ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๓๑๗ - ๓๒๑


มาตรา 317     ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท

-          ประเด็นเรื่องอายุเด็ก หรือผู้เยาว์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 119/2517 จำเลยหลอกลวงเด็กหญิงอายุ 14 ปีว่าจะพาไปรับจ้างทำงาน แต่แล้วกลับพาไปสำนักโสเภณีและเด็กหญิงนั้นถูกบังคับให้ค้าประเวณี  เช่นนี้จะถือว่าเด็กหญิงเต็มใจไปกับจำเลยหาได้ไม่ / การพรากผู้เยาว์ไปเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร ไม่ว่าผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไปเต็มใจ ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเป็นความผิดทั้งนั้น เพียงแต่กำหนดโทษตามมาตรา 318 วรรคท้าย หนักกว่าโทษตามมาตรา 319 การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 319 แต่การพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 318 ก็มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง ศาลย่อมปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 319 ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 455/2542 มารดาผู้เสียหายเบิกความ ว่าขณะที่ผู้เสียหาย ไปแจ้งเกิดเมื่อผู้เสียหายมีอายุ 9 เดือน ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุที่แท้จริง 15 ปีเศษแล้ว อายุของผู้เสียหายนั้นต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ขณะมีอายุเกินกว่า 15 ปีแล้วมิใช่ 14 ปีเศษตามฟ้อง ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง (โจทก์ฟ้อง ม 277) (ศาลไม่ปรับลงมาตรา 278 ตาม ฎ 119/2517)

-          ความสำคัญผิดเรื่องอายุ
-          เรื่องความสำคัญผิดใน อายุ317 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็ก อายุยัง ไม่เกินสิบห้าปี318 และ ม 319 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุ กว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีกรณี เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี แต่ผู้กระทำผิดเข้าใจว่า เด็กมีอายุ 17 ปี วินิจฉัย ดังนี้
-          (1) แม้การกระทำครบองค์ประกอบ “”ภายนอกของ ม 317 แต่จำเลยไม่รู้ว่า เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี อันเป็นองค์ประกอบภายนอก ถือว่าขาดเจตนากระทำผิดตาม ม 59 3 จึงไม่ผิด ม 317 และ
-          (2) จำเลยไม่ผิด ม 318-319 เพราะ เด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี จึงไม่เข้าองค์ประกอบตาม ม 318 – 319 ซึ่งผู้เยาว์จะต้องมีอายุ กว่า 15 แต่ไม่เกิน 18 ปี” (อ เกียรติขจร หนังสือ รพี 39 สำนักอบรมฯ เนติฯ หน้า 73)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6429/2537 เมื่อระหว่างที่พาเด็กหญิงขนิษฐาไปพักที่ต่าง ๆ จำเลยได้กระทำชำเราเด็กหญิงขนิษฐาหลายครั้ง ถือว่าเป็นการกระทำอนาจารด้วย แม้ขณะเกิดเหตุเด็กหญิงขนิษฐาอายุ 13 ปี แต่เด็กหญิงขนิษฐามีรูปร่างสมบูรณ์กว่าเด็กปกติ ดูแล้วจะประมาณว่ามีอายุประมาณ 17 ถึง 18 ปี ซึ่งจำเลยก็สำคัญผิดเช่นนั้น จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 319
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5176/2538 มาตรา 277 และมาตรา 279 ผู้กระทำจะต้องกระทำแก่เด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี เรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบความผิดด้วย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าผู้กระทำผิดได้รู้หรือไม่ ตาม ม 62 1 เมื่อจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหาย แม้ความจริงไม่ใช่ อยู่ที่จำเลยสำคัญผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิด (คดีนี้ข้อเท็จจริงยุติตามศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 - 2 ได้ร่วมประเวณี และจำเลยที่ 3 กระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย ซึ่งมีอายุ 14 ปี 5 เดือน โดยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายมีอายุ 18 ปี)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6405/2539 จำเลยสำคัญผิดโดยเข้าใจว่า ผู้เสียหายอายุ 17 ปี ย่อมมีผลให้จำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ตาม ม 277 1 จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดฐานนี้ ตาม ม 59 3
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4698/2540 น่าเชื่อว่าจำเลยไม่ทราบว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่พอฟังว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าผู้เสียหายมีอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ตาม ม 277 1 + 62 1 จำเลยจึงไม่มีความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1717/2543 กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเองดังที่จำเลยเบิกความ พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกขึ้นกล่าวอ้าง เพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าจำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำเลยจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 227 วรรคแรก และจำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม มาตรา 317 วรรคสาม

-          ประเด็นเรื่องอำนาจปกครอง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2628/2529 แม้ในตอนแรก ส.ผู้เป็นมารดาเด็กหญิง ศ.อายุ 12 ปี จะยินยอมอนุญาตให้จำเลยพา ศ. ออกไปจากบ้าน ก็เพื่อให้จำเลยพา ศ.นำไปพบสามี ส. ซึ่งทำงานอยู่ที่แห่งหนึ่งเท่านั้นการที่จำเลยพา ศ.เข้าไปในโรงแรม เป็นเรื่องทำไปเองตามลำพัง จะถือว่า ส. รู้เห็นยินยอมไม่ได้ จำเลยเข้าไปในห้องและกวักมือเรียก ศ. ให้ตามเข้าไปในห้องด้วย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเพื่อร่วมประเวณีหรือกระทำมิดีมิร้ายอย่างอื่น แต่ ศ. ไม่ยอมเข้าห้องและมีพนักงานโรงแรมมาพบช่วยเหลือพาไปส่งบ้าน ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 13 ปีไปเพื่อทำการอนาจาร มีความผิดตาม ป.อ. ม.317 Ø ฎ 2628/2529 แม้ในตอนแรกนาง ส. มารดาผู้เสียหายจะยินยอมอนุญาตให้จำเลยพาผู้เสียหายอายุ 12 ปีออกไปจากบ้าน แต่ก็อนุญาตเพื่อให้ผู้เสียหายนำจำเลยไปพบกับสามีนาง ส. ที่แฮปปี้แลนด์เท่านั้น ทั้งยังกำชับไม่ให้ไปนาน การที่จำเลยพาผู้เสียหายเข้าไปในโรงแรมปี๊ปอินน์ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทำไปเองตามลำพัง จะถือว่านาง ส. รู้เห็นยินยอมไม่ได้ โรงแรมปี๊ปอินน์ เป็นโรงแรมม่านรูดเป็นที่รู้จักทั่วไปว่าจัดไว้เพื่อบริการชายหญิงไปหลับนอนชั่วคราว เมื่อไปถึงจำเลยลงจากรถเข้าไป ในห้องหมายเลข 11 ทันที และกวักมือเรียกให้ผู้เสียหายตามเข้าไปในห้องนั้นด้วย แต่ผู้เสียหายไม่ยอมเข้าไป แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะหลับนอนกับผู้เสียหายเพื่อร่วมประเวณีหรือกระทำมิดีมิร้ายอย่างอื่น การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 13 ปี ไปเพื่อการอนาจารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1682/2532 จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน 11 วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวน แล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดา เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามอีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3894/2533 การที่ผู้เสียหายกระโดดลงจากเรือนหนีไป เกิดเพราะจำเลยเป็นต้นเหตุให้หนี ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้เสียหายเอง และยังหลบหนีไปไม่ไกล จะถือว่าขณะนั้นผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในปกครองของโจทก์ร่วมไม่ได้ และการที่ต่อจากนั้นจำเลยเข้าไปจับผมผู้เสียหายดึงไปทั้งขู่ไม่ให้ร้อง และพาผู้เสียหายไปที่ทุ่งนาห่างบ้านเกิดเหตุประมาณ 1 เส้น เพื่อกระทำอนาจารและพยายามข่มขืนผู้เสียหาย การกระทำของจำเลย จึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ดูแล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 318 วรรคสาม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2663/2536 ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 12 ปี ย.มารดาพาผู้เสียหายไปเที่ยวงานที่วัดตอนกลางคืน ระหว่างเที่ยวงาน ผู้เสียหายขออนุญาต ย.ไปปัสสาวะที่ห้องน้ำบริเวณหลังวัดโดยชวน น.ไปเป็นเพื่อน ขณะที่จะเดินกลับไปหา ย.ได้พบจำเลย จำเลยบอกผู้เสียหายให้เดินไปทางทิศใต้ผู้เสียหายเดินไปกับจำเลย จากนั้นจำเลยให้ผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปตามถนน แล้วจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ป่าละเมาะ ใกล้สวนแตงโมการกระทำของจำเลย เป็นการบ่งชี้เจตนาให้เห็นตั้งแต่แรกว่า จำเลยมาเรียกผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ถึงแม้ว่าในขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนั้น ย.ไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้น ก็ต้องถือว่าผู้เสียหายอยู่ในความปกครองดูแลของ ย.ซึ่งอยู่ที่บริเวณงานวัด การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารนั้น เป็นการแยกเด็กไปจากอำนาจปกครองของ ย.โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2277/2539 การที่ผู้เสียหายขออนุญาตมารดาไปนอนค้างที่บ้านนางสาว ศ. ยังไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของบิดามารดา  เมื่อจำเลยขับรถจักรยานยนต์รับผู้เสียหาย ในระหว่างทางจากรถจักรยานยนต์ของ น. แล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย และตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสามก็มิได้บัญญัติไว้ว่าผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาโดยทุจริต ซึ่งเป็นเจตนาพิเศษแต่อย่างใด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 743/2540 เมื่อจำเลยพบเด็กหญิง ม. ที่ปากซอยนั้น จิตใจของเด็กหญิง ม. กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ่นสับสน จะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วม ก็ไม่อยากกลับ เพราะกลัวจะถูกทำโทษ ครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน จึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้ สุดแล้วแต่ใจของจำเลย หากจำเลยไม่พาเด็กหญิง ม. ไป เด็กหญิง ม. อาจจะกลับไปบ้านก็ได้ เมื่อโจทก์ร่วมออกมาดู เห็นจำเลยพาเด็กหญิง ม. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไป ซึ่งหากจำเลยไม่พาไป โจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบ และพาเด็กหญิง ม. กลับบ้าน การที่จำเลยพาเด็กหญิง ม. ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลย จึงเป็นการพรากเด็กหญิง ม. ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6632/2540 การที่ ป. มารดาเด็กหญิง ส. ยินยอมให้เด็กหญิง ส. เดินทางไปกับจำเลย ก็เพื่อไปรับจ้างทำงานเป็นลูกจ้างขายผักที่ตลาดเท่านั้น มิได้ยินยอมให้จำเลยพาไปเพื่อการอนาจารแต่อย่างใด ฉะนั้นการที่จำเลยพาเด็กหญิง ส. เข้าไปในโรงแรมเพื่อกระทำอนาจารหรือร่วมประเวณี แม้จำเลยยังไม่ทันกระทำการดังกล่าวก็ตาม พฤติการณ์ของจำเลย ก็เข้าองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่งและวรรคสาม อันเป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาใช่เพียงขั้นพยายามไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1800/2541 ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปทำงานพักอยู่ที่บ้าน น.ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับบ้านบิดามารดาที่จังหวัดตราดเพื่อเที่ยวสงกรานต์ ระหว่างนั้นบิดามารดาผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งจังหวัดตราดแล้วจำเลยพาผู้เสียหายไป ดังนี้ถือว่าระหว่างที่ผู้เสียหายทำงานพักอยู่บ้านนาง น. ที่กรุงเทพมหานคร ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความคุ้มครองของนาง น. เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาบ้านบิดามารดาที่จังหวัดตราด ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความปกครองของบิดามารดา การที่บิดามารดาอนุญาตให้ผู้เสียหายไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งจังหวัดตราดนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายพ้นจากความปกครองของบิดามารดา เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายไปจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา / ป.อ. มาตรา 319 บัญญัติขึ้นโดยตระหนักว่าผู้เยาว์อายุไม่เกิน 18 ปี ยังขาดความสำนึกต่อเล่ห์กลของทุจริตชนอาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อโดยง่าย สภาพที่บิดามารดาของผู้เสียหายพยายามติดตามเรื่องบุตรหายไป แสดงว่าผู้เสียหายมิได้มีความประพฤติสำส่อนจนบิดามารดาหมดความห่วงใย  การที่จำเลยทั้งสองพรากผู้เสียหายไปได้ก่อความทุกข์ใจใหญ่หลวงแก่บิดามารดาผู้เสียหาย พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีเหตุผลที่จะรอการลงโทษให้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3382/2542 แม้เด็กหญิง จ. ออกจากบ้าน โดยบอกผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลว่าไปหานางสาว ร. เมื่อพบก็ขอตามไปทำงานที่จังหวัดสระบุรีด้วย นางสาว ร. กับเด็กหญิง จ. ไปหานาย ส. เพื่อขอให้ไปส่งที่บ้านดงบัง และนาย ส. วานจำเลยที่ 1 กับพวกไปส่งแทนก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 กับพวกไม่พานางสาว ร. กับเด็กหญิง จ. ไปส่งที่บ้านดงบังจำเลยที่ 1 กลับพาเด็กหญิง จ. ไปเที่ยวและค้างคืนที่กระท่อมญาติของจำเลยที่ 1 โดยหาได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายที่ 1 ไม่ ทั้งที่ทราบดีว่า นางสาว ร. กับเด็กหญิง จ. จะไปบ้านดงบัง พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 544/2543 ผู้เสียหายหลบหนีออกจากบ้านมาอยู่กับจำเลย จำเลยได้พาผู้เสียหายไปตาม ห้องอาหารต่าง ๆ โดยบิดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วย เป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดาผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากบิดา ผิด มาตรา 317 3
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 854/2545 (ส่งเสริมฯ เล่ม 2 หน้า 107) แม้ผู้เสียหายพักอยู่กับยาย แต่เมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ ย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาที่สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย พฤติการณ์ที่จำเลยให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลย แล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายในห้องนอนของตนในครั้งแรกก็ดี และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้าน เพื่อสอบถามถึงเหตุที่จำเลยไม่รับผิดชอบ จำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองก็ดี ล้วนเป็นการกระทำอันล่วงล้ำอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา แต่การที่จำเลยยังมิได้มีภริยาจึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้ ทั้งหลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แต่เป็นความผิดตาม ป.. มาตรา 317 วรรคแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 848/2548 (เน 2548/1/10/241) .. มาตรา 317 วรรคแรก มีความมุ่งหมายเพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์ มิให้ผู้ใดพาไป หรือแยกออกจากความปกครองดูแล โดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด และไม่คำนึงถึงระยะใกล้หรือไกล แม้ผู้เสียหายที่ 1 ก็ยังอยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 25 จำเลยไม่มีสิทธิจะพาผู้เสียหายที่ 1 ไปยังที่ใด โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม การที่จำเลยมาอุ้มผู้เสียหายที่ 1 ขึ้นไปบนบ้าน พาไปห้องนอน แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ถือว่าจำเลยแยกสิทธิปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากผู้ปกครอง เพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม มาตรา 317 วรรคสาม
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2548 พนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดกันทรลักษณ์ โจทก์ นายณรงค์ คำจันทร์ จำเลย ป.อ. มาตรา 227, 317 ป.อ. มาตรา 317 วรรคหนึ่ง มีความมุ่งหมายเพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์มิให้ผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแลโดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด และไม่คำนึงถึงระยะใกล้หรือไกล แม้ผู้เสียหายที่ 1 นั่งเล่นอยู่ใต้ถุนบ้านของจำเลย แต่ผู้เสียหายที่ 1 ก็ยังอยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิจะพาผู้เสียหายที่ 1 ไปยังที่ใดโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม การที่จำเลยมาอุ้มผู้เสียหายที่ 1 ขึ้นไปบนบ้านพาไปห้องนอนแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ถือว่าจำเลยแยกสิทธิปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม มาตรา 317 วรรคสาม จำเลยนำอวัยวะเพศของจำเลยใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 อวัยวะเพศจำเลยได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะสำเร็จความใคร่หรือไม่ย่อมมิใช่สาระสำคัญ

-          กรณีไม่อยู่ในอำนาจปกครอง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 582/2527 การที่จำเลยชักชวนเด็กหญิงทั้งสามไปอยู่ด้วยอ้างว่าจะหัดลิเกให้ แต่ก็มิได้หัดให้ กลับจะให้ค้าประเวณีโดยขู่ว่าไม่ยอมจะส่งไปต่างจังหวัด จนเด็กหญิงคนหนึ่งจำต้องยอมไปกับชาย และชายนั้นพยายามจะกระทำมิดีมิร้ายในระหว่างทาง ดังนี้ จำเลยกระทำการเป็นธุระจัดหาหรือชักพาเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปีไปเพื่อการอนาจารเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.283 วรรคสาม / ขณะชักชวนเด็กหญิงทั้งสามอายุไม่เกิน 13 ปี และเกิน 13 ปี ให้ไปกับจำเลย เด็กหญิงทั้งสามไม่ได้อยู่ในความปกครองดูแลของมารดาเสียแล้ว โดยนัดแนะกันหลบหนีมารดาออกจากบ้าน เพื่อไปหางานทำ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากเด็กหญิงทั้งสามไปเสียจากบิดามารดา ไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ.ม.317, 318

-          พรากไป หรือรบกวนอำนาจปกครอง
-          & เรื่องพรากฯ นี่ ศาลวินิจฉัยว่า เป็นการล่วงอำนาจการปกครองนะครับ ถือว่า การล่วงอำนาจปกครองของผู้ปกครอง เป็นสาระสำคัญ แม้ว่าตัวเด็ก หรือผู้เยาว์จะเต็มใจไปเอง แต่หากการกระทำของผู้ต้องหามีส่วนชักชวน ช่วยเหลือ สนับสนุนการกระทำของเด็กหรือผู้เยาว์ และเป็นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือเพื่อค้ากำไร หรืออนาจารแล้ว ก็ครบองค์ประกอบความผิดได้ / เว้นแต่ขณะที่เด็กหรือผู้เยาว์ไปหานั้น เด็กหรือผู้เยาว์ พ้นจากการปกครองดูแลฯ ซึ่งตรงนี้ ต้องดูเป็นกรณีไป
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1190/2502 จำเลยเป็นลูกจ้างมีหน้าที่เป็นคนครัว ซักเสื้อผ้าและอื่น ๆ ภายในบ้าน ถ้ามีเวลาว่างจึงช่วยดูแลเด็ก จำเลยได้นำเด็กอายุ 10 เดือนลูกของนายจ้างไปฝากผู้อื่นไว้ โดยจำเลยอ้างว่าเป็นบุตรของจำเลยเอง เช่นนี้การกระทำของจำเลยเป็นการพรากเด็กไปเสียจากผู้ปกครอง ตาม มาตรา 317
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1605/2523 การที่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุไม่เกิน 13 ปี พากันไปร่วมประเวณีที่กระท่อมด้วยความสมัครใจ แล้วแยกกันกลับบ้านนั้น แม้ทางกลับบ้านของผู้เสียหายกับกระท่อมจะห่างกันเพียง 90 เมตร และผู้เสียหายอยู่กับจำเลยเพียง 5 ชั่วโมง ก็ถือว่าจำเลยรบกวนสิทธิ หรือแยกสิทธิของผู้ปกครองผู้เสียหายในการควบคุมดูแลผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรแล้ว เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.277 กับผิดตาม ม.317 อีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2557/2531 ผู้เสียหายเป็นเด็กผู้หญิงอายุไม่เกิน 13 ปี นั่งรถโดยสารของจำเลยกลับบ้าน เมื่อจำเลยขับรถมาถึงปากซอยเข้าบ้านผู้เสียหาย ผู้เสียหายบอกให้จำเลยจอดรถเพื่อจะลง จำเลยไม่ยอมจอดรถให้ผู้เสียหายลงกลับบ้าน ขับรถที่มีแต่ผู้เสียหายนั่งอยู่ตามลำพัง  กับจำเลยไปในสถานที่เปลี่ยว ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีบ้านผู้ใดปลูกอยู่อาศัยบริเวณข้างทางเลย ทั้งสองข้างทางก็เป็นที่รกเต็มไปด้วยต้นไม้ต่าง ๆ และพูดขอดูอวัยวะเพศของผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายกระโดดลงจากรถของจำเลย จำเลยยังขับรถแล่นไล่ตามดักหน้าดักหลังผู้เสียหาย พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการข่มขืนใจ และพาผู้เสียหายไปโดยความไม่สมัครใจของผู้เสียหาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2663/2536 มารดาพาผู้เสียหายไปเที่ยวงานที่วัดตอนกลางคืน แม้ว่าในขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนั้น ย. ไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้น ก็ต้องถือว่าผู้เสียหายอยู่ในความปกครองดูแลของ ย. จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ผิด ม 317 วรรคสาม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2760-2761/2539 จำเลยพาผู้ที่เสียหายที่ 2 ไปในที่ต่างๆ โดยผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เสียหายที่ 2 ไม่ทราบว่าผู้เสียหายที่ 2 ไปไหนเป็นเวลาหลายชั่วโมง ย่อมเป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะสมัครใจไปด้วย และจำเลยมิได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ก็เป็นการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากมารดาผู้ปกครอง โดยปราศจากเหตุอันสมควร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2858/2540 องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 คือ การพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล คำว่า "พราก" หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกจากความปกครองดูแล แม้จะชักชวนแนะนำเด็กให้ไปกับผู้กระทำโดยมิได้หลอกลวง และเด็กเต็มใจไปด้วยก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ ดังนั้นการที่จำเลยรับส่งเด็กหญิงทั้งสาม พาไปเลี้ยงไอศกรีม พาไปเที่ยวแล้วจึงส่งกลับบ้าน จนกระทั่งล่วงเลยเวลากลับบ้านตามปกติ ทั้งได้เล่าเรื่องร่วมเพศให้เด็กหญิงฟัง และนัดหมายจะพาไปเรียนว่ายน้ำและสอนขับรถในวันต่อมา และเสี้ยมสอนให้เด็กหญิงทั้งสามโกหกบิดามารดาในการกลับบ้าน ผิดปกติเด็กหญิงทั้งสามอายุเพียง 10 ปี อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดาการกระทำของจำเลย แม้จะพรากไปเพียงชั่วคราว แต่ก็มิได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ทั้งไม่ปรากฏว่าการพาไปดังกล่าว เพราะมีเหตุสมควรประการใด จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคหนึ่ง ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคสาม  เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์ที่จะกระทำอนาจารแก่เด็กหญิงทั้งสาม  ลำพังแค่เล่าเรื่องลามกอนาจาร ยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิดตามตัวบทกฎหมายดังกล่าว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 848/2548 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก มีความมุ่งหมายเพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกคอรงของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์มิให้ผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแลโดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด และไม่คำนึงถึงระยะใกล้หรือไกล แม้ผู้เสียหายที่ 1 นั่งเล่นอยู่ใต้ถุนบ้านของจำเลย แต่ผู้เสียหายที่ 1 ก็ยังอยู่ในความปกคอรงดูแลของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิจะพาผู้เสียหายที่ 1 ไปยังที่ใดโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม การที่จำเลยมาอุ้มผู้เสียหายที่ 1 ขึ้นไปบนบ้านพาไปห้องนอน แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ถือว่าจำเลยแยกสิทธิปกครองของผู้เสียหายที่ ๒ ในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคสาม จำเลยนำอวัยวะเพศของจำเลยใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 อวัยวะเพศของจำเลยได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 แล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะสำเร็จความใคร่หรือไม่ย่อมมิใช่สาระสำคัญ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4287/2548 คำว่า "พราก" หมายความว่าพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวน หรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก จำเลยมิได้พาผู้เสียหายกับเด็กหญิง ก. ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ที่บ้านจำเลยไปที่เตาเผาถ่านในป่าละเมาะ ในลักษณะเดียวกันกับที่จำเลยเคยพาผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยไปด้วยกันในครั้งก่อน ๆ ที่บิดามารดาผู้เสียหายไม่เคยทักท้วงว่ากล่าว เพราะเมื่อถึงเตาเผาถ่านแล้ว จำเลยให้เด็กหญิง ก. แต่ผู้เดียวลงไปเล่นในหลุมเผาถ่าน แล้วหลอกลวงโดยชักชวนผู้เสียหาย ว่าจะพาไปหาผลไม้ป่ารับประทาน เมื่อถึงที่เกิดเหตุบริเวณกกไม้หลังเตาเผาถ่านจำเลยกลับถอดกางเกงผู้เสียหายออกและกระทำอนาจารผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากเตาเผาถ่านไปกระทำอนาจารยังที่เกิดเหตุ จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาและเป็นกากระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรอันเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2673/2546 จำเลยมีอาชีพขับรถรับส่งเด็กนักเรียน ขณะที่เด็กหญิงผู้เสียหายเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำเลยทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มือลูบคลำที่อวัยวะสืบพันธุ์และจับหน้าอกผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคแรก / ขณะที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายและเด็กนักเรียนอื่นกลับบ้านได้แวะที่อาคารหลังหนึ่งให้เด็กนักเรียนอื่นลงไปซื้อขนม ผู้เสียหายจะลงไปด้วย แต่จำเลยไม่ให้ลงโดยบอกให้ผู้เสียหายฝากคนอื่นไปซื้อขนมแทนแล้วจำเลยนำตัวผู้เสียหายให้นอนราบกับเบาะ ใช้มือกดตัวผู้เสียหายไม่ให้ลุกขึ้น แล้วได้กระทำชำเราผู้เสียหาย หลังจากครั้งนี้แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกหลายครั้ง จนกระทั่งผู้เสียหายเรียนจบถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนอกจากกระทำชำเราในรถซึ่งแวะจอดที่อาคารดังกล่าวแล้วจำเลยยังพาผู้เสียหายเข้าไปในบ้านร้างแถวสุขุมวิทแล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก / ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก คำว่า "พราก" หมายความว่า พาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล จะกระทำโดยวิธีใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องใช้กำลังหรืออุบาย ดังนั้นไม่ว่าการพาไปเพื่อร่วมประเวณีจะอยู่ในเส้นทางหรือนอกเส้นทางรับส่งผู้เสียหายไปกลับจากโรงเรียนก็ย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแล้ว

-          ไม่เป็นการพราก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2155/2514 การพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั้น หมายความว่า พาไปหรือแยกผู้เยาว์ออกจากความดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์จะต้องอยู่ในความปกครองดูแลของบุคคลดังกล่าวแล้วในขณะที่พราก ผู้เสียหายเป็นหญิงผู้เยาว์อายุ 17 ปี ถูกมารดาตีและไล่ออกจากบ้าน จึงหนีออกจากบ้านมา จำเลยพบเข้าได้สอบถามถึงที่อยู่ ผู้เสียหายไม่ยอมบอก จำเลยจึงพาผู้เสียหายไปฝากไว้กับพี่สาวของจำเลย ดังนี้การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นการพรากผู้เยาว์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1911/2522 เด็กหญิงอายุ 15 ปี ชวนจำเลยไปอยู่กรุงเทพ ฯ โดยจะมารับจำเลยที่บ้านในวันนัด เป็นการสมัครใจจากบิดามารดาเอง จำเลยไม่ได้พรากไป ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 582/2527 การที่จำเลยชักชวนเด็กหญิงทั้งสามไปอยู่ด้วยอ้างว่าจะหัดลิเกให้ แต่ก็มิได้หัดให้ กลับจะให้ค้าประเวณี โดยขู่ว่าไม่ยอมจะส่งไปต่างจังหวัด จนเด็กหญิงคนหนึ่งจำต้องยอมไปกับชาย และชายนั้นพยายามจะกระทำมิดีมิร้ายในระหว่างทาง ดังนี้ จำเลยกระทำการเป็นธุระจัดหาหรือชักพาเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปีไปเพื่อการอนาจารเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.283 วรรคสาม / ขณะชักชวนเด็กหญิงทั้งสามอายุไม่เกิน 13 ปี และเกิน 13 ปี ให้ไปกับจำเลย เด็กหญิงทั้งสามไม่ได้อยู่ในความปกครองดูแลของมารดาเสียแล้ว โดยนัดแนะกันหลบหนีมารดาออกจากบ้าน เพื่อไปหางานทำ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากเด็กหญิงทั้งสามไปเสียจากบิดามารดา ไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ.ม.317, 318
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 536/2528 จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอายุ 11 ปีเศษโดยผู้เสียหายยินยอม แม้จำเลยอายุ 20 ปี ก็สมควรลดมาตราส่วนโทษให้  1 ใน 3 ตาม ป.อ. ม.76 / ผู้เสียหายอายุ 11 ปีเศษ และจำเลยชวนกันไปเที่ยวโดยป้าของผู้เสียหายอนุญาต แล้วได้พากันไปค้างที่บ้านจำเลยก่อนที่ผู้เสียหายจะนอนค้างนั้น จำเลยได้บอกให้ผู้เสียหายกลับบ้านแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่กลับ ดังนั้น จำเลยไม่ได้พรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.317
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2338//2530 ผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบสามปีออกจากบ้านไปคนเดียว จำเลยซึ่งเป็นป้ารับกลับมาแล้วไม่พาไปหาบิดามารดาเพราะผู้เยาว์กลัวถูกทำโทษ ไม่ยอมกลับ จนย่า ของผู้เยาว์ต้องนำไปบวชเณรเพื่อไม่ให้ถูกบิดามารดาทำโทษ แล้วจึงให้ ส. ไปบอกบิดามารดาไปรับกลับเอง ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.. มาตรา 317
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5079/2537 นาง พ. ได้นำเด็กหญิง พ. ผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 14 ปีเศษบุตรสาว ไปทำงานที่ร้านขายอาหารของนาง ส. ต่อมาจำเลยได้พาเด็กหญิง พ. ออกจากร้านอาหาร โดยไม่ปรากฏว่านาง พ. และนาง ส. รู้เห็น แล้วนำไปกระทำชำเราที่บ้านพักของจำเลย โดยเด็กหญิง พ. ยินยอม ด้วยประสงค์จะเลี้ยงดูเด็กหญิง พ. เป็นภริยาและต่อมาเด็กหญิง  พ. กับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภริยา ไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปจากมารดา และผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 750/2543 จำเลยมาพบผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายกำลังเดินทางไปโรงเรียน ก็เนื่องจากผู้เสียหายนัดจำเลยให้มาพบ เพื่อให้จำเลยนำเสื้อมาให้ แต่จำเลยไม่ได้นำเสื้อมาให้ เมื่อผู้เสียหายบอกว่าจะต้องใช้เสื้อ จำเลยจึงพาผู้เสียหายไปที่ห้องเช่าของจำเลยเพื่อไปเอาเสื้อ โดยผู้เสียหายรออยู่ที่ปากซอย หลังจากผู้เสียหายได้เสื้อแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลา 8.30 นาฬิกา ผู้เสียหายบอกจำเลยว่าไปโรงเรียนไม่ทันแล้ว จะไปโรงเรียนเวลาเที่ยง จำเลยจึงชวนผู้เสียหายให้คอยที่ห้องเช่าของจำเลยก่อน นั่งอยู่ได้ประมาณครึ่งชั่วโมง จำเลยบอกจะออกไปเอาหนังสือการ์ตูนข้างนอก ผู้เสียหายขอตามจำเลยไปด้วย ไปที่บ้านเพื่อนจำเลย ประมาณ 30 นาที จำเลยก็พาผู้เสียหายกลับไปที่ห้อง เพื่อให้ผู้เสียหายไปโรงเรียนตอนเที่ยง ตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้ต่อมาจำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม / คดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3152/2543 คำว่า "พราก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า จากไปพาเอาไปเสียจาก แยกออกกันหรือเอาออกจากกัน คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงหมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากความปกครองดูแล ทำให้ความปกครองดูแลของมารดาเด็กถูกรบกวน หรือถูกกระทบกระเทือน จำเลยจูงเด็กหญิง ส. เข้าไปในห้องโดยมิได้ใช้แรงฉุด แล้วให้นั่งรออยู่คนเดียวประมาณ 20 นาที ระหว่างนั้นเด็กหญิง ส. สามารถที่จะกลับบ้านได้และเด็กหญิง ส. เคยไปนั่งเล่นในห้องนอนจำเลยบ่อย ๆพฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะส่อแสดงให้เห็นว่า เด็กหญิง ส. เข้าไปในห้องนอนจำเลย และอยู่ในห้องนอนจำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลานานนั้น เป็นไปด้วยความเต็มใจของเด็กหญิง ส. เนื่องจากเด็กหญิง ส.ชอบพอจำเลยมากกว่า ที่จะถูกชักชวน และจูงจากจำเลย เพราะเด็กหญิง ส. สามารถที่จะไม่ไปตามที่จำเลยจูงก็ได้ เนื่องจากจำเลยมิได้ใช้กำลัง และสามารถที่จะกลับบ้านตนเองได้ ระหว่างที่อยู่คนเดียว เนื่องจากไม่มีอะไรมาขัดขวางการกระทำของจำเลย ยังไม่เข้าลักษณะพาไป หรือแยกเด็กไปจากความปกครองดูแลของมารดาเด็ก อันทำให้ความปกครองดูแลของมารดาเด็กถูกรบกวน หรือถูกกระทบกระเทือน ไม่เป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2549 พนักงานอัยการจังหวัดลพบุรี โจทก์ นายจรัญ พนมสวย จำเลย ป.อ. มาตรา 317 ป.วิ.อ. มาตรา 185, 215, 225 ฎีกาจำเลยกล่าวถึงข้อเท็จจริงมีใจความว่า ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ซึ่งแม้ความผิดฐานดังกล่าวจะยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เนื่องจากโจทก์จำเลยนำสืบมีสาระตรงกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายรู้จักกับจำเลยจากการแนะนำของนางสาว ศ. ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เสียหาย เพราะจำเลยต้องการร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย และในวันเกิดเหตุผู้เสียหายกับนางสาว ศ. พากันไปบ้านจำเลย โดยผู้เสียหายทราบแต่แรกแล้วว่าการไปบ้านจำเลยเพราะจำเลยประสงค์จะขอร่วมประเวณี เมื่อมีโอกาสอยู่ด้วยกันสองคน ขณะนางสาว ศ. ขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านจำเลยไป จำเลยบอกให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายก็ถอดเอง หลังจากร่วมประเวณีแล้ว ผู้เสียหายก็ยอมรับเงินจากจำเลย โดยไม่ได้แสดงอาการปฏิเสธ และเมื่อนางสาว ศ. กลับมารับผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่ได้ขัดขวาง กอปรกับขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 14 ปี มีการศึกษาถึงระดับมัธยมและไม่ถึงกับไร้เดียงสา เพราะผู้เสียหายได้ยอมรับในการเบิกความตอบคำถามค้านว่า ผู้เสียหายเคยร่วมประเวณีกับชายอื่นมาก่อน แสดงว่าขณะผู้เสียหายอยู่ที่บ้านจำเลย ผู้เสียหายมีความอิสระในการเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่ในความควบคุมของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการตัดอำนาจการปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย จึงไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ดังนั้น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้ แม้ว่าความผิดฐานนี้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน หมายเหตุ ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์นั้น ความเห็นทางตำรา เห็นว่าสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง คือสิทธิที่จะให้การศึกษาอบรมและดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล (เช่น ศ. ดร.คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคความผิด, พิมพ์ครั้งที่ 8, 2545, หน้า 163) ผู้เขียนหมายเหตุเองเห็นว่าสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ นอกจากอำนาจปกครองของบิดามารดา ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองเป็นหลักแล้ว ยังรวมถึงการคุ้มครองเด็กด้วย แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองเป็นลำดับรองลงมาก็ตาม เพราะการใช้อำนาจปกครองของบิดามารดา ก็ควรที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของเด็กด้วย ศาลฎีกาในคดีนี้ดูเหมือนจะเห็นไปในทำนองเดียวกันว่าในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ สิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง ก็รวมถึงการคุ้มครองเด็กด้วย ดังนั้น จึงตัดสินไปในทำนองว่า เมื่อเด็กให้ความยินยอมแล้ว จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ (แม้ว่าศาลฎีกาจะไม่ได้พูดไว้ชัดว่าเป็นเรื่องของความยินยอมของเด็ก แต่ถ้าพิจารณาจากเหตุผลในคำพิพากษาแล้ว ก็เห็นไปในทำนองดังกล่าวได้) ตามกฎหมายเยอรมัน ความผิดฐานพรากผู้เยาว์บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน มาตรา 235 โดยในประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน มาตรา 235 (1) ประโยคที่สอง บัญญัติว่า บุคคลใดพรากเด็กที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวของตน (Angehoeriger) ไปจากบิดามารดา บิดาหรือมารดา ผู้ปกครอง (Vormund) หรือผู้ดูแล (Pfleger) หรือไม่ส่งคืนแก่บุคคลดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือโทษปรับ แต่เดิมความผิดฐานพรากผู้เยาว์ แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์โดยอ้อมในการคุ้มครองประโยชน์ของเด็กด้วยก็ตาม แต่วัตถุประสงค์หลักก็คือการคุ้มครองอำนาจปกครอง หรืออำนาจปกครองอื่นๆ ตามกฎหมายครอบครัวของบิดามารดา ในทางตรงกันข้าม ตามกฎหมายที่ได้แก้ไขใหม่ กล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาญา ฉบับที่ 6 ในปี ค.ศ.1998 บุคคลที่ถูกพรากไปก็ได้รับการคุ้มครองโดยตรงด้วยเช่นกัน ซึ่งก็หมายถึงว่าตั้งแต่ที่มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาญาฉบับที่ 6 สิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองตามมาตรานี้ รวมถึงบุคคลที่ถูกพราก (เด็กหรือเยาวชน) ไปโดยตรงด้วย (vgl. Wieck - Noodt, ใน Muenchener Kommentar zum Strafgesetzbuch Band 3, 2003 มาตรา 235, หัวข้อ 1 ; Otto, Grundkurs Strafrecht, 5 Auf 1998, บทที่ 65, หัวข้อ 34 ; Eser, ใน Schoenke/Schroeder, Strafgesetzbuch Kommentar, 26. Auflage 2001, มาตรา 235, หัวข้อ 1) อำนาจปกครองตามกฎหมายครอบครัวเป็นไปตามมาตรา 1631 ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันที่ให้สิทธิในการดูแล ให้การอบรมสั่งสอน ควบคุมและกำหนดภูมิลำเนาของเด็ก (vgl. Wieck - Noodt, อ้างแล้ว หัวข้อที่ 2) ปัญหาว่าในขณะที่มีการกระทำความผิดผู้มีอำนาจปกครองจะได้ใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่นั้น ไม่ใช่เป็นข้อสาระสำคัญ ก่อนที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาญาฉบับที่ 6 ตามกฎหมายอาญา ไม่ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญ หากว่ามาตรการในการให้การอบรมสั่งสอนแก่เด็กที่กระทำโดยผู้มีอำนาจปกครอง จะไม่สอดคล้องกับประโยชน์สุขของเด็ก แต่เมื่อได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาญาฉบับที่ 6 แล้วฝ่ายนิติบัญญัติมีเจตนารมณ์ที่จะคุ้มครองเด็กด้วย ตามความเห็นฝ่ายข้างมากในปัจจุบัน มาตรา 235 จึงคุ้มครองโดยตรงแก่บุคคลที่ถูกพราก (ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือเยาวชน) ด้วย (vgl. Wieck - Noodt, อ้างแล้ว, หัวข้อ 7 - อย่างไรก็ตาม เด็กไม่อาจที่จะให้ความยินยอมต่อการกระทำผิดได้เพราะความผิดฐานพรากผู้เยาว์นอกจากจะคุ้มครองเด็กแล้ว ยังคุ้มครองอำนาจปกครองตามกฎหมายครอบครัวของบิดามารดาด้วย (vgl. Eser, อ้างแล้ว, หัวข้อที่ 1) ปัญหาว่า เมื่อตามกฎหมายเยอรมันความยินยอมของเด็กไม่มีผลต่อการกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตามกฎหมายไทยจะตีความไปในทำนองเดียวกับกฎหมายเยอรมันได้หรือไม่ นักกฎหมายไทยบางท่านก็เห็นไปในทำนองเดียวกันกับกฎหมายเยอรมัน (คณิต ณ นคร, อ้างแล้ว, หน้า 164) ศาลฎีกาในคดีนี้ดูเหมือนจะเห็นไปในทางตรงกันข้าม ผู้เขียนหมายเหตุเห็นว่า ตามกฎหมายไทยความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไม่ได้เขียนชัดเหมือนเยอรมันในปัจจุบันที่ว่าเป็นการคุ้มครองเด็กด้วย ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักจึงน่าจะเป็นการคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา การคุ้มครองเด็กจึงเป็นแต่เพียงวัตถุประสงค์รอง การตีความของศาลฎีกาที่ตัดสินว่า หากเด็กยอมก็ไม่ผิดก็จะเป็นผลให้วัตถุประสงค์รองกลายเป็นวัตถุประสงค์หลัก และทำให้วัตถุประสงค์หลักเสียไป ครั้นจะบอกว่าการที่เด็กรู้และยอมดังกล่าวไม่ทำให้อำนาจปกครองเสียไปก็กระไรอยู่ เพราะถ้าพิจารณาถึงอำนาจปกครองที่บิดามารดามีตามกฎหมายนั้นก็มีไว้เพื่อประโยชน์สุขของเด็ก การที่เด็กยอมดังกล่าวจะถือว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของเด็กได้อย่างไร สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์

-          ประเด็นเรื่องเหตุอันสมควร หรือไม่มีเหตุอันสมควร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 398/2517 บิดาพรากบุตรนอกสมรส ไปเสียจากการปกครองของมารดา เพื่อให้การอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา การกระทำโดยมีเจตนาดีต่อบุตรเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากโดยปราศจากเหตุอันสมควร ตาม มาตรา 317

-          การกระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4591/2528 จำเลยเป็นชายหนุ่มอายุ 22 ปีเศษ มีภริยาแล้ว พาผู้เสียหายเป็นหญิงอายุ 12 ปี 11 เดือนเศษ นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ ตกเย็นก็พากันเข้าพักนอนในโรงแรมห้อง และเตียงเดียวกัน แม้จำเลยเพียงแต่จับมือถือแขน มิได้กอดจูบผู้เสียหาย แต่ก็ได้ความว่า เพื่อนที่ไปเที่ยวด้วยกันได้แยกพักที่โรงแรมคนละคู่ และแต่ละคู่ต่าง ก็เป็นคนรักกันเช่นเดียวกับผู้เสียหายกับจำเลย แสดงว่าการกระทำไปในเชิงชู้สาว วันรุ่งขึ้นแทนที่จะพาผู้เสียหายกลับบ้าน กลับพาไปอยู่ที่บ้านญาติของจำเลย จนบิดาผู้เสียหายตามไปพบ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5409/2530 การที่จำเลยพรากเด็กไป เพื่อให้ขอทานเงิน และเก็บหาทรัพย์สินมาให้จำเลย เป็นการกระทำไปเพื่อหาประโยชน์ในทางทรัพย์สินอันเป็นเจตนาพิเศษในการพรากเด็ก จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไร เป็นความผิดตาม มาตรา 317 วรรคท้าย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6694/2540 การที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมพาผู้เยาว์ไปส่งที่บ้านของนางสาว ว. ตามที่ผู้เยาว์ขอ แต่ให้ผู้เยาว์นอนค้างคืนที่บ้านพี่สาวของ พ. โดยนอนเตียงเดียวกับจำเลยตามลำพังตลอดทั้งคืน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาพรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 7986/2546 แม้จะได้ความว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปกระทำชำเราและอยู่กินกับจำเลยเป็นเวลา 5 เดือน แล้วจำเลยได้สู่ขอและแต่งงานกับผู้เสียหายที่ 2 แต่ภายหลังจากนั้น 3 - 4 วัน ผู้เสียหายที่ 2 กลับไปอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 และแท้งบุตร จำเลยไม่เคยไปเยี่ยมและไปมาหาสู่อีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 2 เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

-          กรณีพาไปเพื่อเป็นภรรยา ไม่เป็นการพาเพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1390/2520 เด็กหญิงอายุ 14 ปี เต็มใจไปอยู่กับจำเลยเพื่อเป็นสามีภริยา จำเลยไม่มีภริยา ไม่เป็นการอนาจาร ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์


-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 317
-          (ขส อ 2541/ 4) หลอกเด็ก 14 ขึ้นรถจะไปส่งบ้าน เด็กโดดหนีลงบ่อ รอ 2 ชั่วโมง แล้วจับไปข่มขืน หลังเกิดเหตุไปสู่ขอมาเป็นเมียน้อย / ผิด ม 284 3 (283 ทวิ) + 277 2 (ไม่เข้า ว 4 เด็กไม่ยอม ไม่เกิน 15 ปี ขอศาลสมรสไม่ได้) + 317 3 เป็นเมียน้อยเพื่ออนาจาร + 310 + 91



มาตรา 318     ผู้ใด พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2722/2520  พาหญิงอายุ 17 ปี ไปจากบิดามารดา โดยหลอกว่าจะพาไปทำงานที่กรุงเทพฯ  แต่กลับพาไปบังคับให้ค้าประเวณี เป็นการพาไปโดยหญิงไม่เต็มใจและอนาจาร ตาม ม.318 วรรคท้าย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2412/2525 การที่ผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 13 ปีเศษ ยินยอมไปกับจำเลย เพราะจำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าจะพาผู้เสียหายไปซื้อผ้า แล้วพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรานั้น ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. ม.318 อีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4641/2530 ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ยินยอมไปกับจำเลยกับพวก ก็เพราะถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงว่าจะไปส่ง แต่จำเลยกับพวกกลับพาไปในที่เกิดเหตุ แล้วร่วมกันขู่เข็นฉุดคร่าผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเต็มใจไปกับจำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 318 วรรคท้าย

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1476/2525 เด็กหญิง ล.อายุ 15 ปี ผู้เสียหายได้ตามบุตรสาวจำเลยไปกรุงเทพมหานคร โดยได้รับอนุญาตจากมารดาแล้ว เมื่อถึงกรุงเทพมหานคร จำเลยรับตัวผู้เสียหายไปทำงานเป็นลูกจ้างร้านก๋วยเตี๋ยว  ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.318 /  ป.ว.อ. ม.176 เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ให้ศาลพิพากษาได้นั้นมิได้หมายความว่า เมื่อจำเลยรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดจริง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยอำนาจตาม ป.ว.อ. ม.185 ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 351/2526 จำเลยฉุดคร่าผู้เสียหายจากทางเดินพาเข้าไปในทุ่งข่มขืนกระทำชำเรา แล้วก็ทิ้งผู้เสียหายไว้ ณ ที่เกิดเหตุ แสดงว่าจำเลยพาไปเพื่อกระทำชำเราเท่านั้น หาได้มีเจตนาพา หรือแยกเอาผู้เสียหายไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดาผู้เสียหายไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามป.อ.ม.318 ด้วย / การพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาเพื่อการอนาจาร หรือทำให้ผู้เยาว์ปราศจากเสรีภาพในร่างหาย ก็เป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะเรื่องพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร โดยไม่บรรยายให้ปรากฏการกระทำตาม ป.อ.ม.284 และ ม.310 ที่ขอให้ลงโทษมาท้ายฟ้องด้วย จึงไม่ชอบด้วย ป.ว.อ.ม.158 ศาลจะปรับบทลงโทษตามมาตราดังกล่าวไม่ได้
-          คำชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 61/2535 อัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า คดีนี้พยานหลักฐานฟังได้ว่าผู้เสียหายอยู่ในความปกครองของนางเพียงพิศ น้าสาว ผู้เสียหายกับผู้ต้องหารักใคร่ชอบพอกันไปไหนมาไหนด้วยกัน โดยนางเพียงพิศรู้เห็นยินยอม วันเกิดเหตุผู้เสียหายกับผู้ต้องหาไปเที่ยวจนดึก ได้ไปค้างที่โรงแรม โดยก่อนออกไปจากบ้านได้บอกนางสาวสุพัตรา บุตรนางเพียงพิศ แต่นางสาวสุพัตราไม่ได้บอกนางเพียงพิศ นางเพียงพิศได้ไปแจ้งความ เหตุที่มีการแจ้งความจึงเป็นเพราะนางเพียงพิศไม่รู้มาก่อน การกระทำของผู้ต้องหาในครั้งนี้ก็เหมือนกับที่เคยกระทำมา มิได้มีเจตนาพรากผู้เสียหายไปจากความปกครองดูแลของนางเพียงพิศ คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงชี้ขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 8) .. 2530 มาตรา 7

มาตรา 319     ผู้ใด พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น

-          อำนาจปกครอง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4465/2530 ผู้เสียหายอายุ 16 ปีเศษ ยังอาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา แม้บิดามารดาจะให้อิสระแก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายจะไปเที่ยวที่ไหนกลับเมื่อใด ไม่เคยสนใจสอบถามหรือห้ามปราม ผู้เสียหายก็ยังอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพบกับผู้เสียหายที่งานบวชพระ แล้วพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราด้วยความสมัครใจของผู้เสียหาย ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดา จึงเป็นความผิดตาม มาตรา 319
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4465/2530 ผู้เสียหายอายุ 16 ปีเศษ ยังอาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา แม้บิดามารดาจะให้อิสระแก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายจะไปเที่ยวที่ไหนกลับเมื่อใด ไม่เคยสนใจสอบถามหรือห้ามปราม ผู้เสียหายก็ยังอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพบกับผู้เสียหายที่งานบวชพระ แล้วพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราด้วยความสมัครใจของผู้เสียหาย ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดา จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 / การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 ศาลย่อมปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 ได้ มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6239/2531 ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเศษ ไปอยู่กับญาติซึ่งบ้านอยู่ใกล้กัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้เสียหายทะเลาะกับมารดาหรือมารดานำไปฝาก ก็ไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา การที่ญาติของผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายไปเอาหม้อยากับจำเลย แล้วจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่า ได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย และทำให้กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลย จึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1627/2539 ถึงแม้ผู้เสียหายจะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับมารดา เนื่องจากมารดานำไปฝาก ให้อยู่กับอื่นก็ตาม กรณีก็ยังถือว่าอยู่ในอำนาจปกครองของมารดา การที่จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายไปโดยมารดาของผู้เสียหายมิได้ยินยอม ย่อมเป็นการล่วงอำนาจ ปกครองของมารดาผู้เสียหายแล้ว ถึงแม้ว่าผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากมารดา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5038/2539 คำว่า "ผู้ปกครอง" ตาม มาตรา 319 หมายถึงผู้ใช้อำนาจปกครองอย่างบิดามารดา ผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและดูแลผู้เยาว์ทั้งในฐานะน้า และนายจ้าง โดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์ จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองการ ที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปจากผู้เสียหาย โดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม มาตรา 319 วรรคแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1800/2541 ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปทำงานพักอยู่ที่บ้าน น.ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับบ้านบิดามารดาที่จังหวัดตราดเพื่อเที่ยวสงกรานต์ ระหว่างนั้นบิดามารดาผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งจังหวัดตราดแล้วจำเลยพาผู้เสียหายไป ดังนี้ถือว่าระหว่างที่ผู้เสียหายทำงานพักอยู่บ้านนาง น. ที่กรุงเทพมหานคร ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความคุ้มครองของนาง น. เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาบ้านบิดามารดาที่จังหวัดตราด ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความปกครองของบิดามารดา การที่บิดามารดาอนุญาตให้ผู้เสียหายไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งจังหวัดตราดนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายพ้นจากความปกครองของบิดามารดา เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายไปจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา / ป.อ. มาตรา 319 บัญญัติขึ้นโดยตระหนักว่าผู้เยาว์อายุไม่เกิน 18 ปี ยังขาดความสำนึกต่อเล่ห์กลของทุจริตชน อาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อโดยง่าย สภาพที่บิดามารดาของผู้เสียหายพยายามติดตามเรื่องบุตรหายไป แสดงว่าผู้เสียหายมิได้มีความประพฤติสำส่อนจนบิดามารดาหมดความห่วงใย  การที่จำเลยทั้งสองพรากผู้เสียหายไปได้ก่อความทุกข์ใจใหญ่หลวงแก่บิดามารดาผู้เสียหาย พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีเหตุผลที่จะรอการลงโทษให้

-          การพรากไปจากอำนาจปกครอง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1097/2513 จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงอายุ 17 ปีไปเสียจากบิดามารดาด้วยความรักใคร่ฉันชู้สาว ผู้เสียหายสมัครใจไปอยู่กินกับจำเลยแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่รู้ความจริง ไปได้คืนเดียว พอทราบความจริงว่าจำเลยมีภรรยาแล้ว ผู้เสียหายก็หลบหนีไป ดังนี้ ถือว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเพื่ออนาจารตาม มาตรา 319
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 831/2518 จำเลยมีบุตรภริยาแล้ว ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 14 ปี หนีบิดามารดา ไปหาจำเลย และนัดให้จำเลยไปรับ ณ ที่แห่งหนึ่งและพาผู้เสียหายไปอยู่ร่วมกัน เป็นความผิดตามมาตรา 319
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 328/2527จำเลยเขียนจดหมายนัดพาผู้เสียหายอายุ 14 ปีไปอยู่ด้วยกัน บอกให้เอาเงินและของมีค่าไปด้วย จำเลยได้พาผู้เสียหายไปเบิกเงินจากธนาคารทั้งหมดเอามาเก็บไว้เสียเอง และแบ่งให้มารดาจำเลยครึ่งหนึ่ง จำเลยพาผู้เสียหายย้ายที่อยู่หลายแห่ง เมื่อมารดาผู้เสียหายตามไปพบที่ต่างจังหวัด จำเลยหลบหนีการจับกุมไปได้ ไม่กล้าสู้ความจริงว่าพาไปเป็นภรรยา ไม่มาตกลงกัน พฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหาย โดยยกความรักใคร่ฉันชู้สาวมาอ้างกลบเกลื่อนความคิดกระทำอนาจาร และหลอกเอาทรัพย์สินมีค่าของผู้เสียหาย จำเลยมีภรรยาแล้ว และขณะพาผู้เสียหายหลบหนี จำเลยก็ยังอยู่กินกับภรรยา ดังนี้ จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.ม.319
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1961/2529 จำเลยชวนผู้เสียหายอายุ 17 ปี ไปรับประทานอาหาร แล้วพาไปร่วมประเวณี โดยบิดามารดาของผู้เสียหายไม่ทราบว่าผู้เสียหายไปไหน จำเลยมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.ม.319 แต่จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจนผู้เสียหายตั้งครรภ์แล้ว ศาลฎีการอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6688/2531 เด็กหญิง  ก. ผู้เสียหายอายุ 14 ปีเรียนหนังสือที่กรุงเทพมหานครได้ไปเยี่ยมบิดามารดาที่จังหวัดเลย ได้ออกไปเที่ยวจนดึก เมื่อกลับบ้านบิดาไม่ยอมให้เข้าบ้าน จึงไปนอนที่หอพักกับจำเลย คืนนั้นจำเลยจะล่วงเกินผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่ยินยอม  เช้าวันรุ่งขึ้น ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยร่วมประเวณี 2 ครั้ง และจำเลยให้ผู้เสียหายพักอยู่ด้วยจนถึงตอนเย็น แล้วพาไปจังหวัดขอนแก่นพักนอนบ้านเพื่อน วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายกับจำเลยยังเที่ยวต่อที่จังหวัดขอนแก่นอีก ไม่ส่งผู้เสียหายกลับ จนมารดาผู้เสียหายพาตำรวจมาจับจำเลย พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1839/2538 จำเลยพาผู้เสียหายไปที่ป่าละเมาะ และใช้อวัยวะเพศของจำเลย ทิ่มตำอวัยวะเพศของผู้เสียหาย กับใช้นิ้วชี้ใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แล้วจำเลยสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาผู้ดูแล และกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่เป็นความผิดฐานพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 210/2541 การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะพาผู้เสียหายไปทำงานในร้านอาหาร แต่กลับพาไปขายให้แก่ บ. เพื่อให้ค้าประเวณี จะนับว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยไม่ได้ เพราะผู้เสียหายไม่ได้เต็มใจไปค้าประเวณีมาแต่ต้น แต่ไปกับจำเลย เพราะจำเลยหลอกลวงว่าจะพาไปทำงานที่ร้านขายอาหารของน้องสาวจำเลย และการที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย แล้วพาผู้เสียหายไปขายให้แก่ บ. เพื่อให้ค้าประเวณี ก็เป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาที่จะล่อผู้เสียหายไป เพื่อการอนาจารและเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น โดยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 283 วรรคสอง และ มาตรา 318 วรรคสาม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4526/2543 ความผิดฐานพรากผู้เยาว์มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์ มิให้ผู้ใดมาพรากไปเสียจากความปกครอง ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอาศัยอยู่กับนาย บ. และนาง ก. ผู้เป็นบิดามารดาและอยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา การที่นาง ก. อนุญาตให้ผู้เสียหายไปเที่ยวกับเพื่อนนั้น เป็นการอนุญาตให้ออกไปเกี่ยวเป็นชั่วคราว มิได้อนุญาตให้แยกออกไปอยู่โดยลำพังเป็นการถาวร จึงยังไม่พ้นจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การที่ผู้เสียหายออกจากบ้านพักไปหาจำเลยที่หอพัก หลังจากนั้นจำเลยพาผู้เสียหายไปเดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า แล้วชวนผู้เสียหายไปที่ห้องพักของจำเลย และอยู่กับจำเลยเรื่องมา แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยบิดามารดาของผู้เสียหาย มิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายไปอยู่กับจำเลย ถือเป็นการพรากผู้เสียหายออกมาจากบิดามารดา อันเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก

-          ไม่เป็นการพรากไป
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 536/2528 จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอายุ 11 ปีเศษโดยผู้เสียหายยินยอม แม้จำเลยอายุ 20 ปี ก็สมควรลดมาตราส่วนโทษให้  1 ใน 3 ตาม ป.อ. ม.76 / ผู้เสียหายอายุ 11 ปีเศษ และจำเลยชวนกันไปเที่ยวโดยป้าของผู้เสียหายอนุญาต แล้วได้พากันไปค้างที่บ้านจำเลยก่อนที่ผู้เสียหายจะนอนค้างนั้น จำเลยได้บอกให้ผู้เสียหายกลับบ้านแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่กลับ ดังนั้น จำเลยไม่ได้พรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.317
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 949/2536 เด็กหญิง ว.ไปที่บ้านของจำเลยเอง และช่วยจำเลยทำขนมที่บ้าน มารดาจำเลยทราบว่าได้เสียกับจำเลยแล้ว จึงยอมให้อยู่บ้านกับจำเลยฉันสามีภรรยา ดังนี้เป็นเรื่องเด็กหญิง ว.ต้องการเป็นภริยาจำเลยและสมัครใจไปจากบิดามารดาเอง จำเลยไม่ได้พาเด็กหญิง ว.ไปจากบิดามารดาผู้ปกครอง จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2245/2537 ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไป เพื่อการอนาจารมุ่งหมายถึงการพรากผู้เยาว์ไป เพื่อการอันไม่สมควรในทางเพศ แม้การกระทำของจำเลยจะไม่เป็นความผิดฐานอนาจาร เนื่องจากผู้เสียหายยินยอม แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารได้ และแม้บิดามารดาของผู้เสียหายจะออกไปนอกบ้าน ขณะที่ผู้เสียหายออกจากบ้าน และจำเลยได้พาไปที่ขนำก็ตาม ยังถือว่าผู้เสียหายอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนอนค้างคืนที่ขนำในสวน โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย แล้วจำเลยได้กอดปล้ำหอมแก้มและจับหน้าอกผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก / โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยตาม ป.อ.มาตรา 318 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยกับจำเลยอันเป็นกรณีตามมาตรา 319 ซึ่งมีโทษเบากว่าศาลย่อมลงโทษจำเลยตามมาตรา 319 ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจะโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตาม ป.อ. บัญญัติว่าเป็นความผิดทั้งสองกรณี
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2375/2541 การที่ผู้เสียหายซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุ 15 ปีเศษ ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ออกจากห้อง ไปพูดจาปรับความเข้าใจกับจำเลย ห่างจากห้องพักเกิดเหตุประมาณ 10 เมตร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปพูดกับจำเลยนั้น การกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เสียหาย และไม่เป็นการพาหญิงไป เพื่อการอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายและพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 750/2543 การที่จำเลยมาพบผู้เสียหาย ก็เนื่องจากผู้เสียหายนัดให้จำเลยมาพบ เพื่อให้จำเลยนำเสื้อมาให้ จำเลยพาผู้เสียหายไปที่ห้องเช่าของจำเลย ก็เพื่อธุระของผู้เสียหายเอง หลังจากได้เสื้อแล้วที่จำเลยให้ผู้เสียหายรออยู่ที่ห้อง ก็สืบเนื่องมาจากผู้เสียหายไปโรงเรียนไม่ทัน ซึ่งผู้เสียหาย ก็เต็มใจที่จะรออยู่ที่ห้องจำเลย เพื่อไปโรงเรียนเวลาเที่ยง ตอนจำเลยไปเอาหนังสือการ์ตูนที่บ้านเพื่อนจำเลย ผู้เสียหายเป็นฝ่ายขอตามจำเลยไปด้วย จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายชักชวนให้ผู้เสียหายไปกับจำเลย การที่จำเลยพาผู้เสียหายกลับมาที่ห้องจำเลยอีกก็เพื่อให้ผู้เสียหายไปโรงเรียนตอนเที่ยง ตามที่ผู้เสียหายบอก ตามพฤติการณ์แห่งคดี ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้ต่อมาจำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหาย และจำเลยให้การรับสารภาพ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิดในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2773/2543 ผู้เสียหายเป็นเด็กมีอายุ 8 ปี 6 เดือน ได้ไปที่วัดที่จำเลยจำพรรษาอยู่ ขณะที่ผู้เสียหายกำลังจะกลับบ้าน จำเลยได้จูงมือผู้เสียหายและเด็กหญิง ก. ชวนไปรับประทานขนมที่กุฏิของจำเลย การที่จำเลยจูงมือผู้เสียหาย ซึ่งไปที่วัดช่วยพระทำงานอยู่ในบริเวณวัดไปที่กุฏิของจำเลย ซึ่งอยู่ในวัดนั่นเอง ยังไม่ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

-          ขาดเจตนาพิเศษ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4796/2529 จำเลยชวน น.ส. ส. อายุ 15 ปี ไปทำงานโรงงานทอผ้าที่กรุงเทพมหานคร ส.หนีบิดาไปกับจำเลย แต่ไปสมัครแล้วไม่ได้ จึงไปสมัครทำงานที่ร้านอาหารด้วยกัน ทำได้ 2-3 วัน จำเลยลาออกแล้วกลับบ้าน ส.ไม่ยอมลาออก การที่ ส.ทำงานต้องหัดเต้นรำด้วย ถือไม่ได้ว่าการเต้นรำ เป็นการอนาจาร แม้ ส.ถูกบังคับให้ไปนอนกับชายที่เต้นรำด้วย ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยทราบพฤติกรรมนี้มาก่อน ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. ม.319

-          กรณีที่มีเจตนาจะเป็นคู่สมรส ไม่เป็นการพาไปเพื่ออนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1262/2513 หญิงผู้เยาว์กับจำเลยรักกัน จำเลยพาผู้เยาว์หนีไปค้างคืนที่อื่น 20 กว่าคืน แล้วกลับมาขอขมาบิดามารดาของผู้เยาว์ และอยู่กินด้วยกันที่บ้านบิดาของผู้เยาว์อีก 10 กว่าวัน แล้วจำเลยจึงไปและไม่กลับมาอีก พฤติการณ์ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 319 เพราะจำเลยพาผู้เยาว์ไป เพื่อเป็นภริยา ไม่ใช่เพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2177/2517 การพาหญิงไปร่วมประเวณี ถ้ากระทำในลักษณะที่อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยสมัครใจของหญิง และไม่ปรากฏว่าชายมีภริยาอยู่แล้ว ไม่เป็นการพาไปเพื่อการอนาจาร (1519/2520 วินิจฉัยว่า แม้หญิงจะมีอายุเพียง 15 ปี ก็ไม่เป็นการพาไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 319)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1268/2518 ชายอายุ 21 ปี พาหญิงอายุ 17 ปี 9 เดือนไปจากมารดาผู้ปกครอง เพื่ออยู่กินเป็นสามีภริยา โดยชายหญิงไม่มีสามีภริยาหรือคนรักอื่น ไม่เป็นกระทำเพื่อการอนาจารตาม ม.319
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 197/2525 จำเลยไม่เคยมีภรรยาได้รักใคร่ชอบพอกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายหนีบิดามาอยู่กับจำเลยโดยสมัครใจเป็นเวลาประมาฯ 6 เดือน  แล้วจึงกลับไปอยู่กับบิดาเนื่องจากถูกมารดาจำเลยขับไล่ มิใช่เพราะถูกจำเลยทอดทิ้ง หลังจากนั้น บิดาผู้เสียหายไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลยข้อหาพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร จำเลยส่งญาติผู้ใหญ่ไปทำพิธีขอขมา บิดาผู้เสียหายยอมรับการขอขมา และยอมรับว่าจำเลยเป็นบุตรเขย  จำเลยอยู่บ้านผู้เสียหายหนึ่งคืนแล้วออกจากบ้านผู้เสียหายไปทำนาที่จังหวัดนครปฐม และไม่กลับไปหาผู้เสียหายอีกเลย  ผู้เสียหายเองก็ไม่ต้องการกลับไปอยู่กินกับจำเลยที่บ้านของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภรรยา หาใช่เพื่อการอนาจารไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1696/2532 จำเลยกับผู้เสียหายเป็นคู่รักกัน เคยไปเที่ยวด้วยกันหลายครั้ง มีจดหมายรักถึงกันในคืนเกิดเหตุ จำเลยพาผู้เสียหายไปขอพักที่บ้านผู้อื่น โดยบอกว่าพาเมียมาขอนอนพักด้วย ระหว่างกินข้าว ผู้เสียหายกับจำเลยหยอกล้อกัน ดังนี้ จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภริยาของจำเลย มิใช่เพื่อการอนาจาร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภริยาอยู่ก่อนแล้ว จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4587/2532 ผู้เสียหายเต็มใจไปกับจำเลย หลังจากที่จำเลยพาผู้เสียหายไปแล้ว ญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายได้ตกลงจัดงานพิธีให้ผู้เสียหายและจำเลยแต่งงานกัน และมีการมอบค่าสินสอดของหมั้นให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายผู้เสียหายรับไปแล้วบางส่วน เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาถึงบ้าน ฝ่ายญาติผู้ใหญ่ของผู้เสียหายได้จัดพิธีบอกผีเรือนตามประเพณีก่อนให้ผู้เสียหายเข้าบ้าน พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่า ที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนั้นมีเจตนาที่จะพาไปเป็นภรรยาตั้งแต่แรก เพราะไม่ได้ความว่าจำเลยมีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภรรยา แม้ผู้เสียหายจะยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ก็ไม่เป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของมารดา และแม้จำเลยจะร่วมประเวณีกับผู้เสียหายระหว่างที่พักอยู่ด้วยกัน ก็ถือได้ว่าเป็นการพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1806/2533 จำเลยกับผู้เสียหายหนีตามกันไป เพื่ออยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 949/2536 เด็กหญิง ว.ไปที่บ้านของจำเลยเอง และช่วยจำเลยทำขนมที่บ้าน มารดาจำเลยทราบว่าได้เสียกับจำเลยแล้ว จึงยอมให้อยู่บ้านกับจำเลยฉันสามีภรรยา ดังนี้เป็นเรื่องเด็กหญิง ว.ต้องการเป็นภริยาจำเลยและสมัครใจไปจากบิดามารดาเอง จำเลยไม่ได้พาเด็กหญิง ว.ไปจากบิดามารดาผู้ปกครอง จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร (เทียบ 1258/2542 “เด็ก อายุไม่เกิน 15 ปี ขาดเจตนาพาไปเพื่อการอนาจาร ไม่ผิดวรรคสาม แต่ผิดวรรคแรก)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4995/2537 ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กกับจำเลยสมัครใจใคร่ชอบพอกัน โดยจำเลยยังไม่มีภริยามาก่อน และจำเลยได้พาผู้เสียหายไปนอนหลับได้เสียกัน ก็เพื่อประสงค์จะกินอยู่ด้วยฉันสามีภริยา ต่อมาฝ่ายจำเลยมีเหตุขัดข้อง ไม่สามารถจัดหาสินสอดและของหมั้น ไปสู่ขอผู้เสียหายจากบิดามารดาผู้เสียหายตามประเพณีได้ จึงมิได้อยู่กินด้วยกัน ดังนี้ การกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 894/2538 จำเลยพา จ. ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี อยู่ในความปกครองของ ว. ไปค้างคืนนอกบ้าน และ จ. ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราด้วยความสมัครใจโดย จ.กับจำเลยรักใคร่ชอบพอกัน ประสงค์จะเป็นสามีภริยากัน เช่นนี้การกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิดตาม  ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 354/2542 ผู้เยาว์กับจำเลยรู้จักสนิทสนมกันมานานประมาณ 4 ปี มีความรักใคร่ชอบพอกันอยู่ก่อนแล้ว ผู้เยาว์เองก็รับว่าสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย นอกจากนี้บิดามารดาจำเลยเคยติดต่อสู่ขอผู้เยาว์จากบิดามารดาผู้เยาว์แต่ตกลงในจำนวนเงินค่าสินสอดกันไม่ได้ ผู้เยาว์จึงติดตามไปอยู่กับจำเลย และหลังจากนั้นก็อยู่กินกับจำเลยมาโดยตลอดมิได้กลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของตน จนผู้เยาว์ตั้งครรภ์ พฤติการณ์ของจำเลยที่พาผู้เยาว์ไปอยู่กินด้วยกัน ก็ด้วยประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยาจริงๆ ประกอบกับจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเลี้ยงดูผู้เยาว์ฉันสามีภริยาได้โดยแท้ การกระทำของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร

-          ไม่มีเจตนาเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยา เข้าองค์ประกอบ เพื่อการอนาจาร เป็นความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2029/2520 จำเลยพาหญิงอายุ 16 ปีไป โดยหญิงสมัครใจได้เสียกับจำเลยอยู่ด้วยกัน 2 เดือน จำเลยไม่สามารถหาเงินสินสอดได้ จึงส่งตัวหญิงกลับบ้านรุ่งขึ้น ก็ได้หญิงอื่นเป็นภริยา แสดงว่าจำเลยไม่ตั้งใจเลี้ยงดูหญิงเป็นภริยาจริง เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตาม  ป.อ. ม.319 แม้ฟ้องว่าผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยตาม ม.318 ก็ลงโทษตาม ม.319 ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2029/2520 ผู้เสียหายอายุ 16 ปี ยินยอมไปอยู่กินกับจำเลยซึ่งมีอายุ 27 ปี และยังไม่มีภริยาอยู่ได้ 2 เดือน จำเลยหาเงินสินสอดไม่ได้ จำเลยให้ผู้เสียหายกลับไปบ้าน รุ่งขึ้นชายได้หญิงอื่นเป็นภริยา แสดงว่าจำเลยไม่ตั้งใจพาหญิงไปเลี้ยงดูเป็นภริยาจริงจัง จึงเป็นการพาไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 319
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 473/2547 โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม เล่มที่ 1 หน้า 113 จำเลยรับ ศ. ผู้เยาว์มาจากในตัวเมือเพชรบุรี แล้วพาไปที่ห้องพักของจำเลย จากนั้นจำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ศ. แม้ว่า ศ. ออกจากบ้านเองโดยจำเลยไม่ได้เป็นผู้ชักนำ แต่เมื่อจำเลยพบ ศ. ในบริเวณตลาดอำเภอเมืองเพชรบุรีแล้วพาไปค้างคืนที่ห้องพักของจำเลยโดย ศ. ยินยอม แต่ผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง ศ. ไม่ได้ยินยอมอนุญาต ย่อมเป็นการพราก ศ. ไปจากอำนาจปกครองของผู้เสียหาย จำเลยร่วมประเวณีกับ ศ. โดยไม่ได้ประสงค์รับเป็นภรรยา พฤติกรรมของจำเลยเป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควรในทางเพศตามครรลองคลองธรรม ถือเป็นการกระทำเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก เป็นความผิดอาญาฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร

-          ประเด็นความผิดสำเร็จ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2191/2522 จำเลยดึงเด็กอายุ 8 ปี ไปจากผู้ดูแลพยายามจับตัวอุ้มไป แต่ผู้ดูแลดึงตัวเด็กไว้และร้องขอให้ช่วย จำเลยจึงปล่อยเด็กเป็นพยายามพรากผู้เยาว์ตาม ม.317, 80 / ใช้ปืนจี้บังคับให้คนขับรถนั่งเฉย ๆ เอามือวางไว้ที่พวงมาลัย คนขับรถต้องปฏิบัติตาม เป็นความผิดตาม ม.309

มาตรา 320     ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด พา หรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่พันบาท ถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ได้กระทำ เพื่อให้ผู้ถูกพาหรือส่งไปนั้น ตกอยู่ในอำนาจของผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อละทิ้งให้เป็นคนอนาถา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1595/2522 จำเลยใช้อุบายกล่าวหาโจทก์ว่ายักยอก แล้วให้โจทก์ไปทำงานที่ฮ่องกง มีคนมารับไปควบคุมข่มขืนชำเรา และจดทะเบียนสมรส เจตนาแท้จริง ก็เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น จึงเป็นความผิดกรรมเดียวตาม ป.อ. ม.283, 320 ลงโทษตาม ม.283 บทหนัก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5235/2530 มาตรา 320 วรรคแรกนั้น ผู้กระทำความเพียงใช้อุบายหลอกลวงหรือขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด อย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวมา พาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักร ก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 320 วรรคแรกแล้ว หาจำต้องกระทำการทุกอย่างพร้อมกันในคราวเดียวกันไม่ จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า มีงานให้ทำที่ประเทศสิงคโปร์ และส่งผู้เสียหายออกไปนอกราชอาณาจักร ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 320 วรรคแรกแล้ว

มาตรา 321     ความผิดตาม มาตรา 309 วรรคแรก มาตรา 310 วรรคแรก และมาตรา 311 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้

ไม่มีความคิดเห็น: