ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“กันสาดบังแดดหน้าบ้าน”

ผู้อำนวยการสำนักทางหลวง(ผู้ถูกฟ้องคดี) มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีตั้งกันสาดโดยให้เหตุผลว่า หากอนุญาตแล้วจะทำให้เจ้าของอาคารอื่นเอาเป็นแบบอย่าง และอาจมีการนำสินค้ามาวางใต้กันสาด เป็นการกีดขวางการสัญจรของประชาชน รวมทั้งพื้นที่บริเวณอาคาร ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพื้นผิวจราจร อาจทำให้ยานพาหนะขนาดใหญ่ที่แล่นผ่านไปมาเฉี่ยวชนกันสาดที่รุกล้ำเข้ามาในเขตทางหลวง อาจทำให้เกิดอันตรายได้ และเป็นการไม่สะดวกแก่งานทางหลวงโดยผู้ฟ้องคดีฟ้องคดีสามารถบรรเทาความเดือดร้อนจากแสงแดดด้วยการนำผ้าใบกันแดดแบบหมุนมาใช้แทนได้ในเขตทางหลวง ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ผลการอุทธรณ์ปรากฏว่าคณะกรรมการเห็นด้วยกับการไม่อนุญาตให้ตั้งกันสาด จึงนำคดีมาฟ้องที่ศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุญาตให้ติดตั้งกันสาด อ้างว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี เนื่องจากผู้ฟ้องคดีเคยดำเนินคดีกับภรรยาผู้ฟ้องคดีในข้อหาปลูกเพิงกันสาดในเขตทางหลวงโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากมีการสร้างกันสาดรุกล้ำทางหลวงในลักษณะเดียวกันหลายราย ทางพิจารณาได้ความว่า เดิมภรรยาผู้ฟ้องคดีปลูกเพิงกันสาดเป็นโครงเหล็กยื่นออกจากอาคาร ๓ เมตร รุกล้ำเข้าไปในเขตทางหลวงแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นความผิดตามพรบ.ทางหลวง ให้รื้อถอนเพิงกันสาดออกจากเขตทางหลวง ผู้ฟ้องคดีจึงขอตืดตั้งกันสาดใหม่อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยว่า พรบ.ทางหลวงฯ มาตรา ๓๘ และ๔๗ มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมดูแลรักษาทางหลวงไม่ให้มีสิ่งกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะ มิให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวง หรือความไม่สะดวกแก่การใช้ทาง รวมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อม ป้องกันอุบัติภัย และการติดขัดของการจราจรด้วย โดยห้ามผู้ใดติดตั้ง แขวน วาง กองสิ่งใดในเขตทางหลวง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง กฎหมายจึงกำหนดข้อห้ามเป็นหลัก การอนุญาตเป็นข้อยกเว้น โดยให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฏหมายทางหลวงไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีตั้งกันสาดรุกล้ำเข้ามาในเขตทางหลวง โดยเหตุผลดังกล่าวตั้งอยู่บนพิ้นฐานของกฏหมายเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะหรือไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวง หรือความไม่สะดวกแก่งานทางรวมทั้งเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม อันเป็นกรอบวัตถุประสงค์ของกฎหมายในการควบคุมดูแลรักษาทางหลวง ทั้งยังปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องเคยดำเนินคดีแก่เจ้าของอาคารที่ลุกล้ำเขตทางหลวงรายอื่นหลายราย โดยศาลพิพากษาลงโทษและให้รื้อถอนกันสาดออกไปในลักษณะเดียวกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน และไม่ปรากกว่าผู้ถูกฟ้องคดีเคยอนุญาตให้ผู้ใดตั้งกันสาดในลักษณะเดียวกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงไม่ใช่การเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ผู้ฟ้องคดี คำสั่งไม่อนุญาตดังกล่าวจึงชอบด้วยกฏหมาย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๗๐/๒๕๕๖
ข้อสังเกต ๑. ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ใดสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างในในเขตทางหลวง หรืออนุญาตให้ผู้ใดติดตั้ง แขวน วาง หรือ กองสิ่งใดในเขตทางหลวง โดยจะอนุญาตเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นกระทำการแทนได้ เพื่อเป็นการควบคุมรักษาทางหลวง ไม่ให้มีสิ่งใดกีดขวาง หรือเป็นเป็นอันตรายต่อยานพาหนะ หรือเกิดความเสียหายแก่ทางหลวง หรือความไม่สะดวกแก่งานทาง เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ป้องกันอุบัติภัย และการติดขัดจราจรโดยจะเป็นผู้พิจารณาเองหรือมอบหมายให้ผู้ใดพิจารณาแทนก้ได้
๒.คำสั่งไม่อนุญาตให้ตั้งกันสาด เพราะจะทำให้เจ้าของอาคารอื่นเอาเป็นแบบอย่าง และอาจมีการวางสินค้าใต้กันสาดอันเป็นการกีดขวางการสัญจรใต้กันสาดซึ่งยื่นล้ำเข้ามาในทางเดินเท้า และยาวออกไปในระดับเดียวกับพื้นผิวจราจรทางหลวง อาจทำให้รถที่มีขนาดใหญ่เฉี่ยวชน คำสั่งดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามกฏหมายของผู้อำนวยการสำนักทางหลวงใช้อำนาจทางปกครองของรัฐเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีผลเป็นการระงับและมีผลกระทบต่อสถานภาพ สิทธิ์ หน้าที่ของผู้ฟ้องคดี เป็นการถาวรที่จะไม่สามารถสร้างกันสาดเข้ามาในเขตทางเดินเท้าและรุกล้ำเข้ามาในเขตทางหลวง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง
๓.เมื่อเป็นคำสั่งทางปกครองก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง ต้องยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง หากไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์คำสั่งไว้เป็นการเฉพาะ ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งโดยทำเป็นหนังสือระบุข้อเท็จจริงข้อกฎหมายข้อโต้แย้ง การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองเว้นแต่จะมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับทางปกครองไว้ก่อน โดยต้องพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า โดยไม่เกิน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ หากไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้ส่งความเห็นไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ผู้พิจารณาอุทธรณ์ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับรายงาน หากไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จในกำหนดด้วยเหตุจำเป็น ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ โดยสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกิน ๓๐ วันนับแต่วันครบกำหนดพิจารณาอุทธรณ์ในครั้งแรก คำสั่งทางปกครองหากออกมาโดยไม่ชอบอาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ส่วนคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายที่ยืนตามความเห็นทางปกครองย่อมก่อให้เกิดสิทธิ์ที่จะนำคดีมาฟ้องที่ศาลปกครอง
๔. กรณีที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองโดยอ้างว่าเป็นการกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีโดยผู้ถูกฟ้องคดีเคยดำเนินคดีกับภรรยาของผู้ฟ้องคดีในข้อหาปลูกเพิงกันสาดในเขตทางหลวงโดยไม่ได้รับอนุญาตและเป็นการเลือกปฏิบัติโดยมีโดยมีผู้ปลูกกันสาดรุกล้ำทางหลวงในลักษณะเดียวกันหลายราย จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการอ้างว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการไม่ชอบด้วยกฏหมายในการออกคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีตั้งกันสาดโดยไม่ถูกต้องตามกฏหมาย และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ตามพรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯมาตรา ๙(๑) เมื่อไม่ใช่กรณีเกี่ยวกับวินัยทหาร หรือการดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตุลาการ และไม่ใช่กรณีคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายหรือศาลชำนาญการพิเศษ แล้ว ศาลปกครองย่อมมีอำนาจรับฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้
๕.ข้ออ้างที่ว่า ผู้ถูกฟ้องใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฏหมายนั้นเห็นว่า ว่า พรบ.ทางหลวงฯ มาตรา ๓๘ และ๔๗ มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมดูแลรักษาทางหลวงไม่ให้มีสิ่งกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะ มิให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวง หรือความไม่สะดวกแก่การใช้ทาง รวมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อม ป้องกันอุบัติภัย และการติดขัดของการจราจรด้วย โดยห้ามผู้ใดติดตั้ง แขวน วาง กองสิ่งใดในเขตทางหลวง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง กฎหมายจึงกำหนดข้อห้ามเป็นหลัก การอนุญาตเป็นข้อยกเว้น โดยให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฏหมายทางหลวงไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีตั้งกันสาดรุกล้ำเข้ามาในเขตทางหลวง โดยเหตุผลดังกล่าวตั้งอยู่บนพิ้นฐานของกฏหมายเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะหรือไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวง หรือความไม่สะดวกแก่งานทางรวมทั้งเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม อันเป็นกรอบวัตถุประสงค์ของกฎหมายในการควบคุมดูแลรักษาทางหลวง
๖.ส่วนที่ฟ้องอ้างว่าผู้ถูกฟ้องเลือกปฏิบัตินั้นศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ว่า เดิมภรรยาผู้ฟ้องคดีปลูกเพิงกันสาดเป็นโครงเหล็กยื่นออกจากอาคาร ๓ เมตร รุกล้ำเข้าไปในเขตทางหลวงแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาต ได้ถูกดำเนินคดีจนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นความผิดตามกฏหมาย ให้รื้อถอนเพิงกันสาดออกจากเขตทางหลวง ผู้ฟ้องคดีจึงขอติดตั้งกันสาดใหม่อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องเคยดำเนินคดีแก่เจ้าของอาคารที่ลุกล้ำเขตทางหลวงรายอื่นหลายราย โดยศาลพิพากษาลงโทษและให้รื้อถอนกันสาดออกไปในลักษณะเดียวกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน มิใช่ว่าเลือกดำเนินคดีแต่เฉพาะผู้ฟ้องคดีรายเดียว ทั้งไม่ปรากกว่าผู้ถูกฟ้องคดีเคยอนุญาตให้ผู้ใดตั้งกันสาดในลักษณะเดียวกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงไม่ใช่การเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ผู้ฟ้องคดี คำสั่งไม่อนุญาตดังกล่าวจึงชอบด้วยกฏหมาย

ไม่มีความคิดเห็น: