ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

" มีคำพิพากษาให้ขับไล่ แต่ไม่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ "

การรถไฟแห่งประเทศไทยทำสัญญาให้บริษัท ท.จำกัด เช่าที่ดินย่านพหลโยธิน จากนั้นบริษัท ท. จำกัดมอบให้บริษัท ซ จำกัด บริษัท ร. จำกัด บริษัท น จำกัด เข้าร่วมในการพัฒนา เมื่อพัฒนาแล้วบริษัท ท. จำกัด ได้จัดสรรเก็บผลประโยชน์ให้บริษัทที่ร่วมพัฒนาเป็นการตอบแทน สำหรับตลาดซันเดย์ บริษัท ซ. จำกัดเป็นผู้จัดเก็บผลประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในสัญญาฉบับที่สองที่บริษัท ท. จำกัด เช่าจากการรถไฟ ต่อมาการรถไฟยกเลิกสัญญาที่ทำไว้กับบริษัท ท.จำกัด บริษัท ซ.จำกัด จึงได้ขอตกลงทำสัญญาเช่าที่ดินแปลงที่ตนเคยจัดเก็บผลประโยชน์จากกากรรถไฟ แต่การรถไฟไม่ตกลงเพราะจะนำที่ดินแปลงดังกล่าวสร้างสวนสาธารณะ แต่ปรากฏว่าบริษัท ซ. จำกัด ให้นางสาว พ. เซ้งอาคารพาณิชย์โซน A ห้อง A1, A2, D2, D3 เพื่อทำการค้าและให้เช่าต่อ การรถไฟจึงฟ้องละเมิดและเรียกค่าเสีหายและขับไล่บริษัท ซ. จำกัดและบริวารให้ออกจากที่ดิน จนศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้ขับไล่ แม้บริษัท ธ. จำกัด จะได้รับสิทธิ์ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับการรถไฟฯ การที่บริษัท ธ.จำกัดจะเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าดังกล่าวและอาศัยสิทธิ์ตามคำพิพากษาศาลแพ่งต้องดำเนินการโดยให้การรถไฟฯซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีขับไล่ตามวิธีการและข้อกำหนดตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่มีสิทธิ์ดำเนินการบังคับด้วยตัวเอง ผู้เสียหายที่พักอาศัยในที่พิพาทอาศัยสิทธิ์ตามสัญญาเช่าจากผู้เช่าเดิมและได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯให้อาศัยในห้องพักดังกล่าว การที่พวกผู้ต้องหารื้อประตูเหล็กออกแล้วทำรั่วเหล็กปิดกั้นไม่ให้ผู้เสียหายและบุคคลอื่นเข้าออกที่เกิดเหตุได้เป็นการเข้าไปดดยไม่มีเหตุอันควร เป็นการทำให้เสื่อมประโยชน์ซึ่งทรัพย์ผู้อืนชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาที่ ๑ ที่ ๒ ข้อหาร่วมกันบุกรุก(ในวันที่ ๒๖ เม.ย.๒๕๕๐) สั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ ๑ ที่ ๒ ฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ กับชี้ขาดให้ฟ้อง ผู้ต้องหาที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ฐานร่วมกันบุกรุก(วันที่ ๓๐ เม.ย.๒๕๕๐) ชี้ขาดความเห็นแย้ง๓๑๙/๒๕๕๑
ข้อสังเกต ๑.ผู้ต้องหาไม่ใช่เจ้าของที่ดินและไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นเพียงผู้เช่าที่ดินจากการทางรถไฟฯเท่านั้น
๒.แม้ผู้ต้องหามีสิทธิ์ที่จะใช้สรอยได้ประโยชน์ในที่ดินตามสัญญาเช่าในที่พิพาทซึ่งมีคำพิพากษาให้ขับไล่ผู้อาศัยก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าไปรื้อถอนและสร้างกำแพงปิดกั้นไม่ให้ใครเข้าไป ต้องดำเนินการโดยร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่้านั้น ไม่งั้นเป็นความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ได้
๓.ผู้เสียหายแม้จะมีคำพิพากษาให้ขับไล่ แต่การที่ผู้เสียหายไม่ยอมออกจากที่พิพาทต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ใช่บุคคลอื่นจะมาดำเนินการเอง แม้จะเป็นเจ้าของที่ดินหรือเป็นผู้มีสิทธิ์ตามสัญญาเช่าจากเจ้าของที่ดินก็ตาม หากมาดำเนินการบังคับคดีก็เป็นความผิดตามกฏหมายได้
๔.แม้ผู้เสียหายจะอาศัยสิทธิ์การเช่าตามสัญญาเเช่าเดิม เมื่อผู้ให้เช่ายกเลิกการเช่ากับผู้ให้เช่าแล้ว ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงย่อม่ไม่มีสิทธิ์ดีกว่าการทางรถไฟฯซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและเป็นผู้ให้เช่าได้ เพราะสิทธิ์ผู้ให้เช่าช่วงระงับไปโดยผู้เช่าไม่ให้เช่าต่อ ผู้เสียหายเสียหายอย่างไรต้องไปว่ากล่าวกับผู้ให้เช่าช่วงอีกทีหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: