ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“ภรรยานอกสมรส”

โจทก์เป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินต่างๆที่หามาได้ระหว่างที่อยู่กินกันโจทก์ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของกึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของร่วม แม้ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทเพียง “โจทก์เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทตามฟ้องหรือไม่” แต่ในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวศาลต้องพิจารณาคำฟ้องคำให้การของโจทก์จำเลยด้วยว่า โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมด้วยนั้น โจทก์อ้างโดยอาศัยเหตุอะไรและจำเลยยอมรับหรือไม่ คดีนี้ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย โดยอ้างเหตุว่า ทรัพย์สินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลย ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้น “ในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงต้องวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนว่ารับฟังได้ดังที่กล่าวในฟ้องหรือไม่ “ หากรับฟังได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิ์ขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของร่วม หากรับฟังไม่ได้โจทก์ก็แพ้คดี ประเด็นที่ว่า “ โจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยหรือเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกกหมายของจำเลยหรือไม่ “ จึงเกี่ยวประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ และเป็นประเด็นสำคัญนำไปสู่การวินิจฉัยเรื่องการเป็นเจ้าของร่วมของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น คำพิพากษาฏีกา ๔๙๐๒/๒๕๔๕
ข้อสังเกต ๑.ในคดีอาญา ป.ว.อ. มาตรา ๑๙๒ ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในฟ้องซึ่งมีหลักการเดียวกับ ในคดีแพ่ง ซึ่งตาม ป.ว.พ. มาตรา ๑๔๒ ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต้จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.ว.พ. มาตรา ๑๔๒(๑)ถึง(๖)
๒.ในวันชี้สองสถาน ศาลจะตรวจดูคำฟ้อง คำให้การ คำแถลง แล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความต่างๆมาเปรียบเทียบดู พร้อมสอบถามคู่ความถึงข้ออ้างข้อเถียงและพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาล ว่าฝ่ายใดยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างข้อเถียงอันไหน ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความรับกันก็เป็นอันยุติไปไม่ต้องสืบพยาน ส่วนข้อเท็จจริงหรือข้อกฏหมายที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับ ให้ศาลกำหนดเป็น “ ประเด็นข้อพิพาท” และให้คู่ความนำพยานหลักฐานมาสืบ
๓.ในการที่ศาลสอบถาม คู่ความต้องตอบคำถามของศาลหรือของคู่ความอีกฝ่ายที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายยกเป็นข้ออ้างข้อเถียง และพยานหลักฐานต่างๆที่จะยื่นต่อศาล ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความไม่ยอมตอบหรือปฏิเสธโดยไม่มีเหตุอันควร ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่สามารถตอบได้หรือไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธในขณะนั้น ถือว่า “ ยอมรับ” ข้อเท็จจริงนั้นแล้ว
๔.คู่ความสามารถคัดค้านประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนดว่าไม่ถูกต้อง โดยแถลงต่อศาลในขณะนั้นหรือยื่นคำร้องภายใน ๗ วันนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบ ซึ่งศาลต้องชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวก่อนวันสืบพยาน ซึ่งคำสั่งดังกล่าวเป็น “คำสั่งระหว่างพิจารณาคดี” จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความโต้แย้งคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลจดข้อโต้แย้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ซึ่งสามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายใน ๑ เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
๕.เมื่อศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้ว คู่ความที่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่สนับสนุนคำคู่ความของตน คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระในการพิสูจน์ แต่หากมีข้อสันนิษฐานในข้อกฏหมายใดหรือข้อสันนิษฐานที่ควรเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความใด คู่ความนั้นเพียงพิสูจน์เพียงตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนก็เพียงพอแล้วที่จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้น เมื่อคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างแล้วอีกฝ่ายปฏิเสธเมื่อคู่ความที่กล่าวอ้างนั้นนำสืบแล้ว อีกฝ่ายที่ปฏิเสธจึงนำสืบแก้ แต่ข้อเท็จจริงใดที่รู้กันอยู่ทั่วไปเช่นใน ๑ สัปดาห์มี ๗ วัน หรือไม่อาจโต้แย้งได้เช่นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตก หรือที่คู่ความยอมรับหรือยอมรับในศาลคู่ความไม่ต้องสืบ
๖.เมื่อมีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วห้ามไม่ให้คู่ความนำสืบนอกประเด็นข้อพิพาท ไม่งั้นจะเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกคำให้การ และห้ามศาลพิพากษานอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทด้วย
๗.ภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีถือไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี แต่ถือว่าอยู่ในฐานะนางบำเรอของชาย ทรัพย์สินที่ได้มา “ภายหลัง”หรือ “ในระหว่าง” อยู่กินกันฉันสามีภรรยา ไม่ใช่สินสมรสที่จะต้องแบ่งกันคนละครึ่งหลังจากหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน แต่ในขณะเดียวกันก็ถือได้ว่าอาจเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินต่างๆที่หามาได้ระหว่างที่อยู่กินกันย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของกึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของร่วม ดังนั้นแม้ศาลจะตั้งประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทตามฟ้องหรือไม่” แต่ในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวศาลต้องพิจารณาคำฟ้องคำให้การของโจทก์จำเลยด้วยว่า โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมด้วยนั้น โจทก์อ้างโดยอาศัยเหตุอะไรและจำเลยยอมรับหรือไม่ การที่จำเลยอ้างว่า ว่า ทรัพย์สินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลย ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้น “ในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงต้องวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนว่ารับฟังได้ดังที่กล่าวในฟ้องหรือไม่ “ หากรับฟังได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิ์ขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของร่วม หากรับฟังไม่ได้โจทก์ก็แพ้คดี ดังนั้น ประเด็นที่ว่า“ โจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยหรือเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายของจำเลยหรือไม่ “ จึงเกี่ยวประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ และเป็นประเด็นสำคัญนำไปสู่การวินิจฉัยเรื่องการเป็นเจ้าของร่วมของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น นอกคำฟ้อง นอกคำให้การแต่อย่างใดไม่

ไม่มีความคิดเห็น: