลักทั่วไป
-
14. การกระทำโดยเจตนาต่อผู้เสียหายฝ่ายแรกนั้น อาจเป็นเจตนาเล็งเห็นผล ก็ได้ หากพลาดไปถูกผู้เสียหายฝ่ายที่สองก็เป็นการกระทำโดยพลาดตามมาตรา
60
-
(ฎีกาที่ 117/2515 จำเลยยิงปืนเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย โดยจำเลยทราบว่ามีคนอยู่ในบ้านนั้นกระสุนปืนอาจจะถูกผู้เสียหายและพวกซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นได้ และกระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงได้ทะลุบ้านผู้เสียหายไปถูกผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านอีกหลังหนึ่งได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้
จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80)
-
15. “เจตนา” เท่านั้นที่สามารถโอนได้
ตามมาตรา 60 ส่วน “ประมาท” โอนไม่ได้
-
16. หากผู้กระทำมีเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ความจริงเป็นเรื่องขาดองค์ประกอบความผิดภายนอกของความผิด แม้ผลจะไปเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง
ก็ไม่ถือเป็นการกระทำโดยพลาดตามมาตรา 60
-
17. หากเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิตามมาตรา
68 เจตนาพิเศษในเรื่องจำเป็นตามมาตรา 67
หรือเจตนาพิเศษในเรื่องบันดาลโทสะตามมาตรา 72 แม้จะมีการกระทำโดยพลาดเกิดผลแก่ผู้เสียหายอีกฝ่ายหนึ่ง เจตนาพิเศษในตอนแรกดังกล่าวก็โอนไปด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 205/2516 ผู้ตาย ผู้เสียหาย และจำเลย ร่วมดื่มสุราด้วยกันจนเมา
แล้วผู้ตายกับจำเลยทะเลาะกัน ผู้เสียหายจึงชวนจำเลยกลับบ้าน ผู้ตายตามมาต่อยและเตะจำเลยจนล้ม ลุกขึ้นก็ยังถูกเตะอีกเมื่อผู้ตายเตะ จำเลยก็ใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวไปแทงสวนไปสองสามครั้ง
ถูกผู้ตาย ระหว่างนั้นผู้เสียหายเข้าขวางเพื่อห้าง จึงถูกมีดได้รับบาดเจ็บ ส่วนผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยต่อผู้ตายเป็นการกระทำโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แม้จะพลาดไปถูกผู้เสียหายเข้าด้วย
ซึ่งตามมาตรา 60 ประมวลกฎหมายอาญา จะถือว่าจำเลยมีเจตนาแทงผู้เสียหายก็ดี แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยแทงผู้ตาย เพื่อป้องกันสิทธิพอสมควรแก่เหตุ
อันไม่เป็นความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 892/2515 จำเลยตั้งใจยิงคนร้ายที่ปล้ำอยู่กับบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยในน้ำลึกถึงเอว เพื่อช่วยเหลือบุตรสาวและบุตรเขยให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมายที่กำลังมีอยู่โดยไม่พินิจพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าคนไหนเป็นคนร้าย คนไหนเป็นบุตรสาวบุตรเขย
คนร้ายมีอาวุธอะไรหรือไม่ เมื่อลูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงพลาดไปถูกบุตรเขยถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนาเพื่อป้องกันผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 222/2513 พี่สาวจำเลยกับ ฉ. ด่าท้าท้ายและจะทำร้ายกันจำเลยจึงถือปืนลูกซองยาวบรรจุกระสุนปืนพร้อมเข้าไปยืนห่าง ฉ. เพียง 3 วา เป็นเชิงท้าทาย เมื่อ ฉ.
ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าป้องกันตัวไม่ได้ และเมื่อกระสุนปืนที่จำเลยยิงไปนั้นยังพลาดไปถูก ป.ถึงแก่ความตาย จำเลยก็มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นอีกด้วย)
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
มาตรา 60
-
(ขส เน 2512/
5) กรอบจะยิงตัวตาย แต่ไกปืนแข็ง ให้กล่ำจับปืน โดยกรอบเหนี่ยวไกเอง /
กระสุนไม่ถูกกรอบ แต่กระสุนพลาดไปถูกนายก้อนบาดเจ็บ / กรอบไม่ผิด
ม 288 เพราะเป็นการฆ่าตนเอง แม้กระสุนพลาดไปถูกก้อน
ก็ไม่ใช่การกระทำโดยพลาดตาม ม 60 ทั้งไม่ปรากฏว่ากรอบกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
ในผลร้ายที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น จึงไม่เป็นการทำให้ก้อนได้รับบาดเจ็บโดยประมาท / กล่ำผิดฐานพยายามฆ่ากรอบ
ม 288+80 และผลร้ายเกิดขึ้นแก่นายก้อนโดยพลาด
กล่ำจึงผิดฐานพยายามฆ่าก้อนด้วย ตาม ม 288+80+60
-
(ขส พ 2515/
6) แดงข่มเหงดำ ดำบันดาลโทสะแทงแดง พลาดไปถูกเขียว
เขียวโกรธวิ่งไปเอาปืนที่บ้านมายิงดำ แต่ลืมบรรจุกระสุนปืนไว้ / ดำผิด
ม 295,60 อ้างบันดาลโทสะได้ ม 72
ฎ 1682/2509 / เขียวผิด
ม 288,81 อ้างบันดาลโทสะได้ ม 72
ฎ 247/2478
-
(ขส พ
2519/ 6) ดินเอาก้อนหินขว้างน้ำ น้ำหลบหัวชนเรือ
ตกน้ำตาย ดินผิด ม 290 เพราะดินมีเจตนาทำร้าย น้ำหลบ
คิ้วแตกเป็นผลจากการกระทำของดิน ฎ 895/2509 / ไม่มีเจตนาฆ่า ฎ 150/2489 / ก้อนหินถูกตะเกียง
ไม่ผิด ม 358 เพราะไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ ไม่อาจเล็งเห็นผล
และไม่มีกฎหมายให้ต้องรับผิดกรณีทำให้เสียทรัพย์โดยประมาท ทั้งไม่ใช่ ม 60
-
(ขส พ 2523/
8) อู๋หยุดรถให้เม้งแซง แล้วหักรถให้ท้ายรถปัดถูกหน้ารถเม้ง
เกือบตกถนนสูงประมาณครึ่งเมตร หน้ารถพัง เม้งชักปืนยิงอู๋
กระสุนพลาดไปถูกผู้โดยสารในรถอู๋ / อู๋ผิด ม 358
ถนนสูง ย่อมคาดหมายได้ว่าถ้าตกถนน จะได้รับอันตราย อู๋เล็งเห็นผลได้
จึงผิด ม 295+80 ฎ 1003/2512 / เม้งยิงอู๋ขณะโทสะ
กระสุนพลาดไป ผิด ม 288+80+60+72 ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดเพียงใดก็ได้
ฎ 1682/2509
-
(ขส อ 2519/
7) ตีสลบ คิดว่าตายแล้ว เอาไปแขวนพรางคดี ผิด ม 290
ฎ 1395/2518 (ไม่ผิด
ม 199 + 80+81 / + ปวิอ
ม 150 ทวิ เพราะขาดองค์ประกอบภายนอก
ตอนเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียหาย ผู้เสียหายยังไม่ตาย จึงไม่มีศพ และการพรางศพ
ตามองค์ประกอบภายนอก)
-
(ขส อ 2522/
5) ใหญ่ชกโต โตหลบ เซไปถูกเล็ก ใหญ่ ผิด ม 295+60
-
(ขส อ 2523/
5) ใหญ่ไปแอบซุ่มยิง แต่ยิงผิดคนโดยสำคัญผิด
ถูกนายโต เป็นรอยไหม้ แล้วเลยไปถูกบิดานายใหญ่ สาหัส / ต่อโต
ผิด ม 289 (4) + 80 + 61 ฎ 70/2493
/ ต่อบิดา ผิด ม 289 (4) + 60 + 61 ไม่รับผิด
ม 289 (1) / เป็นกรรมเดียว จะโทษพยายามฆ่าโต
หรือบิดาก็ได้ โทษเท่ากัน ฎ 241-2/2504
-
(ขส
อ 2529/ 5) ดักยิงขโมย
แต่ยิงเงาต้นไม้ โดยสำคัญผิด พลาดไปถูกม้าแดงตาย และแดงตกม้าสาหัส / ซุ่มยิง
ผิด ม 289 (4) + 81 ไม่เป็นป้องกัน ม 68
/ ถูกม้าแดงตาย ไม่มีเจตนา ม 358 ไม่ผิด (และไม่ใช่พลาด
ม 60 ต่างเจตนา) / แดงสาหัส
ผิด ม 300
-
(ขส อ 2530/
2) ปืนตีหัว ลั่นไปถูกผู้อื่น ตายและสาหัส
/ ตีหัว ม 295 / ปืนลั่น
ไม่เจตนา ไม่ใช่พลาด ม 288+297+60 / แต่เกิดจากประมาท
ม 291+300 / + ม 371 / + 291+295+300 + 90 และ
ม 371 91
-
(ขส อ 2530/
5) ราษฎรจับผู้ร้าย ขณะกำลังลักทรัพย์ แล้วคุมตัว เพื่อส่งให้ตำรวจ
พี่ชายของผู้ต้องหา มาช่วยเหลือในขณะนั้น ผิด ตาม ม 191
+ 81 (ธงคำตอบ
ออกแนวว่าไม่ถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก แต่ถือว่าไม่บรรลุผลได้อย่างแน่แท้)
-
(ขส อ 2531/
5) ชักปืนเล็งเล็ก ถูกปัด ปืนลั่น เบิ้มตาย คนชักปืน
ผิด ม 288 + 80 + 60 คนปัด ไม่ผิด
เพราะไม่มีเจตนาฆ่า และไม่ถือว่าประมาท เพราะกระทันหันเพื่อช่วยชีวิต
เป็นกรณีเร่งด่วน จะใช้ความระมัดระวังไม่ให้ถูกผู้อื่นด้วย คงทำไม่ได้
-
(ขส อ 2533/
3) ขาวขว้างหินและยิงปืนเข้าไปในบ้าน แดงยิงเป็นการป้องกัน ไม่ผิด ตาม
ม 68 ดำภรรยาเข้าไปปัดปืน ปืนลั่นถูกบิดาแดง
แดงไม่ผิด ไม่ต้องรับผลจากการที่กระสุนไปถูกเขียว (เล็งแล้ว
ปืนลั่น เป็นพลาด ม 60 ได้ ดู อ เกียรติขจร / เรื่องนี้ตรวจดูว่า
ถึงขั้นลงมือหรือยัง หรือปืนลั่นก่อนยกขึ้นเล็ง )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น