ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

“สำคัญในวิธีพิจารณาความอาญา”

๑.วิเคราะห์ศัพท์ ปวอ มาตรา ๒
๒.ผู้เสียหาย ปวอ มาตรา ๒(๔),๔,๕,๖
๓.สิทธิ์และอำนาจของผู้เสียหายและผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
-มีสิทธิ์ให้จัดหาล่ามหรือล่ามภาษามือตามปวอ มาตรา ๓,๑๓วรรคสอง วรรคสาม
-,มีสิทธิ์ฟ้องคดีเองดดยไม่จำต้องร้องทุกข์
-มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครอง ตาม ปวอ มาตรร๑๒๓,๑๒๔,๑๒๔/๑,
-มีอำนาจแก้คำร้องทุกข์หรือถอนคำร้องทุกข์ ปวอ มาตรา๑๒๖,
-ปฏิเสธไม่ยอมให้ตรวจเนื้อตัวร่างกาย ปวอ มาตรา ๑๓๒(๑)มีข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๑๓๑/๑,
-มีสิทธิ์โต้แย้งพนักงานสอบสวนที่ตักเตือน พูดให้ท้อใจ ใช้กลอุบาย เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายไม่ให้ปากคำทั้งที่ผู้เสียหายต้องการให้ปากคำ ปวอ มาตรา ๑๓๓ วรรคสาม
-,มีสิทธิ์ชี้ตัวยืนยันหรือชี้ตัวผู้ต้องหาหรือผู้กระทำผิดทางอาญา ปวอ มาตรา ๑๓๓วรรคท้ายและ ๑๓๓ตรี,
-มีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนที่เป็นหญิงเป็นผู้ทำการสอบสวน ปวอ มาตรา ๑๓๓วรรคสี่,
-มีสิทธิ์ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนให้แยกการสอบสวนเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสม ทั้งให้มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอให้อยู่ร่วมขณะทำการสอบสวน ปวอ มาตรา๑๓๓ทวิวรรคแรก
-,มีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานที่เป็นเด็กผ่านนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยา ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรคแรก,
-มีสิทธิ์ตั้งข้อรังเกียจนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการที่เข้าร่วมสอบปากคำกรณีผู้เสียหายเป็นเด็ก ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรค๓
-ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมพนักงานอัยการ ปวอ มาตรา ๓๐
-ฟ้องคดีเองกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ปวอ มาตรา ๓๔
-ในความผิดอาญาแผ่นดินที่พนักงานอัยการถอนฟ้อง ไม่ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีใหม่ ปวอ มาตรา ๓๖(๑)
-ในความผิดต่อส่วนตัวที่พนักงานอัยการถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนฟ้องนั้นไม่ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีใหม่ ปวอ มาตรา ๓๕(๒)
-ในความผิดลหุโทษหรือความผิดไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือคดีที่เปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายอื่น ผู้เสียหายมีสิทธิ์ยินยอมให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๘(๑) และมีสิทธิ์ได้ค่าทดแทนตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กะตามที่เห็นสมควรหรือตามที่ผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอม ปวอ มาตรา ๓๘(๒)
-มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่ต้องสูญเสียไปเพราะการกระทำความผิด ปวอ มาตรา ๔๓โดยพนักงานอัยการจะมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายในคำขอท้ายฟ้อง
-มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์เพื่อขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ ได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ได้รับความเสียหายทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำผิดของจำเลย ปวอ มาตรา ๔๔/๑ โดยถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็น “ คำฟ้อง” ปวอ มาตรา ๔๔/๑วรรคสอง
-มีสิทธิ์ขอให้ศาลตั้งทนายในการยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ปวอ มาตรา ๔๔/๑,๔๔/๒วรรคท้าย
-มีสิทธิ์นำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนที่ขอให้จำเลยชดใช้ตามปวอ มาตรา ๔๔/๑หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ปวอ มาตรา ๔๔/๒
-มีอำนาสจฟ้องคดีแพ่งได้แม้จะมีการฟ้องคดีอาญาไปแล้ว ปวอ มาตรา ๔๕
-เป็น “เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา” ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการร้องขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย ปวอ มาตรา ๕๐
-ได้รับประโยชน์ในอายุความคดีแพ่งที่สะดุดหยุดลงตาม ปอ มาตรา ๙๕ กรณีที่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาได้มีการฟ้องคดีอาญาแล้ว แต่คดียังไม่เสร็จเด็ดขาด ปวอ มาตรา ๕๑วรรคสอง
๔.สิทธิ์ผู้ต้องหา
-มีสิทธิ์ตาม ปวอ มาตรา ๒(๒),๗,๗/๑, ๑๓
-มีสิทธิ์ให้จัดหาล่ามหรือล่ามภาษามือตามปวอ มาตรา ๓,๑๓วรรคสอง วรรคสาม
-มีสิทธิ์โต้แย้งพนักงานสอบสวนที่ตักเตือน พูดให้ท้อใจ ใช้กลอุบาย เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาไม่ให้ปากคำทั้งที่ผู้ต้องหาต้องการให้ปากคำ ปวอ มาตรา ๑๓๓ วรรคสาม
วรรคสอง วรรคสาม,๑๔,
-ปฏิเสธไม่ยอมให้ตรวจเนื้อตัวร่างกาย ปวอ มาตรา ๑๓๒(๑)มีข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๑๓๑/๑,
-มีสิทธิ์ได้รับการสอบสวนโดยเร็ว ต่อเนื่องเป็นธรรม ปวอ มาตรา ๑๓๔วรนรคสาม
-,มีสิทธิ์ได้รับการแจ้งจากพนักงานสอบสวนถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกกล่าวหาโดยข้อเท็จจริงนั้นต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ปวอ มาตรา ๑๓๔วรรคแรก,วรรคสอง,
-มีสิทธิ์ได้รับการสอบสวนโดยเร็ว ปวอ มาตรา ๑๓๔วรรคสาม,
-มีสิทธิ์ได้รับโอกาสที่จะแก้ข้อกล่าวหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ปวอ มาตรา ๑๓๔วรรคสี่ นั้นก็คือสามารถร้องขอให้พนักงานสอบสวนสอบพยานฝ่ายผู้ต้องหาได้,
-ก่อนเริ่มถามคำให้การในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี มีอำนาจให้พนักงานสอบสวนถามเรื่องทนายความ หากผู้ต้องหาไม่มี รัฐหรือพนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายให้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก,
-ในคดีมีอัตราโทษจำคุก ผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนถามเรื่องทนายความได้ หากผู้ต้องหาไม่มีและต้องการ รัฐหรือพนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้
-ให้มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้ต้องหาที่อายุไม่ถึง๑๘ปีร้องขอให้อยู่ร่วมขณะทำการสอบสวน ปวอ มาตรา๑๓๓ทวิวรรคแรก,๑๓๔/๒
-,มีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานที่เป็นเด็กผ่านนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยา ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรคแรก,๑๓๔/๒
-มีสิทธิ์ตั้งข้อรังเกียจนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการที่เข้าร่วมสอบปากคำกรณีผู้ต้องหาเป็นเด็ก ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรค๓,๑๓๔/๒
-มีสิทธิ์ให้ทนายหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำผู้ต้องหาได้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๓
-มีสิทธิ์ที่จะได้รับการแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่า ตนมีสิทธิ์จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ ถ้อยคำที่ตนให้การสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และมีสิทธิ์ให้ทนายหรือคนที่ตนไว้วางใจนั่งฟังการสอบปากคำตนได้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๔(๑)(๒)
-มีสิทธิ์โต้แย้งศาลกรณีที่ศาลรับฟังคำพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนที่ทำการสอบปากคำโดยไม่มีการแจ้งสิทธิ์แก่ผู้ต้องหาตามปวอ มาตรา ๑๓๔/๑,๑๓๔/๒และ๑๓๔/๓ ว่าเป็นพยานที่รับฟังไม่ได้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๔วรรคท้าย
-มีสิทธิ์ที่จะไม่ถูกพนักงานสอบสวน ทำ จัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำการใดๆเพื่อจูงใจให้ผู้ต้องหาให้การ ปวอ มาตรา ๑๓๕
-ผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบรูณ์ก่อนเริ่มถามคำให้การหรือในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตผู้ต้องหามีสิทธิ์ ให้พนักงานสอบสวนถามเรื่องทนายความ หากผู้ต้องหาไม่มี รัฐหรือพนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายให้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก,
-ในคดีมีอัตราโทษจำคุก ผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนถามเรื่องทนายความได้ หากผู้ต้องหาไม่มีและต้องการ รัฐหรือพนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้
-ในความผิดลหุโทษหรือความผิดไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือคดีที่เปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายอื่น ผู้ต้องหาและผู้เสียหายมีสิทธิ์ยินยอมให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๘(๑) และผู้ต้องหาต้องจ่ายค่าทดแทนในกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิ์ได้รับค่าทดแทนตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กะตามที่เห็นสมควรหรือตามที่ผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอม ปวอ มาตรา ๓๘(๒)
-กรณีผู้ต้องหามีครรถ์หรือเพิ่งคลอดบุตรมาไม่ถึง ๓ เดือน หรือเจ็บป่วย หากต้องขังจะต้องถึงแก่ชีวิต มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายขังหรือขอให้ปล่อยตัว ปวอ มาตรา ๗๑
-มีสิทธิ์ที่จะไม่ถูกจับกุมหากการจับกุมนั้นไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าและไม่มีหมายจับ หรือจับตามคำสั่งศาล ปวอ มาตรา ๗๘
-มีสิทธิ์ที่จะไม่ถูกจับกุมในที่รโหฐาน ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม หากไม่มีหมายค้นหรือเข้าข้อยกเว้นที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย ปวอ มาตรา ๘๑
-มีสิทธิ์ไม่ถูกจับกุมในพระบรมราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระนิเวศน์ พระตำหนัก หรือในที่พระมหากษัตริย์ พระราชชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าหรือผู้สำเร็จราชการประทับหรือพำนักอยู่เว้นเข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๘๑/๑(๑)(๒)
-มีสิทธิ์ได้รับการแจ้งข้อหา และตรวจดูหมายจับ พร้อมทั้งมีสิทธิ์ที่จะได้ทราบว่า ตนมีสิทธิ์ให้การหรือไม่ให้การก็ได้ ถ้อยคำนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี มีสิทธิ์พบและปรึกษาทนายหรือผู้ที่จะเป็นทนายและมีสิทธิ์ให้ญาตหรือบุคคลที่ตนไว้ใจทราบถึงการที่ตนถูกจับกุม ปวอ มาตรา ๘๓วรรคสอง
-มีสิทธิ์ได้รับการปฐมพยาบาล จาม ปวอ มาตรา ๘๔วรรคสาม
- มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์จาก ถ้อยคำรับสารภาพในบันทึกการจับกุม ที่กฎหมายห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน และมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองที่ถ้อยคำอื่นในบันทึกการจับกุมที่ไม่ใช่การรับสารภาพหากไม่มีการแจ้งสิทธิ์ตามกฎหมาย ปวอ มาตรา ๘๓วรรคสองและ๘๔วรรคแรก ที่กฎหมายห้ามไม่ให้รับฟัง ปวอ มาตรา ๘๔วรรค ท้าย
-หากผู้ต้องหาเป็นหญิงมีสิทธิ์ได้รับการค้นตัวโดยผู้หญิงด้วยกัน ปวอ มาตรนา๘๕
-สามารถร้องขอต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อขอรับสิ่งของที่เจ้าพนักงานยึดไว้โดยไม่ใช่ทรัพย์ที่กฏหมายบัญญัติไว้ว่าทำหรือมีไว้เป็นความผิด คืนเพื่อนำไปดูแลรักษา ปวอ มาตรา ๘๕/๑วรรคแรก หากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนไม่อนุญาตสามารถยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น ปวอ มาตรา ๘๕/๑
-มีสิทธิ์ที่จะไม่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมเกินกว่าความจำเป็นเพื่อกันไม่ให้หลบหนี หรือเกินพฤติการณ์แห่งคดี ปวอ มาตรา ๘๖,๘๗
-ร้องขอในชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณามีสิทธิ์เรียกร้องให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ขังตนไว้ในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ ปวอ มาตรา ๘๙/๑,๘๙/๒
-มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งศาลและไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะค้นโดยไม่มีหมาย ปวอ มาตรา ๙๒
-เมื่อถูกค้นในขณะที่อยู่ในที่รโหฐาน
ก. ผู้ต้องหามีสิทธิ์ ให้เจ้าหน้าที่แสดงหมายค้น หมายไม่มีหมายค้นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องมีหมาย มีสิทธิ์ให้เจ้าพนักงานแสดงตนพร้อมแจ้งชื่อและสังกัด ปวอ มาตรา ๙๔
ข.มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ให้ตรวจค้นหากค้นในเวลาที่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น หากไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๙๖(๑)(๒)
ค.ทั้งมีสิทธิ์ปฏิเสธกรณีที่ผู้มีชื่อในหมายค้น ไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสามหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ง.ก่อนทำการตรวจค้นมีสิทธิ์ให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นแสดงความบริสุทธิ์ก่อน และให้ทำการค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่ หรือบุคคลอย่างน้อยสองคนที่เจ้าพนักงานร้องขอให้มาเป็นพยานหรือต่อหน้าบุคคลในครอบครัว เมื่อทำการยึดสิ่งใดต้องให้บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา หรือพยาน ดู เพื่อรับรองความถูกต้อง เมื่อรับรองความถูกต้องหรือไม่รับรองความถูกต้องให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้ ปวอ มาตรา ๑๐๒
จ.มีสิทธิ์ที่จะได้รับฟังการอ่านบันทึกการตรวจค้นและบัญชีสิ่งของที่ทำการตรวจยึด ปวอ มาตรา ๑๐๓
-มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ให้พนักงานสอบสวนขอให้ศาลมีคำสั่งถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งจดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอื่นใดที่เป็นเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหากับทนายความที่ยังไม่มีการส่ง ปวอ มาตรา ๑๐๕
-มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ปวอ มาตรา ๑๐๖
- -ร้องขอความเป็นธรรมมายังพนักงานอัยการกรณีอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากพนักงานสอบสวน ตามระเบียบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฯ
-๕.สิทธิ์จำเลย
-มีสิทธิ์ตาม ปวอ มาตรา ๒(๓),๘,.๑๓วรรคสอง วรรคสาม,๑๔
-มีสิทธิ์ให้จัดหาล่ามหรือล่ามภาษามือตามปวอ มาตรา ๓,๑๓วรรคสอง วรรคสาม
-คัดค้านการถอนฟ้อง ปวอ มาตรา ๓๕
-มีอำนาจยื่นคำให้การเป็นหนังสือกรณีที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอต่อศาลให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ปวอ มาตรา ๔๔/๑,,๔๔/๒
-สามารถต่อสู้คดีว่าความผิดระงับไปตามกำหนดเวลาในอายุความฟ้องคดีอาญาในกรณีไม่มีผู้ใดฟ้องคดีอาญา ปวอ มาตรา ๕๑
-สามารถต้อสู้ผู้เสียหายที่จะฟ้องแพ่งที่ไม่ได้ฟ้องภายในอายุความทางแพ่งกรณีคดีอาญาศาลยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคท้าย
-สามารถต่อสู้คดีได้ว่าสิทธิ์เรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายมีกำหนดอายุความตามปพพ มาตรา ๑๙๓/๓๒ เพราะได้มีการฟ้องคดีอาญาจนศาลลงโทษจำเลยคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ปวอ มาตรา ๕๑วรรคสาม
-กรณีจำเลยมีครรถ์หรือเพิ่งคลอดบุตรมาไม่ถึง ๓ เดือน หรือเจ็บป่วย หากต้องขังจะต้องถึงแก่ชีวิต มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายขังหรือขอให้ปล่อยตัว ปวอ มาตรา ๗๑
-หลังศาลพิพากษาลงโทษจำคุกมีสิทธิ์เรียกร้องให้ พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ขังตนไว้ในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ ปวอ มาตรา ๘๙/๑,๘๙/๒
-จำเลยผู้ถูกคุมขังในคดีอาญาโดยไม่ชอบหรือสามีภรรยาหรือญาติหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ผู้ถูกคุมขังสามารถร้องต่อศาลขอให้ปล่อย ปวอ มาตรา ๙๐
-มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ให้พนักงานสอบสวนขอให้ศาลมีคำสั่งถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งจดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอื่นใดที่เป็นเอกสารโต้ตอบระหว่างจำเลยกับทนายความที่ยังไม่มีการส่ง ปวอ มาตรา ๑๐๕
-มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ปวอ มาตรา ๑๐๖
๖.สืบสวน ปวอ มาตรา ๒(๑๐),(๑๖),๑๗,๑๒๕
๗.สอบสวน ปวอ มาตรา ๒(๑๑),(๑๗),๑๘,๑๙,๒๐,๒๑,๗๘,๑๒๑,๑๒๒,๑๒๔/๑,๑๒๕,๑๒๗,๑๒๘,๑๒๙๑๓๐ถึง๑๔๒
๘.อัยการกับการสอบสวน ปวอ มาตรา ๒๐,๑๒๐,๑๒๙
๙.อำนาจพนักงานสอบสวน
-มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา ปอ มาตรา ๑๒๑
-มีสิทธิ์ไม่ทำการสอบสวนหากเข้าตาม ปวอ มาตรา ๑๒๒,๑๒๗
-มีอำนาจจัดให้มีการร้องทุกข์ ปวอ มาตรา ๑๒๕
-มีอำนาจรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆเกี่ยวความผิดที่กล่าวหา ปวอ มาตรา ๑๓๑
-มีอำนาจตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ เอกสารใดๆ ปวอ มาตรา ๑๓๓/๑
-มีสิทธิ์ตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเมื้อผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมเว้นเข้าเงื่อนไขตาม ปวอ มาตรา ๑๓๑/๑วรรคสอง
-มีอำนาจค้นเพื่อพบสิ่งของ หมายเรียกผู้ครอบครองสิ่งของ และยึดสิ่งของ ปวอ มาตรา ๑๓๒
-มีอำนาจเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดที่อาจให้ถ้อยคำ ปวอ มาตรา ๑๓๓
-สามารถสอบปากคำหญิงในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศได้หากหญิงนั้นยินยอมไม่ใช้พนักงานสอบสวนที่เป็นหญิง ปวอ มาตรา ๑๓๓สี่
-มีอำนาจให้มีการชี้ตัวผู้กระทำผิด ปวอ มาตรา ๑๓๓ วรรคห้า
-ความผิดตามที่ระบุไว้ในปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิ หากผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กร้องขอ ให้สหวิชาชีพ(อัยการ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์)มาร่วมในการสอบสวน พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนลำพัง
- มีสิทธิ์สั่งให้ผู้ต้องหาที่ไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่มีการออกหมายจับสั่งให้ผู้ต้องห่าไปศาลเพื่อขอออกหมายขัง หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตาม พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับกุมได้ ปวอ มาตรา ๑๓๔วรรคท้าย,
-ในกรณีเร่งด่วนทนายความไม่มาพบผู้ต้องหาตามที่รัฐหรือพนักงานสอบสวนจัดหาโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง หรือแจ้งแต่ไม่มาพบผู้ต้องหาในเวลาอันควร พนักงานสอบสวนสามารถสอบปากคำผู้ต้องหาได้โดยไม่ต้องรอทนายความ ปวอ มาตรา๑๓๔/๑วรรคท้าย
-มีอำนาจสั่งให้บุคคลใดในบ้านเรือนหรือในสถานที่อื่นๆที่พนักงานสอบสวนทำการอยู่ในสถานที่นั้นให้ออกไปจากสถานที่นั้นๆชั่วเวลาที่จำเป็น ปวอ มาตรา ๑๓๗ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๓๖๘
-มีอำนาจสอบสวนเองหรือส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนอื่นทำการสอบสวนแทน ปวอ มาตรา ๑๓๘
-มีอำนาจบันทึกรายชื่อบุคคลพร้อมที่อยู่ถสถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และช่องทางอื่นเพื่อให้ได้มาเป็นพยาน ปวอ มาตครา ๑๓๙วรรคท้าย
-มีอำนาจ “งดการสอบสวน” ส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณากรณีไม่ทราบผู้ใดเป็นคนกระทำผิดในคดีมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี ปวอ มาตรา ๑๔๐
-มีอำนาจ “ เห็นควร” งดการสอบสวน” ส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณากรณีไม่ทราบผู้ใดเป็นคนกระทำผิดในคดีมีอัตราโทษจำคุกเกิน ๓ ปี ปวอ มาตรา ๑๔๐(๑)วรรคสอง
-กรณีรู้ตัวผู้กระทำผิด แต่ยังเรียกหรือจับตัวไม่ได้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา ปวอ มาตรา ๑๔๑
-หากผู้ต้องหาถูกคุมขังหรือถูกควบคุมตัวหรือได้รับอนุญาตให้ประกันตัว เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็น “ควร” สั่งฟ้องให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา เว้นแต่ผู้ต้องหาถูกขังอยู่ ปวอ มาตรา๑๔๒วรรคสาม
๑๐.อำนาจพนักงานอัยการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
-มีอำนาจโต้แย้งว่าการที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจะทำให้คดีของพนักงานอัยการเสียหายโดยขอให้ศาลสั่งให้ผู้เสียหายกระทำหรืองดเว้นกระทำการใดๆก็ได้ ปวอ มาตรา ๓๒
-มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดอาญาแผ่นดินที่ผู้เสียหายฟ้องคดีไว้แล้วได้ถอนฟ้อง ปวอ มาตรา ๓๖(๓)
-มีอำนาจโต้แย้งผู้เสียหายที่ร้องขอเข้ามาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ว่าคำขอของผู้เสียหายไม่ใช่คำขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญา หรือคำร้องดังกล่าวขัดหรือแย้งคำฟ้องของพนักงานอัยการ ปวอ มาตรา ๔๔/๑ วรรคสาม
-มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องขังไว้ระหว่างสอบสวน หรือยุติการสอบสวนแล้วโดยสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ปวอ มาตรา ๗๒(๒)(๓)
-ในระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณามีอำนาจร้องขอให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยในสถานที่อื่นตามที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยร้องขอหรือตามที่ศาลเห็นสมควรนอกจากเรือนจำ ปวอ มาตรา ๘๙/๑
-เมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกแล้ว พนักงานอัยการร้องขอให้จำคุกในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำหรือตามที่ศาลเห็นควรที่ไม่ใช่เรือนจำ ปวอ มาตรา ๘๙/๒
-ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นที่ถูกคุมขังในคดีอาญาโดยไม่ชอบ ปวอ มาตรา ๙๐
-มีอำนาจ “งดการสอบสวน” หรือ “ ให้สอบสวนต่อไป” ในคดีที่พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนทั้งคดีที่มีอัตราโทษจำคุดเกินกว่า ๓ ปี หรือต่ำกว่า ๓ ปี ที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนงดการสอบสวนเพราะไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด ปวอ มาตรา ๑๔๐(๑)วรรคสาม
-กรณีรู้ตัวผู้กระทำผิด แต่ยังเรียกหรือจับตัวไม่ได้ที่ พนักงานสอบสวนมีความเห็น ควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา ปวอ มาตรา ๑๔๑ นั้น พนักงานอัยการหากเห็นว่าการสั่งไม่ฟ้องชอบแล้วก็จะ “ สั่ง”ไม่ฟ้อง แต่หากเห็นว่า ควรสอบสวนต่อไป ก็จะ “ สั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนต่อไป” ปวอ มาตรา ๑๔๑
-พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งฟ้องผู้ต้องหา เมื่อมีคำสั่งฟ้อง ก็เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ตัวผู้ต้องหาเพื่อนำมาส่งพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลตาม ปวอ มาตรา ๑๔๑วรรคท้าย ,ภายในกำหนดอายุความคดีอาญา
-หากผู้ต้องหาถูกคุมขังหรือถูกควบคุมตัวหรือได้รับอนุญาตให้ประกันตัว เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็น “ควร” สั่งฟ้องให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา เว้นแต่ผู้ต้องหาถูกขังอยู่ ปวอ มาตรา๑๔๒วรรคสาม เมื่อพนักงานอัยการได้รับสำนวนมีอำนาจ “ สั่งฟ้อง” หรือ “ สั่งไม่ฟ้อง” ผู้ต้องหา แยกได้ดังนี้คือ
ก.กรณีไม่เห็นด้วยกับพนักงานสอบสวนที่สั่งไม่ฟ้องมา ก็ให้ “ สั่งฟ้อง” และแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหามาเพื่อทำการฟ้องคดี ปวอ มาตรา ๑๔๓(๑)
ข. กรณีเห็นด้วยกับพนักงานสอบสวนที่สั่งไม่ฟ้องก็ให้ออกคำสั่ง “ ไม่ฟ้อง” แล้วส่งสำนวนไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม ปวอ มาตรา ๑๔๕ หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตามปวอ มาตรา ๑๔๕/๑แล้วแต่กรณี
ค.กรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็น “ ควร” สั่งฟ้อง หากพนักงานอัยการเห็นด้วยก็จะออกคำสั่ง “ ฟ้อง” ผู้ต้องหา ปวอ มาตรา ๑๔๓(๒)
ง.กรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็น “ ควร” สั่งฟ้อง มา หากพนักงานอัยการไม่เห็นด้วย อาจสั่ง “ สอบสวนเพิ่มเติม” ตาม ปวอ มาตรา ๑๔๓(ก) โดยให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเองหรือส่งพยานมาให้พนักงานอัยการทำการสอบสวน ทางปฏิบัติเพื่อกันปัญหาที่เกิดขึ้น พนักงานอัยการจะสอบพยานโดยให้พนักงานสอบสวนนั่งฟังด้วยแล้วให้พนักงานสอบสวนลงลายมือชื่อในบันทึกที่พนักงานอัยการทำการสอบปากคำพยาน เมื่อทำการสอบสวนเพิ่มเติมแล้วพนักงานอัยการ อาจมีคำสั่ง “ ฟ้อง” หรือ “ ไม่ฟ้อง” ผู้ต้องหา ตามปวอ มาตรา ๑๔๓(๒)
-สั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบปรับในคดีที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้แทนการส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ ปวอ มาตรา ๑๔๔(๑)
-คดีที่เปรียบเทียบปรับได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๗(๑)(๒)(๓)(๔) หากพนักงานสอบสวนส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนส่งกลับคืนไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อพยายามเปรียบเทียบปรับ ปวอ มาตรา ๑๔๔(๒)
-อัยการสูงสุดมีอำนาจฟ้องหรือไม่ฟ้องตามความเห็นแย้งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บังคับการตำรวจจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดกรณีที่มีความเห็นแย้งความเห็นของพนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง ความเห็นของอัยการสูงสุดเป็นที่สุด
--อำนาจในการสั่งฟ้อง สั่งไม่ฟ้องหรือสอบสวนเพิ่มเติมเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนมีอำนาจเพียงแค่สั่งว่า “ เห็นควรสั่งฟ้อง” หรือ “เห็นควรสั่งไม่ฟ้อง” เท่านั้น ไม่สามารถใช้คำว่า “ สั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง” คนที่มีอำนาจในการ “ สั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง” คือพนักงานอัยการ ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์หรือสื่อทางโทรทัศน์ว่าส่งสำนวนให้อัยการฟ้องศาล จึงเป็นการกล่าวที่ผิดและเป็นการกล่าวล่วงอำนาจของพนักงานอัยการ สำนวนที่ตำรวจส่งมา อัยการฟ้องกี่เรื่อง ไม่ฟ้องกี่เรื่อง สั่งสอบสวนเพิ่มเติมกี่เรื่อง จึงไม่ใช่เป็นไปตามที่พนักงานสอบสวนให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆว่า “ ส่งสำนวนให้อัยการฟ้องศาล” ข้อความนี้เป็นข้อความที่กรรมการผู้สอบสัมภาษณ์ผมในการสอบปากเปล่าตอนสอบอัยการผู้ช่วยได้ถามผมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
-มีอำนาจในการเข้าร่วมชันสูตรพลิกศพปวอ มาตรา ๑๕๐และให้คำแนะนำพนักงานสอบสวนตาม ปวอ มาตรา ๑๕๕/๑วรรคสอง
-มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อไต่สวนและทำคำสั่งว่าผุ้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ทำให้ตาย ปวอ มาตรา ๑๕๐

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

“เดือดร้อนรำคาญ”

๑.ทราบก่อนซื้อที่ดินว่าจำเลยจะปรับปรุงยกระดับถนน คาดหมายได้ว่าการยกระดับถนนอาจทำให้บ้านและที่ดินที่กำลังจะซื้อถูกถนนบังลมและแสงแดด เท่ากับยอมรับสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อเทียบประโยชน์ที่ประชาชนทั่วไปจะได้ความสะดวกความเจริญจากการยกระดับถนนที่อาจทำให้โจทก์อาจขาดความสะดวกไปบ้าง ความเสียหายที่เกิดไม่เกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย โจทก์ต้องยอมรับเอาเช่นดังบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับโจทก์ในสังคมยอมรับการก่อสร้างปรับปุงยกระดับถนน จึงยังไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ คำพิพากษาฏีกา ๔๐๑/๒๕๑๘
๒.การที่ไม่สามารถนำรถเข้าออกตึกแถวได้ ไม่ใช่กรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนจากการใช้ที่สาธารณะ แต่การที่ไม่สามารถใช้ทางเดินเท้าอันเป็นที่สาธารณะเป็นทางเข้าออกของรถยนต์ เป็นการใช้สิทธิ์ในที่สาธารณะเกินกว่าที่ประชาชนทั่วไปใช้อยู่ การสร้างสะพานลอยข้ามถนนในที่สาธารณะเพื่อประโยชน์คนทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ ทำให้สิทธิ์ที่จะใช้ที่สาธารณะมากกว่าประชาชนคนอื่นหมดไปบ้าง แต่ยังไม่เป็นความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคาดหมาย คำพิพากษาฏีกา ๔๒๒๔/๒๕๓๓๓
๓.กรณีได้รับความเดือดร้อนรำคาญหรือไม่เพียงใด ต้องถือตามความรู้สึกของบุคคลธรรมดา ที่ศาลชั้นต้นชี้ว่า เสียงและการสั่นสะเทือนจากการทุบทองคำเปลวที่ห้องจำเลยถึงขนาดเดือดร้อนรำคาญเกินสมควร ก็อาศัยข้อมูลจากการเดินเผชิญสืบสถานที่พิพาทเป็นสำคัญ ทั้งนี้เป็นความรู้สึกของศาลชั้นต้นประกอบด้วยผู้พิพากษาสองนายที่เป็นคนธรรมดามีหน้าที่ให้ความเที่ยงธรรมแก่ผู้มีอรรถคดีทั้งปวง มีน้ำหนักรับฟังได้ คำพิพากษาฏีกา ๒๓๒๙/๒๕๒๔
๔.สร้างบ้านในกรุงเทพอันเป็นเมืองหลวงมีประชากรหนาแน่น มีอาคารบ้านเรือนตึกพาณิชย์อยู่กันหนาแน่น ใกล้ถนนรัชดาภิเษกตัดถนนลาดพร้าวเป็นย่านที่มีความเจริญ มีที่ว่างที่ดินน้อยและราคาแพง จึงต้องมีการก่อสร้างสูงเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด การที่ปลูกบ้านในละแวกดังกล่าวย่อมคาดหมายได้ว่าอาจมีผู้ปลูกอาคารสูงใกล้บ้านบังลมแสงแดดและทัศนียภาพ อันเป็นไปตามปกติและตามสมควร แม้จะก่อสร้างอาคารผนังทึบไม่มีช่องระบายลม แต่กระแสลมและแสงสว่างยังคงพัดผ่านและส่องมาที่บ้านได้พอสมควร ประกอบทั้งโจทก์ก็ติดเครื่องปรับอากาศอยู่แล้ว เพราะสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในกรุงเทพ เพื่อความสะดวกของโจทก์เอง หาใช่การก่อสร้างของจำเลยทำให้อากาศร้อนอบอ้าวไม่ การที่สร้างอาคารสูงบังบ้านโจทก์หาเป็นการใช้สิทธ์ที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ เพราะเพราะกรณีตามปพพ มาตรา ๔๒๑ ต้องเป็นการแกล้งโดยมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่น แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาของสิทธิ์นั้น แม้ผู้กระทำจะเห็นว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายบ้างก็ไม่เป็นการละเมิด เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างอาคารได้กระทำโดยการกลั่นแกล้งโดยมุ่งความเสียหายแก่โจทก์ฝ่ายเดียว การใช้สิทธิ์ในการก่อสร้างและดัดแปลงอาคาร ถือไม่ได้ว่าเป็นการอันไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่จะรื้อถอนอาคารและกำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้สอยอาคารของโจทก์ คำพิพากษาฏีกา ๓๘๑๕/๒๕๔๐
๕.ปลูกเรือนในคันคลองที่สาธารณะอันเป็นสาธารณะอันเป็นสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันบังหน้าดินของโจทก์ที่โจทก์จะปลูกบ้านจัดสรรในที่ดินของโจทก์ โจทก์สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยหน้าดินยังว่างไม่มีสิ่งใดปิดกั้นถึง ๑๐๐ เมตร ถือไม่ได้ว่าเดือดร้อนรำคาญเป็นพิเศษไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนเรือนออกไป คำพิพากษาฏีกา ๕๔๗/๒๕๒๕
๖.จอดเรือในคลองห่างที่ดินโจทก์ ๑๘ เมตรเศษ และมีเรือจอดก่อนที่โจทก์จะมาปลูกบ้านในที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ใช้คลองได้สะดวกเพราะมีสะพานท่าเทียบเรือสาธารณะติดกับหน้าที่ดินโจทก์ จำเลยหาได้จอดเรือปิดหน้าที่ดินโจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิ์เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เสียหายเป็นพิเศษไม่ คำพิพากษาฏีกา ๓๕๗๘/๒๕๓๒
๗.การที่เดือดร้อนถึงกับจะใช้สิทธิ์เพื่อยังความเดือดร้อนให้สิ้นไป ต้องได้ความว่าเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร บ้านและที่ดินตั้งอยู่ในช่วงติดต่อระหว่างถนนกับซอยซึ่งมีระดับต่างกันมาก หากไม่ทำถนนเชื่อมต่อกัน ชาวบ้านรวมทั้งโจทก์ จำเลยก็ไม่อาจใช้ซอยต่อไปยังถนนได้ เมื่อพิจารณาตำแหน่งบ้านและที่ดินโจทก์ประกอบกับสภาพถนนและซอยแล้ว กำแพงถนนไม่ได้ปิดกั้นหน้าบ้านโจทก์และอยู่ห่างบ้านโจทก์ ๓ เมตร ไม่ถือเดือดร้อนเกินควรจนไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติอันควรสำหรับสภาพและท้องที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่มีสิทธิ์ฟ้องเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ คำพิพากษาฏีกา ๒๔๑๔/๒๕๓๔
๘.ปลูกบ้านในที่ริมตลิ่งอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ไม่ได้รุกล้ำไปในที่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิ์ทำเขื่อนกั้นน้ำในที่ดินที่จำเลยปลูกบ้าน แต่มีสิทธิ์ทำเขื่อนในที่ดินในแนวเขตโจทก์ ทั้งยังมีทางอื่นที่สามารถลงสู่คลองได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตรงที่จำเลยปลูกบ้าน ไม่ได้เสียหายเป็นพิเศษ คำพิพากษาฏีกา ๓๑๔๓/๒๕๒๔,๖๑๑/๒๕๐๗,๒๕๙๖/๒๕๑๙,๒๕๗๒/๒๕๒๐,๖๓๗/๒๕๒๓,๒๗๕/๒๕๒๔,๓๔๒๔/๒๕๓๓
๙.สร้างคอกวัวและกองฟางไว้ที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินบังหน้าที่ดินโจทก์ยาว ๑๐ วา เหลือช่องให้โจทก์เข้าออกถนนได้ ๒ วา ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้หน้าที่ดินมีความยาว ๑๒ วา เข้าออกถนนได้ตามสิทธิ์ของโจทก์ การใช้สิทธิ์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายว่าจะได้เป็นไปตามปกติ โจทก์มีสิทธิ์ดำเนินการให้ความเสียหายและเดือดร้อนนั้นสิ้นไป มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนคอกวัวและขนย้ายกองฟางออกไปได้ คำพิพากษาฏีกา๖๕๓//๒๕๓๙
๑๐.แม้โรงเรือนจำเลยไม่บังที่ดินโจทก์ด้านถนนหลวง แต่ก็ปลูกในที่ชายตลิ่งด้านที่ดินโจทก์ติดริมคลอง กีดกั้นระหว่างที่ดินโจทก์กับคลอง ทำให้ที่ดินโจทก์ด้านนั้นถูกลิดรอนความสะดวกไปบ้าง โจทก์มีสิทธิ์ให้รื้อถอนโรงเรือนได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๐๓๕/๒๕๐๖
๑๑.จำเลยปลูกบ้านที่ชายตลิ่งหน้าที่ดินโจทก์ บังที่ดินโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินติดต่อที่ชายตลิ่งเสียหาย ไม่อาจใช้หรือรับประโยชน์จากที่ดินชายตลิ่งอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นได้ต่อไป ถือได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ มีสิทธิ์ฟ้องบังคับให้รื้อถอนเรือนให้พ้นหน้าที่ดินเพื่อยังความเสียหายให้สิ้นไปได้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มีท่าน้ำเป็นสะพานคอนกรีตในที่ดินของโจทก์อีกแปลงซึ่งอยู่ติดกันโดยโจทก์สามารถใช้สะพานนี้ลงคลองได้สะดวกโจทก์ไม่เสียหายหาได้ไม่ ปพพ มาตรา ๑๓๓๗คุ้มคลองเจ้าของอสังหาริมทรัพย์(ที่ดิน)แต่ละแปลงไป คำพิพากษาฏีกา ๒๐๗๒/๒๕๑๗
ข้อสังเกต ๑.กรณีที่มีบุคคลใดใช้สิทธิ์ของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติ และเหตุผลอันควร เมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินมาคำนึงประกอบ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ทั้งไม่ลบล้างที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน ปพพ มาตรา ๑๓๓๗
๒.การใช้สิทธิ์ซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันไม่ชอบ ปพพ มาตรา ๔๒๑
๓. การใช้สิทธิ์แห่งตน หรือในการชำระหนี้ ต้องกระทำโดยสุจริต ปพพ มาตรา ๕
๔.ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ปพพ มาตรา ๖
๕.การที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะใช้สิทธิ์ปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนให้สิ้นไปจากการที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์อื่นใช้สิทธิ์ของเขาเป็นเหตุให้เราเดือดร้อนเสียหายนั้น ต้องเป็นความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันสมควร มีคำพิพากษาฏีกาที่๑๖๔๒/๒๕๐๖,๗๐๒/๒๕๐๗,๖๔๗/๒๕๑๓,๒๐๗๒/๒๕๑๗,๑๕๙๘/๒๕๒๓,๑๐๑๑/๒๕๒๔,๔๔๓๓/๒๕๓๓,๑๑๘๑/๒๕๓๘ วินิจฉัยว่าต้องเป็นความเสียหายที่ “ เป็นพิเศษ” จึงจะเป็นการเดือดร้อนรำคาญ หากไม่เสียหายเป็นพิเศษก็ไม่ใช่การเดือดร้อนรำคาญ (คำพิพากษาฏีกา ๖๑๑/๒๕๐๗,๒๕๙๖/๒๕๑๙,๒๕๗๒/๒๕๒๐,๓๑๔๓/๒๕๒๔,๕๔๗/๒๕๒๕,๒๙๘๑/๒๕๒๘,๓๕๗๘/๒๕๓๒,๒๙๒๐/๒๕๓๗ ดังนั้นการขาดความสะดวกสบายไปบ้างยังไม่ถือเป็นความเสียหายพิเศษ
๖.รู้อยู่แล้วก่อนซื้อที่ดินว่าจะมีการทำถนนซึ่งอาจทำให้ตนไม่ได้รับความสะดวกสบายบ้างที่ถนนอาจปิดกั้นแสงแดดหรือแรงลม แต่ก็ยังซื้อ เท่ากับยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าจึงถือไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายเกินกว่าที่ควรคาดหมายได้ อีกทั้งก็ยังมีผู้อื่นในละแวกเดียวกันต้องรับผลดังกล่าวด้วย แต่ประชาชนดังกล่าวสามารถอยู่ได้ นั้นก็คือการดูความเดือดร้อนรำคาญเป็นพิเศษต้องดูคนอื่นในสถานที่ใกล้เคียงกันว่าสามารถอยู่ได้ด้วยหรือไม่ อีกทั้งการสร้างทางก็เป็นประโยชน์แก่คนโดยส่วนรวม แม้จะมีใครต้องเสียความสะดวกสบายไปบ้างแต่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมแล้วทุกคนต้องร่วมรับในผลนั้น ถือไม่ได้ว่าได้รับความเดือดร้อนรำคาญเป็นพิเศษ
๗.แต่หากข้อเท็จจริงเป็นว่า มีการสร้างถนนในภายหลังคำวินิจฉัยของศาลอาจเปลี่ยนหรืออาจเหมือนเดิมก็ได้ โดยศาลอาจมองว่าเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เราอาจต้องสละอะไรบางส่วนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทั้งเราเองก็ได้ประโยชน์จากการสร้างถนนนั้นด้วย
๘..การที่เคยใช้ทางเท้าอันเป็นที่สาธารณะเป็นทางเข้าออกของรถยนต์ เป็นการใช้สิทธิ์ในที่สาธารณะเกินกว่าที่ประชาชนทั่วไปใช้อยู่ ทั้งเป็นความผิดตามกฎหมายที่ห้ามไม่ให้รถทุกชนิดใช้ทางเท้าเป็นเส้นทางเดินรถ การสร้างสะพานลอยข้ามถนนในที่สาธารณะเพื่อประโยชน์คนทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ ทำให้สิทธิ์ที่จะใช้ที่สาธารณะมากกว่าประชาชนคนอื่นหมดไปบ้าง แต่ยังไม่เป็นความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคาดหมาย นั้นก็คือศาลคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าที่จะคำนึงประโยชน์ส่วนบุคคล อีกทั้งการใช้ประโยชน์ส่วนบุคคลในทางเท้าที่สาธารณะก็เป็นการเป็นการเอาเปรียบคนอื่นอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีการสร้างสะพานลอยอาจขวางหน้าบ้านหรือก่อความไม่สะดวกแก่เจ้าของบ้านก็ตาม ก็ยังไม่ถือเป็นความเสียหายเป็นพิเศษ
๙.ผู้พิพากษาในฐานะบุคคลธรรมดาเมื่อเดินเผชิญสืบที่เกิดเหตุย่อมใช้ความรู้สึกส่วนตัวในฐานะเป็นบุคคลธรรมดาคนหนึ่งว่า หากต้องตกอยู่ในสภาพนี้จะได้รับความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่คนทั่วไปจะสามารถทนได้หรือไม่ นั้นก็คือ กรณีได้รับความเดือดร้อนรำคาญหรือไม่เพียงใด ต้องถือตามความรู้สึกของบุคคลธรรมดา การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เสียงและการสั่นสะเทือนจากการทุบทองคำเปลวที่ห้องจำเลยถึงขนาดเดือดร้อนรำคาญเกินสมควร โดยอาศัยข้อมูลจากการเดินเผชิญสืบสถานที่พิพาทเป็นสำคัญ อันเป็นความรู้สึกของศาลชั้นต้นประกอบด้วยผู้พิพากษาสองนายในฐานะที่เป็นคนธรรมดามีหน้าที่ให้ความเที่ยงธรรมแก่ผู้มีอรรถคดีทั้งปวง มีน้ำหนักรับฟังได้
๑๐.ความเสียหายเดือดร้อนรำคาญหรือไม่ พิจารณาจากคนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงมีความรู้สึกอย่างไร ไม่ใช่เอาความรู้สึกโจทก์มาเป็นเกณฑ์ นั้นคือเอาวิญญูชนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ทั้งอาจต้องพิจารณาจากสภาพตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์นั้นด้วย เช่นอยู่ในย่านชนบท หรือในเมืองหลวง ในย่านอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม ผู้ที่อ้างว่าได้รับความเดือดร้อนรำคาญนั้นรู้อยู่ก่อนหรือไม่ว่าสภาพแวดล้อมเป็นแบบนั้นมีเสียง มีกลิ่น มีควันก็ยังย้ายเข้ามาอยู่ เท่ากับยอมรับในสิ่งที่เป็นไปตามธรรมดาที่มีมาก่อนที่จะย้ายเข้ามาอยู่ หรือสภาพแวดล้อมเพิ่งเปลี่ยนไปทีหลังจากที่เราเข้ามาอยู่ และต้องคำนึงถึงสถานที่ตั้งของผู้ได้รับความเสียหาย อยู่ใกล้ไกลจากสถานที่ตั้งของผู้ก่อให้เกิดความเสียหายมากน้อยเพียงใด ยิ่งไกลผลกระทบยิ่งมีน้อยหรือไม่มีเลย ทั้งต้องดูว่าการใช้สิทธิ์ของบุคคลภายนอกนั้นส่งผลกระทบแก่เรามากน้อยเพียงใด ส่งผลกระทบอย่างไร เรายังมีทางอื่นที่สามารถกระทำได้หรือไม่อย่างไร เช่นสร้างบ้านปิดทาง แต่ยังมีทางเข้าออกอื่นที่สามารถเข้าออกได้หรือไม่อย่างไร บางครั้งอาจต้องดูประเพณีและธรรมเนียมที่กระทำกัน เช่น มีหลุมฝังศพคนตายในบริเวณบ้าน แม้ห่าง ๑๐ เมตร แต่ก็เป็นที่หวาดกลัวและกดดันทางจิตใจ ไม่มีใครเขาเอาศพมาเก็บไว้ในบ้าน ย่อมเป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป ทั้งเกิดความน่ากลัว ถือเป็นความเดือดร้อนรำคาญเป็นพิเศษได้
๑๑.การปลูกบ้านในเมืองหลวงมีข้อควรพิจารณาคือ
๑๑.๑บ้านในกรุงเทพอันเป็นเมืองหลวงมีประชากรหนาแน่น มีอาคารบ้านเรือนตึกพาณิชย์อยู่กันหนาแน่น
๑๑.๒บ้านที่อยู่ใกล้ถนนเป็นย่านที่มีความเจริญ
๑๑.๓เมื่อมีที่ว่างของที่ดินน้อย ที่ดินจึงมีราคาแพง จึงต้องมีการก่อสร้างสูงเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
๑๑.๔ การที่ปลูกบ้านในละแวกดังกล่าวย่อมคาดหมายได้ว่าอาจมีผู้ปลูกอาคารสูงใกล้บ้านบังลมแสงแดดและทัศนียภาพ อันเป็นไปตามปกติและตามสมควร หรือบ้านที่ปลูกทีหลังจะถมดินให้สูงกว่าบ้านเราเพื่อไม่ให้น้ำท่วมในที่ดินของเขา
๑๑.๕ อีกทั้งการก่อสร้างดังกล่าวยังต้องได้รับการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอนุญาตให้สร้างอาคารได้ ซึ่งการจะอนุญาตหรือไม่นั้นเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนดไว้
๑๑.๖ แม้จะก่อสร้างอาคารจะมีผนังทึบไม่มีช่องระบายลม แต่กระแสลมและแสงสว่างยังคงพัดผ่านและส่องมาที่บ้านได้พอสมควร หาใช่ปิดกั้นทึบจนไม่มีลมไม่มีแดด
๑๑.๗ประกอบทั้งโจทก์ก็ติดเครื่องปรับอากาศเพราะสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในกรุงเทพ เพื่อความสะดวกของโจทก์เอง ทำให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้สนใจต่ออากาศตามธรรมชาติ แม้จะมีลมหรือไม่มีลมก็ไม่ใช่สาระสำคัญ หาใช่การก่อสร้างของจำเลยทำให้อากาศร้อนอบอ้าวไม่
๑๑.๘การที่สร้างอาคารสูงในกรุงเทพที่ไม่ขัดต่อเทศบัญยัติหรือกฏหมายอื่นใดที่จำกัดความสูงของอาคารไว้บังบ้านโจทก์หาเป็นการใช้สิทธ์ที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ เพราะเพราะกรณีตามปพพ มาตรา ๔๒๑ ต้องเป็นการแกล้งโดยมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่น แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาของสิทธิ์นั้น แม้ผู้กระทำจะเห็นว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายบ้างก็ไม่เป็นการละเมิด
๑๑.๙เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างอาคารได้กระทำโดยการกลั่นแกล้งโดยมุ่งความเสียหายแก่โจทก์ฝ่ายเดียว การใช้สิทธิ์ในการก่อสร้างและดัดแปลงอาคาร ถือไม่ได้ว่าเป็นการอันไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่จะรื้อถอนอาคารและกำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้สอยอาคารของโจทก์
๑๒.คันคลองที่สาธารณะอันเป็นสาธารณะอันเป็นสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๔(๒) การที่จำเลยปลูกเรือนที่คันคลองสาธารณะบังหน้าดินของโจทก์ที่โจทก์จะปลูกบ้านจัดสรรในที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยหน้าดินยังว่างไม่มีสิ่งใดปิดกั้นถึง ๑๐๐ เมตร แม้การที่จำเลยสร้างเรือนบังหน้าที่ดินของโจทก์แม้จะทำให้บรรยากาศในการมองเสียไปบ้าง อาจมีการปิดกั้นสายลมและแสงแดดไปบ้าง แต่เมื่อยังมีที่ว่างตั้ง ๑๐๐ เมตร ทั้งที่ดังกล่าวก็เป็นคันคลองสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปทั้งโจทก์และจำเลยใช้ร่วมกัน จึงถือไม่ได้ว่าเดือดร้อนรำคาญเป็นพิเศษไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนเรือนออกไป
๑๓.จอดเรือในคลองห่างที่ดินโจทก์ ๑๘ เมตรเศษ และมีเรือจอดก่อนที่โจทก์จะมาปลูกบ้านในที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน เมื่อโจทก์รู้อยู่แล้วก่อนที่จะมาปลุกบ้านว่ามีเรือจอดอยู่บริเวณนี้อยู่แล้ว การที่โจทก์มาปลูกบ้านเท่ากับต้องยอมรับว่า ตนอาจไม่ได้รับความสะดวกสบายเพราะมีเรือจอดอยู่ อีกทั้งโจทก์ยังสามารถใช้คลองได้สะดวกเพราะมีสะพานท่าเทียบเรือสาธารณะติดกับหน้าที่ดินโจทก์สามารถสัญจรไปมาได้ จำเลยหาได้จอดเรือปิดหน้าที่ดินโจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิ์เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เสียหายเป็นพิเศษไม่
๑๔.การที่เดือดร้อนถึงกับจะใช้สิทธิ์เพื่อยังความเดือดร้อนให้สิ้นไป ต้องได้ความว่าเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร บ้านและที่ดินตั้งอยู่ในช่วงติดต่อระหว่างถนนกับซอยซึ่งมีระดับต่างกันมาก หากไม่ทำถนนเชื่อมต่อกัน ชาวบ้านรวมทั้งโจทก์ จำเลยก็ไม่อาจใช้ซอยต่อไปยังถนนได้ เมื่อพิจารณาตำแหน่งบ้านและที่ดินโจทก์ประกอบกับสภาพถนนและซอยแล้ว กำแพงถนนไม่ได้ปิดกั้นหน้าบ้านโจทก์และอยู่ห่างบ้านโจทก์ ๓ เมตร ไม่ถือเดือดร้อนเกินควรจนไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติอันควรสำหรับสภาพและท้องที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่มีสิทธิ์ฟ้องเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้
๑๕.ที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ใครหาอาจอ้างสิทธิ์ใช้ยันรัฐได้ แต่ระหว่างราษฏร์ด้วยกันใครเข้าครอบครองใช้สิทธิ์ก่อนย่อมมีสิทธิ์ดีกว่าผู้เข้าครอบครองที่หลัง ดังนั้นแม้จำเลยจะปลูกบ้านในที่ริมตลิ่งอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อไม่ได้รุกล้ำไปในที่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิ์ทำเขื่อนกั้นน้ำในที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านแม้ที่ดินดังกล่าวจะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน แต่โจทก์มีสิทธิ์ทำเขื่อนในที่ดินในแนวเขตโจทก์ อีกทั้งยังโจทก์มีทางอื่นที่สามารถลงสู่คลองได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตรงที่จำเลยปลูกบ้าน ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้เสียหายเป็นพิเศษที่จะมีสิทธิ์ปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายนั้นได้
๑๖.สร้างคอกวัวและกองฟางไว้ที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินบังหน้าที่ดินโจทก์ยาว ๑๐ วา เหลือช่องให้โจทก์เข้าออกถนนได้ ๒ วา ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้หน้าที่ดินอันเป็นทางสาธารณะมีความยาว ๑๒ วา เข้าออกถนนได้ตามสิทธิ์ของโจทก์ ถือว่าระยะ ๑๒ วามีความยาวพอสมควร การสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่สาธารณะจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ตามปกติ การใช้สิทธิ์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายว่าจะได้เป็นไปตามปกติ โจทก์มีสิทธิ์ดำเนินการให้ความเสียหายและเดือดร้อนนั้นสิ้นไป มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนคอกวัวและขนย้ายกองฟางออกไปได้
๑๗.แม้โรงเรือนจำเลยไม่บังที่ดินโจทก์ด้านถนนหลวง แต่ก็ปลูกในที่ชายตลิ่งด้านที่ดินโจทก์ติดริมคลอง กีดกั้นระหว่างที่ดินโจทก์กับคลอง ทำให้ที่ดินโจทก์ด้านนั้นถูกลิดรอนความสะดวกไปบ้าง โจทก์มีสิทธิ์ให้รื้อถอนโรงเรือนได้
๑๘.จำเลยปลูกบ้านที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหน้าที่ดินโจทก์ บังที่ดินโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินติดต่อที่ชายตลิ่งเสียหาย ไม่อาจใช้หรือรับประโยชน์จากที่ดินชายตลิ่งอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นได้ต่อไป เมื่อไม่สามารถใช้หรือได้รับประโยชน์จากที่เคยได้รับถือได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ มีสิทธิ์ฟ้องบังคับให้รื้อถอนเรือนให้พ้นหน้าที่ดินเพื่อยังความเสียหายให้สิ้นไปได้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มีท่าน้ำเป็นสะพานคอนกรีตในที่ดินของโจทก์อีกแปลงซึ่งอยู่ติดกันโดยโจทก์สามารถใช้สะพานนี้ลงคลองได้สะดวกโจทก์ไม่เสียหายหาได้ไม่ ปพพ มาตรา ๑๓๓๗คุ้มคลองเจ้าของอสังหาริมทรัพย์(ที่ดิน)แต่ละแปลงไปหาใช่คุ้มครองที่ดินหลายแปลงที่อยู่ติดกันไม่

“รับน้ำจากที่สูง”

๑.เจ้าของนาที่อยู่ใต้น้ำ จำต้องรับน้ำที่ไหลบ่าจากนาทางเหนือตามสภาพปกติ ถ้าไปกั้นคันนาให้สูงขึ้น ทำให้น้ำไหลบ่าไม่ได้เป็นเหตุให้นาทางเหนือน้ำ น้ำท่วม ทำนาไมได้ เจ้าของนาทางเหนือมีสิทธิ์ฟ้องขอให้เปิดคันนาให้น้ำไหลตามสภาพเดิมได้ ฟ้องขอให้เปิดคันนาที่จำเลยกั้นสูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้น้ำไหลบ่าไม่ได้เป็นเหตุให้น้ำท่วมนาโจทก์ ทำนาไม่ได้ ทำให้ข้าวกล้าในนาที่ปลักดำไว้เสียหาย พร้อมเรียกค่าเสียหาย แม้ในขณะฟ้องยังไม่ได้ปลูกข้าวยังไม่เสียหายในเรื่องข้าวก็ดี ศาลก็พิพากษาให้เปิดคันนาให้น้ำไหลไปตามสภาพเดิมได้ คำพิพากษาฏีกา ๔๕๔/๒๔๙๑
๒.ที่ดินโจทก์เป็นที่ดินสูง ที่ดินจำเลยเป็นที่ดินต่ำ การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินโจทก์ผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ลำน้ำ เป็นกรณีที่จำเลยต้องยอมรับตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๙,๑๓๔๐ คำพิพากษาฏีกา ๖๔๐๖/๒๕๒๐
๓.น้ำที่ไหลเข้ามาในที่ดินจำเลยในที่ดินจำเลยไปยังที่ดินโจทก์ผ่านท่อส่งน้ำที่ฝังไว้ใต้ดินเพื่อชักน้ำเข้ามาใช้เป็นทอดๆ เป็นท่อส่งน้ำที่ทำขึ้นเองเพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ท่อน้ำดังกล่าวไม่ใช่น้ำที่ไหลตามธรรมชาติจากที่ดินสูงมาที่ดินต่ำ ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๙ คำพิพากษาฏีกา ๒๓๒๘/๒๕๕๑
๔.แม้ฟังว่าที่ดินโจทก์อยู่สูงกว่าที่ดินจำเลยโดยธรรมชาติ โจทก์ก็ไม่อาจขอให้จำเลยปิดทางระบายน้ำได้ เพราะกรณีที่เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากที่สูงมาในที่ดินตนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๔๐ นั้น หมายถึงน้ำตามธรรมชาติ เช่น น้ำฝน เป็นต้น หาใช่น้ำใช้แล้วหรือน้ำโสโครก ดังเช่นกรณีโจทก์ไม่ คำพิพากษฏีกา ๔๑๒/๒๕๒๕
๕.จำเลยทำคันดินให้สูงขึ้นเป็นทำนบปิดลำห้วยซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณะตอนเหนือนาโจทก์ปิดตาย ไม่ยอมให้น้ำไหลตามธรรมชาติ เป็นเหตุให้ตอนใต้ของทำนบน้ำแห้ง โจทก์ทำนาไม่ได้ การกระทำจำเลยปรับตาม ปพพ มาตรา ๑๓๕๕ เป็นการกระทำที่ถือไม่ได้ว่า เป็นการชักเอาน้ำไว้ จำเลยไม่มีสิทธิ์กระทำ จึงเป็นการละเมิดโจทก์ คำพิพากษาฏีกา ๓๑๗/๒๕๐๙
๖.คลองสาธารณะตื้นเขิน รัฐบาลขายให้เอกชน ไม่นับว่าเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินต่อไป เจ้าของที่ดินต่ำจึงต้องรับน้ำซึ่งไหลตามธรรมดาจากที่สูงมายังที่ของตน แต่ไม่จำต้องรับน้ำที่ใช้แล้วระบายทิ้ง คำพิพากษาฏีกา ๑๕๘/๒๔๗๘
๗.เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำที่ไหลตามธรรมดาหรือเพราะการระบายน้ำจากที่ดินสูงมาสู่ที่ของตน ถ้าได้รับความเสียหายเพราะการระบายน้ำ ก็มีสิทธิ์เรียกร้องให้เจ้าของที่ดินสูงจัดทำทางระบายน้ำหรือมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทน ถ้าหากปิดกั้นเสียโดยลำพังเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินสูงได้รับความเสียหายต้องรับผิด คำพิพากษาฏีกา ๔๒๘/๒๔๙๑
๘. ปพพ มาตรา ๑๓๓๙ เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินสูงมีสิทธิ์กันน้ำเอาไว้ใช้เพียงจำเป็นแก่ที่ดินได้ ส่วน ปพพ มาตรา ๑๓๕๕ เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินริมน้ำหรือทางน้ำผ่านไม่มีสิทธิ์ชักน้ำเอาไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามสมควร เป็นเหตุให้เสื่อมเสียแก่ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางนั้น คำพิพากษาฏีกา ๓๑๗/๒๕๐๙
๙โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองสาธารณะตามที่โจทก์มีสิทธิ์ และหากมีการแบ่งเฉลี่ยการใช้น้ำระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ก็จะมีน้ำใช้พอทั้งสองฝ่าย การที่โจทก์เปิดน้ำเข้าฟาร์มของโจทก์ในช่วงเกิดเหตุที่เป็นฤดูแล้งมีน้ำน้อยไม่พอแก่การทำนาของราษฏร์ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของโจทก์ตามสมควร อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๕ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิ์ที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นอันจะเป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปพพ มาตรา ๔๒๑ คำพิพากษาฏีกา ๓๘๐๑/๒๕๔๐
ข้อสังเกต ๑. เจ้าของที่ดินต้องรับน้ำที่ไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงลงมาสู่ที่ดินของตน และน้ำไหลตามธรรมดามาที่ดินต่ำ และจำเป็นแก่ที่ดินนั้น เจ้าของที่ดินที่สูงกว่าจะกันไว้ได้เพียงที่จำเป็นแก่ที่ดินของตน ปพพ มาตรา ๑๓๓๙ นั้นมีข้อควรพิจารณาดังนี้
๑.๑ต้องเป็นน้ำที่ไหลตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และต้องไม่ใช้น้ำโสโครกจากการระบายของเจ้าของที่ดินแปลงสูง
๑.๒ที่ดินสูงต้องเกิดตามธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ดินต่างระดับที่เป็นที่สูงและที่ต่ำต้องเกิดจากทำเลที่ตั้งของที่ดินซึ่งอยู่สูงกว่าและต่ำกว่าโดยธรรมชาติไม่ได้เกิดจากการขุดของมนุษย์ ไม่ว่าเป็นการถมให้สูงขึ้นหรือขุดให้ต่ำลง (คำพิพากษาฏีกา ๑๕๕๘/๒๕๐๕) ซึ่งคำพิพากษาฏีกาดังกล่าวอธิบายว่า ที่ดินสูงที่ดินต่ำตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๙,๑๓๔๐ หมายถึงที่ดินสูงต่ำตามธรรมชาติ เจ้าของที่ดินต่ำหาจำต้องรับน้ำจากที่ดินที่ถมให้สูงขึ้นไม่ และน้ำที่เจ้าของที่ดินต่ำต้องยอมรับ หมายถึงน้ำที่ไหลตามธรรมชาติผ่านที่ดินสูงสู่ที่ดินต่ำ มิใช่ไหลเพราะการกักเก็บน้ำด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วปล่อยให้ไหลโดยผิดธรรมชาติลงสู่ที่ดินต่ำ ซึ่งไม่ใช่ความหมายของคำว่า “ น้ำซึ่งไหลตามธรรมดา”ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๙ และไม่ใช่ความหมายของน้ำที่ไหลเพราะระบายจากที่ดินสูง ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๔๐ หรือเป็นกรณีน้ำในลำห้วยลำธารที่ไหลผ่านที่ดินริมทางน้ำ(ปพพ มาตรา ๑๓๕๕) และต้องไม่ใช่น้ำที่ใช้แล้ว น้ำสกปรก หรือน้ำโสโครกอันเกิดจากการกระทำของเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่สูงกว่าหรือบริวาร
๑.๓เจ้าของที่ดินต่ำต้องยอมรับกรรมยอมให้น้ำไหลจากที่สูงผ่านที่ดินตน จะปิดกั้นไม่ให้น้ำไหลสู่ที่ดินตนไม่ได้
๑.๔ส่วนเจ้าของที่ดินสูงจะกันน้ำได้เพียงเท่าที่จำเป็นแก่ที่ดินตนเท่านั้นจะกักเก็บน้ำไว้ทั้งหมดไม่ยอมให้น้ำไหลลงไปสู่ที่ดินต่ำไม่ได้
๒,ปพพ มาตรา ๑๓๓๙ เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินที่สูงกว่ามีสิทธิ์กันน้ำเอาไว้ใช้เพียงจำเป็นแก่ที่ดิน ส่วน ปพพ มาตรา ๑๓๓๕ เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินริมทางน้ำหรือมีทางน้ำผ่านไม่มีสิทธิ์ชักน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามสมควรเป็นเหตุให้เสื่อมเสียแก่ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางน้ำนั้น ส่วนใน ปพพ มาตรา ๑๓๔๐ เป็นกรณีที่เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากที่ดินสูงมาในที่ของตน ถ้าก่อนที่จะระบายน้ำนั้นน้ำได้ไหลเข้ามาในที่ดินของตนตามธรรมดาอยู่แล้ว แต่หากได้รับความเสียหายเพราะการระบายน้ำ เจ้าของที่ดินต่ำอาจเรียกร้องให้เจ้าของที่ดินสูงทำทางระบายน้ำและออกค่าใช้จ่ายในการนั้นเพื่อระบายน้ำไปให้ตลอดที่ดินต่ำจนถึงทางน้ำหรือท่อน้ำสาธารณะ และไม่ลบล้างสิทธิ์ที่เจ้าของที่ดินต่ำจะเรียกค่าทดแทน
๓.เจ้าของนาที่อยู่ใต้น้ำ จำต้องรับน้ำที่ไหลบ่าจากนาทางเหนือตามสภาพปกติ หรือแม้เจ้าของที่ดินสูงจะทำรางระบายน้ำจากที่ดินตนลงมาผ่านที่ดินที่อยู่ต่ำกว่าก็ตาม เจ้าของที่ดินต่ำจะไปฟ้องเจ้าของที่ดินสูงว่าทำละเมิดต่อตนไม่ได้
๔.และหากเจ้าของที่ดินต่ำไปกั้นคันนาให้สูงขึ้น ทำให้น้ำไหลบ่าไม่ได้เป็นเหตุให้นาทางเหนือน้ำ น้ำท่วม ทำนาไมได้ เป็นการใช้สิทธิ์ไม่สุจริตตาม ปพพ มาตรา ๕ เป็นการใช้สิทธิ์ซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ปพพ มาตรา ๔๒๑) เป็นการกระทำละเมิดตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐ เป็นการใช้สิทธิ์ของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์อื่นได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติ และเหตุอันควร เมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์มาคำนึงประกอบ เจ้าของที่ดินแปลงทางเหนือมีสิทธิ์จะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนให้สิ้นไปโดยฟ้องขอให้ เปิดคันนาให้น้ำไหลตามสภาพเดิม พร้อมเรียกค่าทดแทนในความเสียหายที่เกิดได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๗
๕.หากเจ้าของนาทางเหนือไม่ใช้สิทธิ์ฟ้องศาลตามข้อสังเกตข้อ ๒ แต่ใช้กำลังเข้าไปทำลายคันนาเสียเอง เป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งคันนาของเจ้าของที่ดินแปลงต่ำ เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่อาจอ้างการกระทำโดยป้องกัน โดยอ้างว่า จำเป็นต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ์ในนาข้าวของตนไม่ให้ต้องเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ปิดกั้นน้ำโดยไม่มีอำนาจอันเป็นการกระทำการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย( ปพพ มาตรา ๕,๔๒๐,๔๒๑, ) เป็นภยันตรายที่ใกล้ถึงหรือถึงแล้ว หากได้กระทำพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดตามกฎหมาย ปอ มาตรา ๖๘ เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ แต่นักกฎหมายบางคนอาจมองว่า เป็นการกระทำด้วยความจำเป็นเพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยวิธีอื่นใด โดยภยันตรายไม่ได้เกิดจากความผิดของตนอันเป็นการกระทำด้วยความจำเป็นตาม ปอ มาตรา ๖๗ หากกระทำไปพอสมควรแก่เหตุพอควรแก่กรณีแห่งความจำเป็นแล้วไม่ต้องรับโทษ ตาม ปอ มาตรา ๖๗ และมีนักกฎหมายอีกฝ่ายเห็นว่า การที่เจ้าของที่ดินแปลงสูงไปทำลายคันกั้นน้ำเสียเองโดยไม่ไปใช้สิทธิ์ทางศาลตาม ปพพ มาตรา ๕,๔๒๐,๔๒๑,๑๓๓๗ ย่อมเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฏหมายไม่อาจอ้างการกระทำป้องกันหรือจำเป็นได้ แต่อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะอ้างเป็นการกระทำโดยป้องกันหรือจำเป็นได้หรือไม่อย่างไร แต่มูลเหตุในการกระทำผิดเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนคือนาข้าวไม่ให้เสียหาย หากศาลจะฟังว่าเป็นความผิดก็เป็นดุลพินิจที่ศาลจะลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษได้
๖.การฟ้องขอให้เปิดคันนาที่จำเลยกั้นสูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้น้ำไหลบ่าไม่ได้เป็นเหตุให้น้ำท่วมนาโจทก์ ทำนาไม่ได้ ทำให้ข้าวกล้าในนาที่ปลักดำไว้เสียหาย พร้อมเรียกค่าเสียหาย แม้ในขณะฟ้องยังไม่ได้ปลูกข้าวยังไม่เสียหายในเรื่องข้าวก็ดี ศาลก็พิพากษาให้เปิดคันนาให้น้ำไหลไปตามสภาพเดิมได้ แต่ค่าเสียหายที่อ้างว่าข้าวกล้าที่ปลักดำไว้เสียหายนั้น เมื่อยังไม่ได้ปลูกข้าว จึงไม่มีข้าวที่จะเสียหายตามที่โจทก์อ้าง ค่าเสียหายในส่วนนี้โจทก์เรียกไม่ได้ ผมว่าตั้งรูปคดีผิด จริงๆน่าจะตั้งรูปคดีเป็นว่าเมื่อปิดกั้นแล้วทำให้น้ำท่วมไม่สามารถทำนาได้ หากสามารถทำนาได้จะได้ผลผลิตเท่าไหร่ แต่เมื่อไม่สามารถทำนาได้จึงได้รับความเสียหายในส่วนนี้ การไปตั้งประเด็นว่าข้าวกล้าเสียหายทั้งที่ยังไม่ได้ปลูกข่าวย่อมไม่มีความเสียหายในส่วนนี้ แม้การฟ้องเท็จในคดีแพ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ตาม แต่ตอนสืบพยานการนำสืบและการเบิกความในศาลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จได้ ตาม ปอ มาตรา ๑๗๗, ๑๘๐
๗.ที่ดินโจทก์เป็นที่ดินสูง ที่ดินจำเลยเป็นที่ดินต่ำ การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินโจทก์ผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ลำน้ำ เป็นกรณีที่จำเลยต้องยอมรับตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๙,๑๓๔๐ เพราะเป็นน้ำที่ไหลตามธรรมดาจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์
๘.น้ำที่ไหลเข้ามาในที่ดินจำเลยในที่ดินจำเลยไปยังที่ดินโจทก์ผ่านท่อส่งน้ำที่ฝังไว้ใต้ดินเพื่อชักน้ำเข้ามาใช้เป็นทอดๆ เป็นท่อส่งน้ำที่ทำขึ้นเองเพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ท่อน้ำดังกล่าวไม่ใช่น้ำที่ไหลตามธรรมชาติจากที่ดินสูงมาที่ดินต่ำ ไม่ใช่น้ำซึ่งไหลตามธรรมดาตามธรรมชาติจากที่สูงสู่ที่ต่ำที่เจ้าของที่ดินแปลงต่ำต้องยอมรับกรรม ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๙ แต่อย่างใดไม่ เป็นกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงสูงใช้สิทธิ์ของตนในการระบายน้ำผ่านท่อส่งน้ำเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินแปลงต่ำได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อน เกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติ และเหตุอันควร เมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์มาคำนึงประกอบ เจ้าของที่ดินแปลงต่ำมีสิทธิ์จะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนให้สิ้นไปโดยฟ้องขอให้ เอาท่อที่ฝังดินออกเพื่อให้น้ำไหลตามสภาพเดิม พร้อมเรียกค่าทดแทนในความเสียหายที่เกิดได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๗
๙..แม้ฟังว่าที่ดินโจทก์อยู่สูงกว่าที่ดินจำเลยโดยธรรมชาติ โจทก์ก็ไม่อาจขอให้จำเลยปิดทางระบายน้ำได้ เพราะกรณีที่เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากที่สูงมาในที่ดินตนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๔๐ นั้น หมายถึงน้ำตามธรรมชาติ เช่น น้ำฝน เป็นต้น หาใช่น้ำใช้แล้วหรือน้ำโสโครก ดังเช่นกรณีโจทก์ไม่ เมื่อไม่ใช่น้ำตามธรรมชาติแต่เป็นน้ำใช้แล้วหรือน้ำโสโครกที่ระบายลงมาสู่ที่ดินต่ำ เจ้าของที่ดินต่ำไม่จำต้องยอมรับ แต่มีสิทธิ์ฟ้องเพื่อให้เจ้าของที่ดินแปลงสูงจัดการกับการระบายน้ำโสโครกไม่ให้ไหลมาในที่ดินของตนซึ่งอยู่ต่ำกว่าได้
๑๐.จำเลยทำคันดินให้สูงขึ้นเป็นทำนบปิดลำห้วยซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณะตอนเหนือนาโจทก์ปิดตาย ไม่ยอมให้น้ำไหลตามธรรมชาติ เป็นเหตุให้ตอนใต้ของทำนบน้ำแห้ง โจทก์ทำนาไม่ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายที่บัญญัติไว้ในเรื่องนี้โดยตรง ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกมาปรับ จึงต้องนำ ปพพ มาตรา ๑๓๕๕ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ปพพ มาตรา ๔มาใช้ในการวินิจฉัย การทำนบปิดลำห้วยซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณะตอนเหนือนาโจทก์ปิดตาย เป็นการกระทำที่ถือไม่ได้ว่า เป็นการชักเอาน้ำไว้ตามความหมายใน ปพพ มาตรา ๑๓๓๕ เพราะการชักน้ำเอาไว้ใช้ต้องไม่เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามสมควร และต้องไม่เป็นที่เสียหายเสื่อมเสียสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นด้วย จำเลยไม่มีสิทธิ์ทำทำนบเก็บกักน้ำไว้ใช้คนเดียว จำเลยไม่มีสิทธิ์กระทำดังนั้น การกระทำของจำเลย จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทำนบหรือรื้อถอนทำลายทำนบนั้นเพื่อให้สภาพที่ดินกลับเป็นไปตามเดิมได้
๑๑.คลองสาธารณะตื้นเขิน รัฐบาลขายให้เอกชนนั้น โดยปกติแล้วคลองสาธารณะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภทประชาชนใช้ร่วมกันตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๔(๒) จะโอนให้แก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา ปพพ มาตรา ๑๓๐๕ ดังนั้น การที่รัฐบาลขายคลองสาธารณะที่ตื้นเขินให้แก่ประชาชนต้องออกเป็นกฏหมายเฉพาะหรือพระราชกษฤฏีกาเพื่อเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน เมื่อขายคลองดังกล่าวไปแล้วคลองดังกล่าวไม่นับว่าเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินต่อไป เจ้าของที่ดินต่ำจึงต้องรับน้ำซึ่งไหลตามธรรมดาจากที่สูงมายังที่ของตน แต่ไม่จำต้องรับน้ำที่ใช้แล้วระบายทิ้งจากที่ดินแปลงสูง
๑๒.เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำที่ไหลตามธรรมดา(ปพพ มาตรา ๑๓๓๙)หรือเพราะการระบายน้ำจากที่ดินสูงมาสู่ที่ของตน(ปพพ มาตรา ๑๓๔๐)ถ้าได้รับความเสียหายเพราะการระบายน้ำ ก็มีสิทธิ์เรียกร้องให้เจ้าของที่ดินสูงจัดทำทางระบายน้ำหรือมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทนโดยการฟ้องศาล แต่ ถ้าหากปิดกั้นเสียเองโดยลำพังเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินสูงได้รับความเสียหายต้องรับผิด
๑๓. ปพพ มาตรา ๑๓๓๙ เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินสูงมีสิทธิ์ “กันน้ำ” เอาไว้ใช้เพียงจำเป็นแก่ที่ดินได้ ส่วน ปพพ มาตรา ๑๓๕๕ เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินริมน้ำหรือทางน้ำผ่านไม่มีสิทธิ์ “ชักน้ำ” เอาไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามสมควร เป็นเหตุให้เสื่อมเสียแก่ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางนั้น คำว่า “ ชักน้ำ” หรือ “กันน้ำ” น่าจะอยู่ในความหมายเดียวกัน คือ “การกักเก็บน้ำไว้ใช้” นั้นเอง
๑๔.โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองสาธารณะตามที่โจทก์มีสิทธิ์ และหากมีการแบ่งเฉลี่ยการใช้น้ำระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ก็จะมีน้ำใช้พอทั้งสองฝ่าย การที่โจทก์เปิดน้ำเข้าฟาร์มของโจทก์ในช่วงเกิดเหตุที่เป็นฤดูแล้งมีน้ำน้อยไม่พอแก่การทำนาของราษฏร์ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของโจทก์ตามสมควร อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๕ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิ์ที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นอันจะเป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปพพ มาตรา ๔๒๑ ปัญหาที่เกิดคือช่วงนาแล้งน้ำน้อย หากเฉลี่ยน้ำกันแล้วก็พอใช้ แต่ทั้งสองฝ่ายไม่ยอมกัน แต่เมื่อโจทก์เปิดน้ำเข้าฟาร์มตนเองตามสมควร ไม่ได้เก็บกักไว้ใช้คนเดียวจนคนอื่นใช้ไม่ได้ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการทำละเมิด

“มีส่วนประมาทเลินเล่อในการสร้างโรงเรือน”

จำเลยปลูกสร้างอาคารในที่พิพาททั้งก่อนและหลังทำสัญญาขายฝาก “ เฉพาะ” ที่ดินพิพาท.แก่โจทก์ โจทก์รับรู้และยินยอมให้ปลูกสร้าง จำเลยเข้าใจว่าตนมีสิทธิ์ที่จะปลูกสร้างได้ต่อไปจนเสร็จ เพราะเชื่อว่าตนมีสิทธิ์ไถ่ที่ดินคืนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาการปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทของจำเลย เป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต เมื่อทำสัญญาขายฝากแล้วจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ที่พิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ ปัญหาว่าจำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์หรือไม่? กรณีนี้ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับได้โดยตรงจึงต้องอาศัยบทกฏหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอันได้แก่ ปพพ มาตรา ๑๓๑๐ วรรคแรก ทำให้โจทก์วึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่ถ้าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถแสดงได้ว่า ไมได้ประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำให้ที่ดินเป็นไปตามเดิมได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๑๐ วรรคสอง การที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยปลูกสร้างอาคารต่อไปทั้งที่ได้ทำสัญญาขายฝากโดยโจทก์ไม่ได้ห้ามปราม หรือให้จำเลยยุติการก่อสร้าง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยในการสร้างโรงเรือนของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้น และเรียกให้จำเลยผู้สร้างรื้อถอนไปตามมาตรา ๑๓๑๐วรรคสองและไม่อาจเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลยได้ เพราะจำเลยไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ คำพิพากษาฏีกา ๕๔๙๖/๒๕๔๓
ข้อสังเกต ๑.ขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงว่า ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ปพพ มาตรา ๔๙๑ หากทำการไถ่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ทรัพย์สินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ ปพพ มาตรา ๔๙๒หากไม่ไถ่คืนภายในกำหนด สิทธิ์ในการไถ่ย่อมหมดไป ทรัพย์สินที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด ผู้ขายฝากไม่สามารถขอไถ่คืนได้
๒.อาคารสิ่งปลูกสร้างว่าโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นย่อมเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น ไม่สามารถแยกออกจากกันได้นอกจากทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้เปลี่ยนแปลงรูปทรง สิ่งปลูกสร้างจึงเป็นส่วนควบที่ดินตาม ปพพ มาตรา ๑๔๔ เจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นส่วนควบนั้น ปพพ มาตรา ๑๔๔ วรรคสอง เมื่อผู้มีสิทธิ์ในที่ดินผู้อื่นใช้สิทธิ์ปลูกสร้างในที่ดินผู้อื่นใช้สิทธิ์ปลุกสร้างไว้ในที่ดินนั้น สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวย่อมไม่ใช่ส่วนควบที่ดินตาม ปพพ มาตรา ๑๔๖ ตอนท้าย นั้นก็คือการปลูกโดยมีสิทธิ์ไม่ใช่ส่วนควบ
๓.ปพพ มาตรา ๕ การใช้สิทธิ์แห่งตน บุคคลต้องกระทำการโดยสุจริต ทั้งใน มาตรา ๖ ให้สันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต
๔. เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบที่ดินใครเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบด้วย ดังนั้น การซื้อขาย ให้ จำนอง ขายฝากที่ดิน ไม่พูดถึงสิ่งปลูกสร้าง ถือว่า ซื้อขาย ให้ จำนอง ขายฝากสิ่งปลูกสร้างด้วย เป็นไปตามหลักส่วนควบที่เจ่าของที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกหสร้างที่อยู่บนที่ดิน หากไม่ต้องการให้สิ่งปลุกสร้างตกติดไปด้วยต้องระบุให้ชัดเจนว่า ซื้อขาย ให้ จำนอง ขาย ขายฝากเฉพาะที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วย การซื้อขาย จำนองให้ ขายฝาก จำนองก็จะไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง ในทางกลับกัน หากซื้อขาย ขายฝาก ให้ จำนองสิ่งปลูกสร้างไม่พูดถึงที่ดินไว้ ต้องถือว่า ซื้อขาย ขายฝาก จำนอง ให้เฉพาะสิ่งปลุกสร้างเท่านั้นไม่รวมที่ดินด้วย เพราะที่ดินไม่ใช่ส่วนควบสิ่งปลูกสร้าง แต่สิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบที่ดิน
๕.เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ที่จะนำมาปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยอาศัยบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าบทกฎหมายเช่นว่านั้นไม่มีให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป
๖.การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารในที่พิพาท “ ก่อน” ทำสัญญาขายฝาก เมื่อที่ดินเป็นของจำเลย หากจำเลยปลูกสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของตนเองหากก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างนั้นเสร็จ สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดิน สิ่งปลูกสร้างนั้นย่อมเป็นสิทธิ์แก่จำเลย หรือกรณีเมื่อจำเลยทำการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างภาย “หลัง”การขายฝาก“ แล้วทำการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหากเป็นการก่อสร้างโดยไม่มีสิทธิ์ หากทำการก่อสร้างเสร็จ เมื่อขายฝากที่ดินแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อทำการขายฝากเฉพาะ” ที่ดินพิพาทแก่โจทก์แม้ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วยก็ตาม แต่เมื่อสิ่งปลูกสร้างที่สร้างเสร็จภายหลังเป็นส่วนควบที่ดินย่อมตกติดไปกับที่ดิน ใครเป็นเจ้าของที่ดินย่อมเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย เมื่อขายฝากเฉพาะที่ดินก็ต้องถือขายฝากสิ่งปลูกสร้างด้วย
๗.แต่ในกรณีตามปัญหามีการปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างก่อนที่จะมีการขายฝากและเมื่อขายฝากแล้วก็ทำการปลูกสร้างต่อไปจนปลูกสร้างเสร็จหลังมีการขายฝากไปแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากรู้เห็นยินยอมไม่ได้ทักท้วงในขณะทำสัญญาขายฝากหรือภายหลังมีการทำสัญญาขายฝากเท่ากับยินยอมให้ทำการปลูกสร้างได้ สิ่งปลูกสร้างนี้จึงเป็นการปลูกสร้างโดยมีสิทธิ์ที่จะปลูกย่อมไม่ตกติดเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๖ตอนท้าย
๘.ด้วยความเคารพในคำพิพากษาฏีกาที่ใช้คำว่า “ สิ่งปลูกสร้างที่สร้างก่อนการขายฝากเมื่อ โจทก์รับรู้และยินยอมให้ปลูกสร้าง จำเลยเข้าใจว่าตนมีสิทธิ์ที่จะปลูกสร้างได้ต่อไปจนเสร็จ เพราะเชื่อว่าตนมีสิทธิ์ไถ่ที่ดินคืนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาการปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทของจำเลย” ด้วยความเคารพในคำพิพากษาฏีกา ผมเห็นว่า เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินก่อนมีการขายฝากย่อมมีสิทธิ์ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างในที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของได้อยู่แล้ว หาจำเป็นต้องอาศัยการรับรู้ของโจทก์เป็นสำคัญ ส่วนกรณีที่มีการขายฝากที่ดินกันแล้ว เมื่อขายฝากที่ดินไม่พูดถึงสิ่งก่อสร้างย่อมหมายถึงขายฝากสิ่งก่อสร้างด้วย และตามปัญหาเมื่อมีการขายฝากแล้วโจทก์ก็ทราบมาแต่แรกก่อนมีการขายฝากว่ามีการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างโจทก์ก็ไม่ได้ทักท้วงและยอมให้ก่อสร้างต่อไปจนก่อสร้างเสร็จภายหลังการขายฝากให้โจทก์จนโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแล้ว ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมหรืออนุญาตให้มีการปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้ว จึงเป็นการปลูกโดยมีสิทธิ์ดังนั้นจึงต้องถือว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นสิทธิ์แก่จำเลยผู้ปลูกสร้าง
๙.โดยเฉพาะในส่วนที่ทำการปลูกสิ่งปลูกสร้างภายหลังการขายฝากโดยโจทก์รับรู้ถือได้ว่า จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์อนุญาตให้ปลูกได้ เมื่อการขายฝากกรรมสิทธิ์ในที่ดินตกแก่โจทก์เพียงจำเลยมีสิทธิ์ไถ่คืนได้เท่านั้น เมื่อขายฝากแล้วกรรมสิทธิ์ที่ดินตกแก่โจทก์ การที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้าง ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างโดยมีสิทธิ์ สิ่งปลูกสร้างจึงไม่ตกเป็นส่วนควบที่จะตกติดแก่โจทก์ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๖ตอนท้าย อีกทั้งใน ปพพ มาตรา ๕ การใช้สิทธิ์แห่งตน ย่อมต้องทำการโดยสุจริต อีกทั้งในปพพ มาตรา ๖ สันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต กรณีน่าที่จะนำบทบัญญัติในเรื่องส่วนควบมาใช้บังคับ
๑๐.แต่ศาลฏีกามองพฤติกรรมที่จำเลยปลูกสิ่งก่อสร้างก่อนขายฝายและหลังขายฝากโดยโจทก์รู้เห็นยินยอมไม่ได้ทักท้วงทำให้มองว่าจำเลยทำการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้าง ในรูปโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต เมื่อทำสัญญาขายฝากแล้วจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ที่พิพาทรวมทั้งโรงเรือนย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ
๑๑. ปัญหาว่าจำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์หรือไม่? ศาลฏีกาไม่ได้นำบทบัญญัติในเรื่องส่วนควบมาบังคับใช้ แต่ศาลฏีกามองว่า กรณีนี้ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับได้โดยตรง ไม่มีจารีตประเพณีในเรื่องนี้ได้กำหนดไว้จึงต้องอาศัยบทกฏหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอันได้แก่ ปพพ มาตรา ๑๓๑๐ วรรคแรก ซึ่งเป็นเรื่องสร้างโรงเรือนในที่ดินของคนอื่นโดยไม่มีสิทธิ์ แต่ผู้สร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินผู้อื่นโดยสุจริต ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะเหตุสร้างโรงเรือน ซึ่งหากโจทก์แสดงได้ว่าตนไม่ได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนและทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิม เว้นแต่การนี้จะกระทำไม่ได้โดยใช้วงเงินตามสมควร เจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาท้องตลาดก็ได้ แต่ถ้าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถแสดงได้ว่า ไม่ได้ประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำให้ที่ดินเป็นไปตามเดิมได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๑๐ วรรคสอง
๑๒. การที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยปลูกสร้างอาคารต่อไปทั้งที่ได้ทำสัญญาขายฝากโดยโจทก์ไม่ได้ห้ามปราม หรือให้จำเลยยุติการก่อสร้าง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยในการสร้างโรงเรือนของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้น และเรียกให้จำเลยผู้สร้างรื้อถอนไปตามมาตรา ๑๓๑๐วรรคสองและไม่อาจเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลยได้ เพราะจำเลยไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นการตัดสินตาม ปพพ มาตรา ๑๓๑๐ วรรคแรกและวรรคสอง เมื่อตัดสินตามบทกฎหมายนี้ถือว่าปลูกโดยสุจริตในที่ดินคนอื่น เจ้าของที่ดินย่อมเป็นเจ้าของโรงเรือน แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่เจ้าของโรงเรือนเท่านั้น

“ก่อความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน”

๑.กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยซึ่งเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้ครอบครองต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้น การที่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ เพราะต้นมะพร้าวอยู่ใกล้ชิดแนวสายไฟฟ้าเป็นเหตุให้ทางมะพร้าวฟาดไปถูกเสาไฟฟ้าเมื่อมีลมพัดซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยอาจป้องกันได้ถ้าตัดต้นมะพร้าวหรือแจ้งให้โจทก์ตัดอันเป็นหน้าที่ของจำเลย ถือโจทก์มี่ส่วนร่วมในการที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่หยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยจึงให้รับผิดในความเสียหายครึ่งหนึ่ง คำพิพากษาฏีกา ๕๒๙/๒๕๒๓
๒.โจทก์ขับรถไปชนไม้ที่จำเลยบรรทุกยื่นออกมา โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจำเลย ไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย คำพิพากษาฏีกา ๓๐๐๒/๒๕๓๓
๓.ขับรถด้วยความเร็วสูงผ่านทางร่วมทางแยกถือโจทก์มีส่วนประมาทอยู่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เพียง ๒ ใน ๓ จึงชอบแล้ว คำพิพากษาฏีกา ๗๖๗๓/๒๕๕๐
๔.ออกรถจากท้ายรถโดยสารที่จอดล้ำเข้าไปในทางรถของจำเลยที่สวนมาเป็นการประมาทมากกว่า ก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่า คำพิพากษาฏีกา ๒๑๕๖/๒๕๒๔
๕.ใกล้ที่เกิดเหตุมีป้ายจราจรสองป้ายคือ “ ให้ระวังรถไฟ” และอีกป้ายเขียนว่า “ หยุด” จำเลยไม่หยุดรถเมื่อเห็นรถไฟวิ่งมาห่างในระยะ ๓๐ เมตร จำเลยเร่งเครื่องเพื่อข้ามทางรถไฟให้ทัน เป็นเหตุให้รถจำเลยชนกับรถไฟ จำเลยไม่ปฏิบัติตามกฏจราจร กลับฝ่าฝืนและเสี่ยงภัยอย่างชัดแจ้ง แสดงจำเลยขับรถด้วยความประมาทอย่างร้ายแรง แม้การรถไฟไม่มีแผงกั้นทางขณะรถไฟวิ่งผ่านที่เกิดเหตุก็ไม่อาจถือว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วย จำเลยประมาทฝ่ายเดียว คำพิพากษาฏีกา ๕๒๖/๒๕๓๔
ข้อสังเกต ๑. หากความเสียหายเกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้เสียหายประกอบด้วย หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากัน แม้เป็นความผิดของผู้เสียหายมีเพียงละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นการร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจรู้ได้ หรือละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย ป.พ.พ. มาตรา ๔๔๒,๒๒๓
๒.กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยซึ่งเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้ครอบครองต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเกิดจากกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์ที่ทำให้เกิดอันตรายโดยสภาพของกระแสไฟฟ้านั้นเอง ป.พ.พ. มาตรา ๔๓๗ การที่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ เพราะต้นมะพร้าวอยู่ใกล้ชิดแนวสายไฟฟ้าเป็นเหตุให้ทางมะพร้าวฟาดไปถูกเสาไฟฟ้าเมื่อมีลมพัดนั้น ไม่ใช่เหตุอันใดอันจะเกิดขึ้นแล้วส่งผลพิบัติอันเป็นเหตุไม่สามารถป้องกันได้ แม้บุคคลที่ต้องประสบหรือใกล้ประสบ จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและสภาวะเช่นนั้น ตามป.พ.พ. มาตรา ๘ โจทก์อาจป้องกันได้ถ้าตัดต้นมะพร้าวหรือแจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยตัดอันเป็นหน้าที่ของจำเลย แต่เมื่อโจทก์ไม่ทำแล้วเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทั้งที่สามารถทำได้อันจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลทั่วไปในสภาวะเช่นเดียวกับโจทก์โดยทั่วไปจะกระทำกัน การที่ลมพัดทางมะพร้าวถูกสายไฟฟ้าแล้วเกิดลัดวงจรเกิดไฟไหม้ขึ้นจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าต้นมะพร้าวอยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้าหากมีลมหรือต้นมะพร้าวโยกคลอนเพราะฝนตกทางมะพร้าวอาจฟาดไปถึงสายไฟฟ้าและอาจเกิดการลัดวงจรได้ ถือโจทก์มีส่วนร่วมในการที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่หยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลย(การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสายไฟฟ้าอันก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพจึงให้ต่างรับผิดในความเสียหายคนละครึ่งหนึ่ง
๓.ตามพรบ.จราจรฯ กำหนดให้รถที่บรรทุกสิ่งของล้ำออกนอกตัวรถมีหน้าที่ติดผ้าแดงเพื่อให้บุคคลที่ขับรถตามมาทราบถึงการที่บรรทุกสิ่งของล้ำออกนอกตัวรถ และในพรบ.จราจรฯ บัญญัติให้รถที่วิ่งตามหลังรถคันหน้าต้องทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควรเพื่อป้องกันการเฉี่ยวชน โจทก์ขับรถไปชนไม้ที่จำเลยบรรทุกยื่นออกมาเพราะขับด้วยความเร็วและไม่เว้นระยะห่างของรถให้อยู่ห่างจากรถคันหน้า แม้รถค้นหน้าจะไม่ผูกผ้าแดงเป็นเครื่องหมายให้รถที่ตามหลังมาทราบว่ามีการบรรทุกสิ่งของล้ำออกนอกตัวรถอันเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่เหตุโดยตรงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น หากรถคันหลังขับมาด้วยความเร็วต่ำและเว้นระยะห่างของรถก็จะไม่เกิดการเฉี่ยวชนกัน การที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นก็ด้วยความประมาทของรถคันหลังที่ขับมาด้วยความเร็วและไม่เว้นระยะห่างจากรถคันแรกจึงเกิดการเฉี่ยวชนกัน โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจำเลย จึงไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย
๔.ขับรถด้วยความเร็วสูงผ่านทางร่วมทางแยกถือโจทก์มีส่วนประมาทอยู่ด้วย เพราะตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๗๐ บัญญัติให้ผู้ที่ขับรถใกล้ทางร่วมทางแยกต้องลดความเร็วของรถลง ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา ๑๔๘ การที่ขับรถผ่านทางร่วมทางแยกด้วยความเร็วสูงโดยไม่ลดความเร็วของรถลงจึงเป็นการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฏหมายที่จะปกป้องบุคคลอื่น ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นผู้ผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๒๒ การที่ขับรถผ่านทางร่วมทางแยกโดยไม่ลดความเร็วของรถถือเป็นการขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในสภาวะผู้ขับขี่รถจำต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และสามารถใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ด้วยการลดความเร็วของรถลงเมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงขับรถผ่านทางร่วมแยกนั้นไป ซึ่งโจทก์อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช่ให้เพียงพอไม่ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการขับรถโดยประมาทเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับการเฉี่ยวชนกับรถคนอื่นถือโจทก์มีส่วนประมาทด้วย จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เพียง ๒ ใน ๓ จึงชอบแล้ว
๕. เมื่อมีรถโดยสารจอดข้างทางแต่ท้ายรถโดยสารจอดล้ำเข้าไปในทางเดินรถของอีกฝ่าย ท้ายรถโดยสารที่มีความยาวของตัวรถย่อมบังไม่ให้เห็นว่ามีรถแล่นสวนมาหรือไม่อย่างไร จึงต้องรอให้รถโดยสารขับออกไปเสียก่อนจึงค่อยขับรถไป แต่ การที่ขับรถออกจากท้ายรถโดยสารที่จอดล้ำเข้าไปในทางรถของจำเลยที่สวนมาย่อมไม่สามารถมองเห็นรถที่แล่นสวนมาได้ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการประมาทมากกว่า ก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าที่อีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนคนที่ขับรถสวนทางมาก็ถือประมาทด้วยที่เห็นส่วนท้ายรถบรรทุกล้ำเข้ามาในช่องทางเดินรถของตนและบดบังไม่ให้เห็นว่าท้ายรถมีรถจอดอยู่พร้อมจะขับเคลื่อนต่อไปหรือไม่อย่างไร จึงควรชะลอความเร็วของรถและหยุดรถเพื่อให้รถโดยสารขับเคลื่อนออกไปก่อนเพื่อป้องกันการเฉี่ยวชน การที่ไม่ชะลอความเร็วของรถและจอดรถเพื่อรอให้รถโดยสารแล่นไปก่อนแต่ยังคงขับรถต่อไปทั้งที่อาจคาดหมายได้ว่าอาจมีรถแล่นออกจากท้ายรถโดยสารที่จอดคล่อมเลนได้ แม้จะมีส่วนประมาทด้วย แต่จำเลยที่ขับรถออกมาจากท้ายรถบรรทุกโดยมองไม่เห็นทางด้านหน้าและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถที่สวนมาย่อมมีความประมาทมากกว่าเพราะไม่สามารถมองเห็นรถที่สวนมาได้ทั้งจุดชนก็ชนบนช่องทางเดินรถที่สวนมาด้วย ดังนั้นค่าเสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่าใครก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งในกรณีนี้ถือโจทก์มีส่วนประมาทมากกว่า
๖.ใกล้ที่เกิดเหตุมีป้ายจราจรสองป้ายคือ “ ให้ระวังรถไฟ” และอีกป้ายเขียนว่า “ หยุด” การที่จำเลยไม่หยุดรถเมื่อเห็นรถไฟวิ่งมาห่างในระยะ ๓๐ เมตรซึ่งเป็นระยะใกล้ที่รถไฟสามารถใช้ความเร็วผ่านในบริเวณดังกล่าวได้ภายในไม่กี่วินาทีจำเลยเร่งเครื่องเพื่อข้ามทางรถไฟให้ทัน เป็นเหตุให้รถจำเลยชนกับรถไฟ จำเลยไม่ปฏิบัติตามกฏจราจร กลับฝ่าฝืนและเสี่ยงภัยอย่างชัดแจ้ง แสดงว่าจำเลยขับรถด้วยความประมาทอย่างร้ายแรง แม้การรถไฟไม่มีแผงกั้นทางขณะรถไฟวิ่งผ่านที่เกิดเหตุก็ไม่อาจถือว่ามีส่วนประมาทด้วย จำเลยประมาทฝ่ายเดียว เพราะไม่ใช่ว่าทุกรายจะถูกรถไฟชน มีเพียงรายของจำเลยเท่านั้นที่ถูกรถไฟชนเพราะไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรข้างทาง หากจำเลยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรโดยเคร่งครัดด้วยการลดความเร็วของรถลงโดยเมื่อเห็นรถไฟในระยะ ๓๐ เมตรก็ควรที่จะลดความเร็วของรถลงแล้วจอดรถเพื่อรอให้รถไฟผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย จึงค่อยขับรถผ่านทางรถไฟไปเพื่อป้องกันการเฉี่ยวชน มิใช่ว่าเห็นว่ารถไฟอยู่ห่างไปเพียง ๓๐ เมตรก็เร่งเครื่องเพื่อให้พ้นจากรถไฟ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในสภาวะผู้ขับขี่เช่นจำเลยจักต้องมีต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ โดยการใช้ความเร็วในการขับขี่ด้วยความเร็วต่ำพร้อมลดความเร็วของรถลงและจอดรถเพื่อให้รถไฟผ่านไปก่อน แต่จำเลยก็หาได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นไม่ แม้การรถไฟจะไม่มีแผงกั้นขณะรถไฟวิ่งผ่านจะถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทหาได้ไม่ เพราะบริเวณจุดตัดทางรถไฟและถนนอีกหลายแห่งก็ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น การเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นความประมาทเล่นเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ไม่ยอมชลอความเร็วของรถลงพร้อมหยุดรถเพื่อรอให้รถไฟผ่านไปก่อนแต่กลับเร่งความเร็วของรถ ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าในระยะ ๓๐ เมตรไม่อาจเร่งเครื่องยนต์ผ่านทางรถไฟไปได้โดยปลอดภัย การเร่งเครื่องรถพร้อมขับรถออกไปจึงเป็นการขับรถตัดหน้ารถไฟในระยะกระชั้นชิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยประมาทแต่ฝ่ายเดียว

“เกี่ยวเนื่องกัน”

การดูหนังสือและการตอบข้อสอบต้องพยายามจับกันเป็นหมวดหมู่ทั้งในฐานความผิดบททั่วไปบทเฉพาะและในความผิดลหุโทษ
๑.ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ปอ มาตรา ๑๑๒,๑๓๓,๑๓๔,๑๓๖,๑๙๘, ๓๒๖ถึง๓๓๓และ ๓๙๓ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๒๐๖
๒.แจ้งความเท็จ ปอ มาตรา ๑๓๗,๑๗๒,๑๗๓,๑๗๔,๑๗๙,๑๘๑,๒๖๗,๒๖๘,๓๖๗และ ปอ มาตรา ๙๐
๓.ต่อสู้ขัดขวาง ปอ มาตรา ๑๓๘,๑๔๐,๒๘๘,๒๘๙,๒๙๕,๒๙๖,๒๙๗,๒๙๘,๓๗๑ พรบ.อาวุธปืนฯมาตรา๗,๘ทวิ,๗๒,๗๒ทวิ คู่กับการริบของกลาง ปอ มาตรา ๑๘(๕),๓๒,๓๓,๓๔,๓๖,๓๗
๔.ข่มขืนใจ ปอ มาตรา ๑๓๙,๑๔๐,๓๐๙,
๕.ถอนทำลาย ปอ มาตรา ๑๔๑,๓๕๘
๖. ทำให้เสียหายฯ ปอ มาตรา ๑๔๒,๓๕๘
๗.เรียกสินบน ปอ มาตรา ๑๔๓,๑๔๔,๑๔๘,๑๔๙,๑๕๐,๑๕๗,๒๐๐,๒๐๑,๒๐๒ ดูคู่ ๑๖๗
๘.แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ปอ มาตรา ๑๔๕,๑๔๖
๙.ไม่มีสิทธิ์สวมเครื่องแบบ ปอ มาตรา ๑๔๖ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๒๐๘
๑๐.เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ ปอ มาตรา ๑๔๗,๑๕๗ ดูเปรียบเทียบ ปอ มาตรา ๓๕๒
๑๑.ปอ มาตรา ๑๕๑ถึง ๑๕๙,๑๗๑,๒๒๖,๒๒๗ ดูผ่าน
๑๒..ขัดคำบังคับ ปอ มาตรา ๑๖๘,๑๖๙ พรบ. องค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๖,๑๗,๑๘ ดูคู่ ปอ . มาตรา ๓๖๘
๑๓.ขัดขืนหมาย ปอ มาตรา ๑๗๐, ดูคู่ปอ มาตรา ๓๖๘
๑๔.. ฟ้องเท็จ ปอ มาตรา,๑๗๕,๑๗๖,๑๘๑ ดูเทียบว่าฟ้องเท็จทางแพ่งผิดกฎหมายหรือไม่? และการฟ้องเท็จถือเป็นการแจ้งความเท็จหรือไม่?
๑๕.เบิกความเท็จ ปอ มาตรา ๑๗๗,๑๘๑,๑๘๒,๑๘๓ มักโยง ทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ตาม ปอ มาตรา ๑๗๙ นำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ปอ มาตรา ๑๘๐หรือแปลข้อความอันเป็นเท็จ ปอ มาตรา ๑๗๘
๑๖.ช่วยผู้อื่นไม่ให้ต้องรับโทษ ปอ มาตรา ๑๘๔ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๑๘๙ , ๒๐๐
๑๗.ทรัพย์ที่ได้ส่งศาลตาม ปอ มาตรา ๑๘๕ ดูเทียบทรัพย์ที่ศาลพิพากษาให้ริบ ปอ มาตรา ๑๘๖และมาตรา ๑๘๗
๑๘..เอาไปเสียซึ่งทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๑๘๘ คำว่า “ เอาไป” ดูเทียบ ลักทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๓๓๔
๑๙.. หลบหนีที่คุมขัง ตาม ปอ มาตรา ๑๙๐ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๑๙๕(หลบหนีจากสถานพยาบาล) และดูประกอบ ปอ มาตรา ๑๙๑,๑๙๒,๑๙๓,๒๐๔,๒๐๕
๒๐.. ลอบฝัง ซ่อนเร็น .ย้ายศพ ปอ มาตรา ๑๙๙ ดูประกอบ ปวอ มาตรา ๑๔๘ถึง ๑๕๖ ปอ มาตรา๓๐๑,๓๐๒,๓๐๓,๓๐๔,๓๐๕
๒๑.ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ปอ มาตรา ๒๐๗ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๒๑๕,๒๑๖
๒๒.อั้งยี่ซ่องโจร ปอ มาตรา ๒๐๙ถึง๒๑๔
๒๓.วางเพลิง ปอ มาตรา ๒๑๗,๒๑๘,๒๑๙,๒๒๐,๒๒๓,๒๒๔,๒๒๕ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๓๕๘,๓๕๙,๓๖๐,๓๖๐ทวิ,๓๖๑และ ๓๗๔,๓๘๓ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๒๒๑,๒๒๒,๒๒๓
๒๔..ความผิดเกี่ยวภยันตราย ปอ มาตรา ๒๒๖ถึง๒๒๙ อ่านผ่าน
๒๕..กีดขวางทาง ปอ มาตรา ๒๓๐,๒๓๑,๓๘๕,๓๘๖
๒๖.ใช้ยานพาหนะจนน่าเป็นอันตราย ปอ มาตรา ๒๓๓,๒๓๒
๒๗.ปลอมปนอาหาร ปอ มาตรา ๒๓๖,๘๐ประกอบ๒๘๙(๔) หรือ ๒๘๙(๔)กรณีเป็นความผิดสำเร็จ และ ดูประกอบ๒๓๗,๒๓๘,๒๓๙และ ๓๘๐
๒๘..ทำให้เกิดความไม่สะดวกตาม ปอ มาตรา ๒๓๔ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๓๗๕
๒๙..ปลอมแปลงเงินตราเหรียญกระษาปณ์ ปอ มาตรา ๒๔๐,๒๔๑,๒๔๙, เทียบ ปลอมดวงตรา ปอ มาตรา ๒๕๐,๒๕๑ ,๒๖๓ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๑๖๐ ดูเทียบ ปลอมแสตมป์ ปอ มาตรา ๒๕๔,๒๖๒ ปลอมตั๋วโดยสาร ปอ มาตรา ๒๕๘,๒๕๙ และปลอมเอกสาร ตาม ปอ มาตรา ๒๖๔,๒๖๕,๒๖๖ ปลอมบัตรอีเล็คทรอนิค ปอ มาตรา ๒๖๙/๑ เทียบปลอมหนังสือเดินทาง ปอ มาตรา ๒๖๙/๘ ปลอมดวงตรารอยตรา ปอ มาตรา ๒๖๙/๑๒ ,ปลอมเครื่องหมายการค้า ปอ มาตรา ๒๗๓ เลียนเครื่องหมายการค้า ปอ มาตรา ๒๗๔,ปลอมดวงตรา ดูประกอบ ปอ มาตรา ๑๖๑,๑๖๒
๓๐.นำเข้า ปอ มาตรา๒๔๒วรรคสอง ,๒๔๓,๒๗๕,๒๕๕,๒๖๙/๓,๒๖๙/๑๔,๒๗๕
๓๑.มีไว้เพื่อนำออกใช้ หรือใช้ ปอ มาตรา ๒๔๔,๒๔๕,๒๖๙/๑๓,๒๖๙/๑๕
๓๒. ทำเครื่องมือ ปอ มาตรา ๒๔๖,๒๖๑,๒๖๙/๒
๓๓.ใช้ มีไว้เพื่อใช้ ปอ. มาตรา ๒๔๔,๒๔๕ เทียบ ปอ มาตรา ๒๕๒,๒๕๓,๒๕๗,๒๖๓,,๒๖๘,๒๖๙/๔,๒๖๙/๖,๒๖๙/๙,๒๖๙/๑๓,๒๖๙/๑๕,๒๗๐
๓๔.ทำเครื่องมือ ปอ มาตรา๒๔๖ดูเทียบ ปอ มาตรา ๒๖๑,๒๖๙/๒
๓๕.ปลอมเอกสาร ปอ มาตรา ๒๖๔,๒๖๕,๒๖๖ ดูเทียบ เจ้าพนักงานตาม ปอ มาตรา ๑๖๑,๑๖๒
๓๖.ขายของโดยหลอกลวง ปอ มาตรา ๒๗๑ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๓๔๑,๓๔๓,.
๓๗.ความผิดเกี่ยวกับเพศ ดูเทียบความผิดอนาจาร และความผิดฐานพรากและพาฯ ประกอบ ความผิดฐานเป็นธุระจัดหาและฐานกระทำการอันควรขายหน้าตามปอ มาตรา ๓๘๘ อย่าลืมดูบทฉกรรจ์ ตาม ปอ มาตรา ๒๘๐,๒๘๑,๒๘๕ซึ่งทำให้โทษหนักขึ้นและเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้
๓๘. เปิดเผยความลับ ปอ มาตรา ๓๒๒ถึง๓๒๕ ดูประกอบ๑๖๓,๑๖๔
๓๙..ความผิดต่อชีวิต ดูประกอบความผิดฐานไม่เจตนาฆ่า ปอ มาตรา ๒๙๐ ความผิดฐานทำให้ได้รับอันตรายแก่กาย ปอ มาตรา ๒๙๕ ยังไม่ได้รับอันตรายแก่กาย ปอ มาตรา ๓๙๑ ได้รับอันตรายสาหัส ปอ มาตรา ๒๙๗ ความผิดที่กระทำโดยประมาท และชุลมุนต่อสู้ตาม ปอ มาตรา ๒๙๔,๒๙๙
๔๐.เปรียบเทียบฐานความผิดต่างๆเช่น
๔๐.๑เปรียบเทียบฐานความผิดที่กระทำโดยเจตนากับการกระทำโดยประมาท
๔๐.๒เปรียบเทียบฐานความผิดที่กระทำโดยเจตนากับความผิดที่กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด ปอ มาตรา ๑๐๔
๔๐.๓ เปรียบเทียบฐานความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจร
๔๐.๔ เปรียบเทียบฐานความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานยักยอก
๔๐.๕ เปรียบเทียบฐานความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานฉ้อโกง
๔๐.๖เปรียบเทียบฐานความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
๔๐.๗ เปรียบเทียบฐานความผิดฐานฉ้อโกงกับโกงเจ้าหนี้
๔๐.๗ เปรียบเทียบความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์และความผิดต่อเสรีภาพตาม ปอ มาตรา ๓๐๙
๔๐.๘เปรียบเทียบความผิดชิงทรัพย์กับกรรโชกทรัพย์
๔๐.๙เปรียบเทียบความผิดฐาน ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
๔๐.๑๐ เปรียบเทียบความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง
๔๐.๑๑เปรียบเทียบความผิดฐานลักทรัพย์กับทำให้เสียทรัพย์
๔๑.เหตุฉกรรจ์ของตัวบทกฎหมายนั้นๆ เช่น
-ปอ มาตรา๒๘๘ประกอบ ๒๘๙
-ปอ มาตรา ๓๓๔,๓๓๕ประกอบ,๓๓๖ทวิ
-ปอ มาตรา ๓๓๕ทวิประกอบ ๓๓๖ทวิ
-ปอ มาตรา ๓๓๖ ประกอบ ๓๓๖ทวิ
-ปอ มาตรา ๓๓๙ ประกอบ ๓๓๕(ตามปอ มาตรา ๓๓๙ วรรค สอง) ประกอบ ๓๔๐ตรี
-ปอ มาตรา ๓๓๙ทวิประกอบ ๓๔๐ตรี
-ปอ มาตรา ๓๔๐ ประกอบ ๓๔๐ ตรี
- ปอ มาตรา ๓๔๐ ทวิ ประกอบ ๓๔๐ตรี
๔๒.บทเพิ่มโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ปอ มาตรา ๑๔๐,๑๘๑,๑๙๐วรรคสอง,๑๙๑วรรคสองวรรคสาม,๒๐๙วรรคสอง,๒๑๐วรรคสอง,๒๑๕วรรคสองและวรรคสาม,๒๑๘๒๒๐วรรคสอง,๒๒๒,๒๒๓,๒๒๔,๒๒๘วรรคสอง,๒๓๘,๒๓๙,๒๖๒๒๖๙/๗,๒๗๖วรรคสาม,๒๗๗วรรคสามและวรรคสี่,,๒๗๗ทวิ,๒๗๗ตรี,๒๘๐,๒๘๑ประกอบ ๒๘๕, ๒๘๙, ๒๙๐ประกอบ ๒๘๙,,๒๙๕ประกอบ ๒๙๖และ๒๘๙, .ปอ มาตรา ๒๙๘.ปอ มาตรา ๓๐๓วรรคสองสาม, ๓๐๘,๓๐๙วรรคสองสาม,๓๑๐วรรคสอง,๓๑๑วรรคสอง,๓๑๒ทวิวรรคแรกและวรรคสอง,๓๑๒ครี,๓๑๓วรรคสองวรรคสาม,,๓๑๗วรรคท้าย,๓๑๘วรรคท้าย,,๓๒๐วรรคสอง,๓๓๕,๓๓๕วรรคสอง,วรรคสาม,๓๓๖ทวิ,๓๓๙วรรคสองวรรคสามวรรคสี่วรรคห้า,๓๓๙ทวิ,๓๔๐วรรคสองวรรคสามวรรคสี่วรรคห้า,๓๔๐ทวิ,๓๔๐ตรี,๓๕๗วรรคสองวรรคสาม,,๓๖๕
๔๓.ความผิดที่ยอมความได้ ปอ, มาตรา ๗๑วรรคสอง,๒๗๒,๒๘๑,๒๘๓ทวิวรรคท้าย,๒๘๔,๓๒๑,๓๒๕,๓๓๓,๓๔๘,๓๕๑,๓๕๖,๓๖๑,๓๖๖
๔๖.กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทเดียว ปอ มาตรา ๒๔๘,๒๖๓,๒๖๘,๒๖๙/๑๓วรรคสอง
๔๗.การกระทำที่ไม่มีความผิด ปอ มาตรา๓๐๕,๓๒๙,๓๓๑
๔๘.การกระทำที่ไม่ต้องรับโทษ ปอ มาตรา ๖๗,๖๙ตอนท้าย,๗๐,๗๑วรรคแรก,๗๓,๗๔,๑๗๖,๑๘๒,๒๐๕วรรคท้าย,๓๓๐
๔๙.ผู้สนับสนุนรับโทษเสมือนตัวการ ปอ มาตรา ๑๒๙,๑๓๕/๓,๓๑๔
๕๐.ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ปอ มาตรา ๖๙,๗๑วรรคสอง,๗๒,๗๕,๑๗๖,,๑๘๓,๓๑๖,๓๓๕วรรคท้าย
๕๑.ตระเตรียมลงโทษฐานพยายาม ปอ มาตรา ๒๑๙
๕๒.ตระเตรียมรับโทษเท่าความผิดสำเร็จ ปอ มาตรา ๑๒๘
๕๓.พยายามกระทำความผิดรับโทษเท่าความผิดสำเร็จ ปอ มาตรา ๑๒๘,๑๓๐,๑๓๑,
๕๔.เพิ่มโทษไม่ได้ ปอ มาตรา ๙๔
๕๕.กฏหมายยกเว้นการกระทำความผิด ปอ มาตรา ๑๘๒,๓๐๕
๕๖.พยายามหรือสนับสนุนกระทำความผิดที่ไม่ต้องรับโทษ ปอ มาตรา ๑๐๕,๑๐๖,๓๐๔
๕๗.ศาลไม่ลงโทษก็ได้ ปอ มาตรา ๖๙,๑๗๖,๑๙๓,๒๑๔วรรคสอง
๕๘.ลงโทษ ๒ ใน ๓ คือ ปอ มาตรา ๘๐,๒๖๙/๑๕