ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

“ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตอน ๒ “

๑. จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนและมีตำแหน่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน เข้าไปในบ้านโจทก์เพื่อตามหาโจทก์เกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยจับโจทก์ในข้อหามีอาวุธปืน โดย จ. คนเฝ้าบ้านโจทก์อนุญาตให้เข้าไป จำเลยเข้าไปในห้องนอนโจทก์ เมื่อไม่พบโจทก์ก็ออกมาทันที ยังไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขตาม ปอ มาตรา ๓๖๒,๓๖๕ และไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๓๙๖๒/๒๕๒๗
๒. การดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันโดยไม่ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวกับหรือคล้ายกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตาม พรบ. การขนส่ง พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้น รถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะกระทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจที่จะยึดรถยนต์ไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ปวอ มาตรา ๘๕,๑๓๑ คำพิพากษาฏีกา ๒๙๒๒/๒๕๒๘
๓. สารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกันเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๗) มีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามมาตรา ๙๒วรรคท้าย เมื่อมีเหตุอันควงเชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้าน หากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุ ของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย การตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุและโดยไม่ได้ทำลายกุญแจก็ไม่อาจทำได้ ทั้งการตรวจค้นของจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรตำรวจได้กระทำต่อหน้าพยานสองคน จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วย ปวอ มาตรา๙๒,๙๔,๑๐๒ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๕๘,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒) เมื่อมีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นและมีพฤติการณ์ที่ออกหมายค้นและทำการตรวจค้นได้ ดังนั้นหมายค้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจค้นคำพิพากษาฏีกา๔๗๙๑/๒๕๒๘
๔. ปอ. มาตรา ๑๕๗ เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ แต่กลับปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตอนหนึ่ง และเอาโทษแก่เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอีกตอนหนึ่ง คำว่า “ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด” หมายความถึงเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย ดังนั้นหากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบเป็นการกระทำต่อเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรงและเป็นการกระทำให้บุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหาย เอกชนย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ปวอ มาตรา ๒(๔)ได้ คำฟ้องของโจทก์ไมได้บรรยายถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๓ มาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ของจำเลยที่ ๓ จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕) ปัญหาว่าจำเลยที่ ๓ กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑นอกจากเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการแล้วยังเป็นตำแหน่งทางฝ่ายบริหารมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ธุรการผู้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาได้ด้วย ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ์และศักดิ์ศรีสูงกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาซึ่งเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการอย่างเดียว ฉะนั้นการแต่งตั้งโจทก์จากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาให้ดำรงค์ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ จึงเป็นการปูนบำเหน็จความดีความชอบให้โจทก์เป็นการขัดกับการที่โจทก์ยังมีโทษงดบำเหน็จอยู่ การที่จำเลยที่ ๒ ดำเนินการหาข้อยุติความขัดแย้งเกี่ยวกับมติ กต ที่ เห็นชอบในการแต่งตั้งโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ในทางบริหารราชการแผ่นดิน และที่สำคัญยิ่งก็คือ การจะนำเรื่องใดเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งทุกเรื่องนั้นต้องเป็นข้อยุติว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฏหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการแล้ว การที่จำเลยที่ ๒พยายามหาข้อยุติความเห็นที่ขัดแย้งเกี่ยวกับมติ กต ที่แต่งตั้งโจทก์ และยังไม่อาจนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไปนั้น หาใช่จำเลยที่ ๒ มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ ๒ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ จำเลยที่ ๔ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเป็นประธาน กต โดยตำแหน่ง ในการประชุม กต ประธาน กต เป็นประธานที่ประชุม โดยทั่วไปแล้วในการประชุมประธานที่ประชุมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการประชุมและรับผิดชอบดำเนินการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นผลดีทางราชการ หากไม่มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ประธานที่ประชุมจะเลื่อนหรือปิดการประชุมย่อมทำได้ ได้ความว่าเมื่อตอนเช้า จำเลยที่ ๔มีคำสั่งให้ดำเนินการประชุม กต ไป ที่ประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆจนกระทั้งถึงวาระแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ จำเลยที่ ๓ แถลงขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระนี้ไปก่อน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นว่า มีเรื่องที่จำต้องปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอยู่อีกและเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง จำเลยที่ ๔ ได้ชี้แจงและขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระดังกล่าวออกไป โดยแจ้งว่าการเลื่อนออกไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ในที่สุดส่วนใหญ่ที่ประชุมเห็นว่าไม่สมควรให้มีการเลื่อน จำเลยที่ ๔ จึงอาศัยอำนาจประธานสั่งให้เลื่อนและปิดประชุม โดยมีเหตุผลมาจากการขอร้องของนายพลเอก ส นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดผลดีต่อบ้านเมืองในทุกๆด้านตามรัฐประศาสน์นโยบายโดยเฉพาะเป็นผู้มีหน้าที่นำมติ กต ที่เห็นชอบแต่งตั้งโจทก์ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เมื่อพลเอก ส. เห็นว่า โจทก์ยังมีโทษทางวินัยอยู่และการแต่งตั้งโจทก์เป็นการขัดกับพระราชกระแสเช่นนี้ การที่จำเลยที่ ๔ ขอให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน โดยแจ้งว่าการเลื่อนจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ ๔ ได้พิจารณาถึงเหตุผลและความเหมาะสมในหลายๆด้านแล้วจึงได้สั่งให้เลื่อนการประชุมและปิดประชุม หากจำเลยที่ ๔ มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่ ๔ จะไม่นำเรื่องการแต่งตั้งโจทก์บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมก็ย่อมได้ ทั้งๆที่จำเลยที่ ๔ ก็รู้ว่า โจทก์มีโทษทางวินัยอยู่ การที่ต่อมาภายหลังมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนการประชุม จึงไม่เชื่อว่าจำเลยที่ ๔ สั่งเลื่อนการประชุมและปิดประชุมโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ คำพิพากษาฏีกา๔๘๘๑/๒๕๔๑
๕. จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีอำนาจสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด แกล้งจับผู้เสียหายอ้างว่าเมาสุราอาละวาดทั้งที่ไม่เป็นความจริง อันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ และนำตัวผู้เสียหายออกจากบ้านไปไว้ที่แห่งหนึ่ง แล้วปล่อยตัวผู้เสียหายไป อันเป็นความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ แม้เป็นการกระทำหลายอย่างแต่ด้วยเจตนาอันเดียว คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เป็นการกะทำต่อเนื่องกัน เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จำเลยที่ ๑ จับมือผู้เสียหายกระชากโดยแรงจนผู้เสียหายล้มลงได้รับบาดเจ็บที่นิ้วและหัวเข่า ใช้เวลารักษา ๕ วัน พฤติการณ์แสดงจำเลยที่ ๑ มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยที่ ๑ รับผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ คำพิพากษาฏีกา ๒๔๔๔/๒๕๒๑
๖. ตามระเบียบการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้และตามคำสั่งป่าไม้เขตที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจักต้องทำบุญชีอนุญาตชักลากไม้ด้วย การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบรูณ์ การทำบัญชีชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้องตามระเบียบจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาตชักลากไม้ก่อนแล้วทำบัญชีอนุญาตชักลากก็หาทำให้การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำเลยผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒ แต่ละกรรมเป็นความผิดตาม ปอ มารตรา ๑๕๗ด้วย ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ ๕ ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย การกระทำของจำเลยตามปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒เป็นกรรมเดียวกัน แก้เป็นจำเลยมีผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒,๑๕๗ ลงโทษตาม มาตรา ๑๕๗ซึ่งเป็นบทหนัก ถือไม่ได้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยกระทงเดียว ๑๐ ปี เป็นการเพิ่มโทษจำเลยไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๒๑๒คำพิพากษาฏีกา ๑๐๑/๒๕๒๔
๗. นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ร่วมกันออกประกาศเพิ่มเติมคุณวุฒิของผู้สมัครสอบแข่งขันภายหลังครบระยะเวลารับสมัครเพื่อแสดงว่า ส. มีวุฒิตามที่ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานครูเทศบาล ซึ่งตามประกาศเดิมแล้ว ส.มีวุฒิไม่ตรงตามที่ราชการกำหนด เมื่อ ส. สอบได้ และได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ย่อมทำให้ผู้ที่สอบได้อื่นแต่ยังไมได้รับการบรรจุได้รับความเสียหาย เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๔๑๘/๒๕๒๖
๘. ใบอนุญาตทะเบียนรถมี ๒ ฉบับ ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่แผนกทะเบียนยานพาหนะ ฉบับปลายมอบให้เจ้าของรถ จำเลยเป็นตำรวจปฏิบัติหน้าที่อยู่ในแผนกทะเบียนยานพาหนะได้ลงรายการเสียภาษีประจำปีในใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายทางและทำเรื่องราวโอนรถนั้นไปต่างจังหวัดทั้งๆที่ไม่มีใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับต้นฉบับมาตรวจสอบและลงรายการคู่กัน ส่อแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่าฉบับปลายเป็นเอกสารปลอม แต่ยังขืนดำเนินการให้ผู้มาขอโอนไป มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๒๖๘ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๕๒๐/๒๕๒๖
๙. จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมผู้เสียหายที่ได้ก่อการทะเลาะวิวาทก่อนหน้านั้น แต่เหตุการณ์ทะเลาะวิวาทได้ยุติลงแล้ว เหตุวิวาทยังไม่ชัดแจ้งว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ไม่ใช่การกระทำความผิดซึ่งหน้า โดยมีคู่กรณีกับผู้เสียหายชี้ให้จับ แต่ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบ ทั้งไม่มีเหตุสงสัยว่ากระทำผิดมาแล้วจะหลบหนี จำเลยซึ่งไม่มีหมายจับไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะจับผู้เสียหาย จำเลยจับผู้เสียหายโดยไม่แจ้งข้อหา ไม่ทำบันทึกจับกุม ไม่ส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี กลับนำไปควบคุมตัวที่ด่านตรวจ ชี้เจตนาจำเลยว่า กระทำโดยโกรธแค้น แสดงอำนาจเพื่อข่มขู่กลั่นแกล้งผู้เสียหายให้เดือดร้อนเสียหาย เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องรุนแรงต่อความรู้สึกของประชาชนไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ คำพิพากษาฏีกา ๔๒๔๓/๒๕๔๒
๑๐. แม้ตามระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา๒๗ ให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ(กอ) ที่จะเสนอ กอ ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย แต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศ ในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน กอ. รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อ กอ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ การทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอ กอ เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายของจำเลย อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ นี้นอกจากหมายความพึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อวิถีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติบัญญัติแห่งกฏหมายอีกประการหนึ่งแล้วยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ใช้เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบอีกด้วย การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้นหมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฏหมายคือต้องไม่ใช่การใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจหรือโดยปราศจากเหตุผล การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆนั้นรวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโส ประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน กอ เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้ง เพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีความผิด ปอ มาตรา ๙๑,๑๕๗คำพิพากษาฏีกา๗๖๖๓/๒๕๔๓
๑๑. จำเลยเป็นข้าราชการครูมีหน้าที่ปฏิบัติราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างต่อเติมมหาวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิค. ร. จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคารวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. ดูแลวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้าง การที่จำเลยนำเหล็กไลท์เกจอันเป็นวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งอยู่ในหน้าที่ดูแลรับผิดชอบของจำเลยไปเก็บไว้ที่ร้าน ก. และให้ ก. เอาเหล็กดังกล่าวไปเสีย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อกรมอาชีวศึกษาและเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ จำเลยรับราชการครูหน้าที่หลักคือการสอนหนังสือ การได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ราชการพิเศษในการควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. งานที่ได้รับมอบหมายลุล่วงไปได้ด้วยดี การที่จำเลยทุจริตเอาเหล็กไปขายก็เป็นเหล็กที่เหลือจากการก่อสร้างต่อเติมและมีราคาไม่มาก พฤติการณ์จำเลยไม่ร้ายแรง จำเลยรับราชการโดยไม่มีเรื่องเสื่อมเสียมาก่อนสมควรรอการลงโทษจำเลย คำพิพากษาฏีกา ๑๑๖๑/๒๕๓๘
๑๒. จำเลยเป็นพลตำรวจหนีราชการแต่ยังมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิด ได้ประสพเหตุการณ์กระทำผิดทางอาญาได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่จะจับคนร้ายโดยเข้าขัดขวางพูดจาขู่พยานผู้รู้เห็นไม่ให้ยืนยันว่ารู้เห็นการกระทำผิด การละเว้นปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้เป็นการละเว้นโดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของทรัพย์ เป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๑๐๒๒/๒๕๐๕
๑๓. ตำรวจเข้าไปในสำนักค้าประเวณีขณะเปิดทำการค้าประเวณี ประกาศตนว่าเป็นตำรวจและจับหญิงโสเภณีไปจากสถานค้าประเวณีแล้วมอบหญิงดังกล่าวให้กับพวกของตนโดยไม่ได้นำมาดำเนินคดีตามกฏหมาย ย่อมเกิดความเสียหายต่อราชการตำรวจ เป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกา ๑๔๕๐/๒๕๑๓
๑๔. จำเลยเป็นตำรวจ ร่วมกับพวกช่วยพาคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายไปเสียจากที่ควบคุมเพื่อไม่ให้ถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศลาวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยกับพวกนำรถมารับคนลาวดังกล่าวไป จำเลยเห็นแต่ละเลยไม่จับกุมมีความผิดตามพรบ. คนเข้าเมืองฯ มาตรา ๕๘ แต่ยังถือไม่ได้ว่าปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าท่าโดยไม่ชอบ คำพิพากษาฏีกา ๖๓๘/๒๕๒๓
๑๕. ตามพระราชบัญญัติเทศบาล๒๔๙๖ มาตรา ๕๓ เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าว นอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฏหมายดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๗๑ เท่านั้น จำเลยเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำจำเลยไม่ผิด ปอ มาตรา ๑๖๕ พรบ.เทศบาล ๒๔๙๖ มาตรา ๕๐(๒),๕๓ เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาลหรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา ๗๐ไม่ แม้จำเลยไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสวาธารณะ ก็ไม่เป็นความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา๒๖๓๓/๒๕๒๓
๑๖. พนักงานที่ดินอำเภอรับเงินค่าธรรมเนียมและค่าพาหนะในการรังวัดจากผู้มายื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิ์ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ภายในเขตท้องที่อำเภอของตน โดยไมได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้มายื่นเรื่องราว ไม่ได้นำเงินลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน ไม่ได้ดำเนินการให้เรื่องราวของผู้มาติดต่อลุล่วงไปจนกระทั้งย้ายไปที่อื่นก็ไม่ได้คืนเงินให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๓๐๔/๒๕๐๗
๑๗. กำนันถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามพรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ ๒๔๕๗ เบิกเงินมาจ่ายแก่ผู้รับเหมาในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผุ้รับเหมาทำงานต่อไปได้ มิเช่นนั้นต้องส่งเงินคืนคลัง กำนันจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้ว ขาดเจตนาแจ้งความเท็จตาม ปอ มาตรา ๕๙ เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีใช้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้ฏีกาด้วยตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓,๒๒๕ แต่เมื่อรับเงินมาแล้วกำนันละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาดำเนินงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทุจริตเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๓๘/๒๕๒๔
๑๘. โจทก์เป็นพระภิกษุในวัดที่จำเลยเป็นเจ้าอาวาส โจทก์ถูกกล่าวหาว่าเสพเมถุนธรรมกับหญิง จำเลยตั้งกรรมการทำการสอบสวนโดยจำเลยเป็นประธานกรรมการ แม้ในการสอบสวนจำเลยจะการสอบสวนผู้กล่าวหาซึ่งเป็นพระภิกษุสามเณรพร้อมๆกันลับหลังโจทก์ โดยอนุญาตให้พระภิกษาบางองค์ตอบแทนกัน และไม่เรียกพยานโจทก์มาสอบสวนอันไม่ต้องด้วยพระธรรมวินัย ระเบียบข้อบังคับและกฎของมหาเถรสมาคม ในที่สุดจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัด โดยการสอบสวนไม่ได้ความชัดว่า โจทก์ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา การกระทำของจำเลยก็เป็นเรื่องผิดระเบียบการสอบสวนเท่านั้น การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัดโดยอาศัยอำนาจตาม พรบ. คณะสงฆ์ฯ พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อให้มีความสงบสุขภายในวัด ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๑๐๙๖/๒๕๑๓
๑๙. จำเลยเป็นตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาและจับผู้กระทำผิด กฎหมาย การที่จำเลยทราบจากผู้เสียหายว่า มีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยพูดว่า เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืนโดยไม่ปรากฏจำเลยได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์หรือรับของโจร และไม่ทราบทรัพย์ที่ถูกลักเก็บรักษาไว้ที่ใด ทั้งยังไม่มีการแจ้งความออกหมายจับผู้หนึ่งผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ถือไมได้ว่ากากรกระทำจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๕๐๕๓/๒๕๓๐
๒๐. พระภิกษุเจ้าอาวาสไปสนทนากับหญิงสาวบนบ้านในเวลากลางคืน จำเลยซึ่งเป็นตำรวจและชาวบ้านออกประกาศโฆษณาทางเครื่องขยายเสียงว่าโจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์ ไม่ยอมให้โจทก์กลับวัด ไม่ยอมให้โจทก์ลงจากบ้าน แล้วนำตัวส่งพนักงานสอบสวน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์จึงได้ควบคุมโจทก์ไว้ก่อนเพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจเกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน ไม่ผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๐๙,๓๑๐ เมื่อศาลล่างทั้งสองยกฟ้องโดยข้อเท็จจริง ฏีกาของโจทก์ว่า จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำผิดวินัยจึงเป็นการฏีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ปวอ มาตรา ๒๒๐ คำพิพากษาฏีกา๑๐๘๕/๒๕๒๗
๒๑. จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนปล่อยตัวผู้ต้องหารวมสามคน แล้วนำผู้มีชื่อเข้าเป็นผู้ต้องหาแทนขณะควบคุมผู้ต้องหาทั้งสามดังกล่าวกับพวกจากศาลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อไปคุมขังที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง แต่จำเลยไมได้เรียกรับเงินจากผู้ต้องหาเป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไป ทั้งผู้มีชื่อที่จำเลยนำเข้ามาแทนผู้ต้องหาที่จำเลยปล่อยตัวไปก็ไม่ปรากฏว่าเขข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจ ส่วนศาลจังหวัดสมุทรปราการ แม้ได้อนุญาตให้ผัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องขอของพนักงานสอบสวนก็เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายบัญญัติไว้เพื่อควบคุมการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนให้เป็นไปโดยถูกต้อง มิใช่ผู้ที่จะเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบจากการดำเนินคดีหรือไม่ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด คดีไม่พอฟังว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ผู้มีชื่อ โดยเจตนาทุจริต อันจะเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ กากรกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๐๔ วรรคสองเท่านั้น คำพิพากษาฏีกา๔๖๗๗/๒๕๓๔
๒๒. การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือ ต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส๓ก) ลงลายมือชื่อออก นส๓ก ระบุชื่อ ต. เป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองตามเรื่องราวเท็จ เอกสารปลอมที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเสนอโดยไมได้ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติการโดยไม่ชอบเท่านั้น ไม่ปรากฏจำเลยมีเจตนาพิเศษละเว้นไม่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมที่ดิน ต. หรือ ผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติการาตามหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา๓๒๙๕/๒๕๔๓
๒๓. จำเลยที่ ๑ เป็นวิศวกรผู้คำนวณโครงการรับน้ำหนักอาคารจำเลยที่ ๙ ในการปลูกสร้างย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวได้กำหนดการรับน้ำหนักได้เพียง ๔ ชั้นรวมชั้นใต้ดิน แต่จำเลยที่ ๑ มาคำนวณต่อเติมอาคารโดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้ และยังใช้ฐานรากและเสาร์ในแนว ซี ซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียงสองชั้น เป็นจุดเชื่อต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติมทำให้น้ำหนักอาคารทั้งหมดเทลงเสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จำเลยที่ ๑ เบิกความยอมรับว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิม ดูสภาพอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาเข็มในแนวซีต้นที่ ๑๗๖มีขนาดและส่วนประกอบผิดไปจากแปลน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ ๑ไม่ปฏิบัติการตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบ เพราะเดิมจำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอรับน้ำหนักอาคารในสวนที่ต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิมเติม แต่จำเลยที ๑ ก็หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุที่อาคารจำเลยที่ ๙ พังลงจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายเพราะจำเลยที ๑ คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์เป็นผลเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ ๑โดยตรง การกระทำของจำเลยที ๑ผิดตาม ปอ. มาตรา ๒๒๗,๒๓๘ กรรมการของจำเลยที่ ๙ ตลอดจนจำเลยที ๑๕ไมได้เป็นวิศวกรยอมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจำเลยที ๙ ว่า จะตอเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องตอใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที ๙ ได้รับใบอุญาติให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมาก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารด้านความมั่นคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัยซึงเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่า อาคารจำเลยที ๙ ไมมันคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ ๙ตลอดจนจำเลยที ๑๕ล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้น หากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์อาคารจำเลยที ๙ อย่างแน่นอนเพราะทุกคนย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่นำสืบว่า จำเลยที่๙,ที่๑๐และที่๑๒ถึงที่ ๑๕กระทำความผิดตาม ปอ. มาตรา ๒๙๑ จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ปวอ มาตรา ๒๒๗วรรคสอง การขอตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้น พรบ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา ๒๘ บัญญัติว่า ในกรณีผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณทีได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา ๒๑,๒๒,๒๓,๒๔เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฏหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนทีเกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง “ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยที ๙ มีจำเลยที ๑ ซึ่งเป็นวิศวกรได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ ซึ่งเป็นเจ้าพักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมันคงแข็งแรงเพียงพอทีจะรับน้ำหนักอาคารต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นลายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที ๑ ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบประการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้นการที่จำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ตรวจคำขอตอเติมอาคารจำเลยที ๙และทำคำเสนอต่อจำเลยที่ ๗ และที่ ๘ ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที ๙ต่อเติมอาคารได้ยอมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว ส่วนจำเลยที่ ๗ และที่ ๘ นั้น พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นทีเสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ ไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๘ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗อย่างไร จำเลยที่๓ ถึงที่ ๘ย่อมไม่มีความผิดตามกฏหมายดังกล่าว คำพิพากษาฏีกา๓๗๙๓/๒๕๔๓
ข้อสังเกต ๑.การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน เข้าไปในบ้านผู้ต้องหาเพื่อตามตัวผู้ต้องหาเกี่ยวกับเรื่องที่ตนจับผู้ต้องหาเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดย คนเฝ้าบ้านผู้ต้องหาอนุญาตให้เข้าไป ได้ จึงเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดย “ได้รับอนุญาต” และ “โดยมีเหตุอันควร” แม้ไม่มีหมายจับ ไม่มีหมายค้น และไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะจับและตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายก็ตาม แต่การที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในบ้านได้และการเข้าไปก็เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายในความผิดอื่นที่เจ้าของบ้านเป็นผู้กระทำความผิด จึงเป็นการเข้าไปโดย” ได้รับอนุญาต “ และ เข้าไป “ โดยมีเหตุอันควร” ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานบุกรุกตาม ปอ มาตรา ๓๖๒,๓๖๕
๒.แม้ว่าจะมีการเข้าไปในห้องนอนผู้ต้องหาก็ตาม ซึ่งดูเหมือนว่าการอนุญาตให้เข้าไปในบ้านคงให้เข้าไปได้เฉพาะบางพื้นที่และคงสงวนสิทธิ์ในห้องนอนซึ่งเป็นสิทธิ์ส่วนตัวก็ตาม แต่ที่ต้องเข้าไปในห้องนอนเพื่อตามตัวผู้ต้องหาเพราะไม่พบผู้ต้องหาอยู่ในบริเวณบ้านจึงได้เข้าไปในห้องนอน หากพบอยู่บริเวณบ้านคงไม่ตามเข้าไปดูในห้องนอน และตอนที่เข้าไปในตอนแรกก็อาจไม่ทราบว่าห้องดังกล่าวเป็นห้องนอน และเมื่อเข้าไปแล้วไม่พบตัวก็ออกมาทันที แสดงให้เห็นว่า การเข้าไปดังกล่าวเพื่อกระทำการตามหน้าที่ไม่มีเจตนาที่จะรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุขตาม ปอ มาตรา ๓๖๒,๓๖๕ การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เพราะเข้าไปโดยได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้ และเข้าไปเพื่อติดตามนำมาดำเนินคดีซึ่งเป็นการกระทำโดยชอบด้วยหน้าที่
๓. ทรัพย์ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด เป็นทรัพย์ที่ต้องถูกริบตาม ปอ มาตรา ๓๓ ซึ่งพนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถกระทำได้ เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงรวมทั้งพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับคดีเพื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธ์ของผู้ต้องหาตาม ปวอ มาตรา ๑๓๑ .ซึ่งใน ปวอ มาตรา ๘๕วรรคแรก ให้อำนาจพนักงานสอบสวนในการยึดทรัพย์หรือสิ่งของต่างๆที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โดยสามารถยึดไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และหากศาลไม่ได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นแล้ว คือ ไม่ได้มีคำสั่งให้ริบของกลาง แล้ว เมื่อเสร็จสิ้นคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือผู้อื่นที่มีสิทธิ์เรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น ตาม ปวอ มาตรา ๘๕ วรรคท้าย ๔.การดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันโดยไม่ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวกับหรือคล้ายกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตาม พรบ. การขนส่ง พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้น รถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะกระทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด เพราะต้องทำการตรวจสอบจากรถยนต์ว่าเป็นรถคันนี้หมายเลขทะเบียนนี้ มีเลขเชสซีร์รถหมายเลขนี้ มีสีรถสีนี้หรือไม่ที่ได้รับอนุญาตให้นำมาประกอบการขนส่งในเส้นทางนี้ ทั้ง รถได้รับการตรวจสภาพและมีอุปกรณ์ประจำรถครบถ้วนที่สามารถให้ความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารหรือไม่ และรถคันดังกล่าวได้รับอนุญาตให้นำมาประกอบการขนส่งในเส้นทางพิพาทนี้หรือไม่อย่างไร พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจที่จะยึดรถยนต์ไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ปวอ มาตรา ๘๕,๑๓๑ ไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๕.สารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกันเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๗) มีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามมาตรา ๙๒วรรคท้าย เมื่อมีเหตุอันควงเชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้าน หากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุ ของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย เป็นบทบัญญัติในกฎหมายเก่าก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๔๗เป็นต้นมาการตรวจค้นต้องมีหมายค้นหรือมีคำสั่งศาล เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๑)ถึง(๔)
๖. การตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุ หากไม่ได้ทำลายกุญแจก็ไม่อาจเข้าไปตรวจค้นได้ สิ่งของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย หากจะไปขอหมายค้นมาในภายหลังก็จะไม่ทันการและจะไม่สามารถพบสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีไว้เป็นความผิดภายในบ้าน จึงจำเป็นต้องทำลายกุญแจเพื่อเข้าไปในบ้านอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยดังกล่าว แม้เป็นการทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์ซึ่งกุญแจก็ตาม แต่ก็ไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลเพื่อให้ทรัพย์ดังกล่าวเสียหาย จึงขาดเจตนาที่จะกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๓๕๗ อีกทั้งใน ปวอ มาตรา ๙๔วรรคท้าย ให้อำนาจเจ้าพนักงานใน การตรวจค้นในเคหสถานในกรณีที่เจ้าของ คนที่อยู่ในที่รโหฐานนั้นหรือผู้รักษาสถานที่นั้นไม่ยินยอมให้เข้าไปเจ้าพนักงานผู้มีตำแหน่งสารวัตรตำรวจมีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการเปิด ทำลายประตู หน้าต่าง รั่ว หรือสิ่งกีดขวางในทำนองอื่นก็ได้ การทำลายกุญแจเพื่อเข้าไปในเคหสถานจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
๗. เมื่อผู้ตรวจค้นเป็นสารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกันเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๗) มีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามมาตรา ๙๒วรรคท้าย เมื่อมีเหตุอันควงเชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้าน หากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุ ของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย แม้เข้าตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นก็ไม่ถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยไม่มีเหตุอันควรอันจะเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุขแต่อย่างใดไม่ การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยมีอาวุธ(เจ้าหน้าที่ตำรวจมักพกอาวุธปืนด้วยขณะกระทำการตามหน้าที่) ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๖๒,๓๖๕(๒)
๘.การเข้าตรวจค้นที่ ได้กระทำต่อหน้าพยานสองคนซึ่งเจ้าพนักงานร้องขอให้มาเป็นพยานโดยก่อนลงมือตรวจค้น ผู้ตรวจค้นได้แสดงความบริสุทธิ์ก่อนที่จะตรวจค้นเท่าที่จะสามารถกระทำได้ต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือหากไม่สามารถหาบุคคลดังกล่าวได้ เมื่อได้ตรวจค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนที่เจ้าหน้าที่ร้องขอให้เป็นพยานก็เป็นอันเพียงพอ การตรวจค้นดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วย ปวอ มาตรา๙๒,๙๔,๑๐๒ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๕๘,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒)
๙.เมื่อมีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นและมีพฤติการณ์ที่ออกหมายค้นและทำการตรวจค้นได้ ดังนั้นหมายค้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือแม้ไม่มีหมายค้น ก็ไม่ทำให้ผู้ตรวจค้นซึ่งเป็นสารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกัน ไม่มีอำนาจค้นแต่อย่างใดไม่
๑๐.ปอ. มาตรา ๑๕๗ เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ แต่กลับปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตอนหนึ่ง และเอาโทษแก่เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอีกตอนหนึ่ง คำว่า “ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด” หมายความถึงเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย
๑๑.ปกติความผิดเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ รัฐจะเป็นผู้เสียหาย ราษฏร์มักไม่ใช่ผู้เสียหายเว้นแต่การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลหรือความเสียหายโดยตรงต่อราษฏร์นั้น ดังนั้นหากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบเป็นการกระทำต่อเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรงและเป็นการกระทำให้บุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหาย เอกชนย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ปวอ มาตรา ๒(๔)ได้ นั้นก็คือ ความผิดเกี่ยวตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ที่เสียหายโดยตรงคือรัฐ ซึ่งรัฐจะต้องดำเนินการเอง โดยเอกชนมักไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดที่กระทำต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เว้นเสียแต่การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลหรือความเสียหายโดยตรงต่อเอกชน หรือคนธรรมดาจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดที่เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
๑๒.คำฟ้องของโจทก์ไมได้บรรยายถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๓ มาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ของจำเลยที่ ๓ จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕) เพราะเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่มีข้อเท็จจริงและลายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เพราะการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องบรรยายให้เห็นว่าจำเลยมีหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างไร แล้วจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่ชอบอย่างไร จึงจะเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ได้ แต่เมื่อไม่บรรยายฟ้องถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๓ มาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ของจำเลยที่ ๓ จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕) เมื่อเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อันทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ปัญหาว่าจำเลยที่ ๓ กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ศาลจึงไม่รับวินิจฉัยให้
๑๓. ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑นอกจากเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการแล้วยังเป็นตำแหน่งทางฝ่ายบริหารมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ธุรการผู้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาได้ด้วย ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ์และศักดิ์ศรีสูงกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาซึ่งเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการอย่างเดียว ฉะนั้นการแต่งตั้งโจทก์จากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาให้ดำรงค์ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ จึงเป็นการปูนบำเหน็จความดีความชอบให้โจทก์เป็นการขัดกับการที่โจทก์ยังมีโทษงดบำเหน็จอยู่ ซึ่งการถูกงดบำเหน็จมักไม่ได้รับการแต่งตั้งในลักษณะที่ก้าวหน้าหรือได้รับการปูนบำเหน็จขึ้น
๑๔.การที่จำเลยที่ ๒ ดำเนินการหาข้อยุติความขัดแย้งเกี่ยวกับมติ กต ที่ เห็นชอบในการแต่งตั้งโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ในทางบริหารราชการแผ่นดิน และที่สำคัญยิ่งก็คือ การจะนำเรื่องใดเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งทุกเรื่องนั้นต้องเป็นข้อยุติว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฏหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการแล้ว การที่จำเลยที่ ๒พยายามหาข้อยุติความเห็นที่ขัดแย้งเกี่ยวกับมติ กต ที่แต่งตั้งโจทก์ และยังไม่อาจนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไปนั้น หาใช่จำเลยที่ ๒ มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ ๒ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๑๕. จำเลยที่ ๔ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเป็นประธาน กต โดยตำแหน่ง ในการประชุม กต ประธาน กต เป็นประธานที่ประชุม โดยทั่วไปแล้วในการประชุมประธานที่ประชุมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการประชุมและรับผิดชอบดำเนินการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นผลดีทางราชการ หากไม่มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ประธานที่ประชุมจะเลื่อนหรือปิดการประชุมย่อมทำได้
๑๖.ได้ความว่าเมื่อตอนเช้า จำเลยที่ ๔มีคำสั่งให้ดำเนินการประชุม กต ไป ที่ประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆจนกระทั้งถึงวาระแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ จำเลยที่ ๓ แถลงขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระนี้ไปก่อน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นว่า มีเรื่องที่จำต้องปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอยู่อีกและเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง จำเลยที่ ๔ ได้ชี้แจงและขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระดังกล่าวออกไป โดยแจ้งว่าการเลื่อนออกไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ส่วนใหญ่ที่ประชุมเห็นว่าไม่สมควรให้มีการเลื่อน จำเลยที่ ๔ จึงอาศัยอำนาจประธานสั่งให้เลื่อนและปิดประชุม โดยมีเหตุผลมาจากการขอร้องของพลเอก ส นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดผลดีต่อบ้านเมืองในทุกๆด้านตามรัฐประศาสน์นโยบายโดยเฉพาะเป็นผู้มีหน้าที่นำมติ กต ที่เห็นชอบแต่งตั้งโจทก์ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เมื่อพลเอก ส. เห็นว่า โจทก์ยังมีโทษทางวินัยอยู่และการแต่งตั้งโจทก์เป็นการขัดกับพระราชกระแสเช่นนี้ การที่จำเลยที่ ๔ ขอให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน โดยแจ้งว่าการเลื่อนจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ ๔ ได้พิจารณาถึงเหตุผลและความเหมาะสมในหลายๆด้านแล้วจึงได้สั่งให้เลื่อนการประชุมและปิดประชุม หากจำเลยที่ ๔ มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่ ๔ จะไม่นำเรื่องการแต่งตั้งโจทก์บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมก็ย่อมได้ ทั้งๆที่จำเลยที่ ๔ ก็รู้ว่า โจทก์มีโทษทางวินัยอยู่ การที่ต่อมาภายหลังมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนการประชุม จึงไม่เชื่อว่าจำเลยที่ ๔ สั่งเลื่อนการประชุมและปิดประชุมโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์
๑๗. ตำรวจ แกล้งจับผู้เสียหายอ้างว่าเมาสุราอาละวาดทั้งที่ไม่เป็นความจริง อันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๑๘. การนำตัวผู้เสียหายออกจากบ้านไปไว้ที่แห่งหนึ่ง แล้วปล่อยตัวผู้เสียหายไป เป็นการหน่วงเหนียวหรือกักขังทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพร่างกายอันเป็นความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ แม้เป็นการกระทำหลายอย่างแต่ด้วยเจตนาอันเดียว คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
๑๙.การ จับมือผู้เสียหายกระชากโดยแรงจนผู้เสียหายล้มลงได้รับบาดเจ็บที่นิ้วและหัวเข่า ใช้เวลารักษา ๕ วันแสดงว่า มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยที่ ๑ รับผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕
๒๐.ตามระเบียบแล้วการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้และตามคำสั่งป่าไม้เขตที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจักต้องทำบุญชีอนุญาตชักลากไม้ด้วยเพื่อควบคุมการชักลากไม้ไม่ให้มีการสวมไม้อื่นปะปนเข้ามาในจำนวนไม้ที่ถูกต้อง การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบรูณ์ การทำบัญชีชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้องตามระเบียบจึงเป็นการกระทำหลายอย่างคือมีการทำบัญชีชักลากไม้กับการประทับตราชักลากไม้อันเป็นเท็จโดยมีเจตนาเดียวคือต้องการชักลากไม้จำนวนที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาตชักลากไม้ก่อนแล้วทำบัญชีอนุญาตชักลากก็หาทำให้การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่
๒๑.เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาจำเลยผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒ แต่ละกรรมและเป็นความผิดตาม ปอ มารตรา ๑๕๗ด้วย ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ ๕ ปี ส่วนข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ข้อหาอื่นจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัย การกระทำของจำเลยตามปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒เป็นกรรมเดียวกัน แก้เป็นจำเลยมีผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๐,๑๖๒,๑๕๗ ลงโทษตาม มาตรา ๑๕๗ซึ่งเป็นบทหนัก ถือไม่ได้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น เพราะโจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาทำไม้ ส่วนข้อหาอื่นเป็นอันยุติไปแล้วเพราะโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษา ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกเพียง ๕ ปี การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยกระทงเดียว ๑๐ ปี เป็นการเพิ่มโทษจำเลยไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๒๑๒เพราะโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอเพิ่มโทษจำเลย
๒๒.การที่ผู้สมัครสอบมีวุฒิการศึกษาไม่ตรงตามที่ราชการกำหนด ต่อมาได้มีการเพิ่มคุณสมบัติสอบภายหลังครบกำหนดระยะเวลาสมัครสอบแล้วโดยเพิ่มวุฒิการศึกษาเพิ่มเติมเพิ่มขึ้นเพื่อให้ตรงกับวุฒิการศึกษาของพวกตนให้มีสิทธิ์สอบได้ จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นสามารถสอบได้และได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ย่อมทำให้ผู้ที่สอบได้อื่นแต่ยังไม่ได้รับการบรรจุซึ่งอาจสอบได้คะแนนไม่ดีอยู่อันดับท้ายๆอาจไมได้รับเรียกชื่อเพื่อเข้ารับราชการย่อมได้รับความเสียหาย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๒๓.หรือแม้มีการแก้วุฒิการศึกษาเพื่อช่วยให้พวกของตนมีสิทธิ์สอบได้โดยทำการแก้ไขภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาการสมัครไปแล้ว ไม่ว่าผู้นั้นจะสามารถสอบได้หรือไม่ได้ก็ตาม ผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวุฒิการศึกษาย่อมมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ความผิดไม่ได้อยู่ที่การเพิ่มวุฒิการสมัครสอบเข้าไปแล้ว ผู้นั้นต้องสอบได้แม้สอบไม่ได้ ก็ตามผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวุฒิก็เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ความผิดอยู่ที่พ้นกำหนดการรับสมัครสอบไปแล้วไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวุฒิเพื่อช่วยพวกของตนให้มีคุณสมบัติสอบได้
๒๔. การลงรายการเสียภาษีประจำปีในใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายทางและทำเรื่องราวโอนรถนั้นไปต่างจังหวัดต้องมีต้นฉบับใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายซึ่งทางราชการมอบให้ไว้กับเจ้าของผู้ครอบครองรถเพื่อนำมาตรวจสอบเปรียบเทียบกับทะเบียนรถต้นฉบับที่เก็บไว้ที่แผนกทะเบียนยานพาหนะ
๒๕. การลงรายการเสียภาษีประจำปีในใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายทางและทำเรื่องราวโอนรถนั้นไปต่างจังหวัดทั้งๆที่ไม่มีใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับต้นฉบับมาตรวจสอบและลงรายการคู่กัน ส่อแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่าฉบับปลายเป็นเอกสารปลอมหรือรถที่จะนำมาโอนไปต่างจังหวัดอาจได้มาจากการกระทำความผิดจึงไม่มีใบอนุญาตทะเบียนรถฉบับปลายทางมาแสดง เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบและลงรายการคู่กัน การที่เจ้าหน้าที่ยอมลงรายการเสียภาษีประจำปี ส่อแสดงว่าทราบอยู่แล้วว่าฉบับปลายเป็นเอกสารปลอม แต่ยังขืนดำเนินการให้ผู้มาขอโอนไป จึงเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและใช้เอกสารปลอมอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๒๖๘
๒๖. เมื่อไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าและยังไม่แน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด การที่คู่กรณีกับผู้เสียหายชี้ให้จับ โดยยังไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบ ทั้งไม่มีเหตุสงสัยว่ากระทำผิดมาแล้วจะหลบหนีเมื่อไม่มีหมายจับ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะสามารถทำการจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ตามปวอ มาตรา๗๘ การจับกุมจึงเป็นการจับโดยไม่ชอบ ทั้งเมื่อจับกุมแล้ว ไม่แจ้งข้อหา ไม่ทำบันทึกจับกุม ไม่ส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปวอ มาตรา ๘๔, วรรคแรก,(๑)แต่ กลับนำไปควบคุมตัวที่ด่านตรวจ เจือสมกับที่ผู้เสียหายนำสืบว่าเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้จับกุมมาก่อน การจับกุมดังกล่าวจึงเป็นการหน่วงเหนียวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพร่างกาย และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๑๐ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องรุนแรงต่อความรู้สึกของประชาชนไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ
๒๗.แม้ตามระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา๒๗ ให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ(กอ) ที่จะเสนอ กอ ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย แต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศ ในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน กอ. รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อ กอ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ การทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอ กอ เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายของจำเลย อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย
๒๘.การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุด.ตามปอ มาตรา ๑๕๗ นี้นอกจากหมายความพึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อวิถีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติบัญญัติแห่งกฏหมายอีกประการหนึ่งแล้วยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ใช้เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบอีกด้วย การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้นหมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฏหมายคือต้องไม่ใช่การใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจหรือโดยปราศจากเหตุผล
๒๙. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆนั้นรวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโส ประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน กอ เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลนั้นถูกสอบสวนทางวินัยหรือมีข้อบกพร่องที่ไม่เหมาะสมที่จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งนั้นๆ หรือมีสภาพป่วยทางกายจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นๆได้ จนต้องมีการนำอัยการที่อาวุโสน้อยกว่าข้ามไปดำรงตำแหน่งแทน แต่การแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งที่ถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์หรือการใช้ระบบอุปถัมภ์ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจในการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่ชอบ โดยในคดีนี้ปรากฏว่าถือเอาสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนทำให้โจทก์ถูกบุคคลที่อาวุโสต่ำกว่าได้รับตำแหน่งไปจึง เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีความผิด ปอ มาตรา ๙๑,๑๕๗
๓๐.แม้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของตนในการรับราชการ แต่เมื่อได้รับมอบหมายแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำหน้าที่อื่นด้วย ก็ต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายลุล่วงไปได้ด้วยดี เช่นเป็นครูมีหน้าที่สอนหนังสือแต่ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคาร เมื่อมีวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้าง แล้วนำวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งอยู่ในหน้าที่ดูแลรับผิดชอบของตนไปเก็บไว้ที่ร้าน ของบุคคลภายนอก. และให้ บุคคลภายนอกนำวัสดุดังกล่าวไปเสีย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ
๓๑.แม้เป็นตำรวจหนีราชการตราบใดยังไม่ถูกปลดหรือถูกไล่หรือให้ออกจากราชการแล้วยังมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิด ได้ เมื่อประสพเหตุการณ์กระทำผิดทางอาญาได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่จะจับคนร้าย แต่กับเข้าขัดขวางพูดจาขู่พยานผู้รู้เห็นไม่ให้ยืนยันว่ารู้เห็นการกระทำผิด การละเว้นปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้เป็นการละเว้นโดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของทรัพย์ เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ และเป็นเจ้าพักงานที่มีหน้าที่สืบสวนคดีอาญากระทำการด้วยประการใดๆเพื่อช่วยผู้อื่นที่เป็นผู้กระทำความผิดอันไม่ใช่ความผิดลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา๑๘๙,๒๐๐เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทหนักตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๓๒.ตำรวจจับหญิงโสเภณีไปจากสถานค้าประเวณีในขณะค้าประเวณีแล้วมอบหญิงดังกล่าวให้กับพวกของตนโดยไม่ได้นำมาดำเนินคดีตามกฏหมาย ย่อมเกิดความเสียหายต่อราชการตำรวจ เป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ และเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่สืบสวนคดีอาญากระทำการด้วยประการใดๆเพื่อช่วยผู้อื่นที่เป็นผู้กระทำความผิดอันไม่ใช่ความผิดลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา๑๘๙,๒๐๐เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทหนักตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๓๓.การที่ตำรวจ ร่วมกับพวกช่วยพาคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายไปเสียจากที่ควบคุมเพื่อไม่ให้ถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศลาวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งเมื่อเห็นมีการนำรถมารับคนลาวดังกล่าวไป แต่ละเลยไม่จับกุมมีความผิดตามพรบ. คนเข้าเมืองฯ มาตรา ๕๘ แต่ยังถือไม่ได้ว่าปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เป็นเพราะมาตรา ๕๘ เป็นบทเฉพาะที่บัญญัติการกระทำดังกล่าวไว้แล้วจึงไม่ผิดบททั่วไปอีก ด้วยความเครารพในคำพิพากษาฏีกาในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตามปอ มาตรา ๑๘๙,๒๐๐ด้วย และเข้าองค์ประกอบความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงตามบทหนัก
๓๔.ตามพระราชบัญญัติเทศบาล๒๔๙๖ มาตรา ๕๓ เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าว นอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฏหมายดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๗๑ เท่านั้น
๓๕.จำเลยเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำจำเลยไม่ผิด ปอ มาตรา ๑๖๕ พรบ.เทศบาล ๒๔๙๖ มาตรา ๕๐(๒),๕๓ เพราะเทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวได้
๓๖.เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาลหรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา ๗๐ไม่ แม้จำเลยไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสวาธารณะ ก็ไม่เป็นความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗
๓๗.” รับเงินแล้วไม่ออกใบเสร็จ”...พนักงานที่ดินอำเภอรับเงินค่าธรรมเนียมและค่าพาหนะในการรังวัดจากผู้มายื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิ์ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ภายในเขตท้องที่อำเภอของตน โดยไม่ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้มายื่นเรื่องราว ไม่ได้นำเงินลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน ไม่ได้ดำเนินการให้เรื่องราวของผู้มาติดต่อลุล่วงไปจนกระทั้งย้ายไปที่อื่นก็ไม่ได้คืนเงินให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ หรือแม้จะคืนเงินให้ผู้ยื่นเรื่องราวก็ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วไม่เป็นความผิดหรือระงับไป ใบเสร็จเป็นเอกสารสารที่เป็นหลักฐานแห่งการระงับสิทธิ์ที่จะต้องมาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมอีก การที่ได้รับใบเสร็จย่อมแสดงว่ามีการชำระกันเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อรับเงินแล้วไม่ออกใบเสร็จ ไม่ได้นำเงินที่ได้มาลงบัญชีไว้ ย่อมอาจเกิดข้อโต้ถียงกันในภายหลังว่ามีการชำระค่าธรรมเนียมแล้วหรือไม่อย่างไร ใบเสร็จดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิ์
๓๘.กำนัน เป็นเจ้าพนักงานตามพรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ ๒๔๕๗ เมื่อถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน แล้วเบิกเงินมาจ่ายแก่ผู้รับเหมาในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปได้ มิเช่นนั้นต้องส่งเงินคืนคลัง การเบิกเงินมาจ่ายผู้รับเหมาเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้แม้กำนันจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้ว แต่เมื่อกระทำไปโดยเจตนาเพื่อให้งานเดินต่อไปไม่ต้องส่งเงินคืนคลังเพราะทำงานไม่แล้วเสร็จ แม้อาจไม่ถูกต้องตามระเบียบแต่ประโยชน์ที่ได้จากการสร้างถนนก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ ไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลในการแจ้งความเท็จ จึงขาดเจตนาแจ้งความเท็จตาม ปอ มาตรา ๕๙ เหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีใช้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้ฏีกาด้วยตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓,๒๒๕
๓๙.แต่เมื่อรับเงินมาแล้วกำนันละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาดำเนินงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทุจริตเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๔๐. โจทก์เป็นพระภิกษุถูกกล่าวหาว่าเสพเมถุนธรรมกับหญิง จำเลยเป็นเจ้าอาวาส ตั้งกรรมการทำการสอบสวนโดยจำเลยเป็นประธานกรรมการ แม้ในการสอบสวนจำเลยจะการสอบสวนผู้กล่าวหาซึ่งเป็นพระภิกษุสามเณรพร้อมๆกันลับหลังโจทก์ โดยอนุญาตให้พระภิกษาบางองค์ตอบแทนกัน และไม่เรียกพยานโจทก์มาสอบสวนอันไม่ต้องด้วยพระธรรมวินัย ระเบียบข้อบังคับและกฎของมหาเถรสมาคม ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบในการสอบสวนเท่านั้น
๔๑.แม้ในที่สุดจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัด โดยการสอบสวนไม่ได้ความชัดว่า โจทก์ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา การกระทำของจำเลยก็เป็นเรื่องผิดระเบียบการสอบสวนเท่านั้น การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัดโดยอาศัยอำนาจตาม พรบ. คณะสงฆ์ฯ พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อให้มีความสงบสุขภายในวัด เมื่อกระทำไปโดยไม่มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๔๒.ตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาและจับผู้กระทำผิดกฎหมาย การที่ทราบจากผู้เสียหายว่า มีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหาย แล้วพูดว่า “ เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืน” โดยไม่ปรากฏได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์หรือรับของโจร และไม่ทราบทรัพย์ที่ถูกลักเก็บรักษาไว้ที่ใด ทั้งยังไม่มีการแจ้งความออกหมายจับผู้หนึ่งผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ถือไม่ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เพราะการที่จะได้ทรัพย์คืนนั้นบางครั้งผู้ที่รับทรัพย์ไว้อาจได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายบางฉบับ การจะได้ทรัพย์คืนต้องชดใช้ราคา เช่นใน ปพพ มาตรา ๑๓๓๒ ซื้อทรัพย์มาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด ในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าที่ขายของนั้น ไม่จำต้องคืนทรัพย์เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคา หรือในกรณีตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ ซื้อโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์ที่ได้นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย ดังนั้นคำพูดที่ว่า “เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืน” เพียงเท่านี้โดยไม่ปรากฏได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์หรือรับของโจร และไม่ทราบทรัพย์ที่ถูกลักเก็บรักษาไว้ที่ใด ทั้งยังไม่มีการแจ้งความออกหมายจับผู้หนึ่งผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ถือไม่ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๔๓. พระภิกษุเจ้าไปสนทนากับหญิงสาวบนบ้านในเวลากลางคืนตามลำพังย่อมไม่ถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นตำรวจและชาวบ้านออกประกาศโฆษณาทางเครื่องขยายเสียงว่าโจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์ ไม่ยอมให้โจทก์กลับวัด ไม่ยอมให้โจทก์ลงจากบ้าน แล้วนำตัวส่งพนักงานสอบสวน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์จึงได้ควบคุมโจทก์ไว้ก่อนเพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจเกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน ไม่งั้นหากยอมให้กลับวัด และยอมให้ลงจากบ้านอาจเกิดความไม่สงบภายในชุมชนได้ การควบคุมตัวไว้เพื่อดำเนินการทางสงฆ์หรือเพื่อดำเนินการสึกออกจากสมณเพศย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ไม่มีความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๐๙,๓๑๐ แต่อย่างใดไม่
๔๔. ข้อเท็จจริงว่า” จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำผิดวินัย” เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองศาลยกฟ้องโจทก์ คดีต้องห้ามฏีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ปวอ มาตรา ๒๒๐
๔๕..จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนปล่อยตัวผู้ต้องหารวมสามคน แล้วนำผู้มีชื่อเข้าเป็นผู้ต้องหาแทนขณะควบคุมผู้ต้องหาทั้งสามดังกล่าวกับพวกจากศาลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อไปคุมขังที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง แต่จำเลยไมได้เรียกรับเงินจากผู้ต้องหาเป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไป ทั้งผู้มีชื่อที่จำเลยนำเข้ามาแทนผู้ต้องหาที่จำเลยปล่อยตัวไปก็ไม่ปรากฏว่าเข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจ ส่วนศาลจังหวัดสมุทรปราการ แม้ได้อนุญาตให้ผัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องขอของพนักงานสอบสวนก็เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายบัญญัติไว้เพื่อควบคุมการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนให้เป็นไปโดยถูกต้อง มิใช่ผู้ที่จะเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบจากการดำเนินคดีหรือไม่ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด คดีไม่พอฟังว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ผู้มีชื่อ โดยเจตนาทุจริต อันจะเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ถูกคุมขังตามอำนาจศาล กระทำด้วยประการใดๆให้ผู้ถูกคุมขังนั้นพ้นจากการควบคุมโดยผู้ถูกคุมขังมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ตาม ปอ มาตรา ๒๐๔ วรรคสองเท่านั้น
๔๖.ด้วยความเครารพในคำพิพากษาฏีกา ความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นกรณีเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต แม้การปล่อยตัวไปจะไม่ปรากฏว่ามีการเรียกรับเงินจากผู้ต้องหาเป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไปก็ตาม แต่การปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปก็เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบโดยมีเจตนาปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไป และแม้การนำผู้มีชื่อที่นำเข้ามาแทนผู้ต้องหาที่ปล่อยตัวไปก็ไม่ปรากฏว่าเข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจก็ตาม ก็เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ ผู้ที่มารับสมอ้างเป็นผู้ต้องหาแทนมักได้รับเงินเป็นค่าตอบแทนหรือมีบุญคุณที่ต้องทดแทนกัน ประเด็นว่า ผู้มาสวมชื่อแทนผู้ต้องหานั้นจะเต็มใจหรือถูกบังคับมาน่าไม่เป็นประเด็นในส่วนนี้ การกระทำดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อศาลแล้วเพราะหากศาลเชื่อว่าเป็นผู้กระทำผิดจริงแล้วพิพากษาลงโทษไปย่อมเป็นการพิพากษาลงโทษแก่บุคคลที่ไม่ได้กระทำความผิด แต่บุคคลที่กระทำความผิดกลับไม่ได้รับโทษ กรณีเปลี่ยนตัวผู้ต้องหามักเป็นคดีการพนันที่ข้าราชการถูกจับได้ในวงการพนัน หากถูกดำเนินคดีไปก็ต้องออกจากราชการ จึงต้องหาวิธีเลี่ยงไม่ให้ต้องรับโทษโดยการเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาโดยนำบุคคลอื่นมาสวมเป็นผู้ต้องหาแทนตน เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วต้องถือตามคำพิพากษาครับ
๔๗.การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือ ต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส๓ก) ลงลายมือชื่อออก นส๓ก ระบุชื่อ ต. เป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองตามเรื่องราวเท็จ เอกสารปลอมที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเสนอโดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติการโดยไม่ชอบเท่านั้น ไม่ปรากฏจำเลยมีเจตนาพิเศษละเว้นไม่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมที่ดิน ต. หรือ ผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติการาตามหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๔๘.ด้วยความเครารพในคำพิพากษา ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า การไม่ตรวจสอบให้ดีถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ปฏิบัติงานถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่ต้องทำการตรวจสอบให้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติก่อนที่ตนจะมีความเห็นและคำสั่ง มิเช่นนั้นทุกคนก็จะอ้างว่าตนไม่ได้ตรวจสอบหรือตรวจสอบไม่ดี ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการได้ เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วต้องถือตามคำพิพากษาครับ
๔๙.วิศวกรผู้คำนวณโครงการรับน้ำหนักอาคาร ในการปลูกสร้างย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวรับน้ำหนักได้เพียงไร เมื่อทราบว่าสามารถรับน้ำหนักได้เพียง ๔ ชั้นรวมชั้นใต้ดิน การคำนวณต่อเติมอาคารโดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้ และยังใช้ฐานรากและเสาร์ในแนว ซี ซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียงสองชั้น เป็นจุดเชื่อต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติมทำให้น้ำหนักอาคารทั้งหมดเทลงเสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การยอมรับว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิม ดูสภาพอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาเข็มในแนวซีต้นที่ ๑๗๖มีขนาดและส่วนประกอบผิดไปจากแปลน แสดงให้เห็นว่าเป็นการไม่ปฏิบัติการตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบ
๕๐.แม้จะไม่ได้เป็นผู้ออกแบบมาตั้งแต่ต้น แต่ เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนโดยว่าเสาเข็มในแนวซีต้นที่ ๑๗๖มีขนาดและส่วนประกอบผิดไปจากแปลน เช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องห่าข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอรับน้ำหนักอาคารในสวนทีต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิมเติม แต่ ก็หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ จนเป็นเหตุให้อาคาร พังลงจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายเพราะการ คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์เป็นผลเกิดจากการกระทำโดยตรง เป็นความผิดฐานเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบ ควบคุม หรือทำการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการอันพึงกระทำการนั้นๆในประการที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นจนเป็นเหตุให้มีผู้อื่นถึงแก่ความตายผิดตาม ปอ. มาตรา ๒๒๗,๒๓๘
๕๑. กรรมการและบุคคลอื่นที่ ไมได้เป็นวิศวกรยอมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ว่า จะต่อเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องต่อใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที ๙ ได้รับใบอุญาติให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมาก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารด้านความมันคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัยซึ่งเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่า อาคาร ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการตลอดจนจำเลยอื่นล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้น หากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์อาคาร อย่างแน่นอนเพราะทุกคนยอมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่นำสืบ จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ปวอ มาตรา ๒๒๗วรรคสอง การขอตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้น พรบ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา ๒๘ บัญญัติว่า ในกรณีผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณทีได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา ๒๑,๒๒,๒๓,๒๔เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฏหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนทีเกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง “ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารมีวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ ซึ่งเป็นเจ้าพักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมันคงแข็งแรงเพียงพอทีจะรับน้ำหนักอาคารต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นลายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที ๑ ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบประการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้นการที่จำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ตรวจคำขอต่อเติมอาคารจำเลยที ๙และทำคำเสนอต่อจำเลยที่ ๗ และที่ ๘ ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที ๙ต่อเติมอาคารได้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว
๕๒.ส่วนจำเลยที่ ๗ และที่ ๘ ที่ พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นที่เสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ ๓ถึงที่ ๖ ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๘ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗อย่างไร จำเลยที่๓ ถึงที่ ๘ย่อมไม่มีความผิดตามกฏหมายดังกล่าว
๕๓.ตามคำพิพากษาฏีกานี้คือมีการตรวจสภาพอาคารก่อนต่อใบอนุญาตตามความเป็นจริงมีการตรวจกันจริงๆผลจึงเป็นไปตามคำพิพากษานี้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วอาคารบางแห่งไม่ได้มีการตรวจกันอย่างเป็นจริง การตรวจก็ทำไปแบบพอเป็นพิธี อาคารมีการก่อสร้างผิดแบบมาแต่เริ่มแรก ไม่ทราบเจ้าหน้าที่อนุญาตให้สร้างได้อย่างไง เช่น ไม่มีทางหนีไฟ ผมเคยไปตรวจโรงแรมปรากฏว่ามีทางหนีไฟจากชั้น ๓ ถึงชั้น ๑ แต่จากชั้นที่ ๙ มาชั้นที่ ๓ ไม่มีทางหนีไฟ หากไฟไหม้แล้วทำอย่างไรจะให้กระโดดจากชั้นที่ ๙ มาชั้นที่ ๓ อย่างนั้นหรือ? อาคารบางแห่งไม่มีทางหนีไฟเลย บางแห่งทางหนีไฟเป็นช่องที่มีฝาปิดโดยช่องอยู่ที่พื้นเวลาใช้ต้องยกฝาออกแล้วลอดตัวลงช่องกระโดดลงไปในชั้นที่ต่ำกว่าซึ่งไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ทราบอาคารเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างมาได้อย่างไร และได้ต่อใบอนุญาตทุกปี เมื่อทำการทักท้วงเท่ากับเป็นการชี้ความผิดผู้ที่อนุญาตและผู้ต่อใบอนุญาตในปีก่อนๆ ดังนั้นการไม่เคยทักท้วงว่า อาคาร ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ย่อมไม่เกิดขึ้น การไปตรวจอาคารบางแห่งก็มานั่งตรวจกันบนโต๊ะไม่มีการตรวจอาคารกันจริงๆ แล้วแต่ความซวยว่าหากไม่มีไฟไหม้ ไม่มีคนตาย คนอนุญาต คนต่อใบอนุญาตก็รอดตัวไป หากวันใดไฟไหม้หรือมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมีคนถึงแก่ความตาย คนอนุญาตและคนต่อใบอนุญาตก็ต้องมารับผิด ผมเคยทักท้วงเรื่องอาคารสร้างไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขซึ่งต้องทำการทุบตึกบางส่วนและสร้างใหม่ให้ถูกตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยการไม่ลงชื่อในแบบการตรวจสอบอาคารในขณะที่กรรมการอื่นลงชื่อ แต่ปรากฏว่า มีคำสั่งเปลี่ยนตัวคนที่มาทำการตรวจสอบอาคาร โดยผมได้รับคำสั่งไม่ให้มาตรวจสอบอาคารร่วมกับหน่วยงานอื่น ก็ถือว่าเป็นโชดดีที่ผมไม่ต้องมาทำงานตรงนี้ต่อไป ไม่ต้องไปรบหรือทะเลาะกับหน่วยงานอื่น และโชดดีที่ไม่มีไฟไหม้ ไม่มีภัยพิบัติ ไม่งั้นคนอนุญาตให้สร้างอาคาร คนต่อใบอนุญาตซึ่งมีหลายหน่วยงานที่พิจารณาร่วมกันคงต้องมาร่วมกันเป็นจำเลยร่วมแน่นอน

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

“ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ”

๑. ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ส. เมื่อจับได้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องรีบนำตัวส่งพนักงานสอบสวนทันทีโดยไม่ชักช้า การที่จำเลยยอมให้ ส. พบญาติแล้วเป็นเหตุให้ ส หลบหนีไปในระหว่างควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน ถือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและกรมตำรวจ คำพิพากษาฏีกา ๒๗๕๔/๒๕๓๖
๒. จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้รับแจ้งว่ามีคนร้ายลักเรือและเครื่องยนต์ผู้เสียหาย แต่ไม่ยอมรับแจ้งความในประจำวันเป็นหลักฐานและเมื่อจับตัวคนร้ายได้ จำเลยปล่อยตัวคนร้ายไปเสีย ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เสียหายตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ และยังเป็นกากรกระทำการในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการอันไม่ชอบเพื่อช่วยคนร้ายไม่ต้องโทษตาม ปอ มาตรา ๒๐๐วรรคแรก กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๔๔๓๖/๒๕๓๑
๓. ขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ตรวจคนโดยสารขาออกนอกราชอาณาจักร จ คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้โดยสารขาออกถือหนังสือเดินทางมาให้จำเลยตรวจเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จำเลยตรวจพบมีหนังสือเดินทางโดยไม่มีตราประทับขาเข้าและไม่มีเอกสารการเดินทางครบถ้วน แต่จำเลยไม่ได้ยึดหนังสือเดินทางและควบคุมเพื่อให้ตำรวจสัญญาบัตรรับตัวไปดำเนินคดี ตามระเบียบปฏิบัติกลับปล่อยให้ผ่านช่องทางของจำเลยเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ สนง ตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ คำพิพากษาฏีกา ๑๑๗/๒๕๔๗
๔. จำเลยรับราชการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเลิดสินมีหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการคือตรวจและรักษาคนไข้ การที่จำเลยเบิกความเกี่ยวการตรวจร่างกายของโจทก์ที่โรงพยาบาลศิริราชขณะจำเลยเป็นนักศึกษาแพทย์ จึงไม่ใช่การปฏิบัติการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการ ไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ แม้ ปวอ มาตรา ๑๖๕ วรรคสาม บัญญัติว่าก่อนที่ศาลจะประทับฟ้องไม่ให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น แต่บทมาตราดังกล่าวก็ให้สิทธิ์จำเลยตั้งทนายซักค้านพยานโจทก์ได้ จำเลยจึงมีสิทธิ์ยื่นคำแถลงการณ์ชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาไต่สวนว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลได้ด้วยคำพิพากษาฏีกาที่๗๗๓๗/๒๕๕๒
๕. จำเลยเป็นตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิด แต่จำเลยกลับเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยการเล่นการพนัน แล้วจำเลยไม่จับกุมผู้ร่วมเล่นการพนัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร่วมเล่นการพนันหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทั้งสองเสพเมทแอมเฟตตามีนโดยวิธีสูดดมเอาควันเข้าสู่ร่างกาย เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๐๙วรรคสอง พรบ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา ๙๓วรรคท้าย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แต่เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสองฐานดังกล่าว โจทก์คงอุทธรณ์เฉพาะความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๐๙ วรรคสองเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบทลงโทษตามพรบ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา ๙๓วรรคท้าย อันเป็นบทหนักตาม ปอ มาตรา ๙๐ เป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๒๑๒ สำนวนแรกศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยผิดฐานเสพเมทแอมเฟตตามีน จำคุก ๘ เดือน สำนวนสองศาลฏีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้กำลังประทุษร้ายข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ปอ มาตรา ๙๑ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเมื่อศาลชั้นต้นว่า เมื่อศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาทั้งสองคดีเข้าด้วยกันแล้วจึงไม่อาจนับโทษต่อกันได้เพราะคดีทั้งสองได้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ฏีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฏีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้นำโทษฐานเสพเมทแอมเฟตตามีนนับโทษต่อกันตามที่ถูกต้องได้คำพิพากษาฏีกา ๗๘๓๖/๒๕๔๔
๖. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่รายงานและให้ความเห็นในการขอลาออกจากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ ไม่มีหน้าที่ทำหนังสือลาออกของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองในท้องที่ของจำเลยและใช้เอกสารปลอม จึงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๒๖๒/๒๕๔๓
๗. จำเลยเป็นปลัดเทศบาลและเป็นเลขานุการสภาเทศบาล จำเลยไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาเทศบาลจึงแต่งตั้งให้ ส. รองปลัดเทศบาลทำหน้าที่เลขานุการสภาเทศบาลแทนจำเลย จำเลยใช้ให้แก้ไขรายงานการประชุมที่ ส. ทำขึ้น โดยจำเลยไม่มีอำนาจแก้ได้โดยพลการ เพื่อจะให้ผู้เกี่ยวข้องหลงเชื่อว่า สภาเทศบาลมีมติตามที่จำเลยได้แก้ไข โดยประการที่น่าเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น มีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารตาม ปอ มาตรา ๒๖๕,๘๔ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารดังกล่าว จึงมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ อีกบทหนึ่ง เมื่อจำเลยนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปอ้างในการขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัด จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ปอ มาตรา ๒๖๘อีกกระทง จำเลยในฐานะเลขานุการสภาเทศบาลมีหน้าที่ทำรายงานการประชุมของสภาเทศบาล จำเลยทำรายงานการประชุมตามอำนาจหน้าที่ของตนและลงลายมือชื่อของตนเป็นผู้ทำ ไม่ได้ทำในนามบุคคลอื่น จึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยทำขึ้น แม้ข้อความในเอกสารไม่เป็นความจริง ก็ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ แต่เป็นการทำเอกสารเท็จ ตาม ปอ มาตรา ๑๖๒ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษตามมาตรา ๑๖๒ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ ตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ คำว่า “ เพื่อ” ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดถือเป็นเจตนาพิเศษ การที่จำเลยแก้ไขมติของสภาเทศบาลในรายงานการประชุม โดยไม่มีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล หากเป็นการกระทำไปเพราะความเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย จึงไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗คำพิพากษาฏีกา ๒๙๐๗/๒๕๒๖
๘. จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่พอใจที่เห็นภรรยาจำเลยเล่นไพ่อยู่กับโจทก์ จึงเข้าไปอาละวาดกลางวงไพ่ เตะโจทก์ และทำทีขอตรวจใบอนุญาตเพื่อกลบเกลื่อนการกระทำของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติการตามหน้าที่โดยไม่ชอบ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗๘ โจทก์ต่อว่าจำเลย จำเลยจึงเข้าไปเตะโจทก์อีก โจทก์เอากระโถนขว้างจำเลย แล้วเกิดการกอดปล้ำสมัครใจวิวาทกัน ถือเป็นเหตุการณ์ตอนหลัง โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยฐานทำร้ายร่างกายในความผิดที่จำเลยกระทำต่อโจทก์ในตอนแรกได้ คำพิพากษาฏีกา๓๔๐/๒๕๐๗
๙. องค์ประกอบความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ นั้น ต้องได้ความว่า การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติของเจ้าพนักงานนั้นต้องอยู่ในหน้าที่ โจทก์พา ส.ไป แล้วได้จดทะเบียนสมรสกัน ม. บิดาของ ศ.ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐมว่า โจทก์ฉุดคร่า ส. จำเลยที่ ๒เป็นนายตำรวจอยู่กองทะเบียนประวัติอาชญากรจับโจทก์บอกมีคนแจ้งให้จับเรื่องฉุดคร่าผู้หญิง และขู่ให้ถอนทะเบียนสมรสเสีย เมื่อไปถึงตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม จำเลยที่ ๒พาโจทก์ไปพบจำเลยที่ ๑ที่บ้าน จำเลยที่ ๑ เป็นตำรวจอยู่กองกำกับการตำรวจภูธรเขต ๗ ตำแหน่งนายเวร พูดจาข่มขู่จะทำร้ายโจทก์และให้คนไปตาม ม. มา ม.บอกว่าจัดการแล้วกัน จำเลยที่ ๑ ก็ให้จำเลยที่ ๒ พาโจทก์ไปมอบให้ร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม เป็นการปฏิบัตินอกหน้าที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในปอ มาตรา ๑๕๗ เพราะจำเลยไมได้มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีที่ ม. แจ้งความไว้ คำพิพากษาฏีกา ๑๑๗/๒๕๑๖
๑๐. การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบอันจะเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่ได้รับมอบหมายในหน้าที่นั้นๆเท่านั้น ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ คำพิพากษาฏีกา ๑๔๐๓/๒๕๑๒
๑๑. ปกติการทำร้ายร่างกายไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยเป็นตำรวจจับโจทก์ข้อหาวิ่งราวทรัพย์แล้วทำร้ายร่างกายโจทก์โดยเจตนาทำร้ายธรรมดา ไม่ใช่เพื่อประสงค์ให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะจำเลยจับโจทก์ได้แล้ว และจำเลยไม่ใช่พนักงานสอบสวนที่ทำร้ายโจทก์เพื่อประสงค์ให้โจทก์รับสารภาพ จึงไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เมื่อโจทก์ได้รับอันตรายจากการทำร้ายของจำเลยจำเลยมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ คำพิพากษาฏีกา ๓๖๔/๒๕๓๑
๑๒. ความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยไม่ชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ อำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจเป็นอำนาจหน้าที่กรมตำรวจหรือผู้ที่กรมตำรวจมอบหมายโดยตรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่สั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ แม้จำเลยที่ ๑ ทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาในการที่โจทก์ขาดราชการเกินกว่า ๑๕ วัน และเสนอความเห็นให้มีคำสั่งให้โจทก์ออกราชการ และการที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ สั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่การเงินจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่าโจทกิ์ทิ้งราชการหรือหนีราชการประกอบกับในทางปฏิบัติกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้จ่ายเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนให้แก่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จำเลยที่ ๑ เป็นเพียงผู้ขอเบิกรับเงินไป หากมีเงินส่งคืนก็จะบันทึกเหตุผลในการสั่งคืนไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายหรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๖๕๖๔/๒๕๔๒
๑๓. จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญา ในระหว่างสอบสวนได้ทำร้ายร่ายกายโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ยอมรับสารภาพ ไม่ยอมลงชื่อตามที่จำเลยต้องการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๙๑ ถูกชกไม่เกิดบาดแผลเป็นอันตรายแก่กาย แล้วถูกพันธนาการพาตัวไปคุมขังไว้ที่สถานีตำรวจแต่เดียวดาย ไกลหูไกลตาผู้ต้องหาด้วยกัน เช่นนี้ไม่เป็นอันตรายแก่จิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ ปอ มาตรา ๕๖ ต้องการเพียงว่า ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน ก็เพียงพอที่จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการที่จะพิพากษารอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษได้แล้ว หาต้องนำสืบไม่ แม้ไม่ได้สืบศาลก็อาจคำนึงถึงอายุ และอื่นๆ เท่าที่พึงมีปรากฏในสำนวนได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๓๙๙/๒๕๐๘
๑๔. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. ๒๔๕๗ มาตรา ๖๗ กำหนดให้ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี รวมเรียกว่า กรรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบรวมกัน ในการที่จะให้การปกครองอำเภอเรียบร้อย จึงต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การที่จำเลยให้คำรับรอง ท. ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนทั้งที่ทราบว่า ท เป็นคนต่างด้าว เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยที่ ๑/๒๕๐๙ ระเบียบในการสอบสวนข้าราชการปกครองว่าต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วย ก็เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ แต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาตลอด สิทธิ์จำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่อย่างใด การสอบสวนจึงชอบตาม ปวอ มาตรา ๑๘ แล้วคำพิพากษาฏีกาที่ ๓๙๔๑/๒๕๔๑
๑๕. จำเลยจับโจทก์ข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น แม้การจับจะไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า แต่ก็เป็นกรณีออกหมายจับได้โดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าโจทก์จะหลบหนีและจำเลยรักษาการณ์แทนผู้บังคับกองเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปจับโจทก์ด้วยตนเอง แม้ไม่มีหมายจับก็ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย(ปวอ มาตรา ๗๘วรรคท้าย) เมื่อจำเลยมีอำนาจจับโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗คำพิพากษาฏีกา ๑๒๓๓/๒๕๑๙
ข้อสังเกต ๑.เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๒.เจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อจับกุม ผู้กระทำความผิดทางอาญาได้แล้วมีหน้าที่ต้องรีบนำตัวส่งพนักงานสอบสวนทันทีโดยไม่ชักช้าตาม ปวอ มาตรา ๘๔วรรคแรก เพื่อให้มีการแจ้งข้อหา รับทราบสิทธิ์ตาม ปวอ มาตรา ๗/๑ และรับมอบบันทึกการจับกุมพร้อมของกลางที่ทำการยึดได้ 
๓.โดยใน ปวอ มาตรา ๘๗ วรรคสาม กำหนดให้นำผู้ถูกจับไปศาลภายใน สี่แปดชั่วโมง หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอันมิอาจกล่าวล่วงได้ ให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอหมายขัง การที่ไม่นำตัวไปส่งพนักงานสอบสวนทันทีโดยผู้ถูกจับกุมยังถูกควบคุมตัวอยู่นั้นเป็นการหน่วงเหนียวกักขังทำให้ผู้ถูกจับปราศจากเสรีภาพตามสมควร อีกทั้งในคดีที่อยู่ในอัตราโทษศาลแขวงต้องดำเนินการฟ้องคดีภายในกำหนด ๔๘ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกจับกุม โดยไม่ให้นับเวลาเดินทางตามปกติจากที่จับกุมมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน หรือจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนหรือที่ทำการพนักงานอัยการมาศาลรวมอยู่ด้วย การไม่รีบนำตัวมาส่งพนักงานสอบสวนทันทีเท่ากับเป็นการขยายระยะเวลาที่จะนำตัวจากที่จับกุมมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน หรือจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนหรือที่ทำการพนักงานอัยการมาศาล หรือในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคแรก ของพรบ.จัดตั้งศาลเด็กและเยาวชนฯ เป็นหน้าที่ผู้จับกุมต้องนำตัวเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับกุมไปยังที่ทำการพนักงานสอบสวน “ ทันที “ และในมาตรา ๗๒ของกฏหมายดังกล่าว เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องนำตัวเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทำการพนักงานสอบสวน โดยไม่ให้นับเวลาเดินทางจากที่จับกุมมาที่ทำการพนักงานสอบสวนรวมใน ๒๔ ชั่วโมง และในมาตรา ๗๘ ของกฏหมายดังกล่าว ต้องรีบดำเนินการสอบสวนเพื่อส่งสำนวนให้พนักงานอัยการฟ้องให้ทันภายใน ๓๐ วัน ทั้งในมาตรา ๗๐ เมื่อแจ้งข้อกล่าวหาแก่เด็กหรือเยาวชนแล้วต้องให้ผู้อำนวยการสถานพินิจทราบ ดังนั้นการที่ไม่รีบดำเนินการส่งตัวผู้ต้องหาไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนทันทีย่อมทำให้กระบวนการพิจารณาดังกล่าวล่าช้า ขัดต่อกฏหมาย
๔. การยอมให้ผู้ต้องหา พบญาติแล้วเป็นเหตุให้ ผู้ต้องหาหลบหนีไปในระหว่างควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน ถือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตามข้อสังเกตที่ ๒และ ๓ ตามที่กล่าวมาแล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและกรมตำรวจ แม้ในปวอ มาตรา๗/๑(๓) ให้สิทธิ์ผู้ต้องหาที่พบญาติได้ ก็เป็นการเยี่ยมเยียนผู้ถูกจับที่สถานีตำรวจมิใช่ให้ผู้ถูกจับไปพบญาติ ณ. สถานที่อื่นซึ่งอาจทำให้ผู้ถูกจับหลบหนีได้ อีกทั้งใน ปวอ มาตรา ๘๓ หากการแจ้งญาติผู้ถูกจับทราบนั้นเป็นการสะดวกและไม่ขัดขวางการจับกุมหรือการควบคุมตัวผู้ถูกจับหรือก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเเล้ว ผู้จับกุมสามารถดำเนินการดังกล่าวได้ตามควรแก่กรณี โดยต้องบันทึกไว้ในบันทึกการจับกุมด้วย ซึ่งกฎหมายเพียงให้แจ้งให้ญาติทราบถึงการที่ตนถูกจับกุมแต่ไม่ได้อนุญาตให้พาผู้ถูกจับไปพบญาติแต่อย่างใด การที่นำผู้ถูกจับไปพบญาติแล้วผู้ถูกจับหลบหนีถือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
๕.การที่พนักงานสอบสวนไม่ยอมรับแจ้งความในประจำวันเป็นหลักฐานและเมื่อจับตัวคนร้ายได้ แล้วปล่อยตัวคนร้ายไปเสีย ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เสียหายตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ และยังเป็นการกระทำการในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการอันไม่ชอบเพื่อช่วยคนร้ายไม่ต้องโทษตาม ปอ มาตรา ๒๐๐วรรคแรก กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ 
๖.การช่วยบุคคลอื่นเพื่อไม่ให้ต้องรับโทษ ตามปอ มาตรา ๒๐๐ เป็นบทเฉพาะใช้กับเจ้าพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในตำแหน่งโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ส่วนปอ มาตรา ๑๘๙ เป็นบททั่วๆไปใช้กับบุคคลทั่วไปที่ช่วยผู้กระทำความผิดหรือต้องหาว่ากระทำความผิดซึ่งไม่ใช่ความผิดลหุโทษ ไม่ให้ต้องรับโทษ โดยให้ที่พำนัก ซ่อนเร็น หรือช่วยด้วยประการใดๆไม่ให้ถูกจับกุม เมื่อมีบทเฉพาะตาม ปอ มาตรา ๒๐๐ แล้วไม่นำปอ มาตรา ๑๘๙มาใช้ ทั้งโทษในปอ มาตรา ๑๘๙ ก็น้อยกว่าอัตราโทษตาม ปอ มาตรา ๒๐๐ ด้วย 
๗. กรณีเจ้าพนักงานตรวจพบหนังสือเดินทางไม่มีตราประทับขาเข้าและไม่มีเอกสารการเดินทางครบถ้วน แต่ไม่ได้ยึดหนังสือเดินทางและควบคุมเพื่อให้ตำรวจสัญญาบัตรรับตัวไปดำเนินคดี ตามระเบียบปฏิบัติแต่กลับปล่อยให้ผ่านช่องทาง เพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ สนง ตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ
๘. นักศึกษาแพทย์ยังไม่ใช่แพทย์และยังไม่ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้มีหน้าที่ตรวจรักษาคนไข้ ดังนั้น การเบิกความเกี่ยวการตรวจร่างกายของโจทก์ขณะเป็นนักศึกษาแพทย์ จึงไม่ใช่การปฏิบัติการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการ จึงไม่ใช่ “ เจ้าพนักงาน” ตามกฎหมาย และไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย จึง ไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ 
๙..ในกรณีนี้มีข้อน่าคิดว่า นักศึกษาแพทย์อยู่ระหว่างฝึกงานยังไม่ใช่ แพทย์ และยังไม่ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้มีหน้าที่ตรวจรักษาคนไข้ ยังไม่ถือว่าเป็น เจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ แล้ว หากเป็น “ อัยการผู้ช่วย” หรือ “ ผู้ช่วยผู้พิพากษา” ละ จะถือเป็น “ เจ้าพนักงาน” ผู้การกระทำการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือไม่อย่างไร? หากยังไม่ใช่การกระทำการตามหน้าก็ไม่อาจมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ได้อย่างนั้นหรือ? หรือกรณีข้าราชการที่สอบบรรจุเข้ารับราชการได้ใหม่ๆต้องมีการฝึกงานทดลองงานตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ในช่วงเวลาที่ยังไม่พ้นกำหนดดังกล่าวสามารถเกิดความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ได้หรือไม่อย่างไร? ฝากเป็นข้อคิดครับ
๑๐.ในระหว่างราษฏร์ฟ้องกันเองต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องเพื่อกันการแกล้ง ไม่เหมือนการแจ้งความร้องทุกข์ที่มีการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ถือว่ามีการกลั่นกรองจากพนักงานสอบสวนมาชั้นหนึ่งแล้ว ก่อนที่จะกลั่นกรองเป็นหนที่สองจากพนักงานอัยการ ดังนั้น คดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องจึงมักไม่มีการไต่สวนมูลฟ้อง แม้ใน ปวอ มาตรา ๑๖๒(๒) บัญญัติให้ทำการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้ก็ตาม . 
๑๑.แม้ ปวอ มาตรา ๑๖๕ วรรคสาม บัญญัติว่าก่อนที่ศาลจะประทับฟ้องไม่ให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ยกเว้นการแต่งทนายเข้ามาแก้ต่าง คือตราบใดศาลยังไม่ประทับฟ้องยังไม่ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะจำเลย จึงไม่เกิดสิทธิ์ตาม ปวอ มาตรา ๘ ยกเว้นการแต่งทนายเข้ามาแก้ต่างสามารถระทำได้ แต่บทบัญญัติใน ปวอ มาตรา ๑๖๕ วรรคสามก็ให้สิทธิ์จำเลยตั้งทนายซักค้านพยานโจทก์ได้ การยื่นคำแถลงการณ์ชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาไต่สวนว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล นั้นก็คือ การใช้สิทธิ์ในการถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักพยานนั้นเอง จำเลยจึงมีสิทธิ์ยื่นคำแถลงการณ์ชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาไต่สวนว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลได้ 
๑๒.เมื่อเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิด แต่ไม่จับกุมแต่กลับเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยเสียเอง การไม่เข้าไม่จับกุมผู้ร่วมกระทำผิดกับตน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมิชอบการกระทำผิดตามมาตรานี้ต้องกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน แต่การกระทำดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้กระทำความผิดหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ในความเห็นส่วนตัวด้วยความเครารพในคำพิพากษาศาลฏีกา เห็นว่าการที่เป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าร่วมกระทำผิดกับผู้กระทำผิดตามกฏหมายเสียเองเป็นการละเว้นการจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฏหมายแล้ว การละเว้นไม่จับกุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ และการไม่จับกุมผู้เล่นการพนันแต่กลับเข้าร่วมเล่นการพนันเสียเองเท่ากับสนับสนุนให้มีการเล่นการพนันในท้องที่ ซึ่งการพนันเป็นบ่อเกิดอาชญากรรมต่างๆตามมา เช่น ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นต้น แต่เมื่อศาลฏีกาท่านวินิจฉัยแบบนี้ก็คงต้องถือตามนี้จนกว่าจะมีคำพิพากษาฏีกาอื่นมากลับหรือแก้คำพิพากษานี้
๑๓.จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทั้งสองเสพเมทแอมเฟตตามีนโดยวิธีสูดดมเอาควันเข้าสู่ร่างกาย เป็นการข่มขืนใจให้ผู้อื่นโดยมีอาวุธโดยกระทำการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น และเป็นการข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๐๙วรรคสอง และเป็นการขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำที่ผิดครองธรรมให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษโดยมีอาวุธโดยเป็นการระทำต่อบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพรบ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา ๙๓วรรคแรก,.วรรคสอง,วรรคท้าย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา ๙๓ วรรคท้ายซึ่งเป็นบทหนัก
๑๔.แต่เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสองฐานดังกล่าว โจทก์คงอุทธรณ์เฉพาะความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๐๙ วรรคสองเท่านั้น ความผิดตามพรบ.ยาเสพติดฯ มาตรา ๙๓วรรคท้ายย่อมเป็นอันยุติไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบทลงโทษตามพรบ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา ๙๓วรรคท้าย อันเป็นบทหนักตาม ปอ มาตรา ๙๐ เป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ และเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ขอให้ลงโทษ ทั้งเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่ง ศาลสูงจะเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้เว้นแต่โจทก์จะอุทธรณ์ให้เพิ่มเติมโทษจำเลย การที่ศาลสอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยโดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษย่อมไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๙๒วรรคสี่ ,๒๑๒ ,๒๒๕ 
๑๕.คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๒๑๒ สำนวนแรกศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยผิดฐานเสพเมทแอมเฟตตามีน จำคุก ๘ เดือน สำนวนสองศาลฏีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้กำลังประทุษร้ายข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ปอ มาตรา ๙๑ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า เมื่อศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาทั้งสองคดีเข้าด้วยกันแล้วจึงไม่อาจนับโทษต่อกันได้เพราะคดีทั้งสองได้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกันย่อมไม่ถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ได้ฟ้องเป็นสองคดีต่างหากจากกันและประสงค์ขอให้นับโทษทั้งสองคดีต่อกัน ส่วนที่ศาลให้รวมสองคดีเข้าด้วยกันก็เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดีเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ไม่ฏีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฏีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้นำโทษฐานเสพเมทแอมเฟตตามีนนับโทษต่อกันตามที่ถูกต้องได้ เป็นเรื่องเกินคำขอและเป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ขอให้ลงโทษฐานนี้จึงไม่อุทธรณ์คำพิพากษา คือพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลจึงไม่อาจนับโทษทั้งสองคดีต่อกันได้
๑๖.ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่เพียงรายงานและให้ความเห็นในการขอลาออกจากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ แต่ไม่มีหน้าที่ทำหนังสือลาออกของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองในท้องที่ของตน การทำหนังสือลาออกของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองในท้องที่ของตนจึงไม่ใช่การกระทำการในหน้าที่แต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำนอกหน้าที่ของตน แม้หนังสือฉบับดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมและนำหนังสือดังกล่าวมาใช้แสดงหรือยื่นตามลำดับชั้นก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่การกระทำการตามหน้าที่ จึงไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ส่วนจะเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารใช้เอกสารราชการปลอมหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 
๑๗.เมื่อจำเลยไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาเทศบาลได้แต่งตั้งให้ ส. รองปลัดเทศบาลทำหน้าที่เลขานุการสภาเทศบาลแทน จำเลยจึงไม่มีอำนาจทำรายงานการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายงานการประชุม การที่จำเลยใช้ให้ผู้อื่นทำการแก้ไขรายงานการประชุมที่ ส. ทำขึ้น โดยจำเลยไม่มีอำนาจแก้ได้โดยพลการโดยไม่ได้สอบถามคณะกรรมการอื่นที่เข้าร่วมประชุม การแก้ไขดังกล่าว เพื่อจะให้ผู้เกี่ยวข้องหลงเชื่อว่า สภาเทศบาลมีมติตามที่จำเลยได้แก้ไข โดยประการที่น่าเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น มีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตาม ปอ มาตรา ๒๖๕,๘๔ 
๑๘.เมื่อจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารดังกล่าว จึงมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ อีกบทหนึ่ง ครั้นมื่อจำเลยนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปอ้างในการขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัด จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมตาม ปอ มาตรา ๒๖๘อีกกระทง 
๑๙.จำเลยในฐานะเลขานุการสภาเทศบาลมีหน้าที่ทำรายงานการประชุมของสภาเทศบาล จำเลยทำรายงานการประชุมตามอำนาจหน้าที่ของตนและลงลายมือชื่อของตนเป็นผู้ทำ ไม่ได้ทำในนามบุคคลอื่น จึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยทำขึ้น แม้ข้อความในเอกสารไม่เป็นความจริง ก็ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ แต่เป็นการทำเอกสารเท็จ ตาม ปอ มาตรา ๑๖๒ 
๒๐.เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษตามมาตรา ๑๖๒ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ เป็นการพิพากษาหรือมีคำสั่งเกินคำขอหรือหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องตาม ปอ มาตรา ๑๙๒ 
๒๑.บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ คำว่า “ เพื่อ” ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด” ถือเป็นเจตนาพิเศษ การที่จำเลยแก้ไขมติของสภาเทศบาลในรายงานการประชุม โดยไม่มีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล หากเป็นการกระทำไปเพราะความเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย จึงไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นเรื่องขาดเจตนา โดยผู้กระทำไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด คือไม่รู้ว่าตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยตนไม่มีอำนาจแก้ไขได้ จึงจะถือว่าจำเลยประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำตนเองไมได้ มีข้อน่าคิดคือ การเป็นเจ้าพนักงานตามกฏหมายและอยู่ในฐานะเป็นเลขานุการสภาเทศบาลแต่ไม่ศึกษาระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องให้ถ้วนถี่ ไม่ศึกษาแนวทางปฏิบัติที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ว่าสามารถแก้ไขระเบียบได้เองโดยพละการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบกับสมาชิกของสภาเทศบาลก่อนนั้นสามารถกระทำการได้หรือไม่ นั้น ถือเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่? ความเข้าใจผิดพลาดว่าตนมีอำนาจแก้ไขได้นั้น สามารถรับฟังได้แค่ไหนเพียงใด?
๒๒.จำเลยเป็นตำรวจไม่พอใจที่เห็นภรรยาจำเลยเล่นไพ่อยู่กับโจทก์ จึงเข้าไปอาละวาดกลางวงไพ่ เตะโจทก์ และทำทีขอตรวจใบอนุญาตเพื่อกลบเกลื่อนการกระทำของจำเลย การเข้าไปอาละวาดในวงการพนันและทำร้ายร่างกายคนที่เล่นการพนัน ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ที่จำเลยสามารถกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติการตามหน้าที่โดยไม่ชอบ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ 
๒๓.ส่วนที่โจทก์ต่อว่าจำเลย จำเลยจึงเข้าไปเตะโจทก์อีก โจทก์เอากระโถนขว้างจำเลย แล้วเกิดการกอดปล้ำสมัครใจวิวาทกัน ถือเป็นเหตุการณ์ตอนหลัง ขาดตอนไปจากการกระทำในครั้งแรกแล้ว ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยฐานทำร้ายร่างกายในความผิดที่จำเลยกระทำต่อโจทก์ในตอนแรกได้ 
๒๔.ส่วนที่โจทก์สมัครใจวิวาทกับจำเลยโดยเอากระถางขวางและเข้ากอดปล้ำกัน ถือโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องจำเลยได้
๒๕.องค์ประกอบความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ นั้น ต้องได้ความว่า การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติของเจ้าพนักงานนั้นต้องอยู่ในหน้าที่ การที่โจทก์พา ส.ไปจากอำนาจปกครองของบิดามารดา แล้วได้จดทะเบียนสมรสกัน ม. บิดาของ ส.ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐมว่า โจทก์ฉุดคร่า ส. จำเลยที่ ๒ซึ่งเป็นนายตำรวจอยู่กองทะเบียนประวัติอาชญากรจับโจทก์บอกมีคนแจ้งให้จับเรื่องฉุดคร่าผู้หญิง และขู่ให้ถอนทะเบียนสมรสเสีย เมื่อไปถึงตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม ได้พาโจทก์ไปพบจำเลยที่ ๑ที่บ้าน จำเลยที่ ๑ เป็นตำรวจอยู่กองกำกับการตำรวจภูธรเขต ๗ ตำแหน่งนายเวร พูดจาข่มขู่จะทำร้ายโจทก์และให้คนไปตาม ม. มา ม.บอกว่าจัดการแล้วกัน จำเลยที่ ๑ ก็ให้จำเลยที่ ๒ พาโจทก์ไปมอบให้ร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม เป็นการปฏิบัตินอกหน้าที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในปอ มาตรา ๑๕๗ เพราะจำเลยไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีที่ ม. แจ้งความไว้ การพูดขู่ให้ถอนชื่อจากทะเบียนสมรสไม่ใช่การกระทำในหน้าที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีอำนาจสั่งให้บุคคลใดไปถอนชื่อจากทะเบียนสมรสซึ่งก็คือบอกให้ไปหย่ากันนั้นเอง เมื่อไม่ใช่การกระทำในหน้าที่จึงไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ส่วนการจับกุมก็เป็นไปตามกฏหมายเก่าที่จับกุมโดยมีผู้แจ้งขอให้จับกุมโดยอ้างว่าได้มีการแจ้งตความร้องทุกข์กันไว้แล้วตามระเบียบ 
๒๖.การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบอันจะเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่ได้รับมอบหมายในหน้าที่นั้นๆเท่านั้น ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ 
๒๗.เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีอำนาจทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาได้ ปกติการทำร้ายร่างกายไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เว้นแต่การทำร้ายนั้นเพื่อประสงค์ให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เช่น ผู้จับกุมทำร้ายเพื่อให้รับสารภาพในชั้นจับกุม หรือพนักงานสอบสวนทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสารภาพในชั้นสอบสวน 
๒๘.การที่จำเลยจับโจทก์ข้อหาวิ่งราวทรัพย์แล้วทำร้ายร่างกายโจทก์โดยเจตนาทำร้ายธรรมดา ไม่ใช่เพื่อประสงค์ให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะจำเลยจับโจทก์ได้แล้ว เมื่อจำเลยไม่ใช่พนักงานสอบสวนที่ทำร้ายโจทก์เพื่อประสงค์ให้โจทก์รับสารภาพในชั้นสอบสวน หรือเป็นผู้จับกุมแล้วทำร้ายร่างกายเพือให้รับสารภาพในชั้นจับกุม การทำร้ายดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เมื่อโจทก์ได้รับอันตรายจากการทำร้ายของจำเลย จำเลยคงมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๕เท่านั้น 
๒๙.ความผิดตามปอ มาตรา ๑๕๗ ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยไม่ชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ 
๓๐.อำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจเป็นอำนาจหน้าที่กรมตำรวจหรือผู้ที่กรมตำรวจมอบหมายโดยตรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่สั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ แม้จำเลยที่ ๑ ทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาในการที่โจทก์ขาดราชการเกินกว่า ๑๕ วัน และเสนอความเห็นให้มีคำสั่งให้โจทก์ออกราชการ ก็เป็นเพียงการทำหน้าที่ในฐานะผู้พบเห็นการกระทำความผิดเบื้องต้น ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาเบื้องต้นเท่านั้น นั้น 
๓๑.การที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ สั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่การเงินจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่าโจทก์ทิ้งราชการหรือหนีราชการประกอบกับในทางปฏิบัติกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้จ่ายเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนให้แก่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จำเลยที่ ๑ เป็นเพียงผู้ขอเบิกรับเงินไป หากมีเงินส่งคืนก็จะบันทึกเหตุผลในการสั่งคืนไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายหรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ 
๓๒.จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญา ในระหว่างสอบสวนได้ทำร้ายร่ายกายโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ยอมรับสารภาพ ไม่ยอมลงชื่อตามที่จำเลยต้องการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗,๓๙๑ 
๓๓.การถูกชกไม่เกิดบาดแผลเป็นอันตรายแก่กาย(เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจตาม ปอ มาตรา ๓๙๑แล้ว) ส่วนการถูกพันธนาการพาตัวไปคุมขังไว้ที่สถานีตำรวจแต่เดียวดาย ไกลหูไกลตาผู้ต้องหาด้วยกัน เช่นนี้ไม่เป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่จิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ 
๓๔.ปอ มาตรา ๕๖ ต้องการเพียงว่า ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน ก็เพียงพอที่จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการที่ศาลจะพิพากษารอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษได้แล้ว หาจำเป็นที่จำเลยต้องนำสืบไม่ แม้ไม่ได้สืบศาลก็อาจคำนึงถึงอายุ และอื่นๆ เท่าที่พึงมีปรากฏในสำนวนได้ เพราะหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาลงโทษจำคุกมาก่อนหรือไม่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบเพื่อผลในการนำโทษที่รอการลงโทษมาบวกหรือนับโทษต่อหรือขอเพิ่มโทษ เมือโจทก์ไม่สืบก็ต้องสันนิษฐานในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน
๓๕. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. ๒๔๕๗ มาตรา ๖๗ กำหนดให้ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี รวมเรียกว่า กรรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน ในการที่จะให้การปกครองอำเภอเรียบร้อย จึงต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การที่จำเลยให้คำรับรอง ท. ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนทั้งที่ทราบว่า ท เป็นคนต่างด้าว เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ 
๓๖.ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยที่ ๑/๒๕๐๙ ว่าด้วยระเบียบในการสอบสวนข้าราชการปกครองว่าต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วย ก็เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหา ก็เพื่อเป็นหลักประกันการให้การรับสารภาพของผู้ต้องหาว่าไม่ได้รับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เพราะเมื่อสองหน่วยงานร่วมกันสอบสวน ย่อมเป็นการคานอำนาจของกันและกัน การให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนจึงน่าเชื่อถือได้ แต่ในคดีนี้เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอด แม้การสอบสวนจะไม่ได้ทำตามข้อบังคับกระมรวงมหาดไทยดังกล่าวก็ตามสิทธิ จำเลยก็ไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่อย่างใด การสอบสวนจึงชอบตาม ปวอ มาตรา ๑๘ แล้ว อีกทั้งพนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองก็มีอำนาจในการสอบสวนคดีอาญาได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๘,๑๙ โดยใน ปวอ มาตรา ๑๘และ ๑๙ ไม่ได้บัญญัติว่า การสอบสวนที่ชอบด้วยกฏหมายต้องเป็นการสอบสวนที่ร่วมกันระหว่างพนักงานฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะต่างคนก็ต่างมีอำนาจสอบสวนได้ ส่วนที่ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวออกมาก็ไม่ได้ตัดอำนาจการสอบสวนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายทั้งตำรวจและปกครองก็ยังมีอำนาจในการสอบสวนได้ ระเบียบดังกล่าวน่าออกเพื่อเป็นความร่วมมือและบอกว่ากรณีใดควรร่วมกันสอบสวนมากกว่าเพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะและแย่งงานกัน โดยในข้อบังคับดังกล่าวได้วางข้อกำหนดว่าข้อหาใดที่พนักงานฝายปกครองต้องเข้าทำการสอบสวนร่วมกับตำรวจโดย พนักงานฝ่ายปกครองเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน เพื่อกันการโต้เถียงกันว่าใครเป็นพนักงานสอบสวนผู้สรุปสำนวนและทำความเห็น โดยในระเบียบดังกล่าวก็จำกัดว่าคดีประเภทใดที่พนักงานฝ่ายปกครองเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน
๓๗. แม้ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าซึ่งสามารถจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับก็ตาม แต่หากเข้ากรณีข้อยกเว้นการจับโดยไม่มีหมายจับ หากมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้กระทำผิดจะหลบหนี และเป็นการจับโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ก็สามารถจับกุมได้แม้ไม่มีหมายจับ(เป็นไปตามกฎหมายเก่า) 
๓๘.เมื่อจำเลยรักษาการณ์แทนผู้บังคับกองเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปจับโจทก์ด้วยตนเอง เป็นกรณีตำรวจชั้นผู้ใหญ่จับกุมด้วยตนเองได้โดยไม่จำต้องมีหมายจับหากเข้าเกณท์ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ แม้ไม่มีหมายจับก็ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายตาม ปวอ มาตรา ๗๘วรรคท้าย ซึ่งเป็นกฏหมายเก่าก่อนปีพ.ศ. ๒๕๔๗ (หากเป็นปัจจุบัน การจับกุมโดยไม่มีหมายจับหรือไม่ได้กระทำการตามคำสั่งของศาลทำไม่ได้ เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๗๘(๑)ถึง(๔) ในคดีนี้เมื่อจำเลยมีอำนาจจับกุมได้ตามข้อยกเว้นแม้ไม่มีหมายจับก็ตาม ก็ไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตาม ปอ มาตรา ๑๕๗