มาตรา 68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใด เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็น “การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย” ผู้นั้นไม่มีความผิด
- หลักเกณฑ์ (อ เกียรติขจรฯ 8/338)
- มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
- ภยันตรายนั้น “ใกล้จะถึง”
- ผู้กระทำ “จำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง หรือผู้อื่น” ให้พ้นจากภยันตรายนั้น
- การกระทำนั้น “ไม่เกินขอบเขต”
- มีภยันตรายเกิดขึ้น (อ เกียรติขจรฯ 8/338)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1665/2509 ผู้เสียหายมีรูปร่างใหญ่กว่าจำเลย เป็นฝ่ายรุกรานเข้ามาทำร้ายจำเลยก่อน จำเลยแย่งมีดจากผู้เสียหาย ก็แย่งไม่ได้ จึงคว้ามีดที่โต๊ะทำอิฐแทงผู้เสียหายไปหลายที เพื่อป้องกันตัวให้พ้นอันตราย และการกระทำของจำเลยก็เกิดขึ้นโดยกระทันหันติดพันกันในขณะนั้นเอง จำเลยย่อมไม่มีโอกาสที่จะคิดเป็นอย่างอื่น นอกจากจะคิดป้องกันตัวให้พ้นอันตรายที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ทั้งขณะที่จำเลยแทงผู้เสียหายภัย ที่จำเลยอาจจะได้รับจากผู้เสียหาย ก็ยังไม่หมดไปในขณะนั้น จำเลยก็ไม่รู้ว่าบาดแผลของผู้เสียหายนั้นจะถึงบาดเจ็บสาหัส จนไม่สามารถจะทำร้ายจำเลยได้อีกหรือไม่ การกระทำของจำเลยไม่เกินสมควรแก่เหตุ / การที่ผู้เสียหายเข้ามาจำทำร้ายจำเลยโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะทำการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องวิ่งหนี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3187/2530 (ยิงผู้อื่นก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจะถูกทำร้าย อ้างป้องกันไม่ได้) โจทก์ร่วมกับจำเลยมีเรื่องโต้เถียงท้าทายกันก่อนแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายนัดโจทก์ไปชกต่อย เมื่อถึงที่เกิดเหตุโจทก์ร่วมซึ่งไม่มีอาวุธใดติดตัวเดินเข้าหาจำเลยห่างประมาณ 1 เมตรจำเลยกลับใช้อาวุธปืนจ้องยิงบริเวณหน้าอกของโจทก์ร่วม 2 นัด โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบ กระสุนปืนถูกโจทก์ร่วมที่ต้นแขนซ้ายและต้นขาซ้ายตามลำดับ พฤติการณ์ที่จำเลยสมัครใจวิวาท ท้าทายและใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมกำลังจะทำร้ายจำเลยก่อน จึงเป็นการแสดงเจตนาฆ่า จำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5664/2540 ก่อนเกิดเหตุผู้ตายเข้ามาต่อว่า และตบหน้าจำเลย จำเลยโมโหจึงชักปืนยิงผู้ตาย 3 นัด ซึ่งในขณะเกิดเหตุ มีผู้อยู่ในเหตุการณ์เพียง 3 คน คือ อ. พยานโจทก์ จำเลย และผู้ตาย อ. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย หรือผู้ตายมาก่อน จึงเป็นพยานคนกลาง พยานปากนี้จึงมีน้ำหนักมาก ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาคำเบิกความของจำเลยแล้ว จำเลยเพียงแต่เกรงว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิง ทั้งที่ยังไม่มีพฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทำร้ายจำเลย และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีอาวุธปืน จึงถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย
- ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย (อ เกียรติขจรฯ 8/340)
- ผู้ก่อภัย ไม่มีอำนาจกระทำ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2353/2530 กรณีที่มิใช่เป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าที่ ราษฎรย่อมไม่มีอำนาจตามกฎหมายหมายที่จะจับกุมผู้กระทำผิด ดังนั้น การที่ ช.กับผู้ตายซึ่งเป็นเพียงราษฎร จะเข้าจับกุมจำเลยภายหลังเกิดเหตุจำเลยทำร้ายผู้อื่นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกัน เพื่อให้พ้นจากการที่จะต้องถูกจับได้ แต่การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้ตายที่หน้าอกส่วนล่างใต้นมเหนือชายโครงซ้าย และผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนเกิดเหตุนั้นเอง แสดงว่าจำเลยแทงโดยแรง และเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยเลือกแทงที่อวัยวะสำคัญโดยไม่ปรากฏว่า ช. กับผู้ตายมีอาวุธ หรือแสดงอาการในลักษณะที่จะทำร้ายจำเลย นอกเหนือจากการกระทำเพื่อจับกุมเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
- ผู้ก่อภัย มีอำนาจทำได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 668/2489 พลตำรวจเข้าไปห้ามปรามผู้ด่าว่าอาละวาด แต่ผู้นั้นไม่ยอมฟัง พลตำรวจเชิญไปสถานีตำรวจก็ไม่ยอมไป ดังนี้พลตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้นั้นได้ ถ้าผู้นั้นฆ่าเจ้าพนักงานก็เป็นผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ตาม ม.250 (2) (ผู้ฆ่าเจ้าพนักงานไม่อาจอ้างป้องกันได้ เพราะพลตำรวจมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยได้ตามกฎหมาย)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 429-30/2505 พระภิกษุบังคับจะเอามีดจากจำเลยซึ่งเป็นศิษย์ เนื่องจากจำเลยเป็นคนโมโหร้ายมีมีดไว้กลัวจะมีเรื่อง จำเลยแสดงกิริยาขัดขืนจะต่อสู้พระภิกษุจึงใช้ไม้ฟาดไปทีหนึ่งจำเลยยกแขนรับปิดไม้กระเด็นไปแล้ว จำเลยโถมเข้าหาพระภิกษุกอดปล้ำกันล้มกลิ้งไปมา จำเลยใช้มีที่ถืออยู่แทงพระภิกษุเช่นนี้ ไม่เป็นการป้องกันสิทธิของตนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 และไม่เป็นบันดาลโทสะตาม มาตรา 72 (การที่พระบังคับเอามีดจากจำเลย และเมื่อจำเลยแสดงกริยาอาการขัดขืนจะต่อสู้ จึงได้ใช้ไม้ฟาดจำเลยไปทีหนึ่ง เป็นการใช้อำนาจของอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองศิษย์ ภายในขอบเขตอันสมควร)
- การใช้อำนาจเกินเหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 187/2507 จำเลยกระทำความผิดลหุโทษตอนกลางคืน แล้วหนีเข้าบ้านจำเลย ตำรวจรู้จักจำเลยดีแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยจะหนีต่อไป ไม่มีเหตุตาม ปวิอ ที่จะเข้าจับในที่รโหฐานในเวลากลางคืนได้ จำเลยใช้มีด “จะฟันตำรวจ” ซึ่งเข้ามาจับในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยอ้างป้องกันได้
- ละเมิดกฎหมาย (แพ่งหรืออาญา ก็อ้างป้องกันได้)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1830/2493 สามีภรรยาทะเลาะกัน แล้วสามีใช้มีดฟันภรรยา ๆ ร้องให้ชู้ช่วย ชู้จึงเข้ามาเอามีดฟันสามีที่ศีรษะ 3 ทีติดกัน โดยไม่ยั้งมือ ซึ่งแต่ละแผลแตกแยกถึงมันสมองไหล อาจถึงตายในทันทีได้ทุกแผล และโดยไม่ปรากฎว่า ระหว่างการฟันครั้งที่ 2-3 นั้น สามียังทำร้ายภรรยาอยู่ต่อไปหรือไม่ เช่นนี้ ถือว่าการกระทำของชู้ เป็นการป้องกันภรรยา แต่เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3435/2527 ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ เมื่อกำลังตกมันย่อมเป็นสัตว์ดุ จำเลยไม่คอยควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด เพียงแต่ใช้เชือกผูกไว้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาท และเป็นเหตุโดยตรงให้ พ. ผู้เสียหายถูกช้างของจำเลยแทงด้วยงาได้รับอันตรายสาหัส แล้วช้างวิ่งไปพังบ้านขอ ด. เสียหายอีก จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม. 300 ถือได้ว่าจำเลยปล่อยปละละเลยให้ช้างเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ได้ เป็นความผิดตาม ม. 377 อีกบทหนึ่งด้วย Ø หากเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นว่า ขณะที่ช้างตัวนี้กำลังจะแทงแดง แดงกลัวอันตรายจึงยิงช้างตาย แดงย่อมอ้างป้องกันได้ ผู้ละเมิดกฎหมายคือเจ้าของช้าง เพราะถ้าช้างทำร้ายแดง เจ้าของช้างต้องรับผิดตามมาตรา 300 กฎหมายที่เจ้าของช้างละเมิดในที่นี้คือ มาตรา 300 (คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 แก้ไขเพิ่มเติม หน้า 325)
- ละเมิดกฎหมาย ประเด็นเปรียบเทียบการที่คู่สมรส กระทำผิดคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งและชู้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 378/2479 “การทำชู้ของภริยานั้น จะเป็นการสำเร็จรูป ต้องมีชายชู้มาร่วมด้วย การที่ภริยามีชู้นั้น ถือว่าเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศของสามีอย่างร้ายแรง ฉะนั้นเมื่อผู้เป็นสามี ฆ่าภริยาและชายชู้ตาย ขณะร่วมประเวณีกัน จึงถือว่าเป็นการป้องกันเกียรติยศพอสมควรแก่เหตุ”
- คำพิพากษาฎีกาที่ 621/2494 ใช้มีดฟันชายที่กำลังทำชู้กับภริยาตน แล้วยังไล่ติดตามฟันชายนั้นอีก จนชายนั้นถึงแก่ความตายดังนี้ ถือว่าเป็นการป้องกันเกียรติยศ แต่ได้ทำไปเกินสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 249/2515 จำเลยเห็นผู้ตายกำลังชำเราภริยาจำเลยในห้องนอน แม้ภริยาจำเลยจะมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็อยู่กินกันมา 13 ปี และเกิดบุตรด้วยกัน 6 คน จำเลยย่อมมีความรักและหวงแหน การที่จำเลยใช้มีดพับเล็กที่หามาได้ในทันทีทันใด แทงผู้ตาย 2 ที และแทงภริยา 1 ที ถือว่าจำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ (& หากผู้อื่นข่มขืนภริยา สามีเข้าช่วย ถือเป็นการป้องกันสิทธิของภริยา แต่หากภริยายินยอมให้ผู้อื่นกระทำชำเรา สามีเข้าทำร้าย ปัจจุบันอาจไม่ถือเป็นการป้องกันเกียรติยศ เพราะเกียรติยศในส่วนนี้ สิ้นสุดลงตั้งแต่ภริยามีชู้แล้ว ไม่มีอะไรต้องป้องกันอีก ประกอบกับรัฐธรรมนูญบัญญัติให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน สามีมีชู้ ภริยาทำร้าย อ้างได้เพียงบันดาลโทสะ กรณีกลับกันก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3861/2547 แม้จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต. มีสิทธิป้องกันมิให้หญิงอื่นมามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีของตน แต่ขณะจำเลยพบโจทก์ร่วมนั้น โจทก์ร่วมกำลังนอนหลับอยู่กับ ต. เท่านั้น มิได้กำลังร่วมประเวณีกัน พฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันจำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของจำเลยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่โจทก์ร่วมเข้าไปนอนหลับอยู่กับ ต. สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่เตียงนอนในฟาร์มเลี้ยงไก่ของ ต. เช่นนี้นับได้ว่าเป็นการกระทำที่ข่มเหงจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยพบเห็นโดยบังเอิญ มิได้คาดคิดมาก่อน และไม่สามารถอดกลั้นโทสะไว้ได้ ใช้มีดฟันศีรษะโจทก์ร่วมไปในทันทีทันใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อ. มาตรา 72 หาใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3955/2547
- ภยันตรายอันใกล้จะถึง (อ เกียรติขจรฯ 8/352)
- ผู้ทำละเมิดไม่มีอำนาจ และภัยนั้นจะเกิด หรือยังไม่เกิด แต่ใกล้จะเกิด อ้างป้องกันได้ แต่หากยังไม่น่าจะเกิดภัย อ้างป้องกันไม่ได้
- ภยันตรายที่เกิดจากการกระทำโดยประมาท หากใกล้จะถึง ก็สามารถป้องกันสิทธิได้
- แดงขับในที่ชุมชนด้วยความเร็วสูง รถจะชนบุตรของเหลือง เหลืองยิงยางรถ เพื่อป้องกันบุตรได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2285/2528 (ผู้ตายกำลังชักปืน แม้ยังไม่ถึงเป็นความผิด (ยังไม่ถึงขั้นลงมือ คือเล็ง หรือพร้อมจะยิงได้) โดยไม่ต้องรอให้ถูกยิง หรือมือถึงไกปืน ก็ยิงป้องกันได้) ผู้ตายมาพูดขอแบ่งวัวจากจำเลย จำเลยไม่ยอมแบ่ง และชวนให้ไปตกลงกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้านหรือที่บ้านกำนัน แต่ผู้ตายไม่ยอมไป กลับชักปืนออกมาจากเอว จำเลยย่อมเข้าใจว่าผู้ตายจะใช้ปืนยิงจำเลย อันเป็นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายไป 1 นัด และผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2540 การที่ผู้เสียหายเมาสุราไม่เชื่อฟังมารดา พูดจาท้าทายจำเลย และถือมีดปลายแหลมซึ่งใบมีดยาวถึง 17 เซนติเมตร เดินไปตบหน้าภริยาจำเลยที่หน้าประตูห้องน้ำ ในขณะที่จำเลยอยู่ในห้องน้ำและอยู่ห่างกันเพียง 1 วา ไม่มีทางที่จำเลยจะหลบหนีไปทางใดได้ บุคคลที่อยู่ในภาวะเช่นจำเลย ต้องเห็นว่าผู้เสียหายมีเจตนาจะทำร้ายจำเลย โดยใช้มีดที่ถือมาแทงจำเลยอย่างแน่นอน และอาจถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่จำเลยเปิดประตูห้องน้ำออกมาแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเพียง 1 นัด แล้วหลบหนี จึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5664/2540 ก่อนเกิดเหตุผู้ตายเข้ามาต่อว่า และตบหน้าจำเลย จำเลยโมโหจึงชักปืนยิงผู้ตาย 3 นัด ซึ่งในขณะเกิดเหตุมีผู้อยู่ในเหตุการณ์เพียง 3 คน คือ อ. พยานโจทก์ จำเลย และผู้ตาย จำเลยเพียงแต่เกรงว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิง ทั้งที่ยังไม่มีพฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทำร้ายจำเลย และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีอาวุธปืน ถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย
- ระยะเวลาในการป้องกัน เริ่มตั้งแต่ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง จนถึงภยันตรายนั้นสิ้นสุดลง (อ เกียรติขจรฯ 8/355)
- ฎ.1250/2502 ลักทรัพย์ขาดช่วงไปแล้ว ตามไปเจอทรัพย์ แล้วซุ่มยิง อ้างป้องกันไม่ได้
- ฎ.943/2508 ลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงพาทรัพย์ไป ยิงเอาทรัพย์คืน อ้างป้องกันได้
- ฎ.1826/2530 แทงป้องกัน 1 ที ผู้ตายยังวิ่งตามมาอีก แทงอีก
- ประเด็นเปรียบเทียบ เรื่องเหตุป้องกันสิ้นสุดลงและกรณียังไม่สิ้นสุด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1250/2502 มีคนร้ายลักทรัพย์ของจำเลยไปในตอนกลางคืนรุ่งเช้า จำเลยไปพบทรัพย์ที่ถูกลักไปซ่อนอยู่ในป่า จึงดักซุ่มรอคอยคนร้ายอยู่ 3-4 ชั่วโมง ผู้ตายก็มาเอาทรัพย์นั้นออกจากที่ซ่อนเดินไปได้ 3-4 วา จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลย ไม่เป็นการป้องกัน ตามมาตรา 68 จึงมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 943/2508 คนร้ายจูงกระบือไปจากใต้ถุนเรือนจำเลย เมื่อเวลาประมาณ 24 นาฬิกา จำเลยร้องถาม คนร้ายหันปืนมาทางจำเลย จำเลยจึงยิงปืนไปจากบนเรือน 2 นัด ถูกคนร้ายตาย จำเลยเคยถูกลักกระบือมาแล้วครั้งหนึ่ง และหมู่บ้านนั้นมีการลักกระบือกันเสมอดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายพอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 / จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยกระทำเพื่อเป็นการฟ้องกันเท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบว่าจำเลยได้ยิงผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 526/2513 ผู้ตายมีปืนติดตัวไปในไร่ของจำเลย พูดคุกคามจะตัดไม้ในไร่นั้น ทำนองข่มเหงจำเลย จำเลยห้ามแล้ว ผู้ตายกลับไม่พอใจ ยกปืนจ้องไปทางจำเลย จำเลยกับผู้ตายแย่งปืนกัน ปืนลั่นถูกจำเลยบาดเจ็บ และหลุดมือผู้ตาย ผู้ตายวิ่งหนีไปโดยไม่มีอาวุธ จำเลยไล่ตามไปฟันผู้ตาย การกระทำของจำเลย ดังนี้ไม่เป็นการป้องกัน แต่ถือว่ากระทำโดยบันดาลโทสะ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 406/2523 ผู้ตายยิงปืนมาทางจำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยยิงผู้ตายที่หันหลังวิ่งหนี ไม่แน่ว่าผู้ตายจะหันกลับมายิงจำเลยอีกหรือไม่ ภยันตรายที่จะเกิดจากผู้ตายจึงยังไม่หมดไป และจำเลยที่ 1 ช่วยเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จับผู้ตายซึ่งกระทำความผิดซึ่งหน้าได้ ผู้ตายถูกยิงที่อวัยวะสำคัญถึงแก่ความตายทันที เห็นได้ว่ามีเจตนาฆ่า เป็นการใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลาย ที่ไม่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้ตาย และเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัว ตาม ป.อ.ม.69
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4544/2531 ผู้ตายกับพวกบุกรุกเข้าไปในบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนโดยเจตนาที่จะลักทรัพย์ เมื่อจำเลยได้ยินเสียงสัญญาณป้องกันขโมยดังขึ้น จึงนำอาวุธปืนสั้นลงมาดู ก็ถูกฝ่ายผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงก่อนในระยะใกล้ แม้กระสุนปืนไม่ถูกจำเลย ก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าฝ่ายผู้ตายจะยิงซ้ำอีกหรือไม่ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปทางกลุ่มคนร้าย ซึ่งมีผู้ตายอยู่ด้วยเพียงนัดเดียวในระยะกระชั้นชิดเช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิในชีวิต และทรัพย์สินของตนให้พ้นภยันตรายอันเกิดจากการ ประทุษร้ายของผู้ตายกับพวกพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3976/2543 ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองของตึกแถว แล้ววิ่งขึ้นไปที่ห้องพักผู้เสียหายที่ชั้นสามจำเลยตามผู้เสียหายขึ้นไปเพื่อจะทำร้ายผู้เสียหายเมื่อเห็นผู้เสียหายยืนอยู่ตรงทางเข้าห้องพักผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดถูกที่บริเวณหน้าท้อง ดังนี้แม้ผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน แต่ขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ได้จะเข้าทำร้ายจำเลย และที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ชั้นสอง ก็ไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว จำเลยจึงอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายไม่ได้ แต่การที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยแล้ววิ่งขึ้นไปชั้นสาม จำเลยตามขึ้นไป แล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ
- เจตนาพิเศษ เพื่อป้องกัน (อ เกียรติขจรฯ 8/360)
- ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา และมีเจตนาพิเศษ “เพื่อป้องกันสิทธิฯ”
- ต้องกระทำต่อผู้ก่อภัย หรือกระทำต่อทรัพย์ของผู้ก่อภัย ในลักษณะเพื่อป้องกันก็ได้
- แดงขังเด็กไว้ในรถ ให้ขาดอากาศ ดำทุกกระจกเพื่อช่วยเด็ก ดำอ้างป้องกันได้
- สุนัขของแดงซึ่งดูแลไม่ดี จะกัดดำ ดำพังประตูบ้านแดงเพื่อหนีสุนัข ดำอ้างป้องกันได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5/2500 ตั้งใจไปจับชู้ของภรรยาซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน พอไปถึงบ้าน ภรรยาพบชู้ออกมาจากห้องนอนมาที่พาไลเรือน จึงใช้ปืนยิงชู้ตาย ดังนี้ ไม่เป็นการป้องกัน แต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2510 วันเกิดเหตุ จำเลยกลับถึงบ้าน เห็นผู้ตายกำลังกอดปล้ำข่มขืน เพื่อจะชำเราภริยาจำเลย จำเลยจึงเปิดประตูเข้าไปฟันผู้ตาย 2 ที แล้วจำเลยวิ่งหนีไปทางหลังบ้าน เพราะกลัวผู้ตายซึ่งคว้ามีดจะทำร้ายจำเลย ผู้ตายยังไล่จำเลยไปอีกติด ๆ กัน จำเลยหนีไม่พ้น จึงหันหน้ามาฟันผู้ตายอีก 2-3 ที ผู้ตายผละหนีไปทางหน้าบ้าน แล้วไปนอนตายในลำห้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการจำต้องกระทำ เพื่อป้องกันสิทธิของจำเลยให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง และถือได้ว่าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุการกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1660/2511 มีผู้นำช้างไปล่ามไว้ใกล้กับสวนของจำเลยโดยจำเลยไม่รู้ กลางคืนช้างหลุดพังรั้วเข้าไปในสวนของจำเลย จำเลยพบช้างอยู่กลางไร่ข้าวโพดห่างประมาณ 4 วา และช้างเดินเข้าหาจำเลย จำเลยเข้าใจว่าเป็นช้างป่าจึงยิงไป 2 นัด เป็นการกระทำโดยจำเป็น จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ (ความสำคัญผิดของจำเลย ถึงขั้นขาดองค์ประกอบภายนอก ตาม ม 59 ว 3 จำเลยไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ “ผู้อื่น” ไม่มีความผิด ไม่จำต้องอ้างป้องกัน หรือจำเป็น) ((ขส เน ) ยิงช้างที่มีคนเลี้ยงไว้ไม่ดี จะเข้ามาทำละเมิด คิดว่าเป็นช้างป่า จะเข้ามาทำความเสียหาย อ้างได้เพียง ม 67 เพราะขาดเจตนาพิเศษตาม ม 68 (ถ้ามีเจตนาป้องกันสิทธิ อ้างได้ถึงป้องกัน เพราะถือว่าผู้เลี้ยงช้างทำละเมิด ม 420+433))
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1584/2513 โจทก์กับจำเลยโต้เถียงกัน และกอดปล้ำชกต่อยทำร้ายซึ่งกันและกันที่ร้านขายของ โจทก์ใช้ขวดตีจำเลยที่แสกหน้าโลหิตไหล มีคนทำแผลให้ราว 20 นาที ส่วนโจทก์หนีไปก่อนแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยกลับบ้าน พบโจทก์ถือไม้ไผ่โตเท่าข้อมือยาวประมาณ 2 ศอกมาคอยดักทำร้ายทำเลย จำเลยจึงใช้ปืนยิงไปถูกมือโจทก์แล้ววิ่งหนี หากจำเลยไม่ยิงโจทก์ ๆ อาจตีศีรษะจำเลยเป็นอันตรายถึงตายได้ การที่จำเลยยิงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 98/2514 จำเลยเกิดปากเสียงด่าทอและใช้มือผลักกันกับพวกคนหนึ่งของผู้ตาย ผู้ตายเข้าห้ามและใช้มือตบหน้าจำเลย โดยมิได้แสดงอาการว่าจะทำร้ายจำเลยด้วยอาวุธอะไรต่อไปอีก จำเลยได้ชักมีดออกแทงผู้ตายไปทันที ถูกผู้ตายเป็นแผลฉกรรจ์ 3 แผลถึงแก่ความตายเช่นนี้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึงหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1212/2517 จำเลยเป็นหัวหน้ายาม เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้อยู่ยามตามหน้าที่ จำเลยสอบถามดูแต่โดยดี ผู้ตายกลับพูดทำนองไม่ยำเกรงจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้า และตรงเข้าต่อยเตะจำเลยทันที การที่จำเลยชกต่อยตอบโต้ไปบ้าง ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่ป้องกันได้ หาจำต้องให้ผู้ตายทำร้ายแต่ฝ่ายเดียวไม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องสมัครใจเข้าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน และเมื่อผู้ตายเตะต่อยจำเลยล้มลงไปแล้ว ยังยืนรอจะทำร้ายจำเลยอีก พอจำเลยลุกขึ้นผู้ตายได้แทงจำเลยอีก 2 ครั้ง ครั้งที่สองถูกหน้าท้องถึงไส้ไหล จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงไป 1 นัดในระยะห่าง 1 วา ขณะที่ผู้ตายขยับจะแทงเอาอีก หากจำเลยไม่ยิงผู้ตายก็อาจเข้าทำร้ายจำเลยถึงตายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2467/2518 จำเลยใช้มีดแทงผู้ที่ดำน้ำมาจับเอว จับนม และของลับบุตรสาวจำเลย ขณะอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำ มีแผล 5 แผล ผู้นั้นจมน้ำตาย เป็นการป้องกันเกินกว่าเหตุ ตาม ม.288, 69
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2442/2527 กระบือของจำเลยถูกลักไปหลายครั้ง คงเหลืออยู่ตัวเดียว คืนเกิดเหตุเวลาประมาณ 19 น. ผู้ตายเดินผ่านหน้าบ้านจำเลยตามทางที่มีคนเดินประจำ จำเลยยิงผู้ตายเพราะเข้าใจผิดว่า เป็นคนร้ายมาลักกระบือ มีเหตุให้จำเลยต้องป้องกันทรัพย์ แต่ก็เป็นการกระทำที่เกินกว่ากรณีที่จำเป็นต้องกระทำเพื่อป้องกัน จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.ม.288 ประกอบด้วย ม.69
- คำพิพากษาฎีกาที่ 96/2529 (ฎ สล 1 น 40 / อ เกียรติขจร 8/361) การกระทำซึ่งจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.อ. มาตรา 68 ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา จำเลยเอาอาวุธปืนออกมาขู่ผู้ตาย และทำปืนลั่นโดยประมาท ถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่ใช่การกระทำโดยเจตนา การกระทำของจำเลยจึงมิใช่การป้องกัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 226/2529 ผู้ตายกับจำเลยเป็นตำรวจสถานีเดียวกัน มีเรื่องโกรธเคืองกันอย่างรุนแรงมาก่อน คืนเกิดเหตุ มีงานเลี้ยงที่หอประชุม เมื่องานเลิกแล้วผู้ตายพบจำเลยที่หน้าหอประชุม ผู้ตายเมาสุราเดินเข้าไปหาจำเลยพูดว่า วันนี้เป็นวันตายของมึง มีตำรวจอีกคนหนึ่งเดินเข้าไปด้วย จำเลยเดินถอยหลัง ผู้ตายเดินตาม และชักปืนพกออกมา จำเลยเดินถอยหลังไปจนติดหอประชุม จึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย 1 นัด ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำเพื่อป้องกันชีวิตของตนให้พ้นจากภยันตราย ที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง พอสมควรแก่เหตุ ส่วนที่มีการด่าทอ และกล่าวคำผรุสวาทกันก่อน เมื่อจำเลยมิได้เป็นเหตุก่อเหตุวิวาท และไม่มีเจตนาวิวาทกับผู้ตาย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 729/2541 จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เนื่องจากจำเลยต้องการเอาสร้อยคอทองคำของจำเลยคืนจากผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายไม่ใช่เจ้ามือพนัน และจำเลยไม่ได้เล่นพนันกับผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเอาสร้อยคอที่จำเลยจะใช้เล่นพนันกับเจ้ามือพนันไป โดยที่จำเลยมิได้ยินยอมเล่นพนันด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยติดตามเอาสร้อยคอของจำเลยคืนในทันทีทันใด จึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พันภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย แต่การที่จำเลยใช้มีดเป็นอาวุธเข้าแย่งสร้อยคอจากผู้เสียหาย จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 297 (4) ประกอบด้วย มาตรา 69 แต่เมื่อได้ความว่าผู้เสียหายมีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดด้วย ประกอบกับจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุสมควรปราณีแก่จำเลย เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีจึงให้รอการลงโทษจำคุกไว้
- ผู้อ้างป้องกัน ต้องไม่มีส่วนผิด (อ เกียรติขจรฯ 8/345)
- ผู้สมัครใจวิวาท ผู้ก่อเหตุ หรือเป็นสาเหตุแห่งการกระทำผิด ยินยอม หรือยั่วยุ อ้างป้องกันไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1803/2494 ลูกจ้างกับนายจ้างวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ลูกจ้างตบตีนายจ้างลงไปนอนและขึ้นนั่งคร่อมทับไว้ บุตรชายและบุตรสาวของนายจ้างเข้าช่วยมารดา ลูกจ้างจึงได้หันเข้าทำร้ายบุตรสาวนายจ้างบาดเจ็บ และชักเงี่ยงปลากะเบนที่ตนพกไว้ออกแทงบุตรชายนายจ้าง 1 ทีถึงแก่ความตาย แม้ก่อนแทง บุตรชายนายจ้างจะได้บีบคอลูกจ้าง จนติดกำแพง ลูกจ้างจึงได้ชักเงี่ยงปลาที่พกไว้ออกมาแทงก็ดี ก็เป็นเรื่องการกระทำต่อสู้กันในการวิวาท ลูกจ้างจะอ้างว่ากระทำไปโดยจำเป็นเพื่อป้องกันตัว ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 777/2505 ผู้ตายร้องท้าท้ายจำเลย ๆ โดยลงจากเรือนแล้วเข้าต่อสู้กับผู้ตาย เป็นการสมัครใจเข้าต่อสู้ มิใช่เป็นการป้องกันตัว / จำเลยโดดลงจากเรือไปต่อสู้กับผู้ตาย จำเลยใช้มีดดาบยาว 1 แขน ฟันผู้ตายถึง 3 แห่ง แผลที่สำคัญถูกที่คอเกือบขาดนั้นแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย ต้องมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตามมาตรา 288
- คำพิพากษาฎีกาที่ 290/2509 การที่จำเลยพกอาวุธปืนเข้าไปในบริเวณรั้วบ้านผู้ตาย ในยามวิกาล นับได้ว่าเป็นการกระทำ อันเป็นความผิด ตามกฎหมาย ผู้ตายเมื่อรู้ตัวว่าของหาย และเห็นจำเลย ก็เข้าใจว่าเป็นคนร้ายลักทรัพย์จึงฟันเอา แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายดังนี้ย่อมเห็นได้ว่าการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย เป็นผลจากการกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว จำเลยหาอาจป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้น เพราะการกระทำของตนอันเป็นความผิดต่อกฎหมายได้ไม่ จึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 334/2509 ในเวลากลางคืน จำเลยกับพวกถือปืนขึ้นไปหาผู้ตายบนเรือนของ ส.เพื่อจะทำร้ายผู้ตาย เพราะโกรธเคืองผู้ตาย ถือว่าจำเลยกับพวกเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน ผู้ตายใช้ปืนยิงต่อสู้ป้องกันตน เพราะจำเลยกับพวกใช้อาวุธปืนคนละกระบอกขู่ผู้ตาย “แม้กระสุนปืนของผู้ตายจะลั่นออกไปก่อน” จำเลยจะอ้างเหตุว่าจำเลยกระทำไปโดยป้องกันหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 277/2510 จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุกันมาก่อน ในวันเกิดเหตุได้มีการท้าทายกัน แล้วผู้ตายแสดงกิริยาจะเข้ามาทำร้ายจำเลย จำเลยชักปืนยิงผู้ตาย 1 นัด ก่อนผู้ตายจะเข้าถึงตัว ครั้นเมื่อผู้ตายเข้าประชิดตัวจำเลยและแทงจำเลยได้ จำเลยก็ยิงผู้ตายอีก 3 นัด เมื่อเหตุเกิดจากการสมัครใจสู้กัน จำเลยจะอ้างว่าป้องกันตัวหาได้ไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1527/2512 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ตายกับพวกมีเหล็กขูดชาร์ฟทำร้ายพวกจำเลยและวิ่งตามมาจะทำร้ายอีก จำเลยทราบเรื่องก็โกรธ จึงถือมีดปังตอออกมาหาผู้ตายกับพวก ผู้ตายกับพวกได้วิ่งหนีไป จำเลยวิ่งไล่ทันแล้วเกิดต่อสู้กับผู้ตาย เหตุที่จำเลยวิ่งไล่เพราะผู้ตายกับพวกมาทำร้ายพวกจำเลย อันเป็นการสมัครใจวิวาทกัน จึงไม่เป็นการป้องกันตัวตาม มาตรา 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1603/2512 (สบฎ เน 2076) เมื่อพฤติการณ์เป็นกรณีวิวาทสมัครใจต่อสู้ทำร้ายกัน จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าป้องกันไม่ได้ และจะอ้างว่าทำโดยบันดาลโทสะก็ไม่ได้ เพราะสมัครใจต่อสู้มาแต่แรก จำเลยเหวี่ยงมีดถูกผู้ตาย โดยไม่มีโอกาสเลือกแทง เพราะเป็นการชุลมุน ผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1271/2513 จำเลยกับผู้ตายและคนอื่นอีก 2 คนร่วมดื่มสุรากันในร้านจนมึนเมา เกิดทะเลาะวิวาทกัน จำเลยถูกตีศีรษะโลหิตไหล และจำเลยก็ตีผู้ตาย แล้ววิ่งหนีออกจากร้านไปได้ 6-7 เมตร แล้วหันกลับมายิงผู้ตายซึ่งถือขวดโซดาตามออกมาที่หน้าร้าน การที่จำเลยยิงผู้ตายเช่นนี้ จะอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัวไม่ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากการสมัครใจทำร้ายกัน ในร้านยังไม่ขาดตอน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2154/2519 จำเลยกับพวกก่อเหตุชกต่อยผู้เสียหาย แล้ววิ่งหนี ผู้เสียหายไล่ตามต่อเนื่องไป ไม่ขาดตอน จำเลยยิงผู้เสียหาย ดังนี้ ไม่เป็นการป้องกัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2322/2522 จำเลยโต้เถียงกับผู้ตายแล้วสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กัน ผู้ตายและผู้เสียหายมีอาวุธในมือจะเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยยิงผู้ตายและผู้เสียหายจำเลยก็อ้างว่าป้องกันไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 476/2526 จำเลยกับผู้ตายได้ชกต่อยกัน เนื่องจากทะเลาะกันในการเล่นการพนัน มีคนห้าม หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง ได้พบกันอีก และต่างเดิมเข้าหากัน ผู้ตายใช้เหล็กแหลมแทง จำเลยใช้มือปัดและใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตาย 1 ที ถูกที่อก ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยกับผู้ตายต่างสมัครใจเข้าวิวาททำร้ายซึ่งกันและกัน จำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1119/2526 จำเลย ผู้เสียหายและผู้ตายเมาสุรา แล้วเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกันในวงสุรา และต่อเนื่องมาจนเกิดเหตุจำเลยแทงผู้เสียหาย และผู้ตายเป็นเรื่องต่างสมัครใจวิวาทเข้าทำร้ายกันเนื่องจากขาดสติ เพราะเมาสุราจำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันตนโดยชอบหาได้ไม่ ผู้ตายมีบาดแผลถึง 8 แผล โดยเฉพาะที่หน้าอกมีถึง 6 แผล และทะลุเข้าหัวใจ เป็นเหตุให้ถึงตาย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1961/2528 การวิวาทหมายถึงการสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายกัน คำพูดของจำเลยที่ว่าการย้ายตำรวจต้องมีขั้นตอน ต้องมีคณะกรรมการ อย่าไปเชื่อให้มากนัก เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นในการสนทนาเท่านั้น มิได้มีข้อความใดที่เป็นการท้าทายให้ผู้ตายหรือผู้เสียหายออกมาต่อสู้ทำร้ายกับจำเลยจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุวิวาทมิได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2046/2528 ย. ผู้ตายมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับจำเลยในตอนบ่ายของวันเกิดเหตุ ครั้นตอนกลางคืน ย. กับพวกมาเรียกจำเลยที่หน้าร้านซึ่งปิดแล้วให้ออกไปปรับความเข้าใจกัน จำเลยย่อมทราบดีว่า ย. มาเพื่อก่อเรื่องชวนวิวาท การที่จำเลยเปิดประตูร้านและนำอาวุธปืนออกไปพบ ย. แล้วเกิดปากเสียงทะเลาะกัน จำเลยยิง ย. กับ ว.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ แสดงว่าจำเลยกับพวกผู้ตายสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กัน แม้จำเลยจะถูกพวกของผู้ตายยิงและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยก็จะอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3973/2528 ก่อนเกิดเหตุตอนกลางคืน ผู้ตายฉายไฟฉายส่องไปถูกจำเลยเกิดโต้เถียงกัน รุ่งขึ้นตอนเช้า จำเลยพกมีดออกจากบ้านไปนั่งรอผู้ตายที่ปากทางเข้าบ้านผู้ตาย เมื่อพบกันผู้ตายต่อว่าจำเลยเรื่องที่โต้เถียงกันเมื่อคืนก่อน แม้ผู้ตายจะลงมือทำร้ายจำเลยก่อน ตามพฤติการณ์แห่งคดี ก็ถือได้ว่าจำเลยสมัครใจวิวาทต่อสู้กับผู้ตาย การที่จำเลยแทงผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกัน ผู้ตายถูกแทงที่หน้าอกซ้ายทะลุเข้าโพรงหัวใจ หัวใจฉีกขาดที่ช่องท้องลำไส้ใหญ่ทะลุฉีกขาด เป็นการแทงโดยแรงที่อวัยวะสำคัญ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2508/2529 (เหตุวิวาทยุติ กำลังจะกลับบ้าน ผู้เสียหายกับพวกจะรุมทำร้าย จำเลยจึงยิงผู้เสียหาย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ) ต.กับพวกเข้ามาชกต่อยจำเลยกับเพื่อนแล้ววิ่งหนีไป จำเลยวิ่งไล่ตามถือปืนไปด้วยแต่ไม่ทัน จำเลยกลับมาที่รถยนต์สองแถวนำเพื่อนขึ้นไปนั่งบนรถเพื่อจะกลับบ้าน แสดงว่าจำเลยไม่สมัครใจที่จะวิวาททำร้ายกับ ต. และพวกต่อไป แต่ ต. ไปบอกผู้เสียหายผู้เสียหายกับพวก 7-8 คน ถือมีดเข้ามาจะทำร้ายจำเลยกระโดดขึ้นไปบนรถยนต์สองแถวแล้วพูดห้ามว่าอย่าเข้ามาแต่ผู้เสียหายกับพวกไม่ฟัง คนในกลุ่มผู้เสียหายกลับพูดว่าลุยเข้าไปเลยกระสุนปืนหมดแล้ว จำเลยจึงชักปืนออกมาถือจ้องไว้ ผู้เสียหายกับพวกยังวิ่งเข้ามา จำเลยจึงยิงออกไป 1 นัด ถูกผู้เสียหายล้มลงขณะยิงจำเลยอยู่ห่างผู้เสียหายกับพวกประมาณ 10 ม. ห่าง ต. 5 ม. หากผู้เสียหายกับพวกวิ่งเข้ามาถึงตัวอาจทำร้ายจำเลยถึงตายได้ นับได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายกับพวกในขณะนั้นจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายและฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในเมือง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 740/2530 จำเลยกับผู้ตายขับรถยนต์มาประจัญหน้ากันและหลีกกันไม่พ้น เพราะซอยแคบ จำเลยกับผู้ตายเกิดโต้เถียงกัน เมื่อขับรถสวนพ้นกันไปแล้ว จำเลยกับผู้ตายก็ยังโต้เถียงกันอีก ต่างคนต่างหยุดรถและลงมาจากรถ ผู้ตายถือปืนลงมา และยิงขึ้นฟ้า เป็นการระบายอารมณ์โกรธที่โต้เถียงกับจำเลย โดยมิได้แสดงกิริยาอาการ ว่าจะใช้ปืนยิงจำเลยแต่อย่างใด การที่จำเลยหยิบปืนในรถออก แล้วยิงไปที่ผู้ตายในลักษณะประสงค์ร้ายต่อชีวิตในขณะนั้น เป็นเหตุให้เกิดการการยิงกัน จนผู้ตายถูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงถึงแก่ความตาย จึงเป็นเรื่องที่จำเลยและผู้ตายสมัครใจต่อสู้กัน จะอ้างว่าเป็นการป้องกันหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3759/2532 จำเลยที่ 1 โกรธที่ ก.ภริยาไม่ยอมกลับบ้านและจำเลยที่ 2 น้องของ ก. ห้ามปรามกีดกัน จึงก่อเหตุร้องท้าทายและเป็นฝ่ายยิงปืนเข้าไปในบริเวณบ้านจำเลยที่ 2 ซึ่ง ก. กับจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ก่อน กระสุนปืนถูกจำเลยที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 2 จึงวิ่งเข้าไปในบ้านเอาปืนมายิงต่อสู้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการป้องกันตัว และไม่ใช่การกระทำความผิดเพราะเหตุบันดาลโทสะ เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 510/2535 จำเลยและ อ.โต้เถียงกันก่อน แล้วใช้อาวุธทำร้ายกัน จำเลยชกต่อย แล้วใช้มีดฟันและแทง อ.จนได้รับบาดเจ็บจึงถูก อ.ตีจนได้รับบาดเจ็บ การกระทำของจำเลย มิใช่เกิดจากการที่จำเลยกระทำโดยป้องกันสิทธิของตน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1305/2537 โจทก์มี ฉ.ประจักษ์พยานซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายเบิกความถึง เหตุการณ์ที่ผู้ตายสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลย แม้ข้อความนั้นเป็นผลร้ายต่อฝ่ายผู้ตายซึ่งเป็นสามีของตน แสดงให้เห็นว่า ฉ.เบิกความตรงไปตรงมา ตามข้อเท็จจริงที่ตนรู้เห็น มิได้ปรักปรำจำเลย ทั้งในชั้นสอบสวนก็ให้การเช่นนี้ ส่วนจำเลยกับพยานของจำเลยเบิกความแตกต่างกัน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ตามข้อต่อสู้ของจำเลย การที่จำเลยผู้โต้เถียงกับผู้ตายเมื่อผู้ตายพูดว่า จะใช้ขวานฟันจำเลย จำเลยก็ตอบว่า ถ้าผู้ตายใช้ขวานฟันจำเลยก็จะยิงด้วยอาวุธปืน อันเป็นทำนองท้าทายผู้ตาย แสดงว่าจำเลยสมัครใจจะทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย การที่จำเลยยิงผู้ตายจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ตาม ป.อ.มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเฉพาะเหตุอายุของผู้ กระทำความผิด แม้ว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนจะยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้น ต้นก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาล ฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3089/2541 ผู้เสียหายที่ 1 ไปท้าทายจำเลย ว่า "มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัวถ้าแน่จริง" แม้จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องหลบหนีก็ตาม แต่หากจำเลยไม่สมัครใจที่จะวิวาทหรือต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 จำเลยก็ชอบที่จะไม่ตอบโต้ หรือออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยกลับออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 โดยพกอาวุธปืนไปด้วย แสดงว่าจำเลยสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 และเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะชักมีดออกมาเพื่อจ้วงแทงจำเลย ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะวิวาทกัน จำเลยไม่มีสิทธิใช้ไม้ตีและใช้ปืนยิงโดยอ้างเหตุป้องกันตามกฎหมาย ทั้งการที่ผู้เสียหายที่ 1 มาเรียกจำเลยให้ออกไปชกต่อยกันตัวต่อตัว ไม่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรง ไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72
- คำพิพากษาฎีกาที่ 7257/2542 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำร้ายจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เบิกความว่า พยานยิงปืนออกไปนัดแรก ขณะจำเลยที่ 3 นอนหงายอยู่บนเบาะรถยนต์กระบะโดยมีจำเลยที่ 2 นอนคว่ำทับอยู่ จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยที่ 3 และเมื่อพิเคราะห์ถึงอาวุธที่จำเลยที่ 1 ที่ว่า "ดึงกุญแจไว้ เอาให้ตาย" แม้จำเลยที่ 1 จะยิงถูกจำเลยที่ 3 เพียงนัดเดียว ก็ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เข้าทำร้ายจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 1 จึงอ้างว่ากระทำโดยป้องกันไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1665/2543 จำเลยโกรธโจทก์ร่วมที่ไม่ยอมลงชื่อรับหนังสือจากจำเลย และด่าโจทก์ร่วมว่า "ไอ้ลูกหมา" พร้อมกับผลักโต๊ะใส่ แล้วเข้ากอดปล้ำต่อสู้กัน ถือว่าจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุกับสมัครใจทะเลาะวิวาท จึงไม่อาจอ้างว่ากระทำไป เพื่อป้องกัน เพราะการป้องกันโดยชอบตาม ป.อ. มาตรา 68 ต้องเป็นกรณีที่ผู้ถูกกระทำฝ่ายเดียวก่อน จึงได้กระทำไปเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6884/2543 การอ้างเหตุป้องกันตัวตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 68 นั้น ผู้ยกขึ้นอ้างต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยวิ่งหนีเมื่อผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไปเพื่อจับกุม จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แม้จะฟังว่าอย่างที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานตรวจใช้อาวุธปืนยิง ก็คงเป็นการยิงขู่เพื่อให้จำเลยยอมให้จับกุม มากกว่ามีเจตนาฆ่าจำเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยคงต้องถูกกระสุนปืนบ้างไม่มากก็น้อย ข้อเท็จจริงจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุป้องกันตัวขึ้นมาอ้างได้
- หากเหตุวิวาทสิ้นสุดลงแล้ว ต่อมามีการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายเกิดขึ้นใหม่ ผู้ถูกกระทำ สามารถอ้างป้องกันได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 21/2511 ผู้ตายถูกจำเลยชก ผู้ตายกลับไปบ้านเอามีดขอเที่ยวตามหาจำเลยเพื่อฆ่า เมื่อพบ ผู้ตายก็เข้าฟันจำเลยแต่ผิด ด้วยความเมาสุราจึงเซถลาไป พอลุกขึ้นก็ถูกจำเลยยิง 3 นัดติด ๆ กัน ดังนี้เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เพราะในเหตุการณ์ฉุกละหุกเช่นนี้ จำเลยไม่อาจคิดได้ว่ายิงสักกี่ทีจำจะพอยับยั้งผู้ตายได้
- ผู้ป้องกันสิทธิ ไม่จำเป็นต้องหนีผู้ก่อภัย (อ เกียรติขจรฯ 8/357)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 94/2492 ผู้ตายอายุ 30 ปี ร่างใหญ่กว่าจำเลย จำเลยอายุ 19 ปี ผู้ตายมีไฟฉาย และมีดพกอยู่ที่ตัว ก่อเหตุผลักจำเลย แล้วชกจำเลย จำเลยใช้มีแทงสวนไป ถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ “โจทก์ฎีการับในข้อนายเล้ง เป็นผู้ก่อเหตุ แต่เถียงว่าวิสัยคนดีต้องหนี เมื่อจำเลยไม่หนีกลับแทงนายเล้ง จำเลยชอบที่จะต้องรับโทษ หาใช่เป็นการป้องกันตัวไม่ โจทก์ฎีกาดั่งนี้ แต่ถ้าคิดกลับไปอีกทางหนึ่ง จำเลยถูกนายเล้งเหยียดหยาม และข่มเหงถึงขนาดนี้แล้วเอาแต่หนี ก็แสดงความขลาด การใช้สิทธิป้องกันตัวสมควรแก่เหตุจึงไม่มีโทษ”
- คำพิพากษาฎีกาที่ 169/2504 ผู้ตายบุกรุกเข้าไปจะทำร้ายจำเลย จนถึงบ้านจำเลย จึงใช้ปืนยิงเอา เพราะถ้าไม่ยิง ผู้ตายก็จะฟันจำเลย ดังนี้ ถือว่าเป็นการป้องกันชีวิตพอสมควรแก่เหตุ แม้จำเลยจะเห็นผู้ตายอยู่ก่อน และอาจหลบหนีไปได้ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นที่ผู้มีสิทธิครอบครองเคหสถานโดยชอบ จะต้องหนีผู้กระทำผิดกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1212/2517 จำเลยเป็นหัวหน้ายาม เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้อยู่ยามตามหน้าที่ จำเลยสอบถามดูแต่โดยดี ผู้ตายกลับพูดทำนองไม่ยำเกรงจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้า และตรงเข้าต่อยเตะจำเลยทันที การที่จำเลยชกต่อยตอบโต้ไปบ้าง ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่ป้องกันได้ หาจำต้องให้ผู้ตายทำร้ายแต่ฝ่ายเดียวไม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องสมัครใจเข้าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน และเมื่อผู้ตายเตะต่อยจำเลยล้มลงไปแล้ว ยังยืนรอจะทำร้ายจำเลยอีก พอจำเลยลุกขึ้นผู้ตายได้แทงจำเลยอีก 2 ครั้ง ครั้งที่สองถูกหน้าท้องถึงไส้ไหล จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงไป 1 นัดในระยะห่าง 1 วา ขณะที่ผู้ตายขยับจะแทงเอาอีก หากจำเลยไม่ยิงผู้ตายก็อาจเข้าทำร้ายจำเลยถึงตายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3089/2541 ผู้เสียหายที่ 1 ไปท้าทายจำเลย แม้จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องหลบหนี แต่หากจำเลยไม่สมัครใจที่จะวิวาทหรือต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 จำเลยก็ชอบที่จะไม่ตอบโต้ หรือออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยกลับออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 โดยพกอาวุธปืนไปด้วย แสดงว่าจำเลยสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 และเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะชักมีดออกมาเพื่อจ้วงแทงจำเลย ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะวิวาทกัน จำเลยไม่มีสิทธิใช้ไม้ตีผู้เสียหายทั้งสอง และใช้ปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยอ้างเหตุป้องกันตามกฎหมาย ทั้งการที่ผู้เสียหายที่ 1 มาเรียกจำเลยให้ออกไปชกต่อยกันตัวต่อตัว ไม่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรง ไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72
- การป้องกัน พอสมควรแก่เหตุ มาตรา 68 (อ เกียรติขจรฯ 8/367)
- “พอสมควร” (1) กระทำด้วยวิถีทางน้อยที่สุด เท่าที่จำเป็น และ (2) ได้สัดส่วน กับภยันตราย (ต้องครบ 2 เงื่อนไข)
- ถ้ากระทำได้สัดส่วน ไม่ต้องนำผลของการป้องกันมาพิจารณา ฎ 1656/2514 ชกป้องกัน 1 ที ถึงตาย
- ป้องกันต้องทำต่อผู้ทำละเมิด สามารถทำได้ในสัดส่วนที่เท่ากัน ส่วนจำเป็นทำต่อผู้อื่น ต้องทำให้น้อยที่สุด (เน 47/15/20)
- ป้องกันเป็นกฎหมายที่ให้เอกชนบังคับใช้กฎหมายด้วยตนเอง ต้องตีความเคร่งครัดและระวัง (เน 47/14/1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 428/2496 จำเลยนั่งดูหนังตะลุงอยู่ดี ๆ ผู้ตายซึ่งเมาสุราเข้าถีบหน้าจำเลยแล้วโดดข้ามไป พอจำเลยลุกขึ้นได้ ผู้ตายก็หันกลับมาชวนให้น่าเชื่อว่า ผู้ตายหันมาเพื่อร้ายจำเลยอีก ทั้งผู้ตายก็เป็นนักเลงโต อาจมีอาวุธติดตัวอยู่ก็ได้ แม้จำเลยไม่รู้ว่าผู้ตายมีอาวุธอะไร ก็เป็นเวลากระทันหันจวนตัว การที่จำเลยใช้มีดคู่ปลายแหลมแทงผู้ตายไป 1 ที ในขณะนั้น และผู้ตายตายเพราะพิษบาดแผลที่ถูกแทงนั้น ก็ถือได้ว่าจำเลยกระทำการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1385/2494 จำเลยมิได้เป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุร้ายขึ้น แต่ผู้ตายไปดักคอยทำร้ายจำเลยกลางทาง จำเลยหนีไปเป็นระยะทางถึง 4 เส้น ผู้ตายก็ยังไล่ติดตามจะทำร้ายจำเลย ๆ หนีขึ้นไปบนเรือนแล้ว ผู้ตายก็ยังบุกรุกตามขึ้นไปอีก และโดดแทงจำเลยด้วยมีดก่อน จำเลยจึงต่อสู้ป้องกันตัว แม้จำเลยฟันผู้ตายทีหนึ่งแล้ว ผู้ตายทรุดตัวลงนั่งก็ดี แต่ก็ยังกำมีดอยู่ ยากที่จำเลยจะคิดเห็นได้ว่าตนพ้นอันตรายแล้ว ผู้ตายอาจผลุนผลันลุกขึ้นทำร้ายอีกก็ได้ จำเลยจึงฟันผู้ตายอีกทีหนึ่ง ผู้ตายจึงล้มลง แล้วจำเลยก็มิได้ทำอันตรายอีก ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เกินสมควรแก่เหตุ ได้รับการยกเว้นโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 50
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1646/2514 ผู้ตายเมาสุราเข้าไปต่อว่าพวกของจำเลยแล้วเป็นปากเสียงกันขึ้น จำเลยจึงเข้าไปจะดึงพวกของจำเลยขึ้นรถผู้ตายได้ยกมือขึ้นทำท่าจะชกจำเลย จำเลยจึงชกผู้ตายไป 1 ที ถูกผู้ตายล้มลงสลบและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ดังนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้กระทำเพื่อป้องกันผู้อื่น
- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 39 ประจำปี พ.ศ. 2529 นายแดงเห็นประกาศนั้นแต่คิดว่าคงไม่มีอันตราย จึงยื่นกล้องถ่ายรูปผ่านเข้าไปทางซี่กรงเพื่อถ่ายรูปเสือตัวเมียโดยใกล้ชิด ขณะนั้นเสือตัวผู้ซึ่งหลบซุ่มอยู่ได้ตรงเข้ามาตะปบแขนทั้งสองข้างของนายแดงอย่างแรง นายแดงได้รับบาดเจ็บ ขณะที่เสือตัวผู้กำลังกัดและพยายามลากแขนของนายแดงเข้าไปในกรงนั้น นายแดงได้ร้องตะโกนให้นายดำช่วย นายดำจึงใช้ปืนยิงเสือตัวผู้นั้นหลายนัด จนเสือตัวผู้ตาย / นายดำอ้างว่าป้องกันไม่ได้ เพราะการที่นายแดงถูกเสือกัดได้รับบาดเจ็บนั้น ไม่ใช่ภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย เพราะสวนสัตว์ซึ่งเป็นเจ้าของสัตว์ ไม่ได้ก่อให้เกิดภยันตรายนั้นโดยเจตนาหรือประมาทอย่างใด ด้วยเหตุนี้นายดำจะอ้างว่าตนกระทำไปโดยป้องกันสิทธิของ “ผู้อื่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ไม่ได้ เพราะนายแดงซึ่งเป็นผู้รับภยันตราย ก็ไม่อาจอ้างเหตุป้องกันได้อยู่แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 416/2515 ผู้ตายกับพวกเข้าไปในเขตรั้วบ้านของจำเลยในเวลาวิกาลในลักษณะที่จะลักทรัพย์ เมื่อภรรยาจำเลยฉายไฟไปเห็น ผู้ตายก็ยกปืนจ้องไปทางภรรยาจำเลย ถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิกระทำเพื่อป้องกันได้ และการที่จำเลยใช้ขวานด้ามไม้ยาวประมาณ 1 แขน ใบขวานเป็นเหล็กมีคม กว้าง 3 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว ซึ่งหยิบมาจากข้างฝาในขณะนั้น เหวี่ยงไปที่ผู้ตาย 4 ทีติด ๆ กัน โดยจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะต้องฟัน หรือเหวี่ยงไปกี่ที จึงจะพอยับยั้งผู้ตายมิให้ใช้อาวุธปืนยิงได้ ถือเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุ (สังเกตเรื่องสัดส่วนของการกระทำ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1697/2535 ผู้เสียหายและ ข. ได้บุกรุกขึ้นมาบนบ้านจำเลย ผู้เสียหายได้กระทำอนาจาร ส. ส.ร้องให้จำเลยช่วยเหลือ พอจำเลยลุกขึ้นจากที่นอนก็ถูก ข.ใช้ขวดสุราตี จนจำเลยล้มลงไปอีก จำเลยจึงใช้ขวานฟันไปทันที 1 ครั้ง ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าว เป็นการป้องกันตนและบุตรสาวของตน ให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมายพอสมควรแก่เหตุ ทั้งมิใช่เป็นเรื่องบันดาลโทสะ เพราะขณะที่จำเลยได้กระทำลงไปนั้น จำเลยก็ดี บุตรสาวของจำเลยก็ดี ยังไม่พ้นจากภยันตราย อันเกิดจากการกระทำของผู้เสียหายและ ข.
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2388/2537 การที่จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์ร่วมพูดจาหมิ่นประมาทว่าเที่ยวชอบเล่นชู้แล้วรังแก และทำร้าย โดยจำเลยที่ 1 เป็นหญิง ส่วนโจทก์ร่วมเป็นชายมีรูปร่างใหญ่กว่าจำเลยที่ 1 มาก ไม่มีหนทางที่จะต่อสู้ได้จำเลยที่ 1 จึงใช้มีดซึ่งอยู่ในถุงย่ามที่สะพายติดตัวมาแทงโจทก์ร่วม เพื่อมิให้โจทก์ร่วมทำร้ายจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการกระทำ เพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการที่ถูกโจทก์ร่วมประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่การที่จำเลยที่ 1 ใช้มีดแทงโจทก์ร่วมถึง 3 ครั้งตรงอวัยวะที่สำคัญของร่างกายจึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ โดยป้องกันสิทธิของตนเกินสมควรแห่เหตุ ตามป.อ. มาตรา 288 ประกอบด้วย มาตรา 80 และมาตรา 69 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในขณะที่โจทก์ร่วมกำลังทำร้ายจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หยิบไม้ฟืนที่เป็นเชื้อเพลิงใช้ทำขนมซึ่งวางอยู่ใกล้ตัว ตีโจทก์ร่วมไปเพียงครั้งเดียว และไม่เลือกว่าที่ส่วนไหนของร่างกาย เพื่อป้องกันมิให้โจทก์ร่วมทำร้ายจำเลยที่ 1 เมื่อตีแล้วก็โยนไม้ทิ้งและนั่งขายขนมต่อถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยฉับพลันทันทีเพื่อป้องกันจำเลยที่ 1 ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำป้องกันพอสมควรแก่เหตุจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5698/2537 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้สมัครใจวิวาทชกต่อยกับผู้เสียหายจำเลยที่ 2 เข้าห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายกลับชกต่อยและเตะจำเลยที่ 2 จนเซไป แม้ผู้เสียหายจะหวนกลับไปทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 อีกก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในขณะที่วิวาทกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหาย เพื่อป้องกันจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองด้วย เพราะภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่เกิดแก่จำเลยที่ 2 เอง คือการถูกผู้เสียหายชกต่อยและเตะจนเซไปได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมตาม ป.อ. มาตรา 72
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4600/2543 ผู้ตายเมาสุราเข้าไปในร้านของ ส. และบีบคอ ส. บนเตียงนอนผู้ตายถอดเสื้อ แล้วเข้ามากอดปล้ำทำอนาจาร และลาก ส.ออกมาจากร้าน ถือว่าเป็นการทำร้ายร่างกายและข่มเหงจิตใจ ส.อย่างร้ายแรงจำเลยซึ่งเป็นน้องชาย ส. อยู่ในเหตุการณ์ ย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันภัยอันตรายในขณะนั้นแทน ส. ได้ ผู้ตายไม่มีอาวุธ เมื่อจำเลยยิงผู้ตายขณะกอดปล้ำ ส. 1 นัดถูกที่หัวไหล่ซ้ายแล้ว ผู้ตายล้มลง แสดงว่าจำเลยหยุดยั้งผู้ตายไม่ให้กระทำต่อ ส. ได้พอแล้ว แม้ผู้ตายจะลุกขึ้นมาจะเข้าทำร้ายจำเลยอีก แต่สภาพของผู้ตายยังเมาสุรา และถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ย่อมไม่สามารถต่อสู้กับจำเลยได้อีก การที่จำเลยยิงผู้ตายซ้ำที่หน้าท้องจนผู้ตายล้มลงถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำที่ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ และเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็นตามมาตรา 69
- แนวคำพิพากษาฎีกา การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เกี่ยวกับระยะเวลา ขณะมีภัยและการกระทำเพื่อป้องกัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 292525/26 ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุ ชกต่อยและยิงจำเลย ก่อนจำเลยวิ่งหนี ก็ยังติดตามจะใช้อาวุธปืนยิงอีก การที่จำเลยหันกลับมายิงผู้ตายในขณะนั้น ถือได้ว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ.ม.288
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1018/2527 ผู้ตายพกอาวุธปืนมาที่บ้านจำเลย ถามจำเลยว่าเมื่อวานผ่านหน้าบ้าน บีบแตรรถทำไม และบอกให้จำเลยออกไปนอกบ้าน เป็นทำนองท้าทายชวนวิวาท ทั้งยิงจำเลยได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงคว้ามีดปอกผลไม้ ตรงเข้าไปกอดปล้ำแย่งปืนและแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้หากจำเลยไม่เข้าแย่งปืนและแทงผู้ตาย อาจจะถูกผู้ตายยิ่งซ้ำอีกได้ เพราะภยันตรายของจำเลยยังคงมีอยู่ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2535 (สบฎ เน 14) จำเลยใช้มีดฟันผู้ตาย จนอาวุธปืนหลุดไปจากมือผู้ตาย ย่อมเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เพราะหากปืนยังอยู่ในมือผู้ตายตราบใด ภยันตรายก็จะมีแก่จำเลยอยู่ตราบนั้น (มีพฤติการณ์ประกอบ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 455/2537 เมื่อผู้ตายยกอาวุธปืนเล็งมายังจำเลย จำเลยได้เข้าแย่งอาวุธปืนจากผู้ตาย ทำให้มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ผู้ตายจึงได้หักลำกล้องปืนและบรรจุกระสุนใหม่ จำเลยได้เข้าแย่งอาวุธปืนอีก เป็นเหตุให้ปืนลั่นอีก 1 นัด และอาวุธปืนได้หลุดจากมือผู้ตาย ถือว่าภยันตรายที่จำเลยต้องป้องกันได้ผ่านพ้นไป ไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอันจะต้องป้องกันอีก การที่จำเลยใช้มีดโต้ฟันผู้ตายในขณะนั้น จึงไม่อาจเป็นการกระทำโดยป้องกันได้ แต่การกระทำของผู้ตายถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยฟันผู้ตาย จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
- ป้องกัน ม 68 พลาด ตาม ม 60 ก็อ้างป้องกันต่อผู้รับผลร้ายได้ (อ เกียรติขจรฯ 8/360)
- ถ้าพลาดไปเพราะประมาท ต้องรับผิดในการกระทำโดยประมาท (อ เกียรติขจรฯ 8/365)
- เวลาตอบ ควรเขียนว่าศาลมีดุลพินิจในการลงโทษอย่างไร (เน 47/14/15)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1961/2528 หลานผู้ตายใช้ขวดตีจำเลยที่ทัดดอกไม้ จนเข่าทรุดร่วงตกจากเก้าอี้ ผู้ตายเข้าไปล็อคคอและดึงคอเสื้อจำเลยไว้ พร้อมกับพูดว่าเอาให้ตาย และมีคนอีกกลุ่มหนึ่งกรูกันเข้ามาจะรุมทำร้ายจำเลย จำเลยสะบัดหลุดแล้วชักปืนออกมาขู่ โดยหันปากกระบอกปืนขึ้นฟ้าพร้อมกับตะโกนว่าอย่าเข้ามา ทันใดนั้นมีคนเข้ามาตะปบปืนในมือจำเลย เพื่อจะแย่งปืน ปืนลั่นขึ้น 1 นัด กระสุนถูกผู้ตายล้มลงถึงแก่ความตาย จำเลยวิ่งหนี แต่คนกลุ่มนั้นวิ่งไล่ตามจะทำร้ายจำเลย จำเลยยิงปืนขู่ขึ้นฟ้าอีก 1 นัด แล้ววิ่งไปได้หน่อยหนึ่ง ก็หมดสติล้มลง กระสุนปืนนัดที่สองพลาด ไปถูกผู้เสียหายบาดเจ็บสาหัส เมื่อจำเลยเจตนายิงขึ้นฟ้า เพื่อขู่แล้ว ก็ถือไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่า จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย หรือพยายามฆ่าผู้เสียหาย และจะถือว่าจำเลยกระทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาท หรือรับอันตรายสาหัสโดยประมาทมิได้ (ไม่ถือว่ามีการกระทำ ไม่ต้องอ้างเหตุป้องกัน)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 8534/2544 (สส 12/143) จำเลยใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า เพื่อขู่มิได้กลุ่มวัยรุ่นกลุ้มรุมทำร้าย ถ. เมื่อจำเลยยิงปืนขึ้นฟ้านัดที่ 3 แล้ว ได้มีกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาทุบที่ด้านหลังของจำเลย จนเป็นเหตุให้จำเลยล้มลง และกระสุนจากอาวุธปืนที่จำเลยถืออยู่ ได้ลั่นขึ้น 1 นัด ถูกผู้เสียหายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา ได้รับอันตรายแก่กาย และถูกผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ดังกล่าว ถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน จึงย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนและของผู้อื่น ให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ แม้การกระทำของจำเลยก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้เสียหาย และผู้ตายโดยพลาด ตาม ป.อ. มาตรา 60 จำเลยก็ไม่มีความผิด เพราะการกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 68 (ฎีกานี้ อ เกียรติฯ เห็นว่า ไม่ผ่านโครงสร้างที่จะต้องรับผิด เพราะผู้กระทำยิงปืนขึ้นฟ้า ไม่มีเจตนาทำร้ายหรือฆ่าผู้อื่น และพฤติการณ์ก็ไม่เป็นประมาท จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานใด ไม่จำต้องปรับบทป้องกัน หรือบทยกเว้นความผิด)
- ป้องกันโดยสำคัญผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 978/2514 ผู้ตายเข้าไปบนเรือนของจำเลยในยามวิกาล ถึงที่ที่จำเลยนอน จำเลยร้องถามว่าใครถึง 3 ครั้ง ผู้ตายไม่ตอบและยังเข้ามาเหยียบเท้าจำเลย ประกอบกับในระหว่างนั้นได้มีคนร้ายมาปล้นบ้านใกล้เคียงบ่อยๆ จึงมีเหตุอันสมควรให้จำเลยเข้าใจว่าผู้ตายเป็นคนร้ายเข้ามาทำร้าย การที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงไป 1 ที ถือได้ว่าจำเลยกระทำการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ แต่เมื่อจำเลยแทงไป 1 ที และผู้ตายวิ่งหนีไป เสียหลักล้มลงที่พื้นดินหน้าบันไดเรือนจำเลย จำเลยยังวิ่งตามไปแทงซ้ำอีกหลายครั้ง จนผู้ตายถึงแก่ความตายอยู่ตรงนั้น ถือว่าจำเลยกระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 529/2517 คนร้ายลอบวางเพลิงบ้าน จำเลยในตอนกลางคืน ผู้ตายยืนอยู่หน้าบ้าน จำเลยสำคัญผิดคิดว่าเป็นคนร้าย จึงใช้ปืนยิงผู้ตายดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปเพื่อป้องกันทรัพย์ของตน แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าผู้ตายทำอะไรแก่บ้านของจำเลย ไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะต้องยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยถึงเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1378/2517 จำเลยเคยถูกปล้นบ้านมาก่อน และเมื่อ 20 วันก่อนเกิดเหตุก็มีคนร้ายเข้าบ้านจำเลย คืนเกิดเหตุสามีจำเลยไม่อยู่จำเลยปิดประตูบ้านซึ่งเป็นร้านค้าเข้านอนอยู่กับเด็ก ๆ เวลาประมาณ 22 นาฬิกา ได้ยินเสียงดังกุกกักที่ระเบียงเรือน จึงหยิบปืนเปิดประตูแง้มออกดู เห็นเงาคนตะคุ่ม ๆ อยู่บนระเบียงเรือนคนหนึ่ง และข้างล่างระเบียงเรือนอีกคนหนึ่ง จำเลยถามว่า "ใคร" ได้ยินเสียงตอบ "อย่าดัง" จำเลยเข้าใจว่าเป็นคนร้ายจึงยิงปืนไปยังที่อยู่ระเบียง 2 นัด คนทั้งสองหนีไป จำเลยยิงขู่อีก 1 นัด แล้วตะโกนว่า "ช่วยด้วยโจรขึ้นบ้าน" มีชาวบ้านมา และพบผู้ตายนอนตาย เพราะถูกกระสุนปืน ที่จำเลยยิงอยู่ที่ข้างคูน้ำบริเวณบ้านจำเลยดังนี้ เป็นกรณีซึ่งมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาจะเข้ามาลักทรัพย์จำเลย เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยสำคัญผิดคิดว่าผู้ตายเป็นคนร้าย จึงใช้ปืนยิง เป็นการป้องกันสิทธิในทรัพย์สินของตนพอสมควรแก่เหตุ ถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม มาตรา 68 ประกอบด้วย มาตรา 62
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1873/2522 จำเลยเป็นกำนันยิงผู้ตาย 3 นัด เพราะสำคัญผิดว่าผู้ว่าผู้ตายจะยิงจำเลย เป็นการป้องกันเกินกว่าเหตุ ศาลลดโทษและลงโทษตาม ม.288,69 ได้ จำเลยมีประวัติดีเด่นในหน้าที่ราชการ ศาลจำคุก 2 ปี รอการลงโทษไว้ 5 ปี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1971/2528 แม้ พ.ต.ต. ช.กับพวกจะเป็นเจ้าพนักงานและออกมาปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อจับกุมและตรวจค้นบ้านจำเลย ด้วยเหตุอันสมควรและมีหมายค้น แต่ได้ไปล้อมบ้านจำเลย และขอตรวจค้นในเวลากลางคืน ซึ่งทำไม่ได้เพราะขัดกับ ป.ว.อ. ม.96 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองและมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย / พ.ต.ต. ช. กับพวกเข้าล้อมบ้านจำเลยในเวลากลางคืน จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะคิดว่าเป็นพวกคนร้าย และกระทำการใด ๆ เพื่อป้องกันสิทธิของตนได้ตาม ป.อ.ม.68 แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงก่อน โดยไม่ดูให้ดีเสียก่อนว่าพวกที่มาล้อมบ้านเป็นคนร้ายจริงหรือไม่ จึงเป็นการใช้สิทธิป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งมีผลทำให้ พลตำรวจ ท. ถึงแก่ความตาย แต่ไม่ถือว่าผู้ตายเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. ม.288 ประกอบด้วยม.69 เท่านั้นไม่ผิด ม.289 (2)
- จำเลยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย สำคัญผิดในข้อเท็จจริง ม 62 ว 1 + 68 + 69 + 59 ว 2 + 288
- ไม่รู้ข้อเท็จจริงว่า เป็นตำรวจ ม 62 ว 3 + 289 (2) รับผิด ม 288
- ความสำคัญผิดเกิดขึ้นโดยประมาท ไม่ต้องวินิจฉัยก็ได้ เพราะต้องรับผิดในส่วนเจตนาซึ่งหนักกว่าอยู่แล้ว
- สำคัญผิดเกิดจากความประมาท ม 62 ว 2 + 59 ว 4 + ความตาย = 291 ปรับ มาตรา 90 รับผิดในส่วนของเจตนา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1619/2537 คืนเกิดเหตุเวลาประมาณ 2 นาฬิกา สุนัขในบ้านจำเลยเห่า จำเลยรู้สึกตัวลุกออกจากบ้านเห็นโจทก์ร่วม สำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย ซึ่งเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิที่จะป้องกันได้ แต่การที่จำเลยคว้ามีดพร้าสำหรับดายหญ้า ยาว 110 ซม. ฟันโจทก์ร่วมถูกที่ศีรษะ 2 แผล กะโหลกศีรษะแตกและถูกข้อศอกข้างละ 1 แผล โดยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์ร่วมมีอาวุธอะไร และจะได้กระทำการประทุษร้ายจำเลยอย่างไร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า โดยป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5758/2537 ผู้ตายกับพวกถือสิ่งของคล้ายอาวุธปืนเดินเข้ามาหาจำเลย ในเขตนากุ้งของจำเลยในเวลาค่ำคืน จำเลยร้องห้ามให้วางสิ่งของดังกล่าวแล้ว ผู้ตายกับพวกกลับจู่โจมเข้ามาใกล้ประมาณ 2-3 เมตร ย่อมมีเหตุให้จำเลยอยู่ในภาวะเข้าใจได้ว่าผู้ตายกับพวกจะเข้ามาทำร้าย และถือได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงไปทางผู้ตายกับพวก ในภาวะและพฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมายและพอสมควรแก่เหตุ
- ประเด็นเปรียบเทียบ การป้องกัน และบันดาลโทสะ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1048-1049/2514 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจออกตรวจท้องที่ พบผู้ตายกับพวกหลายคนถือไม้และท่อนเหล็กจับกลุ่มกันอยู่ในเวลาวิกาล จึงเข้าไปสอบถาม พวกผู้ตายกลับเข้ากลุ้มรุมตีจำเลย จนศีรษะแตกล้มลง จำเลยชักปืนออกมา ผู้ตายกับพวกก็พากันวิ่งหนี จำเลยจึงยิงไปทางพวกผู้ตาย กระสุนปืนถูกผู้ตายทางด้านหลังถึงแก่ความตาย ดังนี้ การกระทำของจำเลย ไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกัน แต่การที่ผู้ตายกับพวกเข้ากลุ้มรุมทำร้ายผู้ตายก่อน ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยยิงผู้ตายกับพวกไปในขณะนั้น จึงเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 637/2537 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่อาจเป็นทั้งการกระทำโดยบันดาลโทสะ และป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ในขณะเดียวกันได้ / ผู้ตายเข้าไปหาจำเลย แล้วเตะสำรับกับข้าวที่จำเลยกับภรรยานั่งรับประทานอยู่ แต่จำเลยก็หาได้ตอบโต้ภยันอันตรายที่ผู้ตายก่ออย่างใดไม่ ต่อเมื่อผู้ตายร้องเรียกจำเลยให้เข้ามาต่อสู้พร้อมกับด่าจำเลย จำเลยจึงเข้ามากอดปล้ำต่อสู้กับผู้ตาย แต่สู้ไม่ได้เพราะตัวเล็กกว่า จำเลยจึงวิ่งไปหยิบมีดแทงผู้ตาย การกระทำของจำเลย เป็นการกระทำเมื่อภยันตรายดังกล่าวที่ผู้ตายก่อได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่การกระทำของผู้ตาย ก็ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายไป ในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ หาใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ (โดยตัวบท อาจเข้าทั้งสองลักษณะได้ เช่น ผู้ร้ายมาแทงแล้วหนึ่งครั้ง และจะแทงอีก มีเหตุให้ต้องป้องกันอยู่ และขณะเดียวกัน ก็ทำให้ผู้ถูกแทงบันดาลโทสะได้ในขณะเดียวกัน การกระทำเพื่อป้องกัน โดยมีอารมณ์โทสะด้วย ไม่น่าจะแปลกอะไร เปรียบเหมือนทานข้าว ต้องการบรรเทาความหิว และต้องการความอร่อยด้วย ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก (ดู อ เกียรติขจร) แต่หากปรับเป็น ม 68 และ 72 แล้ว ต้องอธิบายต่อว่า ส่วนที่เป็น มาตรา 72 ไม่ต้องรับผิด เพราะเหตุใด ซึ่งต้องอาศัยโครงสร้างความรับผิดมาอธิบาย เพราะหากเป็นการป้องกันโดยชอบแล้ว การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด แม้จะทำได้โดยบันดาลโทสะด้วย ก็ไม่ต้องรับผิด ปกรณ์)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5736/2539 ผู้ตายทั้งสองมีเรื่องไม่พอใจน้องชายจำเลย แต่กลับไปหาเรื่องกับจำเลย และชี้หน้าด่าแม่จำเลย เห็นว่าการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทั้งสองด้วยสาเหตุเพียงเท่านี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการป้องกันสิทธิของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 68 แต่การที่ผู้ตายทั้งสองไปหาเรื่องกับจำเลย และชี้หน้าด่าแม่จำเลยนั้น ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทั้งสองในขณะนั้น จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
- ประเด็นเปรียบเทียบ การป้องกันภัย ล่วงหน้า (อ เกียรติขจรฯ 8/358)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 32/2510 (วางหลัก "ถือเสมือนว่า ถ้าขณะนั้นจำเลยอยู่ที่เกิดเหตุ จะอ้างป้องกันได้หรือไม่") ผู้ตายเรียนหนังสืออยู่ที่วัดละหาร ซึ่งจำเลยเป็นครูอยู่ ทั้งเป็นเด็กหญิงและเป็นหลานของจำเลย มีบ้านอยู่ติดกับบ้านของจำเลย เมื่อจำเลยขึงลวดเส้นเดียวและเล็กไว้ในบริเวณบ้าน และปล่อยกระแสไฟฟ้าให้แล่นไปตามลวดนั้น เมื่อเวลาจวนสว่างผู้ตายเข้าไปในเขตรั้วบ้านจำเลย และมาถูกสายไฟของจำเลยเข้าถึงแก่ความตาย ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันสิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยไม่มีเจตนา ( (ขส พ 2507/ 8) นายสีเห็นมีผู้ร้ายชุม เอาเชือกผูกไกปืนไว้กับประตู เพื่อนมาเยี่ยมถูกปืนลั่นใส่ตาย เป็นการป้องกันทรัพย์พอสมควรแก่เหตุ / คนร้ายเข้ามาปล้น ถูกปืนลั่นตาย เป็นการป้องกันทรัพย์พอสมควรแก่เหตุ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1999/2511 กรณีจำเลยใช้เส้นลวดที่ไม่มีวัตถุใด ๆ ห่อหุ้มขึงทางด้านบนของรั้วไม้โรงภาพยนตร์ของจำเลย แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้า 220 โวลท์ ไปตามเส้นลวดนั้น เพื่อป้องกันมิให้คนข้ามรั้วเข้าไปลอบดูภาพยนตร์ทางรูฝาโรงภาพยนตร์ เป็นการกระทำที่จำเลยมิได้เจตนาฆ่า แต่เจตนาทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 มิใช่กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1923/2519 จำเลยเก็บของไว้ในโรงเก็บของในสวนของจำเลย ตำบลที่เกิดเหตุมีคนร้ายชุกชุม ผู้ตายกับพวกบุกรุกเข้าไปในเวลาวิกาล โดยเจตนาจะลักทรัพย์ ถูกเส้นลวดที่จำเลยขึง ปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้ในโรงเก็บของ ถึงแก่ความตาย จำเลยมีสิทธิทำร้ายผู้ตายกับพวกเพื่อป้องกันทรัพย์สินได้ เป็นการป้องกันสิทธิพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1429/2520 จำเลยขึงเส้นลวดรอบที่ตกกล้า ปล่อยกระแสไฟฟ้าป้องกันมิให้หนูเข้าไปกินข้าวกล้า มีคนไปหากบเหยียบเส้นลวดถูกกระแสไฟฟ้าตาย จำเลยเล็งเห็นว่าจะมีคนมาถูกเส้นลวดได้รับอันตรายแก่กายได้ เป็นการมีเจตนาทำร้ายผู้อื่น เป็นความผิดตาม ม.290
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4884/2528 ผู้ตายเข้าไปในบริเวณบ่อปลาของนายจ้างจำเลย เพื่อจะเกี่ยวหญ้า จำเลยไม่มีสิทธิทำร้ายผู้ตายได้ เมื่อจำเลยขึงลวดไว้ภายในรั้วลวดหนามที่ล้อมรอบบริเวณบ่อเลี้ยงปลาของนายจ้างและปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปตามลวดนั้น ผู้ตายมาถูกสายไฟฟ้าของจำเลยเข้าถึงแก่ความตาย ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันสิทธิของผู้อื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.ม.290
- คำพิพากษาฎีกาที่ 684/2538 (คดีแพ่ง) ผู้ตายเจาะกำแพงอิฐบล๊อก แล้วมุดเข้าไปในโรงงาน เพื่อลักทรัพย์ของจำเลย แต่ผู้ตายไปเหยียบแผ่นไม้สี่เหลี่ยมที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด จนถูกช็อตจนถึงแก่ความตาย ถือว่าจำเลยได้กระทำการป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมได้รับนิรโทษกรรม ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง
- ประเด็นเปรียบเทียบ การจับกุม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1275/2503 จำเลยทำร้ายคนแล้วก็ไปเสีย ผู้ที่รับมอบหมายจากผู้ใหญ่บ้าน ให้ดูแลความสงบเรียบร้อยในบริเวณงานนั้น ได้ชวนผู้เสียหายและผู้อื่นติดตามจับจำเลยพอทันกัน ก็ร้องบอกให้จำเลยหยุดจะจับกุม เพราะจำเลยทำร้ายคน จำเลยกลับถือมีดตรงรี่เข้าหาผู้เสียหาย ๆ เอาไม้ตีที่มีดจำเลย แต่มีดไม่หลุดจากมือจำเลย ไม้ที่ตีกลับหัก จำเลยได้ใช้มีดแทงผู้เสียหาย ได้รับอันตรายสาหัส เช่นนี้จำเลยจะแก้ตัวว่ากระทำโดยป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 99/2512 (สบฎ เน 2073) ร้อยตำรวจตรี มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรอำเภอแห่งท้องที่ แต่มิได้รักษาการณ์แทนผู้บังคับกอง จึงไม่มีฐานะเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไม่มีอำนาจออกหมายค้นได้ จึงไม่อาจค้นหรือสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นสิบตำรวจเอกและพลตำรวจค้นได้โดยลำพังตนเอง การที่จำเลยขึ้นและเข้าไปจับกุมผู้กระทำผิดบนบ้านเรือนในห้องนอนของผู้กระทำผิด แม้จะมีหมายจับ แต่ไม่มีหมายค้นนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81,92 และเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ ย่อมไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะทำให้เกิดสิทธิป้องกันตัวได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 387/2512 (สบฎ เน 2074) จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ติดตามจับกุมคนร้ายสำคัญ ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา แม้จำเลยจะมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการจับ การค้น ถ้าผู้ตายซึ่งเป็นผู้จะถูกขัดขืน ไม่ยินยอม ผู้ตายก็เพียงแต่ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานเท่านั้น ไม่มีสิทธิหรืออำนาจชอบธรรมอันใด ที่ผู้ตายจะใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายจำเลย เพราะจำเลยพูดกับผู้ตายขอทำการจับกุม ยังไม่ทันได้ลงมือทำอะไรลงไป ผู้ตายก็ใช้มีดแทงจำเลยถึงสองครั้ง ครั้งแรกมีดบาดมือจำเลย จำเลยเอาปืนยิงขู่ 1 นัด ผู้ตายก็หาหยุดยั้งไม่ กลับใช้มีดแทงจำเลยอีก ถูกหน้าท้องบาดเจ็บสาหัสจนจำเลยตกจากแคร่ เท่านั้นหาพอไม่ ผู้ตายยังโดดคร่อมจำเลยจะจ้วงแทงอีก พฤติการณ์เช่นนี้ ถ้าหากจำเลยไม่ใช้ปืนยิงผู้ตาย ๆ ก็คงใช้มีดแทงจำเลยจนถึงตายแน่นอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตนให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมายเป็นการป้องกันชีวิตตนพอสมควรแก่เหตุตาม มาตรา 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1337/2517 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ทำหน้าที่รักษาความสงบอยู่ในงานวัด ได้เข้าไปจับกุม น. เพราะมีคนมาแจ้งว่า น. มีอาวุธปืนและกำลังจะก่อเหตุร้ายในวงรำวง น.สลัดหลุด จนจำเลยล้มลง พอจำเลยลุกขึ้นได้ ก็ใช้ปืนยิงไปทาง น. ซึ่งกำลังวิ่งหนี โดย น.มิได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก่อน กระสุนปืนที่จำเลยพลาดไปถูก ส. ซึ่งอยู่ใกล้วงรำวง ถึงแก่ความตาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้วิธี ที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งการจับ หรือเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัว จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า ส. โดยเจตนาตาม มาตรา 288 ประกอบด้วย มาตรา 60 แต่การกระทำของจำเลยนับได้ว่าเป็น การกระทำผิดอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ ในการจับกุมคนร้าย โดยจำเลยมิได้มีสาเหตุส่วนตัวกับ น. หรือผู้ตาย ความผิดของจำเลยเห็นได้ว่า เกิดจากการใช้วิธีการที่เกินสมควรแก่พฤติการณ์แห่งการจับกุม น. ด้วยการตัดสินใจผิดในขณะที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เข้าลักษณะในเหตุอื่นอันเป็นเหตุบรรเทาโทษประการหนึ่งตาม มาตรา 78
- คำพิพากษาฎีกาที่ 406/2523 ผู้ตายยิงปืนมาทางจำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยยิงผู้ตายที่หันหลังวิ่งหนี ไม่แน่ว่าผู้ตายจะหันกลับมายิงจำเลยอีกหรือไม่ ภยันตรายที่จะเกิดจากผู้ตายจึงยังไม่หมดไป และจำเลยที่ 1 ช่วยเจ้าพนักงาน มีอำนาจที่จับผู้ตายซึ่งกระทำความผิดซึ่งหน้าได้ ผู้ตายถูกยิงที่อวัยวะสำคัญถึงแก่ความตายทันที เห็นได้ว่ามีเจตนาฆ่า เป็นการใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลาย ที่ไม่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้ตาย และเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัว ตาม ป.อ.ม.69
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2353/2530 กรณีที่มิใช่เป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าที่ ราษฎรย่อมไม่มีอำนาจตามกฎหมายหมายที่จะจับกุมผู้กระทำผิด การที่ ช.กับผู้ตายซึ่งเป็นเพียงราษฎร จะเข้าจับกุมจำเลย ภายหลังเกิดเหตุจำเลยทำร้ายผู้อื่นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกัน เพื่อให้พ้นจากการที่จะต้องถูกจับได้ แต่การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้ตายที่หน้าอกส่วนล่างใต้นมเหนือชายโครงซ้าย และผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนเกิดเหตุนั้นเอง แสดงว่าจำเลยแทงโดยแรง จำเลยเลือกแทงที่อวัยวะสำคัญโดยไม่ปรากฏว่า ช. กับผู้ตายมีอาวุธ หรือแสดงอาการในลักษณะที่จะทำร้ายจำเลย นอกเหนือจากการกระทำเพื่อจับกุมเลย จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1035/2536 สำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าบิดาจำเลยเป็นหัวหน้า มีชื่อจำเลยอยู่ในฐานะเป็นบุตร จำเลยจึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าบ้าน การเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าไปทำการจับกุมจำเลย ในบ้านจึงต้องมีหมายค้น ทั้งผู้เสียหายกับพวกมีใช่เจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่จะทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น เมื่อผู้เสียหายกับพวกเข้าทำการจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายค้น จึงเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงชอบที่จะป้องกันสิทธิของตน ให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบเช่นนี้ได้ หากจำเลยชกต่อยผู้เสียหาย ก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ และไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ และทำร้ายร่างกาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2914/2537 โรงค้าไม้ที่ใช้เป็นที่พักอาศัยยาม ที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการ ภายในบริเวณโรงค้าไม้ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถาน แต่เป็นที่รโหฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (13) แม้โจทก์ร่วมจะมีอำนาจจับกุมจำเลย เพราะเป็นกรณีที่มีผู้ขอให้จับ โดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิด และแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78 (4) แต่การจับกุมตามกรณีดังกล่าว ก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมที่กระทำไป ก็หาต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวไม่ การที่โจทก์ร่วมกับพวกเข้าทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐาน จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุม และทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันชอบด้วยกฎหมาย
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 68
- (ขส เน 2512/ 1) นายโมหะ กับนายโทสะ ทะเลาะวิวาทกัน / นายโลภะบิดานายโมหะ เห็นเหตุการณ์ตลอด พอนายโทสะจะใช้มีดฟันนายโมหะ นายโลภะประสงค์จะป้องกันชีวิตนายโมหะ จึงใช้ปืนยิงนายโทสะตาย (นายโลภะผิดฐานใด) / นายโลภะ ผิดฐานฆ่าผู้อื่น ม 288 เพราะกรณีสมัครใจวิวาท นายโมหะก็ไม่มีสิทธิป้องกัน “บุคคลอื่นจะเข้าป้องกัน บุคคลผู้ไร้สิทธิป้องกันไม่ได้” ฎ 65/2492
- (ขส เน 2528/ 2) ก ยกปืนขึ้นเล็ง ข เพื่อจะฆ่า / ข กำลังทำความสะอาดปืนอยู่ ไม่ระมัดระวัง โดยไม่ถอดซองกระสุนปืนออก ปืนเกิดลั่น ถูก ก ตาย ขณะที่ ก กำลังจ้องยิง ข / ข ทำความสะอาดปืนโดยปราศจากความระมัดระวัง เป็นการกระทำโดยประมาท ตาม ม 59 ว 4 ผิดตาม ม 291 ไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ม 68 เพราะการป้องกัน ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา เพื่อป้องกันสิทธิให้พ้นภยันตราย ข ทำปืนลั่นโดยประมาทจะถือว่าทำปืนลั่นโดยเจตนาป้องกันไม่ได้
- (ขส เน 2541/ 1) พ่อกับลูกนั่งทานข้าว พ่อวิวาทกับนายเขียว ลูกเข้าห้าม นายเขียวชกลูก และชกพ่อ ลูกใช้เก้าอี้ฝาดนายเขียวสาหัส ลูกรับผิดอย่างไร / พ่อสมัครใจวิวาท การที่ลูกเข้าห้าม แต่ถูกชก และนายเขียวชกพ่ออีก "เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องขณะวิวาท" ลูกไม่มีสิทธิใช้เก้าอี้ตีนายเขียวเพื่อป้องกันพ่อ ตาม ม 68 / ขณะเขียวชกพ่อ ภัยที่เกิดกับลูก "ผ่านพ้นไปแล้ว" ไม่เป็นการป้องกัน / ลูกเข้าห้ามแต่ถูกชกถือว่าถูกข่มเหง ต้องรับผิด ม 297 + 72 ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ ฎ 5698/2537
- (ขส พ 2498/ 8) จำเลยมีมีดและปืนไป เพื่อรื้อรั้วกั้นทางเดิน เจ้าของรั้วเดินเข้าหาจำเลย และยกขวานจะฟัน จำเลยจึงยิงเจ้าของรั้วตาย เป็นการเตรียมการแสดงเจตนาไปใช้กำลังโดยพลการ เมื่อถูกขัดขวางก็ใช้อาวุธ เป็นการสมัครใจต่อสู้ ไม่เป็นป้องกัน
- (ขส พ 2504/ 8) เวลากลางคืน ดำ ขาว เหลือง เข้าไปลักกระบือ ในคอกใต้ถุนเรือน ของนายมี / นายมี และมา ได้ทำร้ายนายดำบาดเจ็บ แต่นายขาว และเหลือง ลักกระบือไปได้ / รุ่งเช้า นายมี พบนายขาว กำลังขี่กระบือ จึงเข้าทำร้ายนายขาวบาดเจ็บ โดยนายขาวไม่มีอาวุธ และไม่ได้แสดงอาการต่อสู้ / ส่วนนายมา พบนายเหลืองกำลังเฝ้ากระบือของนายมี นายมาเข้าไปเพื่อแย่งกระบือคืน นายเหลืองหยิบไม้ จะทำร้ายนายมา นายมาจึงทำร้ายนายเหลืองบาดเจ็บ (นายมี นายมา ผิดฐานใดหรือไม่) / นายมี และมา ได้ทำร้ายนายดำบาดเจ็บ ขณะกระทำผิดฐานลักทรัพย์ นายมีและนายมา จึงมีสิทธิทำร้ายนายดำ เพื่อป้องกันทรัพย์พอสมควรแก่เหตุได้ / เมื่อนายขาวและเหลือง หนีไป การป้องกันย่อมหมดไป รุ่งเช้า เมื่อพบทรัพย์ นายมี มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนได้ตาม ปพพ ม 1336 การป้องกันจึงกลับคืนมา แต่ (การทำร้าย โดยนายขาวไม่มีอาวุธ และไม่ต่อสู้ขัดขวาง) เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ นายมี ผิด ม 295+69 / นายมา ทำร้ายนายเหลืองได้ เพราะนายเหลือหยิบไม้จะทำร้าย เป็นการป้องกันตัวและทรัพย์พอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด (ม 68)
- (ขส พ 2507/ 8) นายสีเห็นมีผู้ร้ายชุม เอาเชือกผูกไกปืนไว้กับประตู เพื่อนมาเยี่ยมถูกปืนลั่นใส่ตาย เป็นการป้องกันทรัพย์พอสมควรแก่เหตุ (แย้ง ฎ 32/2510)/ คนร้ายเข้ามาปล้น ถูกปืนลั่นตาย เป็นการป้องกันทรัพย์พอสมควรแก่เหตุ
- (ขส พ 2511/ 8) หมึกพกปืนไปบ้านมั่น ในเวลากลางคืน เพื่อหาคนใช้ซึ่งเป็นคู่รักของหมึก / มั่นตื่นขึ้นมาเห็นว่าวิทยุและพัดลมหายไป / มั่นเห็นหมึก เข้าใจว่าเป็นคนร้าย จึงใช้ดาบฟัน / หมึกใช้ปืนยิงมั่นตาย ต่อสู้คดีว่าเป็นการป้องกัน / การกระทำของหมึก ไม่เป็นการป้องกัน เพราะการพกอาวุธเข้าไปในบ้านมั่น เป็นการทำผิดฐานบุกรุก หมึกจึงไม่อาจป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้น เพราะการกระทำอันเป็นความผิดต่อกฎหมายของตน หมึกผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา ม 288
- (ขส พ 2516/ 8) ดำมองหน้าแดง แดงกับพวกตีและแทงดำสาหัส ดำจึงชักปืน แดงกับพวกวิ่งหนี ดำยิงไปทางแดง กระสุนพลาดไปถูกขาว / การมองหน้า ไม่เป็นเหตุตามกฎหมายที่แดงจะรุมทำร้ายดำ ถือว่าการที่แดงรุมทำร้ายดำ เป็นการข่มเหงดำอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อดำถูกข่มเหงขาดตอนแล้ว เพราะแดงวิ่งหนี ไม่มีการกระทำอย่างไร ที่จะถือว่าทำร้ายดำต่อไปอีก ดำจึงไม่จำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิตาม ม 68 การที่ดำยิงแดงจึงเป็นการบันดาลโทสะ ม 72 ดำผิดฐานฆ่านายขาว ม 288 ,60 ,72 ฎ 1682/2509
- (ขส พ 2522/ 7) พี่ชายจำเลยและนายแก่น ด่าท้าทายและร้ายกัน แก่นท้าให้จำเลยยิง และชักเหล็กแหลมเดินเข้าใส่ จำเลยยิงถูกแก่นสาหัส ถูกแก้วตาย จำเลยเห็นสร้อยของแก่น จึงกระชากวิ่งหนีไป / ไม่เป็นป้องกัน ม ๖๘ เพราะจำเลยสมัครใจเข้าร่วมเป็นฝ่ายพี่ชาย และเตรียมตัวต่อสู้ ผิด ม 288,80 และการที่กระสุนถูกแก้ว ผิด ม 288 เป็นกรรมเดียว ม 90 ฎ 222/2513 / การเอาสร้อยไม่เป็นชิงทรัพย์ ม 339 แต่ผิด ม 336 เรียงกระทงตาม ม 91 ฎ 1626/2500
- (ขส อ 2520/ 9) รั้วไฟฟ้า กันคนร้าย คนร้ายและหลาน ตาย ผิด ม 290 ไม่เป็นป้องกัน เพราะไม่มีภยันตรายอันใกล้จะถึง (ฎ 32/2510 (อก /259) (วางหลัก "ถือเสมือนว่า ถ้าขณะนั้นจำเลยอยู่ที่เกิดเหตุ จะอ้างป้องกันได้หรือไม่") ผู้ตายเป็นเด็ก และเป็นหลานจำเลย ตายเพราะจำเลยขึงลวดปล่อยกระแสไฟในบริเวณบ้าน ผิด ม 290 อ้างป้องกันไม่ได้ / ฎ 1923/2519 (อก /259) ขึงลวดปล่อยกระแสไฟ ผู้ตายกับพวกบุกรุกจะเข้ามาลักทรัพย์ จำเลยไม่มีความผิด)
- (ขส อ 2529/ 4) เจ้าของผูกช้างไว้ ช้างตกมัน ไปพังบ้านนายมั่น และกระทืบนายมั่นซี่โครงหัก นายมาจึงยิงช้างตาย / เจ้าของผิด ม 59 ว 4 + 300 + 377 ฎ 3435/2527 ทรัพย์เสียหายโดยประมาทไม่ผิด / นายมา ไม่ผิด ม 358 เพราะป้องกัน ม 68
- (ขส อ 2529/ 5) ดักยิงขโมย แต่ยิงเงาต้นไม้ โดยสำคัญผิด พลาดไปถูกม้าแดงตาย และแดงตกม้าสาหัส / ซุ่มยิง ผิด ม 289 (4) + 81 ไม่เป็นป้องกัน ม 68 / ถูกม้าแดงตาย ไม่มีเจตนา ม 358 ไม่ผิด (และไม่ใช่พลาด ม 60 ต่างเจตนา) / แดงสาหัส ผิด ม 300
- (ขส อ 2530/ 6) ภรรยาด่าเหยียดหยาม เพราะสามีกลับบ้านดึก สามีใช้ไม้ตีศรีษะ จะให้ตาย ตีสองทีแล้ว กลัวผิดจึงเรียกรถพยาบาล แพทย์ช่วยได้ แต่พิการ สามีผิด ม 288 + 82 การตีต่อหน้าบุตร 1 ปี แล้วหยุด ไม่ใช่หยุดเพราะปัจจัยภายนอก ลง ม 297 ไม่ ม 68 + 72 / ถ้าหยุดตีเพราะมีคนกดกริ่ง ไม่ใช่ยับยั้ง ผิด ม 288+80
- แนวคำพิพากษาฎีกา การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 197/2496 จำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อน แต่ผู้ตายเข้าใจว่าจำเลยตีภริยาตน จึงเกิดโทษะ ชักมีดวิ่งมาทำร้ายจำเลย ถึงกับกระโดดจากสพานน้ำ ไปหาจำเลยในเรือ แล้วตกลงไปในน้ำด้วยกัน ผู้ตายโผกอดปล้ำเอามีดทำร้ายจำเลยมีบาดเจ็บถึง 4 แห่ง จนจมน้ำไปด้วยกัน เมื่อต่างโผล่ขึ้นมาแล้วจำเลยจะต้องนึกรู้ว่าตนจะถูกทำร้ายอีก และจำเลยกำลังอ่อนเพลียเพราะต้องจมน้ำ และน้ำตรงนั้นก็ลึก หยั่งไม่ถึง จะหลีกเลี่ยงด้วยวิธีอื่นไม่ได้ จำเลยจึงยิงผู้ตาย ตาย ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการป้องกันตัวที่ไม่เกินสมควรแก่เหตุ ควรได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 50.
- คำพิพากษาฎีกาที่ 504/2496 พี่ชายถือขวานไล่ทำร้ายน้องชาย น้องชายหนีเข้าใต้ถุนเรือนก็ยังติดตามเข้าใต้ถุนเรือนไปเพื่อจะทำร้าย น้องชายหนีขึ้นเรือนของน้องชาย พี่ชายก็ยังตามขึ้นบันไดเรือนเพื่อจะร้ายอีก น้องชายจึงใช้มีดหวด ทำร้ายพี่ชาย 2 ที พี่ชายตกบันไดเรือนและถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลที่ถูกทำร้ายดังนี้ ถือได้ว่า น้องชายกระทำเพื่อป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ.
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1069/2503 ผู้ตายเป็นหนุ่มอันธพาล มารุกรานฉุดคร่าบุตรสาวจำเลยถึงในบ้าน และยังทำท่าจะทำร้ายจำเลยอีก ผู้ตายมีมีดอยู่ในมือ จำเลยจึงยิงเอา ดังนี้เป็นการป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 161/2504 ผู้ตายถือขวานใหญ่บุกรุกเข้าไป จะทำร้ายจำเลยถึงในบ้านจำเลย จึงฟันผู้ตายถูกไหล่ซ้าย ขวานตกจากมือ ผู้ตายก้มลงหยิบขวานและร้องเรียกให้พรรคพวกมาช่วย จำเลยจึงฟันซ้ำอีกหลายที ถือว่าการกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 729/2508 ข้อเท็จจริงได้ความว่า แถวนั้นมีผู้ร้ายชุกชุม ฝ่ายผู้ตายมีพวกมาด้วยกันถึง 3 คน บุกรุกเข้ามาลักทรัพย์ในไร่จำเลย จำเลยร้องทักว่าใคร 2 ครั้ง ฝ่ายผู้ตายก็ใช้กระบองขว้าง 2 ครั้ง ขณะเกิดเหตุเดือนมืดมองไม่เห็นกัน จำเลยรู้ไม่ได้ว่าผู้ตายกับพวกมีปืน มีมีดติดตัวมาด้วยหรือไม่ จำเลยใช้ปืนยิงต่อสู้ไปนัดเดียวแล้ววิ่งกลับบ้าน ถือว่าจำเลยใช้ปืนยิงไปในขณะที่เห็นได้ว่าภยันตรายใกล้จะถึงตัวจำเลยกับพวกอยู่แล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นไปพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 879/2508 จำเลยที่ 2 ยิงจำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 1 กลัว จำเลยที่ 2 จะยิงซ้ำ จึงยิงเอาบ้าง ถือว่าเป็นการป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 943/2508 คนร้ายจูงกระบือไปจากใต้ถุนเรือนจำเลย เมื่อเวลาประมาณ 24 นาฬิกา จำเลยร้องถาม คนร้ายหันปืนมาทางจำเลย จำเลยจึงยิงปืนไปจากบนเรือน 2 นัด ถูกคนร้ายตาย จำเลยเคยถูกลักกระบือมาแล้วครั้งหนึ่ง และหมู่บ้านนั้นมีการลักกระบือกันเสมอดังนี้ เป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายพอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม มาตรา 68 / จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยกระทำเพื่อเป็นการฟ้องกัน เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบว่าจำเลยได้ยิงผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1494/2508 ผู้ตายชักมีดพกแทงจำเลย จำเลยวิ่งหนีไปรอบ ๆ บ้าน จำเลยสะดุดรากไม้ล้มลง ผู้ตายตามไปทันก็เอามีดพกแทงถูกที่ขาขวา 1 แผล จำเลยลุกวิ่งหนีเข้าบ้าน ผู้ตายตามไปอีก จำเลยก็หญิงมีดพร้าถือไว้และวิ่งหนีไป เหนื่อยก็หยุดหันสู้ผู้ตายโดยฟันไป 3 ที พอจำเลยหนี ผู้ตายก็ยังตามไปเรื่อย ไม่หยุดยั้ง การที่จำเลยใช้มีดพร้าฟันไป 3 ที โดยไม่รู้ว่าถูกตรงไหนบ้าง เพราะมืดแล้ว ถือว่าได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 321/2509 ผู้ตายเงื้อมีดพร้าเข้าไปหาจำเลย จำเลยถอยหลังหนี ผู้ตายยังตามเข้าไป พอจำเลยถอยไปสะดุดคันนา ผู้ตายยกมีดพร้าขึ้นจะฟัน จำเลยจึงใช้มีดพร้าฟันผู้ตาย 1 ทีถูกที่คอขาด การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 908/2509 ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุใช้ไม้ตะบองยาวประมาณ 1 แขน ตีจำเลยถูกคิ้วซ้ายจนจำเลยเซไปติดฝา แล้วผู้ตายตามไปจะตีจำเลยอีก จำเลยจึงต่อยผู้ตาย ผู้ตายจะตีอีก จำเลยจึงเตะผู้ตาย ผู้ตายเซถลาตกเรือนไป และถึงแก่ความตาย เช่นนี้ จำเลยหามีเจตนาฆ่าผู้ตายไม่ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิดตาม มาตรา 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 865/2512 ผู้ตายโกรธจำเลยเรื่องเบื่อหมูของผู้ตาย ได้มาต่อว่าจำเลยและจะให้ใช้ราคา จำเลยไม่ยอมใช้ ผู้ตายจึงท้าให้จำเลยลงจากเรือน จำเลยไม่ลง ผู้ตายจึงก้าวขึ้นบันไดไปสองขั้น และฟันจำเลยแต่ไม่ถูก ผู้ตายจึงก้าวขึ้นบันไดข้นที่สามต่อไปอีก ทั้งๆ ที่จำเลยได้ร้องห้ามแล้วว่า ถ้าขึ้นมาจะแทง แต่ผู้ตายก็ไม่เชื่อฟัง จำเลยจึงใช้หลาวไม้ไผ่แทงผู้ตาย 1 ที่ ถูกหน้าท้อง และผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลที่ถูกแทงดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นอันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การกระทำของจำเลยพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิดตาม มาตรา 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1407/2512 ผู้ตายกับจำเลยแย่งกระทอไก่กัน จำเลยหนุ่มกว่า ผู้ตายแย่งสู้ไม่ได้ จึงใช้ไม้ตีจำเลยก่อน ถูกศีรษะ 1 ที จำเลยแย่งไม้จากผู้ตายได้แล้วใช้ไม้นั้นตีศีรษะผู้ตาย 1 ที การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นอันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงพอสมควรแก่เหตุ และโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิดตาม มาตรา 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1542/2512 ฝ่ายผู้ตายได้มาเรียกจำเลยไปหา พวกผู้ตายฟันข้างหลังจำเลย 1 ที แล้วผู้ตายฟันหลังจำเลยอีก 1 ที จำเลยหันไปเห็นผู้ตายถือดาบจ้องจะฟันซ้ำอีก จำเลยจึงแทงไปทางผู้ตาย 1 ที ถูกที่หน้าอกถึงแก่ความตาย ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวแต่พอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1698/2512 ผู้เสียหายมาขอน้ำบุตรสาวจำเลยกิน บุตรจำเลยเข้าไปในครัวจะตักน้ำให้ ผู้เสียหายตามเข้าไปจับมือและเข้ากอดบุตรจำเลยในครัว เมื่อจำเลยกลับมาบ้านได้ยินเสียงบุตรสาวร้องเรียกให้ช่วย จำเลยจึงได้เข้าไปใช้มีดแทงผู้เสียหาย 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อให้ผู้เสียหายปล่อยจากกอดบุตรสาว แล้วผู้เสียหายหันกลับมาสู้ จำเลยจึงแทงป้องกันตัวไปอีก ถือว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายพอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม มาตรา 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1479/2513 ผู้ตายมีปืนและมีดไปดักทำร้ายจำเลย และใช้ปืนยิงจำเลยก่อน กระสุนปืนเฉียดศีรษะจำเลยเป็นแผล จำเลยจึงใช้พร้าฟันผู้ตาย ผู้ตายชักมีดแทงจำเลยและกอดปล้ำแย่งมีดกัน แล้วจำเลยใช้พร้าฟันผู้ตายไปหลายที ดังนี้เป็นกรณีพัวพันกัน โดยผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุก่อน แม้ผู้ตายจะล้มลงไปแล้ว แต่กำลังพัวพันกันอยู่เช่นนั้น จำเลยอาจเกรงว่าผู้ตายจะยิงหรือแทงอีก จึงจำเป็นต้องฟันไปอีกหลายที การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1646/2514 ผู้ตายเมาสุราเข้าไปต่อว่าพวกของจำเลยแล้วเป็นปากเสียงกันขึ้น จำเลยจึงเข้าไปจะดึงพวกของจำเลยขึ้นรถ ผู้ตายได้ยกมือขึ้นทำท่าจะชกจำเลย จำเลยจึงชกผู้ตายไป 1 ที ถูกผู้ตายล้มลงสลบและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ถือว่าจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย (การป้องกันได้สัดส่วนกับการทำร้าย แม้ผลจะรุนแรงกว่าที่คาดหมายได้ ก็ไม่ต้องรับผิด)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1747/2514 ผู้ตายขึ้นไปบนบ้านและบุกรุกเข้าไปในห้องนอนของจำเลย ซึ่งเป็นหญิงที่อยู่บ้านแต่ลำพังคนเดียว ในเวลากลางคืนและมืด เมื่อจำเลยวิ่งหนีออกมา ผู้ตายก็เข้ากอดปล้ำจะกระทำมิดีมิร้ายจำเลย จำเลยจึงใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตาย เพื่อให้ปล่อย ผู้ตายก็ไม่ปล่อย จำเลยจึงแทงซ้ำ พอผู้ตายปล่อยจำเลย จำเลยก็มิได้แทงผู้ตายต่อไปอีก ผู้ตายมีบาดแผลที่หน้าอก 2 แผล ที่ชายโครง 3 แผล และถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าจำเลยกระทำไปเพื่อหยุดยั้งการกระทำของผู้ตาย จึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1796/2521 ป.กับจำเลยโต้เถียง แล้วจำเลยถูก ป.กับพวกรุมชก ส.ถือฆ้องเข้าช่วย ป.จำเลยยิง ส.1 นัด ถูกต้นคอและใบหูขวาเป็นป้องกันสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2171/2527 ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนในที่เปลี่ยว พวกผู้เสียหาย 3 คนอยู่ในวัยฉกรรจ์ร่วมกัน จะแย่งทรัพย์สินของ อ. เมื่อจำเลยเข้ามาช่วยเหลือ พวกผู้เสียหายคนหนึ่งมีมีด วิ่งเข้ามาจะกลุ้มรุมทำร้ายจำเลย จำเลยยิงปืนขู่ 1 นัด ผู้เสียหายกับพวก ก็ไม่ยอมหยุด หากจำเลยไม่ยิง ก็เชื่อได้ว่าจะถูกแทงถึงตายได้ ถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่จำเลยยิงผู้เสียหายกับพวก 2 นัดเมื่อกระสุนปืนถูกผู้เสียหายล้มลง จำเลยก็มิได้กระทำอย่างใดอีก จนผู้เสียหายกับพวกวิ่งหนีไป ดังนี้จำเลยได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.อ. ม. 68 จำเลยไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 507/2527 จำเลยเป็นหญิงสาวอายุ 15 ปี ผู้ตายเป็นชายหนุ่มอายุ 18 ปี ไม่มีภรรยา ขณะเกิดเหตุเป็นยามวิกาล ผู้ตายซึ่งดื่มสุราตั้งแต่ตอนเย็น คงจะเห็นโอกาสเหมาะที่จำเลยอยู่ตามลำพังกับน้องสาวเล็ก ๆ จึงเข้าไปหาเพื่อแสดงความรักใคร่ฉันชู้สาว จำเลยไม่ยินยอมจึงเกิดการขู่เข็ญและปลุกปล้ำกันขึ้น การที่มีดผู้ตายตกลงที่พื้น และจำเลยแย่งได้แล้วเหวี่ยงไปข้างหลัง 1 ที มีบาดแผลเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้ถึงตาย ย่อมเป็นการป้องกันสิทธิของตนซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่พอสมควรแก่เหตุ เพราะหากไม่กระทำ อาจถูกข่มขืนกระทำชำเราได้ แม้ผู้ตายจะเสียหลักพลัดตกลงไปในน้ำหมดสติ จมน้ำถึงแก่ความตาย จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม. 290
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2807/2527 การที่ผู้ตายกับพวกบุกรุกเข้าไปในบ้านของจำเลย ทำร้ายร่างกายน้องเขยจำเลย ทำร้ายร่างกายน้องเขยจำเลยจนสลบ และจะรุมทำร้ายจำเลยอีก จำเลยย่อมมีสิทธิกระทำการใดๆ เพื่อป้องกันตนให้พ้นภยันตรายจากการกระทำของผู้ตายพวกที่ใกล้จะถึง การที่จำเลยใช้มีดดาบแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย ในขณะที่จำเลยต่อสู้เพื่อให้พ้นจากการรุมทำร้ายของผู้ตายกับพวก จึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม. 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2285/2528 ผู้ตายมาพูดขอแบ่งวัวจากจำเลย จำเลยไม่ยอมแบ่ง และชวนให้ไปตกลงกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้านหรือที่บ้านกำนัน แต่ผู้ตายไม่ยอมไป กลับชักปืนออกมาจากเอว จำเลยย่อมเข้าใจว่าผู้ตายจะใช้ปืนยิงจำเลย อันเป็นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายไป 1 นัด และผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2714/2528 ผู้เสียหายอายุ 18 ปี ส่วนจำเลยอายุ 16 ปี ผู้เสียหายรูปร่างล่ำสัน และมีลักษณะเป็นผู้ใหญ่กว่าจำเลย ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเรื่องโดยตบศีรษะจำเลย จำเลยจึงตบหลังตอบแล้วเข้ากอดกัน ผู้เสียหายชกและขึ้นเข่าที่ท้องหลายที จำเลยจึงใช้เหล็กตะไบสามเหลี่ยมที่มีติดตัวแทงถูกที่ชายโครงผู้เสียหาย 1 ที ในขณะกำลังถูกผู้เสียหายทำร้ายติดพันอยู่ ดังนี้เป็นเรื่องที่จำเลยจำเป็นต้องป้องกันตัวให้พ้นจากภยันตราย ที่ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อขึ้น เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่เป็นความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1947/2529 จำเลยเป็นหญิงสาว แม้จะเคยเป็นคู่รักของผู้เสียหายมาก่อน แต่เมื่อจำเลยไม่ยินยอม ผู้เสียหายย่อมไม่มีสิทธิที่จะกอดปล้ำทำมิดีมิร้ายจำเลยได้ ได้ความว่าขณะที่จำเลยยืนหั่นหัวหอมอยู่ ผู้เสียหายเข้ามาข้างหลังโอบกอด จำเลยสะบัด และพูดห้ามพร้อมกับแกว่งมีด ผู้เสียหายไม่ยอมฟัง เมื่อจำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายครั้งที่สองถูกท้องน้อย และผู้เสียหายล้มลงแล้ว จำเลยก็ไม่ได้แทงซ้ำ ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสแทงได้อีก คงปล่อยให้มีดปักคาอยู่ที่ท้องผู้เสียหาย แล้ววิ่งลงจากบ้านไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 117/2533 โจทก์ร่วมเมาสุรา และพกอาวุธปืนบุกรุกเข้าไปตบหน้า ค.บนบ้านเนื่องจากโกรธ ค. ที่นำไม้ขวางทางขนถ่านของโจทก์ร่วม แล้วชักอาวุธปืนจะยิงจำเลย ซึ่งเข้ามาขัดขวาง มิให้โจทก์ร่วมทำร้ายร่างกาย ค.อีก จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม เพื่อป้องกันตัว การกระทำของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2423/2533 โจทก์ร่วมมีเรื่องขัดแย้งกับบุตรจำเลย และเป็นฝ่ายไปที่บ้านจำเลย ถึงแม้จำเลยด่าโจทก์ร่วม แต่ก็ยังไม่มีพฤติการณ์อื่นให้เห็นว่าจำเลยสมัครใจจะเข้าต่อสู้กับโจทก์ร่วมด้วยกำลังกาย นอกจากนี้โจทก์ร่วมรูปร่างใหญ่แข็งแรงและหนุ่มกว่าจำเลยหากสู้กันตัวต่อตัวแล้วจำเลยสู้โจทก์ร่วมไม่ได้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยสมัครใจวิวาทต่อสู้กับโจทก์ร่วม ดังนั้นการที่โจทก์ร่วมเข้าชกและกอดปล้ำจำเลยไว้เป็นเวลานาน และหากยังกอดปล้ำจำเลยต่อไป อาจทำให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายได้ จึงเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ร่วม 2 ปี ก็เพื่อให้พ้นจากการกอดปล้ำของโจทก์ร่วมเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4952/2536 ผู้เสียหายปลุกปล้ำภรรยาจำเลยในบ้านจำเลย จำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายแล้วไปเอาปืนออกมายิงผู้เสียหายซ้ำอีก แม้จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการกระทำของจำเลยในตอนแรก ซึ่งเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยใช้ปืนยิงตามหลังผู้เสียหายในระยะห่างกันเพียง 1 เมตร ในขณะที่ผู้เสียหายลุกขึ้นแล้วรีบวิ่งออกไปทางประตูหน้าบ้าน ถูกผู้เสียหายล้มลงตรงประตู ในลักษณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนี ไม่ได้วิ่งเข้าหาจำเลยหรือภรรยาจำเลย เพื่อทำร้ายหรือกระทำการปลุกปล้ำอีก เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยต่อผู้เสียหายในตอนหลัง จึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 69
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5758/2537 ผู้ตายกับพวกถือสิ่งของคล้ายอาวุธปืนเดินเข้ามาหาจำเลยในเขตนากุ้งของจำเลยในเวลาค่ำคืน จำเลยร้องห้ามให้วางสิ่งของดังกล่าวแล้วผู้ตายกับพวกกลับจู่โจมเข้ามาใกล้ประมาณ 2-3 เมตร ย่อมมีเหตุให้จำเลยอยู่ในภาวะเข้าใจได้ว่าผู้ตายกับพวกจะเข้ามาทำร้าย และถือได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงไปทางผู้ตายกับพวก ในภาวะและพฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมายและพอสมควรแก่เหตุ / จำเลยนำอาวุธปืนของกลางซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครองติดตัวไปเฝ้านากุ้งของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนของกลางไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร แต่ถือว่าเป็นการพาไปโดยมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วน ตามสมควรแก่พฤติการณ์ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯมาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ วรรคสอง แม้จำเลยมิได้ฎีกาความผิดฐานนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2755/2539 จำเลยเพียงถือมีดพกเข้าไปหา ล. และผู้เสียหายในลักษณะธรรมดาเท่านั้น โดยไม่ได้แสดงกิริยาอาการรีบร้อน หรือส่อแสดงว่าจะเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแต่อย่างใด ยังบ่งบอกไม่ได้ว่าจำเลยจะเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุ ผู้เสียหายเข้าใจว่าจำเลยเอามีดพกของตนไป จึงไปสอบถาม ทำให้เกิดเหตุทะเลาะกัน สาเหตุก็เกิดจากผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อขึ้นก่อน ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุ หรือสมัครใจทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ผู้เสียหายเข้าใจว่าจำเลยจะเข้าไปแทงทำร้าย จึงใช้ไม้ท่อนยาว 1 ศอก ขว้างจำเลย จนจำเลยตกลงไปในสระน้ำ แล้ววิ่งไปหาจำเลย และใช้ไม้ตีซ้ำอีก ในขณะจำเลยขึ้นจากสระน้ำ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายก่อเหตุขึ้นก่อน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และภยันตรายที่ใกล้จะถึงได้ โดยพอสมควรแก่เหตุได้ การที่จำเลยใช้อาวุธแทงผู้เสียหาย 3 ครั้ง เพื่อยับยั้งมิให้ผู้เสียหายใช้ไม้ท่อนตีทำร้ายร่างกายจำเลยอีกต่อไป เมื่อเปรียบเทียบอาวุธที่ใช้แล้ว ถือว่าจำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4180/2539 ขณะผู้เสียหายทั้งแปด ยืนรอขึ้นรถโดยสารประจำทาง อ. กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาพบผู้เสียหายที่ 1 อ. ซึ่งรู้จักกับผู้เสียหายที่ 1 ได้เข้าถามหาเพื่อนคนหนึ่ง แล้วไม่พอใจคำตอบของผู้เสียหายที่ 1 จึงเกิดการโต้เถียง และเข้าต่อยใบหน้าของผู้เสียหายที่ 1 แต่ไม่ถูก ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ก็ยืนอยู่ พวกของผู้เสียหายคนหนึ่ง ถือมีดดาบยาวประมาณครึ่งเมตร ชูขึ้นเหนือศีรษะวิ่งตรงเข้าช่วยผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงชักอาวุธปืนลูกซองสั้น และยิงลงไปที่พื้นดินคนละนัด ก็เพื่อยับยั้งไม่ให้เพื่อนของผู้เสียหายที่ 1 ใช้มีดฟัน อ.หรือจำเลยทั้งสอง เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้กระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงไปจะกระทบพื้นดินและแผ่กระจายถูกผู้เสียหายทั้งแปด จนได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 9279/2539 ผู้เสียหายเดินเข้าไปพูดห้ามมิให้จำเลยที่ 2 โทรศัพท์ติดต่อกับ ส.พี่ชายผู้เสียหายซึ่งเป็นสามีเก่าของจำเลยที่ 2 ต่อหน้าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนรักใหม่ของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไม่พอใจ เพราะเท่ากับเป็นการอ้างว่าจำเลยที่ 2 ยังคงติดต่อกับ ส. อยู่อาจทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงด่าว่าผู้เสียหาย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เริ่มก่อให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น การที่ผู้เสียหายตบหน้าจำเลยที่ 2 จำนวน 1 ครั้ง และใช้ขวดเปล่าทุบกับโต๊ะ จนขวดแตกปลายแหลมคม เป็นอาวุธแทงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงได้ยกหัวเตาแก๊สขึ้นทุ่มใสผู้เสียหาย และใช้ขวดน้ำอัดลมตีศีรษะผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายยกแขนขวาขึ้นรับขวด ถูกบริเวณนิ้วก้อยขวาได้รับบาดเจ็บ และขวดน้ำอัดลมตกกระแทกกับโต๊ะแตกกระจาย เศษแก้วกระเด็นขึ้นมาถูกนิ้วกลางขวาของผู้เสียหายมีบาดแผลเลือดไหล การกระทำของจำเลยที่ 2 มีลักษณะติดพันต่อเนื่องกับการที่ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2 ก่อน ถือว่าเป็นการป้องกันตัวให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและกระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 330/2540 ผู้ตายเป็นคนขาดศีลธรรมมักมากในกามชอบเอาเปรียบผู้หญิง เห็นผู้หญิงเป็นเครื่องบำเรอความสุขของตน จนภริยาทนต่อการถูกทุบตีไม่ไหวต้องหนีไปอยู่ที่อื่น แสดงให้เห็นว่าผู้ตายเป็นคนชอบทำอะไรตามใจตัวเอง จำเลยเป็นหญิงมีอายุมากแล้ว คงไม่กล้าเข้าทำร้ายผู้ตายที่หนุ่มแน่น และแข็งแรงกว่า วันเกิดเหตุผู้ตายเห็นจำเลยอยู่บ้านคนเดียวจะบังคับเอาเงินจากจำเลยให้ได้ เมื่อเห็นจำเลยจะต่อสู้ จึงชักมีดออกมาจะทำร้ายจำเลย จึงถูกจำเลยฟันเอาก่อน แต่ผู้ตายไม่ยอมหยุด ลุกขึ้นจะทำร้ายจำเลยอีก พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันชีวิตของตนเองได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อในภาวะเช่นจำเลยย่อมไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะฟันกี่ครั้งจึงจะหยุดยั้งผู้ตายได้ ฉะนั้น การที่จำเลยฟังผู้ตายที่ใบหน้าและศีรษะหลายครั้ง จึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 808/2540 ผู้ตายเคยกอดปล้ำข่มขืนกระทำชำเรา ล.ภรรยาจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้วจำเลยก็ไม่เอาเรื่อง ครั้นถูกจำเลยต่อว่าผู้ตายยังพูดสบประมาทจำเลยกับภรรยาอีก วันเกิดเหตุผู้ตายมาพูดขอ ล.ไปเป็นภรรยาจากพ่อตาแม่ยายจำเลย การที่ผู้ตายจับแขน ล.ดึงเข้ามาหาตัว แม้จะมิได้มีเจตนาจะทำร้ายก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่ามีเจตนากระทำอนาจารต่อ ล.เมื่อผู้ตายกระทำการละเมิดต่อกฎหมายและศีลธรรมอย่างร้ายแรง จำเลยย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการป้องกันเกียรติยศชื่อเสียงและเสรีภาพของ ล.ผู้เป็นภรรยาของตนได้โดยชอบ ขณะเกิดเหตุจำเลยไม่มีอาวุธใด หากจำเลยจะเข้าช่วยเหลือ ล.ภรรยาของตนด้วยการเข้าทำร้ายผู้ตายด้วยมือเปล่า ก็อาจถูกผู้ตายชักอาวุธปืนออกมายิงได้ ในภาวะเช่นนั้นจึงไม่มีทางเลือก นอกจากแย่งอาวุธปืนจากผู้ตาย แล้วยิงผู้ตาย ถ้าเพียงจะใช้อาวุธปืนตีผู้ตาย ปืนอาจลั่นไปถูกคนอื่น หรือผู้ตายอาจแย่งคืนมายิงเอาได้ จำเลยแย่งอาวุธปืนได้ ก็ยิงทันที โดยไม่เลือกว่าจะถูกตรงไหน แล้วทิ้งอาวุธปืนวิ่งหนี การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ.มาตรา 68
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2540 การที่ผู้เสียหายเมาสุราไม่เชื่อฟ้งมารดา พูดจาท้าทายจำเลยและถือมีดปลายแหลมซึ่งใบมีดยาวถึง 17 เซนติเมตร เดินไปตบหน้าภริยาจำเลยที่หน้าประตูห้องน้ำ ในขณะที่จำเลยอยู่ในห้องน้ำและอยู่ห่างกันเพียง 1 วา ไม่มีทางที่จำเลยจะหลบหนีไปทางใดได้ บุคคลที่อยู่ในภาวะเช่นจำเลยต้องเห็นว่าผู้เสียหายมีเจตนาจะทำร้ายจำเลย โดยใช้มีดที่ถือมาแทงจำเลยอย่างแน่นอน และอาจถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่จำเลยเปิดประตูห้องน้ำออกมาแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเพียง 1 นัด แล้วหลบหนี้ จึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 649/2543 ผู้ตายให้ผู้เสียหายจอดรถจักรยานยนต์กลางสะพาน แล้วผู้ตายยืนดักคอยจำเลย เมื่อจำเลยขับรถจักรยานยนต์มาถึง ผู้ตายถีบรถจักรยานยนต์จนล้มลง และเข้าชกต่อยจำเลย ขณะนั้นเป็นเวลาวิกาล เมื่อจำเลยถูกทำร้ายโดยไม่ทราบสาเหตุในลักษณะจู่โจมและเกิดขึ้นโดยทันที ทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้ตายกับผู้เสียหายอาจดักรอชิงรถจักรยานยนต์ หรืออาจประสงค์ร้ายต่อภรรยาจำเลยที่นั่งซ้อนท้ายมา จำเลยมีรูปร่างเล็กมากไม่มีทางสู้แรงปะทะของผู้ตาย และผู้เสียหายหรือหนีรอดพ้นได้ การที่จำเลยซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อครัวใช้มีดทำครัวที่พกติดตัวเป็นอาวุธแทงผู้ตายเพียง 1 ที แต่บังเอิญไปถูกอวัยวะสำคัญ ผู้ตายจึงถึงแก่ความตาย และเมื่อผู้เสียหายเข้าถีบจำเลย จำเลยย่อมเข้าใจว่าผู้เสียหายได้เข้าช่วยรุมทำร้ายจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธมีดดังกล่าวแทงผู้เสียหายเพียง 1 ทีเช่นกัน การกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น