ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“ชายหาบ หญิงคอน” “ทรัพย์สินวันมีแขก เป็นสินเดิม เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียเป็นสินสมรส”

๑.เป็นสามีภรรยาก่อนใช้บรรพ ๕ แต่ตายเมื่อใช้บรรพ ๕ แล้ว แบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แบ่งมรดกตามบรรพ ๖ คำพิพากษาฏีกา ๔๘๙/๒๔๘๖ ,๘๒๑/๒๔๙๑
๒.การแบ่งมรดกมีขึ้นได้เมื่อบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย เมื่อถึงแก่ความตายขณะใช้กฏหมายใด ก็ตกอยู่ในบทบัญญัติกฎหมายนั้น เป็นสามีภรรยาก่อนใช้บรรพ ๕ บรรพ ๖ ถึงแก่ความตายหลังใช้บรรพ ๕ บรรพ ๖ แล้ว แบ่งมรดกตามบรรพ ๖ คำพิพากษาฏีกา ๔๑๓/๒๕๐๖
ข้อสังเกต ๑. ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายให้ในวันมีแขก(วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียแล้วให้เป็นสินสมรส ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ ๖๘ คือ ชายหาบ หญิงคอน นั้นก็คือหากทั้งสองฝ่ายไม่มี “สินเดิม “. การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่อยู่กินก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ ต้องแบ่งตามกฏหมายลักษณะผัวเมีย คือ ฝ่ายชายได้ ๒ ส่วน ฝ่ายหญิงได้ ๑ ส่วน แต่ในปัจจุบันการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างเป็นสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสแล้วหย่าขาดจากกัน ชายหญิงมีส่วนในสินสมรสเท่าๆกันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๒,๑๕๓๓ หากการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการตายก็แบ่งสินสมรสออกเป็นสองส่วน ชายและหญิงได้ส่วนละเท่าๆกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๒(ก),๑๕๓๓,๑๖๒๕(๑) แต่ในส่วนของชายนั้นเมื่อฝ่ายชายถึงแก่ความตายทรัพย์ในส่วนนี้จึงตกเป็นมรดก ซึ่งฝ่ายหญิงที่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฏหมายก็เป็นทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกในส่วนนี้ด้วย
๒.เมื่อมีการชำระบรรพ ๕ ใหม่ บัญญัติให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา คือสินส่วนตัว และสินสมรส ไม่มีการพูดถึงเรื่อง “ สินเดิม” แต่อย่างใด แต่พรบ.ให้ใช้บรรพ ๕แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ “ ให้ถือว่า “ สินเดิม” ของฝ่ายใดเป็น “ สินส่วนตัว” ของฝ่ายนั้น
๓.เป็นสามีภรรยาก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ ใหม่ เมื่อถึงแก่ความตายเมื่อใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ใหม่แล้ว การแบ่งสินสมรสแบ่งตามกฏหมายลักษณะผัวเมีย แต่มรดกแบ่งตามบรรพ ๖ ใหม่เพราะการแบ่งมรดกหรือมรดกจะมีขึ้นจะมีขึ้นได้เมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย เมื่อถึงแก่ความตายขณะใช้กฎหมายใด ก็ตกอยู่ในบังคับแห่งกฏหมายนั้น ดังนั้นหากเป็นสามีภรรยาก่อนใช้บรรพ ๕ และบรรพ ๖ แต่ถึงแก่ความตายหลังใช้บรรพ ๕, บรรพ ๖ แล้ว การแบ่งมรดกแบ่งตามบรรพ ๖ ซึ่งในกรณีนี้ไม่เหมือนเรื่องความรับผิดในทางอาญาที่บุคคลจะรับโทษทางอาญาเมื่อได้กระทำการอันกฏหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดบัญญัติเป็นความผิดและบัญญัติโทษเอาไว้ ทำผิดตามกฎหมายเก่า หากมีกฎหมายใหม่ออกมา หากกฎหมายใหม่เป็นโทษก็ไม่ใช้กฎหมายใหม่บังคับ หากกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลยก็ใช้กฎหมายใหม่ในส่วนที่เป็นคุณได้ตาม ป.อ. มาตรา ๒,๓
๔.แบ่งสินสมรสตามกฎหมายเก่า ฝ่ายชายได้ ๒ ส่วน ฝ่ายหญิงได้ ๑ ส่วน แบ่งสินสมรสตามกฎหมายใหม่ ชายหญิงได้คนละเท่าๆกัน
๔.การแบ่งมรดกตามกฎหมายใหม่แบ่งได้ดังนี้คือ
๔.๑ ภรรยาได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกเสมือนหนึ่งตนเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๕(๑)คือผู้ตายมีผู้สืบสันดานหรือมีผู้รับมรดกแทนที่ ภรรยารับมรดกเสมือนหนึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร เมื่อเป็นผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๔(๒) ผู้ตายมีบุตร ๒ คน มีภรรยา ๑ คน มีมรดก ๑๒๐ล้านบาท มรดกตกแก่ภรรยา ๔๐ ล้านบาท อีก ๘๐ ล้านบาทตกแก่บุตรทั้งสองคน ซึ่งบุตรทั้งสองคนได้คนละ ๔๐ ล้านบาท
๔.๒ภรรยาได้รับมรดกจากส่วนแบ่งกองมรดกกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๕(๒) คือเมื่อถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดานแต่บิดามารดาผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ดังนี้ภรรยาได้มรดกกึ่งหนึ่ง คือผู้ตายมีมรดก ๑๒๐ ล้านบาท ภรรยาได้มรดก ๖๐ ล้านบาท ส่วนบิดามารดาได้ ๖๐ ล้านบาทในระหว่างบิดามารดาได้คนละ ๓๐ ล้านบาท
๔.๓ภรรยาได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดก ๒ ใน ๓ ส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๕(๓) คือในกรณีที่ผู้ตายมีพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันหรือมีลุงป้าน้าอา โดยบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ ภรรยาได้รับมรดก ๒ ใน ๓ ส่วนนั้น คือ ผู้ตายมีมรดก ๑๒๐ ล้านบาท มีพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ๔ คน ดังนี้ ภรรยาได้มรดก ๒ ใน ๓ ส่วนคือ ๘๐ ล้านบาท ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาได้มรดก ๔๐ ล้านบาทในระหว่างพี่น้องด้วยกันได้คนละ ๑๐ ล้านบาท
๔.๔ ภรรยาได้มรดกทั้งหมด ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๕(๔) คือกรณีผู้ตายไม่มีทายาท ภรรยาได้มรดกทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น: