มาตรา 289 ผู้ใด
(1)
ฆ่าบุพการี
(2)
ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่
หรือเพราะเหตุที่จะกระทำหรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3)
ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วย หรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(4)
ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5)
ฆ่าผู้อื่นโดยทรมาน
หรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(6)
ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ
หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(7)
ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์
อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน
หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้
ต้องระวางโทษประหารชีวิต
มาตรา
289
(1) ฆ่าบุพการี
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1384/2516 ผู้บุพการี ปวอ มาตรา 5 (2) หมายถึงบุพการีตามความเป็นจริง
โจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาผู้ตาย แต่เป็นบิดาของผู้ตาย ตามความเป็นจริง
เมื่อผู้ตายถูกทำร้ายถึงตาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทน ผู้ตายได้
มาตรา
289
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน
ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 15/2509 พลตำรวจ “ลาหยุดราชการ” ในระหว่างที่ลาหยุดนั้นไปเที่ยวในงานมหรสพ
ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ซึ่งตนประจำการอยู่ จ่าสิบตำรวจคนหนึ่งซึ่งรักษาการอยู่ใน
งานนั้นได้ขอร้องให้ช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในงานนั้นด้วย จำเลยกลับไปบ้าน
จำเลยใช้มีดพกแทงพลตรวจผู้นั้นถึงบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ ถือว่าพลตำรวจผู้นั้นถูกจำเลยแทง
เพราะเหตุที่ได้กระทำการตามหน้าที่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1238/2515 จำเลยเมาสุราและโกรธผู้เสียหาย จึงยกปืนคาร์ไบน์ ซึ่งบรรจุกระสุนอยู่
พร้อมที่จะยิงได้ ขึ้นประทับบ่า เล็งจ้องไปที่ผู้เสียหายในระยะ ห่าง 5 เมตรเศษ ถือได้ว่าเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ผิดฐานพยายามฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2153/2519
นายตำรวจออกตรวจท้องที่พบจำเลยซึ่งเป็นพลตำรวจเมาสุรา เอะอะขวางถนนจึงเอาตัวควบคุมไว้เพื่อป้องกันความวุ่นวาย
เป็นการกระทำตามหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย จำเลยเอาลูกระเบิดโยนใส่
เป็นพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ตาม ป.อ.ม. 289 (2), 80 ลูกระเบิดนั้นระเบิดขึ้นแล้ว
จำเลยไม่มีลูกระเบิดไปมอบแก่นายทะเบียนตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ (ฉบับที่6)
จำเลยไม่ได้รับยกเว้นความผิด เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ฐานมีวัตถุระเบิด ต่างกระทงกับพยายามฆ่าคน
ความผิดตาม ป.อ.ม. 371 กับ ม.378 คนละกระทง ศาลชั้นต้นลดโทษตาม ม.78
ไม่มีอุทธรณ์ในกระทงนี้ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นพิพากษาไม่ลดโทษ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 185/2520 จำเลยร้องบอกให้ อ.ยิงตำรวจ และร่วมกับ อ.ยิงตำรวจ โดยดึงพานท้ายปืนของตำรวจไว้ไม่ให้ป้องกันตัว
เป็นการยุให้ผู้อื่นทำผิด และร่วมกันกระทำผิดด้วย จึงเกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียว ฐานเป็นตัวการร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1152/2521 วัยรุ่นกำลังเดินอยู่ในทางสาธารณะ
คนหนึ่งเป็นผู้ต้องหาของตำรวจ มีผู้แจ้งว่าบุคคลเหล่านั้นจะไปทำผิด
เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าจะทำความผิดและมีอาวุธที่จะนำไปใช้ทำผิด นายตำรวจค้นได้ตาม
ป.ว.อ. ม.93 จำเลยขัดขวาง โดยยิงตำรวจ เป็นความผิดตาม ม.140 และ ม 289 ประกอบ 80
ลงโทษตาม ม.289, 80 ซึ่งเป็นบทหนัก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1793/2522 ฟ้องว่าจำเลยเมาสุราประพฤติวุ่นวาย
ตำรวจจับจำเลย จำเลยต่อสู้และทำร้ายตำรวจผู้กระทำการตามหน้าที่
ได้ความว่าจำเลยไม่เมาสุรา แต่ไม่ยอมเสียค่าเข้าดูภาพยนตร์ ตำรวจขอค้นเป้
จำเลยไม่ยอมให้ค้น แล้วทำร้ายตำรวจ จึงไม่ใช่การที่ตำรวจทำการตามหน้าที่ตามฟ้อง
ลงโทษตาม ป.อ.ม.295 เท่านั้น (เป็นประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ
เนื่องจากข้อเท็จจริงเรื่องการใช้อำนาจค้นตามกฎหมาย ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้
จึงไม่มีประเด็นให้พิจารณาลงโทษจำเลยในข้อนี้)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1270/2526 จำเลยขับรถยนต์บรรทุกดินลูกรังเกินกำหนดพอถึงจุดตรวจซึ่งมีแผงเหล็กเครื่องหมาย
"หยุด" ตั้งอยู่กลางถนน ตำรวจได้เป่านกหวีดและให้สัญญาณให้จำเลยหยุด
จำเลยกลัวถูกจับ จึงไม่หยุดรถ
แต่กลับเร่งเครื่องยนต์หลีกเครื่องหมายจราจรพุ่งเข้าใส่ตำรวจที่ยืนอยู่ทางซ้าย 2 -
3 คน แต่ตำรวจกระโดดหลบเสียทัน
จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ารถยนต์ที่จำเลยขับพุ่งเข้าใส่เช่นนั้น
จะต้องชนตำรวจที่ยืนอยู่ในถนนถึงแก่ความตายได้ จึงมีความผิดตาม ป.อ.ม.289,80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6576/2542
พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถพุ่งเข้าชนสิบตำรวจตรี ป. ขณะเข้าทำการตรวจค้นขับรถด้วยความเร็วสูง
สลับกับการห้ามล้อหลายครั้ง ในขณะที่สิบตำรวจตรี ป.
นอนคว่ำหน้าอยู่บนฝากระโปรงด้านหน้าของรถที่จำเลยขับ เพื่อให้สิบตำรวจตรี ป.
ตกจากรถ ล้วนแต่มุ่งประสงค์ที่จะให้สิบตำรวจตรี ป. เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งสิ้น
เมื่อไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลย
จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2741/2550 การที่จำเลยใช้ไม้ตีแล้วกอดปล้ำผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแต่งเครื่องแบบตำรวจออกตรวจท้องที่
ในขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในงานวัด ไม่ว่าการทำร้ายร่างกายดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดยประการใด
ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานตำรวจผู้กระทำการตามหน้าที่เพราะการที่ผู้เสียหายกำลังปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในงานวัดเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม
ป.อ. มาตรา 296
-
กรณีไม่ใช่เจ้าพนักงาน
ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1271/2503
พลตำรวจจับหญิงนครโสเภณี โดยหญิงนั้นยังมิได้กระทำผิด และการจับไม่มีหมายจับเช่นนี้
เป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยขัดขวางใช้ปืนยิงตำรวจผู้นั้นตาย
จำเลยยังไม่ผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงาน เพราะเหตุที่กระทำตามหน้าที่
คงผิดฐานฆ่าคนเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3090/2527
กรณีจะเป็นความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. ม.289 (2) นั้น
ต้องเป็นกรณีฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกำลังกระทำการตามหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ตายเป็นทหารมีหน้าที่เป็นสิบเวร และกำลังดูโทรทัศน์อยู่ในเต้นท์พักผ่อน ขณะ
ทำร้ายและฆ่า ผู้ตายมิได้กำลังกระทำการตามหน้าที่
ไม่เป็นการฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
มาตรา 289 (3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่
หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2029/2506
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นพนักงานที่ดินอำเภอ ได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอ
ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดงานปีใหม่ และเป็นกรรมการจำหน่ายบัตรผ่านประตูนั้น
หาทำให้ผู้เสียหายมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายไม่
แต่เป็นเรื่องช่วยเหลือนายอำเภอปฏิบัติงานพิเศษเป็นการส่วนตัวเท่านั้น
การพยายามทำร้ายผู้เสียหายที่ไม่ยอมให้ผ่านประตูเข้าไปในบริเวณงาน โดยไม่มีบัตร
จึงมีความผิดตามมาตรา 295 ประกอบด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 296 ประกอบด้วย มาตรา
80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2514 คืนเกิดเหตุ ตำรวจกับพวกตามหาเรือของเจ้าทรัพย์ที่ถูกคนร้ายชิงไป
พบจำเลยทั้งสองอยู่ในเรือลำหนึ่ง ตำรวจซึ่งอยู่ในเครื่องแบบ แสดงตัวและบอกให้จำเลยเข้ามาหา
จำเลยทั้งสองรู้ว่าเป็นตำรวจ แต่ขัดขืน และได้ยิงปืนมาที่เรือตำรวจ 1 นัด กระสุนปืนถูกผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่ขา
แล้วจำเลยทั้งสองโดดน้ำหนีพร้อมกัน ดังนี้ จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดฐานต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานกับผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่กระทำตามหน้าที่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2514) (ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า “จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138, 140, 288,
289, 80,83 ให้ลงโทษตามมาตรา 289, 80, 83 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด” / ศาลฎีกาพิพากษาว่า “พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ให้บังคับคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
138, 140, 288, 289, 80, 83 ให้ลงโทษตามมาตรา 289, 80 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2228/2515 ตำรวจขอแรง “บ. ราษฎรเจ้าของเรือยนต์”
ให้ขับเรือติดตาม จำเลยซึ่งเป็นคนร้าย บ.เข้าช่วยเจ้าพนักงานโดยสมัครใจเอง เมื่อจำเลยยิง บ.ได้รับอันตรายแก่กาย
จึงเป็นการพยายามฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำการตามหน้าที่ตาม
ป.อาญา มาตรา 289 (3) , 80 แต่ไม่ใช่
มาตรา 138 ด้วย
มาตรา
289
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
มาตรา 289 (4) การฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 491/2502
จำเลยทราบว่าผู้ตายทำร้ายภริยาและมารดาของตน
จึงตามไปใช้มีดฟันผู้ตายในเวลาต่อเนื่องกัน ห่างบ้านจำเลย 3 วาเศษ
แล้วจับผู้ตายไปส่งตำรวจ ระหว่างทางจำเลยกับพวก สมคบกันทำร้ายผู้ตายอีก
โดยลากขาไปประมาณ 10 วา ตามทุ่งนา เอาด้ามมีดกระทุ้งหน้าอกอีก 2 ที
แล้วฟันศีรษะผู้ตายอีกหนึ่งที จนผู้ตายถึงแก่ความตายทันที ดังนี้
เป็นการฆ่าโดยพยายาม ด้วยความพยาบาทมาดหมาย เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1019/2505 จำเลยทั้ง 3
ได้ไปด้วยกันตั้งแต่แรก ทำการลวงผู้ตายให้ไปรับเงินชำระหนี้จากจำเลยที่ 1
และพาผู้ตายไปถึงที่เปลี่ยวแล้วฆ่าเสีย โดยมีการวางแผนเตรียมการกัน (คือ
โทรศัพท์นัดผู้ตายให้ไปรับเงินชำระหนี้ แล้วซื้อขวานไปด้วยกัน) แสดงว่า จำเลยทั้ง
3 คบคิดร่วมใจกันประกอบฆาตกรรมรายนี้
จำเลยทุกคนเป็นคนเป็นตัวการฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม มาตรา 83
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1215/2508 จำเลยที่ 1
ใช้ให้จำเลยที่ 2, 3 ไปตามผู้ตายให้ไปกินข้าวที่บ้านถึง 2 ครั้ง ผู้ตายจึงยอมไป
ส่วนจำเลยที่ 1 แทนที่จะคอยต้อนรับผู้ตายที่บ้านกลับไปรออยู่กลางทาง เมื่อจำเลยที่
1 ยกปืนจะยิงผู้ตาย ผู้ตายปัดกระบอกปืน
จำเลยที่ 2, 3, 4 ก็กลุ้มรุมทำร้ายผู้ตายทันทีโดยจำเลยที่ 1 มิได้ขอร้องให้ช่วย พฤติการณ์
จึงส่อแสดงว่าจำเลยวางแผนการหลอกผู้ตายมาทำร้ายระหว่างทาง
เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ยังได้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าผู้ตายกับพวกมาฉุดลูกสาวจำเลยที่
1 ไป อันเป็นแผนต่อไปที่จะสู้คดี
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนา และโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1248/2509
จำเลยเกิดเรื่องกับผู้เสียหายในเวลาประชุม ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้น จำเลยออกจากที่ประชุมแล้ว
จึงมาทำร้ายผู้เสียหาย ซึ่งการทำขั้นนี้
มิได้เกิดจากโทสะพลุ่งขึ้นเฉพาะหน้าแล้วทำร้าย แต่เป็นกรณีเกิดโทสะ
แล้วไปเกิดความคิดที่จะทำร้ายเขาในภายหลัง และเป็นพฤติการณ์ที่จำเลย
จะต้องคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักในการตกลงใจกระทำผิด
ในกรณีนี้การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม มาตรา 289 (4)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 864/2513 จำเลย 3
คนกับพวกอีกคนหนึ่ง ต่างสวมเสื้อปล่อยชายปิดบังปืนสั้นที่พกไว้
พากันขึ้นไปบนเรือนผู้ตาย พูดจาปรารภขอเช่าหรือซื้อไร่ของผู้ตาย
แล้วพวกของจำเลยพูดกับจำเลยว่า "อ้ายพวกนี้นั่งเงียบเรียบร้อยจริงฮิ"
จำเลยคนหนึ่งลุกขึ้น แล้วอีก 3 คนลุกขึ้นพร้อมกัน ต่างชักปืนออกมา จำเลยที่ลุกขึ้นก่อนนั้นยิงไปที่ผู้ตาย
อีก 3 คนต่างก็ยิงผู้ตายคนละนัดติด ๆ กัน แสดงว่ามีแผนนัดหมายกันมาก่อน
ถือได้ว่าเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1381/2514 จำเลยเชื่อว่าผู้เสียหายเป็นผู้ฆ่าหลานชาย
จำเลยจึงวางแผนฆ่าผู้เสียหาย
โดยให้น้องชายไปแจ้งตำรวจให้มาจับผู้เสียหายที่บ้านผู้มีชื่อ
และจำเลยไปรออยู่ใกล้บ้านนั้น เมื่อตำรวจมาถึง
จำเลยก็รับอาสานำตำรวจไปจับผู้เสียหาย แล้วจำเลยเดินลุยน้ำล่วงหน้าไป
ยิงผู้เสียหายทันที กระสุนปืนถูกขาผู้เสียหาย
มีความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2225/2516
จำเลยทั้งสี่จับกุมผู้ตายทั้งสามคนในข้อหาลักโค
ต่อมาจำเลยทั้งสี่นำตัวผู้ตายทั้งสามไป เพื่อผลักตกหน้าผาให้ถึงแก่ความตาย
เมื่อไปถึงบริเวณลานจอดรถห่างหน้าผาเพียง 2 เส้น จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3
ที่ 4 นำผู้ตายทั้งสามไปที่หน้าผาทีละคน จำเลยที่ 1 รออยู่บริเวณลานจอดรถนั่นเอง
โดยจำเลยทั้งสี่มีเจตนาร่วมกันที่จะฆ่าผู้ตายทั้งสาม เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ผลักผู้ตายทั้งสามตกหน้าผาตายที่คนแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็พากันกลับ พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันฆ่าผู้ตายทั้งสาม
โดยวางแผนไว้ล่วงหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสี่
จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายทั้งสามโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 834/2520 จำเลยด่า ส.ผู้เช่าห้องแถวของจำเลย
เพราะโกรธที่ให้ช่างประปาขุดคูท่อในที่ดินของจำเลย
แล้วต่างเข้าร้านของตนไปประมาณ 10 นาที
จำเลยวิ่งออกมายิง ส.ทันที จำเลยมีโอกาสไตร่ตรองทบทวนดีแล้วในช่วงเวลา 10
นาทีว่าจะยิง ส.หรือไม่ จำเลยมีความผิดตาม ม.289, 80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1968/2521 (สบฎ เน 5626) จำเลยดักยิงคน ตามที่รับจ้างมา
เป็นฆ่าโดยไตร่ตรอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2259/22 ยิงผู้เสียหาย โดยมีสาเหตุกล่าวคำอาฆาตไว้ก่อน
แล้วเตรียมจดหมายจ่าหน้าซองมาถึงผู้เสียหาย เพื่อพบแล้วชักปืนยิง แต่ผู้เสียหายไม่ตาย
เป็นพยายามฆ่าโดยเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3475/2525
ไร่ผู้ตายและจำเลยอยู่ติดกัน ผู้ตายไปร้องเรียนผู้ใหญ่บ้าน
เรื่องจำเลยขุดเหมืองน้ำลึกเกินไป ทำให้ไร่ยาสูบของผู้ตายไม่มีน้ำใช้ วันเกิดเหตุผู้ใหญ่บ้านมาดู
และพูดไกล่เกลี่ย ห้ามจำเลยอย่าไปขุดเหมืองน้ำลึกเกินไป หลังจากนั้นเพียง 1
ชั่วโมง จำเลยถือปืนเข้ามายิงผู้ตายในไร่ ขณะดายหญ้าโดยไม่รู้ตัว เมื่อล้มลงแล้ว
จำเลยยิงซ้ำอีก 1 นัดดังนี้ เป็นเรื่องไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.
ม.289 (4)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2505/2525
ผู้ตายเป็นสมาชิกสภาจังหวัด เป็นคนดีเป็นที่รักใคร่ของประชาชน
เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับ ก. กำนันที่มีอิทธิพลหลายเรื่อง เมื่อรถยนต์สองแถวที่ผู้ตายนั่งมาหยุด
จำเลยกับพวกที่สะกดรอยมา ก็หยุดรถจักรยานยนต์ด้วย พวกจำเลยเข้าไปยิงผู้ตายทางด้านหลังแล้วจำเลยเข้าไปยิงทางด้านหลังซ้ำ
โดยมิได้พูดจากับผู้ตายเลย
ไม่ปรากฏว่าจำเลยและพวกกับผู้ตายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ดังนี้
จึงเชื่อว่าถูกจ้างวานใช้จากผู้อื่นให้มาฆ่าผู้ตาย
เป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1231/2526
จำเลยทั้งสองขึ้นรำวงแล้วจำเลยที่ 1 ลวนลามสาวรำวงจนถูกถีบ จำเลยที่ 1
ลงจากเวทีไปทุบหลอดไฟและดึงแผงไฟข้างเวที ทหารที่รักษาการณ์มาห้าม
แล้วเกิดชุลมุนต่อสู้กันสักพักหนึ่งจึงแยกจากกัน จำเลยทั้งสองออกจากบริเวณงาน
แล้วกลับมาอีก
เปลี่ยนเสื้อใหม่อยู่ได้ชั่วครู่ก็ออกจากบริเวณงานเดินเลี้ยวไปหลังเวทีรำวง
ต่อมามีผู้ขว้างลูกระเบิดสังหารไปตกที่พื้นดินที่พวกทหารยืนอยู่ บริเวณเวทีรำวง
เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บหลายคน จำเลยทั้งสองรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนโดยสมัครใจนำชี้ที่เกิดเหตุและแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำรับสารภาพ
ดังนี้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.ม.289 (4), 83 ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3462/2526 ก่อนเกิดเหตุ 15 นาที
จำเลยเดินเข้ามาดูลาดเลาในร้านอาหาร 3 รอบ โดยมีพวกอีก 1 คนจอดรถอยู่หน้าร้าน
ขณะนั้นผู้ตายนั่งรับประทานอาหารอยู่ในร้าน เมื่อผู้ตายขับรถออกจากร้าน จำเลยกับพวกก็ขับรถตามมาฆ่าผู้ตาย
ห่างจากร้านเพียง 200 เมตร
แสดงว่าจำเลยกับพวกมีแผนการนัดหมายกันมาก่อนลงมือกระทำผิด ดังนี้
เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 218/2527 จำเลยมีเรื่องวิวาทชกต่อยกับผู้เสียหายที่ร่วมโต๊ะรับประทานอาหารด้วยกัน
มีผู้ห้าม แล้วจำเลยกลับไปเอาอาวุธปืน ย้อนกลับมายิงกราดผู้เสียหาย
ผู้ตายกับพวก หลังจากนั้นประมาณ 10 นาที
จำเลยมีเวลาพอที่จะได้สติคิดพิจารณาไตร่ตรองแล้ว
จึงเป็นการกระทำโดยมีการไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1480/2528 จำเลยใช้อาวุธมีคมปาดเชือดคอผู้เสียหาย
เป็นแผลฉกรรจ์ยาว 15 ซม. ลึก 6 ซม.
ตัดเข้าหลอดอาหารส่วนต้นและเส้นประสาทกล่องเสียงด้านซ้าย อันเป็นอวัยวะสำคัญ
อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้
เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายเนื่องจากแพทย์ได้ทำการรักษาไว้ทัน
การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย และจำเลยกระทำโดยมีการตระเตรียมและวางแผนการไว้ล่วงหน้า
ทั้งนี้หวังที่จะได้รับเงินบำเหน็จและเงินประกันชีวิตของผู้เสียหาย
จึงเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1906/2528 จำเลยโกรธแค้นพวกที่รุมทำร้ายจำเลย ตั้งใจจะไปฆ่าเพื่อเป็นการล้างแค้น
เมื่อพบผู้ตาย จำเลยเข้าใจว่าผู้ตายเป็นพวกที่รุมทำร้ายตน
จึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันที ดังนี้ เป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3611/2528 จำเลยได้ใช้ให้ ส.ฆ่า ว.ผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
โดยมอบอาวุธปืนของกลางให้ ส.นำไปหาโอกาสยิง ว. แม้ ส.ยังมิได้กระทำผิด
เพราะไม่มีโอกาสฆ่า ว. การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.289 (4) ประกอบกับ
ม.84 วรรคสอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 825/2530
จำเลยได้รับค่าจ้าง 100,000 บาท
จากผู้อื่นให้ฆ่าผู้ตาย จึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4308-4309/2530
จำเลยกับพวกโกรธผู้ตาย จึงเตรียมอาวุธไปที่บ้านผู้ตาย
เมื่อพบภริยาผู้ตายก็ยิงภริยาผู้ตายตาย แล้วตามผู้ตายไปจนพบกำลังรุนกุ้งในทะเล
มิได้พูดจาไต่ถามอะไร ก็ใช้อาวุธปืนยิงทันทีจนผู้ตายถึงแก่ความตาย และยังจุดไฟเผาเรือเสียด้วย
การที่จำเลยกับพวกฆ่าผู้ตาย ถือเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
แต่ที่จำเลยกับพวกฆ่าภริยาผู้ตายด้วย อาจเป็นเพราะไม่พบผู้ตาย จึงฆ่าเสียก่อน
เป็นการฆ่าในทันทีทันใด ไม่ถือว่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน / จำเลยที่ 1 ที่ 2
และที่ 3 มิได้ร่วมยิงผู้ตายแต่การเตรียมอาวุธไปด้วย และร่วมปรึกษาหารือกันมาก่อน เมื่อจำเลยที่
4 ยิงภริยาผู้ตายแล้วจำเลยที่ 2 ก็ยังขับเรือตามหาผู้ตายต่อไปอีก จำเลยที่ 1
และที่ 3 ก็มิได้ทักท้วงห้ามปราม ถือว่าจำเลยทั้งสามร่วมกับจำเลยที่ 4
ฆ่าผู้ตายและภริยาผู้ตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 90/2531 จำเลยให้พวกมาร้องเรียก พ. ให้ออกมาจากบ้าน โดยจำเลยแอบซุ่มยิงอยู่
แม้บังเอิญผู้ตายลุกขึ้นมาเปิดประตูบ้านลงบันได เพื่อจะไปถ่ายปัสสาวะข้างล่าง
แล้วถูกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงโดยสำคัญผิดว่าเป็น พ. ก็ตาม การกระทำของจำเลย
ก็เป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1451/2531 จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาดักยิง ศ.
เมื่อ ส. ขับรถปิคอัพมาถึงที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็น ศ.
เพราะไม่รู้จักมาก่อนจึงจ้องปืนเล็งไปยัง ส.โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรอง แต่
ส.โบกมือให้ทราบว่าตนมิใช่ ศ.จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ยิง ดังนี้ เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด
จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (4), 80 / จำเลยที่ 2
ให้รถจักรยานยนต์และปืนแก่จำเลยที่ 1 ไปใช้ยิง ศ. ดังนี้จำเลยที่ 2
มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6029/2531
จำเลยทั้งสองกับพวกใช้รถยนต์เป็นพาหนะไปที่บ้านผู้ตายโดยจำเลยที่ 2
แสร้งทำเป็นพ่อค้าเร่ขายจักรเย็บผ้า
จำเลยที่ 1 กวักมือเรียกผู้ตายให้ออกจากบ้านแล้วยิงผู้ตาย ในขณะที่จำเลยที่ 2 ถือปืนคุ้มกัน
แล้วจำเลยทั้งสองขึ้นรถหลบหนีไปด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำโดยมีการเตรียมอาวุธ
ยานพาหนะและวางแผนไว้ก่อนแล้ว
การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1283/2533 ผู้ตายกับจำเลยเคยมีสาเหตุกัน
เนื่องจากผู้ตายแบ่งเงินจากการขายรถจักรยานยนต์ที่ลักมาให้จำเลยน้อย และพูดจาดูถูกจำเลยเสมอวันเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ไปด้วยกัน
เนื่องจากจำเลยลวงผู้ตายว่ามีผู้สนใจจะซื้อรถจักรยานยนต์
เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยให้อาวุธปืนที่พาติดตัวไปยิงผู้ตายในลักษณะจ่อยิงด้านหลัง
แล้วลากศพไปทิ้งไว้ในป่า และนำรถจักรยานยนต์ไปซ่อนไว้ ก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยทะเลาะกับผู้ตาย
เช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้วางแผนตระเตรียมการ ที่จะฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าแล้ว
จึงฟังได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3576/2533 ขณะจำเลย ผู้ตาย และพวกนั่งดื่มสุราอยู่ด้วยกัน
ผู้ตายพูดว่าจำเลยหัวล้านหรอยจัง แล้วใช้มือลูบศีรษะจำเลย
จำเลยลุกออกจากวงสุราไปต่อมาประมาณ 15 นาที
จำเลยถือปืนแก๊ปยาวมายิงผู้ตายถึงแก่ความตาย
กรณีมิใช่เกิดจากโทสะที่พุ่งขึ้นเฉพาะหน้า ขณะที่ผู้ตายใช้มือลูบศีรษะจำเลย
แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันที แต่เป็นกรณีที่จำเลยเกิดโทสะ
แล้วออกจากวงสุราไป เกิดความคิดจะฆ่าผู้ตายในภายหลัง
และเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยจะต้องคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักเป็นเวลาถึง 15 นาที
ในการตกลงใจกระทำผิด จึงเป็นการกระทำผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (คดีไม่มีประเด็นเรื่องบันดาลโทสะ)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 171/2536
เช้าวันเกิดเหตุมีการลงแรงนวดข้าวที่นาห่างหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร จำเลย
ผู้ตายกับชาวบ้านไปช่วยกันหลายคน นวดเสร็จมีการเลี้ยงอาหารกลางวันและสุรา
ครั้นถึงเวลาประมาณ 14 นาฬิกาจำเลยกับผู้ตายเกิดมีปากเสียงกัน สาเหตุมาจากผู้ตายสาดสุรารดขาจำเลย
เพราะไม่พอใจจำเลยที่ไม่ยอมดื่มสุราที่ผู้ตายรินและคะยั้นคะยอให้ดื่ม
จำเลยออกจากนาเข้าไปในหมู่บ้านต่อมาประมาณ 1
ชั่วโมงจึงหวนมาผลักอกและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย กรณีมิใช่จำเลยยิงผู้ตาย
เพราะเกิดโทสะพลุ่งขึ้นเฉพาะหน้า ขณะถูกผู้ตายกระทำการเหยียดหยาม หากแต่เป็นกรณีที่เกิดโทสะและออกจากนาที่เกิดเหตุแล้ว
จำเลยจึงเกิดความคิดไปเอาอาวุธปืนเพื่อมายิงทำร้ายผู้ตายในภายหลัง
ขณะเดินไปกลับระหว่างนาที่เกิดเหตุกับหมู่บ้านเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
ระยะทางไม่ต่ำกว่า 4 กิโลเมตร จำเลยต้องคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักในการตกลงใจกระทำความผิด
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1177/2537 จำเลยมีเรื่องโกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อนแล้ว
ต่อมาจำเลยมาตามหาผู้ตาย โดยนำอาวุธปืนไปตั้งใจจะยิงผู้ตาย
ซึ่งถือว่าจำเลยมีโอกาสคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว ว่าจะฆ่าผู้ตายหรือไม่
เมื่อจำเลยไปพบผู้ตายและได้โอกาส ก็ยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ.มาตรา 289 (4)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3501/2538 จำเลยที่ 1 - 2 ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 3 ให้ฆ่าผู้ตาย โดยจำเลยที่ 2 จัดหาอาวุธปืนและรถพาหนะให้
คืนเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 - 2 ไปนั่งในร้านที่เกิดเหตุใกล้ ๆ
เพื่อคอยช่วยเหลือ จำเลยที่ 1 - 2 เป็นตัวการร่วมกับ
จำเลยที่ 3 ผิด ม 289 (4) + 83
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 554/2541 การที่จำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน
แต่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ติดตามผู้เสียหายมา
แล้วขอยืมแผนที่ระวางที่ดินจากผู้เสียหายตามที่ผู้ใหญ่ ส. ใช้ไหว้วาน
ครั้นผู้เสียหายบอกให้จำเลยตามไปเอาแผนที่ดังกล่าวที่บ้านของผู้เสียหาย จำเลยกลับใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายถึง 3 นัด
ทันทีในระยะใกล้ ทั้งที่มิได้ทะเลาะวิวาทหรือโต้เถียงกันแต่อย่างใด พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้วางแผนฆ่าผู้เสียหายมาก่อนแล้ว
แต่เนื่องจากผู้เสียหายรู้ตัวและหลบทัน กระสุนปืนที่จำเลยยิงจึงถูกผู้เสียหายเพียง
1 นัด ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย
เกิดบาดแผลที่บริเวณหัวไหล่ขวา ไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย
จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1321/2545 แม้โจทก์ไม่ได้ตัวพยานในชั้นสอบสวนมาเบิกความในชั้นพิจารณาก็ตาม
แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้รับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน
เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนบันทึกคำให้การของพยานไว้ไม่ถูกต้อง
จึงรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ Ø
คนร้ายเดินเข้าไปชำระค่าโดยสารให้แก่ผู้ตาย แล้วได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันที เกิดเหตุแล้วคนร้ายกระโดดขึ้นซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่มาจอดเทียบ
โดยจำเลยเตรียมรถจักรยานยนต์ ขับตามรถยนต์โดยสารสองแถวที่ผู้ตายขับมา
เพื่อรับคนร้ายหลบหนี อันเป็นการวางแผนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ซึ่งรวมถึงแผนในการหลบหนีด้วย
รับฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับคนร้ายที่หลบหนีกระทำความผิดตามป.อ. มาตรา 289 (4), 83 Øธนบัตรของกลางที่คนร้ายส่งให้แก่ผู้ตายเป็นค่าโดยสาร
ก่อนที่ผู้ตายถูกยิง กับหมวกนิรภัยที่จำเลยสวมขณะเกิดเหตุอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดว่า
จำเลยมีเจตนาสวมเพื่อปกปิดใบหน้าในการกระทำผิด ธนบัตรและหมวกนิรภัยของกลาง
จึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) โดยตรง
-
มาตรา 289 (4) กรณีไม่ถึงกับเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1162/2508 ได้ความเพียงว่า
จำเลยผลัดกันเข้ายิงผู้ตายเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานพอฟังว่า
จำเลยรับจ้างผู้อื่นมายิงผู้ตาย อันจะเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ไม่ใช่มาตรา 289
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 849/2512 จำเลยที่ 1
เป็นผู้ใหญ่บ้าน เคยมีสาเหตุกับผู้ตาย จำเลยที่ 1
พาพรรคพวกไปแกล้งจับผู้ตายหาว่ากระทำความผิดอาญาโดยที่ผู้ตายเอง
ก็เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกหลอกลวงเอาเงินจากพ่อค้าและราษฎรไปอยู่เหมือนกัน
จำเลยที่ 1 กับพวกเอาโซ่มัดผู้ตายเอาผู้ตายไปล่ามโซ่ไว้ใต้ถุนบ้าน แล้วจำเลยที่
1-2-3-4 กับพวกเอาตัวผู้ตายออกจากบ้านไป บอกว่าจะเอาตัวไปส่งจังหวัด
ในคืนวันเกิดเหตุผู้ตายพยายามขัดขืนไม่ยอมไป จำเลยกับพวกเอาโซ่ลากคอผู้ตายไป
แล้วร่วมกันฆ่าผู้ตายในระหว่างทาง เห็นได้ว่าเมื่อตอนที่จำเลยกับพวกนำตัวผู้ตายออกจากบ้านไปนั้น
จำเลยกับพวกอาจจะยังไม่มีเจตนาจะฆ่าผู้ตาย แต่การที่กลับมาเปลี่ยนใจฆ่าผู้ตาย
น่าจะเป็นเพราะผู้ตายพยายามขัดขืนไม่ยอมไปก็ได้ พฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 631/2530
จำเลยทะเลาะและโกรธผู้เสียหาย จึงไปชักชวนพรรคพวกอีก 2 คนมาฆ่าผู้เสียหายและผู้ตาย
โดยใช้เวลาชวนพรรพวกเพียง 2 นาที่ ซึ่งเป็นระยะเวลากระชั้นชิดและกะทันหัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวก
คบคิดตระเตรียมการฆ่ามาก่อน จึงไม่เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1247/2530
จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนเกิดเหตุประมาณ 3 ปี
โดยต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันอีกว่าอีกฝ่ายลอบยิงบิดาของแต่ละฝ่าย
แต่ก็เป็นเวลาล่วงเลยมานานแล้ว เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยได้วางแผนตระเตรียมการ
หรือหาโอกาสฆ่าผู้ตายมาก่อน กรณีอาจเป็นได้ว่าในเวลาเกิดเหตุ
จำเลยพบผู้ตายแล้วเกิดความเครียดแค้นขึ้น ในขณะนั้นจึงได้ยิงผู้ตาย
ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3902/2530 ผู้เสียหายทำร้าย
จ. ซึ่งเป็นพวกของจำเลยทั้งสองก่อนเกิดเหตุ 3-4 วัน วันเกิดเหตุ
ผู้เสียหายขับขี่รถจักรยานยนต์ไปตามถนน พบจำเลยที่ 1 ยืนอยู่ตรงหัวโค้งถนน
ขับรถต่อไปอีก 10 เมตร เห็นจำเลยที่ 2 กับ จ.ยืนถืออาวุธปืนลูกซองยาวคนละกระบอก
จ้องเล็งและยิงมาที่ผู้เสียหายถูกที่ขา เป็นการพบกันโดยบังเอิญ จำเลยทั้งสอง และ
จ. มิได้ซุ่มซ่อนตัวแต่ประการใด ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองและ จ.
ร่วมกันยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4230/2530
จำเลยเป็นชู้กับภรรยาผู้ตาย แล้วจำเลยมาพบกับภรรยาผู้ตาย ที่บ้านผู้ตายในเวลากลางคืน
โดยให้เพื่อนผู้ชาย 2 คน ไปเฝ้าที่หน้าห้องนอนผู้ตาย เพื่อผู้ตายตื่นขึ้นมา
จำเลยจะได้ออกไปทางประตูหน้าได้ทัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะให้เพื่อนของตนขัดขวาง
ไม่ให้ผู้ตายพบเห็นจำเลยเป็นชู้กับภรรยาผู้ตาย ดังนี้เมื่อเพื่อนของจำเลย
ซึ่งนำอาวุธมีดติดตัวมาแทงผู้ตาย จนถึงแก่ความตาย จึงอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลย
ที่มีเจตนาไม่ให้ผู้ตายมาพบเห็นการกระทำของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยร่วมกับเพื่อน 2
คนนั้นฆ่าผู้ตาย / แต่การกระทำของเพื่อนจำเลยดังกล่าวเป็นการฆ่าผู้ตาย
ขณะลุกจากที่นอนมาที่ประตูห้องนอน เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า
มิได้เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อน จึงไม่เป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 864/2533
จำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองผู้ตายมาก่อน
แม้ภริยาผู้ตายซึ่งเป็นน้องสาวจำเลยได้มาบอกจำเลย ว่าทะเลาะกับผู้ตายและผู้ตาย
ได้ยิงปืนขู่ก็ตาม แต่ผู้ตายไม่ได้ทำร้ายภริยา จึงไม่น่าจะเป็นเหตุถึงกับทำให้จำเลยต้องการฆ่าผู้ตายในขณะนั้น
ทั้งปรากฏว่าภริยาผู้ตายให้จำเลยไปเอากระบือที่ห้างนามาไว้ที่บ้าน การที่จำเลยคว้าอาวุธปืนไปด้วย
อาจเพราะเป็นเวลามืดค่ำจึงเอาไปเพื่อป้องกันตัว
และก่อนที่จำเลยจะยิงผู้ตายได้มีการพูดจาทักทายกันก่อนแล้ว
จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย หาได้ยิงในทันทีที่พบผู้ตายไม่
ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยคิดฆ่าผู้ตายมาแต่ต้น จึงไม่เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7663/2540
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานปากใดเบิกความยืนยันว่า จำเลยฟันทำร้ายผู้ตายเมื่อใด
ในลักษณะใด อันจะชี้ให้เห็นว่าจำเลยฟันทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
การที่จำเลยฟันทำร้ายในขณะที่ผู้ตายนอนหลับ จะถือว่าเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน
น่าจะยังไม่ถูกต้อง
เพราะจำเลยอาจเกิดอารมณ์ชั่ววูบขณะเห็นผู้ตายนอนหลับ
จึงใช้มีดพร้าฟันไปทันทีก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องสันนิษฐานในทางที่เป็นคุณให้แก่จำเลยว่ามีความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 288 เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2539/2541
จำเลยและผู้เสียหายอยู่หมู่บ้านเดียวกันและเป็นเพื่อนกันมาก่อน
หากจำเลยมีใจคิดจะฆ่าผู้เสียหาย
หลังจากทะเลาะวิวาททำร้ายกันแล้วก็สามารถกระทำได้ง่าย
และคงไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปนานประมาณ 3 เดือน จนเพิ่งมาเกิดเหตุ คดีนี้แม้ได้ความว่าจำเลยยังผูกใจเจ็บผู้เสียหายอยู่
ก็ไม่อาจแปรความว่าจำเลยคิดจะฆ่าผู้เสียหายตลอดมา
เมื่อจำเลยมาพบผู้เสียหายในงานวัด จึงเกิดความคิดที่จะแก้แค้นผู้เสียหาย
โดยมิได้มีการพก หรือเตรียมอาวุธมาก่อน
แสดงว่าความคิดที่จะฆ่าผู้เสียหายของจำเลยเพิ่งเกิดขึ้น
เมื่อมาพบเห็นผู้เสียหายในงานวัดดังกล่าว
การที่จำเลยกลับไปบ้านนำอาวุธมีดของกลางมาฟันทำร้ายผู้เสียหายในทันที
กรณีจึงไม่แตกต่างกับที่จำเลยไปนำเอาอาวุธมีดจากบริเวณใกล้เคียง
มาฟันทำร้ายผู้เสียหายในทันทีที่พบเห็นผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าได้กระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5368/2542
ก่อนเกิดเหตุจำเลยกับพวกพบผู้ตายและผู้เสียหายโดยบังเอิญ ที่ปั๊มน้ำมัน
