กรณีประกอบกรณียกิจไม่ได้ตามปกติเกิน 20 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2539 พนักงานอัยการจังหวัดน่าน โจทก์
นาย ทรงศักดิ์ ดวงตา กับพวก จำเลย
ป.อ. มาตรา 1(4), 297(8), 364, 365(1), 365(3)
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ดั้งจมูกและรักษาโดยกินยามาตั้งแต่วันเกิดเหตุจนปัจจุบันเป็นเวลานานถึง10เดือนเศษการที่ผู้เสียหายมิได้รักษาโดยวิธีผ่าตัดคงเอายามากินที่บ้านจนปัจจุบันแสดงว่าผู้เสียหายสามารถไปทำงานหรือทำธุรกิจอื่นได้จึงยังไม่พอฟังว่าบาดแผลของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส สถานที่เกิดเหตุแม้จะเป็นสนามหญ้าตลอดติดต่อเป็นผืนเดียวไม่มีรั้วล้อมรอบไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตามแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสนามหญ้านั้นอยู่หน้าบ้านพักซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา1(4)
________________________________
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง หก ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297, 362, 364, 365, 83
จำเลย ทั้ง หก ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 6 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 365(3) ประกอบ มาตรา 364 เป็น การกระทำ กรรมเดียวผิด กฎหมาย หลายบท ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่ง เป็นบทหนัก จำคุก 2 ปี ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5
จำเลย ที่ 6 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 6 มี ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 365(1)(3) ประกอบ มาตรา 364เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ลงโทษ ตาม มาตรา 365(1)(3) ซึ่ง เป็น บทหนัก จำคุก 2 ปี คำให้การชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 6 เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณามีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คง จำคุก 1 ปี 4 เดือน นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 6 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า แม้ ผู้เสียหาย ได้รับ บาดเจ็บ ที่ ดั้ง จมูก และรักษา โดย กิน ยา มา ตั้งแต่ วันเกิดเหตุ จน ปัจจุบัน เป็น เวลา นาน ถึง 10เดือน เศษ ดั้ง จมูก ยัง หัก อยู่ และ ยัง หายใจ ไม่ สะดวก แพทย์ ผู้ตรวจ เป็นแพทย์ แผน ปัจจุบัน ทำ รายงาน ชันสูตร บาดแผล ผู้เสียหาย ตาม หลักวิชา การที่ ทัน สมัย ซึ่ง ใช้ เป็น หลัก มาตรฐาน ใน การ กำหนด ระยะเวลา ทำการรักษา บาดแผล ผู้บาดเจ็บ ตลอดมา ก็ ตาม แต่ ปรากฏว่า ผู้เสียหาย มิได้รักษา โดย วิธี ผ่าตัด คง เอา ยา มา กิน ที่ บ้าน จน ปัจจุบัน แสดง ว่า ผู้เสียหายสามารถ ไป ทำงาน หรือ ทำ ธุรกิจ อื่น ได้ ส่วน กรณี ที่ แพทย์ ผู้ตรวจจด บันทึก เกี่ยวกับ ระยะเวลา การ รักษา ก็ เป็น เพียง ข้อสันนิษฐาน ของแพทย์ ที่ กะ ประมาณ ไว้ ใน ขณะ ทำการ ตรวจ ซึ่ง ไม่แน่ นอน ว่า จะ ถูกต้องตาม นั้น หรือไม่ บาดแผล อาจจะ หาย เร็ว กว่า กำหนด ไว้ นั้น ก็ ได้ด้วย เหตุ นี้ จึง ยัง ไม่พอ ฟัง ว่า บาดแผล ของ ผู้เสียหาย ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ผู้เสียหาย ป่วย เจ็บ ด้วย อาการ ทุกขเวทนา หรือ จน ประกอบ กรณียกิจตาม ปกติ ไม่ได้ เกินกว่า ยี่สิบ วัน อัน จะ เข้า ลักษณะ เป็น อันตรายสาหัสตาม ฟ้อง
มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 6 ว่า จำเลย ที่ 6มี ความผิด ฐาน บุกรุก หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(4) บัญญัติ ว่า "เคหสถาน " หมายความ ว่า และ ให้ หมายความรวม ถึง บริเวณ ของ ที่ ซึ่ง ใช้ เป็น ที่อยู่อาศัย นั้น ด้วย จะ มี รั้ว ล้อมหรือไม่ ก็ ตาม ศาลล่าง ทั้ง สอง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า วันเกิดเหตุจำเลย ที่ 6 เข้า ไป ทำร้าย ผู้เสียหาย ที่ บริเวณ สนาม หญ้า หน้า บ้านพัก ซึ่งใช้ เป็น ที่อยู่อาศัย ของ ผู้เสียหาย และ สนาม หญ้า บริเวณ ที่เกิดเหตุตาม แผนที่ สังเขป แสดง สถานที่เกิดเหตุ แม้ จะ เป็น สนาม หญ้า ตลอด ติดต่อเป็น ผืน เดียว ไม่มี รั้ว ล้อมรอบ ไม่มี เครื่องหมาย แสดง ให้ ทราบ ว่า เป็นแนวเขต ของ บ้านพัก ก็ ตาม แต่ ก็ เป็น ที่ เห็น ได้ว่า บริเวณ ที่เกิดเหตุซึ่ง ใช้ เป็น สนาม หญ้า นั้น อยู่ หน้า บ้านพัก ซึ่ง ใช้ เป็น ที่อยู่อาศัย ของผู้เสียหาย ถือได้ว่า จำเลย ที่ 6 เข้า ไป ใน เคหสถาน ของ ผู้เสียหายโดย ไม่มี เหตุอันสมควร และ โดย ใช้ กำลัง ประทุษร้าย ผู้เสียหายจำเลย ที่ 6 จึง มี ความผิด ฐาน บุกรุก ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง
พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2498 อัยการจังหวัดสุรินทร์ โจทก์
นายแหลม ทราจารวัตร จำเลย
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254, 256(8)
แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็จะรับฟังลงโทษนอกเหนือไปจากความจริงหาได้ไม่
ฟ้องว่าผู้เสียหายบาดเจ็บถึงทุพลภาพและทนทุกข์เวทนาถ้าไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังปกติเกินกว่า 20 วัน จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์ขอสืบพยานประกอบเพราะแต่วันเกิดเหตุถึงวันจำเลยรับไม่เกิน 20 วัน ผู้เสียหายเบิกความว่าแผลที่ศีรษะแม้รักษา 30 วันแต่ก็ลุกไปไหนไม่ได้เพียงครึ่งเดือนเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นบาดเจ็บถึงสาหัสตาม มาตรา 256(8)
ส่วนบาดเจ็บที่นิ้วทำไซดักปลาไม่ได้ 20 วันนั้น ปรากฏว่าผู้เสียหายมีอาชีพทำนา จึงถือไม่ได้ว่าการทำเครื่องมือหาปลาเป็นอาชีพตามปกติตาม มาตรา 256(8)
________________________________
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้ไม้ตะบองตีนายสอนมีบาดแผลบาดเจ็บสาหัสถึงความทุพพลภาพและทนทุกข์เวทนากล้าไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้ดังปกติเกินกว่า 20 วัน จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์ขอสืบพยานประกอบเพราะตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงวันที่จำเลยรับนี้ยังไม่เกิน 20 วัน นายสอนผู้เสียหายเบิกความประกอบว่าแผลที่ศีรษะรักษาประมาณ 30 วันหาย ไปไหนไม่ได้อยู่ครึ่งเดือน แต่แผลที่นิ้วนั้นจนถึงวันเบิกความยังบวมเจ็บเล็บถอดทำไซไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีผิดตาม มาตรา 254, 59 ให้จำคุก3 เดือน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพนอกเหนือความจริงในข้อหาฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บถึงสาหัส โดยข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของนายสอนผู้เสียหายว่าบาดแผลที่ศีรษะแม้รักษา30 วันหายแต่ก็รักษาลุกไปไหนไม่ได้เพียงครึ่งเดือนเท่านั้นแผลที่ศีรษะจึงถือไม่ได้ว่าเป็นบาดเจ็บถึงสาหัสตามความในกฎหมายอาญามาตรา 256(8) ตอนแรก เพราะไม่ถึงความทุพพลภาพหรือพยาธิมีอาการประกอบด้วยทุกข์เวทนากล้าเกินกว่า 20 วัน ส่วนบาดเจ็บที่นิ้วชี้และนิ้วกลางซึ่งทำให้ผู้เสียหายทำไซดักปลาไม่ได้เกิน 20 วันนั้นตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำเบิกความของนายสอนผู้เสียหายก็ถือไม่ได้ว่าการทำเครื่องมือหาปลาเป็นอาชีพตามปกติคงเป็นการทำในยามว่างจากการทำนาเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการถูกทำร้ายถึงกับไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้โดยปกติเพราะความทุพพลภาพหรือพยาธินั้นเกินกว่า 20 วันตามความกฎหมายอาญามาตรา 256(8)ฉะนั้นจำเลยจะให้การว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็รับฟังลงโทษจำเลยตามคำรับที่นอกเหนือความจริงไม่ได้ จึงพิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2512 พนักงานอัยการกรมอัยการ โจทก์
โจทก์ร่วม โจทก์
นายทองเริ่ม สุวรรณวิสิทธิ์ โจทก์
นายตงเลี้ยง หรือบุ้งเลี้ยง แซ่เอ็ง จำเลย
ป.อ. มาตรา 297(8)
ผู้เสียหายมีอาชีพพิมพ์ดีด เพียงการที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายได้รับอันตรายถึงบาดเจ็บเป็นเหตุให้ความสามารถในการพิมพ์หย่อนลงกล่าวคือพิมพ์ได้ช้ากว่าอัตราที่พิมพ์ได้ตามปกติก่อนถูกทำร้ายเกินกว่า 20 วันดังนี้ ไม่เรียกว่าเป็นการประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20วันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8)
________________________________
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้ไม้คานเป็นอาวุธตีนายทองเริ่มหรือเริ่มสุวรรณวิสิทธิ์ เป็นบาดแผลหลายแห่งได้รับบาดเจ็บสาหัส และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) และริบไม้คานของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8) ให้จำคุกจำเลยไว้ 1 ปี ริบไม้ของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงยืนตามศาลชั้นต้น แต่เห็นว่าผลการตรวจพิสูจน์บาดแผลของผู้เสียหายกำหนดระยะเวลารักษาไว้ประมาณ 12 วัน และตามพยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าได้รับอันตรายถึงบาดเจ็บสาหัส คดีคงลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 เท่านั้น พิพากษาแก้ว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ให้จำคุกจำเลยไว้ 4 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าตามพยานหลักฐานทางแพทย์ยังไม่พอฟังว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บสาหัสดังฟ้อง ส่วนที่โจทก์ฎีกาในข้อที่ว่าผู้เสียหายมีอาชีพเป็นคนพิมพ์ดีดบทละครอาการของบาดแผลกระทบกระเทือนต่อความสามารถในการพิมพ์ตามปกติของผู้เสียหายเกินกว่า 20 วันนั้น ศาลฎีกาเห็นว่านอกจากคำพยานเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งรับว่าพิมพ์ดีดไม่เป็น จึงเป็นเพียงความคาดคะเนรับฟังไม่ได้แน่นอนแล้ว การที่อาการห้อเลือดที่แขนและกล้ามเนื้อที่แขนเพียงทำให้ขัดข้องต่อการใช้แขนให้สะดวกลดน้อยลงเช่น ทำให้พิมพ์ดีดช้าลงบ้าง หาใช่จะประกอบกรณียกิจไม่ได้เสียเลยทีเดียวไม่พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่า ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บสาหัสดังฟ้อง พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2530 พนักงานอัยการ กรมอัยการ โจทก์
นาย มงคล มณีเนตร จำเลย
ป.อ. มาตรา 295, 297(8)
ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่ต้นแขนซ้ายเป็นบาดแผลขนาด 2.5 เซนติเมตรทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หลังเกิดเหตุประมาณ 7วันผู้เสียหายไปหาแพทย์เพื่อตัดไหม แพทย์บอกว่าบาดแผลเป็นปกติ และผู้เสียหายก็ไปเรียนหนังสือกับทำกิจการงานต่าง ๆได้ แม้ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ต้องเรียนภาคปฏิบัติคือการเล่นกีฬาที่ต้องใช้แขนและหลังเกิดเหตุแล้ว 1 เดือน ผู้เสียหายไม่อาจเล่นกีฬาได้มากเท่าบุคคลปกติเพราะยังรู้สึกเสียวที่แขน ก็เป็นเพียงแต่ทำให้ผู้เสียหายขาดความสะดวกในการใช้แขนลดน้อยลงเท่านั้น หาทำให้ผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เสียเลยทีเดียวไม่จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8).
________________________________
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงนายวัฒนเกียรติผู้เสียหาย ถูกที่ต้นแขนซ้ายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
จำเลยให้การว่า ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจริง แต่บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่ถึงบาดเจ็บสาหัส
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัสตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี ปรับ 1,000บาท โทษจำคุกรอ 3 ปี ฯลฯ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) หรือไม่ ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้เสียหายเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต้องเรียนภาคปฏิบัติคือ การเล่นกีฬาซึ่งจะต้องใช้แขน โจทก์ฎีกาว่าหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน ผู้เสียหายยังรู้สึกปวดและเสียวที่แขน ไม่สามารถเรียนวิชาพลศึกษาได้ตามปกติ ถือได้ว่าผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกิน 20 วันแล้วเห็นว่าจากรายงานการชันสูตรบาดแผลของผู้เสียหาย เอกสารหมายจ.1 ปรากฏว่าผู้เสียหายมีบาดแผลถูกของมีคมที่ต้นแขนซ้ายขนาด 2.5 เซนติเมตร ทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หากไม่มีเหตุแทรกซ้อนจะหายเป็นปกติใน 10 วันซึ่งนายแพทย์สมชายผู้รักษาบาดแผลก็ได้มาเบิกความว่า หลังเกิดเหตุ 1 วันได้ตรวจบาดแผลผู้เสียหายปรากฏว่าไม่มีเหตุแทรกซ้อน และผู้เสียหายยังเบิกความอีกว่า หลังเกิดเหตุประมาณ 7 วัน ผู้เสียหายไปหาแพทย์เพื่อตัดไหมแพทย์บอกว่าบาดแผลหายเป็นปกติ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บาดแผลดังกล่าวหายเป็นปกติใน 10 วัน หลังจากที่บาดแผลหายแล้วนายสันติพงษ์พยานโจทก์ซึ่งเป็นเพื่อนผู้เสียหายและเป็นนักศึกษาร่วมชั้นเดียวกันเบิกความว่า เมื่อรักษาแผลหายแล้วผู้เสียหายก็ไปเรียนได้ตามปกติ แสดงว่าในระยะเวลาดังกล่าวผู้เสียหายสามารถกระทำกิจการงานต่าง ๆ ได้เป็นปกติ ที่โจทก์ฎีกาว่า หลังเกิดเหตุ 1 เดือนผู้เสียหายไม่อาจเล่นกีฬาได้ตามปกติ เพราะยังรู้สึกเสียวที่แขนนั้น ก็ได้ความจากคำเบิกความของนายแพทย์สมชายว่า เมื่อบาดแผลหายใหม่ ๆกล้ามเนื้อจะออกกำลังได้ แต่ไม่มากเท่าบุคคลปกติ ซึ่งผู้เสียหายก็เบิกความว่ายังสามารถเล่นกีฬาได้ ดังนั้นแม้ผู้เสียหายจะใช้แขนได้ไม่เป็นปกติ ก็เพียงแต่ทำให้ผู้เสียหายขาดความสะดวกในการใช้แขนลดน้อยลงเท่านั้นหาทำให้ผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เสียเลยทีเดียวไม่ พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวมายังรับฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกิน 20 วัน ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 เท่านั้น
พิพากษายืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6345/2534 พนักงานอัยการ จังหวัด พะเยา โจทก์
นาย ดิ๊บ หรือ กร สมศ รี จำเลย
ป.อ. มาตรา 297(8)
ผู้เสียหายถูกแทงมีบาดแผลที่ชายโครงซ้ายยาว 3 เซนติเมตรเพียงแห่งเดียว แพทย์ลงความเห็นว่าถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนรักษาไม่เกิน21 วันหายแม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่าหลังเกิดเหตุไม่สามารถทำนาได้ตลอดระยะเวลา 6 เดือน แต่ก็ปรากฏว่าผู้เสียหายเพียงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลรวมสองครั้งรวมแล้วไม่เกิน 20 วัน ผู้เสียหายออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้ายทางโรงพยาบาลมิได้จ่ายยาให้ไปรักษาต่อที่บ้าน ไม่ปรากฏว่ามีอาการอย่างใดแทรกซ้อน จนผู้เสียหายต้องย้อนกลับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอีก ทั้งบาดแผลดังกล่าว แพทย์ผู้ตรวจรักษาก็เบิกความว่าลึกไม่ถึงปอด ย่อมไม่น่าเชื่อว่าจะก่อเกิดอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยเป็นอุปสรรคให้ผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ตามที่ผู้เสียหายเบิกความ จึงไม่พอที่จะรับฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส.
________________________________
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้มีดปลายแหลมฟันและแทงทำร้ายนายจันทร์หรือินจันทร์ แก้วเทพ ผู้เสียหาย 2 ที โดยเจตนาฆ่า จำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากผู้เสียหายใส่เสื้อกันหนาวขนาดหนาจึงไม่ได้รับอันตรายจากการถูกฟันที่ไหล่ซ้ายส่วนบาดแผลถูกแทงที่ชายโครงซ้ายก็ไม่สาหัสถึงขนาดที่จะทำให้ตายประกอบกับแพทย์ให้การรักษาทันท่วงทีผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายสมเจตนาของจำเลย ผู้เสียหายเพียงได้รับอันตรายแก่กายสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80
จำเลยให้การต่อสู้อ้างเหตุป้องกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8) ลงโทษจำคุก 4 ปี ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันและผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีคงมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์แต่เพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามฟ้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายถูกแทงมีบาดแผลที่ชายโครงซ้ายยาว 3 เซนติเมตร เพียงแห่งเดียวแพทย์ลงความเห็นว่าถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนรักษาไม่เกิน 21 วัน หาย โจทก์มีผู้เสียหายเป็นพยานเบิกความว่า ได้เข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งแรก10 วัน หลังจากตัดไหมและออกไปได้ 2 วัน เกิดมีโลหิตซึมจากบาดแผลจึงเข้ารักษาต่ออีก 2 วัน เกิดเหตุแล้วผู้เสียหายไม่สามารถทำนาได้ตลอดระยะเวลา 6 เดือน พิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้เสียหายเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งสองครั้งไม่เกิน 20 วัน ผู้เสียหายออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้ายโดยทางโรงพยาบาลมิได้จ่ายยาให้ไปรักษาต่อที่บ้าน ไม่ปรากฏว่ามีอาการอย่างใดแทรกซ้อน จนผู้เสียหายต้องย้อนกลับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอีก ทั้งบาดแผลดังกล่าวนี้นายแพทย์ขจรศิลป์ ผ่องสวัสดิ์กุล พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้ตรวจรักษาเบิกความว่าลึกไม่ถึงปอด จึงไม่น่าเชื่อว่าจะก่อเกิดอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยเป็นอุปสรรคให้ผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ถึง 20 วันดังที่ผู้เสียหายเบิกความ พยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอที่จะรับฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส..."
พิพากษายืน.
มาตรา 297 (7) พพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
มาตรา 297 (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ เกินกว่ายี่สิบวัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 970/2491 ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่สามารถจะทำการงานอย่างใด ๆ เป็นเวลา 27 วัน เพราะยกแขนขึ้นไม่ได้ ให้เจ็บปวด ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่า ผู้เสียหายไม่สามารถจะประกอบการหาเลี้ยงชีพได้โดยปกติเกินกว่า 20 วัน ต้องตามบทบัญญัติมาตรา 256 ข้อ 8 / ศาลชั้นต้นลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 256 ศาลอุทธรณ์แก้ลงโทษตามมาตรา 254 ดังนี้เป็นแก้มาก โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1019/2491 บาดแผลของผู้เสียหายรักษา 1 เดือนเศษหาย ระหว่างแผลยังไม่หาย เดินไปไหนมาไหนได้ ไม่ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ แต่ทำงานหนักไม่ได้ แต่ 20 วันแล้วทำงานหนักได้ 20 วันไถนาได้แต่ไม่ปรกติแท้ ดังนี้ยังฟังไม่ถนัดนักว่า บาดเจ็บนั้นจะถึงไม่สามารถจะประกอบการหาเลี้ยงชีพได้โดยปรกติเกิน 20 วัน จึงไม่เป็นบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา 256 / ศาลชั้นต้นลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 254 ศาลอุทธรณ์ลงโทษตามมาตรา 256 เป็นแก้มาก ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 521/2495 บาดแผลถูกฟันที่หลังแขนซ้ายแผลกว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 4 เซนติเมตร ลึกเข้ากระดูกปลายแขน แผลตัดเนื้อกล้ามขาด รักษาอยู่ 20 วันแผลหาย แต่แขนเหยียดไม่ได้ นิ้วก็กระดิกไม่ได้ แพทย์ยืนยันว่า เพราะแผลลึกตัดเส้นวิถีประสาทส่วนปลายแขนขาดออกจากกัน แม้แผลหาย เส้นวิถีประสาทไม่ติดต่อกันได้ ไม่สามารถจะบังคับให้มีการเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิมและปรากฏว่าผู้เสียหายมีอาชีพทางทำนา เช่นนี้ ต้องฟังว่าเป็นบาดแผลถึงสาหัสตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 256
- คำพิพากษาฎีกาที่ 966/2499 ได้ความว่าผู้เสียหายมีอาชีพทำนา ถูกชกด้วยสนับมือ มีบาดแผลที่ขอบตาล่างขวาฉีกลึก 1 ซม.ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาท 20 วันก่อนระหว่างนั้นทำงานไม่ได้ ดังนี้ถือได้ว่าผู้เสียหายไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้ปกติเกิน 20 วันอันเป็นบาดเจ็บสาหัส
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1265/2510 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัสทุพพลภาพป่วยเจ็บ ด้วยอาการทุกขเวทนาและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกิน 20 วัน จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ปรากฏตามหลักฐานในสำนวนว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายแล้ว 3 วัน จึงเข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลอีก 20 วัน เมื่อนับรวมวันที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายจนออกจากโรงพยาบาลจึงเป็นเวลา 23 วัน ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายได้รับอันตรายแก่กายจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน จำเลยต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
- คำพิพากษาฎีกาที่ 96/2512 (สบฎ เน 2109) ผู้เสียหายมีอาชีพพิมพ์ดีด ถูกทำร้ายเป็นเหตุให้ความสามารถในการพิมพ์ดีดลดลง พิมพ์ได้ช้ากว่าอัตราปกติ เกินกว่า 20 วัน ไม่เรียกว่าประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกิน 20 วัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2066/2514 ผู้เสียหายถูกทำร้าย กะโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 1 ปีครึ่ง กระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ถือได้ว่าผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตาม มาตรา 297
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3863/2525 จำเลยเมาสุราได้ยิงปืนนัดแรกที่ห้องพัก นัดที่สองยิงขึ้นฟ้า แล้วลดปืนลง กระสุนปืนนัดที่สาม ก็ลั่นถูกผู้เสียหายที่เอว เมื่อเป็นปืนลูกโม่ที่การยิงจะต้องเหนี่ยวไกทีละนัด กระสุนปืนนัดที่สามจึงลั่น เพราะเจตนายิง แต่เป็นขณะเมาสุรา ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ไม่มีเหตุเพียงพอจะคิดฆ่า ทั้งมิได้จ้องยิงตามปกติ และในขณะอยู่ห่างกัน 2 เมตร ผู้เสียหายต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 30 วัน จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.ม.297 (8) มิใช่เป็นความผิดตาม ม.300 (ขณะยิงนัดแรก เป็นเจตนาเล็งเห็นผล ซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ จึงควรปรับด้วยเจตนาฆ่า ไม่ถูกผู้เสียหาย ควรต้องรับผิด ตาม ม 288+80 ส่วนนัดที่สามลั่นถูกผู้เสียหาย โดยมิได้เจตนายิงเพื่อทำร้ายหรือฆ่า ควรต้องรับผิด ม 300 แล้ว ใช้ ม 90)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2243/2526 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. ม.300 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ โดยบรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงทุพพลภาพและป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วันแม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยภายหลังวันเกิดเหตุเพียง13 วัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้อง แล้วพิพาทคดีโดยไม่สืบพยานได้ตาม ป.ว.อ.ม.176
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2802/2526 โจทก์ร่วมถูกฟันที่ต้นแขน ปลายแขน และข้อมือขวา ลึกผ่านชั้นกล้ามเนื้อและตัดประสาทที่ไปเลี้ยงแขน ต้องรักษาตัว 2 เดือนเศษจึงหายเป็นปกติ แต่ทำงานไม่ได้ ลักษณะบาดเจ็บดังกล่าวถึงสาหัสตาม ป.อ.ม.297 (8) แล้ว ไม่จำต้องให้ได้ความว่าผู้บาดเจ็บถึงแก่ต้องพยุงลุกพยุงนั่ง / โจทก์ร่วมวิ่งตาม พ. ไปเห็นจำเลยตบหน้า พ. แล้วเงื้อมีดดาบจะฟัน โจทก์ร่วมจึงผลัก พ. ให้พ้นไป จำเลยก็ฟันถูกโจทก์ร่วม 3 ครั้ง ลักษณะการทำร้ายของจำเลย มิใช่เนื่องในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตาม ม.299
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3862/2528 ผู้เสียหายถูกจำเลยตีที่ชายโครงซ้าย เกิดเหตุแล้ว 7-8 วันก็ไปทำงานตามปกติ ภายหลังจากเกิดเหตุ 17 วัน ได้ไปหาแพทย์เอ็กซเรย์แล้ว พบว่ากระดูกซี่โครงซ้ายร้าว 2 ซี่ แพทย์จ่ายยาให้ไปรับประทานที่บ้าน มิได้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยแพทย์มีความเห็นว่า จะต้องรักษาเกินกว่า 21 วัน จึงหาย ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน ตามความหมายใน ป.อ. ม.297 (8) จำเลยคงมีความผิดตาม ม.295 เท่านั้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4955/2528 จำเลยใช้มีดโต้ฟันผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเด็กเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านของจำเลย ในเวลากลางคืน 1 ที ทำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ยาว 6 เซนติเมตร กะโหลกศีรษะใต้บาดแผลแตก เป็นแนวยาวไปตามบาดแผล 5เซนติเมตร แสดงว่า จำเลยฟันโดยแรง ขณะผู้เสียหายเพิ่งโผล่ออกมาจากใต้แคร่ ในสภาพที่ผู้เสียหายซ่อนตัวอยู่ในแคร่ ซึ่งอยู่ในเขตจำกัด จำเลยอาจจะใช้วิธีการอื่นที่จะสกัดกั้นไม่ให้ผู้เสียหายออกมา และเรียกร้องให้ผู้อื่นมาช่วยจับผู้เสียหายไว้ได้ ทั้งมีทางที่จะสังเกตได้ทันทีว่าผู้โผล่ออกมาเป็นใครจะเกิดภัยแก่จำเลยเพียงใดหรือไม่ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ / ผู้เสียหายถูกฟันกระโหลกศีรษะแตกเป็นแนวยาว 5 เซนติเมตร แพทย์ลงความเห็นว่ารักษานานกว่า 21 วันหาย แต่ได้ความว่าผู้เสียหายรับการรักษาอยู่โรงพยาบาล 6-7 วัน แล้วถูกส่งตัวไปสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก 9 วัน จึงกลับบ้าน ไม่ปรากฏว่าหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้วต้องไปรับการรักษาที่ใด หรือไม่แสดงว่ารักษาไม่เกิน 20 วัน จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงสาหัสตาม ป.อ. ม.297
- คำพิพากษาฎีกาที่ 602/2529 ผู้เสียหายถูกแทง 3 แห่ง บาดแผลที่ชายโครงลึกมากถูกกล้ามเนื้อ และเส้นเลือด เลือดออกมาก ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 7-8 วัน ก็ไปรักษาตัวต่อที่บ้าน ระหว่างรักษาตัวไปทำนาตามปกติไม่ได้ ผู้เสียหายไปให้การในชั้นสอบสวนหลังเกิดเหตุ 25 วันว่า บาดแผลภายนอกหายแล้ว แต่ยังรู้สึกเจ็บข้างในแถวลิ้นปี่กับเอว ดังนี้ ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ.ม.297
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2530 ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่ต้นแขนซ้ายเป็นบาดแผลขนาด 2.5 เซนติเมตร ทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หลังเกิดเหตุประมาณ 7 วัน ผู้เสียหายไปหาแพทย์เพื่อตัดไหม แพทย์บอกว่าบาดแผลเป็นปกติ และผู้เสียหายก็ไปเรียนหนังสือ กับทำกิจการงานต่าง ๆ ได้ แม้ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ต้องเรียนภาคปฏิบัติ คือการเล่นกีฬาที่ต้องใช้แขน และหลังเกิดเหตุแล้ว 1 เดือน ผู้เสียหายไม่อาจเล่นกีฬาได้มากเท่าบุคคลปกติ เพราะยังรู้สึกเสียวที่แขน ก็เป็นเพียงแต่ทำให้ผู้เสียหายขาดความสะดวกในการใช้แขนลดน้อยลงเท่านั้น หาทำให้ผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เสียเลยทีเดียวไม่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ตามมาตรา 297 (8)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3362/2530 ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่หน้าอกซ้าย หากปลายมีดเข้าไปถึงหัวใจ หรือหลอดลมใหญ่ และไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจถึงแก่ความตายได้ ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 8 วัน แล้วกลับมารักษาตัวที่บ้านอีก 1 เดือน แผลภายนอกหาย แต่ภายในยังเจ็บและเสียวอยู่ ผู้เสียหายต้องเลิกอาชีพรับจ้างไปทำงานอย่างอื่น เพราะไม่สามารถทำงานหนักต่อไปได้ ดังนี้ถือได้ว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4946/2531 จำเลยเป็นพี่ชายผู้เสียหาย คนทั้งสองทำงานอยู่ด้วยกันกับบิดา ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายกับจำเลยทะเลาะโต้เถียงด่าว่ากัน อันเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกัน การที่จำเลยได้ใช้เหล็กขูดชาฟท์ยาวประมาณ 4 นิ้ว แทงผู้เสียหายที่ชายโครงขวา 1 ครั้ง แล้วหลบหนีไปโดยมิได้แทงซ้ำอีก ผู้เสียหายมีบาดแผลทะลุกะบังลมและตับ ต้องรักษาโดยการผ่าตัดและรักษาต่อตัวอีก 9 วัน จึงออกจากโรงพยาบาล บาดแผลต้องรักษาเป็นเวลา 4-6 อาทิตย์จึงจะหาย พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2788/2532 จำเลยใช้ไม้ไผ่ตีที่ศีรษะและลำตัวของผู้เสียหายหลายครั้ง ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลถลอกที่ศีรษะด้านซ้าย ขนาดประมาณ 2x3 เซนติเมตร และที่บริเวณหัวไหล่ข้างซ้ายบวมฟกช้ำ ไม่พบว่ามีกระดูกหัก แต่มีลักษณะของเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ซ้ายขาด ทำให้กระดูก 2 ชิ้นแยกจากกัน ผู้เสียหายเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 7 วัน ไม่ปรากฏว่าต้องรักษาตัวต่อไปอีกหรือไม่ แพทย์ผู้ตรวจลงความเห็นว่าต้องใช้เวลารักษาเกินกว่า 25 วัน ถ้ามีภาวะแทรกซ้อน ก็เป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น และแม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่าในวันมาเบิกความยังเจ็บแขน และมึนศีรษะอยู่ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา เกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6345/2534 ผู้เสียหายถูกแทงมีบาดแผลที่ชายโครงซ้ายยาว3 เซนติเมตรเพียงแห่งเดียว แพทย์ลงความเห็นว่าถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนรักษาไม่เกิน 21 วันหายแม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่า หลังเกิดเหตุไม่สามารถทำนาได้ตลอดระยะเวลา 6 เดือน แต่ก็ปรากฏว่าผู้เสียหายเพียงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลรวมสองครั้งรวมแล้วไม่เกิน 20 วัน ผู้เสียหายออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้ายทางโรงพยาบาลมิได้จ่ายยาให้ไปรักษาต่อที่บ้าน ไม่ปรากฏว่ามีอาการอย่างใดแทรกซ้อน จนผู้เสียหายต้องย้อนกลับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอีก ทั้งบาดแผลดังกล่าว แพทย์ผู้ตรวจรักษาก็เบิกความว่าลึกไม่ถึงปอด ย่อมไม่น่าเชื่อว่าจะก่อเกิดอันตรายแก่สุขภาพและอนามัย เป็นอุปสรรคให้ผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ ตามที่ผู้เสียหายเบิกความ จึงไม่พอที่จะรับฟังว่าการกระทำของจำเลย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
- คำพิพากษาฎีกาที่ 892/2537 ผู้เสียหายถูกทำร้ายมีบาดแผล เส้นเอ็นที่ยึดข้อปลายของนิ้วก้อยซ้ายขาด นิ้วก้อยซ้ายงอผิดรูป หลังเกิดเหตุแล้ว 2 เดือน นิ้วก้อยซ้ายของผู้เสียหายยังไม่สามารถยึดออกได้ตามปกติ แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าอาการป่วยเจ็บเช่นว่านั้นทำให้ผู้เสียหายได้รับความทุกขเวทนา หรือไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่าบาดแผลดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส
- คำพิพากษาฎีกาที่ 69/2539 ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 6 ทำร้ายได้รับบาดเจ็บที่ดั้งจมูก แต่ผู้เสียหายมิได้รักษาโดยวิธีผ่าตัดตามความเห็นแพทย์คงเอายามากินที่บ้านตั้งแต่เกิดเหตุจนปัจจุบันเป็นเวลานานถึง 10 เดือนเศษ แสดงว่าผู้เสียหายสามารถไปทำงานหรือทำธุรกิจอื่นได้ แม้แพทย์ผู้ตรวจจะทำรายงานว่าต้องรักษาโดยวิธีผ่าตัดแล้วใช้เวลารักษาอย่างน้อย 21 วัน จึงจะหายเป็นปกติก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของแพทย์ที่กะประมาณไว้ในขณะทำการตรวจ ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะถูกต้องตามนั้นหรือไม่ บาดแผลอาจจะหายเร็วกว่ากำหนดไว้นั้นก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่พอฟังว่าบาดแผลของผู้เสียหายดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส
- คำพิพากษาฎีกาที่ 575/2548 ตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่าบาดแผลของผู้เสียหายต้องใช้เวลารักษาเกินกว่า 21 วัน แต่ผู้เสียหายเบิกความเพียงว่า บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับจากการถูกทำร้ายต้องใช้เวลารักษา 21 วัน จึงหายเป็นปกติ โดยมิได้เบิกความให้เห็นว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อย่างไร ลำพังกระดูกโหนกแก้มขวาหักจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายสาหัส ส่วนบาดแผลของผู้เสียหายที่ต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วัน เป็นเรื่องการรักษาบาดแผลให้หายเป็นปกติเท่านั้น ย่อมรับฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายจนต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อันจะถือว่าเป็นอันตรายสาหัส ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 297 (8) คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 295 แม้ปัญหาข้อนี้จะยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ และฎีกาของจำเลยข้อนี้ต้องห้ามตามกฎหมายเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
- ประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ การสืบพยาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 286/2490 โจทก์สืบว่าผู้ถูกทำร้ายทำงานไม่ได้เกินกว่า 20 วัน แต่ไม่ปรากฏว่า เป็นงานประกอบการหาเลี้ยงชีพตามปรกติหรืองานอะไรนั้น จะลงโทษฐานทำร้ายถึงสาหัส ตาม ม.256 (8) ไม่ได้.
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 297
- (ขส เน 2511/ 7) นางริษยาตั้งใจเอาน้ำกรดสาดหน้าให้นางจริตตาบอดเสียโฉม นางจริตหลบทัน น้ำกรดถูกหลังเป็นแผลไหม้เล็กน้อย รักษา 5 วันหาย นางริษยาผิดฐานใด / นางริษยา ผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตาม ม 295 ไม่ผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายสาหัส ตาม ม 297 + 80 เพราะ ม 297 มุ่งถึงผลที่เกิดแล้ว หลักเรื่องพยายามตามลักษณะทั่วไป จึงไม่ต้องนำมาใช้กับกรณีนี้ ( “ความรับผิดจากการพยายามกระทำผิด” ไม่นำมาใช้กับ “ผลของการกระทำที่ต้องทำให้รับโทษหนักขึ้น”)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น