ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“ผิดสัญญาหมั้น”

๑.หมั่นและได้แต่งงานกับฝ่ายหญิงแต่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั่น อีกฝ่ายเรียกค่าทดแทนเนื่องจากการที่ลาออกจากงานโดยคาดหมายว่าจะมีการสมรส ลาออกจากงานเพื่อช่วยงานบ้าน ย่อมมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทนนับแต่ลาออกจากงานจนถึงวันที่ทำงานใหม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๓๖๖/๒๕๒๕
๒.หมั่นกันแล้วโดยกำหนดจะสมรสหลังจากไว้ทุกข์ให้บิดา ๓ ปี ระหว่างนั้นฝ่ายหญิงตั้งครรถ์กับฝ่ายชาย ฝ่ายชายแนะนำให้ไปทำแท้ง เมื่อทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก ฝ่ายชายได้หนีหน้าและไปสมรสกับหญิงอื่น ทำให้หญิงต้องเสียหายต่อร่างกาย ชื่อเสียง ต้องเจ็บป่วยเสียเงินรักษาโดยฝ่ายชายไม่สนใจ ฝ่ายชายต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนในส่วนนี้ ของหมั่นตกเป็นสิทธิ์แก่ฝ่ายหญิงจะถือว่าเป็นการเพียงพอแล้วหาได้ไม่ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๒๓/๒๕๑๙
๓.หญิงรบเร้าให้ชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้ง แต่ชายขอเลื่อนไปก่อน และแสดงอาการไม่พอใจไล่หญิงกลับไปอยู่ที่บ้านบิดามารดา ถือชายเป็นผู้ผิดสัญญาหมั่นซึ่งของหมั่นตกเป็นสิทธิ์แก่หญิง การที่ชายครอบครองของหมั่นไว้จึงต้องคืนของหมั่นให้หญิง เมื่อมีการหมั่นแล้ว แต่งงานแล้ว และอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส ย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและชื่อเสียงของหญิง ในการที่จะทำการสมรสใหม่ ฝ่ายหญิงจึงมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทนจากฝ่ายชายได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๗๗๗/๒๕๔๐
๔.ตกลงสมรสกันโดยไม่มีการหมั่น อยู่นอกกรอบที่กฎหมายกำหนด แม้ผิดสัญญาก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๔๕/๒๕๓๒
๕.ทำสัญญาว่าให้ฝ่ายชายจดทะเบียนสมรสกับฝ่ายหญิง หากไม่ยอมจดทะเบียนถือผิดสัญญา ต้องใช้ค่าเสียหาย ไม่มีกฎหมายสนับสนุนเพราะไม่ใช่สัญญาหมั่น ไม่อาจบังคับได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๘๖๕/๒๕๒๖
๖.บันทึกที่พนักงานสอบสวนทำให้ชายหญิงลงชื่อไว้และแนะนำให้ไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้อง ไม่ใช่สัญญาหมั่น และไม่ได้มีข้อกำหนดว่าหากผิดสัญญาแล้วต้องใช้ค่าเสียหายนั้น จะนำสัญญานี้มาบังคับให้อีกฝ่ายใช้ค่าเสียหายไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๖๔/๒๕๑๘
๗.สมรสตามประเพณีตกลงว่าหากหญิงสำเร็จการศึกษาแล้วจะจดทะเบียนสมรส เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรส การที่หญิงต้องเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันท์สามีภรรยากับชาย เป็นความสมัครใจ ไม่ได้เกิดจากการกระทำละเมิดของฝ่ายชาย การไม่ยอมไปจดทะเบียนไม่ใช่การกระทำละเมิดต่อหญิง หรือใช้สิทธิ์ที่จะเกิดความเสียหายแก่หญิงที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ คำพิพากษาฏีกา ๑๙๗๑/๒๕๑๗
ข้อสังเกต๑. การหมั่นคือการที่ฝ่ายชายตกลงส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั่นให้หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการสมรส คือต้องมีการจดทะเบียนสมรสแม้จะแต่งงานกันตามประเพณีหรือไม่ก็ตาม
๒.การหมั่นต้องมีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ฝ่ายหญิง หากไม่มีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นของหมั่นแล้วย่อมไม่ใช่การหมั่น เมื่อมีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิงแล้ว ของหมั่นย่อมตกเป็นสิทธิ์แก่หญิง
๓.การหมั่นไม่เป็นเหตุร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสหรือจะร้องขอต่อศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียนสมรสได้ การที่ชายหญิงจะใช้ชีวิตคู่ในการเป็นคู่สามีภรรยาควรเกิดจากความสมัครใจไม่ใช่การบังคับโดยการใช้สิทธิ์ทางศาล ดังนั้นหากมีข้อตกลงกันว่าหากมีการผิดสัญญาหมั่นคือ ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสให้เรียกเบี้ยปรับได้ ข้อตกลงให้เรียกเบี้ยปรับตกเป็นโมฆะ ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๓๘
๔.ฝ่ายใดผิดสัญญาหมั่นอีกฝ่ายเรียกค่าทดแทนได้ ในกรณีหญิงผิดสัญญาหมั่นคือไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับชาย ให้หญิงคืนของหมั่นให้ชาย ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๓๙ ชายผิดสัญญาหมั่น โดยชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิง หญิงไม่ต้องคืนของหมั่น การคืนของหมั่นต้องคืนเต็มจำนวน เว้นแต่รับไว้โดยสุจริตคงคืนเพียงเท่าที่เหลืออยู่ในขณะเรียกคืน ป.พ.พ. มาตรา ๔๑๒,๑๔๓๗วรรคท้าย
๕.ศาลอาจชี้ว่าของหมั่นที่ตกเป็นสิทธ์แก่หญิงเป็นค่าทดแทนทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งของค่าทดแทน หรือให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั่นที่ตกเป็นสิทธิ์แก่ฝ่ายหญิงเป็นสิทธิ์ก็ได้ ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๔๐วรรคท้าย
๖.กรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแต่หญิงที่ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น เช่น หญิงไปตั้งครรถกับชายอื่น กรณีนี้ในความเห็นส่วนตัวน่าจะถือว่าผิดสัญญาหมั่นเช่นกัน เพราะการหมั่นเพื่อทำการสมรสคือจดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง การที่หญิงหรือชายประพฤติตนไม่ดีจนอีกฝ่ายไม่สมควรสมรสด้วยก็น่าเป็นการผิดสัญญาหมั่นเช่นกัน อย่างกรณีหญิงตั้งครรถกับชายอื่นแล้วจะให้ชายคู่หมั่นมาทำการสมรสคือจดทะเบียนสมรสด้วยก็น่าจะไม่ถูกต้อง และเมื่อคลอดบุตรมาก็ต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๖ที่บัญญัติว่าเด็กที่เกิดแต่หญิง “ขณะเป็นภรรยาชาย” ให้ “ สันนิษฐาน” ว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ “ชายผู้เป็นสามี” ซึ่งการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายก่อให้เกิดสิทธิ์และหน้าที่หลายอย่างที่บิดาต้องกระทำต่อบุตรและหากบุตรนั้นไม่ใช่บุตรที่แท้จริงของเราแล้วเราต้องอุปการะเลี้ยงดูเช่นบุตรก็กระไรอยู่
๗.การที่ฝ่ายชายหมั่นกับหญิงและได้ทำการแต่งงานกับหญิงตามประเพณีแต่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส ฝ่ายชายจึงเป็นผู้ผิดสัญญาหมั่นเพราะการหมั่นเพื่อเป็นประกันในภายหน้าว่าจะได้ทำการสมรสซึ่งการทำการสมรสตามกฏหมายไทยคือการจดทะเบียนสมรสหาใช่เพียงแต่แต่งงานกันตามประเพณีเท่านั้นไม่ ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๕๗
๘.การที่หญิงยอมลาออกจากงานเพื่อมาเป็นแม่บ้านหลังแต่งงาน แต่ฝ่ายชายกับผิดสัญญาหมั่นโดยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย แม้จะแต่งงานถูกต้องตามประเพณีก็ตาม ฝ่ายชายต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้จนกว่าฝ่ายหญิงจะหางานใหม่ได้ ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าต้องรับผิดเท่าจำนวนเงินเดือนที่หญิงได้รับก่อนลาออกจากงานคำนวณไปจนถึงวันที่หญิงได้งานใหม่
๙.ในกรณีที่ของหมั่นมีราคามากเกินกว่าค่าเสียหายที่ได้รับ ฝ่ายชายไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย เช่นของหมั่นเป็นแหวนเพชรราคา ๑๐ ล้านบาท ฝ่ายหญิงจัดสถานที่และเตรียมอาหารเพื่อทำการสมรสเพียง ๕๐,๐๐๐ บาท ดังนี้ถือว่าของหมั่นมีราคาเกินกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ในกรณีอย่างนี้ฝ่ายชายไม่ต้องรับผิดในค่าทดแทนที่เกิดจากฝ่ายหญิงอีก ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๔๐ วรรคสอง แต่หากว่าของหมั่นมีราคาเล็กน้อย ศาลสั่งให้จ่ายค่าทดแทนได้โดยให้ถือว่าของหมั่นเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทน ซึ่งค่าทดแทนที่จะให้มากน้อยศาลต้องวินิจฉัยตามควรแห่งพฤติการณ์ เช่นพิเคราะห์จากฐานะ ความเป็นอยู่ของหญิง โดยค่าทดแทนนี้อาจเป็นความเสียหายที่เกี่ยวกับชื่อเสียงโดยคำนึงถึงฐานะความเป็นอยู่ก็ได้ ดังนั้นหากหญิงผิดเงื่อนไขที่ไม่สมรสกับชาย หญิงต้องคืนของหมั่นแก่ชาย คำพิพากษาฏีกา ๒๐๘๖/๒๕๑๘
๑๐.ชายหญิงหมั่นกันและได้เสียกันจนหญิงตั้งครรถ์ หญิงทำแท้งตามที่ชายแนะนำทำให้เกิดป่วย ชายได้ไปสมรสกับหญิงอื่น ย่อมทำให้หญิงเสียชื่อเสียง ได้รับอันตรายจากการทำแท้ง ต้องเสียเงินรักษาตัว ของหมั่นที่ตกเป็นสิทธิ์แก่หญิงเพราะฝ่ายชายผิดสัญญาหมั่น เมื่อของหมั่นมีราคาเล็กน้อยไม่พอแก่การรักษาตัวและชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการได้รับความเสียหายเสียชื่อเสียงย่อมไม่เพียงพอแก่ค่าทดแทนที่ต้องชำระ จะถือว่าของหมั่นมีราคาเพียงพอแก่ค่าทดแทนหาได้ไม่
๑๑.ฝ่ายหญิงรบเร้าให้ฝ่ายชายชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้ง แต่ฝ่ายชายขอเลื่อนไปก่อน และแสดงอาการไม่พอใจไล่ฝ่ายหญิงกลับไปอยู่ที่บ้านบิดามารดา ถือฝ่ายชายไม่มีเจตนาที่จะทำการสมรสกับฝ่ายหญิง ถือได้ว่าฝ่ายชายชายเป็นผู้ผิดสัญญาหมั่นซึ่งของหมั่นตกเป็นสิทธิ์แก่หญิง การที่ฝ่ายชายครอบครองของหมั่นไว้จึงต้องคืนของหมั่นให้หญิง เพราะเมื่อมีการหมั่น ของหมั่นตกเป็นสิทธิ์แก่หญิง การที่ฝ่ายชายครอบครองไว้ ฝ่ายหญิงที่เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิ์ติดตามเอาของหมั่นคืนจากฝ่ายชายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๓๖
๑๒. เมื่อมีการหมั่นแล้ว แต่งงานแล้ว และอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ฝ่ายชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรส แสดงว่าไม่มีเจตนาที่จะทำการสมรสถือว่าผิดสัญญาหมั่นของหมั่นย่อมตกเป็นสิทธิ์แก่ฝ่ายหญิง และ ย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและชื่อเสียงของหญิง ในการที่จะทำการสมรสใหม่ เพราะหญิงที่ผ่านการสมรสมีครอบครัวแล้วสภาพร่างกายย่อมแตกต่างจากหญิงสาวบริสุทธิ์ที่ไม่เคยผ่านการสมรสและมีครอบครัวมาแล้ว ทั้งการที่ฝ่ายชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยอาจทำให้คนภายนอกมองว่าฝ่ายหญิงมีอะไรบกพร่องหรือฝ่ายชายจึงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย ฝ่ายหญิงจึงมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทนจากฝ่ายชายได้ แม้ว่าฝ่ายหญิงมีเจตนาจะไปสมรสใหม่ก็ตามก็เป็นคนละเรื่องกัน เพราะเมื่ออยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสถือไม่ใช่คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายหญิงย่อมมีสิทธิ์ที่จะทำการสมรสใหม่อีกครั้งได้ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาเมื่อทำมาหาได้ร่วมกันจึงต้องแบ่งกันคนละครึ่งโดยถือเป็นเจ้าของร่วมกัน(ซึ่งมีคำพิพากษาฏีกา ๓๗๒๕/๒๕๓๒,๖๘๔/๒๕๐๘,๒๐๑๓/๒๕๒๓ตัดสินรองรับไว้) เมื่อเป็นเจ้าของร่วมกัน ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๕๗ ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของมีส่วนเท่ากัน ดังนั้น เมื่อเลิกกันจึงต้องแบ่งคนละครึ่ง แต่เมื่อไม่ใช่สามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส การที่ฝ่ายหญิงเลิกกับฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิ์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากฝ่ายชายตาม ได้
๑๓..ตกลงสมรสกันโดยไม่มีการหมั่น อยู่นอกกรอบที่กฎหมายกำหนด แม้ผิดสัญญาก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเมื่อไม่มีการหมั่นก็ไม่มีการผิดสัญญาหมั่น ไม่มีการผิดสัญญาหมั่นก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้
๑๔.ทำสัญญาว่าให้ฝ่ายชายจดทะเบียนสมรสกับฝ่ายหญิง หากไม่ยอมจดทะเบียนถือผิดสัญญา ต้องใช้ค่าเสียหาย ข้อสัญญานี้ไม่ใช่สัญญาหมั่น เพราะไม่มีการมอบของหมั่นให้ฝ่ายหญิง เมื่อไม่ใช่สัญญาหมั่น เมื่อมีการผิดสัญญาก็ ไม่อาจบังคับได้ ทั้งยังเป็นสัญญาบังคับให้ทำการสมรส(คือจดทะเบียนสมรส) ซึ่งแม้จะมีการหมั่น ศาลก็ยังไม่สามารถบังคับให้จดทะเบียนสมรสได้ ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๓๘ หรือมีมีข้อกำหนดให้มีเบี้ยปรับเมื่อมีการผิดสัญญาหมั่น เบี้ยปรับดังกล่าวก็ยังตกเป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาดังกล่าวจึงเป็น สัญญาที่ทำขัดความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะเป็นสัญญาบังคับให้คนจดทะเบียนสมรสหากไม่จดทะเบียนสมรสต้องใช้ค่าเสียหายจึงเป็นสัญญาที่ใช้บังคับไม่ได้ตกเป็นโมฆะ
๑๕.บันทึกที่พนักงานสอบสวนทำให้ชายหญิงลงชื่อไว้และแนะนำให้ไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้อง ไม่ใช่สัญญาหมั่นเพราะการหมั่นต้องมีการส่งมอบของหมั่นเพื่อจะมีการสมรสในภายหลัง เมื่อไม่มีการมอบของหมั่นให้กันไม่ใช่สัญญาหมั่น ทั้งสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีข้อกำหนดว่าหากผิดสัญญาแล้วต้องใช้ค่าเสียหายนั้น หรือแม้จะมีข้อกำหนดดังกล่าว(ข้อกำหนดว่าผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสแล้วต้องใช้ค่าเสียหาย) ข้อกำหนดนี้ก็ขัดความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีงามของประชาชน จะนำสัญญานี้มาบังคับให้อีกฝ่ายใช้ค่าเสียหายไม่ได้ การที่นำสัญญามาฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายแสดงไม่มีเจตนาสมรสกันแต่อย่างใด เพียงอยากได้ค่าเสียหาย ซึ่งตามกฎหมายศาลไม่สามารถบังคับให้คนสมรส(จดทะเบียนสมรส)กันได้
๑๖.สมรสตามประเพณีตกลงว่าหากหญิงสำเร็จการศึกษาแล้วจะจดทะเบียนสมรส เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรส แสดงว่าไม่มีเจตนาที่จะทำการสมรสกันมาแต่แรกเพราะปล่อยเวลาให้เนิ่นช้าไปจนจบการศึกษา หากมีเจตนาที่จะทำการสมรสกันตามกฏหมาย ก็ต้องดำเนินการจดทะเบียนภายในเวลาอันควรหลังจากแต่งงานหรือทำการหมั่นกันแล้วไม่ใช่ปล่อยเวลาให้เนินนานออกไป การที่หญิงต้องเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันท์สามีภรรยากับชาย เป็นความสมัครใจ ไม่ได้เกิดจากกากรกระทำละเมิดของฝ่ายชาย เพราะความยินยอมไม่เป็นละเมิด การที่หญิงยอมให้ชายร่วมประเวณีไม่ได้เกิดจากการขมขืนกระทำชำเราแต่อย่างใด การไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสไม่ใช่การการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ หรือกระทำการโดยจงใจให้ฝ่ายหญิงได้รับความเสียหายต่อร่างกาย อนามัย หรือชื่อเสียงของฝ่ายหญิง อันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อหญิง เพราะการจดทะเบียนสมรสหรือไม่ต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจ ศาลเองก็ยังไม่มีอำนาจบังคับให้ไปจดทะเบียนสมรสกันได้ ดังนั้น การไม่ยอมจดทะเบียนสมรสจะถือว่าเป็นการกระทำละเมิดไม่ได้ และไม่เป็นการใช้สิทธิ์ที่จะเกิดความเสียหายแก่หญิงที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ ป.พ.พ. มาตรา ๔๒๐,๔๒๑,๑๔๓๘

ไม่มีความคิดเห็น: