ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หลักคิดเรื่องมรดก

* สิทธิในทรัพย์มรดกของทายาทก่อนแบ่ง
- สันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันในกองมรดก ดู มาตรา ๑๗๔๖
- มีสิทธิรับมรดก แม้จะได้ทรัพย์สินจากเจ้ามรดกก่อนตาย ดู มาตรา ๑๗๔๗
- สิทธิตกลงไม่ให้แบ่งทรัพย์มรดกไม่เกิน ๑๐ ปี ดู มาตรา ๑๗๔๘ วรรคสอง
- สิทธิร้องสอดเข้าไปในคดีมรดก ดู มาตรา ๑๗๔๙ วรรคหนึ่ง
- สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้จะเป็นผู้รับพินัยกรรมแล้ว ดู มาตรา ๑๖๒๑
- สิทธิฟ้องคดี แม้กองมรดกจะมีผู้จัดการมรดก ดู ฎ.๘๗๘/๒๔๘๕ ประชุมใหญ่ ฎ.๑๘๒๔/๒๕๔๓
* การครอบครองทรัพย์มรดก กรณีมีทายาทหลายคน
- ทายาทนั้นต้องร่วมกันยึดถือทรัพย์มรดกโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ตามมาตรา ๑๓๖๑ หรือ บุคคลอื่นยึดถือทรัพย์มรดกไว้แทน มาตรา ๑๓๖๘ ฎ.๔๑๘/๒๔๙๓ ฎ.๔๓๓/๒๔๙๓
- การครอบครองทรัพย์มรดกของทายาทคนหนึ่งไม่มีกฎหมายสนับสนุนว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น ฎ.๑๘๙/๒๕๓๕
- เมื่อครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันภายในอายุความมรดกไม่ว่านานเท่าใด เช่น ๑ เดือน ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันแล้วต่อมาทายาทคนหนึ่งไปอยู่ที่อื่นก็ถือว่าเป็นทายาทคนหนึ่งที่อยู่ครอบครองทรัพย์มรดกแทน ดู ฎ.๗๕๒/๒๕๐๘
* การแบ่งมรดก
- กรณีทายาทโดยธรรม บังคับตามมาตรา ๑๖๒๙ ถึงมาตรา ๑๖๓๖
- กรณีมีพินัยกรรม บังคับตามข้อกาหนดในพินัยกรรม
- ทายาทตกลงเป็นอย่างอื่น ดู มาตรา ๑๗๕๐
* วิธีแบ่งปันทรัพย์มรดก
- ทายาทต่างเข้าครอบครองมรดกเป็นส่วนสัด กรณีนี้ไม่จาต้องทาสัญญาเป็นหนังสือ ฎ.๑๔๓/๒๔๘๓
- ทายาทตกลงขายทรัพย์มรดกนาเงินมาแบ่งปันกัน กรณีนี้แล้วแต่ทายาทจะตกลงกันว่าจะทาโดยวิธีใด หากไม่สามารถตกลงก็ให้ศาลชี้ขาด ดู มาตรา ๑๓๖๔
- ทายาททาสัญญาแบ่งทรัพย์มรดก ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ นามาตรา ๘๕๐ และมาตรา ๘๕๒ มาใช้โดยอนุโลม

ไม่มีความคิดเห็น: