๑.หุ้นที่ถือในบริษัท คำพิพากษาฏีกา ๑๑๗๔/๒๔๘๗
๒.สิทธิเช่าตึก สิทธิ์เช่าเครื่องโทรศัพท์ คำพิพากษาฏีกา ๕๓๖/๒๔๙๘
๓.สิทธิ์ตามสัญญาจะซื้อทรัพย์ คำพิพากษาฏีกา ๑๔๗๖/๒๕๑๘
๔.สิทธิ์ทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร คำพิพากษาฏีกา ๒๘๕๕/๒๕๑๙
๕.สิทธิ์เช่าซึ่งสามีภริยาไม่จดทะเบียนร่วมกันมีอยู่ คำพิพากษาฏีกา ๗๖๗/๒๕๓๘
๖.สิทธิ์การเป็นลูกวงในการเล่นแชร์เป็นทรัพย์สินที่จำหน่ายหรือซื้อขายได้ คำพิพากษาฏีกา ๒๐๙๕/๒๕๒๔
๗.สิทธิ์การเช่าทรัพย์สิน ผู้เช่าอาจโอนให้บุคคลอื่นหากผู้ให้เช่ายินยอม เมื่อโอนสิทธิ์การเช่าให้ผู้คัดค้านในระยะเวลา ๓ ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ศาลเพิกถอนการโอนได้ คำพิพากษาฏีกา ๒๒๕๓/๒๕๒๔
๘.สิทธิ์เช่าตึกมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สิน คำพิพากษาฏีกา ๘๗๕/๒๕๒๕
๙.สิทธิ์ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นทรัพย์สิน เมื่อได้มาระหว่างสมรส สามีภรรยาเป็นเจ้าของร่วมกัน คำพิพากษาฏีกา ๑๕๐๒/๒๕๒๒
๑๐.สัญญาเช่าสิทธิ์เพื่อเก็บค่ารักษาความสะอาดในที่พิพาทจากพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของที่เช่าแผง เป็นสัญญาเช่าทรัพย์สิน คำพิพากษาฏีกา ๑๒๕๕/๒๕๓๗
๑๑.เมื่อสัญญาเช่าหมด ผู้เช่ามีสิทธิ์ต่อสัญญาได้ การต่อสัญญาเป็นการสืบสิทธิ์จากเจ้ามรดกผู้เช่าเดิม สิทธิ์การเช่ามีราคาและถือเอาได้เป็นทรัพย์สินและเป็นมรดกตกแก่ทายาท คำพิพากษาฏีกา ๔๐๐๑/๒๕๓๐
๑๒.หุ้นเป็นสิ่งที่มีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สิน ต้องนำมารวมกับรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ์ โดยตีราคาหุ้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติ คำพิพากษาฏีกา ๓๘๕๓/๒๕๒๔
๑๓.เงินที่กันไว้ลงทุนซื้อหุ้นบริษัท เป็นทรัพย์สิน ในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน โจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้ ถือเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้น ตาม ประมวลรัษฏากรฯ มาตรา ๖๕ทวิ(๓) คำพิพากษาฏีกา ๑๘๕๐/๒๕๓๑
๑๔.เช็คอาจโอนกันได้ จึงเป็นทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายลดเช็คเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีมูลหนี้อยู่ นำสัญญานั้นมาฟ้องร้องได้ ปัญหาว่าจะใช้สิทธิ์บังคับตามสัญญาขายลดเช็คได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาฏีกา ๓๕๖๗/๒๕๒๕
๑๕.สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิด เป็นทรัพย์สิน ดังนั้นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับิสิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็ก ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาแทนเด็กได้ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน สัญญาที่ทำจึงไม่มีผลผูกพันธ์ คำพิพากษาฏีกา ๓๒๙/๒๕๒๔
๑๖.สิทธิ์เรียกค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน หากลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยก่อนตาย ค่าชดเชยย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ไม่ใช่สิทธิ์เฉพาะตัว คำพิพากษาฏีกา ๑๒๖๙/๒๕๒๔
ข้อสังเกต ๑. ทรัพย์สินคือสิ่งที่มีราคาและถือเอาได้ ดังนั้นอะไรก็ตามที่มีราคาและถือเอาได้ย่อมเป็นทรัพย์สินหมด ดังนั้น ทรัพย์ทุกสิ่งเป็นทรัพย์สิน แต่ทรัพย์สินทุกชนิดไม่เป็นทรัพย์ เพราะทรัพย์คือวัตถุที่มีรูปร่าง แต่ทรัพย์สินหมายความรวมถึงทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ดังนั้นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างจึงไม่ใช่ทรัพย์ สิ่งใดจะเป็นทรัพย์ได้ต้องเป็นวัตถุมีรูปร่างเท่านั้น
๒. การที่มี “ ราคา” นั้น ไม่หมายเฉพาะราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความมีมูลค่าและการหวงกันไว้ด้วย สมุนไพรในป่าหากไม่มีใครค้นคว้ารู้ว่าสมุนไพรตัวใดมีประโยชน์แล้วย่อมไม่มีคนเข้าถือเอา แต่หากว่ามีการค้นว่าว่าสมุนไพรหรือพืชชนิดใดในป่านำมาทำประโยชน์ในการรักษาโรคได้หรือทำผลิตภัณท์ในการรักษาความงามได้ แล้วมีคนเข้าถือเอา ย่อมมีราคาและถือเอาได้
๓. เพียงแต่ “ อาจ” ถือเอาก็เพียงพอแล้ว เช่น ปลาในโป๊ะ แม้ยังไม่มีการจับ แต่ก็มีการหวงกันและอาจถือเอาได้ เหมือนเช่นรังนกที่ได้รับสัมปทานก็เช่นกัน แม้จะยังไม่ได้ไปเก็บรังนกก็ตาม หรือสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกรางวัล แม้จะยังไม่ไปขึ้นเงิน ก็เป็นการเพียงพอแล้วที่ผู้ถูกรางวัลจะเข้าถือเอาเงินรางวัลด้วยการนำสลากที่ถูกรางวัลไปขึ้นเงิน
๔.เมื่อเป็นทรัพย์สิน หรือสิทธิ์ในทางทรัพย์สินซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินย่อมสามารถจำหน่ายจ่ายโอนและตกทอดเป็นมรดกได้ เพราะกองมรดกของผู้ตายคือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ์และหน้าที่ความรับผิด ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๐ และหากเป็นของผู้ตายก่อนตายแล้วย่อมตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท ดังนั้น สิทธิ์เรียกค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน หากลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยก่อนตาย ค่าชดเชยย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ไม่ใช่สิทธิ์เฉพาะตัวของเจ้ามรดกแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น