ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หมิ่นประมาท

"เลียแข้งเลียขาเจ้านายอย่างนี้มึงได้เท่าไหร่.........ผู้หญิงสองหน้า"
ผู้ต้องหาขอเข้าพบผู้บริหารของบริษัท แต่ผู้เสียหายบอกให้รอก่อน เมื่อผู้เสียหายมาที่ล็อบบี้ชั้นล่างผู้ต้องหาได้พูดว่าผู้เสียหายต่อหน้านางสาว น.แม่บ้านและนาย ส.พนักงานรักษาความปลอดภัยว่า " ทีหลังไม่ต้องมายุ่งเรื่องของเจ้านาย เขาจะคุยกับฉัน จะคุยกับเจ้านายอย่ามาเสือกยุ่ง เป็นแค่เสมียนทำงานกินเงินเดือนให้มากนัก เลียแข้งเลียขาเจ้านายเก่งอย่างนี้ มึงได้เท่าไหร่ ได้อย่างนี้ไม่คุ้มเสียหรอก น้ำหน้าอย่างมึง ชาตินี้เป็นได้แค่ลูกจ้างเขาไปตลอดชีวิต เชล์ที่นี้ขายของโกหก หลอกลวง เป็นพวกหน้าเงิน เห็นแก่ค่าคอมมิชชั่น เป็นผู้หญิงสองหน้า" นอกจากเป็นถ้อยคำดูหมิ่นแล้ว ยังเป็นการใส่ความผู้เสียหายทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถือว่ามีเจตนาใส่ความผู้เสียหายต่อ นางสาว น. และนาย ส. ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาฐานหมิ่นประมาทอีกบทหนึ่ง ชี้ขาดความเห็นแย้ง ๔๔๖/๒๕๕๑
ข้อสังเกต ๑. คำว่า "เลียแข้งเลียขา" ส่อความหมายไปในทางว่าผู้เสียหายประจบส่อพลอเจ้านาย เพื่อหวังความก้าวหน้าในการทำงาน
๒.คำว่า " น้ำหน้าอย่างมึง ชาตินี้เป็นได้แค่ลูกจ้างเขาตลอดชีวิต" เป็นถ้อยคำดูถูกดูหมิ่นว่า ผู้เสียหายทำงานก็ไม่มีวันเจริญ เป็นได้อย่างมากก้แค่เป็นลูกน้องคนอื่นเท่านั้น ไม่สามารถสร้างธุรกิจของตนได้
๓.คำว่า "เชล์ที่นี้ขายของโกหก ขายของหลอกลวง เป็นพวกหน้าเงินเห็นแก่ค่าคอมมิชชั้น" เป็นข้อความดูหมิ่นและหมิ่นประมาทที่ดูถูกว่า ผู้เสียหายเอาสินค้าไม่ดีมาขาย ไม่มีจรรยาบรรณ ต้องการเพียงเงินและค่านายหน้าเท่านั้น
๔.คำว่า " ผู้หญิงสองหน้า " หมายถึงคนหน้าไหว้หลังหลอก ไม่มีความจริงใจแก่คนอื่น ต่อหน้าทำแบบหนึ่ง ลับหลังทำอีกแบบหนึ่ง ตลบตะแลงไปเรื่อย ใช้เล่หหลี่ยมให้หลงเชื่อ เพื่อให้ตนอยู่รอด ไม่มีความจริงใจกับใคร
๕.การบรรยายฟ้องในความผิดฐานนี้ นอกจากต้องบรรยายในฟ้องถึงถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อหน้าบุคคลที่สามแล้วต้องอธิบายความหมายให้ศาลทราบด้วยว่าข้อความดังกล่าวมีความหมายอย่างไรเพื่อศาลจะได้รู้ว่าข้อความที่กล่าวนั้นทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง จากผู้ที่ได้ยินข้อความนั้นอย่างไร และต้องนำผู้เสียหายมาสืบด้วยว่า ข้อความที่กล่าวนั้นตนเข้าใจว่าอย่างไร ข้อความดังกล่าวทำให้ตนเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังอย่างไร และต้องนำบุคคลอื่นที่ได้ยินข้อความดังกล่าวมานำสืบด้วยว่าตนเข้าใจความหมายในถ้อยคำนั้นอย่างไร และถ้อยคำนั้นทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังยังไง
๖.ถ้อยคำที่หมิ่นประมาทแม้พูดไป แต่คนอื่นไม่เชื่อ แต่ถ้าถ้อยคำนั้นทำให้ผู้เสียหาย เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังจากผู้ที่ได้ยืนแล้วก็เป็นความผิดฐานนี้ได้

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กรณีที่ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้

๑.ขอให้รื้อถอนรั่วที่กีดขวาง ไม่ใช่การทำนิติกรรม จึงขอถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๖๒/๒๕๔๖
๒.ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากไม่ได้ เพราะไม่ใช่การทำนิติกรรม คำพิพากษาฏีกา ๖๘๙๖/๒๕๔๘
๓.บังคับให้ส่งมอบโฉนด ไม่ใช่การทำนิติกรรม เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๔๙๒๐/๒๕๔๗
๔.บังคับให้ออกโฉนด ให้เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๔๓๐/๒๕๔๗
๕.ขอให้คืนของที่หายไปเพราะถูกลักไปแล้วมีคนรับซื้อไว้โดยไม่ใช่การซื้อในท่้องตลาดที่ต้องคืนให้เจ้าของ หนี้ที่จะขอให้คืนของที่หายไป ไม่ใช่การทำนิติกรรม เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๑๑๐/๒๕๓๙
๖.ผู้มีส่วนได้เสียสามารถนำคำพิพากษาให้หย่ามาให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าในทะเบียนโดยคู่สมรสไม่ต้องไปแสดงเจตนาตาม พรบ.จดทะเบียนครอบครัว จึงไม่ต้องให้เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา คำพิพากษาฏีกา๓๖๐๘/๒๕๓๑,๓๒๓๒/๒๕๓๓
๗.การโอนสิทธิ์การเช่าจะกระทำได้เมื่อผู้ให้เช่ายินยอม จะเอาคำพิพากษาบังัคับให้ผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธการเช่า เพราะสัญญาขายสิทธิ์การเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่โอนสิทธิ์การเช่า โจทก์บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่จะไปบังคับเอากับผู้ให้เช่าโดยเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๖๔๔/๒๕๓๗
๘.ละเมิดไม่ใช่การแสดงเจตนา เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๗๐๙/๒๕๔๒
กรณีที่เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้
๑.ศาลพิพากษาให้หย่าแล้วไม่ไปหย่า เอาคำพิพากษาไปจดทะเบียนหย่าได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๘๐/๒๕๐๘
๒.เปิดบัญชีโดยโจทก์จำเลยต้องลงชื่อร่วมกันในการถอนเงิน แต่จำเลยไม่ยอมถอนเงิน ศาลบังคับว่าหากจำเลยไม่ยอมลงชื่อให้เอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนา คำพิพากษาฏีกา ๕๒๕๓/๒๕๓๓
๓.แม้เป็นคำสั่งศาล ไม่ใช่คำพิพากษาก็นำมาแทนใช้ในการแสดงเจตนาได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๒๕๓/๒๕๓๓
ข้อสังเกตุ ๑. หากไม่ใช่เรื่องการทำนิติกรรมแล้วเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้
๒.แม้เป็นคำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษาก็ใช้แทนการแสดงเจตนาได้
๓.ละเมิดไม่ใช่การทำนิติกรรม ใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งแทนการแสดงเจตนาไม่ได้
๔.การนำคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจะนำไปใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือมีกฏหมายกำหนดขั้นตอนไว้แล้วไม่ได้