ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

"เข้าไปเอาบุตรในบ้านพ่อตาแม่ยาย"

ผู้ต้องหากับนางสาว จ. อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา มีบุตรด้วยกัน ๑ คน ต่อมาได้แยกทางกัน ตกลงให้ผู้ต้องหาเลี้ยงบุตรวันจันทร์ถึงศุกร์ นางสาว จ. เลี้ยงดูในวันเสาร์อาทิตย์ วันเกิดเหตุเป็นวันเสาร์ เวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา ผู้ต้องหาไปที่บ้านผู้กล่าวหาเพื่อขอรับบุตร แต่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอม ผู้ต้องหาได้ใช้มีดขมขู่ให้ส่งลูกคืนจนผู้กล่าวหากลัวจึงได้ยอมส่งบุตรให้ แม้ัวันเกิดเหตุเป็นวันเสาร์ บุตรต้องดูในความดูแลของนางสาว จ. ก็ตาม การที่ผู้ต้องหาเข้าไปในบ้านผู้กล่าวหาเพื่อนำบุตรของตน ไม่ได้มีเจตนารบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข ไม่พอฟังว่ามีเจตนาบุกรุก แต่การใช้มีดขู่จะทำร้ายผู้กล่าวหาจนผู้กล่าวหายอมมอบบุตรให้ผู้ต้องหา เป็นการขมขืนใจผู้กล่าวหาให้กระทำการ หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยท่ำให้กลัวจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายโดยมีอาวุธ ชี้ขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานบุกรุก สั่งฟ่้องผู้ต้องหาฐานขมขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายโดยมีอาวุธ และให้พนักงานอัยการโอนสำนวนและแจ้งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาที่สั่งฟ้องแก่ผู้ต้องหาก่อนฟ้องด้วย ชี้ขาดความเห็นแย้ง ๒๖๗/๒๕๕๑
ข้อสังเกต ๑.ชายหญิงไม่จดทะเบียนสมรสถือหญิงอยู่ในฐานะนางบำเรอของชาย บุตรที่เกิดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายของหญิง แต่ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฏหมายของฝ่าย เว้นแต่ชายหญิงจะมาจดทะเบียนกันภายหลัง หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรหรือชายจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ป.พ.พ. มาตรา๑๕๔๖,๑๕๔๗,๑๕๔๘
๒.ไม่จดทะเบียนสมรสเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของฝ่ายหญิง อำนาจปกครองบุตรอยู่กับฝ่ายหญิง การที่ตกลงกันว่าให้เด็กอยู่ในการดูแลของฝ่ายชายวันไหน อยุู่ในความปกครองของฝ่ายหญิงวันไหนก็เป็นไปตามข้อตกลงกัน ซึ่งตามหลักกฏหมายแล้วฝ่ายหญิงจะไม่ยินยอมดังนี้ก็ได้
๓.การที่ฝ่ายชายเข้าไปในบ้านพ่อตาแม่ยายเพื่อเอาบุตรไปเลี้ยง ไม่ได้มีเจตนาที่จะรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของพ่อตาแม่ยายแต่อย่างใด จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
๔.แต่การที่ใช้มีดขู่เพื่อให้ผู้กล่าวหายอมมอบบุตรของตนเป็นการขมขืนใจผู้กล่าวหาให้การะทำการหรือจำยอมต้องมอบหลานให้ผู้ต้องหาไปโดยผู้ต้องหาใช้มีดขู่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายจึงมีความผิดฐานนี้แล้ว
๕.ความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา ๓๖๒,๓๖๔ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปีหรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหานี้ แต่ฟ้องในข้อหาขมขืนใจผู้อื่น ฯ ตาม ป.อ. มาตรา ๓๐๙ วรรค สอง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลจังหวัด จึงต้องโอนสำนวนจากสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงไปยังสำนักงานอัยการจังหวัดเพื่อดำเนินการต่อไป
๖.ข้อหาขมขืนใจฯ พนักงานสอบสวนยังไม่ได้แจ้งข้อหาและสอบสวนในความผิดดังกล่าว จึงต้องให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาและทำการสอบสวนในความผิดดังกล่าวเพื่อให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ไม่มีความคิดเห็น: