พบศพชายหญิงนอนเสียชีวิตในบ้าน ๕ ศพสภาพเน่าเปื่อย ในครัวชั้นล่างมีรอยกระสุนยิงเข้าที่หน้าอกนาย ธ. ส่วนนาง ส. คนรับใช้เสียชีวิตในห้องน้ำถูกรัดคอด้วยเชือกผ้าม่าน มีเสื้ออุดปาก เทปกาวปิดตา นาง ก. เสียชีวิตไม่พบบาดแผล นางสาว ศ.เสียชีวิตมีรอยกระสุนยิงด้านหลัง ๑ นัด นาย น. เสียชีวิตมีเทปกาวปิดตาไว้ เท้าทั้งสองข้างถูกมัดด้วยเข็มขัด ไม่พบบาดแผล ทรัพย์สินหายไป ๑๐ รายการรวมทั้งรถยนต์โตโยต้า รุ่นอัลพารท์ ร้อยตำรวจเอก ก. ติดตามสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้ตายทุกคนพบว่า โทรศัพท์มือถือของนาง ก. ผู้ตายถูกนำไปใช้กับหมายเลขโทรศัพท์นาย ว. จากการสอบถามได้ความว่า ผู้ต้องหาที่ ๑ ที่ ๒นำมมาขายให้ จึงได้ติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ ๑ ปฏิเสธ ผู้ต้องหาที่ ๒ รับสารภาพ จากการขยายผลโดยนำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ต้องหาที่ ๒พบว่ามีการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์นางสาว ว. ภรรยาผู้ต้องหาที่ ๓ซึ่งโทรศัพท์ดังกล่าวผู้ต้องหาที่ ๓ เป็นคนใช้ โดยผู้ต้องหาที่ ๓ เล่าให้ฟังว่า ได้ร่วมกับผู้ต้องหาที่ ๑ที่ ๒ ฆ่าคนมา ๕ ศพ โดยได้ชวนผู้ต้องหาที่๔ มาร่วมด้วย จึงได้จับกุมผู้ต้องหาที่ ๓ ที่ ๔ ให้การรับสารภาพ จากการตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ของผู้ต้องหาพบว่าผู้ต้องหาที่ ๖ มีข้อพิพาทกับนาง ก.ผู้ตายเรื่องประกอบธุรกิจโรงงาน โดยกู้เงินผู้ตาย ๑๐ล้านบาท ผู้ต้องหาที่ ๕ เป็นผู้จัดการโรงงานมีปัญหาเรื่องค่าแรงงานและโบนัสกับผู้ตาย ผู้ต้องหาที่๔ ยืนยันว่าภาพถ่ายผู้ต้องหาที่ ๕ เป็นคนให้เงินตน ๑,๐๐๐บาทเป็นค่ารถกลับบ้านในการพามาดูบ้านเกิดเหตุจึงได้จับกุมผู้ต้องหาที่ ๕ที่ ๖ ซึ่งปฏิเสธทั้งชั้นจับกุมและสอบสวนคดีนี้มีอัตราโทษถึงประหารชีวิต พยานหลักฐานต้องหนักแน่นมั้นคงไม่มีตำหนิให้เป็นที่เห็นประจักษ์ได้ ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นผู้ต้องหาที่ ๕ ที่ ๖ เป็นผู้ใช้จ้างวานผู้ต้องหาที่ ๑ ถึงที่ ๔ ปล้นทรัพย์และฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ไม่มีพยานแวดล้อมอื่นให้พอฟังว่าเป็นผู้กระทำผิด มีเพียงคำให้การซัดทอดผู้ต้องหาที่ ๔ว่าผู้ต้องหาที่ ๕ เป็นผู้ใช้จ้างวาน โดยผู้ต้องหาที่ ๕ พาไปดูบ้านเกิดเหตุ หลังจากทำงานไม่สำเร็จผู้ต้องหาที่ ๕ ได้ให้เงิน๑,๐๐๐บาทเป็นค่ารถกลับบ้าน ผู้ต้องหาที่ ๔ชี้ภาพถ่ายผู้ต้องหาที่ ๕ยืนยันว่าเป็นบุคคลที่ผู้ต้องหาที่ ๑ ที่ ๒ เรียกว่า " เสี่ย" คำให้การซัดทอดระหว่างคนร้ายด้วยกันมีน้ำหนักน้อยไม่สอดคล้องคำให้การผู้ต้องหาที่ ๓ ที่ไม่ได้พาดพิงถึงผู้ต้องหาที่ ๕ ไม่อาจเอาคำซัดทอดดังกล่าวมาใช้ยันว่าผู้ต้องหาที่ ๕ เป็นผู้กระทำผิด ส่วนการตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์ผู่้ต้องหา ๑ ที่ ๕ ที่ ๖ ในระยะเวลาเกิดเหตุไม่พบลายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำผิด ส่วนประเด็นขัดแย้งผู้ตายกับผู้ต้องหาที่ ๕ ที่ ๖ นั้นก็ได้มีการฟ้องคดีจนศาลมีคำพิพากษาให้ชนะคดี ผู้ต้องหาที่ ๕ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีเหตุผลใดที่ต้องกระทำผิด ส่วนความขัดแย้งกับผู้ต้องหาที่ ๖ เรื่องกู้ยืมก็ไม่พบเหตุร้ายแรงอันเป็นมูลเหตุในการกระทำผิด ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงผู้ต้องหาที่ ๕ ที่ ๖ ได้กระทำผิด ชี้ขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ ๕ ที่ ๖ ฐานก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดด้วยการใช้จ้างวานให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนร่วมกันมีอาวุธปืนฯ พาอาวุธปืนฯ ดดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันรับของโจร สำหรับความผิดฐานพาอาวุธปืนตาม ป.อ. มาตรา๓๗๑ ต้องฟ้องภายใน ๑ ปี ปัจจุบันขาดอายุความแล้ว ให้ยุติการดำเนินคดีกับผู้ต้อ่งหาที่ ๕ ที่ ๖ ในข้อหาดังกล่าว ชี้ขาดความเห็นแย้ง ๕๘๕/๒๕๕๒
ข้อสังเกต ๑. ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันผู้ต้องหาที่ ๕ ที่ ๖ ใช้จ้างวานให้ผู้ต้องหาที่ ๑ ถึงที่ ๔ กระทำผิด
๒.มีแต่คำให้การซัดทอดผู้ต้องหาที่ ๔ ว่าผู้ต้องหาที่ ๕ พามาดูที่เกิดเหตุและให้เงิน ๑,๐๐๐บาทเมื่อทำงานไม่สำเร็จเป็นเพียงคำให้การซัดทอดเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อยต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบ ลำพังคำให้การซัดทอดโดยไม่มีหลักฐานอื่นประกอบย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังลงโทษได้ ทั้งคำซัดทอดดังกล่าว่ก็ไม่สอดคล้องคำให้การผู้ต้องหาที่ ๓ ที่ไม่ได้พาดพิงถึงผู้ต้องหาที่ ๕
๓.ข้อพิพาทเรื่องค่าแรงของผู้ต้องหาที่ ๕กับผู้ตาย ศาลก็มีคำพิพากษาให้ผู้ต้องหาที่ ๕ ชนะคดีสามารถบังคับตามคำพิพากษาได้ ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องมาปล้นฆ่า
๔.ข้อพิพาทเรื่องกู้ยืมเงินผู้ตายกับผู้ต้องหาที่ ๖ ที่กู้ผู้ตาย ก็ไม่พบว่ามีเหตุร้ายแรงที่จะต้องมากระทำความผิดคดีปล้นฆ่าในคดีนี้
๕.คำให้การซัดทอดของผู้กระทำผิดด้วยกัน ผู้ถูกซัดทอดไม่มีโอกาสถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักพยานดังกล่าว ดังนั้น ป.ว.อ. มาตรา ๒๒๗/๑ จึงให้ศาลใช้ความระมัดระวังในการรับฟังพยานประเภทนี้ ไม่เชื่อพยานหลักฐานนี้โดยลำพังเพื่อมาลงโทษเว้นมีพยานหลักฐานอื่นหรือพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีหรือมีเหตุผลอันหนักแน่นอื่นมาประกอบ
๖.คดีนี้มี อัตราโทษประหารชีวิต จึงต้องมีพยานหลักฐานมั่นคง ไม่มีตำหนิใดๆที่จะนำมารับฟังลงโทษผู้ต้องหาได้ จึงจะมีมูลในการฟ้องคดีได้ หรือแม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษา หากศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย (ป.ว.อ. มาตรา ๒๒๗ วรรค ๒) หรือแม้ศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต แม้ไม่มีการอุทธรณ์ คดีก็ยังไม่ถึงที่สุดจนกว่าศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืน (ป.ว.อ. มาตรา ๒๔๕ วรรค สอง) แสดงให้เห็นว่า แม้ผ่านการพิจารณาของศาลมาแล้ว ๑ ศาล โจทก์จำเลยไม่อุทธรณ์คดีก็ยังไม่ถึึงที่สุดต้องผ่านการพิจารณาของศาลอุทธรณ์อีกชั้น หากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนลงโทษคดีจึงถึงที่สุดุ หากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีไม่ถึงที่สุด ต้องผ่านการพิจารณาของศาลฏีกาอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า การลงโทษคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ต้องมีหลักฐานชัดจริงๆว่าเขากระทำผิดจึงจะสั่งฟ้องหรือลงโทษได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น