ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๒๖๔

หมวด 3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

มาตรา 264 ผู้ใด ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใด กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

- & องค์ประกอบ

Ø (1) ผู้ใด + (วิธีการปลอม 3 ลักษณะ)

ØØ (1.1) ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด

ØØ (1.2) เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือ

ØØ (1.3) ประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร

Ø (2) โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (พฤติการณ์ประกอบการกระทำ)

Ø (3) ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง (เจตนาพิเศษ)

Ø (4) เจตนา (โดยมาตรา 59 วรรคแรก)

- & องค์ประกอบกฎหมาย

Ø ผู้กระทำ คือ ผู้ใด

Ø การกระทำ คือ การปลอมในลักษณะต่างๆ (วิธีการปลอม 3 ลักษณะ)

ØØ (1.1) ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด

ØØ (1.2) เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือ

ØØ (1.3) ประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร

Ø พฤติการณ์ประกอบการกระทำ คือ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

Ø เจตนาพิเศษ คือ ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง

Ø ระวางโทษ คือ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- เอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1507/2514 แบบพิมพ์ที่ได้พิมพ์รายการไว้บางรายการว่าเป็นเช็ค ชื่อหรือยี่ห้อสำนักงานของธนาคาร และสถานที่ใช้เงินโดยยังไม่มีรายการอื่นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 988 ยังไม่เป็นเช็คหรือตั๋วเงินตามกฎหมาย / จำเลยกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์เช็คเพื่อให้มีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามกฎหมาย แม้แบบพิมพ์เช็คนั้นจะมิใช่แบบพิมพ์ที่ธนาคารจัดพิมพ์ไว้ให้ใช้เป็นเช็ค แต่เมื่อจำเลยได้ลงลายมือชื่อของจำเลยเองเป็นผู้สั่งจ่าย มิได้ปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นใด ถือไม่ได้ว่าเป็นเช็คหรือเอกสารปลอม / จำเลยนำตั๋วเงินไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน แต่เมื่อตั๋วเงินนั้นไม่ใช่เป็นตั๋วเงินปลอม จำเลยก็ยังไม่มีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1209/2522 ภาพถ่าย ห้อง เครื่องใช้ ตู้เสื้อผ้า และของอื่น ๆ เป็นภาพจำลอง ไม่เป็นเอกสารตาม การเอาไป ไม่ผิด ม 188

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1530/2522 จำเลยเอาภาพถ่ายผู้อื่นที่รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต และสวมครุยวิทยฐานะมาปิดภาพถ่ายเฉพาะใบหน้าของจำเลย ลงไปแทน แก้เลข พ..2506 เป็น 2504 แล้วถ่ายเป็นภาพใหม่ ดูแล้วเป็นภาพจำเลยรับปริญญามีตัวอักษรว่า มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ..2504 ดังนี้ เป็นภาพถ่ายที่ไม่ได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น ๆ ตามความหมายของ มาตรา 1 (7) ส่วนตัวเลข พ.. ก็ไม่ปรากฏความหมายในตัวเอง ไม่เป็นเอกสารปลอมและใช้เอกสารปลอม / หมายเหตุ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า ภาพถ่ายคดีนี้มีความหมายแสดงชัดแจ้งว่า ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นแพทยศาสตร์บัณฑิต โดยการสวมครุยถ่ายรูป จึงชัดแจ้งเป็นความหมาย ทำให้ปรากฏโดยภาพถ่าย ส่วนตัวอักษร ตัวเลข ผังหรือแผนแบบอย่างอื่น ก็ถือว่ารอยเส้นที่ปรากฏเป็นภาพจำเลยในรูปถ่ายภาพเป็นแผนแบบที่แสดงความหมายให้ปรากฏเป็นหลักฐาน ถือเป็นเอกสารที่ทำขึ้นด้วยวิธีถ่ายภาพ การรับและสวมครุยปริญญา ถ่ายภาพก็แสดงให้ใคร ๆ รู้ว่า ตนเป็นบัณฑิตผู้ได้รับปริญญา ตัวเลข พ.. ก็บอกอยู่ในตัวว่าได้รับเมื่อใด ไม่เป็นเอกสารไม่ได้ / ข้อสำคัญในคดีนี้คือ เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมหรือเอกสารโกหก จำเลยทำเอกสารขึ้น แม้จะเอาภาพถ่ายของผู้อื่นมาเปลี่ยนแปลงเป็นภาพหน้าจำเลย จำเลยก็ไม่ได้ทำให้ใครเข้าใจว่าภาพนั้นเป็นภาพคนอื่น คือ ไม่ได้ทำให้เข้าใจว่าข้อความในเอกสารว่าเป็นข้อความของคนอื่น แต่เป็นข้อความของจำเลยเอง ซึ่งหลอกผู้ได้เห็นภาพว่า จำเลยเป็นบัณฑิต เมื่อ พ..2504 เท่านั้น เช่นเดียวกับเอาเอกสารสัญญากู้ที่คนหนึ่งทำไว้มาเปลี่ยนลายมือชื่อผู้กู้ลงในเอกสารเป็นลายมือชื่อจำเลย ถ้าทำโดยไม่ประสงค์ให้เข้าใจผิดว่าแทนที่จะเป็นผู้กู้เดิม กลายเป็นจำเลยกู้ ก็เป็นเอกสารเท็จ ใครจะเป็นผู้กู้เดิมไม่มีความหมายอันใด แต่ถ้าทำด้วยความประสงค์ให้เข้าใจผิดว่า ผู้กู้ไม่ใช่จำเลย อันเป็นความหมายแสดงออกในเอกสารนั้น เป็นเอกสารปลอม คดีนี้ใครจะเป็นเจ้าของภาพเดิมไม่มีความหมาย ในการเปลี่ยนภาพใบหน้า จำเลยอาศัยกระดาษเติมใส่ภาพหน้าจำเลยลงไปเท่านั้น เหตุผลในแง่ที่ไม่เป็นความผิด (ตามที่ศาลฎีกาวินิจฉัย น่าจะเป็นว่า) ภาพถ่ายเดิมเป็นแต่ภาพที่ระลึก ไม่ประสงค์เป็นหลักฐานแห่งความหมายใด ๆ ผู้ทำปลอมแปลงก็ทำเพื่อแสดงว่าตนเองได้รับปริญญา ไม่เป็นเอกสารของผู้อื่นทำขึ้น เป็นแต่เอกสารเท็จ ไม่ใช่เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1277/2537 การที่จำเลยเอาหนังสือเดินทางซึ่งกระทรวงต่างประเทศออกให้แก่ ส.มาแกะเอาภาพถ่ายของ ส. ที่ปิดอยู่ปกหน้าด้านในออก แล้วเอาภาพถ่ายของจำเลยปิดลงไปแทน แม้ภาพถ่ายจะไม่ใช่เอกสาร แต่เมื่อนำไปปิดในหนังสือเดินดังกล่าว ย่อมทำให้ความหมายที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไป ว่าจำเลยคือนาย ส. และเป็นหนังสือเดินทางที่กระทรวงต่างประเทศออกให้แก่จำเลยโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการ และเมื่อจำเลยนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเดินทางออกไป และเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย

- ทำเอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 151/2507 จำเลย ใช้ชื่อปลอมในการเปิดบัญชีฝากเงิน และออกเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวตามแผนที่วางไว้เพื่อฉ้อโกง ดังนี้ ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร เพราะเป็นการกระทำของตนเอง เป็นแต่ไม่ใช่นามจริงเท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1343/2508 จำเลยทำบัญชีเท็จ โดยไม่ลงรายการรับชำระหนี้ในบัญชี เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่มีข้อความเท็จ บัญชีเหล่านั้นเป็นของจำเลยทำขึ้นเองทั้งฉบับ ไม่ได้ปลอมเอกสารอันแท้จริงของผู้ใด ไม่ผิดมาตรา 264 และมาตรา 268

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1733/2514 จำเลยทำเอกสารมีข้อความเท็จทั้งสิ้น แล้วลงนามรับรองว่า เป็นสำเนาถูกต้อง แม้ต้นฉบับที่แท้จริงไม่มี ก็เท่ากับปลอมแปลงขึ้นทั้งฉบับ เพื่อให้เห็นว่าตนคัดมาจากต้นฉบับที่แท้จริง ถือว่าเป็นปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 7/2516 จำเลยเป็นกรรมการมัสยิด ได้จัดทำบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ เอกสารดังกล่าวจำเลยมีอำนาจกระทำได้ ไม่ผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 167/2517 จำเลยกู้เงินผู้เสียหายแล้วทำหนังสือสัญญากู้ ลงลายมือชื่อผู้อื่น ในช่องผู้กู้ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยเอง เป็นผู้กู้การกระทำของจำเลยเป็นการทุจริตเพื่อจะให้ได้เงินกู้ไป แต่มิให้ผู้เสียหายใช้สัญญากู้นั้น เป็นหลักฐานฟ้องร้องเรียกเงินคืน จากจำเลยผู้เสียหายได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ เมื่อจำเลยได้มอบสัญญากู้ให้ผู้เสียหายยึดถือไว้ จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมอีกกระทงหนึ่ง

- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2546 การปลอมเอกสารไม่จำต้องมีเอกสารที่แท้จริงอยู่ก่อน และไม่ต้องทำให้เหมือนของจริงก็เป็นเอกสารปลอมได้ จำเลยที่ 2 กับพวกหลอกลวง ต. ว่า จำเลยที่ 2 คือ ย. เจ้าของรถยนต์บรรทุกมีความประสงค์จะขายรถยนต์คันดังกล่าว ต. ตกลงรับซื้อไว้และทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กัน โดยพวกของจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ ย. ในช่องผู้ขายในสัญญาดังกล่าว มอบให้ ต. ยึดถือไว้ การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกมีเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้เงินจาก ต. และไม่ให้ ต. ใช้สัญญาซื้อขายรถยนต์นั้นเป็นหลักฐานฟ้องร้องเรียกเงินคืน ทำให้ ต. ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 กับพวก จึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์อันเป็นเอกสารสิทธิ เมื่อจำเลยที่ 2 กับพวกได้มอบหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์นั้นให้ ต. ยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 กับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมอีกกระทงหนึ่ง รวมทั้งมีความผิดฐานฉ้อโกงด้วย / ความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมโดยจำเลยที่ 2กับพวกเป็นผู้ปลอมเอกสารเอง ต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมแต่กระทงเดียวและความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมกับความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง

- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2548 คำว่า "เอกสาร" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งทำให้ปรากฏความหมายด้วยอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นใดอันเป็นหลักฐานความหมายนั้น ดังนั้น เอกสารจะมีขึ้นในรูปใด ๆ ก็ได้ การปลอมเอกสารจึงไม่ต้องมีเอกสารที่แท้จริงอยู่ก่อน / จำเลยปลอมหนังสือลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคำรับรองความเห็นชอบของกำนันโดยลงลายมือชื่อปลอมบุคคลทั้งสองในหนังสือลาออก กับปลอมหนังสือขอแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของกำนันลงในเอกสารเพื่อแสดงว่าจำเลยได้ร่วมกับกำนันพิจารณาคัดเลือกและจัดทำหนังสือขอแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเสนอต่อนายอำเภอตามระเบียบ เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- การปลอมเอกสารในลักษณะพิเศษ

- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2548 จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี และแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นภาพสี ให้ปรากฏ ข้อความที่มีสีตัวอักษรและขนาดเหมือนฉบับที่แท้จริง แล้วนำไปติดที่ รถยนต์บรรทุกและรถพ่วงมีลักษณะที่ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนยานพาหนะ จังหวัดนนทบุรี นายทะเบียนยานพาหนะจังหวัดพะเยานายทะเบียนยานพาหนะ กรุงเทพมหานคร นายทะเบียนกรมการประกันภัย หรือผู้อื่นได้ จึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารขึ้นทั้งฉบับ หาใช่ว่าจำเลยจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้ผิดแผกแตกต่าง ไปจากต้นฉบับเอกสารที่แท้จริงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคหนึ่ง

- กรณีมีอำนาจทำเอกสาร แต่ข้อความเป็นเท็จ ไม่ใช่การปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2179/2524 จำเลยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชีธนาคารโจทก์ร่วม ลงชื่อในแบบพิมพ์ในนำฝากเงิน ซึ่งเป็นแบบพิมพ์สำหรับเจ้าหน้าที่ธนาคาร แทนธนาคาร เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการรับเงิน จำเลยจึงทำเอกสารดังกล่าวขึ้นในฐานะที่เป็นเอกสารที่จำเลยทำในหน้าที่ของจำเลย ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อให้เห็นว่าเป็นเอกสารของผู้อื่น จึงไม่เป็นการปลอมเอกสาร แม้ข้อความในเอกสารไม่เป็นจริง ก็เป็นเพียงจำเลยทำหนังสือของจำเลยเองอันมีข้อความเป็นเท็จเท่านั้น

- การกระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1504/2514 ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคสุดท้าย ให้อำนาจแก่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในตั๋วแลกเงิน ที่มิได้ลงวันออกตั๋วไว้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ ได้เขียนเลขเดือนและปีเติมลงในเช็ค แม้จะกระทำไปโดยพลการ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยไม่สุจริตแล้ว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร

- กรณีทำเอกสารโดยไม่มีอำนาจ เป็นการปลอมเอกสารได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5599/2541 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เขียนข้อความลงในใบสั่งจ่ายน้ำมัน ทั้งๆ ที่ทราบว่าตนไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร การที่จำเลยนำเอกสารปลอมไปยื่นต่อพนักงานของสถานีน้ำมัน เพื่อประโยชน์ในการเติมน้ำมันใส่รถยนต์ของจำเลย จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมด้วย เอกสารใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว เป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำหน้าที่พลขับ จะต้องกรอกข้อความให้ชัดเจน ว่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชการใด จำนวนเท่าใด จึงเป็นการทำขึ้นในหน้าที่ อันเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และใช้เอกสารราชการปลอม

- เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไข

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1079/2491 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จดจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าต้องการซื้อจากรัฐบาล ลงในแบบ ฝ.1/23 โจทก์หาว่าจำเลยจดจำนวนฝิ่นเป็นความเท็จลงในแบบ ฝ.1/23 เกินจากจำนวนที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้ / การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/23 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่ง คือ ขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่า เป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำอย่างไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดฐานปลอมหนังสือ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 744/2506 (สบฎ 722) จำเลยอนุญาตและออกใบอนุญาตให้โจทก์แล้ว ต่อมามีผู้ยื่นเรื่องราว จำเลยจึงเรียกใบอนุญาตคืนจากโจทก์ แล้วออกใบอนุญาตใหม่เป็นว่า จำเลยไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ผิดฐานปลอมเอกสารทั้งฉบับ เป็นความผิด มาตรา 161

- คำพิพากษาฎีกาที่ 325/2508 สัญญากู้เงินเป็นเอกสารสิทธิ มีเรื่องแท้จริง 2 เรื่อง คือ หนังสือสัญญากู้เงิน และบันทึกการชำระหนี้รายนี้บางส่วน จำเลยลบบันทึกดังกล่าวออกเสีย แสดงว่าไม่เคยผ่านการชำระหนี้กัน ผิด ม 265

- คำพิพากษาฎีกาที่ 245/2507 จำเลยเขียนกากบาท บนข้อความในสมุดบัญชีเงินเชื่อของผู้อื่น โดยมิได้ตัดทอนแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น ให้ผิดไปจากข้อความเดิม แม้จะกระทำไปเพื่อให้คนอื่นหลงเชื่อว่าจำเลยชำระหนี้แล้วก็ตาม ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 264

- คำพิพากษาฎีกาที่ 825/2506 จำเลยชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เพียงหนึ่งหมื่นบาท แล้วจำเลย แก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินเป็นเจ็ดหมื่นบาท ต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบเสร็จรับเงินที่แก้ไขนั้นมาแสดงต่อศาล ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ผิด ม 265 การแสดงต่อศาลเป็นการอ้างเอกสารปลอมผิด มาตรา 268 ด้วย ต้องลงโทษตามมาตรา 268 ตามอัตราโทษในมาตรา 265

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2316/2529 จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสาร ทำคำสั่งจังหวัดเรื่องแต่งตั้งข้าราชการ โดยไม่มีอำนาจ แล้วตัดเอากระดาษไขที่มีลายมือชื่อของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งลงนามไว้ในคำสั่งฉบับอื่น มาติดไว้ท้ายคำสั่งที่จำเลยทำขึ้น และจำเลยโรเนียวคำสั่งนี้ออกมา เพื่อแสดงให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าเป็นคำสั่งที่แท้จริง เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับมีความผิดตาม ป.อ. ม.161 และ 265

- คำพิพากษาฎีกาที่ 510/2530 การที่จำเลยตัดเลขหมายประจำแชชซีรถยนต์คันสีแดงออก แล้วตัดเอาหมายเลขประจำแชชซีของรถยนต์คันสีฟ้ามาเชื่อมต่อไว้แทน เมื่อหมายเลขประจำแชชซีรถยนต์คันสีฟ้า เป็นหมายเลขประจำรถยนต์ที่แท้จริง แม้จะนำมาติดกับรถยนต์คันอื่น แต่ไม่มีการขูดลบแก้ไข เปลี่ยนแปลงตัวอักษรหรือตัวเลขหมายแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร เพราะความผิดฐานปลอมเอกสารนั้น จะต้องมีการปลอมแปลงเอกสารขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่บางส่วนหรือกระทำให้ข้อความ หรือความหมายในเอกสารที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไป

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1651/2532 จำเลยเป็นนายช่างโยธากรุงเทพมหานคร แก้ไขหนังสือมอบอำนาจของผู้บังคับบัญชาที่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดตาม พรบ ควบคุมอาคาร จากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า แล้วส่งให้พนักงานสอบสวน ผิด 264 เพราะไม่มีอำนาจและน่าจะเกิดความเสียหาย

- แก้ไขเอกสาร ขณะที่ยังอยู่ในอำนาจของผู้แก้ไข ไม่เป็นการปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 123/2507 การตัดทอนแก้ไขหนังสือที่ตนเองทำขึ้น ก่อนส่งมอบให้บุคคลอื่นไป เป็นการกระทำที่ไม่อาจให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดได้ จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 197/2509 โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินเจ้าพนักงานได้ทำเสร็จเรียบร้อย และประกาศแจกโฉนดให้ราษฎรแล้ว โจทก์มาขอรับ เซ็นชื่อรับ และเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้มอบโฉนดให้โจทก์ไป ต่อมามีผู้มาขออายัดการออกโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนด และลบวันเดือนปี และลายเซ็นชื่อซึ่งจำเลยได้เซ็นในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินเสีย เพราะเกรงว่าจะเป็นโฉนดที่สมบูรณ์ การที่จำเลยลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อของตนเองเช่นนี้ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะว่าเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบโฉนดให้โจทก์ถือไม่ได้ว่าที่ดินรายนี้ได้ออกโฉนดแล้ว และโฉนดรายนี้ยังเป็นเอกสารที่อยู่ในความยึดถือหรือในความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือได้ว่ายังอยู่ในระหว่างดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลงจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกโฉนดย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเสียได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2870/2526 เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 2 ผู้สั่งจ่าย แม้จะได้ขีดฆ่าตัดทอนจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คเดิม ทั้งตัวเลขและตัวอักษรแล้วพิมพ์เติมจำนวนเงิน ทั้งตัวเลขและตัวอักษรขึ้นใหม่อันเป็นเท็จ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ปลอมเช็คขอ'คนอื่น หรือตั้งใจให้เป็นเช็คของคนอื่น เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมเช็คของตนเอง การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อกำกับในเช็ค จึงมิได้ปลอมลายมือชื่อของผู้ใด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร จึงเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 นั้นไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารด้วย / เมื่อเช็คพิพาทไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยที่ 1 นำไปเบิกเงินจากธนาคารจึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม (ถือว่าขาดเจตนาพิเศษด้วย)

- การทำลายเอกสาร ไม่ใช่การปลอมเอกสาร แต่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 142, 185, 188

- คำพิพากษาฎีกาที่ 381/2475 จำเลยลักเรือพามาแล้วใสกบ ลบเลขทะเบียนที่กราบเรือออกหมด ไม่เป็นปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 718/2489 จำเลยไปซื้อปืนเดี่ยวลูกซองจาก ก. ผู้ได้รับอนุญาต แต่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน จำเลยซื้อมาแล้วจึงขูดลบถอนทำลายดวงตราเครื่องหมาย ก..40777 ซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับไว้ออกเสีย แล้วนำปืนไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน การขูดลบเครื่องหมายซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำไว้นั้น ไม่เป็นความผิด

- ประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 409/2470 จำเลยเอาตั๋วพิมพ์รูปพรรณโคของบุตร ไปจดทะเบียนขายให้ผู้มีชื่อ ตามความประสงค์ของบุตรบุตรไปเองไม่ได้ เพราะบวชเป็นพระภิกษุ แต่จำเลยไปแสดงตัวและลงลายมือชื่อบุตร ดังนี้เป็นการปลอมเอกสาร (เพราะน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 561/2508 การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความแต่เป็นเรื่องเบิกความ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ การจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 267 / จำเลยไม่ใช่นายช่วง แต่มาอ้างต่อศาลว่าเป็นนายช่วง และข้อเท็จจริงที่จำเลยเบิกความว่าได้รู้เห็นเหตุการณ์ จำเลยก็มิได้รู้เห็นจริงกับจำเลยได้ลงชื่อปลอมว่านายช่วงในคำเบิกความที่ศาลจำไว้อีกด้วย ความผิดฐานเบิกความเท็จสำเร็จได้ โดยไม่ต้องอาศัยการลงชื่อปลอม การลงชื่อปลอมของจำเลย จึงเป็นความจริงฐานปลอมเอกสารตาม มาตรา 264 อีกด้วย แต่จำเลยหามีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม มาตรา 265 อีกมาตราหนึ่งไม่ / คำว่า ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใน มาตรา 181 (1) หมายถึงว่าอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดนั้นจะต้องมีระวางโทษจำคุก 3 ปีเป็นอย่างน้อยที่สุด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 477/2515 แม้แบบพิมพ์ที่จำเลยใช้กรอกข้อความรายการนำมาใช้ได้เป็นเช็ค จะมิใช่แบบพิมพ์เช็คที่ธนาคารได้จัดพิมพ์ขึ้นไว้ให้ใช้ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย เป็นลายมือชื่อของจำเลยเองมิได้ปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นใด เช็คนั้นย่อมไม่ใช่เอกสารปลอมหรือตั๋วเงินปลอม แม้จำเลยจะนำไปใช้ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยก็ยังไม่มีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม ตาม ฎ 1507/2514

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2022/2531 จำเลยเป็นลูกจ้างของห้างโจทก์ เมื่อรับเช็คที่บุคคลภายนอกจ่ายให้โจทก์ จำเลยต้องนำไปมอบให้หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ แต่จำเลยกลับนำเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โดยจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลย และประทับตราสำคัญของห้างโจทก์ ดังนี้ แม้จะเป็นการลงลายมือชื่อของจำเลยเอง แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อลวงให้ธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นการลงลายมือชื่อ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5599/2541 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เขียนข้อความลงในใบสั่งจ่ายน้ำมัน ทั้งๆ ที่ทราบว่าตนไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร การที่จำเลยนำเอกสารปลอมไปยื่นต่อพนักงานของสถานีน้ำมัน เพื่อประโยชน์ในการเติมน้ำมันใส่รถยนต์ของจำเลย จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมด้วย เอกสารใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว เป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำหน้าที่พลขับ จะต้องกรอกข้อความให้ชัดเจน ว่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชการใด จำนวนเท่าใด จึงเป็นการทำขึ้นในหน้าที่ อันเป็นเอกสารราชการตาม ป.. มาตรา 1 (8) การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และใช้เอกสารราชการปลอม ใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกลักไป ต่อมาตกอยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยนำไปกรอกข้อความ เพื่อใช้สิทธิเติมน้ำมัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบว่าใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร


- พฤติการณ์ประกอบการกระทำ และเจตนาพิเศษ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 769/2540 ข้อความที่ว่า โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามข้อ มาตรา 264 นั้น ไม่ใช่การกระทำโดยแท้ และไม่ใช่เจตนาพิเศษจึงไม่เกี่ยวกับเจตนา แต่เป็นพฤติการณ์ที่ประกอบการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายได้ แม้จะไม่เกิดความเสียหายขึ้นจริง ก็เป็นองค์ประกอบความผิดที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกับจำเลย ส่วนคำว่าผู้หนึ่งผู้ใดในข้อความที่ว่า ได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงนั้น แสดงว่านอกจากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้วยังต้องมีเจตนาพิเศษในการกระทำ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง โดยมิได้เจาะจงผู้ที่ถูกกระทำให้หลงเชื่อไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องเป็นผู้ใด ดังนั้น การที่จำเลยมีเจตนากระทำเอกสารปลอมขึ้นเพื่อให้ ค. หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็เป็นความผิดแล้ว แม้จำเลยยังไม่ได้นำเอกสารดังกล่าวไปใช้แสดงต่อ ด. ก็ตาม

- โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย

- โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายอ จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า จะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะข้อความแห่งเอกสารนั้น ไม่ใช่เพราะทำเอกสารขึ้นหลายฉบับ เช่นพิมพ์หนังสือละเมิดลิขสิทธิ์ ความเสียหายในกรณีเช่นนี้ไม่ได้เกิดเพราะข้อความที่พิมพ์ขึ้น แต่เสียหายเพราะจำนวนที่พิมพ์ขึ้นโดยไม่มีสิทธิ แต่ถ้าพิมพ์ให้ผิดจากต้นฉบับเดิมเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นข้อความที่ผู้แต่งเขียนไว้ดังที่พิมพ์ให้ผิด หรือแก้ไขข้อความเสีย ทำให้เข้าใจว่าเป็นข้อความของผู้แต่งเดิม เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1177/2462 การเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ จะต้องทำความหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงจะเข้าองค์ประกอบที่โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ถ้าความหมายไม่เปลี่ยนแปลงก็ไม่เป็นความผิด เพราะไม่น่าจะเกิดความเสียหาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 102/2472 จำเลยกับ ก. เป็นครูโรงเรียนเดียวกัน เคยผลัดเปลี่ยนกันให้อีกฝ่ายหนึ่งเบิกเงินเดือนของตนไปใช้เพื่อให้ได้เงินรวมคราวละมาก ๆ การผลัดเปลี่ยนกันนี้ต่างฝ่ายได้ทำใบมอบฉันทะให้แก่กัน คราวเกิดเหตุนี้จำเลยทำใบมอบฉันทะปลอมขึ้นลงชื่อ ก. เอาเอง แล้วนำไปรับเงินเดือนโดยถือวิสาสะว่าถึงแม้ ก. จะรู้ก็ไม่ว่ากระไร และ ก. มาเบิกความเป็นพยานว่า หากรู้ว่าจำเลยได้เบิกเงินเดือนของตนไป ก. จะไม่เบิกซ้ำอีก ดังนี้ ไม่ผิด ม 341 เพราะไม่มีเจตนาทุจริต แต่ผิด ม 265 เพราะจำเลยมีเจตนากระทำแล้ว (และน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 939/2473 จำเลยเป็นนายตรวจสุราจ่ายเงินไปทางอื่น แต่ทำใบสำคัญเบิกเงินโดยลงชื่อ ป.ลงในใบสำคัญว่า ป.รับจ้างหาบหาม โดย . ยอมให้ลงชื่อ ป. แม้ความจริง ป. ไม่ได้รับจ้างหาบหามเลย ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 683/2492 พ. ทำหนังสือว่า พ. กับภริยาร่วมกันขายข้าวเปลือกให้กับ ช. ลงลายมือชื่อ พ. และพิมพ์ลายนิ้วมือปลอมของภริยาลงไป ดังนี้อาจเกิดความเสียหายแก่ ช. เป็นความผิดฐานนี้ แต่ ฎ 1154/2484 วินิจฉัยว่า กรณีดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภริยาไม่เกิดความเสียหาย เป็นการให้เหตุผลไปอีกทางหนึ่ง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1126/2505 สัญญากู้สมบูรณ์อยู่แล้ว การนำไปให้ผู้อื่นลงนามเป็นพยานโดยผู้กู้ไม่ได้รู้เห็นด้วย ไม่เป็นการน่าจะเกิดความเสียหาย หรืออาจเกิดความเสียหาย ไม่เป็นความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 123/2507 การตัดทอนแก้ไขหนังสือที่ตนเองทำขึ้น ก่อนส่งมอบให้บุคคลอื่นไป เป็นการกระทำที่ไม่อาจให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดได้ จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 728/2509 จำเลยเอาหลักเขตที่ดินของทางราชการ สำหรับที่ดินของจำเลย ไปปักที่ที่ดินอีกแปลงหนึ่ง เพื่อหลอกให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าที่ดินแปลงนั้นเป็นของจำเลย ดังนี้ไม่ผิดฐานปลอมเอกสาร เพราะหลักเขตดังกล่าวไม่ใช่หลักเขต

- คำพิพากษาฎีกาที่ 658/2513 ล... รู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ เพื่อยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง จำเลยเอาใบแต่งทนายความไปให้ทนายความยื่นคำร้องต่อศาล ความเสียหายที่จะมีแก่ ล... จึงไม่มี ล... ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย แม้ผู้เสียหายยินยอมให้เซ็นชื่อแทนได้ ก็ต้องถือว่าเป็นลายเซ็นปลอมอยู่นั่นเอง แต่เมื่อจำเลยนำใบแต่งทนายความไปให้ทนายความยื่นคำร้องต่อศาล จึงเป็นการที่เห็นได้ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ศาล ในการรับคำร้องนั้นไว้พิจารณา จำเลยต้องมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1020/2517 ลงมือชื่อไม่มีกฎหมายให้เซ็นแทนกันได้ แม้จะมอบอำนาจก็เซ็นแทนกันไม่ได้ จำเลยเซ็นชื่อสามีจำเลยลงในสัญญามัดจำซื้อขายที่ดิน จึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอม แต่ความผิดฐานปลอมเอกสารจะต้องมีลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนด้วย เมื่อผู้เสียหายรู้จักชื่อและตัวสามีจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน และรู้จักจำเลยซึ่งเป็นภริยาอยู่แล้ว ยังสมัครใจเข้าทำสัญญากับจำเลย และรู้เห็นว่าจำเลยลงชื่อสามีจำเลยในช่องผู้ให้สัญญาในขณะทำสัญญา พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า ผู้เสียหายมิได้หลงผิดหรือหลงเชื่อ จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะอ้างว่าได้รับความเสียหาย สามีจำเลยก็ไม่เสียหายเพราะเป็นผู้มอบอำนาจให้จำเลยไว้ จำเลยจึงไม่มีความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1375/2522 ภาพถ่ายสำเนาในคดีนี้ เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับรองอีกชั้นหนึ่ง ภาพถ่ายเป็นเอกสารธรรมดา เอกสารดังกล่าวมีรายการต้องคดี 12 รายการ จำเลยเติมลงไปอีกรายการ แม้จะตรงกับความจริง ก็เป็นปลอมเอกสารตามมาตรา 264 วรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1526/2525 ลายมือชื่อไม่มีกฎหมายให้อำนาจลงลายมือชื่อแทนกันได้ แม้เจ้าของลายมือชื่ออนุญาตหรือให้ความยินยอม ก็ลงลายมือชื่อแทนกันไม่ได้ จำเลยทำหนังสือถึงผู้จัดการสหกรณ์แจ้งให้ทราบว่า น้องสาวโจทก์เดินทางไปติดต่อต่างประเทศและขอลาออกจากสมาชิกสหกรณ์ โดยใช้ชื่อโจทก์และลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอม ตาม ม 264 แต่เมื่อจำเลยทำหนังสือดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความเสียหาย และสหกรณ์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 264 (ดู ฎ 1020/2517)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2830/2524 จำเลยเป็นเสมียนสถานธนานุเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ มีหน้าที่เขียนตั๋วจำนำ จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือของตนในตั๋วจำนำ ซึ่งมีชื่อผู้อื่นเป็นผู้จำนำ เพื่อแสดงว่าเป็นลายพิมพ์ของผู้จำนำ ผิด 265 เอกสารสิทธิ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2894/2525 จำเลยกับพวกทำพินัยกรรมปลอมขึ้น แล้วส่งอ้างเป็นพยานต่อศาล แม้ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคนนั้น มีลักษณะเลอะเลือน จนผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์ลงความเห็นไม่ได้ ก็มีสภาพเป็นพินัยกรรม เมื่อนำไปอ้างเป็นพยานต่อศาล เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 167/2517 จำเลยกู้เงินผู้เสียหายแล้วทำหนังสือสัญญากู้ ลงลายมือชื่อผู้อื่นในช่องผู้กู้ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยเองเป็นผู้กู้ การกระทำของจำเลยเป็นการทุจริต เพื่อจะให้ได้เงินที่กู้ไป แต่มิให้ผู้เสียหายใช้สัญญากู้นั้นเป็นหลักฐานฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ เมื่อจำเลยได้มอบสัญญากู้ให้ผู้เสียหายยึดถือไว้ จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมอีกกระทงหนึ่ง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2537 ที่โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้แต่จำเลยที่ 1 กลับกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำ โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6966/2537 จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมว่า พวกของจำเลยคือผู้มีชื่อและขอกู้ยืมเงินโจทก์ร่วม โดยทำสัญญากู้ยืมเงินกับมอบโฉนดที่ดินที่ผู้มีชื่อดังกล่าวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ให้โจทก์ร่วมยึดถือไว้ โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้เงินจากโจทก์ร่วม และมิให้โจทก์ร่วมใช้สัญญากู้เงินนั้นเป็นหลักฐานฟ้องเรียกเงินคืน จึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ เมื่อจำเลยกับพวกมอบสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ร่วม จึงผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิ อีกกระทงหนึ่ง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6898/2539 จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีแต่ลายพิมพ์นิ้วมือของ ย.ในช่องผู้มอบอำนาจ แต่ยังมิได้กรอกข้อความมาบอกให้ ส. กรอกข้อความว่า ย. มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินแทนให้กับผู้เสียหายตรงตามความประสงค์ของ ย.โดยจำเลยที่ 2 และผู้เสียหายทราบแล้วว่า ย. ถึงแก่ความตาย ดังนี้การมอบอำนาจยังไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้มอบถึงแก่ความตาย การมอบอำนาจก็สิ้นผล แต่จำเลยที่ 2 กลับทำให้การมอบอำนาจ ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความ แม้ผู้เสียหายจะไม่เสียหาย แต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 613/2540 จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของ ส. ในใบคำขอใช้บริการบัตร เอ.ที.เอ็ม. แล้วนำมายื่นต่อโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมออกบัตรกรุงศรี เอ.ที.เอ็ม. ส่งมาให้ธนาคารโจทก์ร่วม สาขา ท. แล้วจำเลยลักบัตรนั้น รวมทั้งซองบรรจุรหัส ไปถอนเงินของโจทก์ร่วม รวม 16 ครั้ง ผิด ตาม ป..ม 264 ว 1 , 2681 , 335 (11) 2

- คำพิพากษาฎีกาที่ 769/2540 จำเลยทำหนังสือกู้ยืมเงินรวมทั้งลงลายมือชื่อ ส. ผู้ให้สัญญาด้วยตนเองภายหลังที่ ส .ตายไปแล้ว และใจความของสัญญาที่ว่า ส. กู้ยืมเงินจำเลย ถ้า ส. ไม่คืนเงิน ยอมโอนที่ดินสวนยางพาราแก่จำเลยนั้น นอกจากไม่เป็นความจริงแล้วยังน่าจะเกิดความเสียหายแก่ทายาทของ ส. อีกด้วย ทั้งจำเลยทำเอกสารดังกล่าวขึ้นเพื่อจะใช้อ้างกับ ด. ผู้ทำไฟไหม้สวนยางพาราของ ส. ว่าที่ดิน ของ ส. เป็นของจำเลย และจะได้เรียกร้องค่าเสียหายต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ / ข้อความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ที่ว่าโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ไม่ใช่การกระทำโดยแท้ และไม่ใช่เจตนาพิเศษ จึงไม่เกี่ยวกับเจตนา แต่เป็นพฤติการณ์ที่ประกอบการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายได้ แม้จะไม่เกิดความเสียหายขึ้นจริง ก็พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไป ส่วนคำว่า ได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงนั้นเป็นเจตนาพิเศษ โดยมิได้เจาะลงผู้ที่ถูกกระทำให้หลงเชื่อไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องเป็นผู้ใด ดังนั้น การที่จำเลยเจตนาทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อให้ ด. หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็เป็นความผิดแล้ว แม้จำเลยยังมิได้นำเอกสารไปใช้แสดงต่อ ด. ก็ตาม ทั้งบุคคลที่จะถูกทำให้หลงเชื่อนี้ กฎหมายมิได้กำหนดว่าจำต้องเกี่ยวโยงเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับบุคคลที่น่าจะเกิดความเสียหาย จึงเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 37/2543 จำเลยที่ 1 ได้ปลอมข้อความในใบบันทึกการขาย โดยปลอมหมายเลขผู้ถือบัตรเครดิต วันหมดอายุบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และลายมือชื่อผู้ถือบัตร แม้ยังไม่อาจนำไปเรียกเก็บเงินได้ เพราะจะต้องนำไปลงข้อมูลของร้านค้า จำนวนเงิน รหัสอนุมัติวงเงิน วันที่ทำรายการและหมายเลขหนังสือเดินทางก่อน ก็น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ถือบัตรดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จ ใบบันทึกการขายดังกล่าวยังมิได้ลงข้อมูล ยังไม่สามารถนำไปเรียกเก็บเงินได้ จึงมิใช่เอกสารสิทธิ

- การกระทำนั้นเป็น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหรือไม่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3732/2525 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกันปลอมใบมอบอำนาจของเจ้าของที่ดินขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พนักงานเจ้าหน้าที่หลงเชื่อใบมอบอำนาจได้รังวัดไต่สวน แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ ผู้ได้รับความเสียหายมีอำนาจฟ้องคือเจ้าของที่ดิน เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะข้อความแห่งเอกสารนั้น แต่ข้อความในใบมอบอำนาจไม่เกี่ยวถึงตัวโจทก์เลย ความเสียหายที่เกิดจากการเสียที่ดิน เป็นเรื่องของการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่มีการนำชี้ทับที่ดินของโจทก์ เป็นคนละกรณีกับการปลอมใบมอบอำนาจ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 96/2523 จำเลยพิมพ์ปกหนังสือแบบเรียน ก.ไก่ อนุบาล ซึ่งโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมาก อันเป็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิซึ่งมีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะ ไม่ใช่ ลักษณะของการปลอมเอกสารตามมาตรา 264 แต่การที่จำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมาพิมพ์ไว้ที่ปกหนังสือของกลาง แสดงว่าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าหนังสือที่ใช้ปกดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมเป็นความผิดตามมาตรา 272

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1784/2513 โจทก์ฟ้องตาม มาตรา 264 และ 268 แต่ไม่ได้ระบุว่าการที่จำเลยปลอมเอกสารขึ้นนั้น น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และแม้จะอ่านคำบรรยายฟ้องโจทก์โดยตลอด ก็ไม่อาจทราบความหมายนี้ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ครบองค์ความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 618–619/2539 โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความสำคัญแต่เพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเอกสารซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจรวม 2 ฉบับ โดยกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งมีลายมือชื่อของนาย ย. โดยไม่ได้รับความยินยอมเท่านั้น มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้น ไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน จึงขาดองค์ประกอบความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1020/2517 ลายมือชื่อนั้นไม่มีกฎหมายให้เซ็นแทนกันได้ แม้จะมอบอำนาจก็เซ็นแทนกันไม่ได้ จำเลยเซ็นชื่อสามีจำเลยลงในสัญญามัดจำซื้อขายที่ดิน จึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอม แต่ความผิดฐานปลอมเอกสารนั้น จะต้องมีลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนด้วย เมื่อผู้เสียหายรู้จักซื่อและตัวสามีจำเลยเป็นเจ้าของที่ดิน ตลอดจนจำเลยซึ่งเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ยังได้สมัครใจเข้าทำสัญญากับจำเลย และรู้เห็นว่าจำเลยได้ลงชื่อสามีจำเลยในช่องผู้ให้สัญญาตอนทำสัญญานั้น จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายมิได้หลงผิดหรือหลงเชื่อ จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะอ้างว่าได้รับความเสียหายตามกฎหมาย สามีจำเลยก็ไม่เสียหาย เพราะเป็นผู้มอบอำนาจให้จำเลยไว้จำเลยจึงไม่มีความผิด

- กรณีไม่น่าจะเกิดความเสียหาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1126/2505 ทำสัญญากู้เงินกันไว้โดยถูกต้องตามกฎหมาย การที่พยานลงนามภายหลังจึงไม่น่าจะเกิดหรืออาจเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้ให้กู้ไม่มีความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1059/2505 จำเลยยืมเครื่องเพชรโจทก์ไปจำนำไว้กับผู้มีชื่อ โดยโจทก์ตกลงจะเป็นผู้ไถ่เอง ต่อมาโจทก์ได้รับจดหมายซึ่งจำเลยทำปลอมว่าเป็นของผู้มีชื่อคนนั้นมีถึงจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้ส่งให้โจทก์มีใจความว่า ให้จำเลยช่วยเก็บดอกเบี้ยจากโจทก์ และให้เร่งรัดให้โจทก์รับไถ่ของคืน เพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารอันแท้จริง จะได้ทำตามอุบายหลอกลวงที่จำเลยมีต่อโจทก์นั้น แต่โจทก์ยังไม่ได้ทำตามเอกสารนั้นเลย ดังนี้ โจทก์ยังไม่ได้รับความเสียหายจากเอกสารนั้น จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง คำว่า โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายนั้น เป็นองค์ประกอบของความผิด แต่การที่ผู้ใดจะเป็นโจทก์ฟ้องได้ก็จะต้องได้รับความเสียหายจริง ๆ หากยังไม่ได้รับความเสียหายจริง ๆ แล้ว ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ตาม ปวิอ มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 28 (2) กรณีนี้ต้องไปกล่าวโทษ ให้อัยการเป็นผู้ฟ้องตามมาตรา 28 (1) / ฎ 1059/2505 โจทก์ยังไม่ได้ทำตามเอกสารนั้นเลย โจทก์ยังไม่ได้รับความเสียหายจากเอกสารนั้น จึงยังไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้อง แต่คำพิพากษาฎีกาที่ 1070/2467 วินิจฉัยว่า ไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดในข้อที่ว่ายังไม่อาจเสียหาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 903/2509 โจทก์เป็นสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลายมือชื่อจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 208/2512 น้องเจ้าของมรดกไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษฐานปลอมพินัยกรรม เพราะเมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีบุตรเป็นทายาท น้องเจ้ามรดกก็ไม่มีสิทธิรับมรดก จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 710/2516 จ. ยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบประวัติเพื่อจะนำไปทำวีซ่า จำเลยปลอมลายมือชื่อ จ. ในคำร้องเร่งให้ตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ ดังนี้ ไม่อาจเกิดความเสียหายไม่เป็นปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 793/2517 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกรอกข้อความเท็จ เป็นเหตุให้นายอำเภออนุญาตให้จำเลยที่ 2 ออกใบสุทธิซึ่งเป็นเอกสารปลอมให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำใบสุทธินั้นไปใช้ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านจนได้รับเลือกตั้ง ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง การที่โจทก์ไม่ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2680/2521 จำเลยลอบเขียนข้อความลงในต้นขั้วเช็คของโจทก์ ว่าชำระบัญชีลงลายมือชื่อจำเลยกำกับ แสดงว่าจำเลยชำระเงินแล้ว ดังนี้ ไม่ทำให้ผู้ใดเสียหาย ไม่มีมูลความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3561/2525 โจทก์เป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจาก จ. ให้ฟ้องคดีอาญา ในคดีดังกล่าวจำเลยปลอมหรือใช้เอกสารปลอมอ้างเป็นพยาน ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ จ. โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 403/2526 การ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นเอกสารที่ธนาคารจัดทำขึ้นเป็นหลักฐานของธนาคารเอง แสดงการเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้ที่มีต่อเจ้าของบัญชีตามรายการที่แสดงไว้ การที่จำเลยที่ 2 ผู้รักษาการในตำแหน่งสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 ผู้จัดการธนาคาร แก้ไขเพิ่มจำนวนเงินฝากในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคาร โดยโจทก์มิได้นำเงินเข้าบัญชีตามรายการนั้น การแก้ไขรายการเช่นนี้ มิได้ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่มีต่อธนาคาร โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3944-3945/2526 โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงาน ไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า "ให้มันยุติธรรมหน่อย" และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาล ชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริง ได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตาม ป.อ.ม.264 ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ม.265

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1313/2531 สัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะนั้น มีผลเท่ากับสัญญาไม่มีผลมาแต่ต้น แม้จำเลยทั้งสองจะร่วมกันเติมข้อความลงในช่องว่างที่เว้นไว้ในสัญญาผิดไปจากข้อตกลง และเบิกความยืนยันข้อความนั้นต่อศาล ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ประการใด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องฐานปลอมเอกสารและเบิกความเท็จ / ถ้าไปกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ก็น่าจะลงโทษจำเลยได้ เพราะการกระทำของจำเลยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 264 วรรคแรก แล้ว เพียงแต่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะยังไม่ได้รับความเสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง (ดู ฎ 769/2540)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2384/2534 พ. เจ้าของใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ยอมให้จำเลย เปลี่ยนภาพถ่ายของตนในใบขับขี่เป็นของคนอื่นไปแสดงระหว่างเพื่อนกันเอง เพื่อพนันหาเจ้ามือเลี้ยงสุรา จำเลยไม่ได้นำแสดงออกเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจ หรือผู้ที่พบเห็นหลงเชื่อว่าตนคือ พ. ผู้ได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถจักรยานยนต์ดังกล่าว ไม่ผิด 265 ปลอมเอกสารราชการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 41217/2536 การที่จำเลยที่ 2 นำใบรับเงินปลอมไปอ้างต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ได้รับเงินตามใบรับเงินดังกล่าว เป็นการกระทำอันเป็นเหตุที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว ไม่ว่าพนักงานสอบสวนจะเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ก็ตาม ใบรับเงินเป็นเอกสารสิทธิ ตามมาตรา 265 ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทให้ถูกต้อง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 99/2537 จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อของ จ. โดย จ. มิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินด้วยตนเอง จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และเมื่อจำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปแสดงต่อโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นสัญญากู้เงินที่ จ. ลงลายมือชื่อไว้จริง และมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลย จึงเป็นกรณีที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงโจทก์ร่วม แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินไปมอบแก่ จ. ก็ไม่มีผลทำให้ความผิดที่จำเลยก่อขึ้นจนสำเร็จแล้วกลายเป็นไม่มีความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5932/2538 การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน 20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้ เพื่อให้ตรงกับความจริง ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย เพราะโจทก์แก้ไขจำนวนเงินกู้ให้ลดลงจากเดิมเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอม รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4408/2542 หนังสือสัญญาจ้างเหมาแรงงานมีข้อความในลักษณะแบบสัญญา ซึ่งมีข้อความที่พิมพ์ไว้แล้ว มีช่องว่างสำหรับเติมข้อความที่ต้องการไว้ซึ่งสาระสำคัญที่จะต้องเติมประการแรกก็คือ ชื่อและลายมือชื่อของคู่สัญญาที่จะต้องรับผิดและพยานท้ายสัญญาสำหรับชื่อของคู่สัญญาในเอกสารนั้นคงมีเฉพาะชื่อบริษัท อ. โดยจำเลยที่ 1 กรรมการผู้จัดการระบุในฐานะผู้ว่าจ้างและจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อท้ายสัญญาในช่องผู้ว่าจ้างเท่านั้น โดยไม่มีชื่อโจทก์หรือบุคคลอื่นใดที่ระบุไว้เป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับจ้างไว้เลย ลักษณะของเอกสารดังกล่าว จึงยังไม่เป็นสัญญาที่จะใช้บังคับผู้หนึ่งผู้ใดให้ต้องรับผิดได้การที่จำเลยที่ 1 ทำเอกสารขึ้นมาเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4582/2543 แม้จำเลยที่ 1 จะทำสำเนาภาพถ่ายสัญญาเช่าเพื่อการลงทุนปลูกสร้างอาคารศูนย์การค้าและโรงแรมขึ้นมา โดยการปกปิดข้อเท็จจริงบางประการไว้ แต่หากไม่ได้ทำให้เนื้อความตามข้อสัญญาต้องเปลี่ยนแปลงไปมีความหมายเป็นอย่างอื่น หรือเพิ่มเติมข้อความใหม่ให้แตกต่างไปแทนที่ข้อเท็จจริงบางอย่างไว้ เช่นนั้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดทอนข้อความ อันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร อีกทั้งการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิด หรือไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 / เมื่อสำเนาภาพถ่ายสัญญาเช่า เพื่อการลงทุนปลูกสร้างอาคารศูนย์การค้าและโรงแรมดังกล่าว ไม่เป็นเอกสารปลอมแล้ว การที่จำเลยเบิกความในคดีอาญาอ้างถึงสัญญาดังกล่าว จึงไม่อาจถือว่าเป็นการเบิกความเท็จได้ เพราะได้มีการทำสัญญาดังกล่าวกันจริง ทั้งจำเลยก็เบิกความไปตามที่ระบุไว้ในสัญญานั้น อีกทั้งศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อความที่ถูกปกปิดมิใช่เป็นข้อความสำคัญในคดีที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทจำเลยที่ 1 จึงมิได้หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177

- ประเด็นเรื่องเจตนา ในความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 7/2508 จำเลยไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการปลอมลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ และไม่ทราบว่าลายมือชื่อนั้นเป็นลายมือปลอม จำเลยได้กรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจนั้น ตามคำบอกเล่าของผู้ที่จำเลยเชื่อว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจ เมื่อจำเลยกรอกข้อความลงไปโดยสุจริต จำเลยไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร

- ประเด็นเรื่องเจตนาพิเศษในความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1654/2503 ทำประกาศนียบัตรปลอมเอามาให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่ลวงให้ผู้ซื้อหลง ก็เป็นการทำขึ้นเพื่อให้ใครคนหนึ่งหลงว่าเป็นของแท้ แม้ผู้ที่จะถูกลวงให้หลงนั้นยังไม่ได้เห็นประกาศนียบัตรนั้น ก็เป็นเอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1731–1732/2514 จำเลยเอาสำเนาบันทึกข้อตกลงกรรมสิทธิ์รวมที่ดินไปมอบให้โจทก์ร่วม โดยจำเลยรู้ว่าเป็นเอกสารปลอม และจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม แม้เอกสารนั้นเป็นสำเนา แต่เป็นสำเนาที่ทำขึ้นเพื่อให้เชื่อว่ามีต้นฉบับเช่นนั้น การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 213/2539 จำเลยนำภาพถ่ายของตน มาปิดทับลงในสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับรถของตน แม้เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจ และบุคคลทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นต้นฉบับเอกสารที่แท้จริง แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ แก่ผู้อื่นหรือประชาชน จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร และแม้จะได้นำไปใช้ก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 769/2540 การที่จำเลยเจตนากระทำเอกสารปลอมขึ้น เพื่อให้ ด. หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็เป็นความผิดแล้ว แม้จำเลยยังมิได้นำเอกสารดังกล่าว ไปใช้แสดงต่อ ด. ก็ตาม

- คำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นความผิด ตาม ม 264

- คำพิพากษาฎีกาที่ 463/2500 จำเลยขอให้โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือลงในใบมอบอำนาจ โดยบอกว่าจะนำไปชำระภาษีแทนโจทก์ แล้วจำเลยกลับไปกรอกข้อความโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนี้เป็นความผิดตามวรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 728–729/2501 จำเลยหลอกเอาสินค้าไปจากร้านโดยอ้างกับพนักงานร้านว่า มีผู้ต้องการซื้อ แล้วทำใบรับของ ใบผัดใช้เงินและเช็ค โดยประทับตราลงชื่อห้างร้านที่สมมติขึ้นมามอบให้ไว้ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1649/2503 จำเลยจับมือผู้ป่วยหนัก ไม่มีสติและไม่สามารถรู้เรื่องอย่างใดเลย กดลายพิมพ์นิ้วมือลงบนหนังสือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 7/2508 จำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีผู้ลงลายมือชื่อให้ไว้ โดยเชื่อว่ากรอกตรงตามข้อความที่ผู้ลงลายมือชื่อมอบหมายให้กรอก ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ เพราะไม่ได้ทำเพื่อนำไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ใด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 658/2513 จำเลยจะให้ ล..และ พ. ร้องขอให้ศาลสั่งว่าการเลือก ตั้งเป็นไปโดยมิชอบ ได้นำใบแต่งทนายไปให้ ล. . และ พ. เซ็นชื่อ . .และ พ. เซ็นชื่อไม่ได้ จึง ยินยอมให้ ค.เซ็นชื่อแทนแล้วจำเลยนำใบแต่ง ทนายนั้นไปให้ทนายความยื่นต่อศาลพร้อมกับคำร้องดังนี้ ล. .และ พ. ไม่ ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย แต่เป็นที่เห็นได้ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ศาล แล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม (เทียบ ฎ 1526/2525)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1734–1735/2523 โจทก์ลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ให้จำเลยที่ 1 ไป โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ จำเลยทั้งสองร่วมกันกรอกข้อความลงไปในสัญญากู้ว่า โจทก์กู้เงินจำเลยที่ 1 จำนวน 92,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2504 มีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1526/2525 กรณีเกี่ยวกับลายมือชื่อ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจลงลายมือชื่อแทนกันได้ แม้เจ้าของลายมือชื่ออนุญาตหรือให้ความยินยอมก็ลงลายมือชื่อแทนกันไม่ได้ การที่จำเลยทำหนังสือโดยใช้ชื่อโจทก์หรือลงลายมือชื่อโจทก์ ถึงผู้จัดการสหกรณ์ แจ้งให้ทราบถึงการที่ ศ. ลาออกจากสมาชิกของสหกรณ์ จึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอมในเอกสารตาม ป...264 แต่เมื่อได้ความ ว่าจำเลยทำหนังสือดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความเสียหาย ศ.และสหกรณ์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย จำเลย จึงไม่มีความผิดตาม ม.264

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2316/2529 จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป ทำคำสั่งเรื่องแต่งตั้งข้าราชการโดยไม่มีอำนาจ แล้วเอากระดาษไขที่มีลายมือชื่อของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งลงนามไว้ในคำสั่งฉบับอื่น มาติดไว้ท้ายคำสั่งที่จำเลยทำขึ้น แล้วจำเลยโรเนียมคำสั่งนี้ออกมา เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ มีความผิดตามมาตรา 161 และ 265 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 264 วรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1171/2533 โจทก์ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าให้ภริยาจำเลยที่ 1 ไว้ จำเลยทั้งสามร่วมกันกรอกข้อความว่า โจทก์รับฝากเงินจากจำเลยที่ 1 เพื่อนำไปซื้อเครื่องรับโทรทัศน์สีและเครื่องวีดีโอโอนให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารสิทธิ จำเลยที่ 1 นำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1046/2536 (สบฎ เน 44) โจทก์ออกเช็คให้ บริษัท จำเลยที่ 1 เพื่อเป็นประกันหนี้ที่โจทก์จะพึงมีต่อจำเลย เมื่อจำเลยทั้งสอง อ้างว่าเป็นเช็คชำระหนี้ค่าสินค้า และ จัดให้มีการลงวันที่ โดยไม่มีอำนาจ และไม่ได้รับความยินยอม จากโจทก์ จึงเป็นการปลอมเอกสาร ผิด ม 83 , 264 , 265 266 (4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำไปเรียกเก็บเงิน มีความผิด ม 83 , 268

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6898/2539 เมื่อผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตาย การมอบอำนาจก็สิ้นผล แต่จำเลยที่ 2 กลับทำให้การมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความ การกระทำดังกล่าว แม้ผู้เสียหายจะไม่เสียหาย แต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน จำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตามมาตรา 264 วรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 262/2543 ผู้ใหญ่บ้าน ปลอมหนังสือลาออกของ รองผู้ใหญ่บ้าน ผิด 264 + 268 ไม่ผิด ม 157 เพราะไม่มีหน้าที่ (และน่าจะผิด ม 137)

- คำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1137/2462 เติมคำว่า ของเก่าลงในเอกสาร ไม่ทำให้เอกสารมีความหมายเปลี่ยนไป ไม่ผิด 264

- คำพิพากษาฎีกาที่ 790/2483 รูปถ่ายที่ปิดในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของจำเลยหลุดหายไป จำเลยจึงเอารูปของตนปิดแทนลงไป วินิจฉัยว่า ไม่เป็นปลอมเอกสาร เพราะไม่เป็นการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2492 นายอำเภอนัดประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และให้เสมียนอำเภอจดรายงานการประชุมแล้วเสนอร่างให้นายอำเภอตรวจแก้ เมื่อนายอำเภอตรวจแก้ร่างรายงานการประชุม ย่อมไม่เป็นความผิด เพราะอยู่ในอำนาจที่แก้ไขได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 40/2507 เปลี่ยนรูปถ่ายในใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นรูปคนอื่น แก้ชื่อและอายุอีกด้วย เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1343/2508 จำเลยร่วมกันทำบัญชีเท็จขึ้น โดยไม่ลงรายการรับชำระหนี้ที่ น. ได้ชำระหนี้แก่บริษัทจำเลย การกระทำดังกล่าวเป็นแต่ทำเอกสารด้วยข้อความเท็จ บัญชีเหล่านั้น เป็นบัญชีของจำเลยทำขึ้นเองทั้งฉบับ มิได้ปลอมเอกสารอันแท้จริงของผู้ใด จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร และการที่จำเลยใช้เอกสารนั้น ย่อมไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตาม ม 264, 268

- คำพิพากษาฎีกาที่ 197/2509 โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน ต่อมามีผู้มาขออายัดการออกโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนดและลบวันเดือนปีและลายมือชื่อซึ่งจำเลยลงชี่อในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินเสีย เพราะเกรงว่าจะเป็นโฉนดที่สมบูรณ์ ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะเมื่อยังไม่ได้มอบโฉนดให้โจทก์ ถือไม่ได้ว่าที่ดินรายนี้ออกโฉนดแล้ว และโฉนดรายนี้ยังเป็นเอกสารที่อยู่ในความยึดถือหรือในความรับผิดชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือว่ายังอยู่ในระหว่างดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกโฉนด ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1505/2514 ปพพ มาตรา 910 วรรคท้าย ให้อำนาจผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในตั๋วเงินที่มิได้ลงวันออกตั๋วไว้ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ เขียนเลขเดือนและปีเติมลงในเช็ค แม้จะทำโดยพลการ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยไม่สุจริตแล้ว ไม่ผิด มาตรา 266

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2521 จำเลยแก้ตัวเลขในสลากกินแบ่ง 1 ตัวให้ตรงกับเลขที่ถูกรางวัลแล้ว แล้วเอาไปแสดงหลอกเพื่อนให้เพื่อนเลี้ยงอาหารกลางวัน เมื่อรับเงินแล้วจะเลี้ยงตอบมื้อเย็น เมื่อเลี้ยงอาหารกลางวันจำเลยบอกความจริง แล้วจำเลยทิ้งสลากลงถังขยะ คนในบ้านจำเลยเก็บสลากได้ เอาไปขึ้นเงินรางวัลจึงถูกจับ เป็นการล้อเล่นระหว่างเพื่อนฝูงเป็นปกติ ไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือเพื่อนของจำเลย การที่มีผู้นำสลากไปรับรางวัล อยู่นอกเหนือความรู้เห็นของจำเลย ไม่ผิด 264

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2680/2521 จำเลยลอบเขียนข้อความลงในต้นขั้วเช็คของโจทก์ ว่าชำระบัญชีลงลายมือชื่อจำเลยกำกับ เพื่อแสดงว่าจำเลยชำระเงินแล้ว ดังนี้ ไม่ทำให้ผู้ใดเสียหาย ไม่มีมูลความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2907/2523 จำเลยเป็นปลัดเทศบาล ใช้ให้นายพะเยาว์แก้ไขมติของสภาเทศบาลในรายงานการประชุมที่นายสุวินัยเป็นผู้ทำขึ้น โดยจำเลยไม่มีอำนาจแก้ไขได้โดยพลการและการแก้ไขก็เพื่อจะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหลงเชื่อว่าสภาเทศบาล มีมติให้จ่ายขาดเงินสะสมเพื่อซื้อรถบรรทุก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของมติที่ประชุมและขัดกับมติที่แท้จริงของสภาเทศบาล จึงน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสาร ตามปอ 265 + 84 จำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารดังกล่าว ผิด 161 อีกบทหนึ่ง เมื่อจำเลยนำเอกสารนั้น ไปอ้างในการขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงผิด 268 อีกกระทงหนึ่ง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2870/2526 เช็คทั้งสามฉบับเป็นเช็คของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คดังกล่าว จำเลยที่ 2 ได้ขีดฆ่า ตัดทอนจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คเดิม ทั้งตัวเลขและตัวอักษรแล้วพิมพ์เติมจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรขึ้นใหม่ โดยลงชื่อกำกับ อันเป็นความเท็จ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารเพราะจำเลยที่ 2 ไม่ได้ปลอมเช็คของคนอื่น หรือตั้งใจให้เป็นเช็คของคนอื่น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 39443945/2526 โจทก์เป็นนางพยาบาล ลงชื่อและเวลามาทำงานในสมุดลงชื่อมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า ให้มันยุติธรรมหน่อย และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาล ได้แก้ไขโดยขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ ดังนี้ ไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ไม่ผิดมาตรา 264, 265

- คำพิพากษาฎีกาที่ 734/2530 โจทก์จำเลยต่างรับราชการเป็นครูโรงเรียนเดียวกัน จำเลยลบเวลาที่โจทก์เขียนไว้ แล้วเขียนทับลงไปว่า 7.46 นาฬิกา เป็นการแก้ว่าโจทก์มาทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม ไม่เป็นการโกงเวลาราชการ ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ การแก้ไขดังกล่าวไม่ใช่การกระทำของโจทก์ โจทก์ไม่อาจถูกลงโทษทางวินัยได้ โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ม 265

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1811/2531 โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงาน โดยกรอกข้อความในใบสมัคร เว้นว่างไว้ในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ด้านหลังใบสมัคร จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริษัท ได้กรอกข้อความลงในช่องดังกล่าว ตรงตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้กับโจทก์ก่อนยื่นใบสมัคร จำเลยกระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ ทั้งข้อความที่จำเลยกรอก ก็ตรงตามที่ได้ตกลงกับโจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ไม่ผิด มาตรา 264

- คำพิพากษาฎีกาที่ 213/2539 วินิจฉัยว่า การที่จำเลยนำภาพถ่ายของตน มาปิดทับลงในภาพถ่ายใบอนุญาตขับรถของตนเอง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่ผู้อื่นหรือประชาชน ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- สรุป เรื่องแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์

(1) ป้ายทะเบียนรถที่ทางราชการทำและออกให้ ถ้านำไปใช้ติดกับรถยนต์คันอื่น แม้จะกระทำโดยเจตนาให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นรถที่มีป้ายทะเบียนดังกล่าว ก็ไม่ผิดฐานปลอม หรือใช้เอกสารปลอม เพราะป้ายดังกล่าวเป็นป้าย (เอกสาร) ที่แท้จริง

(2) ป้ายทะเบียนรถที่ทำขึ้นเองเพราะทางราชการทำให้ไม่ทัน อนุโลมให้ทำเองได้และนำไปใช้ติดกับรถคันที่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่เป็นการปลอม และใช้เอกสารปลอม เพราะไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (ฎ 2241/2523 ลงโทษจำเลย ก็เพราะจำเลยนำป้ายทะเบียนรถที่ทำขึ้นเอง ไปติดกับรถคันที่ผิดกฎหมาย จึงน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน)

(3) ป้ายทะเบียนที่ทำขึ้นเองไม่ใช่ของทางราชการ นำไปใช้ติดกับรถคันที่ไม่ได้จดทะเบียน เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสาร เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการปลอมเอกสารขึ้นทั้งฉบับ และเป็นการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และกระทำโดยให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ฎ 2457/2524

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1141/2523 จำเลยเอาป้ายทะเบียนรถยนต์หมายเลข ส..00890 ของรถยนต์ยี่ห้องเพียต ซึ่งเป็นป้ายที่ทางราชการทำขึ้นมาติดรถยนต์ของกลาง ดังนี้ เมื่อป้ายทะเบียนดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริง ไม่ใช่เอกสารปลอม จึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร และไม่ผิดฐานใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3078/2525 จำเลยนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์หมายเลข น.0311 พังงา ซึ่งเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ทางราชการออกให้แก่รถยนต์ของผู้อื่น ไปติดใช้กับรถยนต์ของจำเลยโดยมีเจตนาแสดงให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์คันหมายเลข น.-0311 พังงา ดังนี้ เมื่อแผ่นป้ายทะเบียนดังกล่าวเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ (เอกสาร) ที่แท้จริงของทางราชการ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานปลอมหรือใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 510/2530 จำเลยตัดเลขหมายประจำแชชซีรถยนต์คันสีแดงออก แล้วตัดเอาหมายเลขประจำแชชซีของรถยนต์คันสีฟ้ามาเชื่อมต่อไว้แทน ดังนี้ เมื่อหมายเลขประจำแบบซี คันสีฟ้า เป็นหมายเลขประจำรถยนต์ที่แท้จริง แม้จะนำไปติดกับรถยนต์คันอื่นก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร เพราะความผิดฐานปลอมเอกสารนั้นจะต้องมีการปลอมแปลงเอกสารขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่บางส่วน หรือกระทำให้ข้อความ หรือความหมายในเอกสารที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไป

- คำพิพากษาฎีกาที่ 376/2520 รถยนต์ของจำเลยยังไม่ได้นำไปจดทะเบียนและเสียภาษีตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และป้ายทะเบียนรถยนต์ของกลาง ไม่ใช่ป้ายของเจ้าพนักงานที่จัดไว้กับตัวรถเป็นป้ายเลขทะเบียนปลอม จำเลยไม่มีสิทธิที่จะใช้ป้ายเลขทะเบียนรถซึ่งแสดงว่าได้มีการจดทะเบียนและเสียภาษีต่อทางราชการตำรวจแล้วกับรถยนต์ของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 317/2521 จำเลยเขียนหมายเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ของผู้อื่น ลงไว้ในแผ่นป้ายเหล็กท้ายรถจักรยานยนต์ของกลาง แม้จะเขียนหมายเลขดังกล่าวด้วยตนเอง โดยมีลักษณะขนาดตัวหนังสือและตัวเลข ไม่เหมือนกับป้ายหมายเลขทะเบียนที่แท้จริง ซึ่งกรมตำรวจจัดทำขึ้น แต่เมื่อจำเลยกระทำด้วยเจตนาทำเทียมเพี่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และโดยลักษณะที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนแล้ว ก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร เมื่อจำเลยใช้รถจักรยานยนต์ที่ปิดป้ายดังกล่าวขับขี่ จำเลยต้องผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย

- การกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1046/2536 โจทก์ออกเช็คให้บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการ ผู้จัดการไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่โจทก์จะพึงมีต่อจำเลย เมื่อเช็คดังกล่าวเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่าย เพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจ และมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้น เพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้ อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วน จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 264, 265, 266 (4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอม ไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน จึงมีความผิดตามมาตรา 83, 268

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1101/2536 จำเลยนำใบมอบอำนาจ 2 ฉบับ ที่โจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจไปกรอกข้อความว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยไปจัดการยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยเสน่หา และมอบอำนาจให้จำเลยขายที่ดินให้แก่จำเลย ทั้งจำเลยยังทำหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งว่า ภรรยาโจทก์ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม มีความผิดตามมาตรา 264

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1300/2539 จำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของ ป. กับ ท. แล้วนำเอกสารดังกล่าวฟ้องเรียกเงินกู้ เป็นการกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยเชื่อด้วยความสุจริตและได้กรอกลงไปตรงตามความเป็นจริง ทั้งได้รับความยินยอมจากเจ้าของลายมือชื่อแล้ว สัญญากู้ดังกล่าวย่อมไม่เป็นเอกสารปลอม ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6898/2539 การที่จำเลยที่ 2 และ ป.ทราบแล้วว่า ย. ถึงแก่ความตาย ต่อมาจำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความคงมีแต่ลายพิมพ์นิ้วมือของ ย.ในช่องผู้มอบอำนาจมาบอกให้ ส. กรอกข้อความ ส. กรอกข้อความว่า ย. มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินแทน การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยพลการเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ ป. ซึ่งเป็นการกระทำที่ตรงกับความประสงค์ของ ย. แต่เมื่อการมอบอำนาจยังไม่สมบูรณ์ โดยผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตายเสียก่อน การมอบอำนาจก็สิ้นผล จำเลยที่ 2 กลับทำให้การมอบอำนาจซึ่งยังมิได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความ แม้ ป. จะไม่เสียหาย แต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา. มาตรา 264 วรรคสอง

- ผู้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3196/2534 จำเลยรับมอบเอกสารของกลางและจ่ายเงินให้ผู้นำมาส่งมอบ โดยจำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ซึ่งแม้การที่จำเลยต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้นำมามอบ จะทำให้น่าเชื่อว่า จำเลยมิได้มีส่วนร่วมในการปลอมเอกสารและรอยตราในเอกสาร การกระทำของจำเลยเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ ตาม ป.อ. มาตรา 84 / ข้อเท็จจริงฟังว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 84 แต่ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยในฐานตัวการร่วมกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 83 จึงแตกต่างจากที่ปรากฏในทางพิจารณาในสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยฐานผู้ใช้ไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การกระทำของจำเลย ซึ่งยังถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลย ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ตาม ป.อ. มาตรา 86 ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2537 จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ได้กรอกข้อความ โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการปลอมหนังสือมอบอำนาจด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ไปด้วยในวันที่นำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดิน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด กับจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น ทั้งเป็นสามีภรรยากันมีส่วนได้เสียในที่ดินที่รับโอน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมในการใช้เอกสารปลอมด้วย

- ผู้เสียหาย

- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236-2237/2550 ความผิดฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอม เป็นความผิดต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ปลอมและใช้เอกสารปลอมตามฟ้อง แม้จำเลยจะปลอมหนังสือของผู้ตายส่งไปถึงนายแพทย์อำนวยการโรงพยาบาล บ. ว่า ผู้ตายขอลาการปฏิบัติงานแล้วลงชื่อปลอมของผู้ตายในหนังสือดังกล่าว และจำเลยได้ปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงนาย ช. กับนางสาว ก.บุตรชายและบุตรสาวของผู้ตายว่า ผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารปลอมนั้นผู้ตายได้ทำขึ้นจริง ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็ตาม ในกรณีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ทั้งความผิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นภายหลังจากผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวได้ จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายจะจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2)การเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ความผิดฐานซ่อนเร้น ทำลายศพผู้ตาย เพื่อปิดบังการตายและความผิดฐานปลอมเอกสารกับฐานใช้เอกสารปลอมซึ่งต้องลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยจำคุกกระทงละ 1 ปี ดังนั้น ความผิดทั้งสองกระทงดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 2 นำสืบยังรับฟังไม้ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดทั้งสองกระทงดังกล่าว เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาจำเลยนัดหมายให้ผู้ตายไปพบและรับประทานอาหารร่วมกันที่ร้านอาหารโดยจำเลยแอบอ้างหลอกลวงผู้ตายเรื่องนัดพบช่างที่จะไปซ่อมแซมบ้านพักผู้ตายระหว่างการรับประทานอาหารร่วมกันจำเลยลอบนำยานอนหลับที่สั่งซื้อไว้ก่อนหน้านี้ใส่ลงในอาหารหรือเครื่องดื่มให้ผู้ตายรับประทานหรือดื่มจนผู้ตายมีอาการสะลึมสะลือครองสติไม่ได้ หลังจากนั้นจำเลยได้พาผู้ตายไปยังอาคารที่จำเลยจัดเตรียมเปิดห้องพักรอไว้ เพื่อทำการหน่วงเหนี่ยวให้ผู้ตายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แล้วจำเลยลงมือฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จำเลยวางแผนไว้ จากนั้นจำเลยได้ชำแหละแยกศพผู้ตายออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ บางส่วนทิ้งลงในชักโครกของห้องพักในอาคาร บางส่วนนำไปทิ้งในโถชักโครกของโรงแรมในวันรุ่งขึ้น เพื่อปิดบังการตายของผู้ตาย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้ตายปราศจากเสรีภาพในร่างกายและฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

- การนำสืบพยานหลักฐาน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 517/2541 เมื่อโจทก์มีเพียงร้อยตำรวจเอก ว. ผู้ตรวจพิสูจน์แผ่นป้ายทะเบียนของกลางเป็นพยาน เบิกความว่าพบร่องรอยขูดหมายเลขทะเบียนของกลางด้วยของแข็งมีคม จากหมายเลขหนึ่งให้เป็นอีกหมายเลขหนึ่ง และพบร่องรอยการใช้เทปกาวสีดำปิดทับตัวเลขบนแผ่นป้ายทะเบียนของกลาง แต่ไม่มีพยานหลักฐานชี้ยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ขูดและใช้เทปกาวสีดำดังกล่าวปิดทับตัวเลข พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่อาจรับฟังเพียงพอเพื่อลงโทษจำเลยในความผิดฐานปลอมเอกสารราชการได้ / หมายเลขทะเบียนรถยนต์แต่ละคันทางราชการเป็นผู้กำหนดและออกให้ใช้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวกต่อการควบคุมแผ่นป้ายทะเบียนของกลางแม้จะเป็นแผ่นป้ายที่ทางราชการออกให้กับรถของจำเลย แต่ได้มีการแก้ไขข้อความจากหมายเลขทะเบียน 3ธ-8086 กรุงเทพมหานคร ให้กลายเป็นหมายเลขทะเบียน 8ธ-8886 กรุงเทพมหานคร แม้รถยนต์ของจำเลย คันหมายเลขทะเบียน 3ธ-8086 กรุงเทพมหานคร จะเป็นยี่ห้อหนึ่งส่วนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 8ธ-8886 กรุงเทพมหานครจะเป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง ก็อาจทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจผิดได้ การที่จำเลยนำรถยนต์ที่มีแผ่นป้ายทะเบียนอันเป็นเอกสารราชการปลอมออกใช้ ขับไปในที่ต่าง ๆ และแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม


- คำพิพากษาฎีกา เอกสารเกี่ยวกับรถยนต์และยานพาหนะ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 40/2507 ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ไม่เป็นเอกสารสิทธิ แต่เป็นเอกสารราชการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 317/2521 เขียนหมายเลขทะเบียน ก.ท.จ. 2395 อันเป็นหมายเลขทะเบียนรถคันอื่น ลงไว้ที่แผ่นเหล็กท้ายรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน 05591 เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงที่กองพลาธิการทำขึ้น แม้ไม่คล้ายของจริง ก็เป็นการทำเอกสารราชการปลอมขึ้นทั้งฉบับ การขับขี่รถนั้นไปเป็นการใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2667/2536 (อพ 2541/2/49) แบบพิมพ์ใบอนุญาตขับรถยนต์แม้ยังไม่มีการกรอกข้อความอื่นลงไป ก็เป็นการปลอมเอกสารราชการ (เทียบ ฎ 1507/2514 แบบพิมพ์เช็ค ยังไม่กรอกข้อความ ไม่เป็นเอกสาร)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2570/2541 หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถ เป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตาม พ.ร.บ.รถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิแต่อย่างใด ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่

- คำพิพากษาฎีกา เอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 285/2507 “..1.” เป็นแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเพื่อยึดถือเอาที่ดินเป็นของตน จึงเป็นเอกสารสิทธิที่ทำเป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งคงมีสิทธิครอบครองอยู่ จึงตรงกับคำว่า สงวนซึ่งสิทธิตามมาตรา 1 (9) ..1. จึงเป็นเอกสารสิทธิ / จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมและตัดทอนข้อความในหนังสือ ส.ค. 1 และนำไปใช้ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม แต่ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมกระทงเดียว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4340/2543 สำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน” ที่จำเลยนำไปใช้ เป็นภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารราชการ เพียงแต่แตกต่างกันในตัวเลขเกี่ยวกับราคาประเมินเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขตัวเลขอันเป็นการทำปลอมขึ้นจากหนังสือรับรองราคาประเมินซึ่งเป็นเอกสารราชการที่แท้จริง แม้จะเป็นการทำปลอมในสำเนาหนังสือรับรองราคาประเมิน ถือว่าเป็นการปลอมเอกสารราชการ เมื่อจำเลยได้นำไปใช้แสดงต่อโจทก์ร่วม จึงผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม (ปอ. 265, 268)


- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 264

- (ขส เน 2513/ 3) เจ้าหน้าที่สรรพากร เก็บเงินค่าธรรมเนียม รับเงินและเขียนต้นขั้วถูกต้อง มอบปลายขั้วให้ผู้เสียค่าธรรมเนียม แล้วแก้ต้นขั้วจาก 1000 เป็น 100 ลงชื่อกำกับ และเอาเงินไป 900 ผิด 161 เพราะหมดอำนาจแก้ไขแล้ว และน่าจะเกิดความเสียหายแก่ราชการ และผิด ม 147 (ผิด ม 157 ด้วย แต่ไม่ต้องปรับบท ม 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก)

- (ขส พ 2504/ 9) ขาวต้องการใบประกาศ ชั้น ม 6 ปลอม จึงไปขอซื้อจากแดง แดงแจ้งขาวว่า มีแต่ใบสุทธิปลอมที่ดำทำขึ้น และจะขายให้แก่เหลืองขาวตกลงซื้อและบอกชื่อนามสกุลแก่แดง เพื่อให้แดงจัดหามาให้ (นายขาว และแดง ผิดฐานใด หรือไม่) / ขาวผิด ฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานปลอมหนังสือ ม 84 ประกอบ ม 264 / แดงผิดฐานใช้เอกสารปลอม ม 268

- (ขส พ 2522/ 8) เจ้าหนี้ให้กู้ ไม่ได้ทำสัญญา ลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้จึงทำสำเนาสัญญากู้ ฟ้องศาล อ้างว่าต้นฉบับหาย ลูกหนี้อ้างว่าไม่เคยทำสัญญา เจ้าหน้านำสำเนาเข้าสืบเป็นพยาน ผิด ปลอมเอกสารสิทธิ เพราะรับรองสำเนาว่าถูกต้อง ทั้งที่ต้นฉบับไม่มี เท่ากับปลอมขึ้นทั้งฉบับ เพื่อให้เห็นว่าคัดมาจากต้นฉบับที่แท้จริง ผิดปลอมเอกสาร ม 264,265 ฎ 1733/2514 สัญญากู้เป็นเอกสารสิทธิตาม ม 1 (9) ฎ 167/2517 การนำไปยื่นฟ้อง ผิด ม 268 ฎ 825/2506 ลงโทษตาม ม 286 ว 2 และผิด ม 180 ต่างกรรมกับฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม (ม 177)

- (ขส พ 2524/ 7) เช้าแก้เลขท้ายในสลาก แล้วนำไปหลอกขาย สายรู้อยู่แล้ว แต่เห็นว่าทำแนบเนียน จึงซื้อไว้ แล้วแก้ให้ถูกรางวัลที่สูงขึ้น นำไปหลอกขายเที่ยง / เช้าผิด ปลอมเอกสารสิทธิ (ไม่เป็นเอกสารราชการ) และนำไปขาย (เป็นการใช้) ผิด ม 265+268 เช้าหลอกสาย แต่สายชำระเงินทั้งที่รู้ว่าถูกหลอก เช้าผิด ม 341+80 เป็นกรรมเดียว / สายผิด ม 265+268 + (80+341) เป็นกรรมเดียว การที่เที่ยงนำไปขึ้นเงิน อยู่นอกเจตนาของเช้า เช้าไม่ต้องรับผิดร่วมกับแสง เพราะเจตนาฉ้อโกงนายแสงเพียงผู้เดียว

- (ขส พ 2528/ 7) สัญญากู้ แม้ไม่มีพยานก็สมบูรณ์แล้ว แม้จัดให้มีพยานลงลายมือชื่อภายหลัง ก็ไม่ผิด ม 265 เพราะไม่น่าจะเสียหาย เมื่อนำไปยื่นฟ้องจึงไม่ผิด ม 268 และไม่ผิด ม 180 ฎ 1126/2505 / ผู้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ ก็ไม่ผิด ม 265 เพราะไม่น่าจะเกิดความเสียหาย / ผู้กู้หยิบสัญญามาดูแล้วฉีก ผิด ม 358 และ 188 เป็นกรรมเดียว ม 90 ฎ 1418/2506

- (ขส อ 2542/ 2) รับฝากเงินแล้วฉีกต้นฉบับ ม 188 เขียนใหม่ว่าฝากน้อยลง แล้วยื่นให้หัวหน้าตรวจ ม 1 (9) + 264+265+268 ยักยอกเงิน ม 352 เป็นลูกจ้างธนาคาร ม 354 496-7/2542

ไม่มีความคิดเห็น: