ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๘๔ - ๘๙

มาตรา 84 ผู้ใด ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็น ผู้ใช้ให้กระทำความผิด

ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ถ้าความผิดมิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำ หรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

- หลักเกณฑ์ (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 /2546 น 586)

- ต้องมีการกระทำอันเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด

- ต้องมีเจตนาก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด

- ต้องมีผล คือมีการกระทำผิดตามที่ผู้ใช้ได้ก่อให้กระทำผิด

- ต้องมีการกระทำอันเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ( อ เกียรติขจรฯ 8/587)

- การก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด หมายถึง การกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นตกลงใจกระทำความผิด / หากผู้กระทำ มีเจตนาอยู่ก่อนแล้ว ก็ไม่อาจจะมีการก่อให้กระทำผิดได้ แต่อาจเป็นการสนับสนุน

- ต้องมีเจตนาก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ( อ เกียรติขจรฯ 8/591)

- เจตนาประสงค์ต่อผล ก่อให้กระทำผิด / จ้างให้ไปฆ่าคน

- เจตนาย่อมเล็งเห็นผล ก่อให้กระทำผิด / ไล่แทงนาย ข ในซอย ซึ่งเล็งเห็นได้ว่า นาย ข ต้องหนีเข้าบ้านนาย ค ถือว่าก่อให้นาย ข บุกรุกบ้านนาย ค โดยเล็งเห็นผล

- หากผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ต้องมีผลจากการก่อของผู้ใช้ คือมีการกระทำผิดโดยเจตนา ตามที่ผู้ใช้ได้ก่อให้กระทำผิด (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 /2546593)

- ผู้ถูกใช้ต้องมีการกระทำ (คิด ตกลงใจ ลงมือ) และต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา (ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท และกรณีไม่มีเจตนา เนื่องจากไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด)

- การกระทำของผู้ถูกใช้ (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 /2546/ 596)

- หากการกระทำของผู้ถูกใช้ ไม่เป็นความผิด เพราะขาดองค์ประกอบภายนอก ไม่ถือว่าเป็นการใช้

- ก ยุให้ ข ฆ่าตัวตาย ไม่เป็นผู้ใช้

- หากการกระทำของผู้ถูกใช้ ไม่เป็นความผิด เพราะมีกฎหมายยกเว้นความผิด ไม่ถือเป็นการใช้ แม้จะมีเจตนาก็ตาม

- ก เห็น ข กำลังลอบยิง ค / ก อยากให้ ข ตาย จึงรีบบอก ค / ค ยิงป้องกัน ข ตาย / ก ไม่ผิด

- หากผู้ถูกใช้ กระทำโดยมีเจตนาแล้ว แต่มีกฎหมายยกเว้นโทษ ถือเป็นการใช้ แล้ว

- หากผู้ถูกใช้ ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ลงมือกระทำผิดได้ ก็ไม่ใช่การใช้

- อ เกียรติขจรฯ ถือว่าผู้ที่ใช้ให้บุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติที่จะกระทำความผิด ไปกระทำความผิด เป็นผู้กระทำผิดทางอ้อม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2907/2526 จำเลยเป็นปลัดเทศบาล ใช้ให้ พ. แก้ไขสาระสำคัญของมติของสภาในรายงานการประชุมที่ ส.ทำขึ้น โดยจำเลยไม่มีอำนาจแก้ไขได้โดยพลการ ผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารตาม ป.อ.ม.265 ประกอบด้วย ม.84 จำเลยกระทำผิดในขณะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารนั้น จึงมีความผิดตาม ม.161 อีกบทหนึ่ง

- ใช้ผู้ที่การกระทำ ไม่เป็นความผิด เพราะขาดองค์ประกอบ (อ เกียรติขจร ฯ 8/121)

- แดงจำนำแหวนไว้ ใช้ให้เหลืองไปทำลาย / เหลือง เป็น IA ไม่ผิด ม 349 เพราะไม่ใช่แหวนที่เหลืองจำนำไว้กับผู้อื่น แต่ผิด ม 86+349 ส่วนแดงเป็นผู้กระทำผิดทางอ้อม

- บังคับหรือหลอกให้ผู้เสียหาย ทำต่อตัว ผู้เสียหายเอง (อ เกียรติขจร ฯ 8/123)

- ผู้ที่ขู่ หรือหลอก ให้ผู้อื่นดื่มยาพิษ เป็นผู้กระทำผิดโดยทางอ้อม


- ผู้ใช้ โดยก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 679680/2471 (อ พิพัฒน์ ฎีกาสำคัญ 152) สิบตำรวจ จำเลยที่ 1 พลตำรวจ จำเลยที่ 2 และ 3 ไปจับผู้เล่นการพนัน แล้ววันรุ่งขึ้นกลับไปอีก เพื่อยึดของกลาง นายแพ ไม่ยอมให้ยึดของกลาง เกิดต่อสู้กัน ผลที่สุดนายแพวิ่งหนี จำเลยทั้งสามวิ่งตาม จำเลยที่ 2 สกัดหน้าไว้ นายแพ หันกลับมาทางจำเลยที่ 1 และ 3 จำเลยที่ 1 ร้องว่า พวกเรายิง จับเป็นไม่ได้ ให้จับตายแล้วจำเลยที่ 2 ยิงปืนไป 1 นัด ในระยะใกล้ ถูกนายแพที่ทรวงอกสิ้นสติ พฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีเหตุผลอันสมควรที่ต้องใช้ปืนยิง จำเลยที่ 2 กระทำลงไปโดยคำยุยงของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และ 2 มีความผิดฐานพยายามฆ่า ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่มีความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 363/2518 โจทก์เช่าบ้านของ ส.ต่อมาถูก ส.ฟ้องขับไล่ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาขับไล่โจทก์ แต่โจทก์มิได้รับทราบคำบังคับของศาลที่ให้โจทก์ออกจากบ้านใน 1 เดือน โจทก์ฎีกา ระหว่างฎีกาโจทก์ไปต่างจังหวัดใส่กุญแจบ้าน และฝากเพื่อนบ้านให้ดูแล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ส.ให้จำเลยที่ 2 ตัดหูร้อยกุญแจบ้านออก และให้จำเลยที่ 2 เข้าไปอาศัยในบ้าน เมื่อโจทก์ยังไม่ทราบคำบังคับ โจทก์ก็ยังมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาท ซึ่งโจทก์ยังครอบครองอยู่ จำเลยเป็นผู้ใช้ให้บุกรุกตามมาตรา 362,84 โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3566/2528 จำเลยและ อ.อยู่ในกลุ่มคนที่ส่งเสียงเอะอะโวยวาย จำเลยร้องสั่งให้ อ.ยิง ไม่ได้ความว่าทั้งสองคนมีความประสงค์ฆ่าผู้เสียหาย การที่ อ.ถือปืนหมุนไปรอบ ๆ ตัวในกลุ่มคน และยิงปืนขึ้นเป็นเหตุให้กระสุนไปถูกผู้เสียหาย อ. ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ จึงเป็นการกระทำโดยเจตนา ส่วนจำเลยนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด โดยการใช้ให้ อ.ใช้ปืนยิงผู้เสียหายโดยเจตนา แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นแต่ยุยงส่งเสริมให้ อ.ยิง ดังนี้ เป็นเรื่องข้อแตกต่างในรายละเอียด มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ในข้อสาระสำคัญ จำเลยมีความผิด ฐานเป็นผู้ใช้โดยยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำความผิด ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ. ม.288 ,80 ,84

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3611/2528 จำเลยได้ใช้ให้ ส.ฆ่า ว.ผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยมอบอาวุธปืนของกลางให้ ส.นำไปหาโอกาสยิง ว. แม้ ส.ยังมิได้กระทำผิด เพราะไม่มีโอกาสฆ่า ว. การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.289 (4) ประกอบกับ ม.84 วรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1729/2532 จำเลยที่ 1 ขายกัญชาให้กับผู้ล่อซื้อ ในขณะที่จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมิได้เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 จำหน่ายกัญชา การที่จำเลยที่ 2 บอกที่ซ่อนกัญชา และสั่งให้จำเลยที่ 1 ช่วยขายแก่ผู้มาซื้อ ถือได้ว่า เป็นการก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดอันเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ตาม ป.อ. มาตรา 84

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3196/2534 จำเลยรับมอบเอกสารของกลางและจ่ายเงินให้ผู้นำมาส่งมอบ โดยจำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ซึ่งแม้การที่จำเลยต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้นำมามอบ จะทำให้น่าเชื่อว่า จำเลยมิได้มีส่วนร่วมในการปลอมเอกสารและรอยตราในเอกสาร การกระทำของจำเลยเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ ตาม ป.อ. มาตรา 84 / ข้อเท็จจริงฟังว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 84 แต่ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยในฐานตัวการร่วมกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 83 จึงแตกต่างจากที่ปรากฏในทางพิจารณาในสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยฐานผู้ใช้ไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การกระทำของจำเลย ซึ่งยังถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลย ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ตาม ป.อ. มาตรา 86 ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2057/2535 จำเลยตะโกนว่า พ่อมันมาแล้ว เอามันเลย แล้ว ส. ได้ใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตาย ดังนี้จำเลยต้องมีความผิดฐานยุยงส่งเสริมให้นาย ส. ฆ่าผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 84 ประกอบด้วย มาตรา 288 / โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำผิด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ แตกต่างจากฟ้อง จึงลงโทษในความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิดไม่ได้ แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3044/2540 เหตุเกิดเพราะการที่จำเลยที่ 1 พยักหน้าและร้องว่าเอามัน แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าร่วมทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการยุยงส่งเสริม จึงเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างมาก ย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การร้องบอกของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 (จำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมทำร้ายด้วย จึงไม่เกลื่อนกลืนเป็นตัวการ)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6677/2540 อ. ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ตัดฟันต้นไม้ในที่พิพาท เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินที่ปลูกต้นไม้ดังกล่าว เป็นของมารดาจำเลยที่ 2 ซึ่งอนุญาตให้ตัดฟันได้ การที่จำเลยที่ 2 ทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ร่วม แต่จำเลยที่ 2 กลับอนุญาตให้ตัดฟันต้นไม้รายนี้โดยอ้างว่าเป็นของมารดาจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยวิธีอื่นใด จึงเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 (ศาลชั้นต้นยกฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าชัดว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่นหรือไม่ ) / (ขส พ 2546/7) วางข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 รู้แล้วยังรับจ้างตัด โดยผู้ว่าจ้างไม่รู้ แม้ไม่ถือว่าจำเลยที่ 2 ก่อให้ผู้ว่าจ้าง กระทำผิด “ด้วยการใช้ จ้าง หรือวาน” จึงไม่ใช่ผู้ใช้ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำผิด จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด “ด้วยวิธีอื่นใดแล้ว” )

- ไม่มีลักษณะของการใช้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5599/2530 จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ ด้วยข้อความอันมีมูลเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ แล้วหนังสือพิมพ์นำข้อความนั้นไปลงพิมพ์โฆษณา ดังนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวานหรือยุยงส่งเสริมให้หนังสือพิมพ์ไปลงพิมพ์ การที่หนังสือพิมพ์นำข้อความนั้นไปลงพิมพ์ จึงเป็นเรื่องของหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตาม มาตรา 328 (ศาลไม่ปรับว่า จำเลยก่อให้ผู้สื่อข่าว ลงข่าวหมิ่นประมาท โดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล)

- จุดที่เกิดความรับผิดของผู้ใช้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 392/2496 จำเลยใช้ให้คนผู้หนึ่งไปเป็นผู้ว่าจ้างคนอื่น ให้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ที่จำเลยโกรธเคืองให้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ เมื่อผู้ที่รับใช้รู้สึกสำนึกตัวกลัวความผิด ไม่ไปจ้างคนตามที่จำเลยใช้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยมิได้ใช้ให้ผู้นั้นกระทำความผิดด้วยตนเองโดยตรง เป็นแต่ให้ผู้นั้นหาจ้างคนมากระทำความผิดอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเท่ากับใช้ให้ผู้นั้นไปกระทำความผิดตามมาตรา 174 นั่นเอง จึงอยู่ในขั้นเตรียมการ ยังห่างไกลต่อผลมาก จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 174 วรรค 1

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2514 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 1 / นายสีใช้นายขำให้ไปจ้างนายจอนฆ่านายสงบ นายขำตกลงรับใช้นายสี แต่ต่อมาได้เปลี่ยนใจไม่ไปจ้างนายจอนตามที่ตกลงไว้ / การที่ผู้ใช้จะต้องรับโทษตามมาตรา 84 จะต้องมีการใช้ให้กระทำความผิดตามเจตนาของผู้ใช้เกิดขึ้นแล้ว การที่นายสีใช้ให้นายขำไปจ้างนายจอนฆ่าผู้อื่น ตราบใดที่นายขำยังไม่ได้ไปจ้างนายจอน ก็ยังไม่มีการใช้ให้กระทำความผิดเกิดขึ้น นายสีและนายขำจึงยังไม่ต้องรับโทษ จะถือว่าการที่นายสีใช้นายขำให้ไปจ้างนายจอน เป็นการที่นายสีใช้ให้นายขำกระทำความผิดแล้วไม่ได้ เป็นเพียงการตระเตรียมการใช้ให้นายจอนกระทำความผิดเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 392/2496)

- หากผู้ถูกใช้ ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ลงมือกระทำผิดได้ ก็ไม่ใช่การใช้

- อ เกียรติขจรฯ ถือว่าผู้ที่ใช้ให้บุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติที่จะกระทำความผิด ไปกระทำความผิด เป็นผู้กระทำผิดทางอ้อม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 668/2482 เจ้าพนักงานกับราษฎร จดข้อความเท็จลงในเอกสาร ตามมาตรา 162 (แก้ไขตาม ป อาญา) โดยราษฎรเป็นผู้จดข้อความ ให้เจ้าพนักงานลงชื่อ เจ้าพนักงานผิดมาตรา 162 แต่ผู้เดียว แม้ไม่ได้จดข้อความนั้น / เพียงแต่ให้ผู้อื่นจดข้อความเท็จลงไป แล้วจำเลยลงลายมือชื่อของตนไว้ในหนังสือนั้น ก็ต้องเป็นผิดตามมาตรา 230 ได้ อ้างฎีกาที่ 533-539/2481 , จำเลยจดข้อความเท็จลงในบันทึกแจ้งความรับสินบนนำจับ ยื่นว่าจำเลยเองเป็นผู้นำจับฝิ่นได้ ขอรับค่าสินบน แล้วนำไปยื่นต่อเจ้าพนักงานดังนี้ ยังไม่มีผิดฐานปลอมหนังสือ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2907/2526 จำเลยเป็นปลัดเทศบาล และเป็นเลขานุการสภาเทศบาล แต่ไม่อยู่ ประธานสภาฯ จึงแต่งตั้งให้ ส. ทำหน้าที่เลขานุการสภาแทน จำเลยใช้ให้ พ. แก้ไขสาระสำคัญของมติของสภาในรายงานการประชุมที่ ส.ทำขึ้น โดยจำเลยไม่มีอำนาจแก้ไขได้โดยพลการ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ จึงมีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารตาม ป.อ.ม.265 ประกอบด้วย ม.84 จำเลยกระทำผิดในขณะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารนั้น จึงมีความผิดตาม ม.161 อีกบทหนึ่ง เมื่อจำเลยนำเอกสารนั้นไปอ้างในการขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัด จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ม. 268 อีกกระทงหนึ่ง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2079/2536 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความ และรับรองเอกสารแบบ บ.ป.2 ซึ่งเป็นใบรับคำขอมีบัตร หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยกรอกข้อความและรับรองเอกสาร เป็นหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนไปแล้ว ความผิดตาม มาตรา 157, 162 (1) เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานเป็นผู้ใช้จ้างวานให้จำเลยที่ 2 กระทำผิดดังกล่าว ย่อมไม่สามารถรับโทษเสมือนเป็นตัวการได้จำเลยที่ 1 คงเป็นได้แต่เพียงผู้สนับสนุนการกระทำผิดเท่านั้น จึงต้องรับโทษเพียงเป็นผู้สนับสนุน

- กรณีผู้กระทำ ไม่มีเจตนากระทำผิด ถือว่าผู้หลอกให้กระทำผิด เป็นผู้ทำด้วยตนเอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 422/2475 ก ใช้ ข หามศพผู้ที่ถูกฆ่า ไปยังป่าช้า เพื่อปิดบังการตาย ข ไม่รู้ว่า ก ใช้ให้กระทำเพื่อปิดบังการตาย ขาดเจตนาพิเศษ ตาม ม 199 (แก้ไขตาม ป อาญา) ข ไม่มีความผิด แต่ ก มีความผิด ดุจกระทำด้วยตนเอง (จำเลยฆ่าเขาตายโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุแล้วจำเลยใช้เขาหามศพไปไว้ที่ป่าช้า มีผิดฐาน+ความตาย เพื่อว่าคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายลูกบ้านเอาศพไปไว้ที่ป่าช้าตามคำสั่งผู้ใหญ่บ้านไม่มีผิด ชัณสูตรพลิกศพ พ.ศ.2457 ม.5 นายใสจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ฆ่าเขาตายโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุแล้วนายใสจำเลยได้สั่งให้จำเลยอื่น ๆ ซึ่งเป็นลูกบ้านหามศพไปไว้ที่ป่าช้า จำเลยไม่ทราบว่านายใสเป็นผู้ฆ่าและเชื่อว่าคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาตัดสินว่า นายใสมีผิดตาม ม.197-64 และพ.ร.บ. ชัณสูตรพลิกศพ พ.ศ. 2457 ม. 5 ส่วนจำเลยอื่น ๆ ยังไม่มีผิดให้ปล่อยตัวไป)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1013/2504 จำเลยรู้ดีอยู่ก่อนแล้วว่า ที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย จำเลยยังจ้างคนให้เข้าไปขุดดินในที่พิพาทของผู้เสียหายจนเกิดเป็นบ่อ ทำให้ที่พิพาทเสียหาย เช่นนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำให้เสียหาย และฐานบุกรุกตาม มาตรา 358, 362

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2060/2521 ผู้ที่จะต้องถูกจับตามหมายจับมอบตัวต่อศาลมีประกันไป เหตุที่จะจับหมดไปแล้ว จำเลยเอาสำเนาหมายจับนั้นมาให้ตำรวจจับผู้นั้นอีก เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.310, 84 (ตำรวจไม่รู้ว่าหมายจับระงับแล้ว เป็นการสำคัญผิดตาม ม 62 ว่ามีอำนาจจับได้ตามหมายจับ ไม่ผิด เป็น innocent agent ตาม แนว อ เกียรติขจรฯ ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดทางอ้อม) (ขส เน 2525/ 9) ดำฟ้องขาว ฐานหมิ่นประมาท ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วประทับฟ้อง ขาวไม่ไปศาลตามนัด ศาลออกหมายจับขาว ต่อมาขาวเข้ามอบตัวต่อศาล และประกันตัวไป ดำทราบว่าขาวประกันตัวแล้ว แต่ต้องการให้ถูกจับ ได้รับความอับอาย จึงนำสำเนาหมายจับไปแสดงต่อตำรวจ ขอให้จับขาว ตำรวจจึงจับขาวส่งสถานีตำรวจแล้ว ต่อมาทราบว่าขาวได้ประกันตัวจากศาล ดำและตำรวจผิดฐานใด / ขาวได้รับประกันตัวแล้ว เหตุจับตามหมายจับหมดไป ตำรวจไม่มีเหตุจับขาวโดยชอบด้วยกฎหมาย ดำทราบดีแล้ว ยังจงใจใช้หมายจับ ให้ตำรวจจับขาวอีก ตำรวจต้องจับกุมตามหมายของศาล ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในดุลยพินิจของตำรวจ ดำผิด ม 310 (ไม่ปรับ ด้วยผู้ใช้ให้กระทำผิด ตาม ม 84 เพราะตำรวจ ไม่มีเจตนากระทำผิด) (ดำผิด ม 137 ด้วย) ตำรวจจับโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงตาม ม 62 ว่าเป็นการจับตามหมายจับที่ยังบังคับได้ ตำรวจไม่ผิดตาม ม 310)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2961/2522 (สบฎ เน 5868) จำเลยลักใบยาโดยใช้ ร. และ ก.ขนไป ร.ก.ไม่รู้ ไม่ได้ร่วมทำผิด จำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์ ไม่ใช่ใช้ให้ ร.ก.ทำผิด คำของ ร.ก.มีน้ำหนักให้รับฟังได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2030/2537 จำเลยใช้เด็กหญิง ป. ไปรับยาเสพติดให้โทษเฮโรอีน โดยเด็กหญิง ป. ไม่ทราบข้อเท็จจริง การที่เด็กหญิง ป. ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีน ก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเอง

- เปรียบเทียบ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและใช้เอกสารปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 466/2524 จำเลยปลอมเอกสารราชการและมอบให้ ส. ไปแล้ว ส. นำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจ โดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จึงเป็นเรื่องที่ส. กระทำไปโดยลำพังตนเอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้ ส. กระทำผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม ตาม ป.อ.ม.268 ประกอบด้วย ม.84

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1508/2538 จำเลยปลอมตั๋วเครื่องบิน แล้วมอบให้แก่ผู้มีชื่อในตั๋ว หรือมอบให้แก่ผู้อื่น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้มีชื่อในตั๋วต้องนำตั๋วไปใช้ในการเดินทาง ผิดฐานเป็นตัวการใช้ตั๋วเครื่องบินปลอม และถือว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงเจ้าของสายการบิน

- ผู้เสียหาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3842/2530 ในการขายสินค้าระหว่างบริษัทโจทก์ ผู้ขายกับองค์การ ท. ผู้ซื้อ บริษัทโจทก์ได้ตกลงยินยอมให้กำหนดจำนวนเงินที่จะเป็นค่าตอบแทน หรือค่านายหน้าให้แก่พนักงานขององค์การ ท. ที่ช่วยให้ขายสินค้าได้ เงินที่รับว่าจะให้นี้จึงเป็นเงินสินบน เมื่อการซื้อขายเสร็จบริบูรณ์จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายแทนบริษัทโจทก์ได้ทำหนังสือขออนุมัติจ่ายค่านายหน้า บริษัทโจทก์ได้อนุมัติให้จ่ายค่านายหน้าได้ อันเป็นการแสดงถึงเจตนาของบริษัทโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 1 นำเงินไปมอบให้แก่ผู้ช่วยเหลือให้ได้ทำสัญญาซื้อขาย การกระทำของบริษัทโจทก์ ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปกระทำความผิดตาม มาตรา 84 บริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องร้องได้


- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 84

- (ขส เน 2513/ 1) นายฉ่ำรับจ้างฆ่า พกอาวุธไปตามถนนหลวง เพื่อดักยิง แต่เกิดสงสารไม่ยิง ผู้ใช้ผิด ม 84 + 289 (4) รับโทษหนึ่งในสาม ตาม ม 84 2 / นายฉ่ำ ยังไม่ลงมือ ไม่เป็นการพยายามฆ่า ไม่ผิด ม 84+289 แต่ผิดพาอาวุธไปในทางสาธารณะ ม 371

- (ขส พ 2501/ 7) ผุดใช้ผาดไปฆ่าผิว โดยใช้ปืนยิง ผุดมอบปืนให้

- () ถ้าผาดสงสาร แกล้งยิงไม่ถูก / ผาดไม่มีเจตนาฆ่า ไม่ผิด แต่ผุดผิด ม 84 และ 288 (ดูประเด็น ม 289 (4) การกระทำของผู้ถูกใช้ ไม่ถึงขั้นลงมือ เพราะไม่มีเจตนาฆ่า ขณะกระทำ จึงไม่เป็นความผิด ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน , ผู้ใช้ให้ฆ่า จึงรับผิดฐานใช้ให้ฆ่าผู้อื่น โดยไม่ต้องรับผิดถึงขั้นใช้ให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน)

- () ผาดยิง กระสุนพลาดไปถูกกระบือ / ผาดผิด ม 288 และ 80 ผุด ผิด ม 84 วรรคสอง กระสุนถูกกระบือ ไม่ผิด ม 358 เพราะไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ (ไม่ถือเป็นการกระทำโดยพลาดตาม ม 60 เพราะวัตถุที่มุ่งหมายกระทำเป็นคนละประเภท เมื่อเจตนาฆ่า แต่เกิดผลคือความเสียหายแก่ทรัพย์ จึงถือว่าไม่มีเจตนาต่อทรัพย์)

- () ผาดไม่ยิง แต่ใช้มีดแทง / ผาดผิด ม 288 ผุดผิดเช่นกัน แม้ไม่ได้ยิงกันตามที่ใช้ ก็ยังเป็นการฆ่า ตามเจตนาที่ผุดจ้างให้ฆ่า (ความผิดอยู่ที่การใช้ให้ฆ่า / การใช้อาวุธผิดไปจากที่มอบหมาย ก็ยังคงเป็นการฆ่าตามเจตนาที่ใช้ให้ทำ ความรับผิดฐานใช้ให้ฆ่า จึงไม่เปลี่ยนแปลง)

- () หากก่อนยิงกัน ผุดไปห้ามไม่ให้ฆ่า / ผาดยังไม่ผิด ส่วนผุดผิด ม 84 (ดูประเด็น ม 88 หากผู้ถูกใช้กระทำถึงขั้นลงมือกระทำผิด แต่ผู้ใช้เข้าขัดขวาง ทำให้ผู้ถูกใช้กระทำไปไม่ตลอด ผู้ใช้รับผิดตาม ม 84 วรรคสองเท่านั้น / ในกรณีตามปัญหานี้ ผู้ถูกใช้ไม่ได้กระทำการถึงขั้นลงมือ จึงไม่ต้องนำ มาตรา 88 มาปรับ)

- (ขส พ 2529/ 8) ดำฟันสีแล้ว แดงร้องบอกว่าฟันให้ตาย ดำจึงฟันสีอีก ถึงตาย แดงมิได้ก่อให้ดำทำผิด เพราะดำลงมือแล้ว แต่เป็นคำยุยง อันเป็นการสนับสนุนในการที่ดำกระทำผิด แดง ผิด ม 288 + 86 382/2512 / ดำทำชู้กับสา ต่อมา สีทุบตีสา สาเรียกให้ดำช่วย ดำรัดคอสีตาย สาก็มิได้ขัดขวางไว้ แสดงว่าสารู้เห็นเป็นใจกับสี ตามที่ตนร้องขอความช่วงเหลือ สากำชับบุตรห้ามบอกใคร และหลอกเพื่อนบ้านว่าผัวเมียตีกัน ทั้งที่ดำกำลังทำร้ายสี เห็นเจตนาได้ชัดว่าทำเพื่อให้ความสะดวกในการที่ดำทำร้ายสี ผิด ม 288+86 1113-4/2508

- (ขส อ 2531/ 6) นำใบเสร็จไปคืน รพ ของราชการ ขอให้แก้ยอดเงินเพิ่ม เมื่อเบิกได้แล้วจะนำมาแบ่ง / จนท รพ ผิด ม 264+266 + 161 + 149 ยอมจะรับ / คนขอผิด ม 144+ ผู้ใช้ ม 264+266+84 (คนขอ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ขาดคุณสมบัติอันเป็นองค์ประกอบภายนอก ไม่อาจเป็นผู้ใช้ได้ จึงไม่สามารถเป็นตัวการได้ จะต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ม 86) + นำไปเบิก ม 268+341

- (ขส อ 2542/ 3) จ้างไปฆ่า ม 289 (4) + 84 คนจ้างปัดปืน ม 88 (ผู้ใช้รับ 1/3 ของ ม 289 (4)) คนยิง 1 289+80 แต่ยับยั้งเอง ม 82 (ลักษณะตัวการยังไม่ขาดตอนเลย ไปด้วยกัน) คนยิง 2 ถูกปัดปืน ม 289+80 กระสุนถูกทรัพย์ ไม่ผิด ม 358 ไม่มีเจตนา / ผู้สนับสนุน ม 289+86 รับโทษ 2/3

- (ขส อ 2542/ 6) สินสมรส ชื่อของสามี คดีฟ้องหย่า พิพากษาให้แบ่งที่ดิน สามีขายไป ผิด ม 352 +187+90 / คนแนะนำให้ขายและซื้อเอาไว้ ผิด ม 352+187+86 (น่าจะ ม 84 และเกลื่อนกลืนเป็นตัวการ ม 83) +357+90 / เมียน้อยรับเงินจากสามีโดยรู้ ไม่ผิด ม 3571 ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาโดยตรง

มาตรา 85 ผู้ใด โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดนั้น และความผิดนั้นมีกำหนดโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือน ผู้นั้นต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

ถ้าได้มีการกระทำความผิด เพราะเหตุที่ได้มีการโฆษณาหรือประกาศตามความในวรรคแรก ผู้โฆษณาหรือประกาศต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 688/2477 (อ พิพัฒน์ ฎีกาสำคัญ 155) พลตำรวจร้องบอกราษฎรในการจับผู้ร้ายว่า จับเป็นไม่ได้ ให้จับตายราษฎรจึงเข้าทำร้ายผู้ตาย ถึงแก่ความตาย เป็นการกล่าวแก่คนทั่วไปให้กระทำความผิด ตามมาตรา 85


มาตรา 86 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็น ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

- หลักเกณฑ์ ( อ เกียรติขจรฯ 8/617)

- ต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น

- ผู้สนับสนุน กระทำด้วยประการใด อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก

- โดยเจตนาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก

- ก่อน หรือขณะกระทำความผิด

- ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะรู้ หรือไม่รู้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกนั้น

- ต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ( อ เกียรติขจรฯ 8/617)

- หมายถึง การกระทำถึงขั้นที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด

- การกระทำความผิดนั้น ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา ไม่ใช่กระทำโดยประมาท

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2800/2522 (สบฎ เน 5870) การสนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อาญา ม.86 นั้น จะต้องมีผู้อื่นเป็นตัวการในการกระทำผิด หากเป็นกรณีที่ไม่มีตัวการกระทำผิดในความผิดดังกล่าว ผู้ช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในความผิดนั้น ก็ย่อมไม่มีความผิดในฐานเป็นสนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4547/2530 จำเลยที่ 1 เป็นนายทะเบียนยานพาหนะจังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยเสมียนยานพาหนะจังหวัดเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการไม่ได้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จึงไม่อาจจะมีผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนความผิดดังกล่าว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 217/2531 จำเลยได้ร่วมกันทำเอกสารหนังสือขอเบิกเงิน และเอกสารประกอบ ให้ตรงกับที่ได้รับอนุมัติและเป็นหลักฐานว่าได้ดำเนินการแล้ว เพื่อขอเบิกเงินจากทางราชการมาจ่ายให้แก่ราษฎรผู้รับจ้าง เมื่อปรากฏว่ายอดเงินที่ระบุในเอกสารทั้งสี่ฉบับ ตรงกับยอดเงินที่จำเลยได้จ่ายให้แก่ราษฎรไปแล้ว จำนวนดินที่ไม่ตรงกันนั้น ก็ขุดได้มากกว่าที่ระบุไว้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยคนใดทุจริต แม้จำนวนดินและจำนวนเงินที่ระบุในเอกสารจะไม่ตรงกับความจริงไปบ้าง ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ร่วมกันทำเอกสารและรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นตามฟ้อง จำเลยอื่นซึ่งโจทก์ฟ้องว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด จึงไม่ได้กระทำผิดเช่นกัน เพราะเมื่อไม่มีการกระทำผิด จึงไม่อาจเกิดการกระทำที่เป็นการสนับสนุนให้กระทำผิดได้ เหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดี

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1337/2534 (จำเลยที่ 1 ขับรถลาก จำเลยที่ 2 ถือพวงมาลัยรถพ่วง จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าหากต้องรับผิด ก็เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำโดยประมาท) ผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น มีได้เฉพาะการสนับสนุนผู้ลงมือกระทำความผิดโดยเจตนาเท่านั้น ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดโดยประมาท ไม่อาจมีได้ตามกฎหมาย เพราะผู้สนับสนุน ต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลในการสนับสนุนด้วย โดยสภาพจึงไม่อาจมีการช่วย เหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิดโดยประมาทได้ / จำเลยทั้งสองร่วมกันควบคุมรถยนต์บรรทุกสองคันลากจูงกัน โดยจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกลากจูงรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ขับควบคุมถือพวงมาลัย จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมกันตามกฎหมาย ที่จะต้องร่วมกันจัดทำแผ่นป้ายแสดงข้อความ ว่ารถกำลังลากจูง และต้องจัดให้มีและเปิดโคมไฟ หรือจุดไฟแสงสาดส่องที่ป้ายดังกล่าว ฯลฯ เพื่อให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับผู้ใช้ถนน หรือผู้ที่ขับรถยนต์ตามหลังมามองเห็นได้ว่ามีการลากจูง จำเลยทั้งสองสามารถกระทำ และใช้ความระมัดระวังดังกล่าว แต่ไม่ได้กระทำ เป็นการละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย

- ผู้สนับสนุน กระทำด้วยประการใด อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก ( อ เกียรติขจรฯ 8/619)

- ไม่จำกัดวิธีการ แม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดเกิดขึ้น ก็ถือเป็นการสนับสนุน

- ไม่จำต้องช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก แก่ผู้กระทำผิดโดยตรง อาจเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกกันเป็นทอด ๆ

- อาจเป็นการสนับสนุน โดยใช้คำพูดก็ได้

- การนิ่งเสีย ไม่ละเว้น หรือไม่ห้ามปราม การกระทำผิด ไม่ถือเป็นการสนับสนุน เว้นแต่เป็นการงดเว้น คือ มีหน้าที่ต้องป้องกันผล แต่ไม่กระทำการป้องกัน / ฎ 1123/2526 จำเลยที่ 2 ทราบเรื่องจำเลยที่ 1 จะฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 2 มาก่อน จึงใช้ให้ ว. เข้าไปตลบมุ้งของผู้ตาย แล้วจำเลยที่ 1 เข้าไปตีผู้ตาย โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะห้ามได้ แต่ไม่ห้าม กลับไปยืนฟังอยู่ข้างห้องนอน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่เป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการฆ่าจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

- การใช้ให้กระทำผิดตาม มาตรา 84 และการร่วมกระทำความผิดตาม มาตรา 83 ก็ถือเป็นการสนับสนุนอย่างหนึ่ง หากคำฟ้องกล่าวอ้างฐานะของผู้กระทำผิด พลาดไป ถือว่า ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบ ต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในคำฟ้องในสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษผู้กระทำผิดตามฐานะของผู้นั้นได้ แต่ปรับบทลงโทษผู้นั้นในฐานะผู้สนับสนุนการกระทำผิดได้

- การสนับสนุนกระทำความผิด ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับประโยชน์จากการกระทำของผู้สนับสนุนด้วย

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 56 ประจำปี พ.ศ. 2546 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 2 / ส่วนที่นายน้อยนำอาวุธปืนของตนไปไว้ที่บ้านของนายใหญ่ แม้นายน้อยมีเจตนาช่วยเหลือ ในการที่นายใหญ่กระทำความผิด แต่เมื่อนายใหญ่มิได้ใช้อาวุธปืนของนายน้อยยิงนายอ้วน นายใหญ่ไม่ได้ประโยชน์จากการช่วยเหลือของนายน้อย นายน้อยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของนายใหญ่

- โดยเจตนาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก ( อ เกียรติขจรฯ 8/622)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2301/2528 จำเลยทั้งสองกับผู้ตายไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน วันเกิดเหตุ บ. ชวนจำเลยทั้งสองไปเที่ยวโดยนั่งรถสามล้อไปด้วยกัน เมื่อผ่านหน้าบ้านผู้ตายพบผู้ตาย บ. ผละลงจากรถไปยิงผู้ตายโดยกระทันหัน เพราะมีเรื่องอาฆาตกันอยู่เดิม ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้รู้หรือร่วมคบคิดกับ บ.มาก่อน แม้เมื่อ บ.ยิงผู้ตายแล้ว จะย้อนกลับมาขึ้นรถสามล้อดังกล่าว ให้จำเลยที่ 1 ถีบไป และจำเลยที่ 2 จะเคยไปถามหาผู้ตายก่อนเกิดเหตุ พฤติการณ์เพียงเท่านี้จะถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนในการฆ่าผู้ตายหาได้ไม่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5299/2533 การที่จะลงโทษบุคคลฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดใด จะต้องได้ความว่าบุคคลนั้น มีเจตนาที่จะสนับสนุนการกระทำความผิดนั้น โดยรู้ว่าตนได้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด การขนย้ายน้ำตาลทรายออกนอกบริเวณโรงงาน มิใช่เป็นการกระทำผิดเสมอไป จะเป็นความผิดต่อเมื่อการขนย้ายนั้นฝ่าฝืนระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ระเบียบดังกล่าวนี้มีว่าอย่างไร ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริง ถึงแม้จะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็หาใช่ข้อกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยทราบระเบียบของคณะกรรมการ จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาช่วยหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3923/2542 ผู้เสียหาย ส. และ ป. ประจักษ์พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า จำหน้าคนร้ายได้และยืนยันว่าจำเลยทำหน้าที่เป็นคนขับรถจักรยานยนต์ แต่มิใช่คนร้ายที่ไล่ยิงผู้เสียหาย โดยขณะเกิดเหตุจำเลยยังคงนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับมา และขณะนั้นได้ดับเครื่องรถตลอดเวลาด้วย ทั้งผู้เสียหายเบิกความว่า เมื่อถูกยิง 1 นัดแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีคนร้ายไล่ตามมาทำร้ายอีก และไม่เห็นหน้าคนร้าย และจำเลยร่วมกันหลบหนีไปทางใด ลักษณะเช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลย ไม่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะช่วยเหลือพากันหลบหนีได้ทันที อีกทั้งผู้เสียหายกับจำเลยต่างไม่เคยรู้จักกันและไม่มีสาเหตุใด ๆ ต่อกันมาก่อน เมื่อจำเลยถูกจับกุม ก็ได้แจ้งชื่อคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย กับนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมคนร้าย จนสามารถยึดอาวุธปืนและรถจักรยานยนต์มาเป็นของกลางอีกด้วย รูปคดีทำให้มีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้ช่วยเหลือในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

- ผู้สนับสนุนรับผิด ภายในขอบเขตแห่งเจตนาช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก ตามมาตรา 89

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1449/2532 เมื่อจำเลยยิงผู้ตายแล้ว ผู้เสียหายได้เข้าไปแย่งปืนจากจำเลยและกอดปล้ำกัน ระหว่างกอดปล้ำกัน ก.วิ่งเข้ามาหาจำเลย จำเลยจึงส่งอาวุธปืนให้แก่ ก.โดยจำเลยมิได้พูด หรือแสดงกิริยาอาการใด ที่จะพึงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ ก.ยิงผู้เสียหาย เมื่อ ก.ได้รับอาวุธปืนจากจำเลยแล้ว ก็หาได้ยิงผู้เสียหายในทันทีไม่ แต่ได้ถอยหลังออกไปก่อน เมื่อผู้เสียหายเข้าไปแย่งอาวุธปืนจาก ก.อีกจึงถูกยิง เช่นนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยทราบ หรือคาดหมายได้ว่า ก.มีเจตนายิงผู้เสียหาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ ก.ยิงผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 86

- เปรียบเทียบ กรณีตัวการ / คำพิพากษาฎีกาที่ 353/2520 คนร้ายยิงผู้เสียหายในการปล้น โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นกะทันหัน คนร้ายอื่นมิได้มีเจตนาร่วมด้วย ไม่เป็นตัวการในฐานพยายามฆ่าคนร่วมกับผู้ยิง / จำเลยที่ 4 ใช้ปืนขู่ปล้นทรัพย์ มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรค 2 และเพิ่มโทษอีกตาม มาตรา 340 ตรี จำเลยอื่นที่ไม่ใช้ปืนมีความผิดตาม มาตรา 340 วรรค 2 ไม่ผิด มาตรา 340 ตรี (การปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืน โดยปกติคาดหมายได้ว่าหากเจ้าทรัพย์ขัดขืน ผู้ร่วมปล้นอาจยิงเจ้าทรัพย์ถึงตายได้ จึงน่าจะถือว่าไม่เกินเจตนาที่ร่วมกัน เว้นแต่ไม่รู้มาก่อนเลย หรือตกลงกันไว้ชัดว่าจะไม่ยิงทำอันตรายเจ้าทรัพย์ / เทียบ ฎ 2207/2532 แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นคนใช้อาวุธปืนยิง ช.ด้วยตนเอง แต่พวกของจำเลย รวมทั้งจำเลยเอง ก็มีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยในการปล้นทรัพย์ “จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า” พวกของจำเลยอาจใช้อาวุธปืนยิงผู้ใดผู้หนึ่งในรถคันเกิดเหตุ หากผู้นั้นขัดขืนเพื่อความสะดวกในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ เมื่อพวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ช.แต่ ช.ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ด้วย)

- ก่อน หรือขณะกระทำความผิด ( อ เกียรติขจรฯ 8/623)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2154/2516 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมปรึกษาหารือกับจำเลยที่ 3 เพื่อจะไปลักกระบือ แล้ววางแผนให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.ไปซุ่มรอรับกระบือที่หัวทุ่ง จำเลยที่ 3 กับพวกไปต้อนกระบือของผู้เสียหายมาส่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.สถานที่ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.รอรับกระบือกับสถานที่ที่จำเลยที่ 3 และพวกไปต้อนกระบือนั้นอยู่ไกลกันมาก จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะร่วมมือกับจำเลยที่ 3 ขณะจำเลยที่ 3 กับพวกกระทำการลักกระบืออันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นตัวการ แต่พฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ส่งเสริมอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 3 กับพวกในการที่จะไปลักกระบือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นผู้สนับสนุนก่อนกระทำผิด (สังเกต หากเป็นตัวการ จะเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ม 335 (7))

- การช่วยเหลือ "หลัง" กระทำความผิด ไม่เป็นการสนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 249/2500 คนร้ายลักโคจูงมาระหว่างทางพบจำเลย จำเลยช่วยคนร้าย ไล่ต้อนโคโดยรู้ว่าเป็นโคของผู้อื่นและเมื่อพวกเจ้าทรัพย์มาพบก็วิ่งหนีไปด้วยกัน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สมคบหรือสมรู้กับคนร้ายใน การลักทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3869/2536 ในเมื่อขณะคนร้ายลักทรัพย์ จำเลยมิได้ร่วมกระทำผิดหรือ สนับสนุนการกระทำผิดด้วยแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยอยู่ที่บ้าน ล. ในขณะที่คนร้ายนำของที่ลักมาเก็บที่บ้าน ล.นั้น เป็นเหตุการณ์ หลังจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จึงไม่อาจลงโทษจำเลยใน ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ได้ / ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ได้ความจากนายแล ยอดเกตุ พยานโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่พบของกลางว่า ในคืนนั้นจำเลยมานอนอยู่ ที่บ้านนายแลยังได้พูดคุยกันเรื่องเลี้ยงโค ต่อมาก็ได้ยินเสียง แว่ว ๆ ว่า นายณรงค์ศักดิ์ได้นำของมาลงไว้ที่บ้านให้จำเลยช่วย ยก นายแลไม่ได้ออกไปดูว่าเป็นของอะไร จนเวลา 5 นาฬิกา นายแล ตื่นมาไม่พบจำเลยกับนายณรงค์ศักดิ์ เห็นแต่ของพวกพัดลมตั้งพื้น กับเทปเพลงใส่อยู่ในลัง ต่อมาจำเลยก็พาเจ้าพนักงานตำรวจมายึดของ เหล่านั้นไป แสดงว่าในขณะคนร้ายลักทรัพย์จำเลยมิได้ร่วมกระทำผิด หรือสนับสนุนการกระทำความผิดในขณะนั้น แม้หลังจากการกระทำผิด ฐานลักทรัพย์แล้ว นายณรงค์ศักดิ์จะนำของที่ลักมาเก็บที่บ้าน นายแล ก็เป็นเหตุการณ์หลังจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์แล้ว ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ดังที่ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษา ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น (อาจเป็นความผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 335(1)(3)(7)(8), 336 ทวิ, 357 ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง อาจเป็นเพราะไม่มีการนำสืบว่ารับไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิด หรืออาจเป็นเพราะกฎหมายวิธีพิจารณาความ)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3971/2548 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้รถแบ๊กโฮขุดตักดินในที่สาธารณประโยชน์ อันเป็นการทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทรายในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา ต่อมาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธาน สภาตำบลได้จัดทำบันทึกการประชุมสภาตำบลอันเป็นเท็จว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดำเนินการขุด ตักดินได้ การกระทำของจำเลยที่ 3 มิใช่เป็นการเตรียมทำเอกสารไว้ ก่อนมีการขุดตักดินในที่สาธารณประโยชน์หรือ นำไปใช้อ้างอิงในการขุดตักดินดังกล่าว อันจะเป็นการแสดงเจตนาในการมีส่วนร่วมเข้าไปขุดตักดินในที่ สาธารณประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 3 ไม่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิด กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 9 (2) ประกอบมาตรา 108 ทวิ

- ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะรู้ หรือไม่รู้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกนั้น ( อ เกียรติขจรฯ 8/626)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1478/2510 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 2 ,3 ไม่ได้ทำร้าย และไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการทำร้ายมาก่อน แต่ได้จ้องปืนมาทางพยานโจทก์ พูดห้ามไม่ให้คนอื่นเกี่ยวข้อง ในการที่จำเลยที่ 1 ,4 ทำร้ายผู้ตายจึงเป็นการช่วยเหลือ และให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1,4 แม้จำเลยที่ 1 ,4 จะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม จำเลยที่ 2,3 ก็เป็นผู้สนับสนุน แต่ไม่ใช่ตัวการ

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 23 ประจำปี พ.ศ. 2513 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 2 / นางพนอแง้มหน้าต่างเพื่อให้คนเข้ามาลักทรัพย์ นายโทนดึงบานหน้าต่างเปิดออกเพื่อลักทรัพย์แล้ว แม้นายโทนจะไม่รู้ถึงการให้ความสะดวกของนางพนอก็ตาม การกระทำของนางพนอ ก็เป็นการสนับสนุนการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 86

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 56 ประจำปี พ.ศ. 2546 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 2 / การที่นายเล็กแอบนำอาวุธปืนไปไว้ที่บ้านนายใหญ่ โดยประสงค์ให้นายใหญ่ใช้ยิงนายอ้วนและนายใหญ่ได้ใช้อาวุธปืนของนายเล็กยิงนายอ้วน เป็นการช่วยเหลือในการที่นายใหญ่กระทำความผิด แม้นายใหญ่จะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือนั้นก็ตาม นายเล็กย่อมเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 81 และมาตรา 86

- การสนับสนุนในลักษณะที่เกี่ยวพันกับผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วยกันเอง

- การใช้ผู้สนับสนุน / ขาว (ผู้ใช้ผู้สนับสนุน) จ้างให้เหลือง (ผู้สนับสนุน) เอาปืนไปให้แดง (ผู้ลงมือทำผิด) ใช้ฆ่าดำ ถือว่าขาวเป็นผู้สนับสนุนแดงอีกคนหนึ่ง (มาตรา 86)

- การสนับสนุนผู้ใช้ / แดง (ผู้ใช้) ต้องการจ้างเหลือง (ผู้ลงมือทำผิด) ไปฆ่าดำ ปรากฏว่าขาว (ผู้สนับสนุนผู้ใช้) รู้เหตุการณ์ดังกล่าว บอกที่อยู่ของเหลือให้แก่แดง ถือว่าขาวเป็นผู้สนับสนุนผู้ใช้ คือสนับสนุนผู้กระทำผิดอีกคนหนึ่งนั่นเอง (มาตรา 86)

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 37 ประจำปี พ.ศ. 2527 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 3 / . ต้องการฆ่า . แต่ไม่รู้ว่าจะไปจ้างมือปืนที่ไหน . จึงแนะนำ . ไปจ้าง . ซึ่งเป็นมือปืนไปฆ่า . . ไปจ้าง . ตามที่ . แนะนำ . ไปยิง . ตาย / . ซึ่งช่วยแนะนำ . ให้ไปจ้าง . ทำการฆ่านั้น เป็นผู้สนับสนุนการใช้ให้ฆ่า ต้องถือว่า . เป็นผู้สนับสนุนการฆ่าตามมาตรา 289 (4) , 86 นั่นเอง

- การสนับสนุนผู้สนับสนุน / แดง (ผู้กระทำผิด) ต้องการฆ่าดำ เหลือง (ผู้สนับสนุน) รู้เหตุการณ์ดังกล่าว ต้องการเอาปืนให้แดง เขียว (ผู้สนับสนุนผู้สนับสนุน) รู้เหตุการณ์ดังกล่าว จึงบอกที่อยู่ของแดงให้แก่เหลือง ถือว่าเขียวเป็นผู้สนับสนุนผู้สนับสนุน คือเป็นผู้สนับสนุนโดยทางอ้อม (มาตรา 86)

- กรณีที่ไม่จำต้องปรับความรับผิดตาม ป.อาญา มาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 394/2502 ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันตามบัญชี ข. โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นได้มี พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4, 12 บัญญัติความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่มีผิดฐานสมรู้สนับสนุนผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 อีก

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3194/2536 จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นข้าราชการครูได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ในการสอบแข่งขัน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานในการสอบครั้งนี้ หาใช่เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เฉพาะในช่วงการสอบสัมภาษณ์ เท่านั้นไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีเจตนาทุจริตร่วมกันนำข้อสอบซึ่งเป็นความลับของทางราชการไปเปิดเผยให้ บ. กับพวกรู้ก่อนเข้าสอบ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำโดยมิชอบด้วยหน้าที่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับในราชการ และจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งเป็นข้าราชการครู ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำผิด แต่มิได้เป็นกรรมการสอบ ผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 , 3

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับเพศ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1489/2543 จำเลยทั้งสามกับพวกได้ร่วมกันพาผู้เสียหายไปที่บ้านเกิดเหตุ เพื่อกระทำชำเรา จำเลยที่ 3 กระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอม จึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ออกไปจากห้องแล้วปล่อยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และพวกอีก 2 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายในห้องทีละคนโดยจำเลยที่ 3 มิได้ขัดขวาง หรือห้ามปรามแต่อย่างใด ถือว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และพวกอีก 2 คน ก่อนหรือขณะกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 86

- กรณีไม่ถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 888/2518 ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ ที่ปลอมสัญญากู้ขึ้น แต่ทำภายหลังที่ได้ทำสัญญากู้ปลอมเสร็จขาดตอนแล้ว ไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนปลอมเอกสาร

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2413/2526 จำเลยที่ 2 ถือมีดปอกผลไม้และท้าทายให้ออกมาสู้กัน เมื่อผู้ตายถือไม้ออกมาจะต่อสู้กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ทิ้งมีดและหยิบไม้ตีผู้ตาย1 ครั้ง แล้วไม้ที่ถือก็ร่วงไป และเกิดกอดปล้ำกันขึ้น ผู้ตายจิกผมจำเลยที่ 2 กดต่ำลง จำเลยที่ 2 จึงใช้มีดแทงผู้ตายไปในขณะนั้นไม่มีโอกาสเลือกแทงได้ถนัด บังเอิญไปถูกอวัยวะสำคัญไต้ราวนมซ้าย ลึกทะลุกล้ามเนื้อหัวใจผู้ตายจึงถึงแก่ความตาย ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่ามีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเท่านั้น / เมื่อมีผู้ห้ามมิให้จำเลยที่ 2 กับผู้ตายทะเลาะกันจำเลยที่ 1พูดให้จำเลยที่ 2 กับผู้ตายทะเลาะและต่อสู้กัน เมื่อจำเลยที่ 2 ถือมีดออกมาจากบ้าน จำเลยที่ 1 ก็เดินตามหลังมาติด ๆ เป็นการสมทบกำลัง และให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 2 จะต่อสู้กับผู้ตาย เมื่อผู้ตายถือไม้ออกมาและจำเลยที่ 2ทิ้งมีด จำเลยที่ 1 ก็บอกให้จำเลยที่ 2 เก็บมีดไว้กับตัว เป็นการช่วยเหลือแนะนำถึงวิธีต่อสู้ก่อนที่จะเข้าต่อสู้กัน ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3116/2527 ล.นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยลงมา พูดทำนองบังคับผู้ตายให้กลับรถของจำเลย ใช้ปืนจี้ท้ายทอยและลั่นไก แต่กระสุนไม่ลั่น จึงใช้ปืนตีศีรษะ แล้วร้องบอกให้จำเลยติดเครื่องรถรอ จำเลยก็ติดเครื่องรถรอจน ล.มาถึงรถจำเลย แล้วยิงไปที่ผู้ตาย 1 นัด เมื่อขึ้นคร่อมท้ายรถแล้ว ล.ยิงไปอีกหลายนัด ขณะเดียวกันจำเลยก็ขับรถพาหลับหนีไป การติดเครื่องรถรออยู่เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่ ล.ยิงผู้ตาย เป็นการให้กำลังใจว่า เมื่อยิงแล้วมีโอกาสซ้อนรถจำเลยหลบหนีไปได้ทันท่วงที และปลอดภัย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดของ ล. ตาม ป.อ.ม.86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 545/2528 ผู้ประสงค์จะฆ่าผู้ตายติดต่อกับจำเลยที่ 3 ให้หาคนมายิงผู้ตายและจำเลยที่ 3 เป็นผู้ติดต่อพาจำเลยที่ 1 ที่ 2 มาพบผู้ว่าจ้างและได้รับมอบปืน 2 กระบอกจากผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 วันเกิดเหตุ ผู้ว่าจ้างพาจำเลยทั้งสามมาดูตัวผู้ตาย ขณะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยิงผู้ตายจำเลยที่ 3 ยืนอยู่คนละฝั่งถนนมีมีดปลายแหลมติดตัว หากจำเลยอื่นยิงพลาด จำเลยที่ 3 ก็คงจะไม่เข้าช่วยเหลือโดยซ้ำเติมหรือทำอันตรายแก่ผู้ตายอีก เพราะไม่มีอาวุธปืน การที่จำเลยที่ 3 อยู่ในที่เกิดเหตุ ก็เพียงคอยวิ่งนำหน้าพาจำเลยที่ 1 ที่ 2 หลบหนีไปในเส้นทางที่ตนชำนาญเท่านั้น เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ในการฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้สนับสนุนมีความผิดตาม ป.อ. ม.289 (4) ประกอบด้วย ม.86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3828/2528 ท.สามีจำเลยทะเลาะกับพี่สะใภ้ แล้วชักปืนสั้นยิงพี่สะใภ้ถึงแก่ความตาย พ.เข้าไปช่วยภรรยา ท.ยิง พ.ถูกโคนขา จำเลยยืนอุ้มบุตรอยู่เฉย ๆ เมื่อ พ.เข้าปล้ำแย่งปืนจาก ท.แล้ว ท.ร้องบอกให้จำเลยไปเอาปืนลูกซองยาวบนบ้าน จำเลยจึงวิ่งขึ้นบนบ้านหยิบปืนมาให้ ท.ซึ่งอาจเป็นเพราะกลัวว่า พ. แย่งปืนได้แล้วจะยิ่ง ท. ดังนี้จำเลยเพียงช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ ท.จะยิง พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดของ ท. ตาม ป.อ. ม.86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2529 ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันฆ่าผู้อื่น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าก่อนเกิดเหตุผู้ตายท้าทาย ณ กับพวกขึ้นไปต่อสู้กันบนฝั่งแม่น้ำ ณ พวกของจำเลยถือปืนยาวขึ้นไปบนฝั่ง แต่ปรากฏว่าไม่มีกระสุนปืน ณ. ตะโกนให้จำเลยหยิบกระสุนปืนไปให้ ซึ่งจำเลยก็ทำตาม ต่อมา ณ.ทะเลาะกับผู้ตายและใช้ปืนนั้น ยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ ณ. ในการกระทำผิด จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตาม ป.อ.288,86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1451/2531 จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาดักยิง ศ. เมื่อ ส. ขับรถปิคอัพมาถึงที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็น ศ. เพราะไม่รู้จักมาก่อนจึงจ้องปืนเล็งไปยัง ส.โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรอง แต่ ส.โบกมือให้ทราบว่าตนมิใช่ ศ.จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ยิง ดังนี้ เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (4), 80 / จำเลยที่ 2 ให้รถจักรยานยนต์และปืนแก่จำเลยที่ 1 ไปใช้ยิง ศ. ดังนี้จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4444/2531 ส. ชกหน้าผู้เสียหาย 1 ที ผู้เสียหายล้มลงแล้วลุกขึ้นยืนในระหว่างนั้น จำเลยส่งปืนสั้นให้แก่ ส. ส.ใช้ปืนกระบอกนั้นยิ่งผู้เสียหาย 1 นัด กระสุนปืนถูกที่แขนขวาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย แม้จำเลยจะอยู่ด้วยในที่เกิดเหตุก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ร้องบอกหรือสั่งให้ ส. ยิงผู้เสียหาย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องร่วมมือกับการกระทำของ ส.แต่อย่างใด การที่ ส.จะยิงผู้เสียหายหรือไม่ อยู่ที่การตัดสินใจของ ส.เอง การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ส.ในการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4947/2531 การที่จำเลยเพียงแต่ร้องบอกว่า "เอามันให้ตายเลย" แล้วพวกของจำเลยได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายนั้น เป็นการที่จำเลยก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ตามมาตรา 84 แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ แต่การที่จำเลยร้องบอกดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ / ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บฟกช้ำที่ใบหน้าด้านซ้าย เพียงแห่งเดียวแพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 7 วัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 295 ผู้กระทำความผิดคงมีความผิดตาม มาตรา 391 จำเลยเป็นผู้สนับสนุนความผิดดังกล่าวอันเป็นความผิดลหุโทษ จึงไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 106

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5121/2531 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้ และวางแผนให้จำเลยที่ 1 กับพวกกระทำความผิด ได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ / วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกอีก 1 คน มานอนที่บ้านมารดาผู้ตายก่อน จำเลยที่ 1 บีบคอผู้ตาย จำเลยที่ 2 ได้เรียกมารดาผู้ตายออกมาจากห้องนอน พาลงจากบ้าน และใช้ผ้าขาวม้ามัดมือไพล่หลัง ใช้มีดปลายแหลมขู่ มิให้มารดาผู้ตายขัดขวางการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1

- กรณีไม่ถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1134/2512 จำเลยทั้งสองกับพวกได้มาที่บ้านผู้เสียหายด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 หยุดอยู่ตรงบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 2 กับพวกหาได้หยุดไม่ คงเดินเลยบ้านผู้เสียหายไป 10 วาจึงหยุด เมื่อเป็นดังนี้ การที่จำเลย ที่ 1 ยิงผู้เสียหายโดยลำพังตนเอง จึงไม่แน่ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกันเพื่อมาทำร้ายผู้เสียหาย เพราะอาจฟังว่า จำเลยที่ 1 มาพบผู้เสียหาย และด้วยเคยมีเรื่องกันมาก่อน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ยิงซ้ำจำเลยที่ 1 ก็หาได้กระทำตามที่จำเลยที่ 2 ร้องบอกไม่ กลับวิ่งไป แล้วจำเลยทั้งสอง กับพวกก็พากันหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ยังไม่พอฟังว่าเป็นผู้สนับสนุน ตาม มาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1449/2532 เมื่อจำเลยยิงผู้ตายแล้ว ผู้เสียหายได้เข้าไปแย่งปืนจากจำเลยและกอดปล้ำกัน ระหว่างกอดปล้ำกัน ก.วิ่งเข้ามาหาจำเลย จำเลยจึงส่งอาวุธปืนให้แก่ ก.โดยจำเลยมิได้พูด หรือแสดงกิริยาอาการใด ที่จะพึงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ ก.ยิงผู้เสียหาย เมื่อ ก.ได้รับอาวุธปืนจากจำเลยแล้ว ก็หาได้ยิงผู้เสียหายในทันทีไม่แต่ได้ถอยหลังออกไปก่อน เมื่อผู้เสียหายเข้าไปแย่งอาวุธปืนจาก ก.อีกจึงถูกยิง เช่นนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยทราบหรือคาดหมายได้ว่า ก.มีเจตนายิงผู้เสียหาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ ก.ยิงผู้เสียหาย ตาม ป.อ.มาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3205/2536 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันเข้าไปยิงผู้ตายซึ่งนอนรักษาตัว อยู่ในโรงพยาบาลถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 รู้แผนการ จอดรถรออยู่นอกโรงพยาบาล เพื่อรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 หลบหนี อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก่อนกระทำผิด จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตระเตรียมอาวุธปืนมายิงผู้ตาย โดยวางแผนมาล่างหน้า จำเลยที่ 1 จอดรถรอรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ห่างที่เกิดเหตุประมาณ 250 เมตร ไม่สามารถเห็นเหตุการณ์ หรือให้ความช่วยเหลือจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในขณะกระทำการยิงผู้ตายได้เพราะอยู่ห่างไกลและมีตึกบัง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 แบ่งหน้าที่ในการฆ่าผู้ตายมาทำส่วนหนึ่ง จึงไม่เป็นการร่วมในการกระทำผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6103/2541 ขณะผู้ตายถูกทำร้ายผู้ตายอยู่ลำพังคนเดียว มีเพียงเหล็กแบนท่อนหนึ่งเป็นอาวุธ จำเลยที่ 1 ใช้ไม้หน้าสามตีแขนผู้ตายจนล้มไป และ ส. ใช้เหล็กท่อนตีท้ายทอยผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 2 ถือเหล็กแบนอยู่ในมือยืนอยู่ใกล้ ๆ แม้จำเลยที่ 2 จะรวมอยู่ในกลุ่มของ ส. และการทำร้ายผู้ตาย มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากผู้ตายวิวาทกับพวกจำเลยที่ 2 แต่ก็เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า และเมื่อผู้ตายถูก ส. ทำร้าย ก็ไม่จำเป็นต้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกอีก จึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกต่อจำเลยที่ 1 และ ส.ก่อนหรือขณะกระทำผิด จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้สนับสนุน ส. ฆ่าผู้ตาย

1 ความคิดเห็น:

Au'Tumn Nc กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มาก