ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“แก๊งcall center”

ผู้เสียหายยืนยันว่า ถูกกลุ่มคนร้ายแก๊งcall center โทรศัพท์ไปหลอกลวงผู้เสียหาย โดยคนแรกอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหลอกผู้เสียหายว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต แล้วโอนสายให้พวกคนที่สองอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ DSI จะช่วยเหลือตรวจสอบให้ แล้วให้ผู้เสียหายนำสมุดบัญชีธนาคารไปทำบัตรATMใหม่ แล้วให้นำบัตรATM ดังกล่าวไปทำรายการโดยให้กดรหัสโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายจำนวน ๑๙๙,๙๘๘ บาท เข้าบัญชีผู้ต้องหาที่ ๑ แล้วผู้ต้องหาที่ ๒ ได้ถอนเงินออกจากบัญชีผู้ต้องหาที่ ๑ แล้วพากันหลบหนี อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๕ สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ ๑ และ ที่ ๒ ฐานฉ้อโกง สั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ ๑ ที่ ๒ ฐาน ร่วมกันฉ้อโกงด้วยการแสดงตนเป็นคนอื่น ร่วมกันใช้บัตรอีเล็คทรอนิคที่ออกให้แก่ผู้มิสิทธิ์ใช้ประโยชน์ ในการใช้เบิกเงินสดในประการที่น่าเกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือประชาชน รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการโดยให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า พฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้งสองกับพวกเป็นลักษณะกระบวนการหลอกลวงประชาชนที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน โดยกลุ่มคนร่ายจะสุ่มโทรศัพท์ไปยังหมายเลขต่างๆซึ่งผู้ถูกหลอกลวงหลงเชื่อบ้าง ไม่หลงเชื่อบ้าง ผู้เสียหายเป็นเพียงรายหนึ่งที่ถูกหลอกลวงให้โอนเงิน แม้จะตรวจสอบไม่ได้ว่า ผู้ใดถูกหลอกลวงไปบ้าง รับฟังได้ว่า เป็นการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนด้วยการแสดงตนเป็นคนอื่น ไม่จำต้องสั่งสอบสวนเพิ่มเติมตามความเห็นของรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาที่ ๑ และชี้ขาดควรสั่งฟ้องชายตามภาพกล้องวงจรปิด ผู้ต้องหาที่ ๒ ฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ให้ผู้ต้องหาทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืน ๑๙๙,๙๘๘บาทแก่ผู้เสียหาย ให้แจ้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจัดการให้ได้ตัวผู้ต้องหาที่ ๒ มาฟ้องภายในอายุความ ๑๕ ปี นับแต่วันกระทำผิด ชี้ขาดความเห็นแย้ง ๑๖๕/๒๕๕๕
ข้อสังเกต ๑. ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ต้องส่งสำนวนให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณานั้น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจเพียงอย่างเดียวคือเห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง หรือมีความเห็นแย้ง(คือไม่เห็นด้วย)กับคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการเท่านั้น การที่ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการโดยให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม จึงเป็นการออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายเพราะ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีกฏหมายรองรับและให้อำนาจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสามารถทำการสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ จึงต้องพิจารณาตามท้องสำนวนว่ากรณีนี้ควรสั่งอย่างไร
๒.บัตรATMเป็นวัตถุที่มีรูปลักษณะที่ธนาคารผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้เสียหายที่เป็นลูกค้าธนาคาร โดยมีบันทึกข้อมูลหรือรหัสด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอีเล็คตรอนไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีการทางแม่เหล็กหรือวิธีการอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน ทำให้ปรากฏความหมาย ตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตรหรือสัญญาลักษณ์อื่นใด ทั้งที่สามารถมองเห็นได้และมองเห็นไม่ได้ บัตรATM จึงเป็นบัตรอิเล็คทรอนิคตามกฏหมาย
๓.การที่ผู้ต้องหาหลอกให้ผู้เสียหายนำสมุดบัญชีธนาคารไปทำบัตรATMใหม่ แล้วให้นำบัตรATM ดังกล่าวไปทำรายการโดยให้กดรหัสโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายจำนวน ๑๙๙,๙๘๘ บาท เข้าบัญชีผู้ต้องหาที่ ๑ แล้วผู้ต้องหาที่ ๒ ได้ถอนเงินออกจากบัญชี เป็นกรณีที่ผู้ต้องหากับพวกร่วมกันหลอกให้ผู้เสียหายถอนเงินจากในบัญชีของผู้เสียหายถือได้ว่าผู้ต้องหาทั้งสองร่วมกันใช้บัตรอีเล็คทรอนิคที่ออกให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้บัตรดังกล่าวในการเบิกถอนเงินสด แม้ผู้ต้องหาทั้งสองจะไม่ได้เป็นคนไปกดเงินเอง แต่การที่หลอกให้ผู้เสียหายไปกดเงินเป็นการหลอกผู้เสียหายซึ่งเป็น INNOCENCE PERSON ให้กระทำการแทนตน จึงต้องถือว่าการกระทำของผู้ต้องหาทั้งสองที่หลอกใช้ให้ผู้เสียหายไปกดเงินเป็นการกระทำของผู้ต้องหาทั้งสอง การกระทำของผู้ต้องหาทั้งสองจึงมีความผิดฐาน ร่วมกันใช้บัตรอีเล็คทรอนิคที่ออกให้แก่ผู้มิสิทธิ์ใช้ประโยชน์ ในการใช้เบิกเงินสด ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ผู้อื่น หรือประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา๒๖๙/๕,๒๖๙/๗
๔.การที่ผู้ต้องหาทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหาย โดยคนแรกอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหลอกผู้เสียหายว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต แล้วโอนสายให้พวกคนที่สองอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ DSI จะช่วยเหลือตรวจสอบให้ เป็นกรณีที่ผุ้ต้องหาทั้งสองหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความเท็จว่าด้วยการแสดงตนว่าตนเป็นบุคคลอื่นโดยหลอกลวงว่าตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารและเป็นเจ้าหน้าที่ DSI ซึ่งความจริงแล้วผู้ต้องหาทั้งสองไม่ใช่เจ้าหน้าที่ธนาคารและเจ้าหน้าที่ DSI และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายนำสมุดบัญชีธนาคารไปทำบัตรATMใหม่ แล้วให้นำบัตรATM ดังกล่าวไปทำรายการโดยให้กดรหัสโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหาย ผู้ต้องหาทั้งสองจึงได้เงินจากผู้ต้องหาทั้งสองไปโดยเจตนาทุจริตโดยแสวงหาผลประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหับผู้ต้องหาทั้งสอง การกระทำของผู้ต้องหาจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น
๕. พฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้งสองกับพวกเป็นลักษณะกระบวนการหลอกลวงประชาชนที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน โดยกลุ่มคนร่ายจะสุ่มโทรศัพท์ไปยังหมายเลขต่างๆซึ่งผู้ถูกหลอกลวงหลงเชื่อบ้าง ไม่หลงเชื่อบ้าง ผู้เสียหายเป็นเพียงรายหนึ่งที่ถูกหลอกลวงให้โอนเงิน แม้จะตรวจสอบไม่ได้ว่า ผู้ใดถูกหลอกลวงไปบ้าง แต่พฤติการณ์น่าเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวไม่ได้ทำเฉพาะผู้เสียหายรายเดียวเท่านั้นแต่ได้กระทำกับประชาชนอื่นโดยทั่วกัน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนด้วยการแสดงตนเป็นคนอื่น
๖.ชายตามภาพกล้องวงจรปิด ที่ไปกดเงิน แม้ไม่ทราบว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหนอย่างไร แต่เมื่อมากดเงินจากบัญชีผู้เสียหายไปน่าเชื่อว่าได้ร่วมกับผู้ต้องหาที่ ๑ ในการกระทำความผิด แม้ชายดังกล่าวจะไม่ทราบว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน แม้จะไม่รู้จักชื่อและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน แต่ก็มีลายละเอียดรูปพรรณตามที่ปรากฏในกล้องวงจรปิดที่สามารถออกหมายจับได้ ตาม ป.ว.อ. มาตรา ๖๗
๗.เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้อง พนักงานอัยการจะมีคำขอท้ายฟ้องให้ผู้ต้องหาทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวน ๑๙๙,๙๘๘บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายด้วย
๘.ผู้ต้องหาที่หลบหนี แจ้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจัดการให้ได้ตัว มาฟ้องภายในอายุความ ๑๕ ปี นับแต่วันกระทำผิด คำว่า “ จัดการให้ได้ตัว” ก็แล้วแต่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจำดำเนินการวิธีใดวิธีหนึ่งให้ได้ตัวมาไม่ว่าเป็นการขอศาลออกหมายจับหรือวิธีอื่นก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น: