ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หมิ่นประมาท

"เลียแข้งเลียขาเจ้านายอย่างนี้มึงได้เท่าไหร่.........ผู้หญิงสองหน้า"
ผู้ต้องหาขอเข้าพบผู้บริหารของบริษัท แต่ผู้เสียหายบอกให้รอก่อน เมื่อผู้เสียหายมาที่ล็อบบี้ชั้นล่างผู้ต้องหาได้พูดว่าผู้เสียหายต่อหน้านางสาว น.แม่บ้านและนาย ส.พนักงานรักษาความปลอดภัยว่า " ทีหลังไม่ต้องมายุ่งเรื่องของเจ้านาย เขาจะคุยกับฉัน จะคุยกับเจ้านายอย่ามาเสือกยุ่ง เป็นแค่เสมียนทำงานกินเงินเดือนให้มากนัก เลียแข้งเลียขาเจ้านายเก่งอย่างนี้ มึงได้เท่าไหร่ ได้อย่างนี้ไม่คุ้มเสียหรอก น้ำหน้าอย่างมึง ชาตินี้เป็นได้แค่ลูกจ้างเขาไปตลอดชีวิต เชล์ที่นี้ขายของโกหก หลอกลวง เป็นพวกหน้าเงิน เห็นแก่ค่าคอมมิชชั่น เป็นผู้หญิงสองหน้า" นอกจากเป็นถ้อยคำดูหมิ่นแล้ว ยังเป็นการใส่ความผู้เสียหายทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถือว่ามีเจตนาใส่ความผู้เสียหายต่อ นางสาว น. และนาย ส. ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาฐานหมิ่นประมาทอีกบทหนึ่ง ชี้ขาดความเห็นแย้ง ๔๔๖/๒๕๕๑
ข้อสังเกต ๑. คำว่า "เลียแข้งเลียขา" ส่อความหมายไปในทางว่าผู้เสียหายประจบส่อพลอเจ้านาย เพื่อหวังความก้าวหน้าในการทำงาน
๒.คำว่า " น้ำหน้าอย่างมึง ชาตินี้เป็นได้แค่ลูกจ้างเขาตลอดชีวิต" เป็นถ้อยคำดูถูกดูหมิ่นว่า ผู้เสียหายทำงานก็ไม่มีวันเจริญ เป็นได้อย่างมากก้แค่เป็นลูกน้องคนอื่นเท่านั้น ไม่สามารถสร้างธุรกิจของตนได้
๓.คำว่า "เชล์ที่นี้ขายของโกหก ขายของหลอกลวง เป็นพวกหน้าเงินเห็นแก่ค่าคอมมิชชั้น" เป็นข้อความดูหมิ่นและหมิ่นประมาทที่ดูถูกว่า ผู้เสียหายเอาสินค้าไม่ดีมาขาย ไม่มีจรรยาบรรณ ต้องการเพียงเงินและค่านายหน้าเท่านั้น
๔.คำว่า " ผู้หญิงสองหน้า " หมายถึงคนหน้าไหว้หลังหลอก ไม่มีความจริงใจแก่คนอื่น ต่อหน้าทำแบบหนึ่ง ลับหลังทำอีกแบบหนึ่ง ตลบตะแลงไปเรื่อย ใช้เล่หหลี่ยมให้หลงเชื่อ เพื่อให้ตนอยู่รอด ไม่มีความจริงใจกับใคร
๕.การบรรยายฟ้องในความผิดฐานนี้ นอกจากต้องบรรยายในฟ้องถึงถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อหน้าบุคคลที่สามแล้วต้องอธิบายความหมายให้ศาลทราบด้วยว่าข้อความดังกล่าวมีความหมายอย่างไรเพื่อศาลจะได้รู้ว่าข้อความที่กล่าวนั้นทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง จากผู้ที่ได้ยินข้อความนั้นอย่างไร และต้องนำผู้เสียหายมาสืบด้วยว่า ข้อความที่กล่าวนั้นตนเข้าใจว่าอย่างไร ข้อความดังกล่าวทำให้ตนเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังอย่างไร และต้องนำบุคคลอื่นที่ได้ยินข้อความดังกล่าวมานำสืบด้วยว่าตนเข้าใจความหมายในถ้อยคำนั้นอย่างไร และถ้อยคำนั้นทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังยังไง
๖.ถ้อยคำที่หมิ่นประมาทแม้พูดไป แต่คนอื่นไม่เชื่อ แต่ถ้าถ้อยคำนั้นทำให้ผู้เสียหาย เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังจากผู้ที่ได้ยืนแล้วก็เป็นความผิดฐานนี้ได้

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กรณีที่ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้

๑.ขอให้รื้อถอนรั่วที่กีดขวาง ไม่ใช่การทำนิติกรรม จึงขอถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๖๒/๒๕๔๖
๒.ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากไม่ได้ เพราะไม่ใช่การทำนิติกรรม คำพิพากษาฏีกา ๖๘๙๖/๒๕๔๘
๓.บังคับให้ส่งมอบโฉนด ไม่ใช่การทำนิติกรรม เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๔๙๒๐/๒๕๔๗
๔.บังคับให้ออกโฉนด ให้เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๔๓๐/๒๕๔๗
๕.ขอให้คืนของที่หายไปเพราะถูกลักไปแล้วมีคนรับซื้อไว้โดยไม่ใช่การซื้อในท่้องตลาดที่ต้องคืนให้เจ้าของ หนี้ที่จะขอให้คืนของที่หายไป ไม่ใช่การทำนิติกรรม เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๑๑๐/๒๕๓๙
๖.ผู้มีส่วนได้เสียสามารถนำคำพิพากษาให้หย่ามาให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าในทะเบียนโดยคู่สมรสไม่ต้องไปแสดงเจตนาตาม พรบ.จดทะเบียนครอบครัว จึงไม่ต้องให้เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา คำพิพากษาฏีกา๓๖๐๘/๒๕๓๑,๓๒๓๒/๒๕๓๓
๗.การโอนสิทธิ์การเช่าจะกระทำได้เมื่อผู้ให้เช่ายินยอม จะเอาคำพิพากษาบังัคับให้ผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธการเช่า เพราะสัญญาขายสิทธิ์การเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่โอนสิทธิ์การเช่า โจทก์บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่จะไปบังคับเอากับผู้ให้เช่าโดยเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๖๔๔/๒๕๓๗
๘.ละเมิดไม่ใช่การแสดงเจตนา เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๗๐๙/๒๕๔๒
กรณีที่เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้
๑.ศาลพิพากษาให้หย่าแล้วไม่ไปหย่า เอาคำพิพากษาไปจดทะเบียนหย่าได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๘๐/๒๕๐๘
๒.เปิดบัญชีโดยโจทก์จำเลยต้องลงชื่อร่วมกันในการถอนเงิน แต่จำเลยไม่ยอมถอนเงิน ศาลบังคับว่าหากจำเลยไม่ยอมลงชื่อให้เอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนา คำพิพากษาฏีกา ๕๒๕๓/๒๕๓๓
๓.แม้เป็นคำสั่งศาล ไม่ใช่คำพิพากษาก็นำมาแทนใช้ในการแสดงเจตนาได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๒๕๓/๒๕๓๓
ข้อสังเกตุ ๑. หากไม่ใช่เรื่องการทำนิติกรรมแล้วเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้
๒.แม้เป็นคำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษาก็ใช้แทนการแสดงเจตนาได้
๓.ละเมิดไม่ใช่การทำนิติกรรม ใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งแทนการแสดงเจตนาไม่ได้
๔.การนำคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจะนำไปใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือมีกฏหมายกำหนดขั้นตอนไว้แล้วไม่ได้

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

“ลักลอบขุดดิน”

โจทก์เป็นหน่วยราชการที่..........ว่าจ้างจำเลยทำการก่อสร้างและปรับปรุงสถานที่ ต่อมาเมื่อจำเลยปรับปรุงสถานที่แล้วได้ส่งมอบงานให้โจทก์ โจทก์ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว มีการร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่าในระหว่างที่จำเลยทำการปรับปรุงพื้นที่นั้น จำเลยได้ลักลอบขุดดินในที่ราชพัสดุของ......... จึงมีการตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบพบว่ามีบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณ..........พบว่ามีดินถูกขุดไป ๑๙,๕๗๐ ลบเมตรเชื่อว่าจำเลยเป็นคนขุดดินไปจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพวกที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่นร่วมกันกระทำความผิด เป็นความผิดลักทรัพย์ในสถานที่ราชการซึ่งมีอายุความ ๑๐ ปี แต่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องจำเลย ในทางแพ่งจำเลยต้องส่งดินคืนแก่โจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาโดยขอคิดดอกเบี้ยร้อยละ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด(๕มิถุนายน ๒๕๔๐) จำเลยต่อสู้ว่า เจ้าหน้าที่โจทก์รายงานว่าจำเลยลักลอบขุดดินตั้งแต่ ๑๑ ส.ค. ๒๕๔๘ โจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดอันจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘โจทก์ได้มอบหมายให้ อธิบดีกรม.....ฟ้องคดีนี้ โดยลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ดำรงค์ตำแหน่งในขณะนั้นและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกลักดิน ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหามูลละเมิดนั้น โดยฟ้องโจทก์เล่าแต่เพียงมีผู้ร้องเรียนและมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและมีผลสรุปและความเห็นให้ดำเนินคดีกับจำเลยเท่านั้น ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยเข้าไปขุดดินในที่ดินของโจทก์แต่อย่างใดและไม่บรรยายให้จำเลยทราบว่าที่ดินแปลงใดมีการลักลอบขุดดินและเป็นที่ดินมีโฉนดหรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หมายเลขใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง จำเลยยอมรับว่าได้รับว่าจ้างจากโจทก์แต่จำเลยไม่ได้ลักลอบขุดดินไป โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ทนราบว่าดินที่หายเป็นดินชนิดใดมีคุณสมบัติตรงกับที่กำหนดในแบบก่อสร้างหรือไม่การกล่าวอ้างจำเลยเป็นคนขุดเป็นพียงข้อสันนิษฐานจ่ากรายงานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น เพราะจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งการสอบสวนยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ได้ฟ้องต่อศาล จึงไม่ยุติว่าจำเลยเป็นคนลักดินพิพาทไป โจทก์จึงไม่อาจกล่าวหาว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อเป็นการกระทำผิดทางอาญาที่มีอายุความ ๑๐ ปี คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ยังไมได้ฟ้อง จำเลยเป็นเพียงผู้ต้องหาเท่านั้น ตราบใดคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ไม่อาจอาศัยอายุความในคดีอาญามาบังคับคดีละเมิดนี้ได้ โจทก์ต้องฟ้องตามอายุความใน ปพพ มาตรา ๔๔๘ เมื่อมีการรายงานเหตุลักลอบขุดดินเมื่อ ๑๑ ส.ค.๒๕๔๘และโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดเมื่อ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘ได้มอบอำนาจให้ทำการฟ้องคดีนั้นไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดอันจะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่กรม......ยังไม่แปรสภาพเป็นกรม..... ประกอบกับเมื่อมีหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยลักลอยขุดดินไป เมื่อวันที่ ๙ กค ๒๕๔๔ มีคำสั่งให้ทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยปลัดกระทรวงทราบเรื่องและแจ้งคำสั่งต่อไปยังอธิบดีเมื่อ ๑๑ กค ๒๕๔๔ อธิบดีจึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนข้อเท็จจริงถือได้ว่าอธิบดีดีรู้ถึงเหตุแห่งการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ กค ๒๕๔๔ หรืออย่างช้าก็จะรู้ว่าเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้ทำการสอบสวนเสร็จและอธิบดีลงนามรับทราบการสอบสวนเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕ กรม.......เท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้เสียหาย เมื่อกรม .....ได้ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว แต่โจทก์มาฟ้องเมื่อวันที่ ๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ เกินกว่า ๑ ปี คดีขาดอายุความ ศาลชั้น้ต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักลอบขุดไปหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาคิดเป็นเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ๗.๕นับแต่วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๒ จนกว่าชำระเสร็จ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้น้ต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาให้เสร็จตามรูปคดี โจทก์ฏีกา ศาลฏีกาพิพากษากลับให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฏีกา ศาลฏีกาพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ นั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องแพ่งให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักไปหรือให้ชดใช้ราคาจึงเป็นการใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ปอ ซึ่งมีอายุความตั้งแต่ ๑๐ ปี ยาวกว่าอายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่งจึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘วรรคสอง แม้พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาก็ตาม เป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ฟ้องทางอาญา ซึ่ง ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญาสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จะฟ้องแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา จึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ โจทก์อ้างว่าจำเลยขุดดินวันที่ ๕ มิ.ย. ๒๕๔๐ถึงวันที่ ๑ ส.ค.๒๕๔๑ โจทก์ฟ้องวันที่๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ ยังไม่พ้น ๑๐ ปี ไม่ขาดอายุความ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ นั้นเห็นว่า ตามฏีกาจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนที่จำเลยฏีกาว่าเป็นเรื่องผิดเงื่อนไขในสัญญาระหว่างกรม.....กับจำเลย จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำนวนดินที่ถูกลักไปมีจำนวน ๑๙,๕๗๐ ลบเมตร ขอให้จำเลยส่งมอบดินจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งมอบดินจำนวน ๑๙,๗๕๐ ลบ เมตร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในฟ้องและการสืบพยาน เชื่อว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดจึงเห็นสมควรแก้ไข นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดหลังฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒ อยู่แล้วไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคต ๑๐๐ บาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฏีกาให้คืนจำเลย คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๘๑ /๒๕๖๐......
ข้อสังเกต ๑.อายุความหรือสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด หากฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือพ้น ๑๐ ปีนับแต่วันทำละเมิด เป็นอันขาดอายุความ ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคแรก
๒.แต่หากความเสียหายในมูลละเมิดมาจากมูลความผิดที่มีโทษทางอาญา และกำหนดโทษทางอาญายาวกว่า ให้เอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ คือเอาอายุความทางอาญามาใช้บังคับ ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคสอง คือต้องไปดูบทบัญญัติว่าด้วยอายุความใน ปอ มาตรา ๙๕ มาใช้บังคับ ซึ่งมีอายุความตั้งแต่ ๑ ปีถึง ๒๐ ปีแล้วแต่ความผิดอาญาที่ได้กระทำ ซึ่งอายุความในทางอาญาส่วนใหญ่แล้วจะยาวกว่าอายุความทางแพ่ง
๓. เมื่อยังไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่ง เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นอันระงับไปตามกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฏหมายอาญาว่าด้วยอายุความ มาตรา ๙๕ บัญญัติไว้ ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก คือหากไม่มีการฟ้องคดีอาญา เช่นผู้ต้องหาถึงแก่ความตาย หรือมีการถอนคำร้องทุกข์ ยอมความในคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจะมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีก็ไม่มีการฟ้องผู้ต้องหาในทางอาญา หรือกรณีป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดผู้ที่ป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายหรือกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมายไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่ง ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคแรก แต่ผู้เสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมาย เมื่อเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๖๘ หรือกระทำการตามคำสั่งเจ้าพนักงานแม้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฏหมายแต่ผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องกระทำ ผู้ต้องนั้นไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๗๐ จึงเป็นกรณีที่กฏหมายบัญญัติยกเว้นโทษไว้ตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๗) พนักงานอัยการจะมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีไม่มีการฟ้องผู้ต้องหา 
๔.ในกรณีดังกล่าวผู้ที่ได้รับความเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือจากบุคคลที่ออกคำสั่งโดยละเมิดได้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคสอง ในกรณีนี้จึงเป็นกรณีที่ไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่ง เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฏหมายอาญาว่าด้วยอายุความ มาตรา ๙๕ บัญญัติไว้ เช่น คนร้ายสามคนขึ้นมาปล้นทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธปืนและได้ยิงผู้เสียหายก่อน ผู้เสียหายจึงยิงตอบ กระสุนปืนถูกคนร้ายได้รับบาดเจ็บและกระสุนปืนยังไปถูกนาย ก เพื่อนบ้านอีก การกระทำของผู้เสียหายเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตนให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมาย เป็นภยันตรายใกล้จะถึงหรือถึงแล้ว จึงได้ใช้ปืนยิงตอบโต้คนร้ายที่ยิงมาก่อน ปืนกับปืนได้สัดส่วนกัน และเป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะป้องกันตนเองและทรัพย์สินให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมาย จึงเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าคนร้ายตาม ปอ มาตรา ๖๘,๘๐,๒๘๘ ผู้เสียหายเจตนายิงคนร้ายเพื่อป้องกันตนเองและทรัพย์สินให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย แต่ผลของการกระทำนอกจากกระสุนปืนถูกคนร้ายแล้วผลของการกระทำยังไปเกิดกับนาย ก. เพื่อนบ้านที่ถูกลูกหลงเป็นการกระทำโดยพลาด เมื่อเจตนายิงคนร้ายเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะพลาดไปถูกนาย ก. ก็เป็นการพยายามฆ่าโดยพลาดโดยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีความตาม ปอ มาตรา ๖๐,๖๘,๘๐,๒๘๘ ผู้เสียหายไม่ต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่นาย ก. ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคแรก แต่นาย ก.อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากคนร้ายผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องมีการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคสอง เป็นกรณีที่ไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์นาย ก.ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนต้องฟ้อง ภายในกำหนดอายุความในทางอาญา ซึ่งความผิดฐานพยายามฆ่า รับโทษ ๒ใน ๓ ของโทษฐานฆ่าตาม ปอ มาตรา ๘๐ ความผิดฐานฆ่าตามปอ มาตรา ๒๘๘มีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต การรับโทษ ๒ ใน ๓ คือการลดโทษ ๑ ใน ๓ ดังนั้นการลดโทษประหารชีวิตลง ๑ ใน ๓ คือ การจำคุกตลอดชีวิตตาม ปอ มาตรา ๕๒(๑) ซึ่งเมื่อมีโทษจำคุกตลอดชีวิตมีอายุความฟ้องร้อง ๒๐ ปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนั้นหากไม่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีย่อมขาดอายุความ
๕.การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางวินัยเพื่อหาตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง แม้อธิบดีจะทราบเรื่องว่ามีการลักดินไปก็ตาม แต่ตราบใดที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงยังไม่รายงานผลสรุปอย่างเป็นทางการว่ามีการกระทำละเมิดอย่างไร และใครเป็นคนทำละเมิด จะถือว่าอธิบดีทราบเหตุแห่งการละเมิดและทราบตัวผู้กระทำละเมิดในวันแต่ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงยังไม่ได้ เพราะในขนาดนั้นยังไม่ปรากฏชัดว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นอย่างไร ความเสียบหายเท่าใด ใครเป็นคนทำละเมิด ตราบที่คณะกรรมการทำรายงานสรุปผลการสอบข้อเท็จจริงมาให้อธิบดีทราบเมื่อใดจึงถือว่าเป็นวันที่ผู้เสียหายทราบการกระทำละเมิดและทราบตัวผู้กระทำผิด หากยังไม่เกิน ๑ ปีนับแต่วันนั้นถือว่าคดีไม่ขาดอายุความ
๖..ข้อต่อสู้ที่ว่า....ฟ้องคดีนี้ โดยลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ดำรงค์ตำแหน่งในขณะนั้นและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม นั้นเห็นว่า ผู้ที่มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นการมอบอำนาจโดยอาศัยตำแหน่ง ในขณะเกิดเหตุอาจมีนาย ก. เป็นปลัดกระทรวง แต่ต่อมาเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้รับผิดทางละเมิด นาย ก อาจพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงไปแล้ว นาย ข. อาจมานั่งเป็นปลัดกระทรวง การที่นาย ข. มอบอำนาจให้อธิบดีทำการยื่นฟ้องจึงเป็นไปตามกฏหมายระเบียบแบบแผนทางราชการ จะมาต่อสู้ว่า นาย ก. ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้อง จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพราะนาย ข. ไม่ใช่ปลัดกระทรวงในขณะนั้นหาได้ไม่ 
๗.ข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกลักดิน เพราะเดิมที่ดินที่ถูกลักไปเป็นของกรม ก. ต่อมามีมาพรก.โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ส่วนราชการในส่วนของกรม ก.มาเป็นกรม ข. ก็ตาม ก็เป็นเรื่องการโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่จากกรมหนึ่งไปอีกกรมหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่มิใช่โอนเพียงการบริหารและอำนาจหน้าที่ของกรมหนึ่งไปอยู่อีกกรมหนึ่งแต่รับโอนไปทั้งสิทธิ์หน้าที่และทรัพย์สินด้วย แม้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ก็ตาม แต่กรม ก. ก็เป็นผู้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวที่ถูกลักไปถือเป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกลักไปจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงที่มีอำนาจฟ้องได้ เพราะในความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานบุกรุก ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองคือผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว เมื่อกรม ก. เป็นผู้ครอบครองจึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อโอนกิจการอำนาจหน้าที่ให้กรม ข ไปแล้ว กรม ข.ย่อมถือเป็นผู้เสียหายด้วย 
๘.ข้อต่อสู้ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหามูลละเมิดนั้น โดยฟ้องโจทก์เล่าแต่เพียงมีผู้ร้องเรียนและมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและมีผลสรุปและความเห็นให้ดำเนินคดีกับจำเลยเท่านั้น ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยเข้าไปขุดดินในที่ดินของโจทก์แต่อย่างใดและไม่บรรยายให้จำเลยทราบว่าที่ดินแปลงใดมีการลักลอบขุดดินและเป็นที่ดินมีโฉนดหรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หมายเลขใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นั้นเห็นว่า ฟ้องได้บรรยายแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุในท้องที่ตำบลอำเภอจังหวัดใดตามแผนที่ราชพัสดุที่ ........และตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่...........รวมเนื้อที่เท่าใดโดยได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ครอบครองที่ดินดังกล่าว และได้ว่าจ้างจำเลยก่อสร้างต่อเติมปรับปรุงพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตที่ดินดังกล่าว ต่อมาที่ดินดังกล่าวถูกลักตักหน้าดินไป จึงเป็นฟ้องที่บรรยายสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ปวพ มาตรา ๑๗๒ แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม 
๙.ข้อต่อสู้ที่ว่า “ จำเลยยอมรับว่าได้รับว่าจ้างจากโจทก์แต่จำเลยไม่ได้ลักลอบขุดดินไป โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ทราบว่าดินที่หายเป็นดินชนิดใดมีคุณสมบัติตรงกับที่กำหนดในแบบก่อสร้างหรือไม่การกล่าวอ้างจำเลยเป็นคนขุดเป็นพียงข้อสันนิษฐานจากรายงานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น เพราะจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งการสอบสวนยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ได้ฟ้องต่อศาล จึงไม่ยุติว่าจำเลยเป็นคนลักดินพิพาทไป โจทก์จึงไม่อาจกล่าวหาว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์” นั้นเห็นว่า ดินที่ถูกลักไปเป็นดินชนิดใด มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดในแบบก่อสร้างนั้นเป็นเพียงลายละเอียดในชั้นนำสืบพยาน หาใช่ต้องบรรยายฟ้องให้ละเอียดถึงขนาดนั้น บรรยายฟ้องเพียงว่าที่ดินที่ถูกลักอยู่ที่ใดตั้งอยู่ที่ไหนก็เพียงพอแล้ว การบรรยายฟ้องเพียงให้จำเลยเข้าใจการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและลายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆอีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้นั้นก็เพียงพอตามที่บัญญัติไว้ใน ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕)แล้ว หาจำต้องใส่ลายละเอียดทุกอย่างลงไป ลายละเอียดต่างๆเป็นเรื่องในทางการนำสืบ 
๑๐.แม้จะยังไม่มีการฟ้องจำเลยและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้ทำการลักทรัพย์ก็ตาม การที่ยังไม่มีการฟ้องคดีเนื่องจากอยู่ระหว่างทำการสอบสวนข้อเท็จจริง การที่จำเลยสามารถเข้ามาทำการก่อสร้างปรับปรุงในที่ดินดังกล่าวจนมีการลักตักหน้าดินไปก็เป็นที่พึ่งสันนิษฐานได้ว่าจำเลยน่าเป็นผู้กระทำผิด เพราะจำเลยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุมีรถตักดินและอุปกรณ์ในการตักดิน ลำพังบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้รับการว่าจ้างให้มาปรับปรุงพื้นที่ย่อมไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาในบริเวณที่เกิดเหตุได้ และดินที่หายไปก็หายไปเป็นจำนวนมากซึ่งลำพังคนธรรมดาที่ไม่มีเครื่องจักรไม่สามารถตักและขนเอาดินดังกล่าวไปได้ 
๑๑.การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการตาม ปอ มาตรา ๓๓๔,๓๓๕(๘) ซึ่งระวางโทษจำคุก ๑ ปี ถึง ๗ ปีและปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ บาทถึง ๑๔,๐๐๐ บาท ตาม ปอ มาตรา ๓๓๕วรรคสองนั้นเมื่อความผิดมีอัตราโทษจำคุกไม่ถึง ๗ ปีจึงมีอายุความ๑๐ ปีตาม ปอ มาตรา๙๕(๓) การฟ้องให้จำเลยคืนดินที่ลักไปหรือหากไม่สามารถคืนดินได้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดในมูลที่เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา และกำหนดอายุความทางอาญา คือ๑๐ ปีตาม ปอ มาตรา ๙๕(๓) ซึ่งยาวกว่าอายุความทางแพ่ง ๑ ปีตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ จึงต้องนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าคือ ๑๐ ปีมาใช้บังคับตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคสอง 
๑๒.ข้อต่อสู้ที่ว่า “กระทำผิดทางอาญาที่มีอายุความ ๑๐ ปี คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ยังไมได้ฟ้องจำเลย จำเลยเป็นเพียงผู้ต้องหาเท่านั้น ตราบใดคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ไม่อาจอาศัยอายุความในคดีอาญามาบังคับคดีละเมิดนี้ได้ โดยโจทก์ต้องฟ้องตามอายุความใน ปพพ มาตรา ๔๔๘ เมื่อมีการรายงานเหตุลักลอบขุดดินเมื่อ ๑๑ ส.ค.๒๕๔๘และโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดเมื่อ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘ได้มอบอำนาจให้ทำการฟ้องคดีนั้นไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดอันจะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่กรม..ก....ยังไม่แปรสภาพเป็นกรม..ข... ประกอบกับเมื่อมีหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยลักลอยขุดดินไป เมื่อวันที่ ๙ กค ๒๕๔๔ มีคำสั่งให้ทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยปลัดกระทรวงทราบเรื่องและแจ้งคำสั่งต่อไปยังอธิบดีเมื่อ ๑๑ กค ๒๕๔๔ อธิบดีจึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนข้อเท็จจริงถือได้ว่าอธิบดีดีรู้ถึงเหตุแห่งการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ กค ๒๕๔๔ หรืออย่างช้าก็จะรู้ว่าเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้ทำการสอบสวนเสร็จและอธิบดีลงนามรับทราบการสอบสวนเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕ “ นั้นเห็นว่าการทราบเป็นเพียงการทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมื่อยังไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการมาหาตัวผู้กระทำความผิดจะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดยังหาได้ไม่ 
๑๓ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาให้เสร็จตามรูปคดี โจทก์ฏีกา ศาลฏีกาพิพากษากลับให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฏีกา ศาลฏีกาพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ นั้น เห็นว่า .โจทก์ฟ้องแพ่งให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักไปหรือให้ชดใช้ราคาจึงเป็นการใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการตาม ปอ มาตรา ๓๓๔,๓๓๕ ซึ่งมีอายุความ ๑๐ ปี ยาวกว่าอายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่งจึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘วรรคสอง แม้พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาก็ตาม เป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ฟ้องทางอาญา ซึ่ง ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญาสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จะฟ้องแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา จึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ โจทก์อ้างว่าจำเลยขุดดินวันที่ ๕ มิ.ย. ๒๕๔๐ถึงวันที่ ๑ ส.ค.๒๕๔๑ โจทก์ฟ้องวันที่๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ ยังไม่พ้น ๑๐ ปี ไม่ขาดอายุความ 
๑๔.ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ นั้นเห็นว่า ตามฏีกาจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนที่จำเลยฏีกาว่าเป็นเรื่องผิดเงื่อนไขในสัญญาระหว่างกรม.....กับจำเลย จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้ 
๑๕.โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำนวนดินที่ถูกลักไปมีจำนวน ๑๙,๕๗๐ ลบเมตร ขอให้จำเลยส่งมอบดินจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งมอบดินจำนวน ๑๙,๗๕๐ ลบ เมตร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในฟ้องและการสืบพยาน เชื่อว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดจึงเห็นสมควรแก้ไข เป็นเรื่องผิดหลงผิดพลาดเล็กน้อยน่ามาจากการพิมพ์ผิดพลาดพิมพ์เลขสลับที่กัน การที่ศาลฏีกาแก้ไขเป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงตาม ปวพ มาตรา ๑๔๔(๑),๒๔๖,๒๔๗
๑๖.นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดหลังฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒(๓) อยู่แล้วไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคต ๑๐๐ บาท โดยศาลสามารถพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้อยู่แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในเงินจำนวนดังกล่าว ไม่ใช่ค่าขึ้นศาลในอนาคตที่ต้องเรียกเก็บ การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฏีกา การเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวมาจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฏหมายได้เป็นทางให้จำเลยเสียเปรียบตาม ปพพ มาตรา ๔๐๖ จำเลยมีสิทธิ์ได้รับคืนเงินดังกล่าว

“พรากเพราะรัก หรืออายุเป็นเหตุ”

๑. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์มุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลมิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆอันเป็นผลกระทบกระทั้งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย ไม่ว่าผู้เยาว์จะไปอยู่ที่แห่งใด หากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา หรือผู้ดูแลตลอดเวลา กฎหมายไม ได้จำกัดว่า พรากโดยวิธีการอย่างใดและไม่ว่าผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายออกจากบ้านไปเองโดยมีผู้ชักนำหรือไม่มีผู้ชักนำก็ตาม ก็เป็นความผิดทั้งสิ้น การที่ผู้เยาว์ไปหาจำเลยที่บ้าน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายนัดหมายชักชวนกันก่อนแล้วจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากไปโดยปริยาย การที่ผู้เยาว์โทรศัพท์หาจำเลยว่า จะหนีออกจากบ้านไปพัทยาและนัดพบจำเลย เมื่อพบกันจำเลยไม่ยอมให้ผู้เยาว์ไปตามลำพังแต่จำเลยขอไปด้วย โดยเปิดห้องพักอยู่ด้วยกัน ๒ คืน ผู้เยาว์เป็นผู้ชำระห้องพักและค่าใช้จ่าย ทึ้งผู้เยาว์ยังให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีด้วยก็ตาม แต่จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ทุกคืน พฤติการณ์จำเลยไม่ใช่ไปเป็นเพื่อนแต่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารทั้งสองกรณี คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๔๙๒/๒๕๕๒
๒. ผู้เสียหายอายุ ๑๖ ปีเศษ อาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา แม้ผู้เสียหายไปเที่ยวที่ไหนกลับเมื่อใดก็ได้ ก็ยังอยู่ในอำนาจปกครองบิดามารดา จำเลยพบผู้เสียหายที่งานบวชพระแล้วพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราด้วยความสมัครใจผู้เสียหาย เป็นการล่วงอำนาจปกครองบิดามารดาเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ พรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจหรือไม่ ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๓๑๘ ทางพิจารณาได้ความทำผิดตามปอ มาตรา ๓๑๙ ศาลปรับบทลงโทษไม่ใช่เรื่องทางพิจารณาต่างจากฟ้อง คำพิพากษาฏีกา ๔๔๖๕/๒๕๓๐
๓. จำเลยมีภรรยาอยู่แล้ว ยังไม่ได้เลิกกับภรรยา ได้พาผู้เสียหายไปร่วมประเวณีโดยไม่มีเจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันท์ภรรยา เมื่อทราบว่าการกระทำของตนเป้นความผิดจึงให้มารดาไปขอขมาและนำเงินชดใช้ค่าเสียหายให้เพื่อไม่ให้ดำเนินคดีกับจำเลย แม้ฟังว่าผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยลัได้ร่วมประเวณีกับจำเลยก็เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา๑๒๘๗/๒๕๓๓
๔. ผู้เสียหายเต็มใจไปกับจำเลย หลังจากจำเลยพาผู้เสียหายไปแล้ว ญาติทั้งสองฝ่ายตกลงจัดพิธีแต่งงาน มีการมอบสินสอดทองมั่นให้ผู้ใหญ่ฝ่ายผู้เสียหายรับไปบางส่วน เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาถึงบ้าน ญาติผู้ใหญ่ผู้เสียหายจัดพิธีบอกผีบ้านผีเรือนตามประเพณีก่อนให้ผู้เสียหายเข้าบ้านพฤติการณ์ที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนั้นมีเจตนาพาไปเป็นภรรยาตั้งแต่แรก จำเลยไม่มีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเป็นภรรยา แม้ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ก็ไม่เป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของมารดา แม้จำเลยร่วมประเวณีกับผู้เสียหายระหว่างพักอยู่ด้วยกัน ก็ไม่ใช่การพาไปเพื่อการอนาจาร ไม่เป้นความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๔๕๘๗/๒๕๓๒
๕. ผู้เสียหายอายุ ๑๕ ปีเศษ ไปอยู่กับญาติที่บ้านอยู่ใกล้กัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะทะเลาะกับมารดาหรือมารดานำไปฝากก็ไม่ถือพ้นอำนาจปกครองของมารดา การที่ญาติผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายไปเอาหม้อยากับจำเลย แล้วจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย ทำให้กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๖๒๓๙/๒๕๓๑
๖. ผู้เสียหายอายุ ๑๕ ปีเศษไม่ได้พักอาศัยกับมารดา เพราะมารดานำไปฝากไว้กับผู้อื่นก็ไม่ถือพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา พาผู้เสียหายไปโดยมารดาไม่ยินยอมเป็นการล่วงอำนาจปกครองมารดา แม้ผู้เสียหายสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดา เป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากมารดา กากรกระทำอนาจารตาม ปอ มาตรา ๒๘๒และ ๓๑๙ หมายถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่น ซึ่งต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของบุคคลโดยตรงจะทำในที่รโหฐานหรือในที่สาธารณะก็ไม่มีผลแตกต่างกัน การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ถูกจำเลยพาไปในห้อองของโรงแรม แม้เป็นที่มิดชิด แต่ก็เป็นการกระทำในทางที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำเพื่ออนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๑๖๒๗/๒๕๓๙
๗. คำว่า “ ผู้ปกครอง”ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๙ หมายถึงผู้ใช้อำนาจปกครองอย่างบิดามารดา ผั้เสียหายเป็นผู้ปกครองและดูแลผู้เยาว์ในฐานะน้าและนายจ้าง โดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปจากผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันควรเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙. คำพิพากษาฏีกา ๕๐๓๘/๒๕๓๙
๘. ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไปทำงานพักอยู่ที่บ้าน น. ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับบ้านที่ตราดเพื่อเที่ยวสงกรานต์ ระหว่างนั้นบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่ง แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปดังนี่ ถือว่าระหว่างผู้เสียหายทำงานพักอยู่ที่บ้าน น. ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความปกครองของ น. ที่กรุงเทพ ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความคุ้มครองของ น. เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาบ้านที่ตราด ผู้เสียหายย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่บิดามารดาอนุญาตให้ไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งไม่เป็นเหตุให้พ้นจากความปกครองของบิดามารดา เมื่อจำเลยพาไปจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่ง ปอ มาตรา ๓๑๙ ตระหนักว่าผู้เยาว์อายุไม่เกิน ๑๘ ปี ยังขาดความสำนึกต่อเลห์กลทุรชนอาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อโดยง่าย สภาพที่บิดามารดาพยายามตามเรื่องที่บุตรหายไป แสดงว่าผู้เสียหายไม่ได้มีความประพฤติส่ำส่อนจนบิดามารดาหมดความห่วงใย การที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปก่อความทุกข์ใจใหญ่หลวงแก่บิดามารดา พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุรอการลงอาญา คำพิพากษาฏีกา๑๘๐๐/๒๕๔๑
๙. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากพาผู้เสียหายที่เป็นหญิงอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ไปเสียจากบิดามารดาด้วยเจตนาเพื่ออยู่กินเป็นสามีภรรยากับผู้เสียหายโดยสุจริต แม้ผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการพรากพาไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๑๐๙๗/๒๕๑๓
๑๐. จำเลยเขียนจดหมายนัดผู้เสียหายอายุ ๑๔ ปีไปอยู่ด้วยกัน บอกให้เอาเงินและของมีค่าไปด้วย จำเลยพาผู้เสียหายไปเบิกเงินจากธนาคารทั้งหมดเอามาเก็บไว้เสียเองและแบ่งให้มารดาจำเลยครึ่งหนึ่ง จำเลยพาผู้เสียหายย้ายที่อยู่หลายแห่ง เมื่อมารดาผู้เสียหายตามไปพบที่ต่างจังหวัด จำเลยหนีการจับกุมไปได้ ไม่กล้าสู้ความจริงว่าพาไปเป็นภรรยา ไม่มาตกลงกัน พฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายโดยยกความรักใคร่ฉันท์ชู้สาวมาอ้างกลบเกลื่อนความคิดกระทำอนาจาร และหลอกเอาทรัพย์สินมีค่าของผู้เสียหาย จำเลยมีภรรยาแล้ว และขณะพาผู้เสียหายหลบหนี จำเลยก็ยังอยู่กินกับภรรยา เป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๓๒๘/๒๕๒๗
๑๑. จำเลยชวนผู้เสียหายอายุ ๑๗ ปีไปทานอาหารแล้วพาไปร่วมประเวณี โดยบิดามารดาผู้เสียหายไม่ทราบว่าผู้เสียหายไปไหน มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ แต่จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาจนผู้เสียหายตั้งครรถ์ ศาลฏีการอการลงโทษจำคุกให้จำเลย คำพิพากษาฏีกา ๑๙๖๑/๒๕๒๙
๑๒. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร มุ่งถึงการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรในทางเพศ แม้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารเพราะผู้เสียหายยินยอม แต่ก็เป้นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แม้บิดามารดาผู้เสียหายจะออกไปนอกบ้านขณะที่ผู้เสียหายออกจากบ้านและจำเลยได้พาไปที่ขหนำก็ตาม ยังถือว่าผู้เสียหายอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนอนค้างคืนที่ขนำในสวนโดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย แล้วจำเลยได้กอดปล้ำหอมแก้ม จับหน้าอกผู้เสียหาย ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย มีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ วรรคแรก โจทก์ฟ้องจำเลยพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย ตาม ปอ มาตรา ๓๑๘ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยกับจำเลยเป็นกรณีตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่งมีโทษเบากว่าศาลย่อมลงโทษจำเลยตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามประมวลกฏหมายอาญาบัญญัติไว้เป็นความผิดทั้งสองประการ คำพิพากษาฏีกา ๒๒๔๕/๒๕๓๗
๑๓. การที่จำเลยพาผู้เสียหายอายุ ๑๖ ปีไปด้วยความยินยอมผู้เสียหาย แล้วรับจะหาสินสอดไปให้บิดาผู้เสียหาย เมื่อหาเงินไม่ได้ก็ให้ผู้เสียหายกลับบ้าน หลังจากนั้นคืนเดียวจำเลยก็ได้หญิงอื่นเป็นภรรยา แสดงว่าจำเลยไม่ได้ตั้งใจจะเอาผู้เสียหายไปเลี้ยงดูเป็นภรรยาอย่างจริงจังแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ฟ้องว่าพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปตามมาตรา ๓๑๘ ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เยาว์เต็มใจไปอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลลงโทษจำเลยตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามประมวลกฏหมายอาญาก็บัญญัติว่าเป็นความผิดอยู่แล้ว คำพิพากษาฏีกา ๒๐๒๙/๒๕๓๐
๑๔. การที่ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุ ๑๕ ปีเศษ ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ออกจากห้องไปพูดจาปรับความเข้าใจกับจำเลยห่างจากห้องพักที่เกิดเหตุ ๑๐ เมตร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปพูดคุยกับจำเลย ยังไม่เป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เสียหาย ไม่เป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย ไม่เป้นความผิดพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๒๓๗๕/๒๕๔๑
๑๕. จำเลยกับผู้เยาว์รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น ๒๐ กว่าคืน แล้วกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์และพักที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก ๑๐ วัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่ใช่พาไปเพื่อการอนาจาร ไม่เป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๖๒/๒๕๑๓
๑๖. จำเลยพาผู้เสียหายที่เป็นหญิงอายุ ๑๗ ปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อเป็นภรรยาจำเลย โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภรรยาอยู่แล้ว ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๒๑๗๗/๒๕๑๗
๑๗. ชายอายุ ๒๑ ปี พาหญิงอายุ ๑๗ ปี ๙ เดือนไปจากมารดาผู้ปกครองเพื่ออยู่กินเป็นสามี โดยชายหญิงไม่มีสามีภรรยาหรือคนรักอื่น ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๖๘/๒๕๑๘
๑๘. จำเลยไม่เคยมีภรรยา รักใคร่ชอบพอผู้เสียหาย ผู้เสียหายหนีบิดามารดามาอยู่กับจำเลยโดยสมัครใจเป็นเวลา ๖ เดือน แล้วไปอยู่กับบิดาเพราะจำเลยขับไล่ไม่ใช่ถูกทอดทิ้ง หลังจากนั้นบิดาผู้เสียหายไปแจ้งความข้อหาพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร จำเลยส่งญาติผู้ใหญ่ไปขอขมา บิดาผู้เสียหายยอมรับขมาและยอมรับจำเลยเป็นบุตรเขย จำเลยอยู่บ้านผู้เสียหาย ๑ เดือนแล้วออกจากบ้านผู้เสียหายไปทำนาที่นครปฐมและไม่กลับมาหาผู้เสียหายอีกเลย ผู้เสียหายก็ไม่ต้องการไปอยู่กินกับจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการพรากผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภรรยาไม่ใช่เพื่อการอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๑๙๗/๒๕๒๕
๑๙. จำเลยกับผู้เสียหายเป้นคู่รักกัน เคยไปเที่ยวด้วยกันหลายนหน มีจดหมายรักถึงกัน คินเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปนอนพักที่บ้านคนอื่น บอกว่าพาเมียมาขอนอนพักด้วย ระหวว่างทานข้าวผู้เสียหายกับจำเลยก็หยอกล้อกัน เป็นการพาไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่ใช่เพื่อการอนาจาร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ คำพิพากษาฏีกา ๑๖๙๖/๒๕๓๒
ข้อสังเกต๑.พรากผู้เยาว์อายุกว่า ๑๕ ปีแต่ไม่เกิน ๑๗ ปีไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙
๒..เด็กเกิดแต่หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิง แต่ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฏหมายของชาย ปพพ มาตรา ๑๕๔๖ เด็กจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายต่อเมื่อบิดามารดาได้จดทะเบียนกันภายหลัง บิดาจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปพพ มาตรา ๑๕๔๗
๓.อำนาจปกครองบุตรอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
๓.๑ มารดาหรือบิดาตาย
๓.๒ไม่แน่นอนว่าบิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว
๓.๓มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
๓.๔มารดาหรือบิดาเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
๓.๕ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดามารดา
๓.๖บิดามารดาตกลงกันตามที่กฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้ เช่น หย่าขาดจากกันให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับฝ่ายชาย เป็นต้น ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๖๖
๔.ผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่มีบิดามารดา หรือมีแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง อาจมีการตั้งผู้ปกครองในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๕
๕.อำนาจปกครองผู้เยาว์หมดไปเมื่อ
๕.๑ ถูกถอนอำนาจปกครอง เพราะตกเป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ในทางมิชอบ ประพฤติชั่วร้าย ญาติผู้เยาว์หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ถอนอำนาจปกครอง ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๒ ,๑๕๙๘/๘
๕.๒ ผู้อยู่ในอำนาจปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ ปพพ มาตรา ๑๕๗๘,๑๕๙๘/๖
๖.. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์มุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลมิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆอันเป็นผลกระทบกระทั้งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย ไม่ว่าผู้เยาว์จะไปอยู่ที่แห่งใด หากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา หรือผู้ดูแลตลอดเวลา กฎหมายไม ได้จำกัดว่า พรากโดยวิธีการอย่างใดและไม่ว่าผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายออกจากบ้านไปเองโดยมีผู้ชักนำหรือไม่มีผู้ชักนำก็ตาม ก็เป็นความผิดทั้งสิ้น 
๗.. ที่ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า “การที่ผู้เยาว์ไปหาจำเลยที่บ้าน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายนัดหมายชักชวนกันก่อนแล้วจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากไปโดยปริยาย” นั้นน่าจะหมายความว่าได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้พาผู้เยาว์ไปตามสถานที่ต่างๆได้แล้วไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เท่านั้น แต่ไม่น่าหมายความรวมถึงว่าเมื่อบิดามารดาผู้เยาว์อนุญาตให้ร่วมประเวณีได้แล้วไม่เป็นความผิดเพราะตามปอ มาตรา ๒๗๗,๒๗๙ การร่วมประเวณีหรือกระทำอนาจารแก่เด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีบริบรูณ์เป็นความผิดตามกฎหมาย แม้เด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นแม้บิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลจะยินยอมให้ร่วมประเวณีได้ แต่หากเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีแล้วก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ดี
๘. แม้ผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายก่อนโทรศัพท์หาจำเลยว่า จะหนีออกจากบ้านและนัดพบจำเลย แม้ ผู้เยาว์เป็นผู้ชำระห้องพักและค่าใช้จ่าย ทั้งยังให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีด้วยก็ตาม การที่จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ทุกคืน พฤติการณ์จำเลยไม่ใช่ไปเป็นเพื่อนแต่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร นั้นก็คือ ใครนัดใครก่อนไม่สำคัญ สำคัญที่ไปโดยได้รับอนุญาตจากบาดมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลหรือไม่เท่านั้น หากไมได้รับอนุญาตการไปกับผู้เยาว์ย่อมเป็นการล่วงอำนาจบิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลแล้วย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เมื่อพาไปแล้วมีการร่วมประเวณีกันจึงเป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
๙.ผู้เยาว์ที่ยัง อาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา แม้ผู้เสียหายไปเที่ยวที่ไหนกลับเมื่อใดก็ได้ อำนาจปกครองบิดามารดายังคงมีอยู่ อำนาจปกครองผู้เยาว์หมดไปเมื่อ
๙.๑ ถูกถอนอำนาจปกครอง เพราะตกเป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ในทางมิชอบ ประพฤติชั่วร้าย ญาติผู้เยาว์หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ถอนอำนาจปกครอง ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๒ ,๑๕๙๘/๘
๙.๒ ผู้อยู่ในอำนาจปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ ปพพ มาตรา ๑๕๗๘,๑๕๙๘/๖
๑๐.จำเลยพบผู้เสียหายที่งานบวชพระแล้วพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราด้วยความสมัครใจผู้เสียหาย เป็นการล่วงอำนาจปกครองบิดามารดาเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ พรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจหรือไม่ ฟ้องพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจ ขอให้ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๓๑๘ ทางพิจารณาได้ความทำผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ตามปอ มาตรา ๓๑๙ ไม่ใช่เรื่องทางพิจารณาต่างจากฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒ วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลลงโทษได้โดยปรับบทลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ 
๑๑. การที่ผู้เยาว์ไปหาจำเลยที่บ้าน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายนัดหมายชักชวนกันก่อนแล้วจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากไปโดยปริยาย การที่ผู้เยาว์โทรศัพท์หาจำเลยว่า จะหนีออกจากบ้านไปพัทยาและนัดพบจำเลย เมื่อพบกันจำเลยไม่ยอมให้ผู้เยาว์ไปตามลำพังแต่จำเลยขอไปด้วย โดยเปิดห้องพักอยู่ด้วยกัน ๒ คืน ผู้เยาว์เป็นผู้ชำระห้องพักและค่าใช้จ่าย ทั้งผู้เยาว์ยังให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีด้วยก็ตาม แต่จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ทุกคืน พฤติการณ์จำเลยไม่ใช่ไปเป็นเพื่อนแต่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารทั้งสองกรณี 
๑๒.ผู้เยาว์ที่ยัง อาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา อำนาจปกครองยังอยู่ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง
๑๓.หากจำเลยมีภรรยาอยู่แล้ว ยังไม่ได้เลิกกับภรรยา ได้พาผู้เสียหายไปร่วมประเวณีโดยไม่มีเจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันท์ภรรยา เมื่อทราบว่าการกระทำของตนเป็นความผิดจึงให้มารดาไปขอขมาและนำเงินชดใช้ค่าเสียหายให้เพื่อไม่ให้ดำเนินคดีกับจำเลย แม้ฟังว่าผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยได้ร่วมประเวณีกับจำเลยก็เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ เป็นความผิดเพราะมีภรรยาอยู่แล้ว พาผู้เสียหายไปร่วมประเวณีโดยไม่มีเจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันท์ภรรยา
๑๔.ผู้เสียหายเต็มใจไปกับจำเลย หลังจากจำเลยพาผู้เสียหายไปแล้ว ญาติทั้งสองฝ่ายตกลงจัดพิธีแต่งงาน มีการมอบสินสอดทองมั่นให้ผู้ใหญ่ฝ่ายผู้เสียหายรับไปบางส่วน เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาถึงบ้าน ญาติผู้ใหญ่ผู้เสียหายจัดพิธีบอกผีบ้านผีเรือนตามประเพณีก่อนให้ผู้เสียหายเข้าบ้าน การบอกกล่าวผีบ้านผีเรือนหรือผูกข้อมือเป็นการขอขมาและทำการแต่งงานในวัฒนธรรมของบางพื้นที่ในประเทศไทย ถือเป็นการแต่งงานแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยพาผู้เสียหายไปนั้นมีเจตนาพาไปเป็นภรรยาตั้งแต่แรก ประกอบทั้งจำเลยไม่มีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเป็นภรรยา แม้ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ก็ไม่เป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของมารดา แม้จำเลยร่วมประเวณีกับผู้เสียหายระหว่างพักอยู่ด้วยกัน ก็ไม่ใช่การพาไปเพื่อการอนาจาร ไม่เป็นความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
๑๕.การที่ผู้เยาว์ ไปอยู่กับญาติที่บ้านอยู่ใกล้กัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะทะเลาะกับมารดาหรือมารดานำไปฝากก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของมารดาหมดไป อำนาจปกครองของมารดายังมีอยู่ตลอดเวลา การที่ญาติผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายไปเอาหม้อยากับจำเลย ไม่ได้ทำให้อำนาจปกครองผู้เยาว์หมดไป การอนุญาตเพื่อไปเอาสิ่งของแต่ไม่ใช่การอนุญาตเพื่อให้จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำอนาจาร เมื่อจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย ทำให้กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร 
๑๖.แม้ผู้เยาว์ไม่ได้พักอาศัยกับมารดา เพราะมารดานำไปฝากไว้กับผู้อื่นก็ไม่ถือพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา การพาผู้เสียหายไปโดยมารดาไม่รู้เห็นยินยอมเป็นการล่วงอำนาจปกครองมารดา แม้ผู้เสียหายสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดา เป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากมารดาแล้ว 
๑๗. การกระทำอนาจารตาม ปอ มาตรา ๒๘๒และ ๓๑๙ หมายถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่น ซึ่งต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของบุคคลโดยตรงจะทำในที่รโหฐานหรือในที่สาธารณะก็ไม่มีผลแตกต่างกัน การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ถูกจำเลยพาไปในห้องของโรงแรม แม้เป็นที่มิดชิด แต่ก็เป็นการกระทำในทางที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำเพื่ออนาจาร นั้นก็คือ แม้กระทำอนาจารในที่รโหฐาน หรือกระทำต่อหน้าธารกำนัลมีคนอื่นเห็น ก็ถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่นแล้ว
๑๘.คำว่า “ ผู้ปกครอง”ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๙ หมายถึงผู้ใช้อำนาจปกครองอย่างบิดามารดา ไม่ได้หมายเฉพาะตัวบิดามารดาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและดูแลผู้เยาว์ในฐานะน้าและนายจ้าง โดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปจากผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันควรเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ สังเกตนะครับว่าอำนาจปกครองเกิดขึ้นเพราะได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เยาว์ให้ดูแลผู้เยาว์ จึงเกิดอำนาจปกครองผู้เยาว์ได้. 
๑๙.ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไปทำงานพักอยู่ที่บ้าน น. ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับบ้านที่ตราดเพื่อเที่ยวสงกรานต์ ระหว่างนั้นบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่ง แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปดังนี้ ถือว่าระหว่างผู้เสียหายทำงานพักอยู่ที่บ้าน น. ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความปกครองของ น. ที่กรุงเทพ แม้ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความคุ้มครองของ น. แต่เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาบ้านที่ตราด ผู้เสียหายย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาด้วย การที่บิดามารดาอนุญาตให้ไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งไม่เป็นเหตุให้พ้นจากความปกครองของบิดามารดา เมื่อจำเลยพาไปจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ นั้นก็คือ แม้ไปทำงานอยู่กับนายจ้าง นายจ้างมีอำนาจปกครอง แต่อำนาจปกครองของนายจ้างก็ไม่ได้ลบหรือถอนอำนาจปกครองของบิดามารดาไปแต่อย่างใด อำนาจปกครองไปเมื่อเข้าตามข้อสังเกตที่ ๓ ,๔ ,๕
๒๐.ใน ปอ มาตรา ๓๑๙ ตระหนักว่าผู้เยาว์อายุไม่เกิน ๑๘ ปี ยังขาดความสำนึกต่อเลห์กลทุรชนอาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อโดยง่าย สภาพที่บิดามารดาพยายามตามเรื่องที่บุตรหายไป แสดงว่าผู้เสียหายไม่ได้มีความประพฤติส่ำส่อนจนบิดามารดาหมดความห่วงใย การที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปก่อความทุกข์ใจใหญ่หลวงแก่บิดามารดา พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุรอการลงอาญา 
๒๑.เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากพาผู้เสียหายที่เป็นหญิงอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ไปเสียจากบิดามารดาด้วยเจตนาเพื่ออยู่กินเป็นสามีภรรยากับผู้เสียหายโดยสุจริต คือพาไปแต่ไม่มีเจตนาพาไปอยู่กินฉันท์สามีภรรยา แม้ผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการพรากพาไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๒.พฤติการณ์จำเลยเขียนจดหมายนัดผู้เสียหายอายุ ๑๔ ปีไปอยู่ด้วยกัน บอกให้เอาเงินและของมีค่าไปด้วย จำเลยพาผู้เสียหายไปเบิกเงินจากธนาคารทั้งหมดเอามาเก็บไว้เสียเองและแบ่งให้มารดาจำเลยครึ่งหนึ่ง แล้วพาผู้เสียหายย้ายที่อยู่หลายแห่ง เมื่อมารดาผู้เสียหายตามไปพบที่ต่างจังหวัด จำเลยหนีการจับกุมไปได้ ไม่กล้าสู้ความจริงว่าพาไปเป็นภรรยา ไม่มาตกลงกัน พฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายโดยยกความรักใคร่ฉันท์ชู้สาวมาอ้างกลบเกลื่อนความคิดกระทำอนาจาร และหลอกเอาทรัพย์สินมีค่าของผู้เสียหาย ประกอบทั้งจำเลยมีภรรยาแล้ว และขณะพาผู้เสียหายหลบหนี จำเลยก็ยังอยู่กินกับภรรยา จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๓. พาผู้เสียหายอายุ ๑๗ ปีไปทานอาหารแล้วพาไปร่วมประเวณี โดยบิดามารดาผู้เสียหายไม่ทราบว่าผู้เสียหายไปไหน มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ การที่จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาจนผู้เสียหายตั้งครรถ์ เป็นการลุแก่โทษ พยายามบรรเทาผลร้ายของการกระทำความผิด ศาลฏีการอการลงโทษจำคุกให้จำเลย 
๒๔. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร มุ่งถึงการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรในทางเพศ แม้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารเพราะผู้เสียหายยินยอม แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แต่หากผู้เสียหายไม่ยินยอมก็จะเป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่ยินยอม ทั้งยังเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารด้วย แม้บิดามารดาผู้เสียหายจะออกไปนอกบ้านขณะที่ผู้เสียหายออกจากบ้านและจำเลยได้พาไปที่ขหนำก็ตาม ยังถือว่าผู้เสียหายอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนอนค้างคืนที่ขนำในสวนโดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย แล้วจำเลยได้กอดปล้ำหอมแก้ม จับหน้าอกผู้เสียหาย ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย มีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ วรรคแรก 
๒๕.ฟ้องจำเลยพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย ตาม ปอ มาตรา ๓๑๘ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยกับจำเลยเป็นกรณีตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่งมีโทษเบากว่าศาลย่อมลงโทษจำเลยตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามประมวลกฏหมายอาญาบัญญัติไว้เป็นความผิดทั้งนั้น เป็นเรื่องทางพิจารณาต่างจากฟ้อง ฟ้องว่าพรากโดยไม่เต็มใจ ทางพิจารณาได้ความว่าเต็มใจไปด้วย ไม่ว่าการพรากจะไปด้วยความเต็มใจหรือไม่ก็เป็นการกระทำความผิดอยู่ดี เมื่อฟ้องบทหนักมาทางพิจารณาได้ความเป็นความผิดที่มีอัตราลงโทษเบากว่าศาลย่อมลงโทษจำเลยตามบทเบาได้ ไม่ถือพิจารณาต่างจากฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง
๒๖.การที่จำเลยพาผู้เสียหายอายุ ๑๖ ปีไปด้วยความยินยอมผู้เสียหาย แล้วรับจะหาสินสอดไปให้บิดาผู้เสียหาย เมื่อหาเงินไม่ได้ก็ให้ผู้เสียหายกลับบ้าน หลังจากนั้นคืนเดียวจำเลยก็ได้หญิงอื่นเป็นภรรยา แสดงว่าจำเลยไม่ได้ตั้งใจจะเอาผู้เสียหายไปเลี้ยงดูเป็นภรรยาอย่างจริงจังแต่ประการใด หากมีเจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภรรยาอย่างจริงจังคงไม่มีหญิงอื่นเป็นภรรยาในชั่วข้ามคืน ถือได้ว่าจำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๗ฟ้องว่าพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปตามมาตรา ๓๑๘ ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เยาว์เต็มใจไปอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลลงโทษจำเลยตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามประมวลกฏหมายอาญาก็บัญญัติว่าเป็นความผิดอยู่แล้ว 
๒๘.การที่ผู้เยาว์อยู่ออกจากห้องไปพูดจาปรับความเข้าใจกับจำเลยห่างจากห้องพักที่เกิดเหตุ ๑๐ เมตร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปพูดคุยกับจำเลย ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยพรากหรือพาผู้เสียหายไปจากอำนาจปกครอง ยังไม่เป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เสียหาย ลำพังการไปพูดคุยปรับความเข้าใจกันโดยไม่มีการล่วงละเมิดทางเพศ ยังไม่เป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย ไม่เป็นความผิดพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร 
๒๗.รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น ๒๐ กว่าคืน แล้วกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์และพักที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก ๑๐ วัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่ใช่พาไปเพื่อการอนาจาร ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๘. จำเลยพาผู้เสียหายที่เป็นหญิงอายุ ๑๗ ปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อเป็นภรรยาจำเลย โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภรรยาอยู่แล้ว ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๒๙.ชายอายุ ๒๑ ปี พาหญิงอายุ ๑๗ ปี ๙ เดือนไปจากมารดาผู้ปกครองเพื่ออยู่กินเป็นสามี โดยชายหญิงไม่มีสามีภรรยาหรือคนรักอื่น ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อการอนาจารตาม ปอ มาตรา ๓๑๙ 
๓๐.จำเลยไม่เคยมีภรรยา รักใคร่ชอบพอผู้เสียหาย ผู้เสียหายหนีบิดามารดามาอยู่กับจำเลยโดยสมัครใจเป็นเวลา ๖ เดือน แล้วไปอยู่กับบิดาเพราะจำเลยขับไล่ไม่ใช่ถูกทอดทิ้ง หลังจากนั้นบิดาผู้เสียหายไปแจ้งความข้อหาพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร จำเลยส่งญาติผู้ใหญ่ไปขอขมา บิดาผู้เสียหายยอมรับขมาและยอมรับจำเลยเป็นบุตรเขย จำเลยอยู่บ้านผู้เสียหาย ๑ เดือนแล้วออกจากบ้านผู้เสียหายไปทำนาที่นครปฐมและไม่กลับมาหาผู้เสียหายอีกเลย ผู้เสียหายก็ไม่ต้องการไปอยู่กินกับจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการพรากผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภรรยาไม่ใช่เพื่อการอนาจาร 
๓๑.จำเลยกับผู้เสียหายเป็นคู่รักกัน เคยไปเที่ยวด้วยกันหลายหน มีจดหมายรักถึงกัน คืนเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปนอนพักที่บ้านคนอื่น บอกว่าพาเมียมาขอนอนพักด้วย ระหว่างทานข้าวผู้เสียหายกับจำเลยก็หยอกล้อกัน เป็นการพาไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่ใช่เพื่อการอนาจาร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๑๙

“ลักทรัพย์รับของโจร – คำพิพากษาเปลี่ยนแนว”

ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนหรือรับของโจร ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นต้องสอบถามให้ได้ความชัดว่ารับสารภาพฐานใดแล้วจึงพิพากษาลงโทษในข้อหาที่จำเลยรับสารภาพ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยให้ชัดเจนแต่กลับพิพากษาลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์ฯโดยไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยรับสารภาพในข้อหาดังกล่าว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ คำพิพากษาฏีกา ๗๗๓๕/๒๕๕๗
ข้อสังเกต๑. กรณีที่ทรัพย์สินหายแต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าคนร้ายคือใครแต่ไปพบของกลางอยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยอาจเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ผู้เสียหายไป หรืออาจไม่ใช่คนร้ายที่ลักทรัพย์ผู้เสียหาย แต่รู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก เจ้าพนักงานยักยอก แล้วช่วยซ่อนเร็น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับจำนำ หรือรับทรัพย์นั้นไว้ด้วยประการใดๆโดยรู้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก เจ้าพนักงานยักยอก อันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ผู้เสียหายหรือเป็นคนช่วยซ่อนเร็น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับจำนำ ทรัพย์นั้นไว้โดยรู้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดฐานรับของโจร จึงต้องดำเนินคดีในความผิดดังกล่าวทั้งสองฐาน
๒.ในการร่างฟ้องในตอนแรกจะบรรยายฟ้องเพียงมีคนร้ายไม่ทราบว่าเป็นใครเข้ามาลักทรัพย์ไปโดยไม่ยืนยันว่าจำเลยหรือใครเป็นคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ แล้วในตอนท้ายจะบรรยายฟ้องว่า มีการพบทรัพย์อยู่ในความครอบครองของจำเลย หากจำเลยไม่ได้เป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ไปก็ต้องเป็นคนช่วยซ่อนเร็น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับจำนำ ทรัพย์นั้นไว้โดยรู้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดฐาน รับของโจรทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แบบนี้จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้เต็มที่ แต่หากบรรยายฟ้องในตอนแรกยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์แล้วตอนท้ายมาบรรยายฟ้องยืนยันว่าจำเลยเป็นคนรับของโจรฟ้องจะขัดแย้งกันอยู่ในตัว จำเลยไม่สามารถเข้าใจข้อกล่าวหาและไม่สามารถต่อสู้คดีได้เต็มที่ เป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามปวอ มาตรา ๑๕๘(๕) จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหาได้ ศาลอาจสั่ง ให้ไปแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง ไม่ประทับฟ้อง(กรณีศาลใช้อำนาจไต่สวนมูลฟ้องคดีของพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๑๖๒(๒)) หรือพิพากษายกฟ้องโจทก์ตาม ปวอ มาตรา ๑๖๑
๓.การร่างฟ้องแบบนี้(ฟ้องฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร)เป็นการ “ฟ้องเพื่อให้ศาลเลือกลงโทษตามทางพิจารณาที่ได้ความ” ซึ่งหากทางพิจารณาได้ความไปในทางใด หรือศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดฐานใด ศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว ทางปฏิบัติอัยการจะไม่อุทธรณ์ฏีกาเพราะเป็นการฟ้องให้ศาลเลือกลงโทษฐานใดฐานหนึ่งตามที่ได้ความ เมื่อศาลลงโทษฐานใดฐานหนึ่งแล้ว พนักงานอัยการต้องพอใจในการตัดสินของศาล จะมาอุทธรณ์ฏีกาว่าศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งไม่เต็มตามคำขอหรือคำขอท้ายฟ้องตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒วรรคแรก ไม่ได้
๔.ในการบรรยายฟ้องหากไปบรรยายฟ้องในตอนต้น “ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย” ที่เข้าไปลักทรัพย์แล้วในตอนท้ายมา” ยืนยันว่าพบของกลางที่จำเลยโดยจำเลยช่วยซ่อนเร็น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับจำนำ ทรัพย์นั้นไว้โดยรู้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญา อันเป็นความผิดฐานรับของโจร” เท่ากับยืนยันในตอนแรกว่าจำเลยลักทรัพย์ผู้เสียหายไป แล้วมายืนยันในตอนท้ายอีกว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจร หากเป็นดังนี้ถือฟ้องขัดกันในสาระสำคัญ จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อกล่าวหาและต่อสู้คดีได้เต็มที่ เพราะเมื่อกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้วย่อมไม่เป็นความผิดฐานรับของโจรอีก หรือหากกระทำความผิดฐานรับของโจรแล้วก็ย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อเป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันในตัว ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะมากระทำความผิดทั้งลักทรัพย์และรับของโจรในคราวเดียวกันในทรัพย์ชิ้นเดียวกันได้ ถือเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม บรรยายฟ้องเคลือบคลุม จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้เต็มที่ ศาลอาจสั่ง ให้ไปแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง ไม่ประทับฟ้อง(กรณีศาลใช้อำนาจไต่สวนมูลฟ้องคดีของพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๑๖๒(๒),๑๖๕) หรือพิพากษายกฟ้องโจทก์ตาม ปวอ มาตรา ๑๖๑
๕.ในทางปฏิบัติเมื่อมีการยื่นฟ้องในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยไม่ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ เพียงแต่พบทรัพย์ที่ถูกลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย หากจำเลยไม่เป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ผู้เสียหายไป จำเลยก็เป็นผู้กระทำความผิดฐานรับของโจร ซึ่งเมื่อฟ้องมาดังนี้ในวันนัดสอบถามคำให้การจำเลย ศาลต้องสอบถามให้ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยรับสารภาพหรือปฏิเสธ หากรับสารภาพ รับสารภาพในข้อหาใด เป็นหน้าที่ของศาลที่ต้องสอบถามให้ได้ความแน่ชัด หากจำเลยบอกเพียง “ ขอรับสารภาพตามฟ้อง” หรือ “ ขอรับสารภาพ” เป็นหน้าที่ของศาลตาม ปวอ มาตรา ๑๗๒วรรคสอง ต้องสอบถามว่ารับสารภาพในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับสารภาพในข้อหารับของโจร หากศาลไม่สอบถาม เป็นหน้าที่อัยการต้องสอบถาม หากจำเลยยังคงยืนกรานแบบเดิม หรือศาลไม่ได้สอบถามว่ารับสารภาพฐานใด พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบตาม ปวอ มาตรา ๑๗๔วรรคสอง เพื่อให้ได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานใด ศาลจึงจะพิพากษาลงโทษได้
๖.หากศาลไม่ถามและอัยการไม่นำพยานมานำสืบ ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งไม่ได้ ซึ่งในแนวคำพิพากษาเดิม เช่น คำพิพากษาฏีกา ๖๗๔๒/๒๕๔๔,๑๗๙๘/๒๕๕๐,๔๗๘๔/๒๕๕๐ ศาลสูงจะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่างโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ในแนวคำพิพากษาใหม่(คำพิพากษาฏีกาที่๗๗๓๕/๒๕๕๗)ได้กลับแนวคำพิพากษาเดิมๆโดย “ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่สอบคำให้การจำเลยใหม่แล้วพิพากษาไปตามรูปคดี คือสอบถามให้ได้ความชัดว่า รับสารภาพฐานลักทรัพย์ หรือรับสารภาพฐานรับของโจร เมื่อได้ความชัดว่ารับสารภาพในความผิดฐานใด แล้วจึงพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี
๗.หากในการสอบถามคำให้การจำเลยใหม่ จำเลยจะกลับคำให้การมาปฏิเสธ ไม่ขอรับสารภาพแล้ว ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าสามารถกระทำได้ เพราะจำเลยสามารถต้อสู้คดีได้เต็มที่ หากจำเลยไม่บอกว่ารับสารภาพหรือปฏิเสธต้องถือว่าจำเลยปฏิเสธ จะถือว่า การนิ่ง เป็นการรับแบบกฎหมายแพ่งไม่ได้ หรือแม้จำเลยรับสารภาพในคดีที่ต้องมีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ปวอ มาตรา ๑๗๖ หากโจทก์นำสืบไม่ได้ความว่ามีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น หรือจำเลยไม่ได้กระทำผิด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด คดีขาดอายุความ หรือมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษ ตาม ปวอ มาตรา ๑๘๕ แม้จำเลยรับสารภาพศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
๘.แม้คำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรที่จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ไม่บอกรับสารภาพฐานใด และศาลไม่ได้สอบถามว่ารับสารภาพฐานใดและอัยการไม่ได้นำพยานมาสืบแล้วศาลช้นต้นไปพิพากษาลงโทษในความผิดฐานใดฐานหนึ่งเข้า เมื่อศาลอุทธรณ์ศาลฏีกาพบในแนวคำพิพากษาเดิม ศาลสูงจะพิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์จะสามารถฟ้องจำเลยใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความก็ตาม โดยไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำเพราะยังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีแรกในเนื้อหาของการกระทำว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่อย่างไร ไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะไม่มีฟ้องอยู่ในศาลแล้วมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันในเรื่องเดียวกันนั้นอีก ไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเพราะยังไม่ได้มีการดำเนินการสืบพยานในศาลเป็นเพียงศาลสอบถามคำให้การในคดีก่อนแล้วพิพากษาลงโทษโดยไม่ได้สอบถามให้ได้ความชัดว่ากระทำผิดฐานใด แม้จะนำมาฟ้องใหม่ก็เป็นเรื่องการเสียเวลา เป็นภาระหน้าที่เป็นการเพิ่มงานขึ้นมาโดยไม่จำเป็นเพราะเมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลก็ปล่อยตัวจำเลยไป การที่จะได้ตัวจำเลยมาฟ้องจึงเป็นไปค่อนข้างจะยาก ต้องตามหาและตามจับตัวเพื่อนำมาฟ้อง และในขณะเดียวกัน เมื่ออัยการเจ้าของสำนวนไม่ได้แถลงขอนำพยานเข้าสืบถือเป็นความบกพร่องของพนักงานอัยการ ซึ่งอาจเกิดจากเพิ่งเป็นอัยการใหม่ๆไม่มีประสบการณ์ หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมีเจตนาทุจริตต้องการช่วยเหลือจำเลยโดยรู้ว่ามีคำพิพากษาฏีกาแนวเดิมซึ่งหากไม่ถามให้แน่ชัดว่ารับสารภาพฐานใดแล้วศาลชั้นต้นลงโทษฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลสูงพบก็จะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่างให้ยกฟ้องโจทก์ เมื่อรู้มีแนวคำพิพากษาดังกล่าวก็อาจมีเจตนาต้องการช่วยเหลือจำเลยโดยไม่แถลงขอสืบพยานเพื่อต้องการให้ศาลสูงยกฟ้อง ซึ่งความบกพร่องนี้อาจถูกว่ากล่าวตักเตือนหรือถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยได้
๙.หากอัยการแถลงขอสืบพยานแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตโดยเห็นว่าจำเลยรับสารภาพแล้วศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้ โดยเป็นความผิดที่มีอัตราโทษขั้นต่ำไม่ถึง ๕ ปี หรือเป็นโทษสถานหนักกว่านี้ที่จำเลยรับสารภาพแล้วไม่ต้องนำพยานเข้าสืบตาม ปวอ มาตรา ๑๗๖ หากเป็นดังนี้ พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งของศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตาม ปวอ มาตรา ๑๘๗,๑๙๖ เพื่อใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ฏีกาเพื่อขอนำพยานเข้าสืบ หากไม่มีการโต้แย้งคำสั่งถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ามาแล้วในศาลชั้นต้นตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕ ที่จะก่อให้เกิดสิทธิ์ในการอุทธรณ์ได้ หากอัยการไม่ทำดังนี้ทั้งที่รู้ว่าจำเลยให้การไม่แจ้งชัดว่ารับสารภาพฐานใดและเมื่อขอสืบพยานศาลไม่อนุญาต ก็นิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย ไม่ยื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งของศาลดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ฏีกาเพื่อขอนำพยานเข้าสืบ หากเป็นดังนี้ก็ถืออัยการบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่เพราะเป็นอัยการมือใหม่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานหรือเป็นเพราะมีเจตนาต้องการช่วยเหลือจำเลย .ซึ่งต้องดูพฤติการณ์เป็นเรื่องๆไป เมื่ออัยการศาลสูงตรวจสำนวนของอัยการศาลชั้นต้นพบข้อบกพร่องดังกล่าวจะมีหนังสือให้อัยการศาลชั้นต้นชี้แจงว่าเหตุใดจึงไม่นำพยานเข้าสืบ หรือเมื่อศาลไม่อนุญาตนำพยานเข้าสืบทำไมไม่ยื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาล ตามระเบียบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ ฯ ข้อ ๑๕๓ หากอัยการศาลสูงพบข้อบกพร่องของอัยการศาลชั้นต้นแล้วไม่รายงานถือเป็นความบกพร้องของอัยการศาลสูงที่ต้องถูกลงโทษทางวินัยตาม ระเบียบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฯ ข้อ ๑๔๙วรรคท้าย ดังนั้น หากอัยการศาลชั้นต้นไม่มีเหตุผลหรือมีเหตุผลไม่เพียงพออาจถูกแนะนำการปฏิบัติราชการ หากเป็นข้อบกพร่องที่ถึงขนาดที่จะเกิดความเสียหายและไม่อาจแก้ไขได้ อัยการศาลสูงต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับเพื่อรายงานสนง. อัยการสูงสุดทราบและอาจโดนตั้งกรรมการสอบทางวินัยฐานปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องหรือส่อเจตนาทุจริตหรือมีเจตนาช่วยเหลือจำเลยได้ ตามระเบียบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฯ ข้อ ๑๕๓วรรคท้าย

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตำรวจพายิ่งลักษณ์หนี

เทียบ คำพิพากษาฎีกาที่ 207/2517 โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2508 ถึงวันที่ 10 กันยายน2508 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยได้บังอาจช่วยนายทิม อยู่ดี ซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดและถูกพนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรีฟ้องในข้อหาฆ่านายเจริญ มาลาวงษ์ ศาลจังหวัดจันทบุรีพิพากษายกฟ้อง ตามคดีหมายเลขแดงที่ 797/2513 โจทก์อุทธรณ์ ศาลจังหวัดจันทบุรีนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่นายทิมอยู่ดี จงใจหลบหนีไม่ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลจังหวัดจันทบุรีจึงออกหมายจับนายทิม อยู่ดี เพราะเป็นผู้กระทำผิดฐานหลบหนีไม่ไป ศาลฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยได้บังอาจช่วยนายทิม อยู่ดี โดยให้พำนักโดยซ่อนเร้นนายทิม อยู่ดี และเมื่อตำรวจติดตามจับกุมนายทิม อยู่ดี จำเลยก็ช่วยบอกให้นายทิม อยู่ดี ทราบล่วงหน้าเพื่อหลบหนีไม่ให้ถูกจับกุม และเพื่อไม่ให้นายทิม อยู่ดี ต้องโทษ เหตุเกิดที่ตำบลกระแจะ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189
ศาลชั้นต้นสั่งว่า การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 เพราะการที่ศาลออกหมายจับนายทิม อยู่ดี จำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 797/2513 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 นั้น เป็นการออกหมายจับเพื่อให้ได้ตัวนายทิมจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้น หาใช่เพราะนายทิมจำเลยกระทำความผิดหรือต้องหาว่ากระทำความผิดฐานหนึ่งฐานใดอันมีโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ ให้ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 บัญญัติลงโทษผู้กระทำการช่วยเหลือผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด เพื่อมิให้ต้องรับโทษ มิได้บัญญัติลงโทษผู้ไม่มาฟังคำพิพากษาของศาล ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจแล้วไม่พบว่ามีตัวบทกฎหมายใดบัญญัติว่า คู่ความซึ่งไม่มาฟังคำพิพากษาของศาลตามวันนัด มีความผิดและมีโทษทางอาญา นายทิมจึงไม่เป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่ครบองค์ความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาได้ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่า นายทิม อยู่ดี เป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว สำหรับคดีที่นายทิมถูกฟ้องในข้อหาว่าฆ่านายเจริญ นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด แต่ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลสูงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่า นายทิมไม่ใช่ผู้กระทำผิดในข้อหาฐานนี้ คงเหลือแต่เรื่องนายทิมจงใจหลบหนีไม่ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จนศาลจังหวัดจันทบุรีออกหมายจับว่าจะเป็นการกระทำผิดหรือไม่ เห็นว่าการที่ศาลจังหวัดจันทบุรีออกหมายจับนายทิม ก็เพื่อให้ได้ตัวนายทิมมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หาใช่ออกหมายจับเพราะนายทิมกระทำผิดฐานหลบหนีไม่ไปศาลดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ นายทิมจึงไม่ใช่ผู้กระทำความผิด หรือผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด การที่จำเลยช่วยเหลือนายทิมด้วยประการต่าง ๆ ดังฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเสียนั้นชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

“ทำให้เกิดเพลิงไหม้”

๑จุดไฟเผาฟางข้าวในนาตัวเองโดยไม่ปรากฏว่ามีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๐อย่างไร เช่นขณะนั้นมีลมพัดแรงหรือโรงเรือนของผู้เสียหายอยู่ใกล้ชิดบริเวณที่จุดไฟซึ่งเป็นที่คาดเห็นได้ว่าเพลิงจะลามไปไหม้นาตลอดจนโรงเรือนข้างเคียงแน่นอน แต่จำเลยยังฝืนจุดไฟจนลุกลามไหม้ทรัพย์สินของผู้เสียหาย เมื่อระยะเวลาที่จำเลยจุดไฟจนถึงเวลาที่บ้านผู้เสียหายถูกเพลิงไหม้ห่างกันหลายชั่วโมง แสดงว่าไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น แต่เป็นเพราะจำเลยประมาทไม่ควบคุมดูแลให้เพลิงลุกไหม้อยู่ภายในครอบเขตที่จำกัด การกระทำของจำเลยจึงเป็นเรื่องขาดความระมัดระวังจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่นตาม ปอ มาตรา ๒๒๕หาใช่เป็นการกระทำผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๐ไม่.คำพิพากษาฏีกา ๑๒๘๕/๒๕๒๙
๒.จุดไฟเผากิ่งไม้แห้งในไร่ของจำเลย ไฟไหม้ลุกลามไปทรัพย์สินผู้เสียหาย ทั้งยังน่ากลัวจะไหม้โรงข้าวของผู้เสียหายอีกด้วย ผิดกฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๑๘๗วรรคสอง ไฟที่จำเลยจุดเผาได้ไหม้ต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายตามข้อ (๕) แห่งมาตรา ๑๘๖ ต้องลงโทษตามมาตรา ๑๘๖ แต่ขณะนี้กฎหมายลักษณะอาญาได้ยกเลิกใช้ไปแล้วใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทน การกระทำจำเลยเป็นความผิดตรงตาม ปอ มาตรา ๒๒๐ วรรคแรก แต่วรรคสองของมาตรานี้บัญญัติว่า “ ถ้าเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ใน ๒๑๘ให้ลงโทษตามที่ระบุไว้ใน ๒๑๘ แต่ในมาตรา ๒๑๘(๑)ถึง(๖)ไม่ได้บัญญัติเรื่องการวางเพิงเผาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย ฉะนั้นลงโทษตาม ปอ มาตรา ๒๒๐ วรรคสองไม่ได้ คงลงโทษตาม ปอ มาตรา ๒๒๐วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า มาตรา ๑๘๗วรรคแรกของกฎหมายลักษณะอาญา ตามมาตรา ๓ ของ ประกฏหมายอาญา คำพิพากษาฏีกา ๗๐๓/๒๕๐๐
๓.เผากระท่อมราคา ๔๑๓ บาท ราคาเล็กน้อยไม่น่ากลัวอันตรายต่อผู้ใดเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ คำพิพากษาฏีกา๘๑/๒๕๐๑
๔.ทรัพย์ที่เป็นอันตรายจากการวางเพลิงเป็นเพียงประตูบ้านที่ทำด้วยไม้มะค่าและต้นไม้ประดับคิดเป็นเงินประมาณ ๕,๐๐๐ บาท ถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีราคาน้อย ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายก็อยู่ในที่เกิดเหตุสามารถดับไฟได้ จึงไม่น่าเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นตาม ปอ มาตรา ๒๑๘(๑) ประกอบด้วย มาตรา ๒๒๓ คำพิพากษาฏีกา ๗๒๒/๒๕๔๕
๕จำเลยวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น มีผู้เข้าไปช่วยดับเพลิงแล้วถูกไฟลวกถึงแก่ความตาย การเข้าไปช่วยดับไฟเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายเอง หาใช่การวางเพลิงของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๔.คำพิพากษาฏีกาที่๑๔๑๒/๒๕๐๔
๖..ห้องที่จำเลยวางเพลิงเป็นตึกแถว จำเลยเช่าเปิดเป็นร้านขายยาและตรวจรักษาโรคในตอนกลางวัน ส่วนในตอนกลางคืนจำเลยและครอบครัวไปนอนที่อื่น ไม่มีคนอยู่อาศัยในห้องนั้น แต่มีห้องติดกันเป็นตึกแถวเดียวกันมีคนเช่าอาศัยหลับนอน ดังนั้นตึกแถวที่จำเลยวางเพลิงย่อมเป็นตึกแถวที่มีคนอยู่อาศัย จำเลยมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๑๘(๑) คำพิพากษาฏีกา ๒๗/๒๕๐๔
๗.. จำเลยจุดไฟเผาต้นไม้ที่โค่นไว้ในสวนของจำเลย จำเลยทำทางกันไฟไว้กว้าง ๒ ศอก แต่แดดร้อนจัดลมแรงไม่พอป้องกันไฟลามไปไหม้สวนของผู้อื่นได้ เป็นประมาท แม้คดีต้องห้ามฏีกาในข้อเท็จจริงศาลฏีการอการลงโทษได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๖๕/๒๕๒๓
๘ แม้ก่อนจุดไฟเผาสวนของจำเลย จำเลยได้ถากถางต้นไม้เพื่อกันไม่ให้ไฟลุกลามติดสวนผู้อื่น และไฟที่จำเลยจุดไม่ได้ลุกลามไปติดสวนผู้เสยหายในทันทีก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลและดับไฟที่จำเลยจุดเผาไว้ก่อนเกิดเหตุ ๓ ถึง ๔ วันให้หมด ปล่อยไว้ให้ติดขอนไม้จนเป็นเหตุให้ลุกลามไปไหม้ทรัพย์สินผู้เสียหาย จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๕.คำพิพากษาฏีกา ๒๐๙๐/๒๕๒๖
๙.จำเลยจุดไฟเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ นาฬิกา ไฟลามไหม้บ้านผู้อื่นซึ่งปลูกใกล้เคียงกันเวลาบ่าย ๓ โมง ระยะเวลาห่างกันหลายชั่วโมง แสดงว่าไม่มีลักษณะที่น่ากลัวจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น แต่เป็นเรื่องจำเลยตั้งอยู่ในความประมาทไม่ควบคุมดูแลไม่ให้เพลิงไหม้อยู่ในขอบเขตที่จำกัด เพลิงจึงได้ลุกลามไปยังที่นาข้างเคียงก่อให้เกิดความสูญเสียขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏลักษณะที่น่าเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๐แล้วก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตรานี้อันเป็นบทหนักได้ การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องขาดความระมัดระวังจนก่อให้เกิดความเสยหายตาม ปอ มาตรา ๒๒๕ คำพิพากษาฏีกา๑๒๘๕/๒๕๒๙
๑๐. จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ร่วมกันลักน้ำมันที่ปั้มผู้เสียหายโดยใช้สายไฟต่อขั้วแบตเตอร์รี่กับเครื่องปั้มดูดน้ำมันจากถังใต้ดินมาใส่ถังในรถยนต์ เมื่อดูดน้ำมันได้สี่ถังแล้ว จำเลยที่ ๒ ดึงสายไฟจากขั้วแบตเตอร์รี่ทำให้ปั้มติ๊กหยุดทำงานเพื่อจะเปลี่ยนสายยางไปใส่ถังที่๕ ทำให้เกิดประกายไฟทำให้เกิดเพลิงไหม้ พฤติการณ์ที่ร่วมกันลักทรัพย์โดยวิธีเช่นนี้ทำให้เกิดไอระเหยของน้ำมันกระจายอยู่ในบริเวณนั้นง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้ ถือเป็นการกระทำโดยประมาทเพราะแบตเตอรี่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและน้ำมันเป็นสิ่งที่ติดไฟง่าย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นเนื่องจากวิธีการในการลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสองซึ่งกระทำด้วยความประมาท ต้องถือเป็นผลอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทุกคนที่ร่วมกันลักทรัพย์ แม้จำเลยที่สามไม่ได้เป็นผู้ถอดสายไฟจากขั้วแบตเตอร์รี่ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่สามร่วมกระทำด้วย จำเลยที่สามจึงมีความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทคำพิพากษาฏีกา ๑๒๑๑/๒๕๓๐
๑๑.จำเลยจุดไฟเผากองฟางในลานนวดข้าวในเวลาแดดร้อนจัดและไม่ได้เตรียมการดับไฟที่อาจลุกลามไปได้ไว้พร้อมที่จะดับไฟได้ทัน เป็นการกระทำโดยประมาท คำพิพากษาฏีกา ๔๔๗๘/๒๕๓๑
๑๒. จำเลยทั้งสองจุดไฟเผาไม้ในที่ดินของตนจนน่าเป็นอันตรายแก่สวนยางพาราของผู้อื่น กับไม่ได้เตรียมป้องกันไม่ให้เพลิงลุลามไปไหม้สวนยางพาราข้างเคียงเพียงใช้ไม้ตีดับเท่านั้น ไม่เป็นการระมัดระวังอย่างเพียงพอ เมื่อดับไฟไม่ได้และไฟลุกลามไปไหม้สวนยางพาราของผู้เสยหาย เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๐ วรรคแรกและ๒๒๕ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท คำพิพากษาฏีกา๒๑๙๐/๒๕๓๑
ข้อสังเกต ๑.กระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆแม้เป็นของตนเองจนน่าเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๐
๒.ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท เป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย หรือกระทำโดยประมาทนั้นน่าเป็นอันตรายต่อชีวิตของบุคคลอื่น เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๕
๓. ศาลฏีกามองว่า การจุดไฟเผาทรัพย์สินของตนเองในขณะที่มีลมพัดแรงหรือมีโรงเรือนของบุคคลอื่นอยู่ใกล้ชิดบริเวณที่จุดไฟซึ่งเป็นที่คาดเห็นได้ว่าเพลิงจะลามไปไหม้นาตลอดจนโรงเรือนข้างเคียงจนน่าเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น แต่ก็ยังฝืนจุดไฟจนลุกลามไหม้ทรัพย์สินของผู้อื่น จึงเป็นการกระทำให้เกิดเพลิงไหม้ ตาม ปอ มาตรา ๒๒๐
๔.แต่ในคดีนี้แม้จุดไฟเผาวัตถุของตนแต่ก็เป็นเวลานานหลายชั่วโมงจึงเกิดเพลิงไหม้ที่ทรัพย์สินผู้อื่น ศาลฏีกาจึงมองว่า การจุดไฟดังกล่าวไม่มีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๐อย่างไร แต่เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยผู้จุดไฟเผาทรัพย์สินของตนจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดย คอยควบคุมดูแลให้เพลิงลุกไหม้อยู่ภายในครอบเขตที่จำกัด แต่จำเลยหาได้กระทำการดังกล่าวไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเรื่องขาดความระมัดระวังจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่นตาม ปอ มาตรา ๒๒๕หาใช่เป็นการกระทำผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๐ไม่.
๕.จุดไฟเผากิ่งไม้แห้งในไร่ของจำเลย ไฟไหม้ลุกลามไปทรัพย์สินผู้เสียหาย ทั้งยังน่ากลัวจะไหม้โรงข้าวของผู้เสียหายอีกด้วย ผิดกฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๑๘๗วรรคสอง ไฟที่จำเลยจุดเผาได้ไหม้ต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายตามข้อ (๕) แห่งมาตรา ๑๘๖ ต้องลงโทษตามมาตรา ๑๘๖ เป็นการตัดสินตามกฏหมายเก่าที่บัญญัติลงโทษผู้ที่จุดไฟเผาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
๖.แต่ขณะนี้กฎหมายลักษณะอาญาได้ยกเลิกใช้ไปแล้วใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทน กฏหมายอาญาไม่ได้บัญญัติว่าการจุดไฟเผาอสังหาริมทรัพย์เป็นความผิดตามกฏหมาย แต่กฏหมายอาญาในปัจจุบันไม่ได้บัญญัติถึงการวางเพลิงเผาทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้รวมๆ แต่กฎหมายอาญาระบุประเภทของทรัพย์ต่างๆที่ถูกเผาว่าเผาทรัพย์ใดมีโทษสูงขึ้นเป็นเหตุฉกรรจ์ของความผิดตามที่บัญญัติไว้ในปอ มาตรา ๒๑๘(๑)ถึง(๖) และบัญญัติเรื่องการเผาทรัพย์แม้เป็นของตนเองหรือการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เดเพลิงไหม้ไว้ในมาตรา ๒๒๐,๒๒๕
๗. การกระทำจำเลยตามข้อเท็จจริงข้างต้นเป็นการทำให้เกิดเพลิงไหม้แม้เป็นทรัพย์ของตนเองจนน่าเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นความผิดตรงตาม ปอ มาตรา ๒๒๐ วรรคแรก โดยในวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติว่า “ ถ้าเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ใน ๒๑๘ให้ลงโทษตามที่ระบุไว้ใน ๒๑๘ แต่ใน ปอ. มาตรา ๒๑๘(๑)ถึง(๖)ไม่ได้บัญญัติเรื่องการวางเพิงเผาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแตกต่างจากกฏหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิดจึงต้องใช้กฏหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด เมื่อกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันไม่ได้บัญญัติว่าการเผาอสังหาริมทรัพย์เป็นการเผาทรัพย์ในความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๑๘(๑)ถึง(๖) ฉะนั้นจึงลงโทษตาม ปอ มาตรา ๒๒๐ วรรคสองไม่ได้ คงลงโทษตาม ปอ มาตรา ๒๒๐วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า มาตรา ๑๘๗วรรคแรกของกฎหมายลักษณะอาญา เป็นไปตามมาตรา ๓ ของ ประกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นกรณีที่กฏหมายที่ใช้ภายหลังแตกต่างจากกฏหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิดให้ใช้กฏหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
๘.ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติเรื่องการวางเพิงเผาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ต้องการให้เป็นความผิดที่มีโทษฉกรรจ์คงให้ลงโทษตามบทธรรมดาเท่านั้น หาใช่กรณีกฏหมายไม่ประสงค์ให้เป็นความผิดโดยถือกฏหมายยกเว้นโทษซึ่งพนักงานอัยการต้องมีคำสั่งยุติคดี ตามระเบียบการดำเนินคดีฯ ของพนักงานอัยการโดยไม่ต้องสั่งไม่ฟ้องที่ต้องเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่อย่างไร ในกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ถือว่าการกระทำอย่างนี้เป็นเหตุฉกรรจ์ของการทำให้เกิดเพลิงไหม้ตามประมวลกฏหมายอาญาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน(ปอ มาตรา ๒๑๘(๑)ถึง(๖)) คงเป็นความผิดตามกฎหมายเก่า(กฎหมายลักษณะอาญา) จึงต้องนำ ปอ มาตรา ๓ มาใช้คือ ให้นำกฏหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมาใช้เพราะกฏหมายที่บัญญัติในปัจจุบันแตกต่างกฏหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิด
๙.เผากระท่อมราคา ๔๑๓ บาท ราคาเล็กน้อยไม่น่ากลัวอันตรายต่อผู้ใดเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ที่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้ เพราะศาลไปมองว่าทรัพย์ที่เสียหายนั้นไม่น่ากลัวว่าการเกิดไฟไหม้นั้นน่าที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ใด ไม่ใช่เป็นเพราะว่าทรัพย์ราคาน้อยเลยไม่น่ากลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อผู้ใด ไม่ว่าทรัพย์ราคามากน้อยเท่าใดไม่สำคัญหากว่าน่าจะเกิดอันตรายบุคคลได้แล้วก็เป็นความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้ฯได้ แต่ที่คดีนี้ไม่เป็นความผิดเพราะศาลเห็นว่าการเกิดเพลิงไหม้ไม่น่ากลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นจึงไม่เป็นความผิด จึงเป็นเพียงการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งตัวทรัพย์อันเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
๑๐. คำว่า “น่าเกิดอันตรายแก่บุคคล” ศาลมองเพียงว่าการทำให้เกิดเพลิงไหม้นั้น น่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น นั้น
๑๐.๑ พิจารณาจากการที่เกิดเพลิงไหม้แล้วน่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นหรือไม่อย่างไร โดยไม่ได้พิจารณาว่าทรัพย์ที่เกิดเพลิงไหม้มีราคามากน้อยเพียงใด
๑๐.๒พิจารณาจากในที่เกิดเหตุมีผู้เสียหายหรือบุคคลอื่นอยู่ในที่เกิดเหตุสามารถดับไฟได้หรือไม่อย่างไร? และในที่นี้อาจหมายรวมถึงตัวผู้กระทำความผิดที่กระทำความผิดไปแล้วกลับใจแก้ไขหรือบรรเทาผลร้ายของการกระทำด้วยการเข้าไปดับไฟเสียเองด้วย เมื่อไฟดับไม่ได้ไหม้ทรัพย์อะไรไปมากมายแล้ว ก็ไม่น่าที่จะน่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น
๑๐.๓จุดไฟเผาในที่โล้งแจ้งในเวลากลางวันหรือไม่? จุดไฟในขณะที่แดดร้อนจัดหรือไม่? มีการเตรียมการดับไฟที่อาจลุกลามไปได้ไว้พร้อมที่จะดับไฟได้ทัน หรือไม่?
๑๑..ทรัพย์ที่เป็นอันตรายจากการวางเพลิงเป็นเพียงประตูบ้านที่ทำด้วยไม้มะค่าและต้นไม้ประดับคิดเป็นเงินประมาณ ๕,๐๐๐ บาท ถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีราคาน้อย ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายก็อยู่ในที่เกิดเหตุสามารถดับไฟได้ จึงไม่น่าเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นตาม ปอ มาตรา ๒๑๘(๑) ประกอบด้วย มาตรา ๒๒๓
๑๒.. กรณีที่ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า การเข้าไปช่วยดับไฟเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายเอง หาใช่การวางเพลิงของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๔ ด้วยความเครารพในคำพิพากษาฏีกา ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า หากไม่มาวางเพลิงเผาทรัพย์ของจำเลยก็คงไม่มีคนเข้าไปดับไฟ คนที่เข้าไปดับไฟอาจเป็นเพราะเป็นตัวผู้เสียหายอันเป็นเจ้าของบ้านเองหรือเป็นบุคคลอื่นที่มีบ้านอยู่ใกล้เคียงบ้านผู้เสียหายหรือแม้บ้านไม่อยู่ใกล้ผู้เสียหายพลเมืองดีก็อาจเข้าไปดับไฟเพื่อไม่ให้เกิดลุกลามไปติดบ้านอื่นอีกหรือเป็นเจ้าหน้าที่หรือพนักงานดับเพลิงก็ได้ หากจำเลยไม่วางเพลิงเผาทรัพย์ ไฟคงไม่ไหม้ เมื่อไฟไม่ไหม้คงไม่มีคนเข้าไปดับเพลิง การที่คนเข้าไปดับเพลิงเพราะมีไฟไหม้ เมื่อเข้าไปดับเพลิงจึงถูกไฟคลอกถึงแก่ความตาย ความตายจึงเป็นผลโดยตรงมาจากการที่เกิดเพลิงไหม้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดเพลิงไหม้จำเลยจึงต้องรับผิดด้วยตามทฤษฏีผลโดยตรง แต่เมื่อศาลฏีกามีคำพิพากษาแล้วก็เคารพในการตัดสินนี้
๑๒. แม้สถานที่วางเพลิงเผาทรัพย์ไม่มีคนอยู่อาศัยเพราะเพียงเช่าเป็นสถานที่ประกอบธุรกิจการค้า แต่ตอนกลางคืนได้กลับไปนอนที่บ้านไม่มีคนอยู่ แต่ห้องข้างเคียงกับที่จำเลยวางเพลิงมีคนอาศัยอยู่. ก็ถือได้ว่าเป็นการวางเพลิงตึกแถวที่มีคนอยู่อาศัย จำเลยมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๑๘(๑) เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้หากดับไม่ทันไฟย่อมลุกลามไปยังห้องข้างเคียงได้
๑๓..การทำทางกันไฟไว้เพียง ๒ ศอก แม้จะจุดไฟเผาต้นไม้ที่ตัวเองโค่นไว้ในสวนของตัวเองก็ตาม ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าในวันดังกล่าวมีลมพัดแรงหรือไม่อย่างไร สภาพอากาศในขณะนั้นเป็นอากาศร้อนหรือไม่อย่างไร มีฝนตกหรือไม่อย่างไร? ทางกันไฟกว้างเพียง ๒ ศอกน่าจะไม่เพียงพอต่อการป้องกันไฟลุกไปยังสวนของคนอื่น ถือได้ว่า เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในสภาวะผู้จุดไฟเผาต้นไม้จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และอาจใช้ความระมัดระวังให้มากกว่านี้ได้โดยทำทางกันไฟให้มีขนาดกว้างมากกว่านี้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้
๑๔. คดีนี้ฟ้องเจตนาทำให้เกิดเพลิงไหม้ตาม ปอ มาตรา ๒๒๐ แต่ทางพิจารณาศาลฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทตาม ปอ มาตรา ๒๒๕ แม้อัตราโทษตามกฎหมายทั้งสองจะเท่ากันแต่การกระทำผิดโดยเจตนากับการกระทำผิดโดยประมาทนั้นความรุนแรงแตกต่างกัน เป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจในการรอการลงโทษได้ แม้คดีต้องห้ามฏีกาในข้อเท็จจริงศาลฏีการอการลงโทษได้
๑๕.แม้จะได้ถากถางต้นไม้เพื่อกันไม่ให้ไฟลุกลามติดสวนผู้อื่น และไฟที่จำเลยจุดไม่ได้ลุกลามไปติดสวนผู้เสียหายในทันทีก็ตาม แต่การที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลและดับไฟที่จำเลยจุดเผาไว้ก่อนเกิดเหตุ ๓ ถึง ๔ วันให้หมด ปล่อยไว้ให้ติดขอนไม้ เป็นไฟสุมขอนพร้อมที่จะลุกขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ แม้เวลาจะล่วงเลยมาถึง ๓ถึง ๔ วันไม่ได้เกิดเพลิงไหม้ในวันที่ทำการจุดไฟเผาก็ตาม แต่เมื่อการกระทำดังกล่าวเกิดเป็นไฟสุ่มขอนพร้อมที่จะลุกไหม้จนเกิดการลุกไหม้ขึ้น จนเป็นเหตุให้ไฟไหม้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย ย่อมเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในสภาวะผู้จุดไฟเผาต้นไม้เช่นจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และอาจใช้ความระมัดระวังให้มากกว่านี้ได้แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่ โดยดับไฟให้ดับไม่ใช่ปล่อยให้ติดขอนไม้กลายเป็นไฟสุมขอนพร้อมที่จะลุกไหม้ขึ้นอีกเมื่อถึงเวลา จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๒๕.ได้
๑๖..การจุดไฟเผากองฟางในลานนวดข้าวซึ่งเป็นที่โล้งแจ้งในเวลาแดดร้อนจัด ทำให้ไฟลุกลามได้เร็ว เมื่อไม่ได้เตรียมการดับไฟที่อาจลุกลามไปได้ไว้พร้อมที่จะดับไฟได้ทัน เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในสภาวะผู้จุดไฟเผากองฟางจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และอาจใช้ความระมัดระวังให้มากกว่านี้ได้แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่โดยไม่จุดไฟเผากองฟางในลานนวดข้าวซึ่งเป็นที่โล้งแจ้งในเวลาแดดร้อนจัดพร้อมทั้งต้องจัดเตรียมการดับไฟที่อาจลุกลามไปได้ไว้พร้อมที่จะดับไฟได้ทัน
๑๗.การป้องกันไม่ให้เกิดไฟลุกลาม เพียงใช้ไม้ตีดับไฟเท่านั้น เป็นการใช้ความระมัดระวังที่ไม่เพียงพอ

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

“ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตอน ๒ “

๑. จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนและมีตำแหน่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน เข้าไปในบ้านโจทก์เพื่อตามหาโจทก์เกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยจับโจทก์ในข้อหามีอาวุธปืน โดย จ. คนเฝ้าบ้านโจทก์อนุญาตให้เข้าไป จำเลยเข้าไปในห้องนอนโจทก์ เมื่อไม่พบโจทก์ก็ออกมาทันที ยังไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขตาม ปอ มาตรา ๓๖๒,๓๖๕ และไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๓๙๖๒/๒๕๒๗
๒. การดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันโดยไม่ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวกับหรือคล้ายกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตาม พรบ. การขนส่ง พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้น รถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะกระทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจที่จะยึดรถยนต์ไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ปวอ มาตรา ๘๕,๑๓๑ คำพิพากษาฏีกา ๒๙๒๒/๒๕๒๘
๓. สารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกันเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๗) มีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามมาตรา ๙๒วรรคท้าย เมื่อมีเหตุอันควงเชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้าน หากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุ ของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย การตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุและโดยไม่ได้ทำลายกุญแจก็ไม่อาจทำได้ ทั้งการตรวจค้นของจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรตำรวจได้กระทำต่อหน้าพยานสองคน จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วย ปวอ มาตรา๙๒,๙๔,๑๐๒ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๕๘,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒) เมื่อมีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นและมีพฤติการณ์ที่ออกหมายค้นและทำการตรวจค้นได้ ดังนั้นหมายค้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจค้นคำพิพากษาฏีกา๔๗๙๑/๒๕๒๘
๔. ปอ. มาตรา ๑๕๗ เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ แต่กลับปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตอนหนึ่ง และเอาโทษแก่เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอีกตอนหนึ่ง คำว่า “ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด” หมายความถึงเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย ดังนั้นหากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบเป็นการกระทำต่อเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรงและเป็นการกระทำให้บุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหาย เอกชนย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ปวอ มาตรา ๒(๔)ได้ คำฟ้องของโจทก์ไมได้บรรยายถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๓ มาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ของจำเลยที่ ๓ จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕) ปัญหาว่าจำเลยที่ ๓ กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑นอกจากเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการแล้วยังเป็นตำแหน่งทางฝ่ายบริหารมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ธุรการผู้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาได้ด้วย ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ์และศักดิ์ศรีสูงกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาซึ่งเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการอย่างเดียว ฉะนั้นการแต่งตั้งโจทก์จากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาให้ดำรงค์ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ จึงเป็นการปูนบำเหน็จความดีความชอบให้โจทก์เป็นการขัดกับการที่โจทก์ยังมีโทษงดบำเหน็จอยู่ การที่จำเลยที่ ๒ ดำเนินการหาข้อยุติความขัดแย้งเกี่ยวกับมติ กต ที่ เห็นชอบในการแต่งตั้งโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ในทางบริหารราชการแผ่นดิน และที่สำคัญยิ่งก็คือ การจะนำเรื่องใดเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งทุกเรื่องนั้นต้องเป็นข้อยุติว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฏหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการแล้ว การที่จำเลยที่ ๒พยายามหาข้อยุติความเห็นที่ขัดแย้งเกี่ยวกับมติ กต ที่แต่งตั้งโจทก์ และยังไม่อาจนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไปนั้น หาใช่จำเลยที่ ๒ มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ ๒ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ จำเลยที่ ๔ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเป็นประธาน กต โดยตำแหน่ง ในการประชุม กต ประธาน กต เป็นประธานที่ประชุม โดยทั่วไปแล้วในการประชุมประธานที่ประชุมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการประชุมและรับผิดชอบดำเนินการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นผลดีทางราชการ หากไม่มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ประธานที่ประชุมจะเลื่อนหรือปิดการประชุมย่อมทำได้ ได้ความว่าเมื่อตอนเช้า จำเลยที่ ๔มีคำสั่งให้ดำเนินการประชุม กต ไป ที่ประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆจนกระทั้งถึงวาระแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ จำเลยที่ ๓ แถลงขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระนี้ไปก่อน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นว่า มีเรื่องที่จำต้องปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอยู่อีกและเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง จำเลยที่ ๔ ได้ชี้แจงและขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระดังกล่าวออกไป โดยแจ้งว่าการเลื่อนออกไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ในที่สุดส่วนใหญ่ที่ประชุมเห็นว่าไม่สมควรให้มีการเลื่อน จำเลยที่ ๔ จึงอาศัยอำนาจประธานสั่งให้เลื่อนและปิดประชุม โดยมีเหตุผลมาจากการขอร้องของนายพลเอก ส นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดผลดีต่อบ้านเมืองในทุกๆด้านตามรัฐประศาสน์นโยบายโดยเฉพาะเป็นผู้มีหน้าที่นำมติ กต ที่เห็นชอบแต่งตั้งโจทก์ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เมื่อพลเอก ส. เห็นว่า โจทก์ยังมีโทษทางวินัยอยู่และการแต่งตั้งโจทก์เป็นการขัดกับพระราชกระแสเช่นนี้ การที่จำเลยที่ ๔ ขอให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน โดยแจ้งว่าการเลื่อนจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ ๔ ได้พิจารณาถึงเหตุผลและความเหมาะสมในหลายๆด้านแล้วจึงได้สั่งให้เลื่อนการประชุมและปิดประชุม หากจำเลยที่ ๔ มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่ ๔ จะไม่นำเรื่องการแต่งตั้งโจทก์บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมก็ย่อมได้ ทั้งๆที่จำเลยที่ ๔ ก็รู้ว่า โจทก์มีโทษทางวินัยอยู่ การที่ต่อมาภายหลังมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนการประชุม จึงไม่เชื่อว่าจำเลยที่ ๔ สั่งเลื่อนการประชุมและปิดประชุมโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ คำพิพากษาฏีกา๔๘๘๑/๒๕๔๑
๕. จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีอำนาจสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด แกล้งจับผู้เสียหายอ้างว่าเมาสุราอาละวาดทั้งที่ไม่เป็นความจริง อันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ และนำตัวผู้เสียหายออกจากบ้านไปไว้ที่แห่งหนึ่ง แล้วปล่อยตัวผู้เสียหายไป อันเป็นความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ แม้เป็นการกระทำหลายอย่างแต่ด้วยเจตนาอันเดียว คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เป็นการกะทำต่อเนื่องกัน เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จำเลยที่ ๑ จับมือผู้เสียหายกระชากโดยแรงจนผู้เสียหายล้มลงได้รับบาดเจ็บที่นิ้วและหัวเข่า ใช้เวลารักษา ๕ วัน พฤติการณ์แสดงจำเลยที่ ๑ มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยที่ ๑ รับผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ คำพิพากษาฏีกา ๒๔๔๔/๒๕๒๑
๖. ตามระเบียบการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้และตามคำสั่งป่าไม้เขตที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจักต้องทำบุญชีอนุญาตชักลากไม้ด้วย การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบรูณ์ การทำบัญชีชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้องตามระเบียบจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาตชักลากไม้ก่อนแล้วทำบัญชีอนุญาตชักลากก็หาทำให้การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำเลยผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒ แต่ละกรรมเป็นความผิดตาม ปอ มารตรา ๑๕๗ด้วย ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ ๕ ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย การกระทำของจำเลยตามปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒เป็นกรรมเดียวกัน แก้เป็นจำเลยมีผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒,๑๕๗ ลงโทษตาม มาตรา ๑๕๗ซึ่งเป็นบทหนัก ถือไม่ได้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยกระทงเดียว ๑๐ ปี เป็นการเพิ่มโทษจำเลยไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๒๑๒คำพิพากษาฏีกา ๑๐๑/๒๕๒๔
๗. นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ร่วมกันออกประกาศเพิ่มเติมคุณวุฒิของผู้สมัครสอบแข่งขันภายหลังครบระยะเวลารับสมัครเพื่อแสดงว่า ส. มีวุฒิตามที่ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานครูเทศบาล ซึ่งตามประกาศเดิมแล้ว ส.มีวุฒิไม่ตรงตามที่ราชการกำหนด เมื่อ ส. สอบได้ และได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ย่อมทำให้ผู้ที่สอบได้อื่นแต่ยังไมได้รับการบรรจุได้รับความเสียหาย เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๔๑๘/๒๕๒๖
๘. ใบอนุญาตทะเบียนรถมี ๒ ฉบับ ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่แผนกทะเบียนยานพาหนะ ฉบับปลายมอบให้เจ้าของรถ จำเลยเป็นตำรวจปฏิบัติหน้าที่อยู่ในแผนกทะเบียนยานพาหนะได้ลงรายการเสียภาษีประจำปีในใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายทางและทำเรื่องราวโอนรถนั้นไปต่างจังหวัดทั้งๆที่ไม่มีใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับต้นฉบับมาตรวจสอบและลงรายการคู่กัน ส่อแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่าฉบับปลายเป็นเอกสารปลอม แต่ยังขืนดำเนินการให้ผู้มาขอโอนไป มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๒๖๘ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๕๒๐/๒๕๒๖
๙. จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมผู้เสียหายที่ได้ก่อการทะเลาะวิวาทก่อนหน้านั้น แต่เหตุการณ์ทะเลาะวิวาทได้ยุติลงแล้ว เหตุวิวาทยังไม่ชัดแจ้งว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ไม่ใช่การกระทำความผิดซึ่งหน้า โดยมีคู่กรณีกับผู้เสียหายชี้ให้จับ แต่ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบ ทั้งไม่มีเหตุสงสัยว่ากระทำผิดมาแล้วจะหลบหนี จำเลยซึ่งไม่มีหมายจับไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะจับผู้เสียหาย จำเลยจับผู้เสียหายโดยไม่แจ้งข้อหา ไม่ทำบันทึกจับกุม ไม่ส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี กลับนำไปควบคุมตัวที่ด่านตรวจ ชี้เจตนาจำเลยว่า กระทำโดยโกรธแค้น แสดงอำนาจเพื่อข่มขู่กลั่นแกล้งผู้เสียหายให้เดือดร้อนเสียหาย เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องรุนแรงต่อความรู้สึกของประชาชนไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ คำพิพากษาฏีกา ๔๒๔๓/๒๕๔๒
๑๐. แม้ตามระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา๒๗ ให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ(กอ) ที่จะเสนอ กอ ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย แต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศ ในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน กอ. รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อ กอ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ การทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอ กอ เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายของจำเลย อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ นี้นอกจากหมายความพึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อวิถีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติบัญญัติแห่งกฏหมายอีกประการหนึ่งแล้วยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ใช้เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบอีกด้วย การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้นหมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฏหมายคือต้องไม่ใช่การใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจหรือโดยปราศจากเหตุผล การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆนั้นรวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโส ประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน กอ เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้ง เพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีความผิด ปอ มาตรา ๙๑,๑๕๗คำพิพากษาฏีกา๗๖๖๓/๒๕๔๓
๑๑. จำเลยเป็นข้าราชการครูมีหน้าที่ปฏิบัติราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างต่อเติมมหาวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิค. ร. จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคารวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. ดูแลวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้าง การที่จำเลยนำเหล็กไลท์เกจอันเป็นวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งอยู่ในหน้าที่ดูแลรับผิดชอบของจำเลยไปเก็บไว้ที่ร้าน ก. และให้ ก. เอาเหล็กดังกล่าวไปเสีย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อกรมอาชีวศึกษาและเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ จำเลยรับราชการครูหน้าที่หลักคือการสอนหนังสือ การได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ราชการพิเศษในการควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. งานที่ได้รับมอบหมายลุล่วงไปได้ด้วยดี การที่จำเลยทุจริตเอาเหล็กไปขายก็เป็นเหล็กที่เหลือจากการก่อสร้างต่อเติมและมีราคาไม่มาก พฤติการณ์จำเลยไม่ร้ายแรง จำเลยรับราชการโดยไม่มีเรื่องเสื่อมเสียมาก่อนสมควรรอการลงโทษจำเลย คำพิพากษาฏีกา ๑๑๖๑/๒๕๓๘
๑๒. จำเลยเป็นพลตำรวจหนีราชการแต่ยังมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิด ได้ประสพเหตุการณ์กระทำผิดทางอาญาได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่จะจับคนร้ายโดยเข้าขัดขวางพูดจาขู่พยานผู้รู้เห็นไม่ให้ยืนยันว่ารู้เห็นการกระทำผิด การละเว้นปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้เป็นการละเว้นโดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของทรัพย์ เป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๑๐๒๒/๒๕๐๕
๑๓. ตำรวจเข้าไปในสำนักค้าประเวณีขณะเปิดทำการค้าประเวณี ประกาศตนว่าเป็นตำรวจและจับหญิงโสเภณีไปจากสถานค้าประเวณีแล้วมอบหญิงดังกล่าวให้กับพวกของตนโดยไม่ได้นำมาดำเนินคดีตามกฏหมาย ย่อมเกิดความเสียหายต่อราชการตำรวจ เป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกา ๑๔๕๐/๒๕๑๓
๑๔. จำเลยเป็นตำรวจ ร่วมกับพวกช่วยพาคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายไปเสียจากที่ควบคุมเพื่อไม่ให้ถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศลาวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยกับพวกนำรถมารับคนลาวดังกล่าวไป จำเลยเห็นแต่ละเลยไม่จับกุมมีความผิดตามพรบ. คนเข้าเมืองฯ มาตรา ๕๘ แต่ยังถือไม่ได้ว่าปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าท่าโดยไม่ชอบ คำพิพากษาฏีกา ๖๓๘/๒๕๒๓
๑๕. ตามพระราชบัญญัติเทศบาล๒๔๙๖ มาตรา ๕๓ เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าว นอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฏหมายดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๗๑ เท่านั้น จำเลยเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำจำเลยไม่ผิด ปอ มาตรา ๑๖๕ พรบ.เทศบาล ๒๔๙๖ มาตรา ๕๐(๒),๕๓ เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาลหรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา ๗๐ไม่ แม้จำเลยไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสวาธารณะ ก็ไม่เป็นความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา๒๖๓๓/๒๕๒๓
๑๖. พนักงานที่ดินอำเภอรับเงินค่าธรรมเนียมและค่าพาหนะในการรังวัดจากผู้มายื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิ์ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ภายในเขตท้องที่อำเภอของตน โดยไมได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้มายื่นเรื่องราว ไม่ได้นำเงินลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน ไม่ได้ดำเนินการให้เรื่องราวของผู้มาติดต่อลุล่วงไปจนกระทั้งย้ายไปที่อื่นก็ไม่ได้คืนเงินให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๓๐๔/๒๕๐๗
๑๗. กำนันถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามพรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ ๒๔๕๗ เบิกเงินมาจ่ายแก่ผู้รับเหมาในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผุ้รับเหมาทำงานต่อไปได้ มิเช่นนั้นต้องส่งเงินคืนคลัง กำนันจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้ว ขาดเจตนาแจ้งความเท็จตาม ปอ มาตรา ๕๙ เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีใช้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้ฏีกาด้วยตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓,๒๒๕ แต่เมื่อรับเงินมาแล้วกำนันละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาดำเนินงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทุจริตเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๓๘/๒๕๒๔
๑๘. โจทก์เป็นพระภิกษุในวัดที่จำเลยเป็นเจ้าอาวาส โจทก์ถูกกล่าวหาว่าเสพเมถุนธรรมกับหญิง จำเลยตั้งกรรมการทำการสอบสวนโดยจำเลยเป็นประธานกรรมการ แม้ในการสอบสวนจำเลยจะการสอบสวนผู้กล่าวหาซึ่งเป็นพระภิกษุสามเณรพร้อมๆกันลับหลังโจทก์ โดยอนุญาตให้พระภิกษาบางองค์ตอบแทนกัน และไม่เรียกพยานโจทก์มาสอบสวนอันไม่ต้องด้วยพระธรรมวินัย ระเบียบข้อบังคับและกฎของมหาเถรสมาคม ในที่สุดจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัด โดยการสอบสวนไม่ได้ความชัดว่า โจทก์ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา การกระทำของจำเลยก็เป็นเรื่องผิดระเบียบการสอบสวนเท่านั้น การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัดโดยอาศัยอำนาจตาม พรบ. คณะสงฆ์ฯ พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อให้มีความสงบสุขภายในวัด ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๑๐๙๖/๒๕๑๓
๑๙. จำเลยเป็นตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาและจับผู้กระทำผิด กฎหมาย การที่จำเลยทราบจากผู้เสียหายว่า มีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยพูดว่า เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืนโดยไม่ปรากฏจำเลยได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์หรือรับของโจร และไม่ทราบทรัพย์ที่ถูกลักเก็บรักษาไว้ที่ใด ทั้งยังไม่มีการแจ้งความออกหมายจับผู้หนึ่งผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ถือไมได้ว่ากากรกระทำจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๕๐๕๓/๒๕๓๐
๒๐. พระภิกษุเจ้าอาวาสไปสนทนากับหญิงสาวบนบ้านในเวลากลางคืน จำเลยซึ่งเป็นตำรวจและชาวบ้านออกประกาศโฆษณาทางเครื่องขยายเสียงว่าโจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์ ไม่ยอมให้โจทก์กลับวัด ไม่ยอมให้โจทก์ลงจากบ้าน แล้วนำตัวส่งพนักงานสอบสวน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์จึงได้ควบคุมโจทก์ไว้ก่อนเพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจเกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน ไม่ผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๐๙,๓๑๐ เมื่อศาลล่างทั้งสองยกฟ้องโดยข้อเท็จจริง ฏีกาของโจทก์ว่า จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำผิดวินัยจึงเป็นการฏีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ปวอ มาตรา ๒๒๐ คำพิพากษาฏีกา๑๐๘๕/๒๕๒๗
๒๑. จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนปล่อยตัวผู้ต้องหารวมสามคน แล้วนำผู้มีชื่อเข้าเป็นผู้ต้องหาแทนขณะควบคุมผู้ต้องหาทั้งสามดังกล่าวกับพวกจากศาลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อไปคุมขังที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง แต่จำเลยไมได้เรียกรับเงินจากผู้ต้องหาเป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไป ทั้งผู้มีชื่อที่จำเลยนำเข้ามาแทนผู้ต้องหาที่จำเลยปล่อยตัวไปก็ไม่ปรากฏว่าเขข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจ ส่วนศาลจังหวัดสมุทรปราการ แม้ได้อนุญาตให้ผัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องขอของพนักงานสอบสวนก็เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายบัญญัติไว้เพื่อควบคุมการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนให้เป็นไปโดยถูกต้อง มิใช่ผู้ที่จะเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบจากการดำเนินคดีหรือไม่ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด คดีไม่พอฟังว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ผู้มีชื่อ โดยเจตนาทุจริต อันจะเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ กากรกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๐๔ วรรคสองเท่านั้น คำพิพากษาฏีกา๔๖๗๗/๒๕๓๔
๒๒. การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือ ต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส๓ก) ลงลายมือชื่อออก นส๓ก ระบุชื่อ ต. เป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองตามเรื่องราวเท็จ เอกสารปลอมที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเสนอโดยไมได้ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติการโดยไม่ชอบเท่านั้น ไม่ปรากฏจำเลยมีเจตนาพิเศษละเว้นไม่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมที่ดิน ต. หรือ ผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติการาตามหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา๓๒๙๕/๒๕๔๓
๒๓. จำเลยที่ ๑ เป็นวิศวกรผู้คำนวณโครงการรับน้ำหนักอาคารจำเลยที่ ๙ ในการปลูกสร้างย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวได้กำหนดการรับน้ำหนักได้เพียง ๔ ชั้นรวมชั้นใต้ดิน แต่จำเลยที่ ๑ มาคำนวณต่อเติมอาคารโดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้ และยังใช้ฐานรากและเสาร์ในแนว ซี ซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียงสองชั้น เป็นจุดเชื่อต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติมทำให้น้ำหนักอาคารทั้งหมดเทลงเสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จำเลยที่ ๑ เบิกความยอมรับว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิม ดูสภาพอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาเข็มในแนวซีต้นที่ ๑๗๖มีขนาดและส่วนประกอบผิดไปจากแปลน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ ๑ไม่ปฏิบัติการตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบ เพราะเดิมจำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอรับน้ำหนักอาคารในสวนที่ต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิมเติม แต่จำเลยที ๑ ก็หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุที่อาคารจำเลยที่ ๙ พังลงจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายเพราะจำเลยที ๑ คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์เป็นผลเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ ๑โดยตรง การกระทำของจำเลยที ๑ผิดตาม ปอ. มาตรา ๒๒๗,๒๓๘ กรรมการของจำเลยที่ ๙ ตลอดจนจำเลยที ๑๕ไมได้เป็นวิศวกรยอมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจำเลยที ๙ ว่า จะตอเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องตอใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที ๙ ได้รับใบอุญาติให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมาก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารด้านความมั่นคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัยซึงเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่า อาคารจำเลยที ๙ ไมมันคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ ๙ตลอดจนจำเลยที ๑๕ล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้น หากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์อาคารจำเลยที ๙ อย่างแน่นอนเพราะทุกคนย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่นำสืบว่า จำเลยที่๙,ที่๑๐และที่๑๒ถึงที่ ๑๕กระทำความผิดตาม ปอ. มาตรา ๒๙๑ จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ปวอ มาตรา ๒๒๗วรรคสอง การขอตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้น พรบ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา ๒๘ บัญญัติว่า ในกรณีผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณทีได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา ๒๑,๒๒,๒๓,๒๔เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฏหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนทีเกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง “ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยที ๙ มีจำเลยที ๑ ซึ่งเป็นวิศวกรได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ ซึ่งเป็นเจ้าพักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมันคงแข็งแรงเพียงพอทีจะรับน้ำหนักอาคารต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นลายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที ๑ ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบประการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้นการที่จำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ตรวจคำขอตอเติมอาคารจำเลยที ๙และทำคำเสนอต่อจำเลยที่ ๗ และที่ ๘ ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที ๙ต่อเติมอาคารได้ยอมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว ส่วนจำเลยที่ ๗ และที่ ๘ นั้น พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นทีเสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ ไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๘ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗อย่างไร จำเลยที่๓ ถึงที่ ๘ย่อมไม่มีความผิดตามกฏหมายดังกล่าว คำพิพากษาฏีกา๓๗๙๓/๒๕๔๓
ข้อสังเกต ๑.การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน เข้าไปในบ้านผู้ต้องหาเพื่อตามตัวผู้ต้องหาเกี่ยวกับเรื่องที่ตนจับผู้ต้องหาเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดย คนเฝ้าบ้านผู้ต้องหาอนุญาตให้เข้าไป ได้ จึงเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดย “ได้รับอนุญาต” และ “โดยมีเหตุอันควร” แม้ไม่มีหมายจับ ไม่มีหมายค้น และไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะจับและตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายก็ตาม แต่การที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในบ้านได้และการเข้าไปก็เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายในความผิดอื่นที่เจ้าของบ้านเป็นผู้กระทำความผิด จึงเป็นการเข้าไปโดย” ได้รับอนุญาต “ และ เข้าไป “ โดยมีเหตุอันควร” ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานบุกรุกตาม ปอ มาตรา ๓๖๒,๓๖๕
๒.แม้ว่าจะมีการเข้าไปในห้องนอนผู้ต้องหาก็ตาม ซึ่งดูเหมือนว่าการอนุญาตให้เข้าไปในบ้านคงให้เข้าไปได้เฉพาะบางพื้นที่และคงสงวนสิทธิ์ในห้องนอนซึ่งเป็นสิทธิ์ส่วนตัวก็ตาม แต่ที่ต้องเข้าไปในห้องนอนเพื่อตามตัวผู้ต้องหาเพราะไม่พบผู้ต้องหาอยู่ในบริเวณบ้านจึงได้เข้าไปในห้องนอน หากพบอยู่บริเวณบ้านคงไม่ตามเข้าไปดูในห้องนอน และตอนที่เข้าไปในตอนแรกก็อาจไม่ทราบว่าห้องดังกล่าวเป็นห้องนอน และเมื่อเข้าไปแล้วไม่พบตัวก็ออกมาทันที แสดงให้เห็นว่า การเข้าไปดังกล่าวเพื่อกระทำการตามหน้าที่ไม่มีเจตนาที่จะรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุขตาม ปอ มาตรา ๓๖๒,๓๖๕ การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เพราะเข้าไปโดยได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้ และเข้าไปเพื่อติดตามนำมาดำเนินคดีซึ่งเป็นการกระทำโดยชอบด้วยหน้าที่
๓. ทรัพย์ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด เป็นทรัพย์ที่ต้องถูกริบตาม ปอ มาตรา ๓๓ ซึ่งพนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถกระทำได้ เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงรวมทั้งพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับคดีเพื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธ์ของผู้ต้องหาตาม ปวอ มาตรา ๑๓๑ .ซึ่งใน ปวอ มาตรา ๘๕วรรคแรก ให้อำนาจพนักงานสอบสวนในการยึดทรัพย์หรือสิ่งของต่างๆที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โดยสามารถยึดไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และหากศาลไม่ได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นแล้ว คือ ไม่ได้มีคำสั่งให้ริบของกลาง แล้ว เมื่อเสร็จสิ้นคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือผู้อื่นที่มีสิทธิ์เรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น ตาม ปวอ มาตรา ๘๕ วรรคท้าย ๔.การดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันโดยไม่ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวกับหรือคล้ายกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตาม พรบ. การขนส่ง พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้น รถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะกระทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด เพราะต้องทำการตรวจสอบจากรถยนต์ว่าเป็นรถคันนี้หมายเลขทะเบียนนี้ มีเลขเชสซีร์รถหมายเลขนี้ มีสีรถสีนี้หรือไม่ที่ได้รับอนุญาตให้นำมาประกอบการขนส่งในเส้นทางนี้ ทั้ง รถได้รับการตรวจสภาพและมีอุปกรณ์ประจำรถครบถ้วนที่สามารถให้ความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารหรือไม่ และรถคันดังกล่าวได้รับอนุญาตให้นำมาประกอบการขนส่งในเส้นทางพิพาทนี้หรือไม่อย่างไร พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจที่จะยึดรถยนต์ไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ปวอ มาตรา ๘๕,๑๓๑ ไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๕.สารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกันเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๗) มีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามมาตรา ๙๒วรรคท้าย เมื่อมีเหตุอันควงเชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้าน หากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุ ของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย เป็นบทบัญญัติในกฎหมายเก่าก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๔๗เป็นต้นมาการตรวจค้นต้องมีหมายค้นหรือมีคำสั่งศาล เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๑)ถึง(๔)
๖. การตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุ หากไม่ได้ทำลายกุญแจก็ไม่อาจเข้าไปตรวจค้นได้ สิ่งของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย หากจะไปขอหมายค้นมาในภายหลังก็จะไม่ทันการและจะไม่สามารถพบสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีไว้เป็นความผิดภายในบ้าน จึงจำเป็นต้องทำลายกุญแจเพื่อเข้าไปในบ้านอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยดังกล่าว แม้เป็นการทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์ซึ่งกุญแจก็ตาม แต่ก็ไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลเพื่อให้ทรัพย์ดังกล่าวเสียหาย จึงขาดเจตนาที่จะกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๓๕๗ อีกทั้งใน ปวอ มาตรา ๙๔วรรคท้าย ให้อำนาจเจ้าพนักงานใน การตรวจค้นในเคหสถานในกรณีที่เจ้าของ คนที่อยู่ในที่รโหฐานนั้นหรือผู้รักษาสถานที่นั้นไม่ยินยอมให้เข้าไปเจ้าพนักงานผู้มีตำแหน่งสารวัตรตำรวจมีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการเปิด ทำลายประตู หน้าต่าง รั่ว หรือสิ่งกีดขวางในทำนองอื่นก็ได้ การทำลายกุญแจเพื่อเข้าไปในเคหสถานจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
๗. เมื่อผู้ตรวจค้นเป็นสารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกันเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๗) มีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามมาตรา ๙๒วรรคท้าย เมื่อมีเหตุอันควงเชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้าน หากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุ ของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย แม้เข้าตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นก็ไม่ถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยไม่มีเหตุอันควรอันจะเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุขแต่อย่างใดไม่ การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยมีอาวุธ(เจ้าหน้าที่ตำรวจมักพกอาวุธปืนด้วยขณะกระทำการตามหน้าที่) ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๖๒,๓๖๕(๒)
๘.การเข้าตรวจค้นที่ ได้กระทำต่อหน้าพยานสองคนซึ่งเจ้าพนักงานร้องขอให้มาเป็นพยานโดยก่อนลงมือตรวจค้น ผู้ตรวจค้นได้แสดงความบริสุทธิ์ก่อนที่จะตรวจค้นเท่าที่จะสามารถกระทำได้ต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือหากไม่สามารถหาบุคคลดังกล่าวได้ เมื่อได้ตรวจค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนที่เจ้าหน้าที่ร้องขอให้เป็นพยานก็เป็นอันเพียงพอ การตรวจค้นดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วย ปวอ มาตรา๙๒,๙๔,๑๐๒ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๕๘,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒)
๙.เมื่อมีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นและมีพฤติการณ์ที่ออกหมายค้นและทำการตรวจค้นได้ ดังนั้นหมายค้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือแม้ไม่มีหมายค้น ก็ไม่ทำให้ผู้ตรวจค้นซึ่งเป็นสารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกัน ไม่มีอำนาจค้นแต่อย่างใดไม่
๑๐.ปอ. มาตรา ๑๕๗ เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ แต่กลับปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตอนหนึ่ง และเอาโทษแก่เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอีกตอนหนึ่ง คำว่า “ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด” หมายความถึงเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย
๑๑.ปกติความผิดเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ รัฐจะเป็นผู้เสียหาย ราษฏร์มักไม่ใช่ผู้เสียหายเว้นแต่การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลหรือความเสียหายโดยตรงต่อราษฏร์นั้น ดังนั้นหากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบเป็นการกระทำต่อเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรงและเป็นการกระทำให้บุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหาย เอกชนย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ปวอ มาตรา ๒(๔)ได้ นั้นก็คือ ความผิดเกี่ยวตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ที่เสียหายโดยตรงคือรัฐ ซึ่งรัฐจะต้องดำเนินการเอง โดยเอกชนมักไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดที่กระทำต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เว้นเสียแต่การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลหรือความเสียหายโดยตรงต่อเอกชน หรือคนธรรมดาจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดที่เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
๑๒.คำฟ้องของโจทก์ไมได้บรรยายถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๓ มาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ของจำเลยที่ ๓ จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕) เพราะเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่มีข้อเท็จจริงและลายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เพราะการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องบรรยายให้เห็นว่าจำเลยมีหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างไร แล้วจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่ชอบอย่างไร จึงจะเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ได้ แต่เมื่อไม่บรรยายฟ้องถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๓ มาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ของจำเลยที่ ๓ จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕) เมื่อเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อันทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ปัญหาว่าจำเลยที่ ๓ กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ศาลจึงไม่รับวินิจฉัยให้
๑๓. ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑นอกจากเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการแล้วยังเป็นตำแหน่งทางฝ่ายบริหารมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ธุรการผู้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาได้ด้วย ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ์และศักดิ์ศรีสูงกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาซึ่งเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการอย่างเดียว ฉะนั้นการแต่งตั้งโจทก์จากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาให้ดำรงค์ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ จึงเป็นการปูนบำเหน็จความดีความชอบให้โจทก์เป็นการขัดกับการที่โจทก์ยังมีโทษงดบำเหน็จอยู่ ซึ่งการถูกงดบำเหน็จมักไม่ได้รับการแต่งตั้งในลักษณะที่ก้าวหน้าหรือได้รับการปูนบำเหน็จขึ้น
๑๔.การที่จำเลยที่ ๒ ดำเนินการหาข้อยุติความขัดแย้งเกี่ยวกับมติ กต ที่ เห็นชอบในการแต่งตั้งโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ในทางบริหารราชการแผ่นดิน และที่สำคัญยิ่งก็คือ การจะนำเรื่องใดเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งทุกเรื่องนั้นต้องเป็นข้อยุติว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฏหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการแล้ว การที่จำเลยที่ ๒พยายามหาข้อยุติความเห็นที่ขัดแย้งเกี่ยวกับมติ กต ที่แต่งตั้งโจทก์ และยังไม่อาจนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไปนั้น หาใช่จำเลยที่ ๒ มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ ๒ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๑๕. จำเลยที่ ๔ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเป็นประธาน กต โดยตำแหน่ง ในการประชุม กต ประธาน กต เป็นประธานที่ประชุม โดยทั่วไปแล้วในการประชุมประธานที่ประชุมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการประชุมและรับผิดชอบดำเนินการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นผลดีทางราชการ หากไม่มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ประธานที่ประชุมจะเลื่อนหรือปิดการประชุมย่อมทำได้
๑๖.ได้ความว่าเมื่อตอนเช้า จำเลยที่ ๔มีคำสั่งให้ดำเนินการประชุม กต ไป ที่ประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆจนกระทั้งถึงวาระแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ จำเลยที่ ๓ แถลงขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระนี้ไปก่อน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นว่า มีเรื่องที่จำต้องปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอยู่อีกและเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง จำเลยที่ ๔ ได้ชี้แจงและขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระดังกล่าวออกไป โดยแจ้งว่าการเลื่อนออกไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ส่วนใหญ่ที่ประชุมเห็นว่าไม่สมควรให้มีการเลื่อน จำเลยที่ ๔ จึงอาศัยอำนาจประธานสั่งให้เลื่อนและปิดประชุม โดยมีเหตุผลมาจากการขอร้องของพลเอก ส นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดผลดีต่อบ้านเมืองในทุกๆด้านตามรัฐประศาสน์นโยบายโดยเฉพาะเป็นผู้มีหน้าที่นำมติ กต ที่เห็นชอบแต่งตั้งโจทก์ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เมื่อพลเอก ส. เห็นว่า โจทก์ยังมีโทษทางวินัยอยู่และการแต่งตั้งโจทก์เป็นการขัดกับพระราชกระแสเช่นนี้ การที่จำเลยที่ ๔ ขอให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน โดยแจ้งว่าการเลื่อนจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ ๔ ได้พิจารณาถึงเหตุผลและความเหมาะสมในหลายๆด้านแล้วจึงได้สั่งให้เลื่อนการประชุมและปิดประชุม หากจำเลยที่ ๔ มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่ ๔ จะไม่นำเรื่องการแต่งตั้งโจทก์บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมก็ย่อมได้ ทั้งๆที่จำเลยที่ ๔ ก็รู้ว่า โจทก์มีโทษทางวินัยอยู่ การที่ต่อมาภายหลังมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนการประชุม จึงไม่เชื่อว่าจำเลยที่ ๔ สั่งเลื่อนการประชุมและปิดประชุมโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์
๑๗. ตำรวจ แกล้งจับผู้เสียหายอ้างว่าเมาสุราอาละวาดทั้งที่ไม่เป็นความจริง อันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๑๘. การนำตัวผู้เสียหายออกจากบ้านไปไว้ที่แห่งหนึ่ง แล้วปล่อยตัวผู้เสียหายไป เป็นการหน่วงเหนียวหรือกักขังทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพร่างกายอันเป็นความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ แม้เป็นการกระทำหลายอย่างแต่ด้วยเจตนาอันเดียว คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
๑๙.การ จับมือผู้เสียหายกระชากโดยแรงจนผู้เสียหายล้มลงได้รับบาดเจ็บที่นิ้วและหัวเข่า ใช้เวลารักษา ๕ วันแสดงว่า มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยที่ ๑ รับผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕
๒๐.ตามระเบียบแล้วการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้และตามคำสั่งป่าไม้เขตที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจักต้องทำบุญชีอนุญาตชักลากไม้ด้วยเพื่อควบคุมการชักลากไม้ไม่ให้มีการสวมไม้อื่นปะปนเข้ามาในจำนวนไม้ที่ถูกต้อง การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบรูณ์ การทำบัญชีชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้องตามระเบียบจึงเป็นการกระทำหลายอย่างคือมีการทำบัญชีชักลากไม้กับการประทับตราชักลากไม้อันเป็นเท็จโดยมีเจตนาเดียวคือต้องการชักลากไม้จำนวนที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาตชักลากไม้ก่อนแล้วทำบัญชีอนุญาตชักลากก็หาทำให้การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่
๒๑.เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาจำเลยผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒ แต่ละกรรมและเป็นความผิดตาม ปอ มารตรา ๑๕๗ด้วย ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ ๕ ปี ส่วนข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ข้อหาอื่นจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัย การกระทำของจำเลยตามปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒เป็นกรรมเดียวกัน แก้เป็นจำเลยมีผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒,๑๕๗ ลงโทษตาม มาตรา ๑๕๗ซึ่งเป็นบทหนัก ถือไม่ได้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น เพราะโจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาทำไม้ ส่วนข้อหาอื่นเป็นอันยุติไปแล้วเพราะโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษา ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกเพียง ๕ ปี การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยกระทงเดียว ๑๐ ปี เป็นการเพิ่มโทษจำเลยไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๒๑๒เพราะโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอเพิ่มโทษจำเลย
๒๒.การที่ผู้สมัครสอบมีวุฒิการศึกษาไม่ตรงตามที่ราชการกำหนด ต่อมาได้มีการเพิ่มคุณสมบัติสอบภายหลังครบกำหนดระยะเวลาสมัครสอบแล้วโดยเพิ่มวุฒิการศึกษาเพิ่มเติมเพิ่มขึ้นเพื่อให้ตรงกับวุฒิการศึกษาของพวกตนให้มีสิทธิ์สอบได้ จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นสามารถสอบได้และได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ย่อมทำให้ผู้ที่สอบได้อื่นแต่ยังไม่ได้รับการบรรจุซึ่งอาจสอบได้คะแนนไม่ดีอยู่อันดับท้ายๆอาจไมได้รับเรียกชื่อเพื่อเข้ารับราชการย่อมได้รับความเสียหาย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๒๓.หรือแม้มีการแก้วุฒิการศึกษาเพื่อช่วยให้พวกของตนมีสิทธิ์สอบได้โดยทำการแก้ไขภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาการสมัครไปแล้ว ไม่ว่าผู้นั้นจะสามารถสอบได้หรือไม่ได้ก็ตาม ผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวุฒิการศึกษาย่อมมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ความผิดไม่ได้อยู่ที่การเพิ่มวุฒิการสมัครสอบเข้าไปแล้ว ผู้นั้นต้องสอบได้แม้สอบไม่ได้ ก็ตามผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวุฒิก็เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ความผิดอยู่ที่พ้นกำหนดการรับสมัครสอบไปแล้วไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวุฒิเพื่อช่วยพวกของตนให้มีคุณสมบัติสอบได้
๒๔. การลงรายการเสียภาษีประจำปีในใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายทางและทำเรื่องราวโอนรถนั้นไปต่างจังหวัดต้องมีต้นฉบับใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายซึ่งทางราชการมอบให้ไว้กับเจ้าของผู้ครอบครองรถเพื่อนำมาตรวจสอบเปรียบเทียบกับทะเบียนรถต้นฉบับที่เก็บไว้ที่แผนกทะเบียนยานพาหนะ
๒๕. การลงรายการเสียภาษีประจำปีในใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายทางและทำเรื่องราวโอนรถนั้นไปต่างจังหวัดทั้งๆที่ไม่มีใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับต้นฉบับมาตรวจสอบและลงรายการคู่กัน ส่อแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่าฉบับปลายเป็นเอกสารปลอมหรือรถที่จะนำมาโอนไปต่างจังหวัดอาจได้มาจากการกระทำความผิดจึงไม่มีใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายทางมาแสดง เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบและลงรายการคู่กัน การที่เจ้าหน้าที่ยอมลงรายการเสียภาษีประจำปี ส่อแสดงว่าทราบอยู่แล้วว่าฉบับปลายเป็นเอกสารปลอม แต่ยังขืนดำเนินการให้ผู้มาขอโอนไป จึงเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและใช้เอกสารปลอมอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๒๖๘
๒๖. เมื่อไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าและยังไม่แน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด การที่คู่กรณีกับผู้เสียหายชี้ให้จับ โดยยังไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบ ทั้งไม่มีเหตุสงสัยว่ากระทำผิดมาแล้วจะหลบหนีเมื่อไม่มีหมายจับ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะสามารถทำการจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ตามปวอ มาตรา๗๘ การจับกุมจึงเป็นการจับโดยไม่ชอบ ทั้งเมื่อจับกุมแล้ว ไม่แจ้งข้อหา ไม่ทำบันทึกจับกุม ไม่ส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปวอ มาตรา ๘๔, วรรคแรก,(๑)แต่ กลับนำไปควบคุมตัวที่ด่านตรวจ เจือสมกับที่ผู้เสียหายนำสืบว่าเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้จับกุมมาก่อน การจับกุมดังกล่าวจึงเป็นการหน่วงเหนียวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพร่างกาย และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๑๐ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องรุนแรงต่อความรู้สึกของประชาชนไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ
๒๗.แม้ตามระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา๒๗ ให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ(กอ) ที่จะเสนอ กอ ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย แต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศ ในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน กอ. รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อ กอ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ การทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอ กอ เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายของจำเลย อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย
๒๘.การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุด.ตามปอ มาตรา ๑๕๗ นี้นอกจากหมายความพึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อวิถีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติบัญญัติแห่งกฏหมายอีกประการหนึ่งแล้วยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ใช้เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบอีกด้วย การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้นหมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฏหมายคือต้องไม่ใช่การใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจหรือโดยปราศจากเหตุผล
๒๙. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆนั้นรวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโส ประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน กอ เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลนั้นถูกสอบสวนทางวินัยหรือมีข้อบกพร่องที่ไม่เหมาะสมที่จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งนั้นๆ หรือมีสภาพป่วยทางกายจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นๆได้ จนต้องมีการนำอัยการที่อาวุโสน้อยกว่าข้ามไปดำรงตำแหน่งแทน แต่การแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งที่ถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์หรือการใช้ระบบอุปถัมภ์ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจในการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่ชอบ โดยในคดีนี้ปรากฏว่าถือเอาสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนทำให้โจทก์ถูกบุคคลที่อาวุโสต่ำกว่าได้รับตำแหน่งไปจึง เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีความผิด ปอ มาตรา ๙๑,๑๕๗
๓๐.แม้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของตนในการรับราชการ แต่เมื่อได้รับมอบหมายแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำหน้าที่อื่นด้วย ก็ต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายลุล่วงไปได้ด้วยดี เช่นเป็นครูมีหน้าที่สอนหนังสือแต่ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคาร เมื่อมีวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้าง แล้วนำวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งอยู่ในหน้าที่ดูแลรับผิดชอบของตนไปเก็บไว้ที่ร้าน ของบุคคลภายนอก. และให้ บุคคลภายนอกนำวัสดุดังกล่าวไปเสีย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ
๓๑.แม้เป็นตำรวจหนีราชการตราบใดยังไม่ถูกปลดหรือถูกไล่หรือให้ออกจากราชการแล้วยังมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิด ได้ เมื่อประสพเหตุการณ์กระทำผิดทางอาญาได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่จะจับคนร้าย แต่กับเข้าขัดขวางพูดจาขู่พยานผู้รู้เห็นไม่ให้ยืนยันว่ารู้เห็นการกระทำผิด การละเว้นปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้เป็นการละเว้นโดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของทรัพย์ เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ และเป็นเจ้าพักงานที่มีหน้าที่สืบสวนคดีอาญากระทำการด้วยประการใดๆเพื่อช่วยผู้อื่นที่เป็นผู้กระทำความผิดอันไม่ใช่ความผิดลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา๑๘๙,๒๐๐เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทหนักตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๓๒.ตำรวจจับหญิงโสเภณีไปจากสถานค้าประเวณีในขณะค้าประเวณีแล้วมอบหญิงดังกล่าวให้กับพวกของตนโดยไม่ได้นำมาดำเนินคดีตามกฏหมาย ย่อมเกิดความเสียหายต่อราชการตำรวจ เป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ และเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่สืบสวนคดีอาญากระทำการด้วยประการใดๆเพื่อช่วยผู้อื่นที่เป็นผู้กระทำความผิดอันไม่ใช่ความผิดลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา๑๘๙,๒๐๐เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทหนักตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๓๓.การที่ตำรวจ ร่วมกับพวกช่วยพาคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายไปเสียจากที่ควบคุมเพื่อไม่ให้ถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศลาวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งเมื่อเห็นมีการนำรถมารับคนลาวดังกล่าวไป แต่ละเลยไม่จับกุมมีความผิดตามพรบ. คนเข้าเมืองฯ มาตรา ๕๘ แต่ยังถือไม่ได้ว่าปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เป็นเพราะมาตรา ๕๘ เป็นบทเฉพาะที่บัญญัติการกระทำดังกล่าวไว้แล้วจึงไม่ผิดบททั่วไปอีก ด้วยความเครารพในคำพิพากษาฏีกาในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตามปอ มาตรา ๑๘๙,๒๐๐ด้วย และเข้าองค์ประกอบความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงตามบทหนัก
๓๔.ตามพระราชบัญญัติเทศบาล๒๔๙๖ มาตรา ๕๓ เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าว นอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฏหมายดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๗๑ เท่านั้น
๓๕.จำเลยเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำจำเลยไม่ผิด ปอ มาตรา ๑๖๕ พรบ.เทศบาล ๒๔๙๖ มาตรา ๕๐(๒),๕๓ เพราะเทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวได้
๓๖.เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาลหรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา ๗๐ไม่ แม้จำเลยไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสวาธารณะ ก็ไม่เป็นความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗
๓๗.” รับเงินแล้วไม่ออกใบเสร็จ”...พนักงานที่ดินอำเภอรับเงินค่าธรรมเนียมและค่าพาหนะในการรังวัดจากผู้มายื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิ์ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ภายในเขตท้องที่อำเภอของตน โดยไม่ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้มายื่นเรื่องราว ไม่ได้นำเงินลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน ไม่ได้ดำเนินการให้เรื่องราวของผู้มาติดต่อลุล่วงไปจนกระทั้งย้ายไปที่อื่นก็ไม่ได้คืนเงินให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ หรือแม้จะคืนเงินให้ผู้ยื่นเรื่องราวก็ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วไม่เป็นความผิดหรือระงับไป ใบเสร็จเป็นเอกสารสารที่เป็นหลักฐานแห่งการระงับสิทธิ์ที่จะต้องมาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมอีก การที่ได้รับใบเสร็จย่อมแสดงว่ามีการชำระกันเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อรับเงินแล้วไม่ออกใบเสร็จ ไม่ได้นำเงินที่ได้มาลงบัญชีไว้ ย่อมอาจเกิดข้อโต้ถียงกันในภายหลังว่ามีการชำระค่าธรรมเนียมแล้วหรือไม่อย่างไร ใบเสร็จดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิ์
๓๘.กำนัน เป็นเจ้าพนักงานตามพรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ ๒๔๕๗ เมื่อถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน แล้วเบิกเงินมาจ่ายแก่ผู้รับเหมาในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปได้ มิเช่นนั้นต้องส่งเงินคืนคลัง การเบิกเงินมาจ่ายผู้รับเหมาเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้แม้กำนันจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้ว แต่เมื่อกระทำไปโดยเจตนาเพื่อให้งานเดินต่อไปไม่ต้องส่งเงินคืนคลังเพราะทำงานไม่แล้วเสร็จ แม้อาจไม่ถูกต้องตามระเบียบแต่ประโยชน์ที่ได้จากการสร้างถนนก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ ไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลในการแจ้งความเท็จ จึงขาดเจตนาแจ้งความเท็จตาม ปอ มาตรา ๕๙ เหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีใช้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้ฏีกาด้วยตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓,๒๒๕
๓๙.แต่เมื่อรับเงินมาแล้วกำนันละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาดำเนินงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทุจริตเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๔๐. โจทก์เป็นพระภิกษุถูกกล่าวหาว่าเสพเมถุนธรรมกับหญิง จำเลยเป็นเจ้าอาวาส ตั้งกรรมการทำการสอบสวนโดยจำเลยเป็นประธานกรรมการ แม้ในการสอบสวนจำเลยจะการสอบสวนผู้กล่าวหาซึ่งเป็นพระภิกษุสามเณรพร้อมๆกันลับหลังโจทก์ โดยอนุญาตให้พระภิกษาบางองค์ตอบแทนกัน และไม่เรียกพยานโจทก์มาสอบสวนอันไม่ต้องด้วยพระธรรมวินัย ระเบียบข้อบังคับและกฎของมหาเถรสมาคม ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบในการสอบสวนเท่านั้น
๔๑.แม้ในที่สุดจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัด โดยการสอบสวนไม่ได้ความชัดว่า โจทก์ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา การกระทำของจำเลยก็เป็นเรื่องผิดระเบียบการสอบสวนเท่านั้น การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัดโดยอาศัยอำนาจตาม พรบ. คณะสงฆ์ฯ พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อให้มีความสงบสุขภายในวัด เมื่อกระทำไปโดยไม่มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๔๒.ตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาและจับผู้กระทำผิดกฎหมาย การที่ทราบจากผู้เสียหายว่า มีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหาย แล้วพูดว่า “ เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืน” โดยไม่ปรากฏได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์หรือรับของโจร และไม่ทราบทรัพย์ที่ถูกลักเก็บรักษาไว้ที่ใด ทั้งยังไม่มีการแจ้งความออกหมายจับผู้หนึ่งผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ถือไม่ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เพราะการที่จะได้ทรัพย์คืนนั้นบางครั้งผู้ที่รับทรัพย์ไว้อาจได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายบางฉบับ การจะได้ทรัพย์คืนต้องชดใช้ราคา เช่นใน ปพพ มาตรา ๑๓๓๒ ซื้อทรัพย์มาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด ในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าที่ขายของนั้น ไม่จำต้องคืนทรัพย์เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคา หรือในกรณีตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ ซื้อโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์ที่ได้นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย ดังนั้นคำพูดที่ว่า “เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืน” เพียงเท่านี้โดยไม่ปรากฏได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์หรือรับของโจร และไม่ทราบทรัพย์ที่ถูกลักเก็บรักษาไว้ที่ใด ทั้งยังไม่มีการแจ้งความออกหมายจับผู้หนึ่งผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ถือไม่ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๔๓. พระภิกษุเจ้าไปสนทนากับหญิงสาวบนบ้านในเวลากลางคืนตามลำพังย่อมไม่ถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นตำรวจและชาวบ้านออกประกาศโฆษณาทางเครื่องขยายเสียงว่าโจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์ ไม่ยอมให้โจทก์กลับวัด ไม่ยอมให้โจทก์ลงจากบ้าน แล้วนำตัวส่งพนักงานสอบสวน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์จึงได้ควบคุมโจทก์ไว้ก่อนเพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจเกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน ไม่งั้นหากยอมให้กลับวัด และยอมให้ลงจากบ้านอาจเกิดความไม่สงบภายในชุมชนได้ การควบคุมตัวไว้เพื่อดำเนินการทางสงฆ์หรือเพื่อดำเนินการสึกออกจากสมณเพศย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ไม่มีความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๐๙,๓๑๐ แต่อย่างใดไม่
๔๔. ข้อเท็จจริงว่า” จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำผิดวินัย” เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองศาลยกฟ้องโจทก์ คดีต้องห้ามฏีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ปวอ มาตรา ๒๒๐
๔๕..จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนปล่อยตัวผู้ต้องหารวมสามคน แล้วนำผู้มีชื่อเข้าเป็นผู้ต้องหาแทนขณะควบคุมผู้ต้องหาทั้งสามดังกล่าวกับพวกจากศาลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อไปคุมขังที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง แต่จำเลยไมได้เรียกรับเงินจากผู้ต้องหาเป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไป ทั้งผู้มีชื่อที่จำเลยนำเข้ามาแทนผู้ต้องหาที่จำเลยปล่อยตัวไปก็ไม่ปรากฏว่าเข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจ ส่วนศาลจังหวัดสมุทรปราการ แม้ได้อนุญาตให้ผัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องขอของพนักงานสอบสวนก็เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายบัญญัติไว้เพื่อควบคุมการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนให้เป็นไปโดยถูกต้อง มิใช่ผู้ที่จะเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบจากการดำเนินคดีหรือไม่ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด คดีไม่พอฟังว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ผู้มีชื่อ โดยเจตนาทุจริต อันจะเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ถูกคุมขังตามอำนาจศาล กระทำด้วยประการใดๆให้ผู้ถูกคุมขังนั้นพ้นจากการควบคุมโดยผู้ถูกคุมขังมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ตาม ปอ มาตรา ๒๐๔ วรรคสองเท่านั้น
๔๖.ด้วยความเครารพในคำพิพากษาฏีกา ความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นกรณีเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต แม้การปล่อยตัวไปจะไม่ปรากฏว่ามีการเรียกรับเงินจากผู้ต้องหาเป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไปก็ตาม แต่การปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปก็เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบโดยมีเจตนาปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไป และแม้การนำผู้มีชื่อที่นำเข้ามาแทนผู้ต้องหาที่ปล่อยตัวไปก็ไม่ปรากฏว่าเข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจก็ตาม ก็เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ ผู้ที่มารับสมอ้างเป็นผู้ต้องหาแทนมักได้รับเงินเป็นค่าตอบแทนหรือมีบุญคุณที่ต้องทดแทนกัน ประเด็นว่า ผู้มาสวมชื่อแทนผู้ต้องหานั้นจะเต็มใจหรือถูกบังคับมาน่าไม่เป็นประเด็นในส่วนนี้ การกระทำดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อศาลแล้วเพราะหากศาลเชื่อว่าเป็นผู้กระทำผิดจริงแล้วพิพากษาลงโทษไปย่อมเป็นการพิพากษาลงโทษแก่บุคคลที่ไม่ได้กระทำความผิด แต่บุคคลที่กระทำความผิดกลับไม่ได้รับโทษ กรณีเปลี่ยนตัวผู้ต้องหามักเป็นคดีการพนันที่ข้าราชการถูกจับได้ในวงการพนัน หากถูกดำเนินคดีไปก็ต้องออกจากราชการ จึงต้องหาวิธีเลี่ยงไม่ให้ต้องรับโทษโดยการเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาโดยนำบุคคลอื่นมาสวมเป็นผู้ต้องหาแทนตน เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วต้องถือตามคำพิพากษาครับ
๔๗.การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือ ต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส๓ก) ลงลายมือชื่อออก นส๓ก ระบุชื่อ ต. เป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองตามเรื่องราวเท็จ เอกสารปลอมที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเสนอโดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติการโดยไม่ชอบเท่านั้น ไม่ปรากฏจำเลยมีเจตนาพิเศษละเว้นไม่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมที่ดิน ต. หรือ ผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติการาตามหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๔๘.ด้วยความเครารพในคำพิพากษา ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า การไม่ตรวจสอบให้ดีถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ปฏิบัติงานถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่ต้องทำการตรวจสอบให้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติก่อนที่ตนจะมีความเห็นและคำสั่ง มิเช่นนั้นทุกคนก็จะอ้างว่าตนไม่ได้ตรวจสอบหรือตรวจสอบไม่ดี ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการได้ เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วต้องถือตามคำพิพากษาครับ
๔๙.วิศวกรผู้คำนวณโครงการรับน้ำหนักอาคาร ในการปลูกสร้างย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวรับน้ำหนักได้เพียงไร เมื่อทราบว่าสามารถรับน้ำหนักได้เพียง ๔ ชั้นรวมชั้นใต้ดิน การคำนวณต่อเติมอาคารโดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้ และยังใช้ฐานรากและเสาร์ในแนว ซี ซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียงสองชั้น เป็นจุดเชื่อต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติมทำให้น้ำหนักอาคารทั้งหมดเทลงเสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การยอมรับว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิม ดูสภาพอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาเข็มในแนวซีต้นที่ ๑๗๖มีขนาดและส่วนประกอบผิดไปจากแปลน แสดงให้เห็นว่าเป็นการไม่ปฏิบัติการตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบ
๕๐.แม้จะไม่ได้เป็นผู้ออกแบบมาตั้งแต่ต้น แต่ เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนโดยว่าเสาเข็มในแนวซีต้นที่ ๑๗๖มีขนาดและส่วนประกอบผิดไปจากแปลน เช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องห่าข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอรับน้ำหนักอาคารในสวนทีต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิมเติม แต่ ก็หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ จนเป็นเหตุให้อาคาร พังลงจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายเพราะการ คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์เป็นผลเกิดจากการกระทำโดยตรง เป็นความผิดฐานเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบ ควบคุม หรือทำการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการอันพึงกระทำการนั้นๆในประการที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นจนเป็นเหตุให้มีผู้อื่นถึงแก่ความตายผิดตาม ปอ. มาตรา ๒๒๗,๒๓๘
๕๑. กรรมการและบุคคลอื่นที่ ไมได้เป็นวิศวกรยอมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ว่า จะต่อเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องต่อใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที ๙ ได้รับใบอุญาติให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมาก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารด้านความมันคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัยซึ่งเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่า อาคาร ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการตลอดจนจำเลยอื่นล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้น หากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์อาคาร อย่างแน่นอนเพราะทุกคนยอมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่นำสืบ จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ปวอ มาตรา ๒๒๗วรรคสอง การขอตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้น พรบ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา ๒๘ บัญญัติว่า ในกรณีผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณทีได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา ๒๑,๒๒,๒๓,๒๔เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฏหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนทีเกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง “ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารมีวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ ซึ่งเป็นเจ้าพักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมันคงแข็งแรงเพียงพอทีจะรับน้ำหนักอาคารต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นลายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที ๑ ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบประการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้นการที่จำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ตรวจคำขอต่อเติมอาคารจำเลยที ๙และทำคำเสนอต่อจำเลยที่ ๗ และที่ ๘ ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที ๙ต่อเติมอาคารได้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว
๕๒.ส่วนจำเลยที่ ๗ และที่ ๘ ที่ พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นที่เสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๘ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗อย่างไร จำเลยที่๓ ถึงที่ ๘ย่อมไม่มีความผิดตามกฏหมายดังกล่าว
๕๓.ตามคำพิพากษาฏีกานี้คือมีการตรวจสภาพอาคารก่อนต่อใบอนุญาตตามความเป็นจริงมีการตรวจกันจริงๆผลจึงเป็นไปตามคำพิพากษานี้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วอาคารบางแห่งไม่ได้มีการตรวจกันอย่างเป็นจริง การตรวจก็ทำไปแบบพอเป็นพิธี อาคารมีการก่อสร้างผิดแบบมาแต่เริ่มแรก ไม่ทราบเจ้าหน้าที่อนุญาตให้สร้างได้อย่างไง เช่น ไม่มีทางหนีไฟ ผมเคยไปตรวจโรงแรมปรากฏว่ามีทางหนีไฟจากชั้น ๓ ถึงชั้น ๑ แต่จากชั้นที่ ๙ มาชั้นที่ ๓ ไม่มีทางหนีไฟ หากไฟไหม้แล้วทำอย่างไรจะให้กระโดดจากชั้นที่ ๙ มาชั้นที่ ๓ อย่างนั้นหรือ? อาคารบางแห่งไม่มีทางหนีไฟเลย บางแห่งทางหนีไฟเป็นช่องที่มีฝาปิดโดยช่องอยู่ที่พื้นเวลาใช้ต้องยกฝาออกแล้วลอดตัวลงช่องกระโดดลงไปในชั้นที่ต่ำกว่าซึ่งไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ทราบอาคารเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างมาได้อย่างไร และได้ต่อใบอนุญาตทุกปี เมื่อทำการทักท้วงเท่ากับเป็นการชี้ความผิดผู้ที่อนุญาตและผู้ต่อใบอนุญาตในปีก่อนๆ ดังนั้นการไม่เคยทักท้วงว่า อาคาร ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ย่อมไม่เกิดขึ้น การไปตรวจอาคารบางแห่งก็มานั่งตรวจกันบนโต๊ะไม่มีการตรวจอาคารกันจริงๆ แล้วแต่ความซวยว่าหากไม่มีไฟไหม้ ไม่มีคนตาย คนอนุญาต คนต่อใบอนุญาตก็รอดตัวไป หากวันใดไฟไหม้หรือมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมีคนถึงแก่ความตาย คนอนุญาตและคนต่อใบอนุญาตก็ต้องมารับผิด ผมเคยทักท้วงเรื่องอาคารสร้างไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขซึ่งต้องทำการทุบตึกบางส่วนและสร้างใหม่ให้ถูกตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยการไม่ลงชื่อในแบบการตรวจสอบอาคารในขณะที่กรรมการอื่นลงชื่อ แต่ปรากฏว่า มีคำสั่งเปลี่ยนตัวคนที่มาทำการตรวจสอบอาคาร โดยผมได้รับคำสั่งไม่ให้มาตรวจสอบอาคารร่วมกับหน่วยงานอื่น ก็ถือว่าเป็นโชดดีที่ผมไม่ต้องมาทำงานตรงนี้ต่อไป ไม่ต้องไปรบหรือทะเลาะกับหน่วยงานอื่น และโชดดีที่ไม่มีไฟไหม้ ไม่มีภัยพิบัติ ไม่งั้นคนอนุญาตให้สร้างอาคาร คนต่อใบอนุญาตซึ่งมีหลายหน่วยงานที่พิจารณาร่วมกันคงต้องมาร่วมกันเป็นจำเลยร่วมแน่นอน