จำเลยเป็นลูกจ้างสหกรณ์ ตำแหน่งผู้จัดการ ได้ร่วมกับพวกลักทรัพย์เงินสด ๓๓ ครั้ง ของผู้เสียหายที่เป็นนายจ้าง นั้น การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่จะเป็นปัญหาทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย อย่างไรหรือไม่ว่า มีพยานหลักฐานรับฟังได้ว่า มีข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นจริงหรือไม่เสียก่อน แล้วนำข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้นไปวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า ตามข้อเท็จจริงนั้นมีผลตามกฎหมายให้การสอบสวนเป็นไปโดยไม่ชอบหรือไม่ ซึ่งแม้ในส่วนที่เป็นข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวความสงบเรียบร้อยที่ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นอ้างได้แม้ว่า จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ในคดีนี้จำเลยอุทธรณ์อ้างถึงเหตุที่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการสอบสวนที่เกิดขึ้นมีการปลอมคำสั่งของสหกรณ์การเกษตร ด. โจทก์ร่วม เรื่องมอบหมายงาน ให้งาน และความรับผิดชอบของพนักงาน เพื่อให้จำเลยผูกพันมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามคำสั่งดังกล่าว ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า มีการกระทำที่เป็นการปลอมคำสั่งดังที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฏหมายที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ โดยในศาลชั้นต้นโจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่าจำเลยกระทำผิดจริง จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการลักทรัพย์ โดยไม่ได้นำสืบว่ามีการปลอมเอกสารคำสั่งของโจทก์ร่วมแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างในอุทธรณ์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกมากล่าวอ้างในศาลชั้นต้นโดยชอบ การที่อ้างว่าจำเลยเพิ่งทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจึงไม่สามารถยกปัญหาข้อกฏหมายขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้ เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เช่นนั้น ก็ปรากฏว่าคำสั่งของโจทก์ร่วมตามที่จำเลยกล่าวอ้างนั้นออกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ระบุว่า จำเลยเป็นผู้จัดการโจทก์ร่วม ซึ่งถ้าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง จำเลยย่อมรู้ได้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีการสืบพยานเอกสารดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยว่า คำสั่งของโจทก์ร่วมเป็นเอกสารปลอม จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่รับอุทธรณ์จำเลยวินิจฉัย คำพิพากษาฏีกา๘๐๒๕/๒๕๕๓
ข้อสังเกต ๑.การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่จะเป็นปัญหาทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย อย่างไรหรือไม่ว่า มีพยานหลักฐานรับฟังได้ว่า มีข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นจริงหรือไม่เสียก่อน แล้วนำข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้นไปวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า ตามข้อเท็จจริงนั้นมีผลตามกฎหมายให้การสอบสวนเป็นไปโดยไม่ชอบหรือไม่ นั้นก็คือ ต้องรับฟังข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติก่อนจึงจะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฏหมายได้
๒.การฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องเป็นฏีกาข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น ในศาลอุทธรณ์ก่อน จึงมีสิทธิ์ฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
๓. การว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้นคือ การยื่นฟ้อง การยื่นคำให้ให้การ แล้วนำพยานบุคคล พยานเอกสารมานำสืบให้เป็นไปตามคำฟ้อง คำให้การ มีการซักถาม ถามค้านหรือถามติงไว้ในประเด็นดังกล่าวในศาลชั้นต้น หรือมีการยื่นคำร้องหรือคำแถลงในประเด็นนั้นไว้ในศาลชั้นต้น จึงจะก่อให้เกิดสิทธิ์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ส่วนในชั้นอุทธรณ์ก็ต้องมีการว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ด้วยเช่นกัน เช่นมีการยื่นอุทธรณ์ หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นที่จะนำสู่ในศาลฏีกา ไม่เช่นนั้นแล้วเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วในศาลอุทธรณ์ก็จะไม่สามารถยกประเด็นดังกล่าวในศาลฏีกาได้ ซึ่งการที่จะยื่นฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้นต้องเป็นการว่ากล่าวมาแล้วทั้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ หากไม่ได้ว่ากล่าวในศาลชั้นต้นแต่ยกมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ หรือว่ากล่าวในศาลชั้นต้นแต่ไม่ได้ว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ หรือไม่ได้ว่ากล่าวทั้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้วย่อมไม่มีสิทธิ์นำประเด็นดังกล่าวมาว่ากล่าวในชั้นฏีกาได้ เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อไม่ให้มีการเอาเปรียบกันในทางต่อสู้คดี เพราะเมื่อไม่ได้ว่ากล่าวมาแต่แรกแต่มาว่ากล่าวในภายหลัง คู่ความอีกฝ่ายอาจไม่มีโอการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
๔.ส่วนข้อยกเว้นที่สามารถหยิบยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฏหมายมาได้ในศาลฏีกาแม้ไม่ได้ว่ากล่าวมาในชั้นต้นและในชั้นศาลอุทธรณ์นั้นเมื่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือเป็นปัญหาข้อกฏหมายที่ไม่อาจยกขึ้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนการชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องสามารถยกขึ้นมาได้ ป.ว.พ. มาตรา ๒๒๕ ป.ว.อ. มาตรา ๑๕
๕.กฏหมายพูดเฉพาะเรื่องปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย แต่กรณีที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อกฏหมายได้ก็ต้องนำข้อเท็จจริงที่ยุติมาเพื่อนำไปสู่การวินิจแยปัญหาข้อกกหมาย จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่จะเป็นปัญหาทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย อย่างไรหรือไม่ว่า มีพยานหลักฐานรับฟังได้ว่า มีข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นจริงหรือไม่เสียก่อน แล้วนำข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้นไปวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า ตามข้อเท็จจริงนั้นมีผลตามกฎหมายให้การสอบสวนเป็นไปโดยไม่ชอบหรือไม่ นั้นก็คือ ต้องรับฟังข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติก่อนจึงจะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้
๖. การที่อ้างว่าจำเลยเพิ่งทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจึงไม่สามารถยกปัญหาข้อกฏหมายขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้ เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เช่นนั้น เมื่อปรากฏว่าคำสั่งของโจทก์ร่วมตามที่จำเลยกล่าวอ้างนั้นออกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ระบุว่า จำเลยเป็นผู้จัดการโจทก์ร่วม ซึ่งถ้าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง จำเลยย่อมรู้ได้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีการสืบพยานเอกสารดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยว่า คำสั่งของโจทก์ร่วมเป็นเอกสารปลอม จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่รับอุทธรณ์จำเลยวินิจฉัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น