๑.”ยิงปืนขึ้นฟ้า” เพื่อขู่ไม่ให้ตำรวจเข้าจับกุม คำพิพากษาฏีกา ๒๔๓/๒๕๐๙
๒.” แม้กระสุนปืนด้าน” ก็ตาม คำพิพากษาฏีกา ๑๕๐๑/๒๕๑๔
๓.จ้องปืนไปที่ตำรวจแต่ไม่ยิงทั้งที่มีโอกาสยิงได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๓๒/๒๕๑๕
๔.พูดว่า “ ถ้าจับมีเรื่องแน่” พร้อมชี้มือในลักษณะข่มขู่ พวกจำเลย ๓๐ ถึง ๔๐ คน เดินเข้าไปหาตำรวจ ทำให้ตำรวจกลัวถูกทำร้าย จึงถอยออกไป คำพิพากษาฏีกา ๑๒๖๖/๒๕๓๐
ข้อสังเกต ๑. ตามพฤติการณ์เหล่านี้ถือเป็นการขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานหรือผู้ต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หากมีผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไปก็ระวางโทษสูงขึ้น หากการกระทำดังกล่าวมีหรือใช้อาวุธปืน ต้องระวางโทษหนึกขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง
๒. ยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อไม่ให้จับกุม ไม่ว่าปืนจะลั่นหรือไม่หรือกระสุนด้านก็ตาม หรือแม้แต่จ้องปืนไปที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน แม้จะไม่ยิงก็ตามก็เป็นการขัดขวางไม่ให้เจ้าพนักงานหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมโดยมีและใช้อาวุธปืนแล้ว หากปืนดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้ว ก็มีความผิดฐานมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่มีเหตุอันควร
๓.การที่พวกจำเลย ๓๐ ถึง ๔๐ คนเดินเข้าหาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะเข้าจับกุมจำเลยจนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเดินถอยเพราะกลัวถูกทำร้าย เป็นการร่วมกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไปขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้ว
๔.การกระทำดังกล่าวข้างต้นหากเป็นความผิดซึ่งหน้าซึ่งราษฏร์เข้าจับกุมราษฏร์ด้วยกัน เมื่อราษฏร์ไม่ใช่เจ้าพนักงานหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน การต่อสู้ขัดขวางก็ไม่อาจเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามกฏหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น