การกระทำอนาจารแก่ผู้อยู่ในควบคุมตามหน้าที่ราชการ นั้น หมายถึงผู้กระทำความผิดมีหน้าที่ควบคุมตามหน้าที่ราชการ และผู้ถูกกระทำอยู่ในความควบคุมด้วย การที่ข้าราชการผู้น้อยอยู่ในบังคับบัญชาอธิบดีในการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น หาใช่อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่ง ป.อ. มาตรา ๒๘๕ไม่ คำพิพากษาฏีกา ๒๔๕๓/๒๕๑๕
ข้อสังเกต ๑.อธิบดีกระทำอนาจารแก่ลูกน้อง ไม่ใช่การกระทำอนาจารแก่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ ตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๕ เป็นเพียงการกระทำอนาจารธรรมดาเท่านั้น จึงไม่ต้องระวางโทษหนักกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๑ ใน ๓ และเป็นความผิดต่อส่วนตัวที่สามารถยอมความได้
๒. หากเป็นการกระทำตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๕ เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ และต้องระวางโทษหนักกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๑ ใน ๓
๓.การกระทำตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๕ ใช้ทั้งการขมขืนและการกระทำอนาจาร
๔.ผู้ถูกกระทำตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๕ คือ ผู้สืบสันดาน ศิษย์ที่อยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ ผู้ที่อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์ หรือในความอนุบาล ดังนั้น ผู้ที่ทำความผิด คือ บิดา มารดา ครู อาจารย์ พนักงานฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์
๔.ผู้มีหน้าที่ควบคุมตามหน้าที่ราชการ เช่น พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ คุมตัว ควบคุม ขังหรือกักขัง ผู้ถูกจับในระหว่างสืบสวน สอบสวน โดยเฉพาะ ผู้ถูกจับหรือควบคุมตัว ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน หรือ ขัง หรือ จำคุก โดยหมายศาล หรือควบคุมตามหน้าที่ราชการในกรณีอื่นด้วย เช่น ควบคุมในฐานะอันธพาล ดังนั้นหากพัสดีเรือนจำ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขมขืนหรือกระทำอนาจารแก่ผู้ต้องขังในความรับผิดชอบของตน ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นอีก ๑ ใน ๓ และเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ แม้ตามปกติจะสามารถยอมความได้ก็ตาม แต่ ป.อ. มาตรา ๒๘๑และ ๒๘๕ บัญญัติให้การกระทำดังกล่าวยอมความไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น