ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“ละเมิดทางปกครองหรือทางแพ่ง”

ในคดีพิพาทคดีนี้เนื่องจากนาย ส. คนขับรถของกรม ส. ขับรถผ่านสัญญาณจราจรที่แสดงให้หยุดรถโดยไม่ดูให้ดีก่อนว่ามีรถไฟผ่านมาหรือไม่เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถไฟ โดยที่มีนาย พ. เป็นคนขับรถไฟ โดยที่เครื่องกั้นถนนยังไม่ปิดกั้นซึ่งมีนาย บ. พนักงานกั้นถนนปฏิบัติหน้าที่ในขณะเกิดเหตุทำให้รถคันดังกล่าวตกไปข้างทาง ๕๐ เมตรเสียหายทั้งคันไม่สามารถซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิมโดยรถคันดังกล่าวไม่ได้ทำประกันภัยบุคคลที่สามไว้เพราะเป็นรถทางราชการ และได้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ส่วนรถไฟเสียหายเล็กน้อย โดยเมื่อขณะรถมาถึงที่เกิดเหตุ รถได้ชะลอความเร็วของรถลงแล้ว แต่เครื่องปิดกั้นถนนของทางรถไฟไม่ได้ปิดกั้นถนน สัญญาณไซเรนและสัญญาณโหม่งไม่ทำงาน ไม่มีพนักงานกั้นของทางการรถไฟเข็นแผงมาปิดกั้นถนน โดยนาย ส.คนขับรถมองไม่เห็นรถไฟจึงได้ขับรถ ซึ่งในขณะนั้นนาย พ. พนักงานขับรถไฟแล่นมาถึงป้ายหวีดรถจักรก่อนถึงทางข้าม ได้เปิดหวีดเตือน เมื่อผ่านป้ายหวีดไป ๒๐๐ เมตร เห็นสัญญาณผ่านเสมอระดับทางไม่แสดงท่าอนุญาต จึงเปิดหวีดรถไฟเตือนให้พนักงานกั้นถนนและยานพาหนะและเริ่มห้ามล้อ เพราะทราบว่าถนนยังไม่ได้ปิดกั้นแต่ด้วยความเร็วของรถไฟที่มีความเร็ว ๙๖ถึง๙๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมงจึงเลื่อนไหล ทั้งเป็นทางโค้งเข้าสู่ทางตรงลาดก่อนถึงทางตัดและมองเห็นรถยนต์วิ่งมาด้วยความเร็วโดยไม่หยุดรถ โดยมีคนยืนข้างซุ้มข้างที่กั้นโดยรถยนต์อยู่ห่างทางตัด ๓๐ เมตร จึงได้เปิดหวีดเรื่อยมา แต่รถไฟผ่านสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทางก่อนเฉี่ยวชนกับรถยนต์ เป็นเหตุให้รถไฟเสียหายเล็กน้อย รถยนต์เสียหายทั้งคันไม่สามารถซ่อมได้ มีคนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ พนักงานอัยการจังหวัด อ.ได้ดำเนินคดีอาญากับนาย พ. (คนขับรถไฟ) นาย บ.(พนักปิดกั้นถนน และนาย ส. คนขับรถยนต์ แต่เนื่องจากนาย ส.ถึงแก่ความตาย พนักงานอัยการมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีกับนาย ส. ในส่วนความรับผิดทางแพ่งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีความรับผิดทางละเมิด มีความเห็นให้นาย พ. นาย บ. และนาย ส. ร่วมกันรับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นส่วนเท่าๆกัน แต่นาย ส. เสียชีวิตจึงเรียกร้องให้ทายาทรับผิดแทน โดยแจ้งทายาทหรือผู้จัดการมรดกนาย ส.ให้ใช้ค่าเสียหายภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่รับหนังสือ แต่ทายาทเพิกเฉยโดยมีสิทธิ์เรียกร้องนับแต่วันที่ ๒๕ ส.ค.๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันที่อธิบดีฯได้รับแจ้งผลการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดจากกรมบัญชีกลาง โดยนาย ส. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ ๙ ก.ค. ๒๕๕๑ โดยไม่ทราบสิทธิ์เรียกร้องต่อนาย ส. อายุความฟ้องคดี ๑ ปี จึงยังไม่เริ่มนับ และคำสั่งให้ทายาทใช้ค่าสินไหมทดแทนยังไม่พ้นกำหนด ระยะเวลาการฟ้องคดี และให้กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ได้มีการยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง ช. ศาลปกครอง ช.รับฟ้องไว้พิจารณาแล้วเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ช. แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลยุติธรรม ซึ่งตามพรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา ๙ วรรค หนึ่ง(๓) บัญญัติว่าศาลปกครองมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องนี้ (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฏหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร นั้นก็คือคดีปกครองที่เกิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมายให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้อำนาจตามกฏหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ หรือเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรเท่านั้น ไม่รวมการกระทำละเมิดอันไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เมื่อมูลเหตุแห่งคดีผู้ฟ้องคดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดกของนาย ส.ชดใช้คิ่สินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดของนาย ส. ในกรณีที่นาย ส. พนักงานขับรถของสนง.ตรวจเงินสหกรณ์ อ.ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการนอกสถานที่ โดยระหว่างเดินทางกลับด้วยความประมาทเลินเลอทำให้เฉี่ยวชนกับรถไฟขบวนด่วนพิเศษที่ ๙ กรุงเทพ – เชียงใหม่ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย เป็นการอ้างว่านาย ส.ทำละเมิดโดยการขับรถ อันเป็นการกระทำทางกายภาพในการปฏิบัติหน้าที่โดยทั่วไป หาใช่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ช. แต่เป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม จึงได้ทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลส่งไปยังสนง.ศาลยุติธรรมเพื่อทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ซึ่งศาลจังหวัด อ.มีความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่า การฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เป็นการกระทำทางกายภาพในระหว่างปฏิบัติหน้าที่คือการขับรถ มิใช้เกิดจาการใช้อำนาจตามกฎหมายจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ช. จึงมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลจังหวัด อ. ซึ่งเป็นศาลที่อยู่ในเขตอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป ให้จำหน่ายคดีจากสารบบ คำสั่งโอนคดีเพราะเหตุอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่คดีหมายเลขแดงที่ ๒๒๖/๒๕๕๗
ข้อสังเกต ๑. นายส. ขับรถผ่านทางร่วมแยกที่มีถนนตัดทางรถไฟ ไม่ว่าจะมีสัญญาณไฟให้หยุดรถหรือมีเครื่องกั้นถนนหรือมีสัญญาณเสียงหวีดเตือนภัยหรือไม่ก็ตาม นาย ส.ผู้ขับรถบนถนนตัดผ่านทางรถไฟมีหน้าที่ต้องชลอความเร็วของรถและหยุดรถเพื่อดูให้แน่ใจว่าไม่มีรถไฟวิ่งผ่านเมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงค่อยขับรถผ่านทางรถไฟไปได้ ส่วนนาย บ. พนักงานปิดกั้นถนน มีหน้าที่ต้องปิดกั้นถนนก่อนที่รถไฟจะวิ่งผ่านจุดตัดของถนนที่ตัดกับทางรถไฟ ทั้งต้องมีสัญญาณธงพร้อมที่จะแสดงแทนสัญญาณไฟในกรณีที่สัญญาณไฟใช้การไม่ได้ตามระเบียบที่การรถไฟกำหนดไว้ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ส่วนนาย พ.คนขับรถไฟโดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเดินรถไฟฯ ข้อ ๒๖๐ วรรคสาม โดยขับรถไฟมาที่เกิดเหตุโดยทราบดีว่าทางตอนข้างหน้าที่ถนนผ่านเสมอระดับทางรถไฟมีเครื่องกั้นและต้องได้รับอนุญาตให้ผ่านได้ เมื่อเห็นว่าทางตอนข้างหน้าที่ถนนผ่านระดับทางรถไฟมีเครื่องปิดกั้นเมื่อสัญญาณดังกล่าวไม่แสดงท่าอนุญาต ต้องหยุดรถโดยไม่ล้ำขอบถนนถนน การที่ยังคงขับรถไฟต่อไปเพียงแค่ชลอความเร็วแล้วมาเบรครถตอนท้าย ทำให้รถไม่สามารถหยุดได้ทัน ถือว่าทั้งสามคนมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยแต่ละคนมีความประมาทไม่หยิ่งหย่อนกว่ากัน จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นส่วนเท่าๆกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๒๓และ ๔๔๒
๒. ในคดีแพ่งทั่วไปการที่เจ้าหน้าที่รู้ถึงการกระทำละเมิดแต่อธิบดีซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานยังไม่ทราบถึงการละเมิดจะถือว่าตัวผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดไม่ได้ ซึ่งสิทธิ์เรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดต้องฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่อย่างใดก็ดีต้องฟ้องภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันที่ทำละเมิด นั้นก็คือตราบใดที่อธิบดียังไม่ทราบถึงเรื่องละเมิด อายุความ ๑ ปี จึงยังไม่เริ่มนับ อธิบดีซึ่งถือเป็นผู้เสียหายทราบเรื่องเมื่อใดถือทราบเรื่องละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงต้องเริ่มนับอายุความ ๑ ปีนับแต่วันนั้น แต่หากเป็นกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไปกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นแล้วสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ ให้มีกำ หนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำ หนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำ สั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งในคดีนี้อธิบดีได้รับแจ้งผลการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดจากกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ ๙ ก.ค.๒๕๕๑ ดังนั้นอายุความฟ้องคดี ๑ ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๕๔ จึงยังไม่เริ่มนับ(ตามนัยยะคำพิพากษาฏีกา ๘๔๓๐/๒๕๔๗) และเมื่อมีคำสั่งให้ทายาทต้องรับผิดยังไม่พ้นกำหนดการฟ้องคดีดังกล่าว ทำให้กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเริ่มนับในวันดังกล่าว
๓. การที่นาย ส. ถึงแก่ความตายสิทธิ์ในการดำเนินคดีอาญาระงับ พนักงานอัยการมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีอาญากับนาย ส. แต่ในทางแพ่งความรับผิดในทางละเมิดตกทอดแก่ทายาท เพียงแต่ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตนเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๐,๑๖๐๑
๔. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้
หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำ ละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำ การนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงสิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะมีได้เพียงใดให้คำ นึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำ และความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำ นวนของความเสียหายก็ได้ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำ เนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย
ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำ หลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้อง
รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำ ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำ ในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้คำ นึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำ และความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำ นวนของความเสียหายก็ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำ เนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย แต่ถ้ามิใช่การกระทำ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้มีกำ หนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำ หนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำ สั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
๕.ศาลปกครองมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งในกรณีที่ คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฏหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร นั้นก็คือคดีปกครองที่เกิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมายให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้อำนาจตามกฏหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ หรือเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรเท่านั้น ไม่รวมการกระทำละเมิดอันไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่หมายความรวมถึงการกระทำละเมิดในทางแพ่งแต่อย่างใด
๖..ในกรณีนี้คดีพิพาทเนื่องจากนาย ส. คนขับรถผ่านสัญญาณจราจรที่แสดงให้หยุดรถโดยไม่ดูให้ดีก่อนว่ามีรถไฟผ่านมาหรือไม่เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถไฟ โดยที่มีนาย พ. เป็นคนขับรถไฟ โดยที่เครื่องกั้นถนนยังไม่ปิดกั้นซึ่งมีนาย บ. พนักงานกั้นถนนปฏิบัติหน้าที่ในขณะเกิดเหตุไม่ปิดกั้นทางและให้สัญญาณรถไฟหยุด ทำให้รถยนต์และรถไฟฉี่ยวชนกัน ข้อพิพาทดังกล่าวไม่ได้ จึงไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ช. แต่เป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
๗.เมื่อศาลปกครอง ช. เห็นว่าคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ช. ซึ่งในพรบ.ว่าด้วยการวินิจัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยการเสนอเรื่อง การพิจารณาคดี และวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๙ ให้เป็นหน้าที่ของศาลปกครอง ช.ที่ต้องทำความเห็นไปยังศาลจังหวัด อ. (ศาลยุติธรรม)ว่ามีความเห็นในกรณีนี้อย่างไร ซึ่งหากมีความเห็นตรงกันศาลปกครองเชียงใหม่ก็จะจำหน่ายคดีจากสารบบความและให้โอนคดีไปยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่หากมีความเห็นต่างกันต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับอำนาจศาลเป็นผู้วินิจฉัยภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่รับเรื่อง คำสั่งของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุด ห้ามไม่ให้ศาลที่อยู่ในลำดับสูงของศาลที่รับโอนคดีหยิบยกเรื่องเขตอำนาจศาลดังกล่าวมาพิจารณาอีกนั้นคือศาลอุทธรณ์ ศาลฏีกาจะยกเรื่องเขตอำนาจศาลมาพิจารณายกฟ้องโจทก์ไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น: