ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“ยอมให้คนอื่นลงชื่อแทน”

จำเลยยอมให้คนอื่นลงชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือจำเลยในใบมอบอำนาจให้ขายที่ดิน การขายผูกพัน จำเลยปฏิเสธการมอบอำนาจ เป็นการใช้สิทธิ์ไม่สุจริต คำพิพากษาฏีกา ๑๘๑๓/๒๕๑๕
ข้อสังเกต ๑. กิจการใดที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย การซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น การตั้งตัวแทนเพื่อทำการซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖,๗๙๘
๒.การที่จำเลยยอมให้คนอื่นลงชื่อจำเลยแทนจะถือเป็นการลงลายมือชื่อปลอมในเอกสารในประการที่น่าก่อให้เกิดความเสียหายต่อจำเลยหรือประชาชนไม่ได้จึง ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะเมื่อมีการยินยอมให้ลงลายมือชื่อแทนก็ไม่ใช่การปลอมลายมือชื่อแต่เป็นการลงด้วยความยินยอม การปลอมต้องเป็นการทำให้เหมือนเพื่อให้หลงผิดหรือเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อจำเลยโดยจำเลยไม่ได้ยินยอม เมื่อจำเลยยินยอมจึงไม่อาจเรียกว่าเป็นการปลอมลายมือชื่อได้
๓.การซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากไม่ได้นำไปจดทะเบียน การซื้อขายตกเป็นโมฆะเพราะไม่ได้ทำตามแบบ แต่ไม่ได้เป็นโมฆะเพราะมีคนอื่นลงลายมือชื่อว่าเป็นจำเลย เพราะจำเลย ยินยอมให้บุคคลอื่นลงลายมือชื่อแทนจำเลยจึงไม่ใช่การปลอมลายมือชื่อของจำเลย แต่หากการซื้อขายมีการจดทะเบียนจำเลยต้องรับผิดจะอ้างไม่ใช่ลายมือชื่อตัวเองเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้
๓.จำเลยยอมให้คนอื่นลงลายมือชื่อของจำเลย ถือเป็นการเชิดบุคคลอื่นให้แสดงออกแทนตัวจำเลย หรือรู้อยู่แล้วยอมให้บุคคลอื่นเชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๘๒๑
๔.การที่จำเลยยอมให้คนอื่นพิมพ์ลายนิ้วมือชื่อจำเลย จะถือว่าจำเลยถูกฉ้อฉลขมขู่ให้ลงลายนิ้วมือหาได้ไม่ เพราะเป็นความยินยอมของจำเลยเอง หาได้เกิดจากการฉ้อฉลขมขู่หรือมิชอบด้วยกฏหมายด้วยประการใดๆ หรือแม้จะไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือจำเลย แต่ไปพิมพ์ลายนิ้วมือคนอื่นแล้วอ้างว่าเป็นลายนิ้วมือจำเลยก็มีผลเช่นกัน ในเมื่อจำเลยยินยอมให้กระทำได้ การพิมพ์ลายนิ้วมือดังกล่าวไม่ว่าเป็นลายนิ้วมือของจำเลยเองหรือเป็นลายนิ้วมือชื่อของบุคคลอื่นที่จำเลยยินยอมให้พิมพ์แทนลายนิ้วมือจำเลยเพื่อไปแอบอ้างต่อบุคคลภายนอก ย่อมต้องผูกพันธ์จำเลยโดยถือจำเลยเชิดบุคคลภายนอกให้กระทำการแทนจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้ที่ทำการโดยสุจริต .เสมือนหนึ่งเป็นลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือชื่อของจำเลย แต่หากว่าบุคคลภายนอกได้รู้แต่แรกว่า ไม่ใช่ลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยไม่ใช่ลายมือของจำเลยก็ยังทำนิติกรรมผูกพัน ดังนี้ ถือเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมคบกับคู่กรณีอีกฝ่าย เมื่อบุคคลภายนอกรู้แต่แรกว่าไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยไม่ใช่ลายพิมพ์นิ้วมือชื่อจำเลยก็ยังผูกพันทำนิติกรรม ดังนี้หาอาจอ้างการแสดงเจตนาลวงมายกเว้นความรับผิดของตนตาม ป.พพ. มาตรา ๑๕๕ หาได้ไม่ เพราะการใช้สิทธิ์ทางศาลทุกคนต้องกระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖ เมื่อจำเลยยอมให้คนอื่นลงลายมือชื่อแทนจำเลย แล้วจะมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต

ไม่มีความคิดเห็น: