ผู้ต้องหาเดินมาบอก นาย ก. ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกมาตรวจวัดแอลกอลฮอลในเลือดว่า " ไม่ต้องเป่า นั่งเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องสนใจพวกมัน มันทำอะไรเราไม่ได้หรอก" แล้วได้ปัดแขนสิบตำรวจเอก ร. ซึ่งกำลังถือเครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอลฮอลในเลือดและกางแขนกั้นยืนขวางไม่ให้มีการตรวจวัดแอลกอลฮอล สิบตำรวจเอก ร. พูดว่า "ตำรวจกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ อย่าเข้ามาใกล้ผู้ตรวจวัด" และได้กันผู้ต้องหาออกไป ผู้ต้องหาได้ใช้ตัว หน้าอก หัวไหล่แขน กระแทก ดันเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมพูดว่า " ไอ้พวกเหี้ยมึง ไม่ต้องเป่า เหี้ย สัตว์" และบอกห้ามไม่ให้นาย ก. เป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอลฮอลในเลือด และพยายามนำนาย ก.ออกจากโต๊ะที่ตรวจวัด พันตำรวจตรี ส.เดินเข้ามาจึงถูกผู้ต้องหาชี้หน้าพูดว่า " มึงไม่ต้องเข้ามาใกล้ๆกู อย่ามาถูกกู เดี๋ยวมึงเจอกู " สิบตำรวจเอก ร. จึงใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพผู้ต้องหา ผู้ต้องหาเข้าแย่งโทรศัพท์มือถือ สิบตำรวจเอก ร.กับดาบตำรวจ ส. เข้าร่วมจับกุมจึงถูกผู้ต้องหาคว้าข้อมือแล้วจับบิดข้อมือ เตะถีบ ผู้ต้องหาได้ด่าว่า " มึงกับกูต้องเจอกันอีกแน่ ไม่จบแค่นี้ ไอ้เหี้ย " เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ชี้ขาดให้ฟ้องและอนุญาตให้ฟ้องผู้ต้องหาฐาน ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ชี้ขาดความเห็นแย้ง ๑๐๕/๒๕๕๓
ข้อสังเกต ๑.คำพูดกับสิบตำรวจเอก ร.ว่า "ไอ้พวกเหี้ย มึงไม่ต้องเป่า เหี้ย สัตว์ "และข้อความว่า "มึงกับกูต้องเจอกันอีกแน่ ไม่จบแค่นี้ ไอ้เหี้ย" และพูดบอกนาย ก.ว่า "ไม่ต้องให้ไอ้พวกเหี่ยพวกนี้มันเป่าหรอก" คำว่า ไอ้พวกเหี้ย เหี้ย สัตว์ ไอ้เหี้ย " เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามสิบตำรวจเอก ร.ซึ่งกำลังกระทำการตามหน้าที่(เทียบคำพิพากษาศาลฏีกา ๔๔๕/๒๕๒๒)
๒.ใช้คำว่า " ชี้ขาดให้ฟ้องและอณุญาตให้ฟ้อง" เพราะความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานต่อสู้ขัดเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท ทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งความผิดทั้งสองฐานอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแขวง จึงต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาทำหนด หากไม่สามารถฟ้องได้ภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด ไม่สามารถฟ้องได้ ต้องได้รับอนุญาติให้ฟ้องจากอัยการสูงสุด กรณีนี้จึงเป็นทั้งการ "ชี้ขาดให้ฟ้องและอนุญาตให้ฟ้อง"
๓.การที่ผู้ต้องหาบอกนาย ก.ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบว่า หย่อนความสามารถในการขับขี่หรือเมาสุราหรือเสพสิ่งเสพติดหรือไม่ เป็นการ ก่อ ใช้ บังคับ ยุยงส่งเสริม หรือกระทำด้วยวิธีการใด ให้นาย ก. ไม่ยอมเป่าเครื่องตรวจวัดแฮลกอฮอล จึงเป็นการใช้ให้นาย ก. ไม่ยอมให้หน้าที่ทำการตรวจสอบหย่อนความสามารถในการขับขี่ ตาม ป.อ. มาตรา ๘๔ พราจรทางบกฯ มาตรา ๑๔๒และ ๑๕๔ ระวางโทษปรับครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐บาท แล้ว
๔.การใช้ลำตัว หน้าอก ไหล่แขน กระแทก หักข้อมือ เตะถีบ เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตาม ป.อ. มาตรา ๓๙๑ ซึ่งเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าความผิดฐานทำร้ายร่างกายไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจจึงต้องลงโทษตามความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการกระทำการตามหน้าที่ แต่การกระทำดังกล่าวไม่ใช่ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตาม ป.อ. มาตรา ๒๙๕ จึงไม่อาจเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามห้าที่ตาม ป.อ. มาตรา ๒๙๕และ ๒๙๖ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น