ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“มติคณะรัฐมนตรีไม่ใช่กฎหมาย”

มติคณะรัฐมนตรีที่ให้ปรับเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจในอัตราร้อยละ ๓นั้น มติคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงการให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เป็นมติในทางนโยบายโดยรวมของรัฐบาลต่อรัฐวิสาหกิจ มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลเพียงอนุมัติการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจนั้นๆไปดำเนินการปรับค่าจ้างของตัวเองได้ ซึ่งรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งย่อมมีภาระที่ต้องดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ เพื่อปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้าง โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องพิจารณาถึงสภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจนั้นๆให้เหมาะสมกับสถานะของตน เพราะการดำเนินการดังกล่าวต้องใช้เงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ องค์การแบตเตอร์รี่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พรก. จัดตั้งองค์กรแบตเตอรรี่ ซึ่งมีคณะกรรมการองค์การแบตเตอร์รี่มีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลซึ่งกิจการของจำเลยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยถูกต้องเรียบร้อย มีอำนาจวางข้อบังคับเกี่ยวกับการบริการงาน การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การตัดเงินเดือน การลดขั้นเงินเดือน ตลอดจนกำหนดอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้างและเงินอื่นๆของพนักงาน การปรับเงินเดือนของพนักงานของจำเลยเป็นอำนาจของคณะกรรมการของจำเลยที่จะดำเนินการตามกรอบที่ ครม. อนุมัติไว้ การที่จำเลยมีมติและคำสั่งให้ปรับเงินเดือนแก่ลูกจ้างของจำเลยเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของจำเลยในขณะนั้น โดยลักษณะและสภาพ มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ใช่กฏหมายที่มีผลบังคับใช้และก่อให้เกิดสิทธิ์หน้าที่ระหว่างรัฐวิสาหกิจกับลูกจ้างและพนักงานทันที ทั้งไม่ได้ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐวิสาหกิจกับลูกจ้างและพนักงานในฐานะที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือสัญญาจ้างแรงงาน มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายในการปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้างและพนักงานในรัฐวิสาหกิจทั้งระบบและเป็นกระบวนการบริหารรัฐกิจประการหนึ่งของรัฐบาลเท่านั้น การที่จำเลยมีมติและคำสั่งให้ปรับเงินเดือนแก่ลูกจ้างของจำเลย จึงเป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามกรอบอำนาจของจำเลยโดยชอบตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว เมื่อมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือสัญญาจ้างแรงงานอันจะทำให้เกิดสิทธิ์ใดๆแก่โจทก์ จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ทพิพากษายกฟ้อง
ส่วนเงินเดือนเพิ่มอีก ๒ ขั้นหลังปรับเพิ่มร้อยละ ๓ ตามมติคณะกรรมการองค์การแบตเตอรรี่ ที่ให้ความเห็นชอบโดยมติดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๕ เม.ย.๒๕๔๘โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗เป็นต้นไป ดังนั้นพนักงานที่จะได้รับเงินเพิ่มต้องเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ ๑ เม.ย.๒๕๔๗ เหมือนเงินเดือนที่ปรับเพิ่มร้อยละ ๓ เมื่อโจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยก่อนวันที่ ๑ ต.ค.๒๕๔๗ จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับการปรับเงินเดือน ๒ ขั้น จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนตกเบิก ๒ ขั้น เงินตอบแทนพิเศษเนื่องจากการเกษียณอายุและเงินบำเน็จซึ่งคำนวณเพิ่มเติมจากเงินเดือน ๒ ขั้นที่ปรับขึ้น พิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาฏีกา ๑๑๓๖๖-๑๑๓๙๓/๒๕๕๓
ข้อสังเกต ๑. กฎหมายเป็นกฎเกณท์ที่ตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย อาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ อาจตราในรูป พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด พระราชกฤษฏีกา หรืออาจออกมาในรูปกฏกระทรวงซึ่งเป็นกฏหมายรองซึ่งรัฐมนตรีที่รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมายนั้นๆ เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกเช่นเดียวกับพระราชกฤษฏีกา แต่มีความสำคัญน้อยกว่าเพราะพระราชกฤษฏีกาต้องทูลเกล้าพระมหากษัตริย์เพื่อลงพระปรมาภิไธย แต่กฎกระทรวงเพียงแค่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ส่วนมติคณะรัฐมนตรีและระเบียบต่างๆที่ออกมาเพื่ออธิบายหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติไม่ใช่กฏหมาย
๒.บุคคลที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ต้องมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิ์และหน้าที่หรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ทางศาล จึงจะเสนอคดีของตนต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ ตาม ป.ว.พ. มาตรา ๕๕
๓.มติคณะรัฐมนตรีที่ให้ปรับเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นเพียงการให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เป็นมติในทางนโยบายโดยรวมของรัฐบาลต่อรัฐวิสาหกิจ มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายในการปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้างและพนักงานในรัฐวิสาหกิจทั้งระบบและเป็นกระบวนการบริหารรัฐกิจประการหนึ่งของรัฐบาลเท่านั้น มีผลเพียงอนุมัติการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจนั้นๆไปดำเนินการปรับค่าจ้างของตัวเองได้ ซึ่งรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งย่อมมีภาระที่ต้องดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ เพื่อปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้าง โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องพิจารณาถึงสภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจนั้นๆให้เหมาะสมกับสถานะของตน สภาพ
๔.มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ใช่กฏหมายที่มีผลบังคับใช้และก่อให้เกิดสิทธิ์หน้าที่ระหว่างรัฐวิสาหกิจกับลูกจ้างและพนักงานทันที ทั้งไม่ได้ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐวิสาหกิจกับลูกจ้างและพนักงานในฐานะที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยมีมติและคำสั่งให้ปรับเงินเดือนแก่ลูกจ้างของจำเลย จึงเป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามกรอบอำนาจของจำเลยโดยชอบตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว เมื่อมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือสัญญาจ้างแรงงานอันจะทำให้เกิดสิทธิ์ใดๆแก่โจทก์ จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์หรือโจทก์จะต้องใช้สิทธิ์ทางศาลตาม ป.ว.พ. มาตรา ๕๕ แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
๕. มติคณะกรรมการองค์การแบตเตอรรี่ ที่ให้ความเห็นชอบ ใน ส่วนเงินเดือนเพิ่มอีก ๒ ขั้นหลังปรับเพิ่มร้อยละ ๓ โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗เป็นต้นไป ดังนั้นพนักงานที่จะได้รับเงินเพิ่มต้องเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยก่อนวันที่ ๑ ต.ค.๒๕๔๗จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับการปรับเงินเดือน ๒ ขั้น เมื่อไม่ได้รับเงินเดือนเพิ่ม ๒ ขั้นจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนตกเบิก ๒ ขั้นนับแต่วันที่ ๑ ต.ค.๒๕๔๗และไม่มีสิทธิ์ได้รับ เงินตอบแทนพิเศษเนื่องจากการเกษียณอายุและเงินบำเน็จซึ่งคำนวณเพิ่มเติมจากเงินเดือน ๒ ขั้นที่ปรับขึ้นเพราะเมื่อไม่ได้เพิ่มเงินเดือน ๒ ขั้น จึงจะเอาเงินเดือนที่เพิ่ม ๒ ขั้นเป็นฐานในการคำนวณเงินดังกล่าวไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น: