ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๓๐๑ - ๓๑๖


หมวด 3                        ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
มาตรา 301      หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 302     ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูก โดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 303     ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูก โดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาททถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ หญิงถึงแก่ความตายผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 304     ผู้ใดเพียงแต่ พยายามกระทำความผิดตาม มาตรา 301 หรือ มาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

-                   คำพิพากษาฎีกาที่ 6443/2545 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้หญิงคนหนึ่งไม่ทราบชื่อทำให้นางสาว ป. ผู้เสียหายแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 83 , 84 , 303 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายไปหาจำเลยที่ 1 ที่บ้านและถูกจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเรา หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายไปตรวจร่างกายที่สถานีอนามัยจึงทราบว่าผู้เสียหายตั้งครรภ์ ต่อมาจำเลยทั้งสามมาหาผู้เสียหายที่บ้านโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถ จำเลยที่ 2 เป็นมารดาจำเลยที่ 1 แล้วพาผู้เสียหายไปหาผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อทำแท้ง ระหว่างทางจำเลยที่ 3 ลงจากรถไปก่อน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายเข้าไปทำแท้งในบ้านหลังหนึ่งโดยผู้เสียหายยินยอมให้ทำแท้งลูก ระหว่างการทำแท้งจำเลยที่ 1 นั่งขวางประตูบ้านอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดในการที่ผู้อื่นทำแท้งผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตามมาตรา 302 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86 แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรานี้ ศาลก็ย่อมลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เพราะการทำให้แท้งลูกไม่ว่าหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเป็นความผิดทั้งนั้น หากแต่กำหนดโทษหนักเบาต่างกัน

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 304
-          (ขส เน 2518/ 3) ชายยุให้หญิงทำแท้ง ชายช่วยทำแท้ง หญิงพักสิบวันหาย ทารกมีชีวิตขณะหนึ่งตาย / ชายผิด ม 302 1 หญิง ผิด ม 301 แต่ผิดขั้นพยายาม เพราะทารกคลอดโดยมีชีวิต ชายและหญิงไม่ต้องรับโทษ ตาม ม 304

-          (ขส พ 2517/ 6) ชายหญิงลักลอบได้เสียกัน ชายแนะให้หญิงทำแท้ง ชายหายามาฉีดให้หญิง ทารกคลอดออกมาก่อนกำหนด อยู่ได้ 5 นาที ก็ตาย /  ชายไม่ผิดฐานเป็นผู้ใช้ เพราะได้ลงมือกระทำความผิดตามที่ได้ใช้ ความผิดเปลี่ยนสภาพมาเปลี่ยนตัวการในการทำแท้ง ชายผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอม ตาม ม 302 วรรคแรก หญิงผิด ม 301 แต่เป็นขั้นพยายามทั้งสองคน เพราะการแท้ง ต้องเป็นการทำให้ทารกคลอดในลักษณะปราศจากชีวิต ฎ ป 677/2510 ชายหญิงพยายามทำผิด ไม่ต้องรับโทษตาม ม 304

-          (ขส อ 2519/ 9) นายจ้างได้เสียกับคนใช้ ขู่ว่าถ้าไม่รีดลูกออกจะเลิกจ้าง คนใช้ผิด ม 301+80+304 / นายจ้างผิด ม 84 รับโทษเหมือนตัวการ ไม่ต้องรับโทษเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี ม 89
-          (ขส อ 2531/ 2) จิ๋วให้แจ๋วพาไปทำแท้ง โจทำแท้งไม่สำเร็จ เพราะจริงแล้ว จิ๋วไม่ท้อง แต่ทำให้มีบุตรไม่ได้ตลอดชีวิต / จิ๋ว ผิด ม 301+81 ไม่ต้องรับโทษ ม 304 (ขาดองค์ประกอบภายนอก) / โจ ผิด ม 302 2 + 81 ต้องรับโทษ ไม่เข้า ม 304 (ไม่มีเรื่อง ม 295) / แจ๋ว สนับสนุน ผิด ม 301+ 86 + 81 ไม่ต้องรับโทษ ม 304 เพราะตัวการไม่ต้องรับโทษ (เป็นเหตุลักษณะคดี ด้วยหรือไม่ น่าจะใช่)

มาตรา 305     ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของ นายแพทย์และ
(1)   จำเป็นต้องกระทำ เนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ
(2)   หญิงมีครรภ์ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284
ผู้กระทำไม่มีความผิด



หมวด 4                        ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา


มาตรา 306     ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกินเก้าปีไว้ ณ ที่ใด เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน โดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 306
-          (ขส เน 2511/ 4) นางชั่วคลอดบุตรแล้วทิ้งหน้าโรงพยาบาล สามีนางชั่วพบเด็ก นำไปไว้บ้านแม่ยาย แม่ยายกลับมาบ้าน เห็นเด็กไม่รู้ว่าเป็นลูกใคร จึงเอาไปวางข้างถนนหลวง เพื่อให้พ้นไปจากเรือนตน / นางชั่ว ผิด ม 306 แม่ยายผิด ม 306 เพราะเด็กอยู่ในบ้านแล้ว ถือได้ว่าเป็นการทอดทิ้งให้พ้นไปเสียจากตน

มาตรา 307     ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมาย หรือตามสัญญา ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้ เพราะอายุ ความป่วยเจ็บ กายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสีย โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 308     ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 306 หรือมาตรา 307 เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 มาตรา 297 หรือมาตรา 298 นั้น



ลักษณะ 11      ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง

หมวด 1                        ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ


มาตรา 309     ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือ โดยใช้กำลังประทุษร้าย จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามวรรคแรกได้กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือได้กระทำเพื่อให้ผู้ถูกข่มขืนใจ ทำ ถอน ทำให้เสียหาย หรือทำลายเอกสารสิทธิอย่างใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น จะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

-          105/2503 การฟ้องขอให้ลงโทษทางอาญาฐานความผิดต่อเสรีภาพตาม มาตรา 309 วรรคแรก จะต้องมีข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าจำเลยได้ข่มขืนใจ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของโจทก์และสำหรับมาตรา 310 ก็ต้องปรากฏว่าจำเลยได้มีเจตนา หน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือทำให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
-          ฎ 1301/2510 การที่จำเลยบอกกับโจทก์ว่า ได้แจ้งความไว้แล้ว ถ้าไม่ไปสถานีตำรวจกับจำเลย จำเลยจะนำตำรวจมาจับโจทก์นั้น หาใช่เป็นการที่จำเลยจับโจทก์ดังที่เจ้าพนักงานจับผู้ต้องหาไม่ ไม่เป็นการข่มขู่หน่วงเหนี่ยว กักขัง ทำให้โจทก์ไปไหนไม่ได้ และไม่เป็นการทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่ประการใด
-          ฎ 2191/2522 จำเลยดึงเด็กอายุ 8 ปี ไปจากผู้ดูแลพยายามจับตัวอุ้มไป แต่ผู้ดูแลดึงตัวเด็กไว้และร้องขอให้ช่วย จำเลยจึงปล่อยเด็กเป็นพยายามพรากผู้เยาว์ตาม ม.317, 80 / ใช้ปืนจี้บังคับให้คนขับรถนั่งเฉย ๆ เอามือวางไว้ที่พวงมาลัย คนขับรถต้องปฏิบัติตาม เป็นความผิดตาม ม.309
-          ฎ 248/2524 ผู้พิพากษาไกล่เกลี่ยตาม ป.ว.พ.ม.19,20 ซึ่งให้พยายามเปรียบเทียบให้คู่ความประนีประนอมยอมความ รวมทั้งแนะนำให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องใบมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนด้วย ผู้พิพากษาเห็นว่าโจทก์กระทำผิด พ.ร.บ. ทนายความฯ จึงบอกให้โจทก์รออยู่เพื่อให้ตำรวจมานำตัวไปดำเนินคดี ถ้าไม่รอจะลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นการกล่าวตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.309,310
-          ฎ 278,279/2525 จำเลยที่ 1, 2 เป็นตำรวจ จำเลยที่ 3-5 เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง ได้เข้าไปค้นกุฏิของโจทก์ที่ 1 โดยไม่มีหมายค้น แล้วคุมตัวไปสถานีตำรวจโดยไม่มีหมายจับโดยไม่แจ้งข้อหาให้ทราบและโจทก์ไม่เต็มใจไป ดังนี้เป็นการจับโดยฝ่าฝืน ป.ว.อ. ม.78 เป็นการจับโดยไม่มีอำนาจกระทำได้อาจเป็นความผิด  ตาม ป.อ.ม.310 ได้ การที่โจทก์ถูกจับไปสถานีตำรวจ ไม่ใช่เป็นการข่มขืนให้ไป โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพชื่อเสียงเกียรติยศ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.309
-          ฎ 1085/2527 พระภิกษุเจ้าอาวาสไปสนทนากับหญิงบนบ้านในเวลากลางคืน จำเลยซึ่งเป็นตำรวจ และชาวบ้านออกโฆษณาทางเครื่องขยายเสียง ว่าโจทก์ทำผิดวินัยสงฆ์ และไม่ยอมให้โจทก์กลับวัด ไม่ยอมให้ลงจากบ้าน แล้วนำตัวส่งพนักงานสอบสวน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์กระทำผิดพระวินัย จึงได้ควบคุมโจทก์ไว้ก่อน เพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจเกิดขึ้นได้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.157, 309, 310
-          ฎ 1717/2527 โจทก์ขับรถมาจอดหลังรถจำเลย มีเสียงแตรดัง เมื่อขับรถต่อไปติดสัญญาณไฟด้วยกัน จำเลยลงจากรถมาถามโจทก์ว่าบีบแตรไล่ทำไมโจทก์ว่าไม่บีบ เกิดโต้เถียงกัน โจทก์พูดว่าจะเป็นทหารเกเรหรืออย่างไร จำเลยโกรธจึงจับแขนโจทก์ซึ่งวางพาดประตูรถพร้อมกับพูดว่า ลงมาฯ ขอตะบันหน้าหน่อย โจทก์สะบัดแขนหลุดและไม่ยอมลงจากรถ ดังนี้ เป็นการชวนให้ลงจากรถเพื่อมาวิวาทกับจำเลย เท่านั้น มิใช่การข่มขืนใจให้กระทำ หรือไม่กระทำการดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. ม. 309 / ต่อมาจำเลยขับรถไล่ตามกลั่นแกล้งโจทก์ โดยขับรถปาดหน้าทำให้โจทก์ต้องหยุดรถอย่างกระทันหัน ดังนั้นแม้โจทก์ขณะขับรถอยู่ ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการขับรถไฟตามถนนสาธารณะตามสิทธิที่กฎหมายรับรองได้ จำเลยขับรถปาดหน้า โจทก์กลัวจะชนรถจำเลย โจทก์ก็ต้องหยุดรถดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขัง กระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ป.อ.ม.310 แต่มีความผิดตาม ม.309 / รถยนต์คันที่จำเลยขับปาดหน้ารถโจทก์ มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงริบไม่ได้
-          5161/2533 (เน 47/ 5/ 79) จำเลยใช้ ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหาย ทรัพย์ที่จำเลยเอาไปมีเพียงปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งมีราคาไม่มากนัก มิได้เอาทรัพย์อย่างอื่นไปด้วย เมื่อผู้เสียหายขอคืนโดยอ้างว่าจะสอบในวันรุ่งขึ้น จำเลยยอมคืนดินสอโดยดี ส่วนปากกาเขียนแบบ จำเลยบอกให้ไปรับคืนที่โรงเรียน ที่จำเลยกำลังศึกษาอยู่ หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้หลบหนี ผู้เสียหายนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยได้ ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงประมาณ ๒๐๐ เมตร ลักษณะการกระทำของจำเลยดังกล่าว แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหายจริงจัง แต่เห็นได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความคึกคะนอง ตามประสาวัยรุ่นที่โง่เขลา การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหายแล้วดึงปากกาเขียนแบบ กับดินสอ ซึ่งเหน็บอยู่ที่สมุดของผู้เสียหายไปนั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ลูกกุญแจ ดังกล่าวอย่างอาวุธ และมีเจตนาทำให้ผู้เสียหาย เกิดความเกรงกลัวไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหาย ให้จำยอมตามความประสงค์ของจำเลยโดยทำให้ผู้เสียหาย เกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ โดยใช้อาวุธ
-          ฎ 1942/2538 จำเลยและพวกกับผู้เสียหายทั้งสี่เป็นนักศึกษาต่างสถาบัน จำเลยกับพวกมีอาวุธปืน มีด และก้อนหินขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสี่ให้ถอดเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัด ซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อยที่ผู้เสียหายทั้งสี่สวมใส่อยู่ให้จำเลยและพวก ผู้เสียหายทั้งสี่กลัวจึงยอมทำตาม จำเลยและพวกย่อมไม่สามารถนำเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดดังกล่าวไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้ จึงเป็นการกระทำโดยมิได้มุ่งประสงค์ต่อผล ในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง มิได้มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่น หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ทำไปด้วยความคะนองตามนิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อย เพื่อหยามศักดิ์ศรีของนักศึกษาต่างสถานศึกษาเท่านั้น เป็นการกระทำที่ขาดเจตนาลักทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้กระทำตามที่จำเลย และพวกประสงค์โดยทำให้กลัวว่า จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายทั้งสี่อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง
-          ฎ 2497/2541 จำเลยว่าจ้างผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปส่งจำเลย โดยจำเลยไม่ได้พกมีดปลายแหลมไป เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยบอกให้หยุดรถ ผู้เสียหายหยุดรถเพราะรู้สึกว่ามีมีดปลายแหลมจี้ที่ด้านหลัง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าสิ่งที่ผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นมีดปลายแหลมนั้นคืออะไร และสามารถใช้เป็นอาวุธได้หรือไม่ จึงต้องสันนิษฐานในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยว่าสิ่งของนั้นไม่สามารถใช้เป็นอาวุธได้ การที่ผู้เสียหายตกใจกลัวจึงเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายกลัวไปเอง และคำพูดที่จำเลยบอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นคำพูดลักษณะใด อันจะแสดงว่าเป็นการขู่เข็ญว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือข่มขืนใจให้ผู้เสียหายหยุดรถ นอกจากนั้น ผู้เสียหายทราบว่าในขณะนั้นจำเลยจะไปเยี่ยมภริยาจำเลยที่โรงพยาบาล การที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปจอดที่ลานจอดรถของโรงพยาบาลในลักษณะเปิดเผย จนกระทั่งเจ้าพนักงานตำรวจตามยึดคืนได้ในวันรุ่งขึ้น ประกอบกับจำเลยไม่ได้หลบหนีไปที่ใดทั้งที่รู้ว่าผู้เสียหายและ ภ. เพื่อนผู้เสียหายทราบที่อยู่ของจำเลย จึงเป็นการแสดงว่าเมื่อผู้เสียหายกระโดดหนีจากรถจักรยานยนต์แล้ว จำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ไปยังจุดมุ่งหมายแล้วจอดรถทิ้งไว้ โดยไม่ประสงค์จะเอารถจักรยานยนต์ไว้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับตนหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
-          ฎ 3477/2542 จำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า "ถ้ามึงไม่ไป เอารถมาให้กู"นั้นแต่ผู้เสียหายมิได้ให้รถจักรยานยนต์แก่จำเลยไป และจำเลยมิได้แย่งเอารถจากผู้เสียหายให้ขับรถไปส่งตนเท่านั้น มิได้มีเจตนาจะเอารถไปจากความครอบครองของผู้เสียหายในขณะนั้นแต่อย่างใด การที่จำเลยชักปืนออกมาจี้บังคับผู้เสียหาย น่าเชื่อว่าเพื่อให้ผู้เสียหายยอมตาม และขับรถไปส่งในเมืองเท่านั้น หาใช่เพื่อให้ผู้เสียหายมอบรถจักรยานยนต์ให้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยามชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม ป.อ.มาตรา 309 วรรคสอง ขณะเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองอยู่ห้างจากจำเลยประมาณ 5 เมตรถ้าจำเลยถือปืนจ้องเล็งมายังเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจคงไม่ทันร้องบอกให้จำเลยวางปืนหรือยิงปืนขู่ก่อน จำเลยอาจยิงเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ทันที แต่ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลที่จำเลยถูกยิง และวิถีกระสุนปืนล้วนแต่เข้าทางด้านหลัง แสดงว่าจำเลยหันหลังวิ่งหนี และถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิง น่าเชื่อว่าเมื่อจำเลยเห็นเจ้าพนักงานตำรวจ คงเกิดความกลัวตามสัญชาติญาณของคนร้าย และวิ่งหนีทันที มิใช่ถือปืนจ้องไว้เฉย ๆ หรือจ้องจะต่อสู้เจ้าพนักงาน
-          4243/2542 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมผู้เสียหาย ที่ได้ก่อการทะเลาะวิวาทก่อนหน้านั้น แต่แหตุแห่งการทะเลาะวิวาทได้ยุติลงแล้ว เหตุวิวาทยังไม่ชัดแจ้งว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ไม่ใช่การกระทำผิดซึ่งหน้า โดยมีคู่กรณีกับผู้เสียหายชี้ให้จับ แต่มิได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบ อีกทั้งไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสงสัยว่ากระทำความผิดมาแล้วจะหลบหนี จำเลยซึ่งไม่มีหมายจับ ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะจับผู้เสียหาย จำเลยจับผู้เสียหายโดยไม่แจ้งข้อหา ไม่ทำบันทึกจับกุม ไม่ส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี กลับนำไปควบคุมที่ด่านตรวจ ชี้เจตนาจำเลยว่ากระทำโดยโกรธแค้น แสดงอำนาจ เพื่อข่มขู่กลั่นแกล้งผู้เสียหายให้เดือดร้อนเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภายในร่างกาย พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องรุนแรงต่อความรู้สึกของประชาชน ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 309
-          (ขส พ 2500/ 7) แดงถูกหวยใต้ดิน เจ้ามือไม่จ่าย จึงพาตำรวจมาทวงเงิน เจ้ามือไม่จ่ายอ้างว่าผิดกฎหมาย ตำรวจควักปืนขู่เจ้ามือว่า ถ้าไม่จ่ายจะจับไปยิงทิ้ง / () ถ้าตำรวจเข้าใจโดยสุจริตว่า เป็นเงินที่แดงควรได้โดยชอบ ตำรวจผิด ปอ ม 309 แดงไม่ผิด / () ถ้าตำรวจเข้าใจว่า แดงไม่มีสิทธิได้รับ ผิดชิงทรัพย์ ม 339 ถ้านายแดงสมคบด้วยก็เป็นตัวการ
-          (ขส พ 2517/ 9) จ กับ ส ลงหุ้นกันรับจ้าง ส กับพวกแต่งกายเป็นทหารและมีปืน เข้าไปเคหสถานของ จ บอกให้คิดบัญชีเพื่อขอรับส่วนแบ่ง จ ไม่ยอม การเข้าไปขอให้คิดบัญชีในการเป็นหุ้นส่วน มีเหตุสมควร ไม่ผิดฐานบุกรุก ส ไม่ได้ข่มขืนใจ เพื่อให้ได้ทรัพย์สิน ได้แต่เพียงสิทธิในฐานะหุ้นส่วน ไม่ผิดกรรโชก ม 337 ส กับพวกผิดฐานพยายาม ม 309 ว 2 , 80 ฎ 1447/2513

มาตรา 310     ผู้ใดหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใด ให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้น ถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 มาตรา 297 หรือมาตรา 298 นั้น

-          ฎ 1077/2505 ป. ส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุราแล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ค. ที่บ้านของ ป. ค.แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิตบอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมตัวไปหายืมเงินพบ ช.  ซึ่งเป็นกำนันได้เล่าเรื่องให้ฟัง ช. พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป.ส. และ ค. ดังนี้ ป.ส.ค.มีความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตาม มาตรา 145 ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามมาตรา 310 และฐานกรรโชกตามมาตรา 337 ส่วน ช. เป็นเพียงสนับสนุนการกระทำผิดฐานกรรโชก ไม่ใช่เรื่องหลอกลวงฉ้อโกง
-          ฎ 887/2518 จำเลยจ้างคนงานไปอยู่ทำงานในไร่ ไม่ให้ไปไหน มีคนถือปืนคุม กลางคืนให้อยู่ในโรงไม่มีหน้าต่าง ลงกลอนปิดประตูออกไม่ได้ หากฝ่าฝืนก็ถูกทำร้าย เป็นความผิดตามมาตรา 310
-          ฎ 1908/2518 ถนนซอยในที่ดินเอกชนซึ่งแบ่งให้เช่าปลูกบ้าน ประชาชนชอบที่จะเข้าออกติดต่อกันได้ เป็นสาธารณสถาน การเอารถยนต์จอดขวางกั้นไม่ให้รถข้างในออกจากซอยได้ ไม่เป็นความผิดตาม ม.310 แต่การที่ไม่ยอมรถให้รถข้างในออกได้เป็นการรังแกข่มเหงตาม ม.397
-          ฎ 428/2520 ล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่ ทำให้โจทก์ออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ โจทก์ต้องปีนกำแพงรั้วกระโดดลงมาได้รับบาดเจ็บ เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.310 วรรคแรก
-          ฎ 2025/2521 จำเลยปล้นทรัพย์แล้วคุมตัวบุคคลไปด้วย เพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์ไปและให้พ้นการจับกุม เป็นองค์ประกอบการปล้น ไม่เป็นผิดฐานกักขังอีกกระทงหนึ่งต่างหาก
-          ฎ 278, 279/2525 ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง  โจทก์ขอถอนฟ้อง ในคดีที่มีทั้งข้อหาความผิดอาญาแผ่นดินและความผิดอันยอมความได้ ศาลฎีกาอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ในข้อหาความผิดอันยอมความได้ ส่วนข้อหาความผิดอาญาแผ่นดิน ให้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ เมื่อได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา (ซึ่งพิพากษายืนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่) ให้คู่ความฟังแล้ว / จำเลยที่ 1,2  เป็นตำรวจ  จำเลยที่ 3 - 5 เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง ได้เข้าไปค้นกุฏิของโจทก์ที่ 1 โดยไม่มีหมายค้น แล้วคุมตัวไปสถานีตำรวจโดยไม่มีหมายจับ โดยไม่แจ้งข้อหาให้ทราบ และโจทก์ไม่เต็มใจไป ดังนี้เป็นการจับโดยฝ่าฝืน ป.ว.อ. ม.78 เป็นการจับโดยไม่มีอำนาจกระทำได้อาจเป็นความผิด ตาม ป.อ. ม.310 ได้ การที่โจทก์ถูกจับไปสถานีตำรวจ ไม่ใช่เป็นการข่มขืนให้ไป โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพชื่อเสียงเกียรติยศ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.309
-          ฎ 4641/2530 แม้ว่าหลังจากจำเลยกับพวกร่วมกัน ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายแล้ว จำเลยกับพวกจะพาผู้เสียหายไปส่งก็ตาม  แต่ก่อนจะไปส่ง จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายไปในที่เกิดเหตุ และควบคุมผู้เสียหายไว้ เพื่อให้จำเลยกับพวกมีโอกาสผลัดเปลี่ยนกัน ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งขณะนั้นผู้เสียหายไม่อยู่ในภาวะที่จะขัดขืน หรือหลบหนีไปได้ ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก แต่ความผิดตามมาตรา 310 วรรคแรก กับความผิดตามมาตรา 284 วรรคแรก เป็นการกระทำขณะเดียวกันต่อเนื่องกันไป เป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
-          ฎ 697/2532 จำเลยหลอกหญิงพาไปส่งบ้าน แต่ไม่หยุดรถ กลับเร่งความเร็ว ดึงมือไม่ยอมให้หญิงลง หญิงตกรถถึงแก่ความตาย มิใช่พยายามโดดลงเอง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลให้หญิงนั้นตาย ผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ม 310 วรรค ท้าย และฐานฆ่าคนตาย ตาม มาตรา 288

-          ประเด็นเปรียบเทียบ เรื่องการแจ้งให้เจ้าพนักงานจับกุม
-          ฎ 804/2502 ไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหาว่าเขาลักทรัพย์ เจ้าพนักงานจึงจับกุมและควบคุมเขาไว้นั้น การจับกุมและควบคุมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ซึ่งจะเห็นสมควรปฏิบัติต่อผู้ต้องหาอย่างใด ก็ตามควรแก่กรณี ผู้แจ้งให้จับ จึงไม่มีผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพ (การจับ เป็นเหตุแทรกแซง อันเกิดจากการกระทำของบุคคลที่สาม คือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีดุลพินิจอิสระ จำเลย ไม่ต้องรับผิดในการทำให้ผู้เสียหายเสียเสรีภาพจากการถูกจับ ผิดฐานแจ้งความเท็จอย่างเดียว)
-          ฎ 1089/2502 กำนันไม่มีอำนาจสั่งให้ผู้ใหญ่บ้าน จับคนไปส่งอำเภอในข้อหากระทำผิดทางอาญา โดยไม่มีหมายจับ เมื่อผู้ใหญ่บ้านกระทำตามคำสั่งของกำนัน จึงมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตาม มาตรา 310
-          ฎ 320/2503 จำเลยเอาเครื่องมือปลอมเงินตราและเอาเหรียญปลอมไปซุกใส่บ้านผู้เสียหาย แล้วจำเลยติดต่อให้ตำรวจมาจับผู้เสียหาย ตำรวจมาค้นได้ของกลางและจับผู้เสียหายขัง 4 วัน จึงได้ประกันตัวไปดังนี้ จำเลยยังไม่ผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ เพราะการที่ผู้เสียหายถูกจับไปกักขังนั้น เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของตำรวจ
-          2060/2521 ผู้ที่จะต้องถูกจับตามหมายจับมอบตัวต่อศาลมีประกันไป เหตุที่จะจับหมดไปแล้ว จำเลยเอาสำเนาหมายจับนั้นมาให้ตำรวจจับผู้นั้นอีก เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.310, 84 (เจ้าพนักงานไม่มีดุลพินิจอิสระ)
-          ฎ 3305/2530 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโจทก์ชำระหนี้ให้จำเลยครบแล้ว จำเลยไม่ถอนฟ้องทำให้โจทก์ถูกจำคุกเป็นเวลา 1 เดือนขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 310, 311 / คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ศาลลงโทษตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มีการตกลงกันว่าจำเลยขอผัดผ่อนการชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยต่อไป ไม่มีข้อตกลงว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินงวดสุดท้าย แล้วจำเลยจะถอนฟ้อง หรือจะถอนฟ้องเมื่อโจทก์ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ชำระหนี้งวดสุดท้ายเกินกำหนดเวลาในข้อตกลงเกือบ 2 เดือน จึงไม่มีความผูกพันที่จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ดังนั้นการที่โจทก์ต้องถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก มิใช่เป็นผลจากการกระทำของจำเลย / คดีต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายของศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน หากข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมรับฟังข้อเท็จจริงใหม่เพิ่มเติมได้.

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 310
-          (ขส พ 2519/ 8) เจ้ามือหวยแพ้พนัน แล้วไม่จ่ายเงิน ผู้ถูกรางวัลนำไปกักขัง บังคับให้เขียนจดหมายถึงภรรยา ภรรยาหาเงินมาจ่ายบางส่วน จึงปล้ำเอาสร้อยคอเจ้ามือ แล้วปล่อยไป เจ้ามือใช้ปืนยิงน่องคนที่กักขัง ๑ นัด รักษา ๕ วันหาย (กรรมการไม่ทำธง)
-          (ขส พ 2528/ 9) นาย ข ขู่ นาย ก ที่ซื้อเนื้อโค จากคนร้ายที่ลักเอาโค ของนาย ข ไป โดยขู่ให้ใช้เงินคาโค ถ้าไม่ยอมจะให้ตำรวจจับฐานรับของโจร เป็นความชอบธรรมของนาย ข  การเรียกเงินเพื่อตกลงทางคดี หาใช่มีเจตนาทุจริตไม่ จึงไม่ผิด ม 337 1942/2514 / นาย ข บอกว่าได้แจ้งความไว้แล้ว ถ้าไม่ไปสถานีตำรวจ จะนำตำรวจไปจับ นาย ข ไม่ใช่คนจับเอง และไม่เป็นการข่มขู่ หน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำให้นาย ก ไปไหนไม่ได้ และไม่ทำให้ปราศจากเสรีภาพ ไม่ผิด ม 310 (ชี้ให้ตำรวจจับ) 1301/2510 / ต่อมานาย ก นำเงินมา แต่นาย ข นัดตำรวจมาจับ นาย ก จึงบังคับให้นาย ค ขับรถหนีตำรวจ ผิด ม 309+310 แล้วไล่นาย ค ลงรถ และขับหนีเอง ถึงที่โล่ง ก็จอดทิ้งไว้ แสดงว่าไม่มีเจตนาจะถือเอา อันจะเป็นการลักทรัพย์ ฎ 1683/2500

-          (ขส อ 2522/ 9) นายศักดิ์ประกันตัวต่อศาลแล้ว ไปท้านายสม นายสมนำสำเนาหมายจับเดิมไปให้ตำรวจจับอีก ไม่ได้อยู่ในดุลพินิจของตำรวจ นายสมผิด ม 310 2060/2521 / นายศักดิ์ท้าให้จับไม่ผิด ตำรวจจับตามหมายโดยสำคัญผิด ไม่ผิด ม 62

มาตรา 310 ทวิ ผู้ใดหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใด ให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้น กระทำการใดให้แก่ผู้กระทำหรือบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 311     ผู้ใดกระทำ โดยประมาทและการกระทำนั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้น ถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 หรือมาตรา 300
มาตรา 312     ผู้ใดเพื่อจะเอาคนลงเป็นทาส หรือให้มีฐานะคล้ายทาส นำเข้าใน หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พามาจากที่ใด ซื้อ ขาย จำหน่าย รับหรือหน่วงเหนี่ยว ซึ่งบุคคลหนึ่งบุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 312 ทวิ          ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 310 ทวิ หรือมาตรา 312 เป็นการกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก หรือมาตรา 310 ทวิ หรือมาตรา 312 เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1)     รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
(2)     รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี
(3)     ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 312 ตรี ผู้ใดโดยทุจริตรับไว้ จำหน่าย เป็นธุระ จัดหา ล่อไป หรือพาไป ซึ่งบุคคลอายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา 313     ผู้ใด เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่
(1)   เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป
(2)   เอาตัวบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีไป โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด หรือ
(3)   หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใด
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังนั้น รับอันตรายสาหัส หรือเป็นการกระทำโดยทรมาน หรือโดยทารุณโหดร้าย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำนั้น รับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดนั้น เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังนั้น ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต

-          การบังคับชำระหนี้ โดยเจ้าหนี้กระทำตามที่เชื่อว่ามีอำนาจกระทำได้ กรณีที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นค่าไถ่ และมีความผิด
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 3805/2526 จำเลยกับพวกเป็นทหารพรานมีอาวุธปืน เข้าไปพูดขู่บังคับให้ผู้เสียหายไปกับจำเลย แล้วบอกให้คนในบ้านนำเงินไปไถ่ตัวผู้เสียหาย หาไม่แล้วจะไม่ได้กลับนั้น จำเลยมีเจตนากระทำผิด และมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ในการเอาตัวผู้เสียหายไป โดยวิธีขู่เข็ญใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม และข่มขืนใจผู้เสียหาย มีความผิดตาม ป.อ.ม. 313 (2) แล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะได้มาซึ่งค่าไถ่หรือไม่ แม้จำเลยได้รับค่าไถ่ แล้วมอบต่อให้แก่หัวหน้าทหารพราน เป็นค่าชดใช้ราคาทรัพย์สินของทางราชการที่ พ. ทหารพรานหลานผู้เสียหายหลบหนีไป ก็เป็นการเอาค่าไถ่ไปจากผู้เสียหายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

-          การบังคับชำระหนี้ โดยเจ้าหนี้กระทำตามที่เชื่อว่ามีอำนาจกระทำได้ กรณีที่ศาลวินิจฉัยว่าไม่เป็นค่าไถ่
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 1061/2504 จำเลยถูกสลากกินรวบแล้วไปเอาเงินที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้ามือ แต่ผู้เสียหายไม่ให้ จำเลยกับพวกตามไปพบผู้เสียหายแล้วพาผู้เสียหายขึ้นรถไปด้วยกัน จำเลยได้ให้ผู้เสียหายเขียนหนังสือถึงภริยาให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือ และได้ให้ผู้เสียหายทำสัญญากู้เงินจำเลย ตามจำนวนที่ถูกสลากกินรวบไว้แล้ว ให้ผู้เสียหายไป ดังนี้ เจตนาของจำเลยเป็นเพียงแต่ทวงเอาเงินซึ่งจำเลย เชื่อว่าควรจะได้ เงินประเภทนี้จึงไม่ใช่สินไถ่หรือค่าไถ่ตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 313 การกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อค่าไถ่อันเป็นองค์ ความผิดประการสำคัญ ตามมาตรา 313 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจับคน เพื่อค่าไถ่ตามมาตรา 313
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 7742/2542 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังตัวผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองเชื่อว่าสามารถกระทำได้ ดังนั้นประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องให้ผู้เสียหายชำระหนี้ จึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามความหมายในบทนิยามคำว่า "ค่าไถ่" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (13) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 วรรคสอง

-          เหตุฉรรจ์
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 2209/2521 จับคนไปเรียกค่าไถ่ เอาโซ่ล่ามข้อเท้าไว้กับเสา 10 วัน แล้วพาไปล่ามโซ่ไว้กับต้นไม้ในป่าบนร้านใต้ผ้าเต็นท์อีก 4 วัน จำเลยถูกจับแล้วพาตำรวจไปเอาตัวคืนมา ดังนี้ เป็นการทรมาน แต่ไม่ถึงเป็นอันตรายแก่การหรือจิตใจ ผิด ม.313 วรรคแรก และ ม.316
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 3891/2548 จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนไปที่เคหสถานอันเป็นที่พักอาศัยของโจทก์ร่วม  แล้วใช้อาวุธปืนขู่บังคับโจทก์ร่วมกับรื้อค้นเอาเงินจำนวน 3,000 บาท และนาฬิกาข้อมือ ราคา 150,000 บาทไป จากนั้นจำเลยเอาเสื้อคลุมศีรษะโจทก์ร่วมบังคับให้ขึ้นรถยนต์ที่ติดเครื่องรออยู่หน้าที่พักอาศัยของโจทก์ร่วมแล้วขับรถนำโจทก์ร่วมไปกักขังไว้  และส่งจดหมายเรียกค่าไถ่ไปยังภริยาและบุตรของโจทก์ร่วมซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จนภริยาของโจทก์ร่วมตกลงจ่ายค่าไถ่ให้จำเลยจำนวน 275,000 ดอลลาร์สหรัฐ   ในระหว่างที่โจทก์ร่วมถูกขัง จำเลยได้มัดโจทก์ร่วมด้วยโซ่ที่มือ เท้าทั้งสองข้าง และใส่กุญแจ  และจำเลยควบคุมตัวโจทก์ร่วมอยู่ตลอดเวลา  เมื่อโจทก์ร่วมจะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ จำเลยทั้งสองจะช่วยถอดกางเกงให้ โจทก์ร่วมถูกขังอยู่ในลักษณะดังกล่าวเป็นเวลา 133 วัน จึงหลบหนีออกไปได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ร่วมหมดอิสระในการเคลื่อนไหวร่างกายไปที่อื่นและสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว เป็นเหตุให้ไม่ได้รับประทานยาแก้โรคเบาหวาน ทำให้อาการกำเริบ มีเลือดปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะ การกระทำของจำเลยต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำโดยทรมานจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 วรรคสอง

-          ตัวการร่วม
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 3075/2527 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ.ม.313 ประกอบด้วย ม.316, 53 จำคุก 20 ปี แสดงว่าได้ใช้โทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นเกณฑ์ในการคำนวณโทษ แต่ตาม ม.316 จะลงโทษน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษดังกล่าวหาได้ไม่  โทษจำคุก 20 ปี ที่ศาลชั้นกำหนด จึงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น  ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ให้สูงขึ้นอีกได้ / จำเลยที่ 2 กับพวกจับตัว ช.และ ส.ไปเรียกค่าไถ่เมื่อ ส.นำเงินค่าไถ่ไปมอบให้จำเลยที่ 2 และพวกนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งมีอาวุธปืนได้อยู่ด้วย โดยได้ช่วยรับและนับเงินค่าไถ่  หลังจากนั้นจึงได้ปล่อยตัว ช. ให้เป็นอิสระ  ดังนี้ จำเลยที่ 1  เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2  และพวกในการกระทำความผิดด้วย

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 313
-          (ขส เน 2514/ 5) ผู้กู้ เอาตัวบุตรอายุ 13 ปีของผู้ให้กู้ไปกักขังไว้ แล้วส่งจดหมายขู่ให้คืนสัญญากู้เพื่อทำลาย ถึงเวลานัดผู้ให้กู้นำสัญญาไปด้วย แต่ผู้กู้ถูกตำรวจจับก่อน / ผู้กู้ผิด ม 313 เพราะเอาตัวเด็กฯ ไปกักขัง เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ คือสัญญากู้ อันเป็นทรัพย์สินฯ ที่เรียกเอาเพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของเด็ก + ผิด ม 317 + เป็นกรรมเดียว ตาม ม 90 (เพิ่ม ม 337+80+309)

-          (ขส พ 2519/ 8) เจ้ามือหวยแพ้พนัน แล้วไม่จ่ายเงิน ผู้ถูกรางวัลนำไปกักขัง บังคับให้เขียนจดหมายถึงภรรยา ภรรยาหาเงินมาจ่ายบางส่วน จึงปล้ำเอาสร้อยคอเจ้ามือ แล้วปล่อยไป เจ้ามือใช้ปืนยิงน่องคนที่กักขัง ๑ นัด รักษา ๕ วันหาย (กรรมการไม่ทำธง)

มาตรา 314     ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามมาตรา 313 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น

-          ำพิพากษาฎีกาที่ 1173/2521 ตำรวจกำลังค้นหาตัวผู้ถูกเอาตัวไปเรียกค่าไถ่ จำเลยร้องบอกตำรวจ โดยเข้าใจว่าเป็นคนร้าย ว่ามีตำรวจมา 2 คันรถ แต่จำเลยไม่ใช่ผู้ทำหน้าที่สอดส่องความเคลื่อนไหวของตำรวจ ดังนี้ จำเลยไม่ใช่ผู้สนับสนุนการเรียกค่าไถ่
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 1508/2521 ฮ.บ.ถูกจับตัวไปและคนร้ายเรียกค่าไถ่จาก บ.จำเลยรับตัว ฮ.ขังไว้ แม้จะไม่ได้เรียกค่าไถ่จาก ฮ. ก็เป็นการสนับสนุนให้ บ.จัดหาค่าไถ่เร็วขึ้น จำเลยมีความผิดฐานสนับสนุนการเรียกค่าไถ่

มาตรา 315     ผู้ใดกระทำการ เป็นคนกลาง โดยเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างใดที่มิควรได้ จากผู้กระทำความผิดตามมาตรา 313 หรือจากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

-          ำพิพากษาฎีกาที่ 2025/2520 จับเด็กไป “เพื่อเรียกค่าไถ่” แม้ยังไม่ได้เรียกค่าไถ่ ก็เป็นความผิดสำเร็จ
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 257/2523 หลังจาก ล. ถูกจับตัวไปแล้ว  จำเลยที่ 3 นำจดหมายเรียกค่าไถ่ไปแสดงต่อภริยา  ล. และเจรจาลดเงินค่าไถ่ จำเลยที่ 2 ช่วยพูดสนับสนุนให้หาเงินมาไถ่ เมื่อรับเงินค่าไถ่แล้วจำเลยที่ 2,3 ขี่จักรยานยนต์ไปรับตัว  ล. คืนมา  จำเลยที่ 2,3 ไม่ได้ร่วมในการจับหรือขัง ล. ไม่ได้สนับสนุนการกระทำของคนร้ายก่อนหรือในขณะกระทำผิด  จำเลยที่  2,3 มีความผิด  ตาม ป.อ.ม.315 โดยการกระทำเข้าลักษณะเป็นคนกลางเรียกทรัพย์สินอันมิควรได้จากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ / แม้โจทก์ขอให้ลงโทษตาม ม.313 การเรียกค่าไถ่นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง ศาลลงโทษจำเลย ตาม ม.315 ที่ถูกต้องตามที่พิจารณาได้ความ และลดโทษโดยจัดให้ได้ตัวคืนมาตาม ม.316 / หลังจาก ล.ถูกจับตัวไปแล้วจำเลยที่ 3 นำจดหมายเรียกค่าไถ่ไปแสดงต่อภริยา ล. และเจรจาลดเงินค่าไถ่ จำเลยที่ 2 ช่วยพูดสนับสนุนให้หาเงินมาไถ่ เมื่อรับเงินค่าไถ่แล้วจำเลยที่ 2,3 ขี่จักรยานยนต์ไปรับตัว ล. คืนมาจำเลยที่ 2,3 ไม่ได้ร่วมในการจับหรือขัง  ล. ไม่ได้สนับสนุนการกระทำของคนร้ายก่อน หรือในขณะกระทำผิดจำเลยที่ 2,3 มีความผิดตาม ป.อ.ม.315 โดยการกระทำเข้าลักษณะเป็นคนกลาง เรียกทรัพย์สินอันมิควรได้จากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ แม้โจทก์ขอให้ลงโทษตาม ม.313 การเรียกค่าไถ่นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่โจทก์พิจารณาได้ความ และลดโทษโดยจัดให้ได้ตัวคืนมาตาม ม.316
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 465/2527 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.ม.313, 314  แต่การเรียกค่าไถ่ เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่โจทก์กล่าวหาจำเลยมาในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม  ม.315 ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.ว.อ.ม.192 / คนร้ายจับผู้เสียหายไปเรียกค่าไถ่ พี่ผู้เสียหายออกตามพบจำเลย ซึ่งเรียกให้รถหยุด แล้วจำเลยเป็นผู้ต่อรองค่าไถ่ด้วยตนเอง ลดจำนวนค่าไถ่ลงเมื่อได้ค่าไถ่ แล้วจำเลยก็สามารถจัดการให้คนร้ายปล่อยผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับคนร้ายเป็นอย่างดี เข้าลักษณะกระทำการเป็นคนกลางเรียกทรัพย์สินมิควรได้จากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ อันเป็นความผิดตาม ป...315
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 1220/2527 จำเลยติดต่อคนร้าย เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายซึ่งถูกจับไปเรียกค่าไถ่ โดยสุจริต ไม่มีพฤติการณ์ใดส่อไปในทำนองว่ามีส่วนได้เสีย หรือร่วมรู้เห็นเป็นใจกับคนร้าย ผู้เสียหายกับจำเลยอยู่คนละจังหวัด การเดินทางไปติดต่อคนร้ายติดต่อผู้เสียหาย ย่อมต้องเสียค่าใช้จ่าย การที่ผู้เสียหายมอบเงินจำนวนหนึ่งให้จำเลยเป็นค่าใช้จ่าย เงินดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่มิควรได้ตามความหมายของ ป.อ.315 การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด

มาตรา 316     ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 313 มาตรา 314 หรือมาตรา 315 จัดให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง ได้รับเสรีภาพ” “ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาโดยผู้นั้นมิได้รับอันตรายสาหัส หรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

-          ำพิพากษาฎีกาที่ 1205/2520 ปล้นทรัพย์แล้วเอาตัวคนไปเรียกค่าไถ่ในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ได้เงินแล้วปล่อยตัวคนมา โดยถูกทำร้ายเพียงฟกช้ำขัดยอก เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์กับเรียกค่าไถ่ตาม ม.313 คนละกระทงกัน ลงโทษน้อยลงไม่เกินกึ่งหนึ่งตาม ม.316
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 2209/2521 (สบฎ เน 5628) จับคนไปเรียกค่าไถ่ "เอาโซ่ล่ามข้อเท้าไว้กับเสา 10 วัน" เล้วล่ามไว้ในป่าอีก 4 วัน จำเลยถูกจับแล้วพาตำรวจ ไปเอาตัวคืนมา เป็นการทรมาน แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผิด ม 313 1 + 316
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 2277/2521 (สบฎ เน 5628) คนร้ายปล่อยตัว ผู้ถูกเอาตัวเรียกค่าไถ่ตาม ม 316 แม้ "พวกของจำเลย" เป็นผู้จัดให้ได้รับเสรีภาพ ไม่ใช่จำเลยจัดการ เหตุลดโทษนี้ "เป็นเหตุลักษณะคดี" จำเลยได้รับการลดโทษด้วย
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 465/2527 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.ม.313, 314  แต่การเรียกค่าไถ่ เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่โจทก์กล่าวหาจำเลยมาในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม  ม.315 ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.ว.อ.ม.192 / คนร้ายจับผู้เสียหายไปเรียกค่าไถ่ พี่ผู้เสียหายออกตามพบจำเลย ซึ่งเรียกให้รถหยุด แล้วจำเลยเป็นผู้ต่อรองค่าไถ่ด้วยตนเอง ลดจำนวนค่าไถ่ลงเมื่อได้ค่าไถ่ แล้วจำเลยก็สามารถจัดการให้คนร้ายปล่อยผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับคนร้ายเป็นอย่างดี เข้าลักษณะกระทำการเป็นคนกลางเรียกทรัพย์สินมิควรได้จากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ อันเป็นความผิดตาม ป...315 / จำเลยจัดให้ผู้เสียหายได้รับเสรีภาพกลับคืนมา ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาโดยผู้เสียหายมิได้รับอันตรายสาหัส หรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ชอบที่จะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดกึ่งหนึ่งตาม ม.316
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 2848/2527 จำเลยปล้นทรัพย์ และคุมตัวผู้เสียหาย อ. ภริยาผู้เสียหายและ  ว.ไปด้วย แล้วจึงปล่อยตัว อ.กับ ว. โดยสั่งให้นำเงินไปไถ่ตัวผู้เสียหายพอทราบว่าตำรวจกำลังออกติดตาม จำเลยก็ปล่อยตัวผู้เสียหาย ดังนี้ แม้จะยังไม่ทันได้มาซึ่งเงินค่าไถ่ ก็เป็นความผิดฐานเอาตัวผู้เสียหายไป เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่อันเป็นความผิดสำเร็จแล้ว และถือได้ว่าจำเลยได้จัดให้ผู้เสียหายได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา  ซึ่งกฎหมายให้ลงโทษน้อยกว่าที่กำหนดไว้แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งตามนัย ป.อ.ม.316 ศาลล่างกำหนดโทษมา โดยมิได้พิเคราะห์ประกอบกับ ม.316 นี้ ศาลฎีกากำหนดโทษเสียใหม่ และการลดโทษตาม ม.316 เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่มิได้ฎีกาด้วย
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 332/2531 จำเลยรับจ้างผู้เสียทำงานบ้านและเลี้ยงดูเด็กหญิง ส.อายุ 9 เดือนบุตรของผู้เสียหาย ต่อมาจำเลยได้เอาตัวเด็กหญิง ส. ไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ผู้เสียหายทราบเรื่องจึงพาเจ้าพนักงานตำรวจตามไป พบเด็กหญิง ส.นอนอยู่ในเปลที่ใต้ถุนบ้านหลังหนึ่ง ขณะนั้นจำเลยยืนบังเสาอยู่ได้เดินออกมา ผู้เสียหายอุ้มเด็กหญิง ส.ขึ้นจากเปล พาบุตรสาวพร้อมทั้งจำเลยกลับบ้าน ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จัดผู้ถูกเอาตัวไปได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา อันจะได้ประโยชน์ตาม มาตรา 316 เพราะการจัดให้ผู้ถูกเอาตัวไปให้ได้รับเสรีภาพตามมาตรา 316 นั้น จะต้องเป็นการกระทำของผู้กระทำผิดคือจำเลย หรือผู้ที่ร่วมกระทำผิดกับจำเลย แต่กรณีนี้เป็นเรื่องผู้เสียหายตามไปพบ และอุ้มเอาบุตรสาวมาเอง จำเลยมิได้กระทำการใด
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 2306-2307/2531 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 ได้รับเงินค่าไถ่จากพวกของผู้เสียหายแล้ว ได้จัดให้ผู้เสียหาย ผู้ถูกเอาตัวไปได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โดยผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 316 บัญญัติให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 ตามกำหนดโทษที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 313 วรรคแรกนั้นจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว  แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้   ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและพิพากษาตลอดไปจนถึงจำเลยที่  1 ที่ 4 และที่ 6 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี

ไม่มีความคิดเห็น: