ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“ตายแล้วแบ่ง”

เมื่อถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุด การคิดส่วนทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยามีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดเพราะการตาย และการแบ่งทรัพย์สินของสามีภรรยาให้อยู่ในบังคับว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย สินสมรสของคู่สมรสจึงแยกออกจากกันทันทีที่คู่สมรสถึงแก่ความตาย สิ้นสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดก อีกกึ่งหนึ่งตกแก่คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ คำพิพากษาฏีกา ๗๕๓๖/๒๕๓๗
ข้อสังเกต ๑. เมื่อคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถึงแก่ความตาย ให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา(สินสมรส) เช่นเดียวกับการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย นั้นก็คือหากยังมีชีวิตอยู่การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่ทำการหย่าเป็นอย่างไร การแบ่งทรัพย์สินในระหว่างที่คู่สมรสถึงแก่ความตายก็เป็นแบบนั้น นั้นก็คือ การแบ่งทรัพย์สินของคู่สมรสที่ทำการหย่าโดยความยินยอม ป.พ.พ. มาตรา๑๕๓๓ ให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่าๆกัน ดังนั้น กรณีที่คู่สมรสตายก็ต้องแบ่งทรัพย์สินให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายได้ส่วนเท่าๆกันด้วยนั้นเอง คือแบ่งทรัพย์สินออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่หนึ่งส่วน และของคู่สมรสที่ถึงแก่กรรมอีกส่วนหนึ่ง แต่ทรัพย์สินของคู่สมรสที่ถึงแก่กรรมย่อมตกเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทซึ่งรวมทั้งคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นทายาทที่มีส่วนรับมรดกในส่วนนี้ด้วย
๒.ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามที่มีอยู่ในเวลาที่จดทะเบียนหย่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๒(ก) นั้นการคิดส่วนแบ่งมีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดด้วยการตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๒๕(๑)ตอนท้าย นั้นก็คือหากคู่สมรสยังมีชีวิตอยู่แล้วมาจดทะเบียนหย่าต้องแบ่งทรัพย์สินตามที่มีอยู่ในวันจดทะเบียนหย่า แต่ในกรณีที่คู่สมรสถึงแก่ความตายกฎหมายบอกให้แบ่งทรัพย์มรดกเสมือนหนึ่งว่าจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมนั้นก็คือเมื่อคู่สมรสฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายต้องแบ่งทรัพย์สินตามที่มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย โดยต้องแบ่งออกเป็นสองส่วน ตามเรื่องบทบัญญัติในการหย่าด้วยความยินยอมคือ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งตกแก่คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ อีกกึ่งหนึ่งตกแก่ผู้ตาย แต่เนื่องจากผู้ตายถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินในส่วนนี้จึงตกเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ซึ่งก็คือคู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่รวมทั้งทายาทคนอื่นด้วย ซึ่งทายาทของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตายอาจเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทตามพินัยกรรมก็ได้ ซึ่งในส่วนทายาทโดยธรรมนั้นคู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นทายาทโดยธรรมด้วย
๓.แม้คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสจะแยกกันอยู่ ตราบใดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแม้จะแยกกันอยู่นานเท่าใดก็ยังเป็นคู่สมรสอยู่ หากต่อมาต่อมาคู่สมรสฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายกรณีก็เข้าตามข้อสังเกตข้อ ๑ และข้อ ๒.
๔.ในกรณีที่คู่สมรสที่ถึงแก่ความตายทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อให้คู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต ซึ่งเงินตามสัญญาประกันชีวิตที่ผู้รับประกันจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์ ไม่ใช่ทรัพย์มรดก เพราะสิทธิ์เรียกร้องนี้เกิดขึ้นภายหลังการตายของเจ้ามรดก จึงไม่ใช่มรดกเมื่อคู่สมรสฝ่ายนั้นถึงแก่ความตายกรณีไม่ต้องตามข้อสังเกต ข้อ ๑ และ ๒จึงไม่จำต้องแยกเงินในส่วนนี้ออกเป็นสองส่วนในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามข้อสังเกตข้อ๑ละ ๒ แต่อย่างใด ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้คือ
๔.๑ หากในสัญญาประกันชีวิตระบุให้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตทั้งหมด คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิ์รับเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมด โดยไม่ถือเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท และไม่ต้องแบ่งทรัพย์ดังกล่าวออกเป็นสองส่วนตามข้อสังเกต ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ แต่อย่างใด
๔.๒แต่หากพิสูจน์ได้ว่าผู้ตายส่งเงินเบี้ยประกันสูงเกินกว่ารายได้หรือฐานะของตน ตามปกติ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องนำเงินที่สูงกว่าดังกล่าว(ส่วนที่สูงเกินรายได้หรือฐานะของผู้เอาประกันซึ่งเป็นคู่สมรสที่ถึงแก่ความตาย)ไปชดใช้ให้แก่สินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหรือให้ใช้แก่สินสมรสของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตาย นั้นก็คือ คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จากการประกันชีวิตของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตายต้องหักเงินที่ตนจะได้รับชดใช้เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตายเพียงเท่าที่จำนวนเบี้ยประกันภัยที่สูงกว่าเงินที่ผู้ตายพึงส่งเงินเบี้ยประกันตามรายได้หรือฐานะของผู้ตาย (ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๗) ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้คู่สมรสเอาสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นเบี้ยประกันสูงเกินเหตุโดยตนเองเป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งจะทำให้ทายาทรายอื่นไม่มีทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตายมาแบ่งเป็นมรดกได้ เพราะเงินที่ไม่ใช่สินส่วนตัวแล้วได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส การที่เอาสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งมาจ่ายเป็นเบี้ยประกันโดยระบุให้ตนเป็นผู้รับประโยชน์ย่อมเป็นการเอาสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งมาชำระเบี้ยประกันทั้งที่หากไม่นำสินส่วนตัวดังกล่าวมาจ่ายเบี้ยประกันแล้วก็ไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้เพราะเกินฐานะความเป็นอยุ่ของคู่สมรสฝ่ายที่เอาประกันได้ แทนที่เงินจำนวนดังกล่าวจะตกเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทแต่ก็ถูกนำมาจ่ายเป็นเบี้ยประกัน
๔.๓ เงินเบี้ยประกันที่ต้องส่งคืนตามข้อ ๔.๒ ต้องไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้รับประกันชำระให้ คือคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่ที่เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตต้องหักเงินออกชดใช้ให้แก่สินส่วนตัวของอีกฝ่าย หรือชดใช้แก่สินสมรส ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้รับประกันได้ชำระ คือชดใช้เพียงเท่าที่พิสูจน์ได้ว่าสูงกว่าจำนวนที่พึงส่งได้เท่านั้น หาใช่เบี้ยประกันทั้งหมดที่ได้ส่งไปแล้วไม่ ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๗ วรรคท้าย
๕.ส่วนการรับประโยชน์จากเงินปี(เงินที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้จ่าย” ได้รับเงินจากคู่สัญญาอีกฝ่ายเรียกว่า “ผู้รับ” โดยมีข้อตกลงกันว่าให้ “ ผู้จ่าย” จ่ายเงินเมื่อครบกำหนดจำนวนปีตามที่ตกลงไว้จนกว่าผู้รับจะตาย) ดังนั้น บริษัทจะจ่ายเงิน(เงินปีหรือเบี้ยเลี้ยงชีพ)ให้ผู้รับซึ่งเป็นคู่สมรสร่วมกันเป็นรายปีตลอดไปจนกว่าคู่สมรสฝ่ายใดจะถึงแก่ความตาย ผู้จ่ายจึงหยุดจ่ายเงิน หรือกรณีมีข้อตกลงว่าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอายุครบตามจำนวนปีที่กำหนด ผู้จ่ายจะจ่ายเงินให้คู่สมรสรวมกันเป็นรายปี แต่หากคู่สมรสฝ่ายใดถึงแก่ความตาย ผู้จ่ายคงจ่ายเงินให้แก่คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปจนตลอดอายุของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๘ หาก” ผู้จ่าย” เรียกเงินเพิ่มจากกการที่คู่สมรสนำเงินมาลงทุน เป็นเงินเพิ่มจำนวนเท่าใดก็ตามเพื่อจ่ายให้แก่คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องชดใช้สินส่วนตัวหรือสินสมรสแล้วแต่กรณี เพื่อชดใช้ในส่วนที่ “ผู้จ่าย” เรียกเก็บแล้ว ในส่วนของผู้ตายย่อมตกเป็นทรัพย์มรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตต่อไป ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อส่งเงินครบตามสัญญาแล้ว ย่อมได้รับเงินตอบแทนแต่ละปีจนกว่าจะถึงแก่ความตาย เมื่อถึงแก่ความตายแล้วก็ยังจ่ายให้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งในการทำสัญญาเช่นนี้ทำให้ “ สินเดิม” หรือ “ สินสมรส”ของเจ้ามรดกน้อยเกินไปกว่าที่ควร จึงสมควรให้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ชดใช้เพื่อจะเป็นทรัพย์มรดกแบ่งให้แก่ทายาทตามส่วน ซึ่งก็คือชดใช้เข้า “ กองมรดก” ของผู้ตายต่อไป โดยชดใช้เท่ากับจำนวนซึ่ง “ ผู้จ่าย” เรียกให้ใช้เพิ่มขึ้น นั้นก็คือ ชดใช้ให้ “ สินเดิม” หรือ “ สินสมรส” ของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตายเพื่อเข้ากองมรดกของคู่สมรสเพื่อตกทอดแก่ทายาทของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตายต่อไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๘
๖.พรบ.ให้ใช้บรรพ ๕แห่ง ป.พ.พ. ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ ให้ถือว่า “ สินเดิม” ของฝ่ายใดเป็น “ สินส่วนตัว” ของฝ่ายนั้น แต่หาได้มีความหมายว่า “ สินเดิม” คือ “ สินส่วนตัว” ไม่

ไม่มีความคิดเห็น: