๑.นำความที่รู้อยู่แล้วว่า " เป็นความเท็จ" ให้การต่อเจ้าพนักงาน เป็นการแจ้งความเท็จ คำพิพากษาฏีกา ๒๔๔/๒๕๐๗
๒.ต้องรู้ว่าข้อความที่ตนนำไปแจ้งเป็นความเท็จ ถ้าเชื่อโดยมีเหตุผลอ้นสมควรเชื่อว่าเป็นความจริงเช่นนั้น ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ คำพิพถากษาฏีก๑๐๕๐/๒๕๑๔
๓.พฤติกาณ์มีเหตุผลควรให้เข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ของจำเลย การที่จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ คำพิีกา ๓๐๒๕/๒๕๒๖
ข้อสังเกตุ ๑. ในข้อ๒และ ข้อ ๓ เป็นเรื่องขาดเจตนาในการกระทำผิด
๒.ในข้อ ๑. นั้น แม้เป็นการไปให้การต่อเจ้าพนักงาน ตามที่เจ้าพนักงานเรียกไปสอบถามก็เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จได้ การแจ้งความเท็จจึงหมายถึง การที่ไปแจ้งกับเจ้าพนักงานรวมถึง การที่เจ้าพนักงานเรียกไปสอบถามด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น