ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“เจ้าพนักงาน”

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพรบ.จราจรทางบก ซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานจราจรกับออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่น เพื่อปฏิบัติตามพรบ.จราจร แสดงว่า พรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๕ ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารราชการแผ่นดิน เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายปกครองและตำรวจแต่ตั้งข้าราชการตำรวจเป็นเจ้าพนักงานจราจร โดย การแต่งตั้งผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานจราจร.นั้น มาตรา ๔ ของกฎหมายดังกล่าว การแต่งตั้งต้องแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ดังนั้นการแต่งตั้งผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานจราจร ต้องแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จึงจะเป็นเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาฏีกา ๒๓๑/๒๕๐๓
ข้อสังเกต ๑.ใครจะเป็นเจ้าพนักงานหรือไม่นั้น ต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้เป็นเจ้าพนักงาน เช่น
๑.๑ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกฎหมายเกี่ยวรัฐวิสาหกิจนั้นๆให้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน เช่น พรบ.เกี่ยวการรถไฟ การทางพิเศษ ขนส่งมวลชน
๑.๒กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด อนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์ และการได้มาซึ่งวุฒิสภาฯ
๑.๓ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้งและกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
๑.๔เจ้าอาวาสและไวยาวัจกรตามพรบ.คณะสงฆ์ฯ
๑.๕นายกเทศมนตรี ตามพรบ.เทศบาลฯ
๑.๕เจ้าหน้าที่ป้องกันฝ่ายพลเรือนและพนักงานป้องกันภัย ตามพรบ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนฯ
๒.บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งมีหลักเกณท์ดังนี้คือคนที่มีอำนาจแต่งตั้งต้องเป็นผู้บังคับบัญชาหรือมีอำนาจตามที่กฏหมายให้ไว้และผู้ได้รับแต่งตั้งต้องมีคุณสมบัติตามที่กฏหมายกำหนด คำพิพากษาฏีกา ๒๓๑/๒๕๐๓ ดังนั้น
๓. การแต่งตั้งผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานจราจร.นั้น มาตรา ๔ ของพรบ.จราจรทางบกฯ นั้นการแต่งตั้งต้องแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร หากไปตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนเป็น “ เจ้าพนักงานจราจร” ตำรวจที่ได้รับแต่งตั้งย่อมไม่ใช่ “ เจ้าพนักงาน” ตามกฎหมาย
๔.ผู้แต่งตั้งไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้นั้นก็ไม่ใช่เจ้าพนักงาน คำพิพากษาฏีกา ๑๕๖๖/๒๔๗๙ ผู้ว่าราชการแต่งตั้งนายตำรวจสัญญาบัตร สองนายและศึกษาธิการอำเภออีก ๑ คน ป็นคณะกรรมการสอบสวนคดีอาญา ในระหว่างสอบปากคำผู้ต้องหา ผู้ต้องหาพูดดูหมิ่นศึกษาธิการอำเภอซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งศึกษาธิการอำเภอเป็นพนักงานสอบสวน และผู้ที่จะเป็นพนักงานสอบสวนในส่วนภูมิภาคนั้นต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ปลัดอำเภอหรือข้าราชการตำรวจมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป จึงมีอำนาจสอบสวนได้ ซึ่งตามข้อนี้คือการอธิบายตามข้อ ๒ นั้นเองว่า ผู้แต่งตั้งต้องมีอำนาจในการแต่งตั้ง ผู้รับการแต่งตั้งต้องมีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจตั้งพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ปลัดอำเภอหรือข้าราชการตำรวจมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป เป็นพนักงานสอบสวนได้ แต่ไม่มีกฏหมายใดให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งศึกษาธิการอำเภอเป็นพนักงานสอบสวนคดีอาญาได้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดให้ศึกษาธิการมีอำนาจในการสอบสวนคดีอาญาได้ ดังนั้นเมื่อคนแต่งตั้งไม่มีอำนาจในการแต่งตั้ง คนรับการแต่งตั้งไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งได้ เมื่อขาดคุณสมบัติทั้งสองข้อ แม้แต่งตั้งไป ผู้รับการแต่งตั้งก็ไม่ใช่ “เจ้าพนักงาน” ตามกฏหมาย
๕.คนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ เจ้าพนักงาน” อาจเป็น “ ข้าราชการ” หรือ “ ไม่ใช่ข้าราชการ” ก็ได้ เช่น ให้ ผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามกฎหมายอาญา ทั้งนี้โดยผลของพรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ หรือ”กรรมการตรวจนับคะแนนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์ หรือสมาชิกวุฒิสภา” แม้เป็นราษฏรธรรมดาไม่ใช่ข้าราชการ ไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณเงินเดือนแผ่นดิน แต่ก็ถือเป็นเจ้าพนักงานเป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการเลือกตั้งฯ
๖.การเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีก็คือ
๖.๑มีกฎหมายคุ้มครองการปฏิบัติการตามหน้าที่ ซึ่งหากกระทำแก่เจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่แล้วก็จะได้รับโทษสูงกว่ากระทำต่อบุคคลธรรมดา เช่นการดูหมิ่น เจ้าพนักงาน การทำร้ายเจ้าพนักงาน การฆ่าเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ กฏหมายจะระวางโทษสูงกว่าการกระทำแก่บุคคลธรรมดา
๖.๒การที่เป็นเจ้าพนักงานแล้วกระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา เช่น การจับกุมตรวจค้น การยึดที่กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาซึ่งใน ป.พ.พ. มาตรา ๔๔๙ ก็บัญญัติรับรองในเรื่องนี้เอาไว้ว่าไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน
๖.๓ ในขณะเดียวกันเมื่อเป็น “ เจ้าพนักงาน” ไปกระทำความผิดเสียเองก็ต้องรับโทษสูงกว่าที่บุคคลธรรมดากระทำ เช่น เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ มีอัตราโทษสูงกว่าบุคคลธรรมดายักยอกทรัพย์
๖.๔การเป็นเจ้าพนักงานหากกระทำไปนอกอำนาจหน้าที่หรือไม่มีกฎหมายรองรับไว้ เช่น จับกุมโดยไม่มีหมายจับ ไม่มีหมายค้น หน่วงเหนียวกักขัง หรือทำร้ายร่างกาย(ซ้อมผู้ต้องหาให้รับสารภาพ) กรณีนี้ศาลมักไม่รอการลงโทษจำคุกให้ เพราะเมื่อได้สิทธิ์เหนือกว่าคนอื่นย่อมต้องเสียสิทธิ์ที่มีต่อคนอื่นเช่นกันหากกระทำการไปโดยนอกเหนือกว่าที่กฏหมายกำหนด

ไม่มีความคิดเห็น: