ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

“ลักลอบขุดดิน”

โจทก์เป็นหน่วยราชการที่..........ว่าจ้างจำเลยทำการก่อสร้างและปรับปรุงสถานที่ ต่อมาเมื่อจำเลยปรับปรุงสถานที่แล้วได้ส่งมอบงานให้โจทก์ โจทก์ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว มีการร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่าในระหว่างที่จำเลยทำการปรับปรุงพื้นที่นั้น จำเลยได้ลักลอบขุดดินในที่ราชพัสดุของ......... จึงมีการตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบพบว่ามีบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณ..........พบว่ามีดินถูกขุดไป ๑๙,๕๗๐ ลบเมตรเชื่อว่าจำเลยเป็นคนขุดดินไปจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพวกที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่นร่วมกันกระทำความผิด เป็นความผิดลักทรัพย์ในสถานที่ราชการซึ่งมีอายุความ ๑๐ ปี แต่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องจำเลย ในทางแพ่งจำเลยต้องส่งดินคืนแก่โจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาโดยขอคิดดอกเบี้ยร้อยละ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด(๕มิถุนายน ๒๕๔๐) จำเลยต่อสู้ว่า เจ้าหน้าที่โจทก์รายงานว่าจำเลยลักลอบขุดดินตั้งแต่ ๑๑ ส.ค. ๒๕๔๘ โจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดอันจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘โจทก์ได้มอบหมายให้ อธิบดีกรม.....ฟ้องคดีนี้ โดยลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ดำรงค์ตำแหน่งในขณะนั้นและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกลักดิน ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหามูลละเมิดนั้น โดยฟ้องโจทก์เล่าแต่เพียงมีผู้ร้องเรียนและมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและมีผลสรุปและความเห็นให้ดำเนินคดีกับจำเลยเท่านั้น ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยเข้าไปขุดดินในที่ดินของโจทก์แต่อย่างใดและไม่บรรยายให้จำเลยทราบว่าที่ดินแปลงใดมีการลักลอบขุดดินและเป็นที่ดินมีโฉนดหรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หมายเลขใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง จำเลยยอมรับว่าได้รับว่าจ้างจากโจทก์แต่จำเลยไม่ได้ลักลอบขุดดินไป โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ทนราบว่าดินที่หายเป็นดินชนิดใดมีคุณสมบัติตรงกับที่กำหนดในแบบก่อสร้างหรือไม่การกล่าวอ้างจำเลยเป็นคนขุดเป็นพียงข้อสันนิษฐานจ่ากรายงานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น เพราะจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งการสอบสวนยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ได้ฟ้องต่อศาล จึงไม่ยุติว่าจำเลยเป็นคนลักดินพิพาทไป โจทก์จึงไม่อาจกล่าวหาว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อเป็นการกระทำผิดทางอาญาที่มีอายุความ ๑๐ ปี คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ยังไมได้ฟ้อง จำเลยเป็นเพียงผู้ต้องหาเท่านั้น ตราบใดคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ไม่อาจอาศัยอายุความในคดีอาญามาบังคับคดีละเมิดนี้ได้ โจทก์ต้องฟ้องตามอายุความใน ปพพ มาตรา ๔๔๘ เมื่อมีการรายงานเหตุลักลอบขุดดินเมื่อ ๑๑ ส.ค.๒๕๔๘และโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดเมื่อ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘ได้มอบอำนาจให้ทำการฟ้องคดีนั้นไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดอันจะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่กรม......ยังไม่แปรสภาพเป็นกรม..... ประกอบกับเมื่อมีหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยลักลอยขุดดินไป เมื่อวันที่ ๙ กค ๒๕๔๔ มีคำสั่งให้ทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยปลัดกระทรวงทราบเรื่องและแจ้งคำสั่งต่อไปยังอธิบดีเมื่อ ๑๑ กค ๒๕๔๔ อธิบดีจึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนข้อเท็จจริงถือได้ว่าอธิบดีดีรู้ถึงเหตุแห่งการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ กค ๒๕๔๔ หรืออย่างช้าก็จะรู้ว่าเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้ทำการสอบสวนเสร็จและอธิบดีลงนามรับทราบการสอบสวนเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕ กรม.......เท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้เสียหาย เมื่อกรม .....ได้ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว แต่โจทก์มาฟ้องเมื่อวันที่ ๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ เกินกว่า ๑ ปี คดีขาดอายุความ ศาลชั้น้ต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักลอบขุดไปหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาคิดเป็นเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ๗.๕นับแต่วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๒ จนกว่าชำระเสร็จ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้น้ต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาให้เสร็จตามรูปคดี โจทก์ฏีกา ศาลฏีกาพิพากษากลับให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฏีกา ศาลฏีกาพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ นั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องแพ่งให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักไปหรือให้ชดใช้ราคาจึงเป็นการใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ปอ ซึ่งมีอายุความตั้งแต่ ๑๐ ปี ยาวกว่าอายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่งจึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘วรรคสอง แม้พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาก็ตาม เป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ฟ้องทางอาญา ซึ่ง ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญาสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จะฟ้องแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา จึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ โจทก์อ้างว่าจำเลยขุดดินวันที่ ๕ มิ.ย. ๒๕๔๐ถึงวันที่ ๑ ส.ค.๒๕๔๑ โจทก์ฟ้องวันที่๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ ยังไม่พ้น ๑๐ ปี ไม่ขาดอายุความ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ นั้นเห็นว่า ตามฏีกาจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนที่จำเลยฏีกาว่าเป็นเรื่องผิดเงื่อนไขในสัญญาระหว่างกรม.....กับจำเลย จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำนวนดินที่ถูกลักไปมีจำนวน ๑๙,๕๗๐ ลบเมตร ขอให้จำเลยส่งมอบดินจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งมอบดินจำนวน ๑๙,๗๕๐ ลบ เมตร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในฟ้องและการสืบพยาน เชื่อว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดจึงเห็นสมควรแก้ไข นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดหลังฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒ อยู่แล้วไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคต ๑๐๐ บาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฏีกาให้คืนจำเลย คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๘๑ /๒๕๖๐......
ข้อสังเกต ๑.อายุความหรือสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด หากฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือพ้น ๑๐ ปีนับแต่วันทำละเมิด เป็นอันขาดอายุความ ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคแรก
๒.แต่หากความเสียหายในมูลละเมิดมาจากมูลความผิดที่มีโทษทางอาญา และกำหนดโทษทางอาญายาวกว่า ให้เอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ คือเอาอายุความทางอาญามาใช้บังคับ ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคสอง คือต้องไปดูบทบัญญัติว่าด้วยอายุความใน ปอ มาตรา ๙๕ มาใช้บังคับ ซึ่งมีอายุความตั้งแต่ ๑ ปีถึง ๒๐ ปีแล้วแต่ความผิดอาญาที่ได้กระทำ ซึ่งอายุความในทางอาญาส่วนใหญ่แล้วจะยาวกว่าอายุความทางแพ่ง
๓. เมื่อยังไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่ง เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นอันระงับไปตามกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฏหมายอาญาว่าด้วยอายุความ มาตรา ๙๕ บัญญัติไว้ ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก คือหากไม่มีการฟ้องคดีอาญา เช่นผู้ต้องหาถึงแก่ความตาย หรือมีการถอนคำร้องทุกข์ ยอมความในคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจะมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีก็ไม่มีการฟ้องผู้ต้องหาในทางอาญา หรือกรณีป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดผู้ที่ป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายหรือกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมายไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่ง ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคแรก แต่ผู้เสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมาย เมื่อเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๖๘ หรือกระทำการตามคำสั่งเจ้าพนักงานแม้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฏหมายแต่ผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องกระทำ ผู้ต้องนั้นไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๗๐ จึงเป็นกรณีที่กฏหมายบัญญัติยกเว้นโทษไว้ตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๗) พนักงานอัยการจะมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีไม่มีการฟ้องผู้ต้องหา 
๔.ในกรณีดังกล่าวผู้ที่ได้รับความเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือจากบุคคลที่ออกคำสั่งโดยละเมิดได้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคสอง ในกรณีนี้จึงเป็นกรณีที่ไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่ง เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฏหมายอาญาว่าด้วยอายุความ มาตรา ๙๕ บัญญัติไว้ เช่น คนร้ายสามคนขึ้นมาปล้นทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธปืนและได้ยิงผู้เสียหายก่อน ผู้เสียหายจึงยิงตอบ กระสุนปืนถูกคนร้ายได้รับบาดเจ็บและกระสุนปืนยังไปถูกนาย ก เพื่อนบ้านอีก การกระทำของผู้เสียหายเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตนให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมาย เป็นภยันตรายใกล้จะถึงหรือถึงแล้ว จึงได้ใช้ปืนยิงตอบโต้คนร้ายที่ยิงมาก่อน ปืนกับปืนได้สัดส่วนกัน และเป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะป้องกันตนเองและทรัพย์สินให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมาย จึงเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าคนร้ายตาม ปอ มาตรา ๖๘,๘๐,๒๘๘ ผู้เสียหายเจตนายิงคนร้ายเพื่อป้องกันตนเองและทรัพย์สินให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย แต่ผลของการกระทำนอกจากกระสุนปืนถูกคนร้ายแล้วผลของการกระทำยังไปเกิดกับนาย ก. เพื่อนบ้านที่ถูกลูกหลงเป็นการกระทำโดยพลาด เมื่อเจตนายิงคนร้ายเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะพลาดไปถูกนาย ก. ก็เป็นการพยายามฆ่าโดยพลาดโดยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีความตาม ปอ มาตรา ๖๐,๖๘,๘๐,๒๘๘ ผู้เสียหายไม่ต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่นาย ก. ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคแรก แต่นาย ก.อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากคนร้ายผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องมีการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคสอง เป็นกรณีที่ไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์นาย ก.ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนต้องฟ้อง ภายในกำหนดอายุความในทางอาญา ซึ่งความผิดฐานพยายามฆ่า รับโทษ ๒ใน ๓ ของโทษฐานฆ่าตาม ปอ มาตรา ๘๐ ความผิดฐานฆ่าตามปอ มาตรา ๒๘๘มีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต การรับโทษ ๒ ใน ๓ คือการลดโทษ ๑ ใน ๓ ดังนั้นการลดโทษประหารชีวิตลง ๑ ใน ๓ คือ การจำคุกตลอดชีวิตตาม ปอ มาตรา ๕๒(๑) ซึ่งเมื่อมีโทษจำคุกตลอดชีวิตมีอายุความฟ้องร้อง ๒๐ ปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนั้นหากไม่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีย่อมขาดอายุความ
๕.การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางวินัยเพื่อหาตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง แม้อธิบดีจะทราบเรื่องว่ามีการลักดินไปก็ตาม แต่ตราบใดที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงยังไม่รายงานผลสรุปอย่างเป็นทางการว่ามีการกระทำละเมิดอย่างไร และใครเป็นคนทำละเมิด จะถือว่าอธิบดีทราบเหตุแห่งการละเมิดและทราบตัวผู้กระทำละเมิดในวันแต่ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงยังไม่ได้ เพราะในขนาดนั้นยังไม่ปรากฏชัดว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นอย่างไร ความเสียบหายเท่าใด ใครเป็นคนทำละเมิด ตราบที่คณะกรรมการทำรายงานสรุปผลการสอบข้อเท็จจริงมาให้อธิบดีทราบเมื่อใดจึงถือว่าเป็นวันที่ผู้เสียหายทราบการกระทำละเมิดและทราบตัวผู้กระทำผิด หากยังไม่เกิน ๑ ปีนับแต่วันนั้นถือว่าคดีไม่ขาดอายุความ
๖..ข้อต่อสู้ที่ว่า....ฟ้องคดีนี้ โดยลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ดำรงค์ตำแหน่งในขณะนั้นและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม นั้นเห็นว่า ผู้ที่มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นการมอบอำนาจโดยอาศัยตำแหน่ง ในขณะเกิดเหตุอาจมีนาย ก. เป็นปลัดกระทรวง แต่ต่อมาเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้รับผิดทางละเมิด นาย ก อาจพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงไปแล้ว นาย ข. อาจมานั่งเป็นปลัดกระทรวง การที่นาย ข. มอบอำนาจให้อธิบดีทำการยื่นฟ้องจึงเป็นไปตามกฏหมายระเบียบแบบแผนทางราชการ จะมาต่อสู้ว่า นาย ก. ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้อง จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพราะนาย ข. ไม่ใช่ปลัดกระทรวงในขณะนั้นหาได้ไม่ 
๗.ข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกลักดิน เพราะเดิมที่ดินที่ถูกลักไปเป็นของกรม ก. ต่อมามีมาพรก.โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ส่วนราชการในส่วนของกรม ก.มาเป็นกรม ข. ก็ตาม ก็เป็นเรื่องการโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่จากกรมหนึ่งไปอีกกรมหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่มิใช่โอนเพียงการบริหารและอำนาจหน้าที่ของกรมหนึ่งไปอยู่อีกกรมหนึ่งแต่รับโอนไปทั้งสิทธิ์หน้าที่และทรัพย์สินด้วย แม้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ก็ตาม แต่กรม ก. ก็เป็นผู้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวที่ถูกลักไปถือเป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกลักไปจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงที่มีอำนาจฟ้องได้ เพราะในความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานบุกรุก ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองคือผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว เมื่อกรม ก. เป็นผู้ครอบครองจึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อโอนกิจการอำนาจหน้าที่ให้กรม ข ไปแล้ว กรม ข.ย่อมถือเป็นผู้เสียหายด้วย 
๘.ข้อต่อสู้ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหามูลละเมิดนั้น โดยฟ้องโจทก์เล่าแต่เพียงมีผู้ร้องเรียนและมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและมีผลสรุปและความเห็นให้ดำเนินคดีกับจำเลยเท่านั้น ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยเข้าไปขุดดินในที่ดินของโจทก์แต่อย่างใดและไม่บรรยายให้จำเลยทราบว่าที่ดินแปลงใดมีการลักลอบขุดดินและเป็นที่ดินมีโฉนดหรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หมายเลขใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นั้นเห็นว่า ฟ้องได้บรรยายแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุในท้องที่ตำบลอำเภอจังหวัดใดตามแผนที่ราชพัสดุที่ ........และตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่...........รวมเนื้อที่เท่าใดโดยได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ครอบครองที่ดินดังกล่าว และได้ว่าจ้างจำเลยก่อสร้างต่อเติมปรับปรุงพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตที่ดินดังกล่าว ต่อมาที่ดินดังกล่าวถูกลักตักหน้าดินไป จึงเป็นฟ้องที่บรรยายสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ปวพ มาตรา ๑๗๒ แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม 
๙.ข้อต่อสู้ที่ว่า “ จำเลยยอมรับว่าได้รับว่าจ้างจากโจทก์แต่จำเลยไม่ได้ลักลอบขุดดินไป โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ทราบว่าดินที่หายเป็นดินชนิดใดมีคุณสมบัติตรงกับที่กำหนดในแบบก่อสร้างหรือไม่การกล่าวอ้างจำเลยเป็นคนขุดเป็นพียงข้อสันนิษฐานจากรายงานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น เพราะจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งการสอบสวนยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ได้ฟ้องต่อศาล จึงไม่ยุติว่าจำเลยเป็นคนลักดินพิพาทไป โจทก์จึงไม่อาจกล่าวหาว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์” นั้นเห็นว่า ดินที่ถูกลักไปเป็นดินชนิดใด มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดในแบบก่อสร้างนั้นเป็นเพียงลายละเอียดในชั้นนำสืบพยาน หาใช่ต้องบรรยายฟ้องให้ละเอียดถึงขนาดนั้น บรรยายฟ้องเพียงว่าที่ดินที่ถูกลักอยู่ที่ใดตั้งอยู่ที่ไหนก็เพียงพอแล้ว การบรรยายฟ้องเพียงให้จำเลยเข้าใจการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและลายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆอีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้นั้นก็เพียงพอตามที่บัญญัติไว้ใน ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕)แล้ว หาจำต้องใส่ลายละเอียดทุกอย่างลงไป ลายละเอียดต่างๆเป็นเรื่องในทางการนำสืบ 
๑๐.แม้จะยังไม่มีการฟ้องจำเลยและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้ทำการลักทรัพย์ก็ตาม การที่ยังไม่มีการฟ้องคดีเนื่องจากอยู่ระหว่างทำการสอบสวนข้อเท็จจริง การที่จำเลยสามารถเข้ามาทำการก่อสร้างปรับปรุงในที่ดินดังกล่าวจนมีการลักตักหน้าดินไปก็เป็นที่พึ่งสันนิษฐานได้ว่าจำเลยน่าเป็นผู้กระทำผิด เพราะจำเลยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุมีรถตักดินและอุปกรณ์ในการตักดิน ลำพังบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้รับการว่าจ้างให้มาปรับปรุงพื้นที่ย่อมไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาในบริเวณที่เกิดเหตุได้ และดินที่หายไปก็หายไปเป็นจำนวนมากซึ่งลำพังคนธรรมดาที่ไม่มีเครื่องจักรไม่สามารถตักและขนเอาดินดังกล่าวไปได้ 
๑๑.การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการตาม ปอ มาตรา ๓๓๔,๓๓๕(๘) ซึ่งระวางโทษจำคุก ๑ ปี ถึง ๗ ปีและปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ บาทถึง ๑๔,๐๐๐ บาท ตาม ปอ มาตรา ๓๓๕วรรคสองนั้นเมื่อความผิดมีอัตราโทษจำคุกไม่ถึง ๗ ปีจึงมีอายุความ๑๐ ปีตาม ปอ มาตรา๙๕(๓) การฟ้องให้จำเลยคืนดินที่ลักไปหรือหากไม่สามารถคืนดินได้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดในมูลที่เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา และกำหนดอายุความทางอาญา คือ๑๐ ปีตาม ปอ มาตรา ๙๕(๓) ซึ่งยาวกว่าอายุความทางแพ่ง ๑ ปีตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ จึงต้องนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าคือ ๑๐ ปีมาใช้บังคับตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคสอง 
๑๒.ข้อต่อสู้ที่ว่า “กระทำผิดทางอาญาที่มีอายุความ ๑๐ ปี คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ยังไมได้ฟ้องจำเลย จำเลยเป็นเพียงผู้ต้องหาเท่านั้น ตราบใดคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ไม่อาจอาศัยอายุความในคดีอาญามาบังคับคดีละเมิดนี้ได้ โดยโจทก์ต้องฟ้องตามอายุความใน ปพพ มาตรา ๔๔๘ เมื่อมีการรายงานเหตุลักลอบขุดดินเมื่อ ๑๑ ส.ค.๒๕๔๘และโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดเมื่อ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘ได้มอบอำนาจให้ทำการฟ้องคดีนั้นไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดอันจะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่กรม..ก....ยังไม่แปรสภาพเป็นกรม..ข... ประกอบกับเมื่อมีหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยลักลอยขุดดินไป เมื่อวันที่ ๙ กค ๒๕๔๔ มีคำสั่งให้ทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยปลัดกระทรวงทราบเรื่องและแจ้งคำสั่งต่อไปยังอธิบดีเมื่อ ๑๑ กค ๒๕๔๔ อธิบดีจึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนข้อเท็จจริงถือได้ว่าอธิบดีดีรู้ถึงเหตุแห่งการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ กค ๒๕๔๔ หรืออย่างช้าก็จะรู้ว่าเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้ทำการสอบสวนเสร็จและอธิบดีลงนามรับทราบการสอบสวนเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕ “ นั้นเห็นว่าการทราบเป็นเพียงการทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมื่อยังไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการมาหาตัวผู้กระทำความผิดจะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดยังหาได้ไม่ 
๑๓ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาให้เสร็จตามรูปคดี โจทก์ฏีกา ศาลฏีกาพิพากษากลับให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฏีกา ศาลฏีกาพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ นั้น เห็นว่า .โจทก์ฟ้องแพ่งให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักไปหรือให้ชดใช้ราคาจึงเป็นการใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการตาม ปอ มาตรา ๓๓๔,๓๓๕ ซึ่งมีอายุความ ๑๐ ปี ยาวกว่าอายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่งจึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘วรรคสอง แม้พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาก็ตาม เป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ฟ้องทางอาญา ซึ่ง ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญาสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จะฟ้องแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา จึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ โจทก์อ้างว่าจำเลยขุดดินวันที่ ๕ มิ.ย. ๒๕๔๐ถึงวันที่ ๑ ส.ค.๒๕๔๑ โจทก์ฟ้องวันที่๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ ยังไม่พ้น ๑๐ ปี ไม่ขาดอายุความ 
๑๔.ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ นั้นเห็นว่า ตามฏีกาจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนที่จำเลยฏีกาว่าเป็นเรื่องผิดเงื่อนไขในสัญญาระหว่างกรม.....กับจำเลย จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้ 
๑๕.โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำนวนดินที่ถูกลักไปมีจำนวน ๑๙,๕๗๐ ลบเมตร ขอให้จำเลยส่งมอบดินจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งมอบดินจำนวน ๑๙,๗๕๐ ลบ เมตร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในฟ้องและการสืบพยาน เชื่อว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดจึงเห็นสมควรแก้ไข เป็นเรื่องผิดหลงผิดพลาดเล็กน้อยน่ามาจากการพิมพ์ผิดพลาดพิมพ์เลขสลับที่กัน การที่ศาลฏีกาแก้ไขเป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงตาม ปวพ มาตรา ๑๔๔(๑),๒๔๖,๒๔๗
๑๖.นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดหลังฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒(๓) อยู่แล้วไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคต ๑๐๐ บาท โดยศาลสามารถพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้อยู่แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในเงินจำนวนดังกล่าว ไม่ใช่ค่าขึ้นศาลในอนาคตที่ต้องเรียกเก็บ การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฏีกา การเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวมาจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฏหมายได้เป็นทางให้จำเลยเสียเปรียบตาม ปพพ มาตรา ๔๐๖ จำเลยมีสิทธิ์ได้รับคืนเงินดังกล่าว

“พรากเพราะรัก หรืออายุเป็นเหตุ”