โดยต่างไม่เคยรู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน และขณะเติมน้ำมันรถ
ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกเกิดทะเลาะโต้เถียงกับผู้ตายและผู้เสียหายแต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การว่า
เมื่อจำเลยถามพวกว่าจะเอาอย่างไร จะยิงยางแล้วจี้ใช่ไหม พวกบอกว่าให้ยิงคนขับทิ้ง
ก็เป็นการตกลงเพื่อความสะดวกในการจะชิงทรัพย์ อันเป็นการมุ่งกระทำต่อทรัพย์นั้นเอง
พฤติการณ์ตามรูปคดียังไม่หนักแน่นมั่นคงพอจะฟังว่า จำเลยกับพวกฆ่าผู้ตายและพยานฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม
ป.อ. มาตรา 289 (4)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1533/2548 การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น
ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด
หาใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันด่วนไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตะโกนให้ของลับแล้วเดินออกจาก
ร้านอาหารไปโดยไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน
และไม่ปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองออกจากร้านอาหารไปแล้ว จำเลยที่ 1
ได้ตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้เสียหายมาก่อน การที่จำเลยที่ 1
กลับมาที่ร้านอาหารแล้วใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกันดังกล่าว
จึงไม่พอที่จะรับฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
มาตรา
289
(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมาน
หรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
-
มาตรา 289 (5) การฆ่าโดยทรมาน หรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1861/2499 ใช้มีดดาบฟันผู้ตายขณะกำลังนั่งคุยอยู่
ผู้ตายไม่มีอาวุธหรือแสดงว่าจะต่อสู้ ฟันถูกที่ศีรษะ 1 ทีสมองไหล
และที่ขา 1 ที กระดูกขาด ล้มลงแล้ว จำเลยยังฟันซ้ำอีก
รวมทั้งสิ้น 11 แผลอยู่ได้ 10 วันเศษจึงตาย
การกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าคนตายโดยดุร้ายตาม ม.250 (4).
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1127/2503 ใช้ขวานฟันซ้ำ ๆ
หลายทีจนตาย มีแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ 9 แผลที่คอ 3 แผล และแผลไม่ฉกรรจ์ที่อื่นอีก
เป็นการฆ่าด้วยความทารุณโหดร้าย ตาม มาตรา 289 (5)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1101/2509
จำเลยเองเป็นผู้ใช้มีดเชือดคอเด็กหญิงอายุ 5 ขวบถึงแก่ความตาย และจำเลยยังร่วมกับจำเลยอื่น
กระทืบเด็กชายอายุ 8 เดือน ทั้งได้ใช้ผ้าอุดจมูกจนหายใจไม่ออกตาย
นอกจากนี้ยังใช้ยาพิษกรอกปากกับใช้มีดเชือดคอมารดาของเด็กทั้งสองผู้ตายจนหลอดเสียงขาด
เพื่อจะฆ่าให้ตายด้วย เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย ผิด มาตรา 289
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2230/2521 (สบฎ เน 5626) ฆ่าคน คราวเดียว 3 คน คนหนึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ คนหนึ่งเป็น เด็กอายุ1 ปี
6 เดือน อีกคนหนึ่งคือสามีของหญิงบิดาของเด็ก เป็นการฆ่าให้
ตายทั้งครอบครัว มีลักษณะทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ ป 4050/2532 จำเลยวางยาพิษผู้ตายด้วยการนำสารสตริกนิน ให้ผู้ตายเสพจนถึงแก่ความตาย คิดวางแผนเตรียมการ ผิดฐานฆ่าผู้อื่น “โดยไตร่ตรองไว้ก่อน”
แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์จะให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย
อันมิใช่เป็นการฆ่าโดยวิธีธรรมดาทั่ว ๆ ไปการกระทำของจำเลยจึงเป็นการฆ่าผู้อื่น “โดยกระทำทารุณโหดร้าย”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1752/2540 จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาว 10 นิ้ว เผาไฟ
แล้วนาบที่บริเวณแก้ม แขน ไหล่ หลัง และโคนขาของโจทก์
บาดแผลแสดงให้เห็นว่ามีดถูกเผาไฟจนร้อนมาก เพราะเมื่อนำไปนาบโจทก์แล้ว
ทำให้เกิดไหม้พองผิวหนัง เป็นการทำร้ายโดยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ได้รับความเจ็บปวดทรมาน
ยิ่งกว่าการทำร้ายโดยทั่วไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 576/2545
แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่มีพยานมาเบิกความให้เห็นว่านับจากเวลาที่ผู้ตายทั้งสามถูกนำตัวขึ้นรถไปจนถึงเวลาที่ผู้ตายทั้งสามถูกฆ่า
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกที่หลบหนีได้กระทำอย่างไรบ้าง
แต่จากบาดแผลที่ผู้ตายทั้งสามได้รับตามรายงานการตรวจศพของแพทย์
ปรากฏว่าผู้ตายทั้งสามมีบาดแผนที่บริเวณศีรษะเป็นจำนวนมาก
บาดแผลส่วนใหญ่เกิดจากถูกตีด้วยของแข็งที่มีน้ำหนักมาก
จนกะโหลกศีรษะของแต่ละคนแตกกระจายทั่วไปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย มีเนื้อสมองออกมาจากบาดแผล
สำหรับ ส.และ ช.ผู้ตายยังพบเศษดินโคลนและน้ำในหลอดลมซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าผู้ตายทั้งสามถึงแก่ความตาย
เนื่องจากสมองถูกทำลายจากของแข็งกระทบกระแทก และขาดอากาศหายใจจากการจมน้ำ
ชี้ให้เห็นว่าก่อนผู้ตายทั้งสามจะถึงแก่ความตายได้ถูกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4
กับพวกใช้ของแข็งไม่มีคมทุบตีที่บริเวณศีรษะอย่างรุนแรงหลายครั้งจนกะโหลกศีรษะแตกกระจายเนื้อสมองไหลออกมาจากบาดแผล
หลังจากนั้นยังถูกนำไปทิ้งน้ำทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1
ถึงที่ 4 มีเจตนาฆ่าผู้ตายทั้งสามโดยการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 576/2546 แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่มีพยานมาเบิกความให้เห็นว่า นับจากเวลาที่ผู้ตายทั้งสามถูกนำตัวขึ้นรถไป
จนถึงเวลาที่ผู้ตายทั้งสามถูกฆ่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4
กับพวกที่หลบหนีได้กระทำอย่างไรบ้าง แต่จากบาดแผลที่ผู้ตายทั้งสามได้รับตามรายงานตรวจศพของแพทย์
ปรากฏว่าผู้ตายทั้งสามมีบาดแผลที่บริเวณศรีษะเป็นจำนวนมาก บาดแผลส่วนใหญ่เกิดจากถูกตีด้วยของแข็งที่มีน้ำหนักมาก
จนกะโหลกศรีษะของแต่ละคนแตกกระจายทั่วไป เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย มีเนื้อสมองออกมาจากบาดแผล
สำหรับ ส.และ ช.ผู้ตายยังพบเศษดินโคลนและน้ำในหลอดลม
ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าผู้ตายทั้งสามถึงแก่ความตาย
เนื่องจากสมองถูกทำลายจากของแข็งกระทบกระแทก และขาดอากาศหายใจจากการจมน้ำ ชี้ให้เห็นว่าก่อนผู้ตายทั้งสามจะถึงแก่ความตายได้ถูกจำเลยที่
1 ถึงที่ 4 กับพวกใช้ของแข็งไม่มีคมทุบตีที่บริเวณศรีษะอย่างรุนแรงหลายครั้ง จนกะโหลกศรีษะแตกกระจายเนื้อสมองไหลออกมาจากบาดแผล
หลังจากนั้นยังถูกนำไปทิ้งน้ำ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่
4 มีเจตนาฆ่าผู้ตายทั้งสามโดยการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย
-
มาตรา 289 (5) กรณี ไม่ถึงกับเป็นการฆ่าโดยทรมาน หรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1113-1114/2508
จำเลยเอาผู้ตายไปกดไว้กับเสา และเอามือรัดคอผู้ตายจนผู้ตายล้มลง
แล้วผลักผู้ตายให้ตกลงไปในคู แล้วเข้าบีบคอผู้ตายอีก
แล้วเอาผู้ตายไปโยนลงที่หัวคันนา และบีบคอผู้ตายจนผู้ตายคอหักถึงแก่ความตาย
เป็นการกระทำเพื่อจะให้ตายต่อเนื่องกัน
ซึ่งก็เป็นลักษณะการกระทำที่จะให้ตายอย่างหนึ่งเท่านั้น
มิได้กระทำการอันแสดงถึงความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษ
จึงยังไม่เข้าลักษณะกระทำการโดยทารุณโหดร้าย ตาม มาตรา 289 (5)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1231/2508
จำเลยซ่อนอยู่ในป่าสะแก ครางฮือ ๆ ผู้ตายกับพวกเดินผ่านมา จึงเข้าไปดู
จำเลยเอาก้อนดินขว้าง ผู้ตายกับพวกขว้างตอบ และโอบสุนัขเข้าไปกัด
จำเลยตีสุนัขและไล่ฟันทำร้ายผู้ตายหลายทีจนตายนั้น
แม้จะฟังว่าจะเลยเคยแสดงความโกรธแค้นมาก่อน
โดยเหตุที่ผู้ตายบอกเจ้าทรัพย์ว่าจำเลยลักทรัพย์
แต่ยังฟังไม่ถนัดว่าเป็นแผนการณ์ที่จำเลยวางไว้เพื่อจะฆ่าผู้ตาย
เพราะการที่ผู้ตายกับพวกเข้าไปขว้างปาและโอบสุนัขไล่กัดนั้น
อาจเป็นความคึกคะนองของเด็ก
และจำเลยอาจเกิดความโกรธเคืองผู้ตายขึ้นมาในทันทีทันใดแล้วก็ไล่ฟันเอาจนตาย
ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และตามทีจำเลยฟันซ้ำผู้ตายหลายทีจนตายนั้น
การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการโหดร้าย ขาดความเมตตาต่อเด็ก
แต่ยังไม่เข้าลักษณะเป็นการทรมาน หรือทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 104/2510 (สบฎ เน 1522) ร่วมกันฆ่า
ไม่ปรากฏว่าคบคิดตระเตรียมกันมาก่อน ถือว่าไตร่ตรองไม่ได้ ไล่ยิง
แล้วใช้ขวานฟันอีกหลายที ยังไม่ถึงขนาดเป็นทารุณโหดร้าย
ยิ่งไปกว่าการทำโดยเจตนาให้ตายในทันที
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 161/2510
จำเลยยิงผู้ตายแล้วยังย้อนกลับมายิงอีก 2 นัด ก็เพื่อให้ตายแน่ จะฟังว่าเป็นการแสดงความทารุณโหดร้าย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (5) ยังไม่ถนัด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1025/2510 จำเลย 5
คนร่วมกันใช้สากตำข้าว ไม้ตะบองและลิ่มคอกกระบือเป็นอาวุธ
รุมตีทำร้ายร่างกายผู้ตายคนละทีสองที และผู้ตายถึงแก่ความตาย
เพราะพิษบาดแผลที่ถูกทำร้ายในเวลาต่อมา ดังนี้ เป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าเท่านั้น
ยังไม่ถึงขนาดจะถือว่าเป็นการทารุณโหดร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (5)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 314/2511
จำเลยใช้ขวานฟันผู้ตายที่คอ ผู้ตายไม่ตายทันที ได้ร้องครางขึ้น
จำเลยจึงย้อนกลับมาฟันซ้ำที่แผลเดิมอีก 1 ครั้งเพื่อให้ตายดังนี้
ยังไม่เข้าลักษณะเป็นการฆ่าโดยทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2513 เมื่อการฆ่าผู้อื่น ไม่ปรากฏการกระทำอย่างใดเป็นพิเศษ
อันแสดงว่าผู้ฆ่าประสงค์จะให้ผู้ตายได้รับความลำบากสาหัสก่อนตายแล้ว
ย่อมไม่เป็นความผิดฐานฆ่าโดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2217/2515 จำเลยที่ 1
จึงใช้ลูกระเบิดมือขว้างจำเลยที่ 4 สะเก็ดระเบิดทำให้คนตาย 7 คนและได้รับอันตรายแก่กายอีกหลายคน
เป็นการกระทำที่จะทำให้ตาย โดยใช้อาวุธที่ร้ายแรง มีอำนาจแห่งการทำลายโดยกว้างขวาง
มิได้มีการกระทำอันแสดงถึงความทารุณโหดร้ายเป็นพิเศษแต่ประการใด
ไม่เข้าลักษณะฆ่าโดยกระทำทารุณโหดร้ายตาม มาตรา 289 (5)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2388/2515 จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายถูกที่หลัง 1 นัด
และใช้มีดแทงที่หลังอีกหนึ่งที จนผู้เสียหายล้มลงและสลบ แล้วจำเลยแทง
ที่หน้าอกผู้เสียหายอีกหนึ่งที การกระทำของจำเลยดังนี้ เป็นเพียง
จำเลยเจตนาฆ่าผู้เสียหายให้ตายทันที ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการทารุณโหดร้ายตาม ป.อาญา
มาตรา 289 (5)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 386/2516 จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาวคืบเศษแทงผู้ตาย
บริเวณหน้าอกหลายที ผู้ตายล้มคว่ำหน้าลง
จำเลยแทงซ้ำที่หลังอีกหลายทีจนผู้ตายถึงแก่ความตาย รวมบาดแผลทั้งหมด 17 แผล
เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยปราศจากความยับยั้ง เนื่องมาจากโทสะจริตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน
เป็นผลให้ผู้ตายตายโดยฉับพลันเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการฆ่าโดยทรมาน
หรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1906/2520 จำเลยยิง ส.และ ร.กระสุนไม่ลั่น จำเลยกด
ร.จะให้จมน้ำตาย จน ร. สลบ เป็นการพยายามฆ่าคนโดยเจตนา แต่ไม่ถึงกับทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2681/2527
จำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา น. เด็กหญิงอายุ 13 ปี น.ไม่ยอม จำเลยฟัน น.ถึง 8 แผล
ส.น้องชายอายุ 11 ปีเข้าช่วยจำเลยฟัน ส.4 แผล ซึ่งแต่ละแผลถูกอวัยวะสำคัญ เช่น คอ
ศีรษะ คอเกือบขาด แม้ ส.จะร้องว่ากลัวแล้ว ไหว้แล้ว จำเลยก็ไม่หยุดยั้ง ดังนี้จำเลยกระทำโดยเจตนาฆ่าด้วยจิตใจอำมหิต
ขาดความเมตตาเท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำทารุณโหดร้ายต่อผู้ตายทั้งสองตาม ป.อ.ม.289
(5) คงมีความผิดตาม ม.288
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3576/2530
จำเลยเอายาพิษให้ผู้ตาย 4 คน ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยกิน
แล้วยังใช้ไม้ตีและเอาเชือกรัดคอผู้ตาย ก็ด้วยเจตนาจะให้ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเร็ว
ไม่ใช่เพื่อให้ผู้ตายได้รับความเจ็บปวดทรมาน
จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยทารุณโหดร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 263/2531 จำเลยตีผู้ตายนานถึง 2 ชั่วโมง
ผู้ตายมีรอยฟกช้ำที่หน้าผาก โหนกแก้ม ศีรษะบวมช้ำแบบศีรษะน่วม ความตายของผู้ตายยังเป็นผลโดยตรงจากการทำร้ายของจำเลยกับพวก
จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
และเพื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการไล่ผีปอบตามความเชื่อ
และตามประเพณีท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมา แม้การทำร้ายใช้เวลานานถึง 2
ชั่วโมงจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ก็เป็นเรื่องของการไล่ผีปอบ
ไม่ได้เป็นการกระทำที่แสดงถึงความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษ
จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย ตามมาตรา 298 (5)
กรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1654/2532
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ลงจากบ้านของ ช.ผู้ตายไปแล้วประมาณ 20 นาที
จึงได้กลับมาใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายดังกล่าวทันทีโดยมิได้พูดจากับใครอีก
แสดงว่าจำเลยที่ 1 ตระเตรียมวางแผนมายิงผู้ตายและผู้เสียหาย
จึงเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ.มาตรา 289 (4) / ส่วนกรณีที่จำเลยที่ 1
ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายต่อเนื่องกันทีละคน
โดยไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นการทารุณโหดร้ายแต่ละคนนั้น แม้จะมีผู้ถึงแก่ความตายเพราะถูกจำเลยยิงถึง
7 คน
ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำทารุณโหดร้ายตาม ป.อ. มาตรา 289 (5)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 708/2535 การที่จำเลยที่ 1
ใช้ไม้ตี ส. หลายที เมื่อ ส. ยังไม่ตาย จึงใช้ผ้ารัดคอ ส. จนถึงแก่ความตายนั้น เป็นวิธีธรรมดาในการฆ่า
ส. ให้ถึงแก่ความตาย มิใช่เป็นการฆ่าโดยทารุณโหดร้าย
มาตรา
289
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ
หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
-
ฎ 975/2508 จำเลยกับพวกร่วมกันฉุดคร่าผู้เสียหายเพื่อประโยชน์ของจำเลย
ที่จะทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา ขณะที่การกระทำผิดฐานฉุดคร่ายังไม่สำเร็จ
บิดาของผู้เสียหายวิ่งติดตามไปเพื่อขัดขวาง
จำเลยสั่งให้พวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิงบิดาผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ดังนี้
จำเลยผิดฐานเป็นตัวการฆ่า เพื่อให้เป็นความสะดวก
ในการที่จำเลยกับพวกจะทำการฉุดคร่าผู้เสียหาย และเพื่อจำเลยจะได้ตัวผู้เสียหายไว้
เพื่อทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นประโยชน์อันเกิดจากการกระทำผิดตามมาตรา
289 (6) และ (7)
-
ฎ 619/2513
จำเลยทั้งสามมีเจตจำนงร่วมกันที่จะแย่งหญิงผู้เสียหายจากผู้ตาย
เพื่อข่มขืนกระทำชำเรา เมื่อจำเลยที่ 2 เข้ากอดปล้ำผู้เสียหาย
ผู้เสียหายร้องให้ผู้ตายช่วย จำเลยที่ 2 ร้องว่าฆ่ามันให้ตาย อย่าให้มันช่วย
จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ไผ่ตันมีรูเล็ก ๆ ขนาดนิ้วก้อยยาวประมาณ 2
ศอกโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เซนติเมตรตีผู้ตายอย่างแรง 1 ที่ถูกศีรษะทำให้กะโหลกศีรษะแตกแยกเป็น
4 เสี่ยง จำเลยทั้งสามย่อมมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตาย ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ตาม
มาตรา 289 (6)
-
ฎ 1985/2517 จำเลยทั้งสอง มัด
อ.แล้วถามหาเซฟอันเป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยก็ออกจากห้องของ อ.ขึ้นไปบนชั้นที่ 2
พอพบผู้เสียหาย ก็ยิงผู้เสียหายทันที โดยไม่มีสาเหตุที่จะมาทำร้ายผู้เสียหายมาก่อน
การที่จำเลยมัด อ.กับการที่จำเลยยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายนี้
จำเลยกระทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อันเดียวกัน คือ
เพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำผิดฐานลักทรัพย์ จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว
เป็นความผิดต่อ มาตรา 339,80 บทหนึ่ง กับมาตรา 289 (6), 80 อีกบทหนึ่ง
-
ฎ 3462/2526 จำเลยกับพวกต้องการฆ่าผู้ตาย
ไม่มีเจตนาปล้นทรัพย์ของผู้ตายมาก่อน จึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
เพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์
เพิ่งจะมีเจตนาลักเอารถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขี่ภายหลัง เมื่อความผิดฐานฆ่าได้สำเร็จลงเด็ดขาดแล้ว
จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ความผิดฐานนี้ เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานฆ่าคนตาย
และปล้นทรัพย์ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องรวมเป็นกรรมเดียวกันมา
จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
-
ฎ 346/2527 จำเลยทั้งสองกับพวกมาถึงบ้านผู้ตาย จำเลยที่ 1
ถามว่าเห็นกระบือหายมาทางนี้ไหม ผู้ตายบอกว่าไม่เห็น
จำเลยทั้งสองก็เข้าจับแล้วช่วยรุมทำร้ายและยิงผู้ตาย แล้วจำเลยที่ 1
ขึ้นไปบนเรือนเอาปืน วิทยุและเข็มขัดลงมา ส่วนจำเลยที่ 2
และพวกไปจูงกระบือออกจากคอก และคุมตัวภริยาและน้องสาวผู้ตายให้ไปส่ง
แม้ไม่มีการขู่เข็ญก่อนยิง แต่การที่ยิงผู้ตาย แล้วเอาทรัพย์สินของผู้ตายไป
ก็เพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือการพาทรัพย์นั้นไปอันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
และขณะเดียวกันก็เป็นการฆ่าเพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์
และขณะเดียวกันก็เป็นการฆ่าเพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ด้วย จึงมีความผิดตาม
ป.อ.ม.288, 289, 340, 340ตรี เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ม.340
วรรคท้าย
-
ฎ 457/2532 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า
เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 297
อีกบทหนึ่ง จำเลยยิงผู้เสียหายเพื่อจะลักเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย
ผิดตาม ป.อ.มาตรา 289
(6),80 มิใช่มาตรา 289 (7) ซึ่งเป็น
การฆ่าเพราะได้กระทำความผิดอื่นมาแล้ว
-
ฎ 1597/2532 จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันพยายามกระทำความผิด
ฐานปล้นทรัพย์โดยแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่
3 ได้ร่วมกัน ฆ่าผู้อื่นและทำร้ายผู้อื่น แม้จำเลยที่ 2
จะไม่ได้เข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย ด้วยกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ก็ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่
1 ที่ 3 จำเลยทั้งสามจึงมีความผิด มาตรา 340 วรรคห้า,80 และ.มาตรา 289 (6), 83 อีกบทหนึ่ง
-
ฎ 2207/2532 แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นคนใช้อาวุธปืนยิง
ช.ด้วยตนเอง แต่พวกของจำเลยรวมทั้งจำเลยเอง
ก็มีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยในการปล้นทรัพย์ “จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า”
พวกของจำเลยอาจใช้อาวุธปืนยิงผู้ใดผู้หนึ่งในรถคันเกิดเหตุ
หากผู้นั้นขัดขืนเพื่อความสะดวกในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์
เมื่อพวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ช.แต่ ช.ไม่ถึงแก่ความตาย
จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น
เพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ด้วย
มาตรา 289 (7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์
อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน
หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้
-
ฎ 975/2508
จำเลยกับพวกร่วมกันฉุดคร่าผู้เสียหายเพื่อประโยชน์ของจำเลย
ที่จะทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา ขณะที่การกระทำผิดฐานฉุดคร่ายังไม่สำเร็จ
บิดาของผู้เสียหายวิ่งติดตามไปเพื่อขัดขวาง
จำเลยสั่งให้พวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิงบิดาผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ดังนี้
จำเลยผิดฐานเป็นตัวการฆ่า เพื่อให้เป็นความสะดวก
ในการที่จำเลยกับพวกจะทำการฉุดคร่าผู้เสียหาย และเพื่อจำเลยจะได้ตัวผู้เสียหายไว้
เพื่อทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นประโยชน์อันเกิดจากการกระทำผิดตามมาตรา
289 (6) และ (7)
-
ฎ 427/2512
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย 2 นัด
ถูกที่ข้อมือขวา และที่ชายโครงหรือรักแร้ด้านหน้าข้างขวาถึงกระดูกซี่โครงหัก
แม้จำเลยจะมีเจตนายิงเพื่อชิงทรัพย์ก็ตาม
ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายด้วย
เพราะจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิง
อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย
การกระทำของจำเลยจึงต้องเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
เพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยได้กระทำการชิงทรัพย์
เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา
80 อีกบทหนึ่ง หาใช่เป็นเพียงความผิดฐานชิงทรัพย์
เป็นเหตุให้ผู้กระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรค 3 เท่านั้นไม่
-
ฎ 429/2512 (สบฎ เน 2065)
แม้จำเลยยิงเพื่อชิงทรัพย์ ก็ถือว่าเจตนาฆ่าด้วย เพราะ "ย่อมเล็งเห็นผล ว่ากระสุนอาจทำให้ถึงตายได้" เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย
ผิดพยายามฆ่า เพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา ม 289
(+ 80) + 339 ว 3
-
ฎ 1383/2514 จำเลยทั้งสามคนสมคบกันมาปล้นทรัพย์ โดยมีปืนติดตัวมาคนละกระบอก
ระหว่างทำการปล้น พวกเจ้าทรัพย์ขัดขืน จึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น จำเลยที่ 2
ได้ใช้ปืนยิงพวกคนหนึ่งของเจ้าทรัพย์ถึงแก่ความตาย
และได้ความว่าเมื่อพวกเจ้าทรัพย์เข้าต่อสู้กับพวกจำเลย จำเลยทั้งสามได้ใช้ปืนยิงแล้วทุกคน
เป็นแต่กระสุนจากปืนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ไม่ถูกใคร จำเลยทั้งสามตั้งใจที่จะใช้ปืนที่เตรียมมานั้น
ประหัตประหารผู้ต่อสู้ขัดขืน เพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
และเพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การปล้นทรัพย์ หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา
มีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 289 (6) และ (7)
นอกเหนือจากความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 วรรคสุดท้าย
-
ฎ 476/2515 พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป. อาญา มาตรา 288, 289
ซึ่งเป็นความผิดต่อชีวิต แต่ในคำฟ้องได้ บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยมาด้วย
เมื่อศาลฟังว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหาย
เพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาเอาทรัพย์ไป การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์
จึงเป็นเหตุฉกรรจ์ ของความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อาญา มาตรา 289 (7), 80
แล้ว ศาลไม่จำต้องปรับบทว่าฐานชิงทรัพย์ แต่ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้
-
ฎ 84,85/2516
จำเลยกับพวกนี้ขึ้นไปขู่เข็ญเจ้าทรัพย์บนบ้านผู้ตาย
และบังคับให้ผู้ตายนอนคว่ำหน้า จำเลยที่ 2
เหยียบหลังผู้ตายไว้ จำเลยที่ 1 ถือปืนยืนคุมอยู่ตรงศีรษะผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 3
เข้าไปในห้องค้นหาทรัพย์ ครั้นได้ทรัพย์แล้วก็เดินออกจากห้อง จำเลยที่ 2
พูดชวนกลับแล้วเดินตามจำเลยที่ 3 ไป จำเลยที่ 1 ก็เดินตามไปด้วยพอคล้อยห่างผู้ตาย
1 นัด ผู้ตายถึงแก่ความตาย การที่จำเลยที่
1 ยิงผู้ตาย ก็เพราะผู้ตายผงกศีรษะขึ้น เพื่อดูหน้าจำเลยนั่นเอง จำเลยที่ 2
และจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกระทำในตอนนี้ด้วย
การที่จำเลยทั้งสามกับพวกมีอาวุธปืนร่วมกันปล้นทรัพย์ หาพอที่จะฟังว่า
จำเลยมีเจตนาร่วมกันที่จะฆ่าเจ้าทรัพย์มาแต่แรกไม่ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3
จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้าย มิใช่มาตรา 289 (7)
-
ฎ 3472/2526 ผู้ตายไปเอาเครื่องรับวิทยุจากจำเลยซึ่งเป็นพี่เขยที่ไร่
ต่อมาพบศพผู้ตายถูกข่มขืนกระทำชำเรา พบขนในที่ลับของผู้อื่น
2เส้นที่ปากช่องคลอดส่งพิสูจน์พร้อมขนในที่ลับของจำเลย
ผลพิสูจน์น่าเชื่อว่าเป็นของคนเดียวกัน
จำเลยพยายามกลบรอยเท้าบริเวณศพรอยเท้าของจำเลยที่ไร่ กับรอยเท้าที่พบในที่เกิดเหตุมีขนาดเท่ากัน
ดังนี้ฟังลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเรา และฆ่าเพื่อปกปิดความผิดตาม ป.อ. ม.276
,289 (7) ได้
-
ฎ 3279/2528 จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1
พรากผู้ตายไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร
และสนับสนุนการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราแล้ว จำเลยมีความผิด 3 กระทง ตาม
ป.อ. ม.318 วรรคสาม, 276 วรรคสอง และ 289 (7)
-
ฎ 15/2529 จำเลยปล้นรถยนต์
และใช้ยาสลบปิดจมูกผู้เสียหายซึ่งเป็นคนขับ แล้วขับรถหนีไป
ต่อมาช่วยกันโยนผู้เสียหายซึ่งกำลังมึนงงหมดแรง เพราะยาสลบลงไปในคลอง
ซึ่งมีน้ำลึกท่วมศีรษะ จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยย่อมเล็งเห็นผลว่า
อาจทำให้ผู้เสียหายจมน้ำตาย เพราะเข้าใจว่าผู้เสียหายกำลังอยู่ในภาวะมึนงง
ไม่มีแรงจะว่ายน้ำได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม.289,80 ด้วย
-
ฎ 1699/2529 เวลา 5.30 น. จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรถจักรยานที่เอาไปจำนำไว้กับผู้เสียหาย
เข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อเอารถจักรยานคืน โดยมีอาวุธปืนติดตัว ดังนี้
เป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควร
จำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. ม.365 / เมื่อผู้เสียหายส่องไฟฉายมาที่จำเลย
จำเลยก็ยิงผู้เสียหายแล้วจึงเอารถจักรยานไป ยังไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำไป
เพื่อปกปิดความผิดฐานบุกรุก จำเลยอาจยิง เพื่อมิให้ผู้เสียหายขัดขวาง
การเข้าไปเอารถจักรยานก็ได้ ทั้งโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องในส่วนนี้ จึงลงโทษจำเลยตาม
ม.289 ประกอบด้วย ม.80 ไม่ได้ คงมีความผิดตาม ม.288 ประกอบด้วย ม.80
-
ฎ 2268/2529 โจทก์ร่วมถูกบีบคออย่างรุนแรง โลหิตเดินไม่สะดวก
ทำให้เส้นโลหิตฝอยในตาขาวแตก หากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีอาจถึงตายได้
และถ้าผู้ถูกบีบสลบไป โอกาสที่จะตายได้มีเสมอ การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำดังกล่าว ย่อมจะเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่า
โจทก์ร่วมอาจถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่า แต่การกระทำไม่บรรลุผล
จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าโจทก์ร่วม เพื่อความสะดวก
ในการที่จะกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ป.อ. ม.289 (6), 80
-
ฎ 1491/2530 จำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิง และจำเลยที่ 2 ใช้มีดฟัน
ม. ผู้ตายถึงแก่ความตาย แล้วเอาเงินสดจากตัวผู้ตาย พากันหลบหนีไป
แม้จำเลยทั้งสองจะกระทำไปโดยประสงค์จะชิงทรัพย์ของผู้ตายก็ตาม
แต่ในขณะเดียวกันจำเลยทั้งสองก็มีเจตนาฆ่าผู้ตายด้วย จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้ตาย เพื่อจะเอาหรือเอาไว้
ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยทั้งสองได้กระทำการชิงทรัพย์
เพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองได้กระทำไว้ ตาม มาตรา 289 (7)
อีกบทหนึ่ง
และต้องใช้กฎหมายบทนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแก่จำเลยทั้งสองตามมาตรา 90
-
ฎ 2827/2531
จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเวลากลางคืน แล้วขึ้นคร่อมตัวผู้เสียหายขณะนอนหลับอยู่ในห้อง
เมื่อผู้เสียหายตื่นจำเลยใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวมาจ่อราวนมซ้ายผู้เสียหายห้ามมิให้ร้องมิฉะนั้นจะฆ่า
ขณะเดียวกันจำเลยได้ใช้มือลูบไล้ที่ขาผู้เสียหาย
ผู้เสียหายขัดขืนและร้องขอความช่วยเหลือ
จำเลยจึงใช้มีดแทงผู้เสียหายที่หน้าอกซ้าย 2 แผลที่สะบักขวาด้านหลัง 3 แผล คาง 1
แผล ขาขวา 3 แผลและที่หัวเข่าซ้าย 3 แผล
รวม 11 แผล ด้วยมีดขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาวประมาณ 4 นิ้วเศษ
ซึ่งมีขนาดโตพอสมควรที่จะทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โดยเฉพาะแทงในที่สำคัญเช่นบริเวณหน้าอกซ้าย
และสะบักหลังการที่จำเลยแทงไม่ลึกน่าจะเกิดจากผู้เสียหายดิ้นรนและต่อสู้ จึงทำให้แทงผู้เสียหายไม่ถนัด
หาใช่จำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายไม่ พฤติการณ์เช่นนี้ส่อแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้ว แต่จำเลยแทงผู้เสียหาย
เพราะเหตุผู้เสียหายไม่ยอมให้จำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ทั้งยังร้องเรียกให้คนช่วยอีกด้วย
ทำให้จำเลยเกิดโทสะที่ไม่สามารถกระทำการได้ดังใจ
มิใช่แทงทำร้ายเพื่อปกปิดการกระทำผิด
จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 289 (7),80 คงผิดตามมาตรา 288,80
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 289
-
(ขส พ 2529/ 9) สมัครกระชากข้อมือให้หญิงกลับไปอยู่กินด้วย
สร้อยติดมือมา ผิด ม 335 (1) (7) เจตนาลักทรัพย์ภายหลังยึดถือทรัพย์แล้ว
ส่วนการใช้ปืนขู่เพื่อให้กลับไปอยู่กินร่วมกัน ไม่ใช่ประสงค์ต่อทรัพย์ ไม่ผิด ม 339
ฎ 2767/2512 / เสมอ ไปฉุดหญิงกับสมัคร
ไม่ผิดลักทรัพย์ เพราะไม่มีเจตนาร่วม ฎ 131/2515 / สมัครและเสมอ
ร่วมกัน ฉุดหญิง และสมัครชำเรา ผิด ม 284 + 309 ว 2 +
83 และ ม 276 + 83 และฆ่าผู้เข้าช่วย ผิด ม 289
(6) ฎ 975/2508 / ผิด พรบ อาวุธปืน และ ปอ ม 371
ด้วย
-
(ขส เน 2538/ 2) แดง จ้างขาว ไปฆ่าดำ ขาวตกลง /
ระหว่างรอโอกาส ดำไปว่ายน้ำในสระ เกิดตะคริว จะจมน้ำ ดำร้องขอให้คนช่วย/
ขาวเป็นลูกจ้างประจำสระ มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัย เห็นดำและช่วยได้
แต่ไม่ช่วยเพราะประสงค์ให้ดำตาย ซึ่งหากขาวช่วย ดำก็จะไม่จบน้ำ (ขาวและแดงผิดฐานใด) / ขาวมีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้มาว่ายน้ำจมน้ำ
ปล่อยให้ดำจมน้ำ เป็นการฆ่าดำ โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น ตาม
ม 59 วรรคท้าย เมื่อมีเจตนาฆ่าอยู่ก่อนแล้ว จึงผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ม 289
(4) เพราะเป็นการรับจ้างมาฆ่า /
แดง ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนตัวการ ตาม ม 84 วรรคสอง ผิด ม 289 (4) ประกอบ ม 84
-
(ขส อ 2526/ 3) จิ๋วจ้างใหญ่ฆ่าเล็ก วันฆ่า
ใหญ่ไม่สบายให้โตกับเบิ้มไปแทน โตขับรถให้ถึงบ้านแล้วจอดคอย เบิ้มยิงเล็ก 1
นัด สาหัส และถูกตำรวจตาย / เบิ้มโต
พยายามฆ่าเล็ก ผิด ม 289 (4)+80 กระสุนถูกตำรวจ ผิด ม 289
(4) +60 ไม่ผิด ม 289 (2) ตาม ม 60 ตอนท้าย กรรมเดียว / ใหญ่เป็นผู้ใช้ ผิด ม 84
รับโทษเสมือนตัวการ / จิ๋วเป็นผู้ใช้ผิดเหมือนใหญ่
-
(ขส อ 2529/ 3) ขับรถชนรถตำรวจ ให้ตกน้ำตาย
แต่น้ำตื้น ผิด ม 289 (2) + 80 + 358 ผลักตำรวจที่ควบคุมตัวมาในรถเดียวกัน
ให้ตกรถ ผิด ม 296 + 190 ว 2 (ไม่มีประเด็น
ม 138 ว 2+140 ไม่ถือว่าขัดขวางการจับกุม
แต่น่าจะขัดขวางการควบคุมตัว)
-
(ขส อ 2542/ 3) จ้างไปฆ่า ม 289 (4) + 84 คนจ้างปัดปืน ม 88 (ผู้ใช้รับ 1/3 ของ ม 289 (4)) คนยิง 1 ม 289+80
แต่ยับยั้งเอง ม 82 (ลักษณะตัวการยังไม่ขาดตอนเลย
ไปด้วยกัน) คนยิง 2 ถูกปัดปืน ม 289+80
กระสุนถูกทรัพย์ ไม่ผิด ม 358 ไม่มีเจตนา /
ผู้สนับสนุน ม 289+86 รับโทษ 2/3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น