ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๒๙๐ - ๒๙๔


มาตรา 290     ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปี ถึงยี่สิบปี

           ความเห็นของท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ซึ่งถือว่าความตายตามมาตรา 290 ไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น จากการกระทำความผิดตามมาตรา 295 ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า การทำร้ายตามมาตรา 295 ต้องมีเจตนาให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ส่วนการทำร้ายตามมาตรา 290 ไม่ต้องถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ อาจผลักเบา ๆ ไม่ถึงอันตรายแก่กายหรือจิตใจก็ได้ ขอให้มีผลคือความตาย ก็เป็นกรณีตามมาตรา 290 ได้ ด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยความสัมพันธ์ระหว่างการทำร้าย ตามมาตรา 295 และผลคือความตายตามมาตรา 290 จึงไม่ต้องใช้หลักผลธรรมดา (ตามมาตรา 63) แต่ใช้หลัก "ผลโดยตรง" คำอธิบายกฎหมายอาญาของท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ดู จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 และภาค 3 (กรุงเทพ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2524), น. 1917, 1922, 1923. และจิตติ ติงศภัทิย์, กฎหมายอาญาภาค 1 (กรุงเทพ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2529), น. 170, 171.

-          มาตรา 290 เจตนาทำร้าย แต่ผลของการกระทำ ถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้น เกินกว่าเจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 874/2509 จำเลยใช้มีดพกปลายแหลมแทงถูกผู้ตาย 1 ทีที่หน้าอก ขณะที่ทั้งสองกำลังต่อสู้กอดปล้ำกันผู้ตายถึงแก่ความตาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า จำเลยคงมีความผิดตาม มาตรา 290 เท่านั้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 447/2510 จำเลยกับภรรยาโต้เถียงกัน แล้วจำเลยใช้ไม้ไผ่ซึ่งมีขนาดโตกว่าหัวแม่มือนิดหน่อย ยาวประมาณ 1 วา ตีภรรยา แต่ตีหนักมือไป ทำให้พลาดถูกนางบุญสืบ ซึ่งภรรยาของจำเลยยืนเกาะหลังอยู่ ถึงแก่ความตาย เมื่อภรรยาจำเลยหนีไปแล้ว จำเลยก็มิได้ตีซ้ำอีก ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยกระทำ โดยไม่รู้สำนึกในการกระทำ และมิได้ประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลว่านางบุญสืบอาจถึงแก่ความตายเพราะการกระทำของจำเลยได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนาตาม มาตรา 290
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 699/2510 จำเลยและผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยได้ใช้มือและเท้าทำร้ายผู้ตาย โดยทำร้ายบ้างหยุดบ้างสลับกันเป็นระยะ ๆ รวมเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง ไม่ได้หมายความว่าจำเลยทำร้ายผู้ตาย โดยลักษณะและความรุนแรงเพียงใด  ลักษณะบาดแผลของผู้ตายที่แพทย์ว่าอาจทำให้ถึงตายได้ คือ หน้าบวม ศีรษะบวม และไตแตก ไม่มีเหตุพอจะให้พิจารณาประกอบบาดแผลว่าจำเลยได้กระทำโดยลักษณะ และความรุนแรงที่อาจจะเห็นผลได้ว่า น่าจะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยคงมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา โดยกระทำทารุณโหดร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรค 2 ไม่ผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1083/2510 ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจชกมวยเอาเงินกัน โดยมิได้รับอนุญาต จะถือว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย เพราะการชกมวยนั้น ผู้ตายก็ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย บิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ (อ เกียรติขจรฯ เห็นว่าความยินยอมในการเล่นกีฬาตามกติกา ยกเว้นความผิดได้ และทำให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องผู้เสียหายโดยนิตินัย / สังเกตคดีนี้ ชกมวยเอาเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1273/2526 อ. พวกจำเลยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้ตายมาก่อน เมื่อไปดูภาพยนตร์แล้วพบกัน จำเลยที่ 2 กับ ข. เรียกผู้ตายออกไปพบ จากนั้น อ.ก็ชดผู้ตายล้มลง แล้วจำเลยทั้งสองกับพวกรุมกระทืบผู้ตายชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็วิ่งหนีไป เป็นการกระทำโดยทันทีทันใด และไม่ปรากฏความรุนแรงถึงขนาด ที่จะแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาฆ่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตาม ป.อ.ม.290
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 283/2528 จำเลยกับผู้ตายรักใคร่กันดี ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน วันเกิดเหตุผู้ตายมาช่วยจำเลยเกี่ยวข้าว ผู้ตายหลอกล้อจำเลยเรื่องหาสุรามาไม่พอดื่ม จำเลยใช้เคียวเกี่ยวข้าวฟันผู้ตายถูกบริเวณเอวข้างซ้าย ในขณะที่ผู้ตายกำลังก้มลงเกี่ยวข้าว  จำเลยมีโอกาสที่จะเลือกฟันผู้ตายให้ถูกอวัยวะสำคัญได้ แต่กลับฟันบริเวณลำตัว และฟันเพียงครั้งเดียวมิได้ฟันซ้ำอีก ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสทำได้  ผู้ตายถึงแก่ความตาย เนื่องจากมีโลหิตตกในช่องปอด และมีลมในช่องปอด มากดให้หัวใจหยุดเต้น ซึ่งน่าจะเป็นเหตุบังเอิญ มากกว่าที่จำเลยจะเล็งเห็นหรือประสงค์ให้เกิดผลเช่นนั้น ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้ตาย จนถึงแก่ความตาย โดยไม่มีเจตนาฆ่า

-          มาตรา 290 ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำ กับผล กรณีผลโดยตรง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1263/2499 ผู้ตายมีครรภ์แล้วยอมให้จำเลยรีดลูกให้แท้ง จำเลยบีบกดท้องผู้ตายจนบุตรในครรภ์ศรีษะเหลว โลหิตในมดลูกแตก ผู้ตายคอและสันหลังเขียว เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีผิดตาม ก..อาญา ม.251
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 442/2502 ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยแทง แม้จะเนื่องจากการรักษาไม่ดี เพราะบาดแผลเน่า จึงเป็นพิษก็ดี แต่ก็เป็นผลธรรมดา อันสืบเนื่องจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
-          & (จำเลยมีเจตนาทำร้าย แต่ผลเกิดขึ้นถึงตาย ผ่านทฤษฎีเงื่อนไขมาแล้ว /Ø การรักษาแล้วเกิดติดเชื้อ เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ ต้องรับผิดในผล คือ ทำร้าย + ตาย = ม 290 Ø โดยม 290 ไม่ใช่บทที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น ของ ม 295 เพราะอยู่คนละหมวดกัน )
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 225/2503 จำเลยใช้กำลังชกต่อยเตะผู้ตาย ถูกบริเวณหน้าผู้ตายล้มหงายหมดสติ ศีรษะฟาดกับพื้นถนนแข็ง กะโหลกศีรษะแตกถึงตาย ดังนี้ ถือว่าการตาย เป็นผลที่บังเกิดเนื่องจากการกระทำของจำเลย ผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1507/2515 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยความประมาทโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารถที่จำเลยขับมีสภาพเก่าและชำรุดมาก มีเครื่องอุปกรณ์ส่วนประกอบไม่ครบถ้วน ไม่มั่นคงแข็งแรงพอที่จะขับขี่ไปในถนนหลวง หรือควรจะจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้มั่นคงเสียก่อน   แต่จำเลยบังอาจขับรถดังกล่าวไปตามถนนหลวง คานล้อหน้าด้านขวาของรถจำเลยซึ่งผุและชำรุดอยู่แล้วหลุดออกจากตัวรถ และล้อหน้าด้านขวาหลุดออกจากคานบังคับ เป็นเหตุให้รถเสียการทรงตัวเอียงไปทางขวา จำเลยไม่สามารถบังคับให้รถหยุดได้เพราะเบรคชำรุด รถจำเลยจึงเฉี่ยวรถคันอื่นซึ่งวิ่งสวนทางมา  เป็นเหตุให้คนในรถคันนั้นถึงแก่ความตายเมื่อทางพิจารณาได้ความว่ารถที่จำเลยขับมีสภาพเก่าชำรุด ไม่มั่นคงพอที่จะนำออกขับไปตามถนนหลวง แต่จำเลยก็ยังขืนนำออกขับไป ถึงแม้จะได้ความว่าเหตุเกิดขึ้นจากล้อหน้าด้านขวาของรถจำเลยหลุด เพราะน็อตขาด ซึ่งเนื่องจากรถมีสภาพเก่าชำรุดอยู่แล้วนั่นเอง ดังนี้  แม้จะไม่ได้ความเรื่องคานล้อหน้าหลุด ก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่สารสำคัญ จะถือเป็นเหตุยกฟ้องหาได้ไม่ และยังถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 657/2532 จำเลยใช้ไม้ตีผู้ตาย เมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้าไปกระทืบซ้ำ และเมื่อจำเลยต้อนผู้ตายไปติดอยู่ที่รถปิกอัพ จำเลยก็จับศีรษะผู้ตาย โขกกับเสาเหล็กโครงหลังคารถปิกอัพ ยังถือไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่า คงถือได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้าย ก่อนถูกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายยังมีอาการปกติดีอยู่ กลับถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียง 17 ชั่วโมง แม้แพทย์เห็นว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็ง มิได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้าย ก็ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกจำเลยทำร้าย เพราะทำให้ถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยผิด ตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก
-          & (ไม่ใช้ทฤษฎีผลธรรมดา เพราะไม่ใช่ผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ ตาม ม 63 แสดงว่าศาลไม่ได้มองว่า ม 290 เป็นบทหนักของ ม 295 ส่วนโรคตับแข็ง เป็นเหตุที่มีอยู่ก่อนทำร้าย ไม่ใช่เหตุแทรกแซง แม้โรคตับแข็งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ถึงแก่ความตายอย่างรวดเร็ว จำเลยยังคงต้องรับผิด เพราะการกระทำของจำเลยเป็นเหตุโดยตรง ตามหลัก Contributory cause คือมีหลายเหตุ และเหตุเหล่านั้นทำให้เกิดผลขึ้น ประกอบกับหลัก “The Thin – Skull Rule” )

-          มาตรา 290 ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำ กับผล กรณีมีเหตุแทรกแซงมาตัดความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผล
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 659/2532 จำเลยใช้ของแข็งตีทำร้ายผู้ตาย แล้วได้มีการนำตัวผู้ตายไปรับการรักษา แพทย์ผู้รักษามีความเห็นว่าหากให้ผู้ตายรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป แล้วโอกาสที่ผู้ตายจะมีชีวิตรอดมีมากกว่าผู้ตายจะถึงแก่ความตาย ญาติผู้ตายกระทำให้การรักษาสิ้นสุดลง โดยการดึงเครื่องช่วยหายใจ และท่อช่วยหายใจออก แล้วพาผู้ตายกลับบ้าน และผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นผลโดยตรง ที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย หาใช่เป็นผลจากการกระทำของจำเลยโดยตรงไม่ เพราะเมื่อผู้ตายอยู่ในความดูแลรักษาของแพทย์แล้ว ผู้ตายย่อมเป็นผู้อยู่ในสภาพที่มีโอกาสมีชีวิตอยู่รอดสูง จำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานพยายามฆ่าผู้ตาย
-          & ญาติผู้ตาย หากมีเจตนาฆ่า เช่น ยุติการรักษา เพราะไม่มีเงินค่ารักษา หรือหวังเงินประกันชีวิตผู้ตาย ผิด ม 288 / หากกระทำไปโดยประมาท เช่น ไม่เชื่อฟังหมอ คิดว่าผู้ตายไม่เป็นอะไรมาก อยากนำตัวไปรักษาเอง ผิด ม 291

-          การที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติความผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนาไว้ในมาตรา 290 ในหมวดความผิดต่อชีวิตตามแบบอย่างกฎหมายอังกฤษ มิได้บัญญัติในหมวดความผิดต่อร่างกายอย่างกฎหมายฝรั่งเศส จึงแสดงว่าไม่ถือเป็นเหตุทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นจากการทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 แต่เป็นเหตุทำให้ผู้กระทำให้ตายได้รับโทษน้อยลงกว่าการฆ่าคนโดยเจตนา แทนที่จะเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือทำให้คนตายโดยประมาท
-          ถ้าจะพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 295 กับ 297 จะเห็นได้ว่ามาตรา 295 ใช้คำว่า "ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส" เป็นการบัญญัติให้รับโทษหนักขึ้นจากการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย ที่มาตรา 295 บัญญัติว่า "ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย" ไว้ ก็จะเห็นได้ชัดว่า มาตรา 290 มิได้บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังในมาตรา 297 ได้ถือว่าเป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นจากการกระทำตามมาตรา 295 และมาตรา 290 แม้จะเป็นการทำร้ายผู้อื่นเช่นเดียวกับมาตรา 295 ก็จริง แต่แตกต่างกันในผลของการทำร้าย ซึ่งมาตรา 295 ต้องเป็นเหตุถึงกับเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นผลที่ผู้กระทำมีเจตนา แต่มาตรา 290 นี้ไม่ต้องถึงกับเป็นเหตุให้เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แต่หากเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยเจตนาตามมาตรา 295 มาก่อนด้วยหรือไม่ และต่างกับมาตรา 391 เพราะมาตรา 290 ไม่ต้องทำร้ายโดยใช้กำลัง ดังนี้จะว่ามาตรา 290 เป็นบทที่มีโทษหนักขึ้นจากมาตรา 391 ก็ไม่ได้ โดยเหตุเหล่านี้จึงเห็นว่า มาตรา 290 เป็นบทบัญญัติในกรณีเฉพาะ มิใช่บทหนักขึ้นจากมาตรา 295 (หรือมาตรา 391) จึงไม่ใช้หลักเรื่องผลธรรมดาตามมาตรา 63 ฉะนั้นก็ต้องใช้ทฤษฎีเงื่อนไขตามหลักทั่วไป ผู้กระทำร้ายผู้อื่นต้องมีความผิดถ้าความตายเป็นผลโดยตรง เว้นแต่จะมีเหตุตัดความสัมพันธ์นั้น (จิตติ ติงศภัทิย์ ,กฎหมายอาญาภาค 2 ตอน 2 และภาค 3) เช่น ก. ต่อย ข. หนึ่งทีถูกที่ขาตะไก ทำให้ภายในปากแตกเล็กน้อย แต่โลหิตไหลอยู่ 10 วันเป็นเหตุให้ ข. ตายเพราะ ข. เป็นโรคโลหิตไหลไม่หยุด ศาลสูงสุดในรัฐ Missouri ตัดสินว่า ก. มีความผิดฐานหฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) ถึงแม้ ก.จะไม่รู้ว่า ข. เป็นโรคโลหิตไหลไม่หยุดและเท่าที่ ก. ต่อย ข. ไม่แรงนัก ตามปกติไม่น่าจะทำให้ ข.ตาย (State v.Frazier (1936) Perkins cases p.308) ตรงกับหลักที่ศาลเยอรมันถืออยู่ แต่มีนักนิติศาสตร์ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการรุนแรงแก่ผู้กระทำเกินไป กฏหมายฝรั่งเศสศาลไม่คำนึงถึงความบกพร่องภายในร่างกายของผู้ถูกกระทำเช่นเดียวกัน หรือเช่น ก. ทำร้าย ข. แพทย์เห็นว่าบาดแผลแห่งหนึ่งที่นิ้วเป็นอันตราย ควรจะตัดนิ้วทิ้ง ข. ไม่ยอมให้ตัด แพทย์จึงรักษาตามปกติ อยู่ได้ 14 วัน แผลที่นิ้วมือเป็นบาดทะยัก แพทย์จึงตัดนิ้วมือ แต่ไม่ทันเวลา ข. ตาย แม้ ก. ไม่มีเจตนาฆ่าก็มีความผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนา (R.v. Holland (1841) Perkins cases p.515) และแม้ผู้เสียหายไม่รักษาตัวเลย ผลนั้นก็เป็นผลตามธรรมดาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลย (ฎ. 333/2494 (จิตติ ติงศภัทิย์ ,กฎหมายอาญาภาค 1)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 657/2532 จำเลยใช้ไม้ขนาดหน้า 3 นิ้วฟุตยาวราว 1 ศอก ไม่ปรากฏว่าหนาเท่าใดตีผู้ตาย เมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้ากระทืบซำ ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าก่อนถูกจำเลยทำร้ายร่างกาย ผู้ตายยังมีอาการปกติดีอยู่ ไม่ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติอันส่อว่าจะถึงแก่ความตายในเวลาอันรวดเร็ว กลับถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียงประมาณ 17 ชั่วโมง แม้แพทย์จะเห็นว่าผู้ตายถึงแก่ความตายโดยโรคตับแข็ง มิได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายก็ตาม ก็ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกจำเลยทำร้ายเพราะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไม่เจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 วรรคแรก / กรณีตาม ฎ. นี้เห็นได้ว่า จำเลยไม่สามารถ "คาดเห็น" ความเป็นไปได้ของผลนั้น (unforeseeability) ตามทฤษฎีเหตุที่เหมาะสมอันเป็นหลักของ "ผลธรรมดา" ในมาตรา 63 นั้นเอง (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ ,คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1) และก็ไม่มีเหตุทำให้จำเลย "ควร" จะทราบได้อย่างบุคคลธรรมดาทั่วไป (วิญญูชน) (ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ,กฎหมายอาญาหลักและปัญหา) แต่ความตายของผู้ตายที่เร็วขึ้นเป็น "ผลโดยตรง" จากการทำร้ายของจำเลย ไม่มีเหตุที่ตัดความตายออกจากการทำร้ายของจำเลย (โรคตับแข็ง) จึงเห็นได้ว่าตาม ฎ. นี้ไม่ใช้หลักเรื่องผลธรรมดา

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 290
-          (ขส เน 2541/ 2) สุขเอาอิฐขว้างใจ นายใจหลบ เซไปกระแทกเรือ ได้รับอันตรายแก่กาย อิฐไปถูกนายเมืองตกน้ำ มีคนช่วย แต่นายเมืองตายเพราะขาดอากาศ / นายสุขรับผิดต่อนายใจฐานทำร้ายร่างกาย ม 295 แม้นายใจหลบทัน แต่การได้รับอันตรายก็เนื่องจากการถูกขว้าง ฎ 895/2509 / นายสุขรับผิดต่อนายเมือง ฐานทำร้ายผู้อื่นโดยพลาด ม 60 + 295 เมื่อนายเมืองตาย และความตาย "เป็นผลโดยตรงจากการทำร้ายโดยพลาด" นายสุขผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ม 290 1 1617/2539

-          (ขส พ 2519/ 6) ดินเอาก้อนหินขว้างน้ำ น้ำหลบหัวชนเรือ ตกน้ำตาย ดินผิด ม 290 เพราะดินมีเจตนาทำร้าย น้ำหลบ คิ้วแตกเป็นผลจากการกระทำของดิน ฎ 895/2509 / ไม่มีเจตนาฆ่า ฎ 150/2489 / ก้อนหินถูกตะเกียง ไม่ผิด ม 358 เพราะไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ ไม่อาจเล็งเห็นผล และไม่มีกฎหมายให้ต้องรับผิดกรณีทำให้เสียทรัพย์โดยประมาท ทั้งไม่ใช่ ม 60
-          (ขส พ 2529/ 7) ก ข แดง ดำ สมัครใจวิวาท แดงใช้ไม้ซีกตี ก ทีเดียว ก ตาย / ทุกคนผิด ม 294 แดงต้องรับผลที่ตนทำ แต่ยังไม่พอฟังว่า มีเจตนาฆ่า แดง ผิด ม 294+290 505/2504 1064/2519 / สมบอกให้สมชายขว้างอิฐไปที่ ข และ ดำ ตีกัน สมชาย ตรงไปที่ ข และดำ ตีกัน แล้วขว้างอิฐไปตรงที่วิวาท ทำให้บาดเจ็บ ผิด ม 295 / สมใจผู้ใช้ให้สมชายขว้าง ผิด ม 295+84

-          (ขส อ 2519/ 7) ตีสลบ คิดว่าตายแล้ว เอาไปแขวนพรางคดี ผิด ม 290 1395/2518 (ไม่ผิด ม 199 + 80+81  / + ปวิอ ม 150 ทวิ  เพราะขาดองค์ประกอบภายนอก)
-          (ขส อ 2530/ 2) ปืนตีหัว ลั่นไปถูกผู้อื่น ตายและสาหัส / ตีหัว ม 295 / ปืนลั่น ไม่เจตนา ไม่ใช่พลาด ม 288+297+60 / แต่เกิดจากประมาท ม 291+300 / + 371 / + 291+295+300 + 90 และ ม 371 91
-          (ขส อ 2533/ 6) ก ตี ข แล้วเอาเงินไป นำ ข ไปหมกกอหญ้า แล้วหนี ข จมน้ำตาย / ก ผิด ม 339 ว ท้าย ไม่เจตนาฆ่า แต่ผลของการกระทำ สัมพันธ์กับการทำร้าย ผิด ม 290 (หากขณะตี มีเจตนาที่จะเอาทรัพย์ไป เข้า ม 290 2 ในเหตุที่ทำร้าย เพื่อจะกระทำผิดอย่างอื่นอีก / แต่หากมีเจตนาต่อทรัพย์เกิดขึ้นภายหลัง ก็ไม่เข้าเหตุดังกล่าว ส่วนการนำไปหมกกอหญ้า ไม่ใช่การกระทำโดยมีเจตนาทำร้าย หรือฆ่า โดย ก คิดว่า ข ตายแล้ว หรือนำร่างไปซ่อนไว้ อันเป็นการปกปิดหลักฐาน เท่ากับคิดว่ากระทำต่อศพ จึงไม่ใช่การทำร้าย เพื่อปกปิดความผิดอื่นซึ่งตนได้กระทำไว้)


มาตรา 291     ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

-          มาตรา 291 การกระทำโดยประมาท เป็นเหตุโดยตรง ทำให้เกิดผล คือความตาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2593/2521 จำเลยมิใช่แพทย์ รักษาคนป่วยโดยเรียกเงินคนละ 59 บาท วิธีรักษาไม่ใช่วิธีตามวิชาแพทย์แผนโบราณหรือปัจจุบัน เป็นการแสดงเท็จต่อประชาชนว่าสามารถรักษาให้หายจากโรคได้ เป็นความผิดตาม ป...343 จำเลยใช้เข็มแทงเนื้อที่โป่งทำให้น้ำเลี้ยงสมองไหลออกไม่หยุด ทำให้เด็กตาย เป็นผลโดยตรง เป็นความผิดตาม ม.291 อีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3768/2527 จำเลยเป็นผู้ไม่มีสิทธิขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ ได้ทำการบำบัดโรคโดยฉีดยาและให้ น. กินยาโดยประมาท เป็นเหตุให้ น.ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม ป.อ. ม.291 ซึ่งเป็นบทหนัก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 461/2536 การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นแพทย์ และไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ได้ฉีดและให้ผู้ตายกินยาปฏิชีวนะ ประเภทเพนิซิลลิน โดยผู้ตายมีอาการหมดสติแทบจะทันใด หลังจากจำเลยให้กินยาและฉีดยา และถึงแก่ความตายหลังจากนั้น ประมาณ 3 ชั่วโมง โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายรับการฉีดยาจากสถานพยาบาลอื่นมาก่อนมีอาการเช่นนั้น ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองให้กินยาและฉีดยาเพนิซิลลิน จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291

-          มาตรา 291 การกระทำโดยประมาท เป็นเหตุโดยตรง ทำให้เกิดผล คือความตาย        คดีเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งมีอันตรายโดยสภาพ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 240/2536 จำเลยส่งอาวุธปืน ซึ่งบรรจุกระสุนปืนพร้อมจะยิงได้ให้ผู้ตาย โดยหันปากกระบอกปืนไปทางผู้ตาย และไม่ระมัดระวัง เป็นเหตุให้ปืนลั่นขึ้น ทำให้กระสุนปืนถูกผู้ตายที่กกหูถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 832/2540 (สบฎ สต 83) การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอันตรายโดยสภาพสามารถทำอันตรายบุคคลอื่นให้ถึงแก่ความตายได้ ทำการช็อตปลาในคลองสาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ผิดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง และถือว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ดังกล่าว ช็อต จนถึงแก่ ความตาย ถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาท ไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลองแล้ว ถูกกระแสไฟฟ้าช็อต หรือเป็นเพราะผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้า ที่เกี่ยวติดสิ่งของ จึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตถึงแก่ความตายก็ตาม

-          มาตรา 291 การกระทำโดยประมาท เป็นเหตุโดยตรง ทำให้เกิดผล คือความตาย        คดีเกี่ยวกับยานพาหนะ และการจราจร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1661/2499 ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถชนคนตายโดยประมาทนั้น แม้คดีจะได้ความว่าจำเลยขับขี่รถยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่ได้ ซึ่งตาม ก..อาญา ม.43 ถือว่าผู้ฝ่าฝืน ก..เช่นนี้กระทำการโดยประมาทก็ตาม แต่การที่จะลงโทษจำเลยฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามฟ้องนั้น คดีจะต้องได้ความด้วยว่าเนื่องจากจำเลยกระทำฝ่าฝืน ก..นี้เป็นเหตุให้รถยนต์ชนผู้ตายถึงแก่ความตาย/ เมื่อคดีนี้ได้ความว่าจำเลยขับรถเป็นขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถโดยเรียบร้อย แขนลีบที่กล่าวในฟ้องว่าใช้การไม่ได้ ก็ได้ความว่าไม่ถึงกับใช้แขนนั้นไม่ได้เสียทีเดียว ทั้งเป็นความผิดของผู้ตายเอง การตายมิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทของจำเลย ดังนี้ลงโทษจำเลยตาม ม.252 ไม่ได้.
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1199/2510 จำเลยที่ 1 เป็นนักเรียนหัดขับรถยนต์ ยังไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ จำเลยที่ 2 ได้รับใบอนุญาตขับขี่ แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นครูฝึกสอนขับรถยนต์ ได้นั่งควบคุมไปด้วย ถนนที่จำเลยหัดขับนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นถนนสำหรับฝึกหัดขับรถยนต์ ในวันเวลาเกิดเหตุถนนตอนนั้นมีผู้คนพลุกพล่านฝนตกถนนลื่น จำเลยที่ 1 ขับจะเฉี่ยวรถสามล้อเครื่องหรือหักหลบรถสามล้อเครื่องไม่พ้น จำเลยที่ 2 ซึ่งนั่งควบคุมไปด้วยต้องเข้าช่วยถือพวงมาลัยและให้จำเลยที่ 1 ปล่อยมือ จำเลยที่ 1 จึงปล่อยมือแต่เท้ายังเหยียบคันเร่งน้ำมันอยู่ จำเลยที่ 2 หักพวงมาลัยเบนขวาเพื่อให้พ้นสามล้อเครื่อง เป็นเหตุให้รถพุ่งข้ามถนนชนต้นไม้และคนถึงบาดเจ็บและตาย จึงเป็นการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1563/2521 คนโดยสารเรือยนต์ตกน้ำ เรือถอยหลังไปช่วย ทำให้ใบจักรฟันคนที่ตกน้ำตาย แทนที่จะโยนชูชีพลงไปช่วยตามข้อบังคับการเดินเรือ เป็นการขาดความระวังตามควรแก่เหตุการ และนายท้ายผู้ประกอบวิชาชีพเดินเรือควรได้คาดคิด จึงเป็นประมาททำให้คนตายตาม ม.291
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1337/2530 เบรกล้อหน้าซ้ายของรถยนต์ที่จำเลยขับชำรุดใช้การไม่ได้ เป็นข้อชำรุดบกพร่องที่พบเห็นได้ก่อน แต่จำเลยซึ่งมีหน้าที่ขับรถประจำรถยนต์คันดังกล่าว มิได้ตรวจตราซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ จำเลยนำรถออกแล่นและเหยียบเบรกรถ เมื่อประสบเหตุการณ์คับขัน ทำให้ไม่สามารถบังคับรถให้แล่นไปตามทิศทางบนถนนได้ เป็นเหตุให้รถพลิกคว่ำมีคนบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและถึงแก่ความตาย ตาม มาตรา 300, 291
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2680/2531 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่รถทุกเส้นทางที่มาบรรจบทางร่วมทางแยก จะต้องลดความเร็วลงให้อยู่ในอัตราความเร็วต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายอันอาจเกิดจากการชนกันระหว่างรถที่กำลังแล่นผ่าน หาใช่ว่าผู้ที่ขับมาในทางเอกจะใช้ความเร็วในอัตราสูง โดยขับผ่านทางร่วมทางแยกไปโดยปราศจากความรั้งรอ ไม่ว่าจะมีรถในทางเดินรถทางโทแล่นมาถึงพร้อมกันหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขับรถแล่นเข้าไปในทางร่วมที่เกิดเหตุด้วยความเร็วสูง ทั้งที่ควรลดความเร็วลงเพื่อหลีกเลี่ยง มิให้เกิดเหตุขึ้น ทำให้ชนกับรถคันที่จำเลยที่ 2 ขับมา เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บ ย่อมถือได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความประมาทของจำเลยที่ 1ด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2604/2533 จำเลยขับรถบรรทุกถอยหลังดันเหล็กท่อน้ำ ซึ่งปลายข้างหนึ่งยันขดลวดสายไฟฟ้าที่วางขวางอยู่บนรถบรรทุกอีกคันหนึ่ง ส่วนปลายเหล็กทำน้ำข้างหนึ่งยันที่กระบะท้ายรถที่จำเลยขับ โดยผู้ตายเป็นผู้จับเหล็กท่อน้ำไว้ ขณะถอยรถเหล็กท่อน้ำหลุดจากขดลวดสายไฟฟ้า รถที่จำเลยขับจึงทับผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ แม้ว่าผู้ตายเป็นผู้สั่งให้จำเลยถอยรถ จำเลยก็จะต้องพิจารณาว่าการถอยรถในลักษณะเช่นนั้นปลอดภัยหรือไม่ การนำขดลวดสายไฟฟ้าลงจากรถยนต์บรรทุกคันหนึ่ง โดยวิธีให้จำเลยขับรถบรรทุกถอยหลังดันเหล็กท่อน้ำ เพื่อให้เหล็กท่อน้ำดันขดลวดสายไฟฟ้า ให้เคลื่อนที่จากแนวขวางเป็นแนวตรงนั้น เป็นวิธีที่ไม่ปลอดภัย เพราะถ้าเหล็กท่อน้ำหลุดจากขดลวดสายไฟฟ้า หรือจากกระบะท้ายรถยนต์บรรทุกที่ยันหรือจากมือผู้ตาย กระบะท้ายรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับ ก็จะอัดผู้ตายเข้ากับกระบะท้ายรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่ง การถอยรถของจำเลย จึงเป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม มาตรา 291
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4473/2536 แม้ผู้ตายเมาสุราไม่สามารถครองสติได้ แต่เมื่อผู้ตายเดินโซเซ ข้ามถนนมา ย่อมไม่ว่องไวเหมือนบุคคลธรรมดา ผู้ตายเดินผ่านช่องเดินรถได้ถึง 2 ช่อง แล้วถูกรถที่จำเลยขับชนในช่องที่ 3 หากจำเลยขับรถด้วยความระมัดระวัง จะต้องสังเกตเห็นผู้ตายกำลังเดินข้ามถนนอยู่ข้างหน้าในระยะไกล สามารถหลีกเลี่ยงภยันตรายไม่ให้เกิดขึ้นได้ การที่จำเลยขับรถชนผู้ตายถือว่าเป็นความประมาทของจำเลย หาใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2210/2544 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจุดที่จำเลยจอดรถและเกิดเหตุชนกันอยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนน ในลักษณะไม่กีดขวางการจราจรแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลามืดค่ำโดยไม่ได้เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(ฉบับที่ 2 พ.ศ.2522) เพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอดอยู่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นผลจากความประมาทของจำเลย ไม่ว่าจะฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วย จึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยเพื่องดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาใช่ผลโดยตรงจากการขับรถของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐาน ขับรถโดยประมาทตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 คงผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ.มาตรา 291
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 7981/2548 จำเลยขับรถไฟมาไม่เร็ว เสียงเงียบและไม่ได้เปิดหวีดรถไฟ บริเวณที่เกิดเหตุเป็นชุมนุมชน มีบ้านเรือนอยู่สองข้างทางรถไฟเป็นจำนวนมาก มีร่องรอยเป็นทางเดินชัดเจน จำเลยควรเปิดหวีดรถไฟเพื่อให้คนที่สัญจรไปมาทราบเป็นระยะๆ การที่จำเลยไม่เปิดหวีดรถไฟเป็นสัญญาณเพื่อเตือนคนที่สัญจรไปมาทราบว่ามีขบวนรถไฟขับผ่านมา ทำให้รถไฟที่จำเลยขับชนทับเด็กหญิง ส.ผู้ตาย และเด็กหญิง ว.ผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และผู้เสียหายได้รับอันตราสาหัส จึงเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส ส่วนผู้ตายและผู้เสียหายแม้จะมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่ ก็ไม่ใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อปัดความรับผิดได้

-          มาตรา 291 การกระทำยังไม่ถึงขั้นประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2571/2540 จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วประมาณ 80 ถึง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อขับรถมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุ ไม่มีรถแล่นอยู่ข้างหน้า เห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ตัดข้ามถนนจำเลยใช้สัญญานแตรเตือน 2 ครั้ง ก่อนหักหลบไปทางขวา แต่ผู้ตายตกใจเร่งเครื่องยนต์พุ่งออกมาอีก จำเลยห้ามล้อรถยนต์แล้ว แต่ไม่สามารถหยุดรถได้ทัน เมื่อปรากฏว่าเส้นทางเดินรถของจำเลยเป็นทางเอก ซึ่งผู้ตายจะต้องหยุดรถให้รถของจำเลยผ่านไปก่อน ประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน การที่ผู้ตายเห็นแสงไฟรถของจำเลยยังขับข้ามถนนจนเกิดชนกันขึ้น เป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะหลีกเลี่ยงได้ จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลที่อยู่ในภาวะเช่นจำเลยต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์แล้ว แม้รอยห้ามล้อรถจำเลยจะยาวประมาณ 22 เมตร ก็ไม่อาจบ่งชี้ว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของรถที่แล่นสวนมา เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมายังไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยกระทำโดยประมาท จึงฟังลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 7143/2544 ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถโดยสารประจำทางที่จำเลย ขับห่าง 1 เมตรเศษ แล้วรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับได้เสียหลักล้มลง รถยนต์โดยสารประจำทางที่จำเลยขับจึงได้แล่นทับผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับแซงแล้วเสียหลักล้มลงอย่างกะทันหันหน้ารถยนต์โดยสารประจำทางที่จำเลยขับห่าง 1 เมตรเศษ เป็นระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยจะหยุดรถได้ทัน กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงมิใช่เกิดจากความประมาทของจำเลย / หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปโดยไม่ได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าไม่มีเจตนา ไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทันที เพราะไปแจ้งให้เจ้าของรถทราบเหตุหาได้ไม่

-          มาตรา 291 กรณีที่ ความตาย ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 153/2506 จำเลยขับรถยนต์ไปโดยปลอดภัยเป็นระยะทางถึง 30 กิโลเมตร แต่ เนื่องจากจำเลยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้มาก จึงเป็นเหตุให้รถคว่ำ คนโดยสารตายและรับอันตรายสาหัส ดังนี้ จะลงโทษตามมาตรา 238 ไม่ได้ เพราะความตายหรืออันตรายสาหัสนั้น ไม่ใช่เรื่องมาจากเหตุที่มีการบรรทุก แต่เนื่องมาจากเหตุที่จำเลยขับรถเร็วอันเป็นการประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 983/2508 (สบฎ เน 552) 291 ต้องเป็นการกระทำโดยประมาท และเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตาย การกระทำตามมาตรานี้ไม่รวมถึงการละเว้น การที่จำเลยที่ 1 “ไม่ไปตรวจหัวประแจก่อนที่รถจะมาถึง ก็เป็นเพียงละเว้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ เป็นคนละเรื่องกับการกระทำโดยประมาท การไม่ไปตรวจ ไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้รถชนกัน ผลโดยตรงที่ทำให้รถชนกันอยู่ที่ การเปลี่ยนหัวประแจ ไม่สับกลับซึ่งเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามมาตรา 291
-          & ตามแนวคิดเรื่องการตรวจสอบซ้ำ (Double Check) ใช้กับเรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ เช่นการเดินรถไฟ ซึ่งมีประชาชนใช้บริการเป็นจำนวนมาก การรักษาความปลอดภัยในระบบการเดินรถไฟ เป็นเรื่องสำคัญ หากข้อเท็จจริงฟังได้ชัดว่า จำเลยที่ 1 นอกจากมีหน้าที่ตรวจหัวประแจโดยตรงแล้ว และเมื่อพบว่าการสับรางยังไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องทันที การกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ที่ไม่ไปตรวจหัวประแจ ถือเป็นการงดเว้นกระทำการ โดยประมาทแล้ว และถือเป็นเหตุที่สำคัญอันหนึ่งซึ่งทำให้เกิดผลคือรถไฟชนกัน และมีผู้ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในผลของการกระทำนั้นโดยตรง ตามทฤษฎีเงื่อนไข ประกอบกับทฤษฎีเหตุที่สำคัญ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2961/2524 (คดีละเมิด) ความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ตายแต่ฝ่ายเดียว ที่ขับรถจักรยานยนต์โดยไม่ชำนาญ ผ่านทางแยก ชนรถยนต์ที่จำเลยขับ แม้จำเลยขับรถยนต์ผ่านทางแยกด้วยความเร็วประมาณ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ความเสียหายเกิดจากความผิดของผู้ตายฝ่ายเดียว มิใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยขับรถเร็วฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรฯ จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อผู้ตาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5439/2536 จำเลยขับรถไถในทางเวลากลางคืนมีหน้าที่ต้องเปิดไฟแสงแดงที่ท้ายรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (.. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.. 2522 เมื่อท้ายรถไถที่จำเลยขับมีผานไถ และจานไถบรรทุกอยู่ยื่นออกนอกตัวรถไปด้านท้ายประมาณ 2 เมตร จำเลยมีหน้าที่ต้องใช้โคมไฟแสงแดงติดไว้ที่ปลายสุดของผานไถและเปิดไว้ด้วย แต่เมื่อจำเลยเปิดไฟท้ายและไฟส่องผานไถซึ่งเป็นไฟสปอตไลท์ขนาดใหญ่ สามารถส่องกระจายแสงได้กว้างและเห็นได้ในระยะไกล และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยยกผานไถไว้ในระดับที่บดบังไฟท้าย ไฟส่องผานไถและแผ่นวงกลมสีแดงสะท้อนแสง จนไม่สามารถมองเห็นรถไถได้จากระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร แม้จำเลยจะไม่ติดโคมไฟแสงแดงไว้ที่ปลายสุดของผานไถ ก็ไม่ใช่สาเหตุโดยตรง ให้รถยนต์ที่ผู้ตายขับตามหลังชนถูกผานรถไถที่จำเลยขับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 598/2538 จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง โดยประมาทน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินไม่ขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัย ในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ ดังนั้นไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่โจทก์นำสืบ หรือตามที่จำเลยนำสืบ ก็ยังได้ชื่อว่าจำเลยมีส่วนประมาทอยู่นั่นเอง / เมื่อเปรียบเทียบร่องรอยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ทั้งสามคันแสดงให้เห็นว่ารถ ส. ชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นอย่างแรง แล้วถึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ทั้งปรากฏว่ามีรอยเบรกรถจำเลยยาวถึง 12 เมตร แสดงว่าขณะรถจำเลยชนท้ายรถ ส. น่าจะเป็นเพียงการลื่นไถล หลังจากที่จำเลยใช้ห้ามล้อยามถึง 12 เมตรแล้ว แรงชนจากรถจำเลย จึงไม่มากนัก มีผลเพียงทำให้ ก.และ ท.ซึ่งนั่งอยู่หน้ารถจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจากจุดชนมากกว่า ก. และ ท. กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ แม้จำเลยจะมิได้ขับรถมาชนท้ายรถ ส. ผู้ตายทั้งสองก็ถึงแก่ความตาย เนื่องจากรถ ส. ชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นอยู่นั่นเอง ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสอง มิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดย ประมาทของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตาย คงมีความผิดเพียงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ก. และ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2588/2541 (สบฎ สต 97) จำเลยติดตั้งตาโต่ง (เครื่องมือจับปลา) มานาน 10 ปี ชาวบ้านสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหตุเกิดเพราะผู้ตายนั่งห่วงยางเล่นน้ำ และห่วงยางกระทบเสาตาโต่ง เป็นเหตุให้ผู้ตายตกไปในตาโต่ง โดยความประมาทของผู้ตาย การวางตาโต่งในคลองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงแต่ผิด พรบ การประมง และความตายไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย แม้จำเลยไม่ทำสัญญาณว่ามีการลงอวนไว้ หรือทำสิ่งป้องกันไว้ ก็ไม่ผิด ม 291
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3382/2542 (สบฎ สต 83) จำเลยบอกให้เด็กว่ายน้ำข้ามไป โดยบอกว่าจะลงมาช่วย คงเป็นเพียงคำชี้แนะ ไม่ใช่บังคับ เมื่อเด็กหญิงตัดสินใจว่ายน้ำข้ามไปและจมน้ำ เพราะกระแสน้ำไหลเชี่ยว เป็นการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยของเด็กหญิง ทั้งไม่ใช่ผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของจำเลย จำเลยจึงมิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย (แม้เด็กหญิงจะสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยด้วย ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กหญิงตาย แต่เด็กย่อมมีวุฒิภาวะน้อย การที่จำเลยชี้แนะให้เด็กว่ายน้ำข้าม โดยบอกว่าจะลงมาช่วย แต่ไม่สามารถจะช่วยเหลือให้เด็กปลอดภัยได้ นับว่าจำเลยกระทำโดยประมาท และเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เด็กหญิงตายด้วย ถือเป็นเหตุโดยตรงสำหรับความตาย และควรต้องรับผิดตามมาตรา 291 นี้ด้วย)

-          มาตรา 291 ประเด็นเปรียบเทียบ เหตุแทรกแซง เรื่องการเสี่ยงภัยของผู้เสียหาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 500/2498 จำเลยขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ทับนายทองผู้โดยสารตาย แม้จะได้ความว่านายทองโดดลงไป รถจึงทับก็ตาม แต่การที่นายทองโดดลงไปนั้น ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงอันตรายอันจะเกิดขึ้นฉะเพาะหน้า ความตายของนายทอง เป็นผลใกล้ชิดกับเหตุแห่งการขับรถโดยประมาทของจำเลย จำเลยจึงผิดตามมาตรา 252 (มาตรา 291) อ้างฎีกาที่ 418/2481
-          & ผู้เสียหายตัดสินใจเสี่ยงภัย ในลักษณะปกติ ตามพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น อันเนื่องมาจากจำเลยขับรถโดยประมาทน่าหวาดเสียว ถือเป็นเหตุแทรกแซงอันคาดหมายได้ จำเลยต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น คือ ต้องรับผิดในการตายของผู้เสียหาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 114/2510 จำเลยไม่ได้ขับรถเร็ว และทางลากไม้ที่ขับมานั้น เป็นทางจำกัด บังคับให้ขับ โดยข้างหนึ่งเป็นคลอง อีกข้างหนึ่งเป็นเขาจะขับให้ห่างคลองไปอีกไม่ได้ เพราะติดเขา การที่ล้อพ่วงเอียงนั้น ก็เนื่องจากที่ตรงนั้นเป็นหลุมเอาหินกองไว้ หินแตก เป็นเหตุให้ระดับล้อที่ผ่านไปทรุดต่ำลง และรถคันที่จำเลยขับก็ไม่ได้คว่ำ ถ้าผู้ตายไม่ด่วนตัดสินใจกระโดดจากรถเหมือนคนอื่น ก็คงไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด ดังนี้หาใช่ความประมาทของจำเลยไม่
-          & ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกานี้ จำเลยไม่ได้กระทำโดยประมาท ไม่ผ่านองค์ประกอบความรับผิดในข้อหาตามมาตรา 291 นี้ จำเลยไม่มีความผิด โดยไม่ต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำ และผลที่เกิดขึ้น
-          & อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้เสียหายตัดสินใจเสี่ยงภัย ในลักษณะผิดปกติไปจากพฤติการณ์ในขณะนั้น ถือเป็นเหตุแทรกแซงอันคาดหมายไม่ได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น คือ ไม่ต้องรับผิดในการตายของผู้เสียหาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1436/2511 จำเลยขับรถด้วยความประมาท ชนเสาไม้ปักริมทาง แฉลบจะไปชนเสาไฟฟ้าอย่างแรง อันเป็นการหวาดเสียวและใกล้อันตราย ดังนั้นการที่ผู้ตายกระโดดลงจากรถในระยะกระชั้นชิดกับที่รถยนต์ จะชนเสาไฟฟ้า เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าและถึงแก่ความตาย ถือว่าเป็นผลอันเกิดใกล้ชิดกับเหตุที่จำเลยขับรถด้วยความประมาท จำเลยถึงมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท

-          มาตรา 291 ความรับผิดของนิติบุคคล ในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3446/2537 บริษัท ส. จำกัด จำเลยที่ 1 และนาย ว. กรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ซื้อขายถังก๊าซ อุปกรณ์ก๊าซ และเคมีภัณฑ์ ฯลฯ จำเลยที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ในวันเกิดเหตุ ลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง ขับรถบรรทุกก๊าซไปส่งลูกค้าด้วยความประมาท เป็นเหตุให้รถเสียหลักทำให้ถังก๊าซหลุดออกมา เกิดระเบิดเพลิงไหม้ มีคนตาย และบาเจ็บสาหัส รวมทั้งทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ... แม้อุบัติเหตุคดีนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทของลูกจ้าง ที่เป็นผู้ขับรถบรรทุกก๊าซดังกล่าวเกิดเหตุพลิกคว่ำ ... แต่ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผลของอุบัติเหตุครั้งนี้ มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1 (บริษัท ส. จำกัด) ด้วย เนื่องจากจำเลยที่ 1 มิได้นำรถคันดังกล่าว ไปรับการตรวจรับรองจากกรมโยธาธิการ และกระทวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 (พ.ศ.2514) ข้อ 3 โดยไม่ติดตั้งวาล์วนิรภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุกรณีก๊าซรั่วไหล ... ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังของจำเลยทั้งสอง ที่มิได้ทำการควบคุมดูแล เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่มุ่งคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยทั้งสอง จักต้องมีความวิสัยและพฤติการณ์... ศาลฎีกาพิพากาาลงโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 โดยให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ปรับ 20,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี และปรับ 20,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 291
-          (ขส พ 2519/ 9) แดงให้ดำช่วยสอนขับรถ แดงขับรถประมาทชนคน ดำเห็นแดงพลาด จึงหักพวงมาลัยรถ ชนคนตาย แดงบาดเจ็บสาหัส แดงและดำผิด ม 291 ดำผิด ม 300 อีกด้วย เพราะก่อนดำหักพวงมาลัย แดงขับรถมาในลักษณะน่าจะอันตรายอยู่แล้ว ฎ 1199/2510 ดำถือพวงมาลัย ทั้งที่ไม่อยู่ในสภาพที่จะขับหรือควบคุมรถได้ปลอดภัย จึงเป็นการประมาท

มาตรา 292     ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วยปัจจัยคล้ายคลึงกัน แก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตนในการดำรงชีพหรือในการอื่นใด เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้น หรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 292
-          (ขส อ 2530/ 4) แม่เลี้ยงเป็นผู้อนุบาล ดุด่าเฆี่ยนตี นส ก 15 ปี ให้ฆ่าตัวตาย นส ก ผูกคอตาย ขณะนั้น นาย ค ยิงให้ตกใจ เพื่อให้พลักตกและเชือกรัดคอ เมื่อตายแล้ว เห็นสร้อยจึงเอาไป / แม่เลี้ยงผิด ม 292 + เฆี่ยนตี ม 391 + 90 / นาย ค ผิด ม 288+ เอาทรัพย์ไป ม 334 1626/2500

มาตรา 293     ผู้ใดช่วยหรือยุยง เด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปี หรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตน มีสภาพหรือสารสำคัญอย่างไร หรือไม่สามารถบังคับการกระทำของตนได้ ให้ฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา 294     ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ ถึงแก่ความตายโดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

-          กรณีเข้าลักษณะเป็นการการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1684/2479 (อ จิตติ อาญา 2539/1981) การต่อสู้ต้องกระทำระหว่างบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะเป็นสองฝ่าย หรือกว่านั้น ไม่สำคัญ ไม่ใช่ว่า ฝ่ายหนึ่ง 2 คน อีกฝ่ายหนึ่ง คนเดียว ต่อสู้กัน แล้วจะไม่เป็นการชุลมุน ไม่เป็นวิวาท (แต่หากต่อสู้กัน ตัวต่อตัว เป็นการวิวาทต่อสู้กันตาม ม 378 แต่ไม่เป็นการชุลมุน)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 885/2509 จำเลยที่ 1 และ ท. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ร่วมในการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ท.บิดาจำเลยที่ 1 ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย ในการชุลมุนต่อสู้กันนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ร่วมในการชุลมุนต่อสู้กันนั้นด้วย ถึงแม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีอาวุธก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำ เพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้หรือป้องกันตัว จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 294
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2241/2522 ใช้สิ่งของขว้างปากับกลุ่มคน ที่ทะเลาะวิวาทกันเป็นการเข้าร่วมในการชุลมุนวิวาทด้วย เมื่อเป็นเหตุให้มีคนตาย เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.294

-          กรณีไม่เข้าลักษณะเป็นการการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1333/2510 จำเลยกับพวกเตรียมอาวุธจะไปทำร้ายเพื่อนผู้ตาย เมื่อพบผู้ตายกับเพื่อนพวกของจำเลยได้ใช้ปืนยิง ผู้ตายกับเพื่อนวิ่งหนี โดยไม่ได้ต่อสู้อย่างใด จำเลยตามไปตีผู้ตาย และพวกของจำเลยใช้ปีนยิงจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องสมัครใจเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้กัน แต่เป็นเรื่องจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้จำเลยจะไม่ใช้ปืนยิงผู้ตาย ก็ถือว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกของจำเลยฆ่าผู้ตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2642/2542 จำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 8 มีเจตนาร่วมวิวาททำร้ายผู้ตายกับพวกมาแต่แรก อีกทั้งได้ลงมือทำร้ายผู้ตายกับพวกโดยร่วมกันชกต่อยและใช้ไม้ตี ถึงแม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตาย เพราะถูกแทง โดยไม่รู้ว่าจำเลยคนไหนเป็นคนแทง จำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 8 ก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การที่จำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่งและผู้ตายกับพวกอีกฝ่ายหนึ่ง สมัครใจวิวาทต่อสู้ทำร้ายกัน แม้แต่ละฝ่ายมีหลายคน แต่เมื่อสามารถรู้และแบ่งพวกกันได้ หาใช่เป็นความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน เป็นเหตุให้มีบุคคลถึงแก่ความตายไม่

-          ความรับผิดในข้อหา เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนฯ กับความรับผิดในข้อหาอื่น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 791-792/2504 กรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และมีบุคคลถึงตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294 นั้น หมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใคร ได้ทำร้ายผู้ตายถึงตาย ถ้าเป็นกรณีที่ฝ่ายหนึ่งกลุ้มรุมทำร้ายผู้ตายถึงตาย ฝ่ายนั้นต้องรับผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 900/2508 (สบฎ เน 553) ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 - 2 ฝ่ายหนึ่ง กับผู้ตายอีกฝ่ายหนึ่ง ร่วมชุลมุนต่อสู้ทำร้ายกันและกัน ในการต่อสู้กันนี้ จำเลยที่ 1 ใช้มีดฟันผู้ตายถูกที่บริเวณศีรษะโดยมีเจตนาฆ่าให้ตาย ผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยบาดแผลนั้น ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 294 ไม่เป็นฟ้องที่ขัดแย้งกัน / ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294 ถ้าปรากฏว่าในพวกที่ชุลมุนกันนั้น บุคคลใดเป็นผู้กระทำให้ตาย อาจมีความผิดฐานฆ่าคนตายตามมาตรา 288 อีกบทหนึ่งต่างหาก เพราะมาตรา 294 ไม่ลบล้างความผิดฐานฆ่าคนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294 ผู้ที่ชุลมุนต่อสู้กันนั้น ต้องมีความผิดทุกคน เว้นแต่แสดงได้ว่าได้กระทำไปเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้ หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3713/2531 ผู้ตายถูกทำร้ายร่างกายในขณะเกิดชุลมุนต่อสู้ หรือสมัครใจวิวาทกันระหว่างฝ่ายผู้ตาย และฝ่ายจำเลยซึ่งได้เข้าร่วมในการชุลมุนตั้งแต่สามคนขึ้นไป โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้เข้าร่วมในการชุลมุนคนใด ใช้มีดแทงทำร้ายร่างกายผู้ตาย จนเป็นสาเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ จะถือว่าผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ทั้งหมด มีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตายไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตาม มาตรา 294 เท่านั้น

-          กระทำไปเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5568/2534 จำเลยที่ 1 เอามีดจี้ที่คอจำเลยที่ 2 ผู้ที่ประสพเหตุการณ์อยู่ในฐานะอย่างจำเลยที่ 2 คงไม่มีจิตใจที่จะพิเคราะห์ว่า จำเลยที่ 1 จะแทงจริงหรือไม่ ย่อมต้องดิ้นรนให้พ้นเหตุการณ์นั้น / จำเลยที่ 2 ชกจำเลยที่ 1 ไปทีเดียวในภาวะเช่นนี้นับเป็นการกระทำเพื่อป้องกันให้ตนพ้นอันตรายเท่านั้น หาได้มีเจตนาทำร้ายหรือสมัครใจวิวาทกับจำเลยที่ 1 ไม่ แม้ในเหตุการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฆ่า ร.ตายด้วย จำเลยที่ 2 ก็หามีความผิดฐานชุลมุนต่อสู้กัน และมีคนถึงแก่ความตามไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6476/2541 จำเลยที่ 1 กับพวกเพียง 5 คน นั่งมาด้วยกันบนรถโดยสารประจำทาง ส่วนผู้ตายกับพวกมีจำนวนประมาณ 30 คนที่ยืนคอยรถโดยสารประจำทางอยู่ การที่ฝ่ายผู้ตายกับพวกอาศัยพวกมาก ขึ้นไปทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงจำเป็นต้องป้องกันสิทธิของตนเอง หาใช่เป็นการสมัครใจเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ถอดเข็มขัดและใช้หัวเข็มขัดป้องกันขัดขวาง มิให้ฝ่ายผู้ตายขึ้นมาบนรถทางประตูหน้า และประตูหลัง แสดงว่า ฝ่ายจำเลยที่ 1 กับพวกได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ และไม่ได้ความว่าการที่ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5  จึงไม่ต้องรับโทษฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้คนตาย

-          กรณีไม่ใช่การกระทำไปเพื่อป้องกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1413/2512 จำเลยได้ท้าทายให้ผู้เสียหายออกมาสู้กัน ผู้เสียหายรับคำท้า และได้ต่อสู้กันขึ้นนั้น ย่อมเป็นการสมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เมื่อจำเลยได้ใช้ปืนยังผู้เสียหายหลายนัดโดยเจตนาฆ่า แม้กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ต้องมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น / (อ จิตติ อาญา 2539/1979) ฝ่ายหนึ่งท้า แล้วอีกฝ่ายหนึ่งเข้าต่อสู้ ถือว่าสมัครใจวิวาท อ้างป้องกันไม่ได้ ใครลงมือทำร้ายก่อน ไม่สำคัญ

-          เปรียบเทียบแนวฎีกา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 96476/2541 (สบฎ สต 97) จำเลยกับพวก 5 คน ส่วนผู้ตายกับพวกมี 30 คน เข้าทำร้ายกลุ่มจำเลยก่อน จำเลยกับพวกถอดเข็มขัดและใช้หัวเข็มขัดป้องกันไม่ให้ผู้ตายกับพวกขึ้นมาบนรถ แสดงว่าป้องกันพอสมควรแก่เหตุ และไม่ได้ความว่าความตายเกิดจากจำเลยกับพวก "จึงไม่ต้องรับโทษตาม ม 294" (ผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ)

-          ประเด็นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1923/2521 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวก ร่วมกันรุมต่อย และใช้มีดแทง ว โดยเจตนาทำร้าย แต่ ว ถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตาม ปอ ม 290 ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยชุลมุนต่อกับพวก ว มีผู้แทง วได้รับบาดเจ็บถึงตาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง ในข้อสาระสำคัญ และลงโทษตาม ปอ ม 294 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3141/2527 ฟ้องจำเลยตาม ป.อ. ม.290 ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทำร้ายผู้ตาย เกิดจากการที่จำเลยกับพวก และผู้ตายกับพวก สมัครใจเข้าทำร้ายกัน ไม่ใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง เพราะเป็นเรื่องที่รู้ตัวว่าใครทำร้ายใคร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1229/2532 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกันฆ่าคนตายหรือทำร้ายร่างกาย จนได้รับอันตรายสาหัส แต่ทางพิจารณาได้รับว่าเป็นการชุลมุนต่อสู้กันตาม ปอ มาตรา (294 หรือ) 299 โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ฆ่า หรือทำร้าย เป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยตาม ม 294 หรือ 299 ไม่ได้

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 294
-          (ขส พ 2529/ 7) ก ข แดง ดำ สมัครใจวิวาท แดงใช้ไม้ซีกตี ก ทีเดียว ก ตาย / ทุกคนผิด ม 294 แดงต้องรับผลที่ตนทำ แต่ยังไม่พอฟังว่า มีเจตนาฆ่า แดง ผิด ม 294+290 505/2504 1064/2519 / สมบอกให้สมชายขว้างอิฐไปที่ ข และ ดำ ตีกัน สมชาย ตรงไปที่ ข และดำ ตีกัน แล้วขว้างอิฐไปตรงที่วิวาท ทำให้บาดเจ็บ ผิด ม 295 / สมใจผู้ใช้ให้สมชายขว้าง ผิด ม 295+84
-          (ขส พ 2534/ 4) ชุลมุนต่อสู้กัน ฝ่ายละสองคน (แบ่งฝ่ายได้) ฝ่ายหนึ่งยิงปืนขึ้นฟ้า ถูกช่างไฟฟ้าตาย ผิด ม 294 ไม่เป็นการป้องกันตัว ฎ 885/2509 + การร่วมชุลมุนต่อสู้ที่ถนนซอยสาธารณะ ผิดฐานกระทำให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะ ตาม ม 372 ด้วย + และเป็นการใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ตาม ม 391 + ปรับ ม 90 ลงโทษ ม 294 / เด็ก 7 ปี ไม่ได้ร่วมชุลมุนต่อสู้มาตั้งแต่แรก โยนเก้าอี้ใส่กลุ่มผู้ชุลมุนต่อสู้ เป็นการเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ เก้าอี้ไม่ถูกผู้ใด ผิด ม 294 2241/2522 + และการโยนเก้าอี้เข้าใส่ แต่ไม่ถูกผู้ใด เป็นการพยายามทำร้ายร่างกาย ตาม ม 295+80 + และผิดลหุโทษ เช่นเดียวกับผู้ชุลมุน 372 + 391 + แต่อายุไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องรับโทษตาม ม 73

ไม่มีความคิดเห็น: