ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

"บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ"

โจทก์บอกเลิกสัญญเช่าซื้อเพราะจำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ สัญญเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องจากการเลิกสัญญา การที่ในสัญญาเช่าซื้อระบุว่า แม้ต่อไปภายหน้าแม้สัญญาเลิกกันผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รถคืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นข้อแตกต่างจากกฏหมาย แต่เมื่อไม่ใช่กฏหมายเกี่ยวความสงบเรียบร้อยย่อมมีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ และเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ คำพิพากษาฏีกา ๑๔๙๐/๒๕๔๘
ข้อสังเกต ๑.เมื่อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว เช่าซื้อระงับ ไม่อาจบังคับตามสัญญาเช่าซื้อได้ ข้อตกลงที่ยังให้ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนจนกว่าผู้ให้เช่าซื้อได้รถคืนหรือวันบอกเลิกสัญญา ดูแล้วก็เป็นการเอาเปรียบเพราะเมื่อเช่าซื้อระงับ ผู้ให้เช่าซื้อสามารถเข้าครอบครองรถที่ให้เช่าซื้อได้และบรรดาเงินที่ได้ชำระค่าเช่าซื้อไปแล้วให้ริบเป็นของผู้ให้เช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๔ กลายเป็นว่าผู้ให้เช่าซื้อได้รถคืน ได้เงินที่ชำระค่าเช่าซื้อไปแล้วและยังจะได้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังค้างอยู่อีกซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้เช่าซื้อ ศาลจึงมองว่าข้อสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้
๒.ข้อสัญญาที่ตกลงยกเว้น ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๔ ไม่ตกเป็นโมฆะ เพราะมาตราดังกล่าวไม่ใช่กฏหมายเกี่ยวความสงบจึงสามารถทำข้อตกลงต่างจากบทบัญญัติในกฏหมายดังกล่าวได้
๓. ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๔ บัญญัติในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อระงับเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ เงินค่าเช่าซื้อที่ได้จ่ายไปแล้วให้ตกเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อสามารถเข้าครอบครองรถที่ให้เช่าซื้อได้ ดังนั้นข้อสัญญาที่ให้เรียกค่าเช่าซื้อที่เหลือ เป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดความสงบเรียบร้อย จึงสามารถใช้บังคับได้ไม่ตกเป็นโมฆะ แต่บังคับในฐานะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้
๔.การเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อยังไม่โอนเป็นของผู้เช่าซื้อ ดังนั้นหากผู้เช่าซื้อนำไปขายให้บุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าซื้อไม่ยินยอม เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์

ไม่มีความคิดเห็น: