ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564

สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามมาตรา 39 (2)

 คำพิพากษาฎีกาที่ 1304/2562

ความผิดของจําเลยฐานลักทรัพย์เอาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตรเบิกถอนเงินอัตโนมัติหรือ เอทีเอ็ม) ของผู้เสียหายไปในเวลากลางคืนและฐานลักทรัพย์โดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินสดจากบัญชีของผู้เสียหายในเวลากลางคืน ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคหนึ่ง ปรากฎตามคําร้องขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาและตามฎีกาของจําเลยซึ่งโจทก์ไม่ยื่นคําแก้ฎีกาโต้แย้งเป็นอื่นว่าจําเลยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 71 บัญญัติให้ความผิดนี้เป็นความผิดฐานหนึ่ง (ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336) ที่ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ คดีนี้เมื่อในชั้นอุทธรณ์จําเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย เป็นเงินเท่าจํานวนที่จําเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนไป และผู้เสียหายทําหนังสือไม่ติดใจ เอาความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จําเลยอีกต่อไป จึงเป็นการยอมความคดีอาญาก่อนคดีถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง ทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ ไปตามมาตรา 39 (2)

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564

นำรถยนต์ที่ทำสัญญาเช่าซื้อไว้โดยที่ผ่อนยังไม่หมด ปขายต่อหรือไปจำนำนอกระบบ

 คำพิพากษาฎีกาที่ 4781/2555 

รถยนต์กระบะเป็นของผู้เสียหายที่ 2 โจทก์ร่วมทำสัญญาเช่าซื้อจากผู้เสียหายที่ 2 ขณะเกิดเหตุยังอยู่ระหว่างการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะจึงยังเป็นของผู้เสียหายที่ 2 จนกว่าจะมีการชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ในการตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะให้แก่จำเลยมีเงื่อนไขว่า โจทก์ร่วมจะโอนทะเบียนให้จำเลยต่อเมื่อจำเลยชำระราคารถยนต์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งรวมถึงข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่โจทก์ร่วมยังคงค้างชำระแก่ผู้เสียหายที่ 2 ด้วย ข้อตกลงในการซื้อขายรถยนต์กระบะระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังไม่ตกเป็นของจำเลย ที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองรถหลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าว ถือเป็นเพียงการครอบครองรถยนต์กระบะไว้แทนโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะที่แท้จริง ภายหลังจากทำข้อตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะดังกล่าวจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ชำระราคารถยนต์กระบะให้ครบถ้วน โจทก์ร่วมแจ้งให้จำเลยคืนรถยนต์กระบะให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยเพิกเฉยและอ้างว่ารถยนต์กระบะสูญหาย การที่จำเลยยังคงครอบครองรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วมต่อมาโดยไม่ส่งมอบคืน น่าเชื่อว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังปกปิดและซุกซ่อนรถยนต์กระบะโดยมีเจตนาที่จะไม่ส่งมอบคืนแก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานยักยอก

หลักการวินิจฉัยที่สำคัญนั้น ขึ้นอยู่กับว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าวได้ถูกโอนไปยังผู้เช่าซื้อหรือยัง ถ้าอธิบายตามหลักกฎหมายนั้นหมายความว่า การซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้เช่าซื้อแล้วหรือยัง หากโอนแล้วก็ไม่ผิดยักยอกทรัพย์ แต่หากสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าจะมีการชำระราคาเสร็จ อันนี้จะผิดยักยอกทรัพย์