๑. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์มุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลมิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆอันเป็นผลกระทบกระทั้งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย ไม่ว่าผู้เยาว์จะไปอยู่ที่แห่งใด หากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา หรือผู้ดูแลตลอดเวลา กฎหมายไม ได้จำกัดว่า พรากโดยวิธีการอย่างใดและไม่ว่าผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายออกจากบ้านไปเองโดยมีผู้ชักนำหรือไม่มีผู้ชักนำก็ตาม ก็เป็นความผิดทั้งสิ้น การที่ผู้เยาว์ไปหาจำเลยที่บ้าน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายนัดหมายชักชวนกันก่อนแล้วจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากไปโดยปริยาย การที่ผู้เยาว์โทรศัพท์หาจำเลยว่า จะหนีออกจากบ้านไปพัทยาและนัดพบจำเลย เมื่อพบกันจำเลยไม่ยอมให้ผู้เยาว์ไปตามลำพังแต่จำเลยขอไปด้วย โดยเปิดห้องพักอยู่ด้วยกัน ๒ คืน ผู้เยาว์เป็นผู้ชำระห้องพักและค่าใช้จ่าย ทึ้งผู้เยาว์ยังให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีด้วยก็ตาม แต่จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ทุกคืน พฤติการณ์จำเลยไม่ใช่ไปเป็นเพื่อนแต่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารทั้งสองกรณี คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๔๙๒/๒๕๕๒
๒. ผู้เสียหายอายุ ๑๖ ปีเศษ อาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา แม้ผู้เสียหายไปเที่ยวที่ไหนกลับเมื่อใดก็ได้ ก็ยังอยู่ในอำนาจปกครองบิดามารดา จำเลยพบผู้เสียหายที่งานบวชพระแล้วพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราด้วยความสมัครใจผู้เสียหาย เป็นการล่วงอำนาจปกครองบิดามารดาเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ พรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจหรือไม่ ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๓๑๘ ทางพิจารณาได้ความทำผิดตามปอ มาตรา ๓๑๙ ศาลปรับบทลงโทษไม่ใช่เรื่องทางพิจารณาต่างจากฟ้อง คำพิพากษาฏีกา ๔๔๖๕/๒๕๓๐
๓. จำเลยมีภรรยาอยู่แล้ว ยังไม่ได้เลิกกับภรรยา ได้พาผู้เสียหายไปร่วมประเวณีโดยไม่มีเจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันท์ภรรยา เมื่อทราบว่าการกระทำของตนเป้นความผิดจึงให้มารดาไปขอขมาและนำเงินชดใช้ค่าเสียหายให้เพื่อไม่ให้ดำเนินคดีกับจำเลย แม้ฟังว่าผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยลัได้ร่วมประเวณีกับจำเลยก็เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา๑๒๘๗/๒๕๓๓
๔. ผู้เสียหายเต็มใจไปกับจำเลย หลังจากจำเลยพาผู้เสียหายไปแล้ว ญาติทั้งสองฝ่ายตกลงจัดพิธีแต่งงาน มีการมอบสินสอดทองมั่นให้ผู้ใหญ่ฝ่ายผู้เสียหายรับไปบางส่วน เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาถึงบ้าน ญาติผู้ใหญ่ผู้เสียหายจัดพิธีบอกผีบ้านผีเรือนตามประเพณีก่อนให้ผู้เสียหายเข้าบ้านพฤติการณ์ที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนั้นมีเจตนาพาไปเป็นภรรยาตั้งแต่แรก จำเลยไม่มีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเป็นภรรยา แม้ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ก็ไม่เป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของมารดา แม้จำเลยร่วมประเวณีกับผู้เสียหายระหว่างพักอยู่ด้วยกัน ก็ไม่ใช่การพาไปเพื่อการอนาจาร ไม่เป้นความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๔๕๘๗/๒๕๓๒
๕. ผู้เสียหายอายุ ๑๕ ปีเศษ ไปอยู่กับญาติที่บ้านอยู่ใกล้กัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะทะเลาะกับมารดาหรือมารดานำไปฝากก็ไม่ถือพ้นอำนาจปกครองของมารดา การที่ญาติผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายไปเอาหม้อยากับจำเลย แล้วจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย ทำให้กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๖๒๓๙/๒๕๓๑
๖. ผู้เสียหายอายุ ๑๕ ปีเศษไม่ได้พักอาศัยกับมารดา เพราะมารดานำไปฝากไว้กับผู้อื่นก็ไม่ถือพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา พาผู้เสียหายไปโดยมารดาไม่ยินยอมเป็นการล่วงอำนาจปกครองมารดา แม้ผู้เสียหายสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดา เป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากมารดา กากรกระทำอนาจารตาม ปอ มาตรา ๒๘๒และ ๓๑๙ หมายถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่น ซึ่งต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของบุคคลโดยตรงจะทำในที่รโหฐานหรือในที่สาธารณะก็ไม่มีผลแตกต่างกัน การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ถูกจำเลยพาไปในห้อองของโรงแรม แม้เป็นที่มิดชิด แต่ก็เป็นการกระทำในทางที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำเพื่ออนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๑๖๒๗/๒๕๓๙
๗. คำว่า “ ผู้ปกครอง”ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๙ หมายถึงผู้ใช้อำนาจปกครองอย่างบิดามารดา ผั้เสียหายเป็นผู้ปกครองและดูแลผู้เยาว์ในฐานะน้าและนายจ้าง โดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปจากผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันควรเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙. คำพิพากษาฏีกา ๕๐๓๘/๒๕๓๙
๘. ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไปทำงานพักอยู่ที่บ้าน น. ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับบ้านที่ตราดเพื่อเที่ยวสงกรานต์ ระหว่างนั้นบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่ง แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปดังนี่ ถือว่าระหว่างผู้เสียหายทำงานพักอยู่ที่บ้าน น. ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความปกครองของ น. ที่กรุงเทพ ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความคุ้มครองของ น. เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาบ้านที่ตราด ผู้เสียหายย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่บิดามารดาอนุญาตให้ไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งไม่เป็นเหตุให้พ้นจากความปกครองของบิดามารดา เมื่อจำเลยพาไปจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่ง ปอ มาตรา ๓๑๙ ตระหนักว่าผู้เยาว์อายุไม่เกิน ๑๘ ปี ยังขาดความสำนึกต่อเลห์กลทุรชนอาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อโดยง่าย สภาพที่บิดามารดาพยายามตามเรื่องที่บุตรหายไป แสดงว่าผู้เสียหายไม่ได้มีความประพฤติส่ำส่อนจนบิดามารดาหมดความห่วงใย การที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปก่อความทุกข์ใจใหญ่หลวงแก่บิดามารดา พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุรอการลงอาญา คำพิพากษาฏีกา๑๘๐๐/๒๕๔๑
๙. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากพาผู้เสียหายที่เป็นหญิงอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ไปเสียจากบิดามารดาด้วยเจตนาเพื่ออยู่กินเป็นสามีภรรยากับผู้เสียหายโดยสุจริต แม้ผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการพรากพาไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๑๐๙๗/๒๕๑๓
๑๐. จำเลยเขียนจดหมายนัดผู้เสียหายอายุ ๑๔ ปีไปอยู่ด้วยกัน บอกให้เอาเงินและของมีค่าไปด้วย จำเลยพาผู้เสียหายไปเบิกเงินจากธนาคารทั้งหมดเอามาเก็บไว้เสียเองและแบ่งให้มารดาจำเลยครึ่งหนึ่ง จำเลยพาผู้เสียหายย้ายที่อยู่หลายแห่ง เมื่อมารดาผู้เสียหายตามไปพบที่ต่างจังหวัด จำเลยหนีการจับกุมไปได้ ไม่กล้าสู้ความจริงว่าพาไปเป็นภรรยา ไม่มาตกลงกัน พฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายโดยยกความรักใคร่ฉันท์ชู้สาวมาอ้างกลบเกลื่อนความคิดกระทำอนาจาร และหลอกเอาทรัพย์สินมีค่าของผู้เสียหาย จำเลยมีภรรยาแล้ว และขณะพาผู้เสียหายหลบหนี จำเลยก็ยังอยู่กินกับภรรยา เป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๓๒๘/๒๕๒๗
๑๑. จำเลยชวนผู้เสียหายอายุ ๑๗ ปีไปทานอาหารแล้วพาไปร่วมประเวณี โดยบิดามารดาผู้เสียหายไม่ทราบว่าผู้เสียหายไปไหน มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ แต่จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาจนผู้เสียหายตั้งครรถ์ ศาลฏีการอการลงโทษจำคุกให้จำเลย คำพิพากษาฏีกา ๑๙๖๑/๒๕๒๙
๑๒. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร มุ่งถึงการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรในทางเพศ แม้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารเพราะผู้เสียหายยินยอม แต่ก็เป้นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แม้บิดามารดาผู้เสียหายจะออกไปนอกบ้านขณะที่ผู้เสียหายออกจากบ้านและจำเลยได้พาไปที่ขหนำก็ตาม ยังถือว่าผู้เสียหายอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนอนค้างคืนที่ขนำในสวนโดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย แล้วจำเลยได้กอดปล้ำหอมแก้ม จับหน้าอกผู้เสียหาย ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย มีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ วรรคแรก โจทก์ฟ้องจำเลยพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย ตาม ปอ มาตรา ๓๑๘ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยกับจำเลยเป็นกรณีตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่งมีโทษเบากว่าศาลย่อมลงโทษจำเลยตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามประมวลกฏหมายอาญาบัญญัติไว้เป็นความผิดทั้งสองประการ คำพิพากษาฏีกา ๒๒๔๕/๒๕๓๗
๑๓. การที่จำเลยพาผู้เสียหายอายุ ๑๖ ปีไปด้วยความยินยอมผู้เสียหาย แล้วรับจะหาสินสอดไปให้บิดาผู้เสียหาย เมื่อหาเงินไม่ได้ก็ให้ผู้เสียหายกลับบ้าน หลังจากนั้นคืนเดียวจำเลยก็ได้หญิงอื่นเป็นภรรยา แสดงว่าจำเลยไม่ได้ตั้งใจจะเอาผู้เสียหายไปเลี้ยงดูเป็นภรรยาอย่างจริงจังแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ฟ้องว่าพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปตามมาตรา ๓๑๘ ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เยาว์เต็มใจไปอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลลงโทษจำเลยตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามประมวลกฏหมายอาญาก็บัญญัติว่าเป็นความผิดอยู่แล้ว คำพิพากษาฏีกา ๒๐๒๙/๒๕๓๐
๑๔. การที่ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุ ๑๕ ปีเศษ ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ออกจากห้องไปพูดจาปรับความเข้าใจกับจำเลยห่างจากห้องพักที่เกิดเหตุ ๑๐ เมตร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปพูดคุยกับจำเลย ยังไม่เป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เสียหาย ไม่เป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย ไม่เป้นความผิดพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๒๓๗๕/๒๕๔๑
๑๕. จำเลยกับผู้เยาว์รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น ๒๐ กว่าคืน แล้วกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์และพักที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก ๑๐ วัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่ใช่พาไปเพื่อการอนาจาร ไม่เป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๖๒/๒๕๑๓
๑๖. จำเลยพาผู้เสียหายที่เป็นหญิงอายุ ๑๗ ปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อเป็นภรรยาจำเลย โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภรรยาอยู่แล้ว ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๒๑๗๗/๒๕๑๗
๑๗. ชายอายุ ๒๑ ปี พาหญิงอายุ ๑๗ ปี ๙ เดือนไปจากมารดาผู้ปกครองเพื่ออยู่กินเป็นสามี โดยชายหญิงไม่มีสามีภรรยาหรือคนรักอื่น ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๖๘/๒๕๑๘
๑๘. จำเลยไม่เคยมีภรรยา รักใคร่ชอบพอผู้เสียหาย ผู้เสียหายหนีบิดามารดามาอยู่กับจำเลยโดยสมัครใจเป็นเวลา ๖ เดือน แล้วไปอยู่กับบิดาเพราะจำเลยขับไล่ไม่ใช่ถูกทอดทิ้ง หลังจากนั้นบิดาผู้เสียหายไปแจ้งความข้อหาพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร จำเลยส่งญาติผู้ใหญ่ไปขอขมา บิดาผู้เสียหายยอมรับขมาและยอมรับจำเลยเป็นบุตรเขย จำเลยอยู่บ้านผู้เสียหาย ๑ เดือนแล้วออกจากบ้านผู้เสียหายไปทำนาที่นครปฐมและไม่กลับมาหาผู้เสียหายอีกเลย ผู้เสียหายก็ไม่ต้องการไปอยู่กินกับจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการพรากผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภรรยาไม่ใช่เพื่อการอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๑๙๗/๒๕๒๕
๑๙. จำเลยกับผู้เสียหายเป้นคู่รักกัน เคยไปเที่ยวด้วยกันหลายนหน มีจดหมายรักถึงกัน คินเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปนอนพักที่บ้านคนอื่น บอกว่าพาเมียมาขอนอนพักด้วย ระหวว่างทานข้าวผู้เสียหายกับจำเลยก็หยอกล้อกัน เป็นการพาไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่ใช่เพื่อการอนาจาร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๑๖๙๖/๒๕๓๒
ข้อสังเกต๑.พรากผู้เยาว์อายุกว่า ๑๕ ปีแต่ไม่เกิน ๑๗ ปีไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙
๒..เด็กเกิดแต่หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิง แต่ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฏหมายของชาย ปพพ มาตรา ๑๕๔๖ เด็กจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายต่อเมื่อบิดามารดาได้จดทะเบียนกันภายหลัง บิดาจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปพพ มาตรา ๑๕๔๗
๓.อำนาจปกครองบุตรอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
๓.๑ มารดาหรือบิดาตาย
๓.๒ไม่แน่นอนว่าบิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว
๓.๓มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
๓.๔มารดาหรือบิดาเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
๓.๕ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดามารดา
๓.๖บิดามารดาตกลงกันตามที่กฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้ เช่น หย่าขาดจากกันให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับฝ่ายชาย เป็นต้น ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๖๖
๔.ผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่มีบิดามารดา หรือมีแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง อาจมีการตั้งผู้ปกครองในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๕
๕.อำนาจปกครองผู้เยาว์หมดไปเมื่อ
๕.๑ ถูกถอนอำนาจปกครอง เพราะตกเป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ในทางมิชอบ ประพฤติชั่วร้าย ญาติผู้เยาว์หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ถอนอำนาจปกครอง ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๒ ,๑๕๙๘/๘
๕.๒ ผู้อยู่ในอำนาจปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ ปพพ มาตรา ๑๕๗๘,๑๕๙๘/๖
๖.. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์มุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลมิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆอันเป็นผลกระทบกระทั้งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย ไม่ว่าผู้เยาว์จะไปอยู่ที่แห่งใด หากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา หรือผู้ดูแลตลอดเวลา กฎหมายไม ได้จำกัดว่า พรากโดยวิธีการอย่างใดและไม่ว่าผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายออกจากบ้านไปเองโดยมีผู้ชักนำหรือไม่มีผู้ชักนำก็ตาม ก็เป็นความผิดทั้งสิ้น 
๗.. ที่ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า “การที่ผู้เยาว์ไปหาจำเลยที่บ้าน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายนัดหมายชักชวนกันก่อนแล้วจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากไปโดยปริยาย” นั้นน่าจะหมายความว่าได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้พาผู้เยาว์ไปตามสถานที่ต่างๆได้แล้วไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เท่านั้น แต่ไม่น่าหมายความรวมถึงว่าเมื่อบิดามารดาผู้เยาว์อนุญาตให้ร่วมประเวณีได้แล้วไม่เป็นความผิดเพราะตามปอ มาตรา ๒๗๗,๒๗๙ การร่วมประเวณีหรือกระทำอนาจารแก่เด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีบริบรูณ์เป็นความผิดตามกฎหมาย แม้เด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นแม้บิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลจะยินยอมให้ร่วมประเวณีได้ แต่หากเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีแล้วก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ดี
๘. แม้ผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายก่อนโทรศัพท์หาจำเลยว่า จะหนีออกจากบ้านและนัดพบจำเลย แม้ ผู้เยาว์เป็นผู้ชำระห้องพักและค่าใช้จ่าย ทั้งยังให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีด้วยก็ตาม การที่จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ทุกคืน พฤติการณ์จำเลยไม่ใช่ไปเป็นเพื่อนแต่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร นั้นก็คือ ใครนัดใครก่อนไม่สำคัญ สำคัญที่ไปโดยได้รับอนุญาตจากบาดมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลหรือไม่เท่านั้น หากไมได้รับอนุญาตการไปกับผู้เยาว์ย่อมเป็นการล่วงอำนาจบิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลแล้วย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เมื่อพาไปแล้วมีการร่วมประเวณีกันจึงเป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
๙.ผู้เยาว์ที่ยัง อาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา แม้ผู้เสียหายไปเที่ยวที่ไหนกลับเมื่อใดก็ได้ อำนาจปกครองบิดามารดายังคงมีอยู่ อำนาจปกครองผู้เยาว์หมดไปเมื่อ
๙.๑ ถูกถอนอำนาจปกครอง เพราะตกเป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ในทางมิชอบ ประพฤติชั่วร้าย ญาติผู้เยาว์หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ถอนอำนาจปกครอง ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๒ ,๑๕๙๘/๘
๙.๒ ผู้อยู่ในอำนาจปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ ปพพ มาตรา ๑๕๗๘,๑๕๙๘/๖
๑๐.จำเลยพบผู้เสียหายที่งานบวชพระแล้วพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราด้วยความสมัครใจผู้เสียหาย เป็นการล่วงอำนาจปกครองบิดามารดาเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ พรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจหรือไม่ ฟ้องพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจ ขอให้ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๓๑๘ ทางพิจารณาได้ความทำผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ตามปอ มาตรา ๓๑๙ ไม่ใช่เรื่องทางพิจารณาต่างจากฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒ วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลลงโทษได้โดยปรับบทลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ 
๑๑. การที่ผู้เยาว์ไปหาจำเลยที่บ้าน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายนัดหมายชักชวนกันก่อนแล้วจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากไปโดยปริยาย การที่ผู้เยาว์โทรศัพท์หาจำเลยว่า จะหนีออกจากบ้านไปพัทยาและนัดพบจำเลย เมื่อพบกันจำเลยไม่ยอมให้ผู้เยาว์ไปตามลำพังแต่จำเลยขอไปด้วย โดยเปิดห้องพักอยู่ด้วยกัน ๒ คืน ผู้เยาว์เป็นผู้ชำระห้องพักและค่าใช้จ่าย ทั้งผู้เยาว์ยังให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีด้วยก็ตาม แต่จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ทุกคืน พฤติการณ์จำเลยไม่ใช่ไปเป็นเพื่อนแต่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารทั้งสองกรณี 
๑๒.ผู้เยาว์ที่ยัง อาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา อำนาจปกครองยังอยู่ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง
๑๓.หากจำเลยมีภรรยาอยู่แล้ว ยังไม่ได้เลิกกับภรรยา ได้พาผู้เสียหายไปร่วมประเวณีโดยไม่มีเจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันท์ภรรยา เมื่อทราบว่าการกระทำของตนเป็นความผิดจึงให้มารดาไปขอขมาและนำเงินชดใช้ค่าเสียหายให้เพื่อไม่ให้ดำเนินคดีกับจำเลย แม้ฟังว่าผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยได้ร่วมประเวณีกับจำเลยก็เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ เป็นความผิดเพราะมีภรรยาอยู่แล้ว พาผู้เสียหายไปร่วมประเวณีโดยไม่มีเจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันท์ภรรยา
๑๔.ผู้เสียหายเต็มใจไปกับจำเลย หลังจากจำเลยพาผู้เสียหายไปแล้ว ญาติทั้งสองฝ่ายตกลงจัดพิธีแต่งงาน มีการมอบสินสอดทองมั่นให้ผู้ใหญ่ฝ่ายผู้เสียหายรับไปบางส่วน เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาถึงบ้าน ญาติผู้ใหญ่ผู้เสียหายจัดพิธีบอกผีบ้านผีเรือนตามประเพณีก่อนให้ผู้เสียหายเข้าบ้าน การบอกกล่าวผีบ้านผีเรือนหรือผูกข้อมือเป็นการขอขมาและทำการแต่งงานในวัฒนธรรมของบางพื้นที่ในประเทศไทย ถือเป็นการแต่งงานแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยพาผู้เสียหายไปนั้นมีเจตนาพาไปเป็นภรรยาตั้งแต่แรก ประกอบทั้งจำเลยไม่มีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเป็นภรรยา แม้ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ก็ไม่เป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของมารดา แม้จำเลยร่วมประเวณีกับผู้เสียหายระหว่างพักอยู่ด้วยกัน ก็ไม่ใช่การพาไปเพื่อการอนาจาร ไม่เป็นความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
๑๕.การที่ผู้เยาว์ ไปอยู่กับญาติที่บ้านอยู่ใกล้กัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะทะเลาะกับมารดาหรือมารดานำไปฝากก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของมารดาหมดไป อำนาจปกครองของมารดายังมีอยู่ตลอดเวลา การที่ญาติผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายไปเอาหม้อยากับจำเลย ไม่ได้ทำให้อำนาจปกครองผู้เยาว์หมดไป การอนุญาตเพื่อไปเอาสิ่งของแต่ไม่ใช่การอนุญาตเพื่อให้จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำอนาจาร เมื่อจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย ทำให้กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร 
๑๖.แม้ผู้เยาว์ไม่ได้พักอาศัยกับมารดา เพราะมารดานำไปฝากไว้กับผู้อื่นก็ไม่ถือพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา การพาผู้เสียหายไปโดยมารดาไม่รู้เห็นยินยอมเป็นการล่วงอำนาจปกครองมารดา แม้ผู้เสียหายสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดา เป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากมารดาแล้ว 
๑๗. การกระทำอนาจารตาม ปอ มาตรา ๒๘๒และ ๓๑๙ หมายถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่น ซึ่งต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของบุคคลโดยตรงจะทำในที่รโหฐานหรือในที่สาธารณะก็ไม่มีผลแตกต่างกัน การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ถูกจำเลยพาไปในห้องของโรงแรม แม้เป็นที่มิดชิด แต่ก็เป็นการกระทำในทางที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำเพื่ออนาจาร นั้นก็คือ แม้กระทำอนาจารในที่รโหฐาน หรือกระทำต่อหน้าธารกำนัลมีคนอื่นเห็น ก็ถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่นแล้ว
๑๘.คำว่า “ ผู้ปกครอง”ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๙ หมายถึงผู้ใช้อำนาจปกครองอย่างบิดามารดา ไม่ได้หมายเฉพาะตัวบิดามารดาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและดูแลผู้เยาว์ในฐานะน้าและนายจ้าง โดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปจากผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันควรเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ สังเกตนะครับว่าอำนาจปกครองเกิดขึ้นเพราะได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เยาว์ให้ดูแลผู้เยาว์ จึงเกิดอำนาจปกครองผู้เยาว์ได้. 
๑๙.ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไปทำงานพักอยู่ที่บ้าน น. ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับบ้านที่ตราดเพื่อเที่ยวสงกรานต์ ระหว่างนั้นบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่ง แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปดังนี้ ถือว่าระหว่างผู้เสียหายทำงานพักอยู่ที่บ้าน น. ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความปกครองของ น. ที่กรุงเทพ แม้ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความคุ้มครองของ น. แต่เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาบ้านที่ตราด ผู้เสียหายย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาด้วย การที่บิดามารดาอนุญาตให้ไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งไม่เป็นเหตุให้พ้นจากความปกครองของบิดามารดา เมื่อจำเลยพาไปจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ นั้นก็คือ แม้ไปทำงานอยู่กับนายจ้าง นายจ้างมีอำนาจปกครอง แต่อำนาจปกครองของนายจ้างก็ไม่ได้ลบหรือถอนอำนาจปกครองของบิดามารดาไปแต่อย่างใด อำนาจปกครองไปเมื่อเข้าตามข้อสังเกตที่ ๓ ,๔ ,๕
๒๐.ใน ปอ มาตรา ๓๑๙ ตระหนักว่าผู้เยาว์อายุไม่เกิน ๑๘ ปี ยังขาดความสำนึกต่อเลห์กลทุรชนอาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อโดยง่าย สภาพที่บิดามารดาพยายามตามเรื่องที่บุตรหายไป แสดงว่าผู้เสียหายไม่ได้มีความประพฤติส่ำส่อนจนบิดามารดาหมดความห่วงใย การที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปก่อความทุกข์ใจใหญ่หลวงแก่บิดามารดา พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุรอการลงอาญา 
๒๑.เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากพาผู้เสียหายที่เป็นหญิงอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ไปเสียจากบิดามารดาด้วยเจตนาเพื่ออยู่กินเป็นสามีภรรยากับผู้เสียหายโดยสุจริต คือพาไปแต่ไม่มีเจตนาพาไปอยู่กินฉันท์สามีภรรยา แม้ผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการพรากพาไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๒.พฤติการณ์จำเลยเขียนจดหมายนัดผู้เสียหายอายุ ๑๔ ปีไปอยู่ด้วยกัน บอกให้เอาเงินและของมีค่าไปด้วย จำเลยพาผู้เสียหายไปเบิกเงินจากธนาคารทั้งหมดเอามาเก็บไว้เสียเองและแบ่งให้มารดาจำเลยครึ่งหนึ่ง แล้วพาผู้เสียหายย้ายที่อยู่หลายแห่ง เมื่อมารดาผู้เสียหายตามไปพบที่ต่างจังหวัด จำเลยหนีการจับกุมไปได้ ไม่กล้าสู้ความจริงว่าพาไปเป็นภรรยา ไม่มาตกลงกัน พฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายโดยยกความรักใคร่ฉันท์ชู้สาวมาอ้างกลบเกลื่อนความคิดกระทำอนาจาร และหลอกเอาทรัพย์สินมีค่าของผู้เสียหาย ประกอบทั้งจำเลยมีภรรยาแล้ว และขณะพาผู้เสียหายหลบหนี จำเลยก็ยังอยู่กินกับภรรยา จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๓. พาผู้เสียหายอายุ ๑๗ ปีไปทานอาหารแล้วพาไปร่วมประเวณี โดยบิดามารดาผู้เสียหายไม่ทราบว่าผู้เสียหายไปไหน มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ การที่จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาจนผู้เสียหายตั้งครรถ์ เป็นการลุแก่โทษ พยายามบรรเทาผลร้ายของการกระทำความผิด ศาลฏีการอการลงโทษจำคุกให้จำเลย 
๒๔. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร มุ่งถึงการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรในทางเพศ แม้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารเพราะผู้เสียหายยินยอม แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แต่หากผู้เสียหายไม่ยินยอมก็จะเป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่ยินยอม ทั้งยังเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารด้วย แม้บิดามารดาผู้เสียหายจะออกไปนอกบ้านขณะที่ผู้เสียหายออกจากบ้านและจำเลยได้พาไปที่ขหนำก็ตาม ยังถือว่าผู้เสียหายอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนอนค้างคืนที่ขนำในสวนโดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย แล้วจำเลยได้กอดปล้ำหอมแก้ม จับหน้าอกผู้เสียหาย ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย มีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ วรรคแรก 
๒๕.ฟ้องจำเลยพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย ตาม ปอ มาตรา ๓๑๘ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยกับจำเลยเป็นกรณีตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่งมีโทษเบากว่าศาลย่อมลงโทษจำเลยตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามประมวลกฏหมายอาญาบัญญัติไว้เป็นความผิดทั้งนั้น เป็นเรื่องทางพิจารณาต่างจากฟ้อง ฟ้องว่าพรากโดยไม่เต็มใจ ทางพิจารณาได้ความว่าเต็มใจไปด้วย ไม่ว่าการพรากจะไปด้วยความเต็มใจหรือไม่ก็เป็นการกระทำความผิดอยู่ดี เมื่อฟ้องบทหนักมาทางพิจารณาได้ความเป็นความผิดที่มีอัตราลงโทษเบากว่าศาลย่อมลงโทษจำเลยตามบทเบาได้ ไม่ถือพิจารณาต่างจากฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง
๒๖.การที่จำเลยพาผู้เสียหายอายุ ๑๖ ปีไปด้วยความยินยอมผู้เสียหาย แล้วรับจะหาสินสอดไปให้บิดาผู้เสียหาย เมื่อหาเงินไม่ได้ก็ให้ผู้เสียหายกลับบ้าน หลังจากนั้นคืนเดียวจำเลยก็ได้หญิงอื่นเป็นภรรยา แสดงว่าจำเลยไม่ได้ตั้งใจจะเอาผู้เสียหายไปเลี้ยงดูเป็นภรรยาอย่างจริงจังแต่ประการใด หากมีเจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภรรยาอย่างจริงจังคงไม่มีหญิงอื่นเป็นภรรยาในชั่วข้ามคืน ถือได้ว่าจำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๗ฟ้องว่าพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปตามมาตรา ๓๑๘ ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เยาว์เต็มใจไปอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลลงโทษจำเลยตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามประมวลกฏหมายอาญาก็บัญญัติว่าเป็นความผิดอยู่แล้ว 
๒๘.การที่ผู้เยาว์อยู่ออกจากห้องไปพูดจาปรับความเข้าใจกับจำเลยห่างจากห้องพักที่เกิดเหตุ ๑๐ เมตร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปพูดคุยกับจำเลย ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยพรากหรือพาผู้เสียหายไปจากอำนาจปกครอง ยังไม่เป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เสียหาย ลำพังการไปพูดคุยปรับความเข้าใจกันโดยไม่มีการล่วงละเมิดทางเพศ ยังไม่เป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย ไม่เป็นความผิดพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร 
๒๗.รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น ๒๐ กว่าคืน แล้วกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์และพักที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก ๑๐ วัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่ใช่พาไปเพื่อการอนาจาร ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๘. จำเลยพาผู้เสียหายที่เป็นหญิงอายุ ๑๗ ปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อเป็นภรรยาจำเลย โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภรรยาอยู่แล้ว ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๙.ชายอายุ ๒๑ ปี พาหญิงอายุ ๑๗ ปี ๙ เดือนไปจากมารดาผู้ปกครองเพื่ออยู่กินเป็นสามี โดยชายหญิงไม่มีสามีภรรยาหรือคนรักอื่น ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๓๐.จำเลยไม่เคยมีภรรยา รักใคร่ชอบพอผู้เสียหาย ผู้เสียหายหนีบิดามารดามาอยู่กับจำเลยโดยสมัครใจเป็นเวลา ๖ เดือน แล้วไปอยู่กับบิดาเพราะจำเลยขับไล่ไม่ใช่ถูกทอดทิ้ง หลังจากนั้นบิดาผู้เสียหายไปแจ้งความข้อหาพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร จำเลยส่งญาติผู้ใหญ่ไปขอขมา บิดาผู้เสียหายยอมรับขมาและยอมรับจำเลยเป็นบุตรเขย จำเลยอยู่บ้านผู้เสียหาย ๑ เดือนแล้วออกจากบ้านผู้เสียหายไปทำนาที่นครปฐมและไม่กลับมาหาผู้เสียหายอีกเลย ผู้เสียหายก็ไม่ต้องการไปอยู่กินกับจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการพรากผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภรรยาไม่ใช่เพื่อการอนาจาร 
๓๑.จำเลยกับผู้เสียหายเป็นคู่รักกัน เคยไปเที่ยวด้วยกันหลายหน มีจดหมายรักถึงกัน คืนเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปนอนพักที่บ้านคนอื่น บอกว่าพาเมียมาขอนอนพักด้วย ระหว่างทานข้าวผู้เสียหายกับจำเลยก็หยอกล้อกัน เป็นการพาไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่ใช่เพื่อการอนาจาร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙

“ลักทรัพย์รับของโจร – คำพิพากษาเปลี่ยนแนว”

ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนหรือรับของโจร ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นต้องสอบถามให้ได้ความชัดว่ารับสารภาพฐานใดแล้วจึงพิพากษาลงโทษในข้อหาที่จำเลยรับสารภาพ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยให้ชัดเจนแต่กลับพิพากษาลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์ฯโดยไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยรับสารภาพในข้อหาดังกล่าว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ คำพิพากษาฏีกา ๗๗๓๕/๒๕๕๗
ข้อสังเกต๑. กรณีที่ทรัพย์สินหายแต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าคนร้ายคือใครแต่ไปพบของกลางอยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยอาจเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ผู้เสียหายไป หรืออาจไม่ใช่คนร้ายที่ลักทรัพย์ผู้เสียหาย แต่รู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก เจ้าพนักงานยักยอก แล้วช่วยซ่อนเร็น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับจำนำ หรือรับทรัพย์นั้นไว้ด้วยประการใดๆโดยรู้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก เจ้าพนักงานยักยอก อันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ผู้เสียหายหรือเป็นคนช่วยซ่อนเร็น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับจำนำ ทรัพย์นั้นไว้โดยรู้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดฐานรับของโจร จึงต้องดำเนินคดีในความผิดดังกล่าวทั้งสองฐาน
๒.ในการร่างฟ้องในตอนแรกจะบรรยายฟ้องเพียงมีคนร้ายไม่ทราบว่าเป็นใครเข้ามาลักทรัพย์ไปโดยไม่ยืนยันว่าจำเลยหรือใครเป็นคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ แล้วในตอนท้ายจะบรรยายฟ้องว่า มีการพบทรัพย์อยู่ในความครอบครองของจำเลย หากจำเลยไม่ได้เป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ไปก็ต้องเป็นคนช่วยซ่อนเร็น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับจำนำ ทรัพย์นั้นไว้โดยรู้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดฐาน รับของโจรทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แบบนี้จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้เต็มที่ แต่หากบรรยายฟ้องในตอนแรกยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์แล้วตอนท้ายมาบรรยายฟ้องยืนยันว่าจำเลยเป็นคนรับของโจรฟ้องจะขัดแย้งกันอยู่ในตัว จำเลยไม่สามารถเข้าใจข้อกล่าวหาและไม่สามารถต่อสู้คดีได้เต็มที่ เป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามปวอ มาตรา ๑๕๘(๕) จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหาได้ ศาลอาจสั่ง ให้ไปแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง ไม่ประทับฟ้อง(กรณีศาลใช้อำนาจไต่สวนมูลฟ้องคดีของพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๑๖๒(๒)) หรือพิพากษายกฟ้องโจทก์ตาม ปวอ มาตรา ๑๖๑
๓.การร่างฟ้องแบบนี้(ฟ้องฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร)เป็นการ “ฟ้องเพื่อให้ศาลเลือกลงโทษตามทางพิจารณาที่ได้ความ” ซึ่งหากทางพิจารณาได้ความไปในทางใด หรือศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดฐานใด ศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว ทางปฏิบัติอัยการจะไม่อุทธรณ์ฏีกาเพราะเป็นการฟ้องให้ศาลเลือกลงโทษฐานใดฐานหนึ่งตามที่ได้ความ เมื่อศาลลงโทษฐานใดฐานหนึ่งแล้ว พนักงานอัยการต้องพอใจในการตัดสินของศาล จะมาอุทธรณ์ฏีกาว่าศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งไม่เต็มตามคำขอหรือคำขอท้ายฟ้องตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒วรรคแรก ไม่ได้
๔.ในการบรรยายฟ้องหากไปบรรยายฟ้องในตอนต้น “ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย” ที่เข้าไปลักทรัพย์แล้วในตอนท้ายมา” ยืนยันว่าพบของกลางที่จำเลยโดยจำเลยช่วยซ่อนเร็น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับจำนำ ทรัพย์นั้นไว้โดยรู้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญา อันเป็นความผิดฐานรับของโจร” เท่ากับยืนยันในตอนแรกว่าจำเลยลักทรัพย์ผู้เสียหายไป แล้วมายืนยันในตอนท้ายอีกว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจร หากเป็นดังนี้ถือฟ้องขัดกันในสาระสำคัญ จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อกล่าวหาและต่อสู้คดีได้เต็มที่ เพราะเมื่อกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้วย่อมไม่เป็นความผิดฐานรับของโจรอีก หรือหากกระทำความผิดฐานรับของโจรแล้วก็ย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อเป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันในตัว ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะมากระทำความผิดทั้งลักทรัพย์และรับของโจรในคราวเดียวกันในทรัพย์ชิ้นเดียวกันได้ ถือเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม บรรยายฟ้องเคลือบคลุม จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้เต็มที่ ศาลอาจสั่ง ให้ไปแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง ไม่ประทับฟ้อง(กรณีศาลใช้อำนาจไต่สวนมูลฟ้องคดีของพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๑๖๒(๒),๑๖๕) หรือพิพากษายกฟ้องโจทก์ตาม ปวอ มาตรา ๑๖๑
๕.ในทางปฏิบัติเมื่อมีการยื่นฟ้องในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยไม่ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ เพียงแต่พบทรัพย์ที่ถูกลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย หากจำเลยไม่เป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ผู้เสียหายไป จำเลยก็เป็นผู้กระทำความผิดฐานรับของโจร ซึ่งเมื่อฟ้องมาดังนี้ในวันนัดสอบถามคำให้การจำเลย ศาลต้องสอบถามให้ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยรับสารภาพหรือปฏิเสธ หากรับสารภาพ รับสารภาพในข้อหาใด เป็นหน้าที่ของศาลที่ต้องสอบถามให้ได้ความแน่ชัด หากจำเลยบอกเพียง “ ขอรับสารภาพตามฟ้อง” หรือ “ ขอรับสารภาพ” เป็นหน้าที่ของศาลตาม ปวอ มาตรา ๑๗๒วรรคสอง ต้องสอบถามว่ารับสารภาพในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับสารภาพในข้อหารับของโจร หากศาลไม่สอบถาม เป็นหน้าที่อัยการต้องสอบถาม หากจำเลยยังคงยืนกรานแบบเดิม หรือศาลไม่ได้สอบถามว่ารับสารภาพฐานใด พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบตาม ปวอ มาตรา ๑๗๔วรรคสอง เพื่อให้ได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานใด ศาลจึงจะพิพากษาลงโทษได้
๖.หากศาลไม่ถามและอัยการไม่นำพยานมานำสืบ ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งไม่ได้ ซึ่งในแนวคำพิพากษาเดิม เช่น คำพิพากษาฏีกา ๖๗๔๒/๒๕๔๔,๑๗๙๘/๒๕๕๐,๔๗๘๔/๒๕๕๐ ศาลสูงจะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่างโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ในแนวคำพิพากษาใหม่(คำพิพากษาฏีกาที่๗๗๓๕/๒๕๕๗)ได้กลับแนวคำพิพากษาเดิมๆโดย “ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่สอบคำให้การจำเลยใหม่แล้วพิพากษาไปตามรูปคดี คือสอบถามให้ได้ความชัดว่า รับสารภาพฐานลักทรัพย์ หรือรับสารภาพฐานรับของโจร เมื่อได้ความชัดว่ารับสารภาพในความผิดฐานใด แล้วจึงพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี
๗.หากในการสอบถามคำให้การจำเลยใหม่ จำเลยจะกลับคำให้การมาปฏิเสธ ไม่ขอรับสารภาพแล้ว ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าสามารถกระทำได้ เพราะจำเลยสามารถต้อสู้คดีได้เต็มที่ หากจำเลยไม่บอกว่ารับสารภาพหรือปฏิเสธต้องถือว่าจำเลยปฏิเสธ จะถือว่า การนิ่ง เป็นการรับแบบกฎหมายแพ่งไม่ได้ หรือแม้จำเลยรับสารภาพในคดีที่ต้องมีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ปวอ มาตรา ๑๗๖ หากโจทก์นำสืบไม่ได้ความว่ามีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น หรือจำเลยไม่ได้กระทำผิด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด คดีขาดอายุความ หรือมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษ ตาม ปวอ มาตรา ๑๘๕ แม้จำเลยรับสารภาพศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
๘.แม้คำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรที่จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ไม่บอกรับสารภาพฐานใด และศาลไม่ได้สอบถามว่ารับสารภาพฐานใดและอัยการไม่ได้นำพยานมาสืบแล้วศาลช้นต้นไปพิพากษาลงโทษในความผิดฐานใดฐานหนึ่งเข้า เมื่อศาลอุทธรณ์ศาลฏีกาพบในแนวคำพิพากษาเดิม ศาลสูงจะพิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์จะสามารถฟ้องจำเลยใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความก็ตาม โดยไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำเพราะยังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีแรกในเนื้อหาของการกระทำว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่อย่างไร ไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะไม่มีฟ้องอยู่ในศาลแล้วมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันในเรื่องเดียวกันนั้นอีก ไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเพราะยังไม่ได้มีการดำเนินการสืบพยานในศาลเป็นเพียงศาลสอบถามคำให้การในคดีก่อนแล้วพิพากษาลงโทษโดยไม่ได้สอบถามให้ได้ความชัดว่ากระทำผิดฐานใด แม้จะนำมาฟ้องใหม่ก็เป็นเรื่องการเสียเวลา เป็นภาระหน้าที่เป็นการเพิ่มงานขึ้นมาโดยไม่จำเป็นเพราะเมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลก็ปล่อยตัวจำเลยไป การที่จะได้ตัวจำเลยมาฟ้องจึงเป็นไปค่อนข้างจะยาก ต้องตามหาและตามจับตัวเพื่อนำมาฟ้อง และในขณะเดียวกัน เมื่ออัยการเจ้าของสำนวนไม่ได้แถลงขอนำพยานเข้าสืบถือเป็นความบกพร่องของพนักงานอัยการ ซึ่งอาจเกิดจากเพิ่งเป็นอัยการใหม่ๆไม่มีประสบการณ์ หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมีเจตนาทุจริตต้องการช่วยเหลือจำเลยโดยรู้ว่ามีคำพิพากษาฏีกาแนวเดิมซึ่งหากไม่ถามให้แน่ชัดว่ารับสารภาพฐานใดแล้วศาลชั้นต้นลงโทษฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลสูงพบก็จะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่างให้ยกฟ้องโจทก์ เมื่อรู้มีแนวคำพิพากษาดังกล่าวก็อาจมีเจตนาต้องการช่วยเหลือจำเลยโดยไม่แถลงขอสืบพยานเพื่อต้องการให้ศาลสูงยกฟ้อง ซึ่งความบกพร่องนี้อาจถูกว่ากล่าวตักเตือนหรือถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยได้
๙.หากอัยการแถลงขอสืบพยานแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตโดยเห็นว่าจำเลยรับสารภาพแล้วศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้ โดยเป็นความผิดที่มีอัตราโทษขั้นต่ำไม่ถึง ๕ ปี หรือเป็นโทษสถานหนักกว่านี้ที่จำเลยรับสารภาพแล้วไม่ต้องนำพยานเข้าสืบตาม ปวอ มาตรา ๑๗๖ หากเป็นดังนี้ พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งของศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตาม ปวอ มาตรา ๑๘๗,๑๙๖ เพื่อใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ฏีกาเพื่อขอนำพยานเข้าสืบ หากไม่มีการโต้แย้งคำสั่งถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ามาแล้วในศาลชั้นต้นตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕ ที่จะก่อให้เกิดสิทธิ์ในการอุทธรณ์ได้ หากอัยการไม่ทำดังนี้ทั้งที่รู้ว่าจำเลยให้การไม่แจ้งชัดว่ารับสารภาพฐานใดและเมื่อขอสืบพยานศาลไม่อนุญาต ก็นิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย ไม่ยื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งของศาลดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ฏีกาเพื่อขอนำพยานเข้าสืบ หากเป็นดังนี้ก็ถืออัยการบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่เพราะเป็นอัยการมือใหม่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานหรือเป็นเพราะมีเจตนาต้องการช่วยเหลือจำเลย .ซึ่งต้องดูพฤติการณ์เป็นเรื่องๆไป เมื่ออัยการศาลสูงตรวจสำนวนของอัยการศาลชั้นต้นพบข้อบกพร่องดังกล่าวจะมีหนังสือให้อัยการศาลชั้นต้นชี้แจงว่าเหตุใดจึงไม่นำพยานเข้าสืบ หรือเมื่อศาลไม่อนุญาตนำพยานเข้าสืบทำไมไม่ยื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาล ตามระเบียบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ ฯ ข้อ ๑๕๓ หากอัยการศาลสูงพบข้อบกพร่องของอัยการศาลชั้นต้นแล้วไม่รายงานถือเป็นความบกพร้องของอัยการศาลสูงที่ต้องถูกลงโทษทางวินัยตาม ระเบียบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฯ ข้อ ๑๔๙วรรคท้าย ดังนั้น หากอัยการศาลชั้นต้นไม่มีเหตุผลหรือมีเหตุผลไม่เพียงพออาจถูกแนะนำการปฏิบัติราชการ หากเป็นข้อบกพร่องที่ถึงขนาดที่จะเกิดความเสียหายและไม่อาจแก้ไขได้ อัยการศาลสูงต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับเพื่อรายงานสนง. อัยการสูงสุดทราบและอาจโดนตั้งกรรมการสอบทางวินัยฐานปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องหรือส่อเจตนาทุจริตหรือมีเจตนาช่วยเหลือจำเลยได้ ตามระเบียบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฯ ข้อ ๑๕๓วรรคท้าย