- เมาสุราใช้มีดยาว ๑ คืบ แทงเปะปะไปโดยไม่ได้เลือกเป็นที่ฬด และแทงถูกท้องผู้ตายเพียงทีเดียว ถือไม่มีเจตนาฆ่า ผิดฐานทำร้ายร่างกายและฆ่าโดยไม่เจตนา(คำพิพากษาศาลฏีกา ๒๔๘๗/๒๕๒๙)
- ใช้มีดพับเล็กๆแทงใต้กระดูกซี่โครงซ้าย ๒ แผล ทะลุเข้าช่องท้อง ในเวลาเมาสุรา แม้ความเมาแก้ตัวให้พ้นความรับผิดไม่ได้ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีเจตนาฆ่า ผิดทำร้ายร่างกายไม่ใช่พยายามฆ่าโดยเจตนา(คำพิพากษาศาลฏีกา ๒๒๘/๒๔๙๘)
- กดคอผู้เสียหายจนนอนคว่ำ จับแขนผู้เสียหายยกขึ้นชักมีดแทงที่ชายโครง ๑ ที แทงแล้วปล่อยไม่ได้แทงซ้ำ ผู้เสียหายตกจากเรือน ก็ไม่ได้ตามไปทำร้ายอีก มีเพียงเจตนาทำร้ายไม่ได้มีเจตนาฆ่า(คำพิพากษาศาลฏีกา ๑๑๐/๒๕๑๓)
- มีโอกาสเลือกแทงได้ แต่เลือกแทงที่ขาซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่น่าทำให้ถึงแก่ความตาย และแทงเพียงทีเดียว มีเจตนาทำร้ายเท่าน้น เมื่อผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตายก็เป็นความผิดเพียงฆ่าคนโดยไม่เจตนา(คือทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย) คำพิพากษาศาลฏีกา ๖๕๙-๖๖๐/๒๕๐๓)
- แสงไฟขมุกขมัวไม่เห็นกันถนัด ไม่มีโอกาสที่จะเลือกทำหรือกำหนดได้ว่าจะแทงไปถูกตรงไหนของร่างกายถือไม่มีเจตนาฆ่า(คำพิพากษาศาลฏีกา๒๐๕/๒๕๑๐)
- กระสุนปืนที่ใช้ยิงไม่ได้บรรจุเม็ดตะกั่ว บรรจุเฉพาะดินปืนอัดด้วยกระดาษ จำเลยทราบดีว่าไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายแก่กาย ถือไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่า(คำพิพากษาศาลฏีกา๙๕๐/๒๕๕๒)
- ใช้ปืนยิงมาที่บ้านผู้เสียหายทั้งสองในระยะ ๑๔ เมตร โดยเล็งปากกระบอกปืนไปที่ตัวบ้าน ไม่ได้เล็งปากกระบอกปืนไปที่ผู้เสียหายทั้งสองหรือบุคคลใดในบ้าน พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าไม่ได้มีเจตนาฆ่า(คำพิพากษาศาลฏีกา๘๗๔๓/๒๕๕๐)
- ใช้ปืนยิงไปที่พื้นดินในขณะที่ผู้เสียหายกำลังเดินมา ห่างกัน ๒ วา เล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายได้ ปรากฏว่ากระสุนปืนถูกที่ขาผู้เสียหายบาดเจ็บ ถือมีเจตนาทำร้าย(คำพิพากษาศาลฏีกา๒๒๓/๒๕๓๗)
- ยิงปืนจนกระสุนหมดลูกโม้ แต่ยิงทีละนัด พยายามยิงพื้นในระดับต่ำเพื่อไม่ให้ถูกอวัยวะสำคัญของผู้เสียหาย บาดแผลที่ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับอยู่ในระดับต่ำกว่าเอวลงมา คงมีเพียงผู้เสียหายที่ ๓ ได้รับบาดแผลที่หลังเมื่อนอนหมอบลง แสดงว่าไม่ได้มีเจตนามุ่งหมายให้ได้รับอันตรายถึงชีวิต ไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ ลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย(คำพิพากษาศาลฏีกา ๑๓๓๖/๒๕๕๓)
- จำเลยเหน็บปืนพกที่เอวอยู่แล้ว ตามผู้เสียหายออกมาที่รถดึงประตูด้านคนขับจนเปิด จำเลยมีโอกาสที่จะชักอาวุธปืนที่เหน็บออกมายิงผู้เสียหายซึ่งสามารถฆ่าผู้เสียหายได้โดยง่าย แต่จำเลยไม่ทำ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายมาแต่แรก จำเลยจึงไม่ชักปืนยิงทั้งที่มีโอกาส แต่เมื่อผู้เสียหายขับรถออกไป จำเลยได้ยิงปืนตามหลังรถ กระสุนถูกที่ตัวถังรถที่ฝากระกระบะท้าย ๑ นัด ถูกที่ตัวถังด้านข้าง ๑ นัดเกือบจะถึงขอบรอยต่อกับส่วนห้องโดยสารด้านหน้าที่เรียกว่า " แคป" รูกระสุนที่ฝากระบะท้ายต่ำกว่าขอบบนกระบะ ๑๒ เซ็นติเมตร และรอยที่ตัวถังด้านข้างต่ำกว่าขอบกระบะ ๑๔ เซ็นติเมตร ถือได้ว่าอยู่ในแนวเดียวกัน เหนือขอบกระบะเป็นโครงหลังคาและกระจก โอกาสที่กระสุน ๒ นัดจะยิงถูกผู้เสียหายแทบไม่มี หากจำเลยต้องการให้กระสุนถูกผู้เสียหายต้องยิงผ่านกระจก เพราะกระสุนทะลุกระจกได้ง่ายพอที่จะมีโอกาสไปถูกผู้เสียหายได้ แต่จำเลยยิงระดับเดียวกันทั้งสองนัดที่ตัวถังรถ น่าเป็นการตั้งใจยิงรถที่ตัวถังรถเพื่อระบายความโกรธ พฤติการณ์ที่ยิงปืนพก ๒ นัด ไม่พอชี้ว่ามีเจตนาฆ่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ พิจารณาว่า วิถีกระสุนอยู่ในระดับเดียวกับที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ในรถ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำของตนเองว่ากระสุนอาจถูกผู้เสียหาย ไม่ต้องด้วยความเห็นศาลฏีกา พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องในข้อหาพยายามฆ่า(คำพิพากษาศาลฏีกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น