-
ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิด
ฐานลักทรัพย์ กับฐานยักยอกทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1253/2491 เจ้าทรัพย์ยอมให้จำเลยช่วยถือทรัพย์ไว้แทนตนและไปด้วยกัน
การครอบครองในทรัพย์ยังตกอยู่แก่เจ้าของทรัพย์ การที่จำเลยบังอาจพาทรัพย์นั้นหนีไป
ให้พ้นจากความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ โดยไม่ได้รับอนุญาต
ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 507/2496 จำเลยเป็นคนงานของกรมทางผู้บังคับบัญชาใช้ให้จำเลยเฝ้าฟืนหลาของกรมทางไว้ไม่ให้เป็นอันตรายสูญหาย
ดังนี้ ถือว่าฟืนหล่านั้นไม่ได้อยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลย แต่อยู่กับผู้บังคับบัญชาจำเลย
ฉะนั้นเมื่อจำเลยเอาฟืนเหลานั้นไปโดยทุจริต จำเลยก็ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์,
มิใช่ยักยอกทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1778/2499 ลูกจ้างผู้ได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ดูแลครอบครองทรัพย์
ที่มีผู้นำมาฝากไว้ในโกดังแทน ได้เอาทรัพย์ที่รับฝากไว้ให้ผู้ที่สมคบกันไปขาย โดยนายจ้างมิได้อนุญาต
ทั้งลูกจ้างและผู้ที่สมคบ ย่อมมีความผิดฐานยักยอก มิใช่ลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 535/2500 โคของผู้เสียหายติดรวมฝูงโคจำเลย ผู้เสียหายแยกออกไม่ได้
จึงพูดสั่งขอให้จำเลยดูไว้ให้ด้วย เดี๋ยวจะมาเอา จำเลยรับคำ แล้วพาฝูงโคไปบ้านและพาโคผู้เสียหายสูญไป
เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกาเห็นว่าพยานโจทก์ฟังได้ว่า โคของผู้เสียหายติดตัวเมียรวม
เข้าไปอยู่ในฝูงโคของจำเลยและในที่สุดมีผู้เห็นจำเลยกับพวกพาโคของผู้เสียหายไปแต่การที่ผู้เสียหายสั่งจำเลยขอให้จำเลยดูไว้ให้ด้วยนั้น
เห็นว่า การพูดเช่นนี้จะถือว่าเป็นการรับมอบหมายอันจะกลายเป็นผิดฐานยักยอก ยังไม่ได้
เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นว่าจำเลยกระทำผิดจริงดังฟ้อง แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายที่ใช้อยู่บัดนี้
ไม่มีบัญญัติถึงการลักปศุสัตว์และสัตว์พาหนะโดยเฉพาะ เช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 294 กฎหมายลักษณะอาญาต้องใช้ มาตรา 293 กฎหมายลักษณะอาญาซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าเป็นบทลงโทษ
จำเลย พิพากษากลับบังคับคดีลงโทษจำเลยไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ให้ใช้มาตรา
293 กฎหมายลักษณะอาญาเป็นบทลงโทษแทน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 301/2503 เจ้าทรัพย์ให้จำเลยเอาเงินไปเก็บไว้ในตู้ของผู้เสียหาย
ในห้องนอนผู้เสียหาย แม้จะได้มอบกุญแจตู้ให้จำเลยไปด้วย ก็ยังถือว่าเงินนั้น
ยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าทรัพย์ จำเลยเอาไปย่อมเป็นผิดฐานลักทรัพย์
ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1253/2506 การที่จำเลยเป็นลูกจ้างในโรงแรมแห่งหนึ่ง
และทำหน้าที่เป็นพนักงานขายสุรานั้น สุราที่จำเลยไปเบิกมาขาย
ยังอยู่ในความครอบครองของโรงแรม เมื่อจำเลยร่วมกันเอาสุรานั้นไปเป็นของตน
โดยมีเจตนาทุจริตเช่นนี้ มีความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 179/2507
จำเลยลอบเปิดกระเป๋าถือซึ่งผู้เสียหายฝากจำเลยไว้ให้ดูแทนชั่วคราว แล้วเอาสร้อยกับธนบัตรไป
เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ มิใช่ยักยอก / ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในเรือโดยสารประจำทาง
เหตุเกิดที่ตำบลปากพนัง ทางพิจารณาได้ความว่า
เหตุเกิดในเรือโดยสารซึ่งเดินจากอำเภอปากพนัง ไปอำเภอหัวไทร แม้จะไม่ปรากฏชัดว่า
ขณะเกิดเหตุนั้นเรือแล่นไปถึงตำบลใด ไม่ถือว่าทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง
จนถึงขนาดยกฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 159/2512 ผู้เสียหายจับกระบือไม่ได้เพราะติดอยู่ในฝูงอื่นซึ่งอยู่บนเขาและเป็นทำเลเลี้ยงมิใช่เพริดไปจนพ้นการติดตาม
ดังนี้ ตามกฎหมายต้องถือว่าผู้เสียหายยังครอบครองกระบือตัวนั้นอยู่เพราะผู้เสียหายยังไม่ได้สละการครอบครองกระบือตัวนั้นการที่จำเลยยิงกระบือของผู้เสียหาย
ตายและชำแหละเอาเนื้อกระบือไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย เป็นการเอาไปโดยทุจริต
เป็นการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ส่วนการที่จำเลยชำแหละเนื้อกระบือเอาไป ก็เป็นการครอบครอง
เพราะยึดถือเพื่อตนแต่เป็นผลภายหลังการที่จำเลยลักกระบือนั้นแล้ว ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 352 วรรคสอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 341/2512 ศาลฎีกาฟังว่า จำเลยเอารถยนต์ไปให้นายพูลดูดน้ำมันออกและขายน้ำมันให้แก่นายพูลโดยรับเอาเงินค่าขายไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว
และวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่า จำเลยเป็นพลทหารเรือประจำการ มีหน้าที่เป็นพลขับรถยนต์ของราชการทหารเรือ
จึงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการใช้และรักษาน้ำมันรถที่จำเลยทำหน้าที่ขับนั้นด้วย
การที่จำเลยยอมให้บุคคลอื่นดูดเอาน้ำมันในรถไปแล้วรับเงินจากบุคคลนั้นเป็นค่าตอบแทนเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัว
ย่อมเป็นการเบียดบังน้ำมันของทางราชการไปโดยทุจริตอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา
147 / ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 335 (1) จำคุก 3 ปี ลดโทษฐานให้การเป็น ประโยชน์แก่การสอบสวนและการพิจารณา 1 ใน 3 ตามมาตรา 78 คงจำคุก
2 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการยักยอก และจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามมาตรา
147 พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดตามมาตรา 352 ให้จำคุก
1 ปี ลดโทษหนึ่งในสามคงจำคุก 8 เดือน โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 147
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 460/2512 (สบฎ เน 2112) จำเลยได้รับมอบหมายให้พาทรัพย์ของนายจ้างให้พ้นจากที่วิวาท
แล้วเบียดบังทรัพย์ ผิดยักยอก ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริง แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยเป็นลูกจ้างนายนิตย์ผู้เสียหาย
วันเกิดเหตุนายนิตย์กับจำเลยและพวกไปซื้อสุกรที่บ้านนายไฮ้ ได้เกิดโต้เถียงกับนายไฮ้อย่างรุนแรง
นายนิตย์ผู้เสียหายจะเข้าวิวาทกับนายไฮ้และพวกจึงมอบกระเป๋าทรัพย์ให้จำเลยพาออกไปให้พ้นจากที่วิวาท
เพื่อความปลอดภัยแห่งทรัพย์ เมื่อเลิกวิวาทกันแล้วนายนิตย์ต้องการกระเป๋าทรัพย์คืน
แต่หาตัวจำเลยไม่พบปรากฏว่าจำเลยพากระเป๋าทรัพย์นั้นหนีไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเบียดบังยักยอกเอาทรัพย์ของนายจ้างไปโดยทุจริตตามฟ้อง
หาใช่กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 528/2512 การที่จำเลยเอาทรัพย์ซึ่งมีผู้อื่นควบคุมดูแลแทนเจ้าทรัพย์ไป
โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ครอบครองและนำทรัพย์นั้นไปแต่อย่างไร จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา
335 / จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า
ศาลเชื่อว่าจำเลยลักทรัพย์ในรถที่จำเลยขับมา จะเห็นได้ว่าจำเลยเอาของที่อยู่ในความควบคุมและรับผิดชอบของจำเลยเอง
อันเป็นการยักยอกทรัพย์ จึงควรพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สินค้าที่หายไปเป็นของหน่วยจัสแมก
เมื่อขนสินค้าบรรทุกรถยนต์แล้ว ยังมีสิบโทเอื้อนควบคุมดูแลไปแทนเจ้าทรัพย์อีก ไม่ใช่มอบหมายให้จำเลยนำไปแต่ลำพัง
เจ้าทรัพย์ครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ จำเลยมิได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ครอบครองแต่อย่างไร
จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 719/2512 (สบฎ เน 2113) จำเลยเป็นคนขับรถบรรทุก เป็นผู้ถูกใช้ให้ขนทรัพย์ตามคำสั่งเจ้าของทรัพย์
ความยึดถือครอบครองทรัพย์ ยังคงอยู่กับเจ้าของทรัพย์ เมื่อจำเลยเอาทรัพย์ไป
ผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ฐานยักยอกทรัพย์ / ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อที่
1 ว่า หน่วยส่งบำรุงกำลังที่ 9 เป็นหน่วยย่อยของหน่วยที่ปรึกษาทางการทหารของสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
(หน่วยจัสแม็ค) มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบขนส่งสินค้าขึ้นจากเรือ
แล้วจัดส่งมอบให้กับหน่วยทหารต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศไทยโดยจัดส่งทางรถยนต์ ขององค์การ
ร.ส.พ. จำเลยที่
1 เป็นคนขับรถขององค์การ ร.ส.พ. ได้ขับรถบรรทุกทรัพย์ของกลางจากหน่วยจัสแม็คสัตหีบเพื่อไปส่งให้หน่วย
เนวีเอกซเชนจ์ที่ท่าเรือคลองเตยกรุงเทพฯ ดังนี้จะถือว่าหน่วยจัสแม็คผู้เป็นเจ้าของได้มอบหมายการครอบครองในทรัพย์ของกลางให้กับจำเลยที่
1 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 มีฐานะเพียงแต่เป็นผู้ถูกใช้ให้ขนไปตามคำสั่งของเจ้าของความยึดถือครอบครองในทรัพย์ของกลางยังคงอยู่กับหน่วยจัสแม็คผู้เป็นเจ้าของตามเดิม
เมื่อจำเลยที่ 1, 2, 3, 4, 5 เอาทรัพย์รายนี้ไป จึงเป็นการร่วมกันเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต
เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ความผิดฐานยักยอก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1924-1925/2514 เจ้าของเรือสั่งให้ลูกจ้างนำเรือ
พร้อมด้วยอวนและเครื่องใช้ออกไปจับปลาในทะเลตามหน้าที่ มีระยะเวลา 2 วัน
และเมื่อจับปลาเสร็จลูกจ้างก็จะต้องนำเรือกลับมา
เป็นกิจวัตรในการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้าง
ถือว่าเรือพร้อมด้วยอวนและเครื่องใช้ยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของเรือ
เมื่อลูกจ้างซุกซ่อน แล้วบอกขายโดยเจตนาทุจริต ผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2343/2514 จำเลยมีหน้าที่เพียงเก็บเงินค่าสมัครเข้าเป็นสมาชิก
ค่าบำรุง แม้จำเลยจะเป็นผู้เก็บรักษาเงิน ก็ไม่มีอำนาจจัดการกับเงิน จะเอาไปใช้จ่ายอะไรไม่ได้
ดังนี้ จะถือว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของสมาคมด้วยยังไม่ได้
เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
คงมีความผิดตามมาตรา 352 แต่บทเดียว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2066/2515 จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของโรงแรม มีหน้าที่
เป็นช่างไฟฟ้าควบคุมเครื่องยนต์ทำสตีม เฉพาะเวรผลัดกลางวัน
และได้รับมอบหมายจากโรงแรมให้สั่งซื้อน้ำมันดีเซล มาใช้กับเครื่องยนต์ได้
โดยผู้ขายจะบรรทุกน้ำมันมาถ่ายลงถังเก็บน้ำมันที่โรงแรม
และจำเลยเป็นผู้เซ็นรับน้ำมัน จำเลยสั่งซื้อ และเซ็นรับน้ำมัน
แล้วได้ร่วมกันเอาน้ำมันไปขายเสีย
ไม่ได้ถ่ายน้ำมันลงเก็บในถังน้ำมันของโรงแรมดังนี้
ถือว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอก เพราะการให้อำนาจสั่งซื้อน้ำมัน
มิได้หมายความว่าให้จำเลยครอบครองน้ำมันนั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 206/2516 จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัทค้าน้ำมัน มีหน้าที่เพียงจ่าย
หรือเติมน้ำมันให้แก่ผู้ที่นำใบสั่งจ่าย มายื่นเท่านั้น
น้ำมันเก็บรักษาไว้ในคลังน้ำมันซึ่งมีผู้อื่นเป็นผู้จัดการ ดังนี้
ไม่ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองน้ำมัน เมื่อจำเลยจ่ายน้ำมันเกินกว่าจำนวนตามใบสั่ง
แล้วเอาน้ำมันที่จ่ายเกินนั้นไปโดยทุจริต ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1608/2519 พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่
1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่
1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่
5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป
มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย / โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร
เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่
2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่
1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2610/2519
ป.รับราชการและอยู่บ้านห่างไกลจากนาที่ทำ จึงมอบให้จำเลยควบคุมดูแลกระบือ 2
ตัวและรถจักรยาน 2 ล้อรักษาไว้ใช้งานที่นา การยึดถือครอบครองอยู่ที่จำเลย
จำเลยเอาทรัพย์นั้นไป เป็นยักยอก
ไม่ใช่ลักทรัพย์ดังที่บรรยายฟ้อง ลงโทษฐานยักยอกไม่ได้ / ผู้เสียหายได้มอบกระบือและรถจักรยาน 2 ล้อให้จำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแล รักษาโดยเก็บรักษาไว้ที่นาเพื่อใช้ทำนาและไร่
ตามพฤติการณ์ดังกล่าวผู้เสียหายได้มอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองทรัพย์นั้นแทนผู้เสียหาย
การยึดถือครอบครองทรัพย์จึงอยู่ที่จำเลย หาใช่ยังอยู่ที่ผู้เสียหายไม่ เมื่อจำเลยเอาทรัพย์นั้นไปให้แก่บุคคลอื่น
จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หาใช่ลักทรัพย์ตามฟ้องไม่ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องในข้อสาระสำคัญซึ่งโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย
จะลงโทษจำเลย ตามฟ้องไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1636/2521 จำเลยรับจ้างซ่อมรถไถของโจทก์
รถอยู่กับจำเลยที่อู่ราว 1 ปี ถือได้ว่าโจทก์มอบหมายให้จำเลยครอบครองรถและเสื้อสูบของโจทก์
จำเลยเปลี่ยนเอาเสื้อสูบเก่าใส่แทนเสื้อสูบใหม่ของโจทก์ เป็นยักยอก
ไม่ใช่ลักทรัพย์ดังฟ้อง ศาลยกฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2521 ผู้เสียหายและจำเลยไปซื้อพริกด้วยกัน ขณะที่ผู้เสียหายกำลังก้มลงเลือกพริกอยู่
จำเลยบอกผู้เสียหายว่าเงินในกระเป๋าจะตกพร้อมกับหยิบเอาห่อพลาสติกซึ่งผู้เสียหายใส่เงิน 2,200 บาท จากกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหายมาถือไว้ผู้เสียหายจึงบอกให้จำเลยถือไว้ให้ดีอย่าให้ตกหาย
แล้วเลือกพริกต่อไปอีกประมาณ 10 นาที เมื่อเงยหน้าขึ้นปรากฏว่าจำเลยเอาเงินของผู้เสียหายหลบหนีไปเสียแล้วเช่นนี้
การครอบครองเงินจำนวนนี้ ยังอยู่กับผู้เสียหายการที่จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป จึงมีความผิด
ฐานลักทรัพย์ จำเลยบอกผู้เสียหายว่าเงินจะตก
และหยิบห่อเงินของผู้เสียหายมาถือไว้ผู้เสียหายบอกว่าถือไว้ให้ดี
แล้วเลือกพริกต่อไปจำเลยหลบหนีไป ดังนี้การครอบครองเงินยังอยู่กับผู้เสียหาย
จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องฐานยักยอกทรัพย์เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานลักทรัพย์
ศาลยกฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 755/2527 จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ทำไร่
แล้วจำเลยขุดเอาดินจากที่ดินนั้นไปขายโดยทุจริต จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์
ไม่ผิดฐานยักยอก เพราะการเช่าที่ดินนั้นผู้ให้เช่า
ให้เช่าทรัพย์สินในสภาพที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินถูกขุดขึ้นมาแล้ว
ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เช่า
ดินที่ถูกขุดมาจึงคงอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1862/2528 การที่ผู้เสียหายเอาเงินสดให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างนำไปฝากเข้าบัญชีของผู้เสียหายในธนาคารนั้น
ถือว่าผู้เสียหายได้มอบเงินสดจำนวนนั้นให้อยู่ในความครอบครองของจำเลย เพราะจำเลยจะต้องถือและรักษาเงินสดจำนวนนั้นจนกระทั่งนำไปฝากธนาคาร
ให้เรียบร้อยการที่จำเลยวางแผนให้พวกของจำเลยมาแย่งเอาเงินไป ในระหว่างทางที่ไปธนาคารการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานยักยอก
มิใช่ความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2478/2528 การกระทำที่เจ้าของรวม
จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ไปจากเจ้าของรวมคนอื่นนั้น
จะต้องได้ความว่าเจ้าของรวมผู้ลัก มิได้ครอบครองทรัพย์อยู่ในขณะที่ลัก
หากแต่ทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าของรวมคนอื่น
และเอาไปจากการครอบครองของผู้นั้น โจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนในการซื้อไม้เพื่อขาย
แล้วนำผลกำไรมาแบ่งกัน การที่จำเลยทั้งสองตัดฟันโค่นไม้ในที่ดิน
ที่โจทก์ซื้อไว้ในนามของหุ้นส่วน
การครอบครองของโจทก์ถือเป็นการครอบครองไว้แทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วย
การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 950/2530 จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของกรมชลประทาน
ได้รับคำสั่งให้ไปควบคุมเครื่องดันน้ำ โดยกรมชลประทานส่งน้ำมันที่ใช้กับเครื่องดันน้ำให้และมีเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน
และตรวจสอบการใช้น้ำมันทุกวันน้ำมันดังกล่าว ยังอยู่ในความครอบครองของกรมชลประทาน
เมื่อจำเลยทั้งสองเอาน้ำมันนั้นไปขายจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 617/2536 การที่โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อไปฝากเข้าบัญชี
เป็นการส่งมอบทรัพย์ให้อยู่ในความยึดถือของจำเลยอันเป็นการมอบให้ครอบครองทรัพย์ดังกล่าวแทนโจทก์ร่วม
จำเลยจึงอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต
จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1891 - 1892/2536 การที่เจ้าของรวม
จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ไปจากเจ้าของรวมคนอื่น จะต้องได้ความว่าเจ้าของรวมผู้ลัก
มิได้ครอบครองทรัพย์อยู่ในขณะที่ลัก หากแต่ทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าของรวมคนอื่น
และเอาไปจากการครอบครองนั้น แต่คดีนี้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 เป็นทายาทนายบรรจง
ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับชาวมาเลเซีย และเป็นผู้ครอบครองหอบแครงร่วมอยู่ด้วย
ใช้บุคคลอื่นไปตักหองแครงซึ่งอยู่ในความครอบครองของตนเอง
จึงไม่มีความผิดฐานใช้บุคคลอื่นลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 671/2539 จำเลยอาสานำบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหาย
ไปตรวจสอบยอดเงินในบัญชีเงินฝาก แต่กลับนำบัตรไปเบิกถอนเงินจากตู้ เอ.ที.เอ็ม.
ของธนาคารไป ถือว่าจำเลยหลอกเอาบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไป
เพื่อเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากในธนาคารของผู้เสียหายจากตู้ เอ.ที.เอ็ม.
ของธนาคาร เงินที่เบิกถอนนั้นเป็นของผู้เสียหาย
จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงเงินของผู้เสียหาย
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์
ศาลก็ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
-
คำพิพากษาฎีกา 9392/2539 จำเลยเป็นตัวแทนขายเครื่องพิมพ์ดีดของผู้เสียหาย
โดยได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายเครื่องละ 100 บาท จำเลยติดต่อนำเครื่องพิมพ์ดีดของผู้เสียหายไปฝากขายที่ร้านค้าของผู้อื่น
และมีสิทธิรับเครื่องพิมพ์ดีดนั้นคืนได้ การที่จำเลยรับเครื่องพิมพ์ดีดคืนจำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวโดยชอบ
มีสิทธินำไปขายหรือส่งมอบคืนผู้เสียหายได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยนำเครื่องพิมพ์ดีดที่รับคืนมาไปเป็นประโยชน์ส่วนตน
เป็นการเบียดบังเอาเครื่องพิมพ์ดีดนั้นเป็นของตนโดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคหนึ่ง / ความผิดฐานยักยอกที่ได้ความตามทางพิจารณาแตกต่างจากความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง
แต่ไม่ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง
และวรรคสาม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 816/2540 ผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ดูแลการปรับที่ดินแทน
แม้ผู้เสียหายสัญญาว่าเมื่อปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว จะยอมให้จำเลยที่ 1
ทำประโยชน์ในที่ดินเป็นเวลา 3 ปีก็ตาม แต่ระหว่างปรับที่ดินของผู้เสียหาย จำเลยที่
1 ย่อมอยู่ในฐานะผู้ดูแลการปรับพื้นที่แทนผู้เสียหายเท่านั้น
หาใช่ผู้เสียหายมอบการครอบครองที่ดิน ที่จะปรับให้จำเลยที่ 1 ครอบครองไม่
เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยที่ 1
ขุดบ่อหรือสระโดยยกดินที่ขุดได้ให้ผู้ขุด เป็นการตอบแทนการที่จำเลยที่ 1
จัดการให้จำเลยที่ 2 ขุดเอาดินในที่ดินของผู้เสียหายไป จึงเป็นการเอาทรัพย์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปโดยทุจริต
เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หาใช่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5439/2541 ขณะที่ผู้เสียหายกำลังเดินซื้อของ
มีพวกจำเลยมาหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยเก็บกระเป๋าใส่เงินได้
และจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งให้ผู้เสียหาย แต่ขอให้ผู้เสียหายถอดทรัพย์สินออกมารวมกับทรัพย์สินของจำเลยกับพวก
การที่ผู้เสียหายถอดทรัพย์สิน ออกมาห่อรวมกับทรัพย์สินของจำเลยกับพวก
เพราะมีข้อตกลงกันว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สินให้ผู้เสียหายส่วนหนึ่ง
และให้ผู้เสียหายเป็นคนถือห่อทรัพย์สินดังกล่าวนั้น เป็นแต่เพียงผู้เสียหายส่งมอบทรัพย์สินให้จำเลยกับพวกยึดถือไว้เป็นการชั่วคราวเท่านั้น
ผู้เสียหายยังมิได้สละการครอบครองให้จำเลยกับพวก ดังนั้น
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหาย
และพวกจำเลยเอาทรัพย์สินบางส่วนของผู้เสียหายไป
จำเลยย่อมมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7264/2542 การที่ไม่มีรายการถอนเงินในสมุดคู่ฝาก
แต่กลับมีรายการถอนที่ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์
แสดงให้เห็นในทางตรงกันข้ามกับข้อกล่าวอ้างของจำเลยว่ารายการ 2
แห่งแตกต่างกันเนื่องจากการทุจริต เนื่องจากมีการลอบทำรายการถอนเงินอันเป็นเท็จ
โดยไม่มีการถอนเงินจริง การลักลอบทำรายการถอนเงินอันเป็นเท็จดังกล่าวนี้
ย่อมไม่มีผู้ใดทำเล่นเป็นการสนุก
เชื่อได้ว่าผู้กระทำเช่นนี้กระทำเพื่อเอาเงินของผู้เสียหายโดยทำรายการถอนพรางไว้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงิน 1,100,000 บาท ของผู้เสียหาย หายไปจริง / จำเลยเป็นพนักงานของผู้เสียหาย มีหน้าที่รับจ่ายเงินสดแทนผู้เสียหายจึงมีอำนาจยึดถือเงินสดของผู้เสียหายไว้
เพียงชั่วระยะเวลาทำการ ผู้เสียหายหาได้ส่งมอบเงินสดให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่
เมื่อจำเลยเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตน โดยไม่มีสิทธิ อันเป็นการทุจริต
จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1104/2545 จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งพนักงานธนากรมีหน้าที่รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้า
แต่เงินที่ลูกค้านำฝาก เข้าบัญชีของลูกค้าไว้กับผู้เสียหายเป็นของผู้เสียหายและอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย
มิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย การที่จำเลยใช้ใบถอนเงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าผู้ฝากต่างกรรมต่างวาระในรูปแบบทางเอกสารเป็นกลวิธีในการถอนเงินของผู้เสียหายจนเป็นผลสำเร็จ
แล้วทุจริตนำเงินนั้นไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-
ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิด
ฐานลักทรัพย์ กับฐานยักยอกทรัพย์สินหาย และยักยอกทรัพย์ที่ผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 448/2488 เจ้าของติดตามค้นหาของอยู่ แต่ผู้เก็บทรัพย์ไม่รู้ ถือตามความเข้าใจ ผิด ม
352 ว 2
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2135/2499 เจ้าทรัพย์ลืมกระเป๋าทิ้งไว้ที่ข้างเกียร์บนรถยนต์ที่จำเลยเป็นผู้ขับขี่ ,
มีบุคคลอื่นมาพบและเก็บได้ถามว่ากระเป๋าของใคร
ผู้โดยสารคนหนึ่งว่าเป็นของเขา
ผู้เก็บได้จึงส่งกระเป๋าเงินให้จำเลยไปให้ผู้โดยสารคนนั้น เพราะมาด้วยกัน
แต่จำเลยกลับเอาไว้เสียเอง เช่นนี้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอก
มิใช่ลักทรัพย์ เพราะเมื่อเจ้าทรัพย์ลืมกระเป๋าเงินทิ้งไว้กรณีเป็นเก็บของตก
ความยึดถือครอบครองทรัพย์ย่อมตกอยู่แก่คนกระเป๋ารถ ๆ
มอบทรัพย์ให้อยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลยอีกต่อหนึ่ง
โดยจำเลยไม่ทราบว่ากระเป๋าเป็นของใคร
เมื่อจำเลยเอาไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียจึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1269/2501 โคหายจากที่เลี้ยงไปอยู่โดยอิสระ ณ
ที่อื่นห่าง 4 กิโลเมตรในวันรุ่งขึ้น
ต่อมาอีกวันหนึ่งจึงมีผู้เห็นจำเลยพาโคนั้นไปดังนี้ ไม่ใช่ลักทรัพย์
จะเป็นความผิดก็ฐานเก็บของตก (ไม่ได้ความ ว่าจำเลยรู้มาก่อนว่าโคเป็นของผู้เสียหาย) / ฟ้องว่า ลักทรัพย์ ได้ความว่าเก็บของตก
ต่างกันในสารสำคัญ ลงโทษไม่ได้ / ศาลฎีกาฟังว่า
ผู้เสียหายมีโค 2 ตัว เคยเลี้ยงโดยตอนเช้าปล่อยโคออกจากบ้านไปหากินตามลำพัง
ตอนบ่ายจึงต้อนกลับ ในวันเกิดเหตุที่ 27 เมษายน 2500 ตอนบ่ายผู้เสียหายไปดูไม่เห็นโคเช่นเคยค้นอยู่จนค่ำก็ไม่พบ รุ่งขึ้นค้นอีกจนเที่ยงก็ไม่พบ
จึงไปแจ้งความกับนายบุญผู้ใหญ่บ้าน ครั้นตกค่ำโคกลับมาบ้านตัวหนึ่ง รุ่งขึ้นวันที่
29 มีคนมาบอกว่าเห็นโคนอนอยู่ตาม ทางเดินในหมู่บ้าน ต่อมามีพยานเห็นจำเลยที่
1-2 อยู่กับโคนั้น และพาโคไปทางหมู่บ้านขัวขอนแคน มีพยานอีกปากเห็นจำเลยทั้งสามหาบเนื้อออกจากป่าช้านายบุญผู้ใหญ่บ้านจึงไปดูที่ป่าช้าพบซากโคเป็นโคตัวที่หาย
จึงพากันไปดูที่กระท่อมจำเลยที่ 1 ตอนนั้นเวลาค่ำแล้ว เห็นจำเลยที่
1 เอาไหเนื้อฝังดินไว้เมื่อตอนจวนสว่าง รูปคดีเป็นดังนี้ศาลฎีกาเห็นว่า
ก่อนที่จะวินิจฉัยว่าพยานโจทก์พอลงโทษจำเลยหรือไม่มีข้อที่จะต้องคิดว่าจำเลยจะมีผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
เห็นว่ากรณีฟังได้ถนัดว่าโคพลัดเพริดไปโดยอิสสระการที่จำเลยที่ 1-2 มาจับเอาไปในตอนหลังก็ไม่ได้ความว่า จำเลยรู้ว่าเป็นโคของผู้เสียหายฉะนั้น
การกระทำของ จำเลยทั้งสองจะเป็นผิดทางอาญาก็แต่ในฐานยักยอกเก็บทรัพย์ของผู้อื่น ตามประมวลอาญา
มาตรา 352 วรรคสอง เท่านั้นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญจะลงโทษจำเลยไม่ได้
คดีไม่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันใดต่อไปศาลฎีกาพิพากษายืน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 519/2502 จำเลยเก็บกระเป๋าใส่เงินของเจ้าทรัพย์ซึ่งเหน็บไว้ที่เอว
แล้วเลื่อนหลุดไปจากเอว ในขณะนั่งดูภาพยนต์อยู่ใกล้เคียงกัน
ถือว่าทรัพย์นั้นยังอยู่ในความยึดถือของเจ้าทรัพย์
ไม่ใช่เป็นทรัพย์ที่อยู่ในสภาพของตกของหาย เมื่อจำเลยเอาไปเสีย
ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1363/2503 ทรัพย์สินหายเป็นเรื่องที่ทรัพย์หลุดพ้นไปจากความยึดถือของเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองโดยมิได้ตั้งใจ ไม่ใช่เรื่องสละการครอบครอง
ถ้าเก็บเอาไปโดยรู้หรือควรรู้ว่า ทรัพย์นั้นเจ้าของกำลังติดตาม
หรือจะติดตามเพื่อเอาคืน ก็เป็นลักทรัพย์
ถ้าไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ก็เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย จำเลยรู้หรือควรรู้ว่ารถทหารคว่ำปืนจมน้ำอยู่ แล้วถือ โอกาสตนปลอดผู้คน
ไปงมเอาปืนที่อยู่ในระหว่างเจ้าของกำลังติดตามเพื่อเอาคืน
จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1628/2509 เจ้าทรัพย์เอาเงินเหน็บไว้ชายผ้าแล้วเดินไปธุระ
จำเลยเดินมาตามถนนพบธนบัตรตกอยู่ก็เก็บเอาเสีย
เจ้าทรัพย์พอรู้สึกว่าเงินที่เหน็บไว้หายไปก็รีบไปดูตามทาง
เพราะไม่รู้ว่าตกที่ไหน ไปสอบถามจำเลยว่าเห็นเงินตกตามทางบ้างไหม จำเลยปฏิเสธ ดังนี้ เห็นว่าตอนจำเลยเก็บเงินไปนั้น
ก็ไม่รู้ว่าเป็นของใคร และก็ไม่รู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามอยู่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยเก็บเงินตกกลางทางได้ และเอาเป็นประโยชน์ของตนเสียโดยเจตนาทุจริต
เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายซึ่งจำเลยเก็บได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 468/2510
กระบือหายจากที่เลี้ยงไปอยู่กลางทุ่งใกล้กระท่อมนาผู้อื่นซึ่งห่างไปประมาณ 1
กิโลเมตร และพวกเจ้าทรัพย์กำลังติดตามอยู่ ดังนี้ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินหาย
เพราะความยึดถือของเจ้าทรัพย์ยังไม่ขาดตอนไป
ซึ่งจำเลยควรจะรู้ว่าหากจำเลยไม่พาเอาไปเสีย เจ้าของก็ยังติดตามเอาคืนได้ง่าย
เมื่อจำเลยเอากระบือนั้นไป จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
หาใช่ยักยอกเก็บของตกไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 159/2512
ผู้เสียหายจับกระบือไม่ได้เพราะติดอยู่ในฝูงอื่นซึ่งอยู่บนเขาและเป็นทำเลเลี้ยงมิใช่เพริดไปจนพ้นการติดตาม
ดังนี้ ตามกฎหมายต้องถือว่าผู้เสียหายยังครอบครองกระบือตัวนั้นอยู่เพราะผู้เสียหายยังไม่ได้สละการครอบครองกระบือตัวนั้นการที่จำเลยยิงกระบือของผู้เสียหาย
ตายและชำแหละเอาเนื้อกระบือไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย เป็นการเอาไปโดยทุจริต
เป็นการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ส่วนการที่จำเลยชำแหละเนื้อกระบือเอาไป ก็เป็นการครอบครอง
เพราะยึดถือเพื่อตนแต่เป็นผลภายหลังการที่จำเลยลักกระบือนั้นแล้ว
ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 207/2512 (สบฎ เน 2112) ผู้เสียหายทำปากกาตกบริเวณร้านกาแฟ
แม้ออกไปจากบริเวณประมาณ 1 เส้น ไม่เกิน 5 นาที ก็รีบกลับมาค้นหา ได้ความว่า ชายคนหนึ่งเก็บได้ ถามหาเจ้าของ
จำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของ ถือว่าทรัพย์ยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย
ไม่ใช่ทรัพย์ตกหาย จำเลยเอาจากผู้อื่นไว้ ผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ฉ้อโกง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1745/2514
สร้อยข้อมือของผู้เสียหายหล่นตกอยู่บนศาลาผู้เสียหายลงไปห่างศาลาเพียง 2 เส้น
พอรู้ตัวว่าสายสร้อยหายก็ขึ้นไปตามหาบนศาลา ปรากฏว่าเด็กชาย ส.
เก็บได้แล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพี่สาว จำเลยที่ 2 นำไปให้จำเลยที่ 1
ซึ่งเป็นมารดาที่ข้างศาลา จำเลยที่ 1 รับเอาห่อพก ออกจากวัดไปทันที
เป็นเวลากระชั้นชิดติดพันกันถือว่าทรัพย์นั้นยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหายไม่ใช่ทรัพย์ตกหายการที่จำเลยที่
1 เอาทรัพย์นั้นไปโดยรู้ว่าไม่ใช่ทรัพย์ของตนในลักษณะดังนี้
เป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตต้องด้วยความผิดฐานลักทรัพย์ส่วนจำเลยที่
2 อายุเพียง 13 ปี รับสายสร้อยจากน้องเอาไปให้มารดาตามวิสัยเด็ก
ไม่มีเจตนาที่จะยึดถือทรัพย์นั้นไว้ จึงไม่มีความผิดสถานใด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 895/2515 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันลักเรือ (สองลำ) ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 335, 83 ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเก็บเรือซึ่งหลุดลอยอยู่ในแม่น้ำแล้วนำไปซุกซ่อน
เบียดบังเอาเป็นของตน อันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณา
ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ ศาลย่อมจะลงโทษจำเลยไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ไม่ได้มีพยานรู้เห็นขณะที่เรือของกลางได้หายไปจากที่ที่นายเฮงโจทก์ร่วมได้จอดไว้
คดีฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้พาเรือของกลางซึ่งหลุดลอยอยู่ไปซุกซ่อนไว้เพื่อนำไปขายต่อ
กรณีอาจจะเป็นโดยคนร้ายลักไปก็ได้ หรือเรือนั้นอาจจะหลุดลอยไปเองก็ได้ เพราะอาจเป็นไปได้ว่านายเฮงโจทก์ร่วมอาจจะใส่กุญแจโซ่ล่ามเรือไว้ไม่เรียบร้อยจึงหลุดลอยไปเองก็ได้
เรือซึ่งหลุดลอยอยู่เป็นทรัพย์สินหายซึ่งจำเลยเก็บได้แล้วเบียดบังเอาเรือนั้นไว้เป็นของตน
จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณา ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ
ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้ความปรากฏในทางพิจารณา ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะขอให้ลงโทษแล้ว
เช่นนี้ ศาลย่อมจะลงโทษจำเลยไม่เกินกว่าคำขอของโจทก์มิได้ศาลอุทธรณ์พิพากษามาชอบแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2354/2518 ศ. ทำกระเป๋าบรรจุธนบัตร 1,800 บาท
เช็คและของเบ็ดเตล็ดตกระหว่างทาง 3 เส้น ศ. กลับมาหาทันที
แต่จำเลยเก็บไปก่อนโดยควรรู้ว่าอยู่ระหว่างเจ้าของติดตามหา
เป็นการเอาไปจากการครอบครองของเจ้าทรัพย์จำเลยคืนแต่กระเป๋า ปฏิเสธว่าไม่มีเงิน
เป็นลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2402/2529 จำเลยที่ 2 อายุ 18 ปี เป็นบุตรสาวจำเลยที่ 1
รับธนบัตรมาจากจำเลยที่ 1และถูกกำชับให้ปกปิดมิให้ผู้ใดทราบ เมื่อค้นตัว
ธนบัตรหล่นจากเอว ดังนี้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานรับของโจร ผู้เสียหายทำธนบัตรตกที่หน้าแผงลอย
จำเลยที่ 1 ก้มลงหยิบธนบัตรไป หลังจากจำเลยที่ 1 เดินจากไปแล้ว
ผู้เสียหายจึงรู้ตัว สอบถาม พ.ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เก็บเอาไป จำเลยที่ 1
เอาธนบัตรไป
ในขณะที่ผู้เสียหายยังอยู่ในบริเวณที่ทำธนบัตรตกในเวลาใกล้เคียงกันนั้นเอง
ผู้เสียหายก็รู้ทันทีว่าธนบัตรหาย นับแต่เวลาที่ธนบัตรหล่นลงไปที่พื้นจนถึงเวลาที่จำเลยที่
1 หยิบเอาไป ผู้เสียหายยังคงยึดถือธนบัตรนั้นอยู่ การครอบครองยังอยู่กับผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 เอาไป จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เก็บของตกไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 703/2539 พนักงานของโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้แก่จำเลยที่นำเช็คมาเบิกเงินเกินจำนวนไป
เนื่องจากมิได้ดูจำนวนเงินในเช็คให้รอบคอบ ถือว่าเป็นการส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไป
เมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนจึงเป็นความผิดฐานยักยอก
-
คำพิพากษาฎีกา 1330/2539 จำเลยที่ 1 ขอสลากกินแบ่งรัฐบาลจากโจทก์ไปตรวจกับผลการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลที่จำเลยที่
2 จดไว้แล้ว ไม่คืนให้โจทก์ กลับนำไปมอบให้ธนาคารขอรับเงินรางวัลแทนและนำเงินมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่
2 และ ท. ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 และมารดาจำเลยที่ 1 ที่ธนาคารดังกล่าว อันเป็นการเบียดบังเอาสลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับพิพาทและเงินรางวัลที่ได้รับมาเป็นของตนและของบุคคลอื่นโดยทุจริต
การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานยักยอก / จำเลยทั้งสองฉวยโอกาสจากการที่เป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกันและใกล้ชิดสนิทสนมกับโจทก์ยักยอกเอาสลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับพิพาทซึ่งถูกรางวัลที่
1 เป็นจำนวนเงินถึง 6,000,000 บาท อันนับได้ว่าเป็นโชคลาภสูงสุดของโจทก์ไป
เป็นประโยชน์ส่วนตนและบุคคลอื่นโดยทุจริตด้วยความละโมบโลภมากไม่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ
และศีลธรรมอันดี อีกทั้งยังขาดเมตตาธรรมต่อโจทก์ผู้ที่ควรจะได้รับประโยชน์และความสุขจากโชคลาภดังกล่าว
จนกระทั่งในที่สุดโจทก์ ถึงแก่ความตายเพราะถูกฆ่าในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น
ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองในสถานเบา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2135/2539
เจ้าหน้าที่ของธนาคารผู้เสียหายได้นำเงินฝากจำนวน 60,000 บาท
ของลูกค้ารายอื่นเข้าบัญชีของจำเลย โดยผิดพลาด ปรากฏว่าจำเลยประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้า
ซึ่งเป็นกิจการเล็ก ๆ
มีเงินทุนหมุนเวียนเข้าออกบัญชีจำนวนเล็กน้อยสามารถตรวจสอบและรู้ถึงการนำเงินเข้าออกบัญชีได้โดยง่าย
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินดังกล่าวออกไปจากบัญชีของจำเลย
เป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352
วรรคสอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4442/2540 (สบฎ เน 39) พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วม
รับฝากเงินจากสาขาของบริษัท ท. เพื่อโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของบริษัท ท.
สำนักงานใหญ่ แต่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาด
ไปเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ธนาคารโจทก์ร่วม
จำเลยได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวยในบัญชีของจำเลยไปจากธนาคารของโจทก์ร่วม
แม้จำเลยจะทราบแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าเงินนั้นเข้าบัญชีผิดพลาด
แต่จำเลยมีเจตนาทุจริต
ถือได้ว่าเงินจำนวนดังลก่าวได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลย
เพราะโจทก์ร่วมได้ส่งมอบให้โดยสำคัญผิด มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
วรรคสอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3780/2541 (ไม่เผยแพร่) จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ที่ธนาคารผู้เสียหาย
และขอทำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ด้วย แต่พนักงานของผู้เสียหายกรอกหมายเลขบัญชีของ ล.
กับพวก ลงไปในคำขอใช้บริการบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของจำเลย
แทนที่จะกรอกหมายเลขบัญชีของจำเลยในคำขอดังกล่าว เมื่อจำเลยเป็นผู้ใช้บัตร
เอ.ที.เอ็มนั้น ไปเบิกถอนเงิน เป็นเหตุให้มีการหักเงินในบัญชีของ ล. กับพวก
แทนที่จะมีการหักเงินในบัญชีของจำเลย จำเลยมีความผิดลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3333/2545 การที่มีผู้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปเก็บไว้ที่ท้ายกระโปรงรถยนต์ของผู้เสียหายคันที่ให้จำเลยนำไปใช้ในการทำงาน
โดยจำเลยไม่ทราบมาก่อนดังที่จำเลยเบิกความกล่าวอ้างนั้น ยังถือมิได้ว่าผู้เสียหายได้สละการครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด
เครื่องคอมพิวเตอร์จึงยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย และจำเลยควรจะรู้ว่าผู้เสียหายจะต้องติดตามเอาเครื่องคอมพิวเตอร์คืน
การที่จำเลยยอมให้นาย ณ. นำเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการที่จำเลยเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่ความผิดฐานยักยอกไม่
-
ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิด
ฐานลักทรัพย์ กับฐานรับของโจร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 240/2521 (สบฎ เน 5634) รถยนต์ถูกลักที่ พระนคร เวลาเย็น
จำเลยขับรถที่อยุธยา ทิ้งรถหนีตำรวจ "ระยะเวลา
และสถานที่ห่างกันหลายชั่วโมง และไกล" มีทางเปลี่ยนมือได้
เป็นรับของโจร ไม่ใช่ลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 690/2521 (สบฎ เน 5634) ช คนประจำรถที่บรรทุกถุงพลาสติก ส่งถุงให้จำเลยรับท้ายรถบรรทุก เป็นการที่
ช ลักทรัพย์ "สำเร็จแล้ว" ตั้งแต่ยกถุงออกจากที่เก็บ
"จำเลยมิได้ร่วมลักทรัพย์ด้วย" จำเลยผิดฐานรับของโจร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2439/2539 ส.
พาจำเลยไปขนสุราซึ่งกองอยู่หน้าโรงเก็บสินค้า ล. ที่ ส. เป็นลูกจ้างอยู่
มิได้ไปขนสุราจากโรงเก็บสินค้า ก. และโรงเก็บสินค้า พ. ที่ผู้เสียหายนำสุราไปเก็บรักษาไว้
แสดงว่า ส. ลักสุราของผู้เสียหายและขนสุราดังกล่าวออกจากโรงเก็บสินค้า ก.
ไปเก็บไว้ในโรงเก็บสินค้า ล. ตอนที่จำเลยไปช่วยขนสุราของผู้เสียหาย จึงเป็นเวลาที่
ส. ลักสุราของผู้เสียหายเสร็จแล้ว จำเลยจึงมิได้เป็นตัวการร่วมกับ ส. ลักทรัพย์
-
ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิด
ฐานลักทรัพย์ กับฐานทำให้เสียทรัพย์
-
ลักทรัพย์ เป็นการเอาไป “เพื่อแสวงหาประโยชน์” ส่วนฐานทำให้เสียทรัพย์
มีความมุ่งหมายสุดท้าย เพื่อการทำลายทรัพย์ แม้ในบางกรณีจะมีการเอาไปก่อน
แล้วทำลายทีหลัง ก็เป็นฐานทำให้เสียทรัพย์ (เน 51/10/73)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 301/2472 (เน 51/10/73) เมาสุรา โกรธเด็ก หยิบของที่เด็กวางขาย
มาเตะเล่น ไม่ผิดลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 235/2486 (เน 51/10/73) ลักเป็ด มาแกงกิน ผิดลักทรัพย์
ไม่ผิดทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 159/2512 (สบฎ เน 2111) กระบือกินหญ้า ติดอยู่ในกระบือฝูงอื่น
ไม่ใช่เพริดไปจนพ้นการติดตาม ถือว่าผู้เสียหายยังครอบครองอยู่
เพราะไม่ได้สละการครอบครอง จำเลยยิงตายและชำแหละเนื้อ ผิดลักทรัพย์
ส่วนการชำแหละเนื้อเป็นผลภายหลังการลักกระบือ ไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ม 352
ว 2
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4804/2533 จำเลยที่ 1 เข้าไปขุดเอาหน้าดินในที่ดินพิพาทของโจทก์ร่วมไป
ย่อมมีความผิดตาม มาตรา 334 มาตรา 358 และมาตรา 362 เป็นการกระทำกรรมเดียว
ผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 334 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 9093/2544 การที่จำเลยได้รื้อเอาไม้กั้นห้อง บานประตู
และเครื่องปรับอากาศสองเครื่อง ไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์
เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (ศาลวินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
โดยไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นเจตนาเล็งเห็นผล)
-
การบังคับชำระหนี้ ด้วยตนเอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 251/2513 ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้กระทำจะต้องเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต
ผู้เสียหายเช่านาจำเลยโดยตกลงให้ข้าวแก่จำเลยปีละ 108 ถังเป็นค่าเช่า
ผู้เสียหายไม่ชำระค่าเช่า จำเลยจึงไปตวงข้าวจากลานนวดข้าวในนาผู้เสียหายไป 108 ถัง
ข้าวในนาของผู้เสียหายมีอยู่มากกว่าที่จำเลยมาตวงเอาไป จำเลยตวงเอาข้าวไป
108 ถัง เท่าจำนวนค่าเช่าที่นาที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระจากผู้เสียหาย
จะว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตลักข้าวของผู้เสียหายหาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2041/2515 (ทวงค่าเช่า เอากระบือกับเกวียนไป เพื่อหักหนี้ “ไม่เกินจำนวนหนี้”
ไม่ผิด ม 334) น.ค้างชำระค่าเช่านาจำเลยอยู่ 29,400 บาท จำเลยเคยทวง น.ก็ยังไม่ชำระให้
จำเลยเคยขอให้ผู้ใหญ่บ้านไปยึดทรัพย์ของ น.ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ยอมไป วันเกิดเหตุ
จำเลยไปถามหา น. ที่บ้าน เมื่อ น. ไม่อยู่จำเลยก็แก้เอากระบือของ น. กับเกวียนของ ม.ซึ่งจำเลยเข้าใจว่าเป็นของ
น. ไป รวมราคา 7,500 บาท โดยจำเลยมีเจตนาที่จะถือเอาทรัพย์ที่เอาไปเพื่อหักใช้หนี้ที่
น. เป็นหนี้จำเลยอยู่
และทรัพย์ที่เอาไปนั้น ราคาก็ไม่เกินกว่าจำนวนหนี้
แม้การกระทำเช่นนี้จะเป็นการกระทำมิชอบด้วยการบังคับชำระหนี้
แต่จำเลยมิได้มีเจตนาร้ายหรือประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของ น. ไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับจำเลยโดยไม่มีเหตุผล
จำเลยกระทำไปโดยมิได้รู้สำนึกว่าการที่จำเลยกระทำไปเช่นนั้นเป็นความผิด
โดยเข้าใจว่ามีสิทธิกระทำได้
ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2549/2532 (สบฎ เน 96) (ยึดเครื่องสูบน้ำ “เพื่อเป็นประกันการจ่ายค่าแรง” ให้แก่บุตรของจำเลย
ผิด 335 (7)) จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย
เพื่อทวงค่าแรงที่ผู้เสียหายค้างบุตรชายของจำเลย เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุผลสมควร
โดยสุจริต แม้จำเลยจะได้ถือมีดไปด้วย แต่ก็เป็นเพียงมีดเหลียนซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปใช้สำหรับหวดหญ้า
และไม่ปรากฏว่าจำเลยตั้งใจจะไปทำร้ายผู้เสียหายตั้งแต่แรก
จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุก / จำเลยทวงค่าแรงจากผู้เสียหายไม่ได้
จึงโกรธและใช้มีดเหลียนฟันพยายามทำร้ายผู้เสียหาย
แล้วเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป มิใช่เป็นการฟันผู้เสียหาย เพื่อความสะดวกหรือเพื่อเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป
การเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป
เกิดขึ้นหลังจากการทำร้ายร่างกายขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
/ แม้จำเลยเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป
เพื่อยึดเอาไว้ให้ผู้เสียหายไปจ่ายค่าแรงบุตรชายจำเลย แล้วจำเลยจะคืนให้
ก็ถือได้ว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาทุจริต
อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เพราะจำเลยไม่มีอำนาจเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยพลการได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1715/2534 จำเลยเอาตู้เย็นของผู้เสียหายไป
เพื่อให้ผู้เสียหายและภริยาผู้เสียหาย ไปติดต่อชำระหนี้ที่ค้างต่อกัน
จึงไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต
หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
กรณีไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 334
จำเลยจึงไม่มีความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3286/2535 (สบฎ เน 1) (ได้ทรัพย์ไปเกินกว่าที่ตนมีสิทธิ
แต่ขาดเจตนาทุจริต) จำเลยเอาสร้อยคอทองคำ
และพระเลี่ยมทองคำรวมราคา 30,000 บาท ของผู้เสียหายไป
เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้เสียหายได้ร่วมประเวณีกับจำเลย
เพราะเหตุที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระเงินจำนวน 5,000 บาท
ตามที่ได้ตกลงกันไว้ เป็นการเอาไปเพื่อหักใช้หนี้กัน และทรัพย์ที่เอาไปนั้น
จำเลยก็เข้าใจว่ามีราคาไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ ที่เป็นหนี้จำเลยอยู่
จำเลยเอาทรัพย์ไป เพราะจำเลยเชื่อว่าเป็นประโยชน์ที่จำเลยควรได้
จึงเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2016/2536 (สบฎ เน 57) จำเลยพูดว่าถ้าไม่ชำระจะไม่ยอมให้ออกจากบาร์
กับเรียกพนักงานชาย 5-6 คนมายืนคุมเชิงรอบโต๊ะ
ผู้เสียหายกลัวถูกทำร้ายจึงยอมชำระเงิน 1,000 บาท แม้ว่าจะสืบเนื่องมาจากการทวงค่าชมการแสดง
แต่จำเลยไม่มีอำนาจบังคับชำระเงินโดยไม่ชอบ ด้วยการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายเช่นนั้น
จำเลยมีความผิดฐานกรรโชก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3058/2539 (สบฎ เน 41) จำเลยตระเวนเก็บค่าจอดรถยนต์ “โดยจำเลยไม่มีสิทธิ” แต่จำเลยมิได้ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายตั้งแต่ต้น
เงินที่เก็บก็เท่ากันทุกรายและไม่ได้ขู่เข็ญเอาเงินเกินกว่านี้ หากไม่ให้เงินต้องไปจอดรถยนต์ที่อื่นเท่านั้น
“มิได้เจตนาแย่งการครอบครองเงินโดยตรง” ไม่ผิดลักทรัพย์ และไม่เป็นชิงทรัพย์
แต่เป็นการข่มขืนใจผิดฐานกรรโชกสำเร็จ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1543/2540 (สบฎ เน/37) พนักงานเก็บเงินค่าเครื่องดื่มและบริการ
ผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมรับราคาตามที่เรียกเก็บ พนักงานเก็บเงินได้ใช้แรงกายภาพ
และกระทำประทุษร้ายต่อผู้เสียหายเพื่อเก็บเงิน โดยทุจริต จนผู้เสียหายต้องยื่นเงินให้
เป็นการชิงทรัพย์ โดยร่วมกันตั้งแต่สามคน จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์
-
กรณีเป็นเรื่องทางแพ่ง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 121/2543 (ฎ สต 2543/2/20) ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย
ส่อแสดงเจตนาว่าทั้งสองฝ่ายจะซื้อจะขายรถยนต์กันตั้งแต่เริ่มแรก
การที่จำเลยได้รับมอบรถยนต์จากโจทก์ร่วม จึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ ขณะที่รถยนต์ของโจทก์ร่วมหายไป
และจำเลยยังมิได้ชำระราคารถยนต์แก่โจทก์ร่วมต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า ม 334
-
(ขส เน 2510/ 1) สามีลักทรัพย์ของภรรยา สามีผิด ม 334
แต่ไม่ต้องรับโทษ ตาม ม 71 คนรับซื้อทรัพย์ไว้
ผิด ม 357
-
(ขส เน 2510/ 2) คนซื้ออาหารวางธนบัตรไว้
ไม่เอาเงินทอน ฉลองเอาเงินนั้นไป แล้ววางเงินตามราคาจริง / ฉลองผิดลักทรัพย์
ม 334 เพราะธนบัตรเป็นของเจ้าของร้าน
เจ้าของร้านมีหน้าที่ต้องทอนเงิน เมื่อคนซื้อสละสิทธิ
เงินทอนนั้นเป็นของเจ้าของร้าน
-
(ขส เน 2513/ 8) นายแจ้งซื้อหวยจากคนตาบอด
เมื่อเห็นว่าคนขายตาบอด จึงเอากระดาษเท่าธนบัตร จ่ายแทน / นายแจ้งไม่ผิด
เพราะซื้อไว้โดยชอบ แล้วคิดทุจริตภายหลัง ไม่ชำระราคาเพราะเห็นว่าคนขายตาบอด
-
(ขส เน 2514/ 6) เขียวจะซื้อตั๋วโดยสารรถไฟ
แดงจึงฝากเงินให้ช่วยซื้อตั๋วรถไฟ / เขียวรับเงินแล้ววิ่งหนีไปต่อหน้า
/ เขียวผิด ม 335 (9) การครอบครองยังอยู่กับแดง
แต่ไม่ผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เพราะไม่ได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
-
(ขส พ 2500/ 8) ผู้โดยสารลืมกระเป๋าไว้ในรถ
แล้วลงรถไป ผู้โดยสารคนหนึ่ง ถามว่าของใคร นายตุ๊อ้างว่าเป็นของตน กำลังจะหยิบ
แต่คนขับคว้าไปก่อน คนขับผิดลักทรัพย์ นายตุ๊ผิดพยายามลักทรัพย์
-
(ขส พ 2501/ 9) คนร้ายลักเป็ดในเวลากลางคืน
อุ้มไปได้หน่อยหนึ่ง พบนายขาวเพื่อนบ้านของเจ้าทรัพย์ จึงทิ้งเป็ดเสีย
นายขาวจำได้ว่าเป็นเป็ดของเจ้าทรัพย์ที่ถูกลักมา จึงจับเป็ดมาฆ่าแกงกิน / นายขาวผิดลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ม 335 (1) (ไม่ผิดฐานรับของโจร
ม 357 เพราะไม่มีเจตนาร่วมกับผู้กระทำผิด / ไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ม 358 เพราะเจตนาจะเอาเป็นของตน)
-
(ขส พ 2502/ 6 ครั้งแรก) แดงแกล้งทำผีหลอกสอน
สอนวิ่งหนีทำกระเป๋าตก แดงเกิดอยากได้จึงเก็บกระเป๋าไว้ / สอนชวนเพื่อนกลับมาตามหากระเป๋า
/ สอนยังไม่ขาดการครอบครองกระเป๋า
แดงเอาไปโดยรู้ว่าเป็นของสอน จึงผิดลักทรัพย์
-
(ขส พ 2517/ 7) ปิ่นทำแหวนตก เพียง ๕
นาทีก็กลับมาตามหา แปลกเก็บได้ ปลิกอ้างว่าเป็นแหวนตน แปลกจึงมอบให้ เมื่อปิ่นถาม
ปลิกไม่ยอมรับว่าได้รับแหวนไว้ ปิ่นรีบตามหาและสอบถาม เป็นระยะเวลากระชั้นชิด
ถือว่าแหวนยังอยู่ในความยึดถือ ไม่ใช่ทรัพย์ตกหาย แปลกเก็บแหวนได้
ไม่ทำให้ความยึดถือของปิ่นขาดตอนไป ปลิกเอาแหวนไปโดยรู้ว่าไม่ใช่ของตน ผิด ม ๓๓๔
ไม่ผิด ม ๓๔๑ ฎ ๒๐๗/๒๕๑๒ , ๑๗๔๕/๒๕๑๔
-
(ขส พ 2519/ 7) แจ่มเช่าบ้านนายลบ
อยู่ในบริเวณรั้วเดียวกับลบ แจ่มปลูกต้นไม้ ปล่อยตัวครั่งไว้
ลบมีเจตนาตัดกิ่งต้นไม้ไปทำฟืนและเอาตัวครั่งไปขาย แต่กิ่งหักตกพื้น ยังไม่ทันหยิบ
เห็นตัวครั่ง จึงจับไปปล่อยกิ่งอื่น คงเอาแต่กิ่งหักไปทำฟืน / ต้นจามจุรีเป็นส่วนควบ ของที่ดินนายลบ นายลบจึงมีกรรมสิทธิ์ในต้นจามจุรี
ปพพ ม ๑๔๕ ฎ ๓๗๒/๒๔๙๘ ฎ ๑๓๕๕/๒๕๐๘
ลบไม่ผิดลักทรัพย์ ม ๓๓๔ แต่เป็นการพยายามลักทรัพย์ตัวครั่ง ตาม ม ๘๐,๓๓๔ เมื่อยับยั้งเสียเอง ไม่ต้องรับโทษตาม ม ๘๒
-
(ขส พ 2523/ 6) บุรุษไปรษณีย์แอบเปิดจดหมายหญิงที่ตนแอบรัก
และนำเงินในจดหมายไป แล้วเผาจดหมาย จากนั้นโทรศัพท์ไปขู่ผู้ส่งให้ส่งเงินให้ตน
มิฉะนั้นจะฆ่าหญิง ผู้ส่งกลัวหญิงถูกฆ่าจึงตกลง ต่อมาแจ้งตำรวจแล้ววางแผนนำเงินไปล่อจับ
/ ไปรษณีย์ผิด ม ๓๒๒ , ๓๓๔ , ๓๕๘ , ๑๘๘ และผิด ม ๓๓๗ เป็นความผิดสำเร็จ
แม้ยังไม่ได้เงิน ฎ ๑๑๙๓/๒๕๐๒
-
(ขส พ 2528/ 9) นาย ข ขู่ นาย ก ที่ซื้อเนื้อโค
จากคนร้ายที่ลักเอาโค ของนาย ข ไป โดยขู่ให้ใช้เงินคาโค
ถ้าไม่ยอมจะให้ตำรวจจับฐานรับของโจร เป็นความชอบธรรมของนาย ข การเรียกเงินเพื่อตกลงทางคดี
หาใช่มีเจตนาทุจริตไม่ จึงไม่ผิด ม 337 ฎ 1942/2514 /
นาย ข บอกว่าได้แจ้งความไว้แล้ว ถ้าไม่ไปสถานีตำรวจ จะนำตำรวจไปจับ
นาย ข ไม่ใช่คนจับเอง และไม่เป็นการข่มขู่ หน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำให้นาย ก
ไปไหนไม่ได้ และไม่ทำให้ปราศจากเสรีภาพ ไม่ผิด ม 310 (ชี้ให้ตำรวจจับ)
ฎ 1301/2510 / ต่อมานาย ก นำเงินมา แต่นาย ข
นัดตำรวจมาจับ นาย ก จึงบังคับให้นาย ค ขับรถหนีตำรวจ ผิด ม 309+310 แล้วไล่นาย ค ลงรถ และขับหนีเอง ถึงที่โล่ง ก็จอดทิ้งไว้
แสดงว่าไม่มีเจตนาจะถือเอา อันจะเป็นการลักทรัพย์ ฎ 1683/2500
-
(ขส อ 2519/ 5) นายเชยนำรถไปฝากอู่ ของนายชม คืนหนึ่งนายชอบคนรับใช้
ใช้กุญแจปลอม เอารถของนายเชย ไปขับเที่ยว โดยตั้งใจว่าเที่ยวแล้วจะเอามาคืน นายเชยกลับมาที่อู่
ไม่เห็นรถ จึงแจ้งความว่ารถหาย ตำรวจจับนายชอบได้ในคืนนั้นเอง ขณะขับรถอยู่
นายชอบผิดฐานใด / นายชอบเอารถของนายเชยไปใช้ โดยพลการ
เป็นการเอาไปโดยทุจริต ผิด ม 335 (ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
และทรัพย์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ม 335 (1) (11)) ฎ
1212/2514
-
(ขส อ 2519/ 6) ปล่อยไก่ให้หากิน
ไก่เข้าไปกินผักในสวนผู้อื่น ผิด ม 395 / เจ้าของสวนยิงไก่
ผิด ม 358+68+69 ฎ 29/2497 / ไก่ตาย
เอาไปแกงกิน เจตนาทุจริตเกิดขึ้นภายหลัง ผิด ม 334 ต่างกรรม
-
(ขส อ 2520/ 7) บีบคอแล้วกระชากสร้อย
จนขาดแต่เจ้าทรัพย์จับสร้อยไว้ได้ คนร้ายได้แต่พระเครื่อง ผิดชิงทรัพย์ (ผิดสำเร็จ)
-
(ขส อ 2520/ 8) ซื้อกางเกงจากร้านขายของเก่า
พบตั๋วจำนำเอาไปไถ่สินค้ามาใช้ ผิด ม 352 ว 2 ตั๋วจำนำ (ดู อ จิตติ ภาค 2/2312 ผิดลักทรัพย์ ไม่มีเจตนาส่งมอบ ไม่ใช่ส่งมอบโดยสำคัญผิด)
-
(ขส อ 2522/ 6) 1-2 รักหญิงคนเดียวกัน คืนหนึ่ง 1
แอบเอารูปหญิงจากห้อง 2 ไปทิ้งน้ำ
ไม่ผิดลักทรัพย์ เพราะไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตน
เจตนาเรื่องนี้ต้องการทำลายด้วยความโกรธ ผิด บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ม 358+365
(+364) (อ จิตติ ภาค 2/2357 ถ้าเอาไปใช้ก่อน
ผิดลักทรัพย์ได้ ฎ 867/2513)
-
(ขส อ 2523/ 8) นายน้อยโกรธนายเล็ก กลางคืน
แอบนำรถนายเล็กไปทิ้งน้ำเพื่อไม่ให้หาพบ เป็นการซ่อนไม่ให้ติดตามเอาคืน
เป็นการครอบครองอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นการเอาไปโดยทุจริต ผิด ม 335 (1) ฎ 965/2521
-
(ขส อ 2542/ 5) 5 คน วางแผนลักขนุน 2 คนเจอตำรวจ เลิก / 3 คนลัก หนีไปคนหนึ่ง
อีกสองคนกำลังมัดปากถุง ผิด ม 210+335(1) (7) + 80 ยังไม่ผิดสำเร็จ
ตราบที่ยังไม่ได้เก็บ และยึดถือขนุนที่หลุด ไว้ในครอบครอง / 2 คนแรกผิด ม 213 + 83
มาตรา
335 ผู้ใดลักทรัพย์
(1)
ในเวลากลางคืน
(2)
ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้
การวางระเบิด อุทกภัย หรือในที่บริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัย แก่รถไฟ
หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกัน
หรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น
หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(3)
โดยทำอันตราย
สิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคล หรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้น
เข้าไปด้วยประการใด ๆ
(4)
โดยเข้าช่องทางซึ่งได้ทำขึ้น
โดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าช่องทางซึ่งมีผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(5)
โดยแปลงตัว หรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น
มอมหน้า หรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(6)
โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(7)
โดยมีอาวุธ
หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(8)
ในเคหสถาน สถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่จัดไว้
เพื่อให้บริการสาธารณ ที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ
(9)
ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ
ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือสาธารณ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า
หรือในยวดยานสาธารณ
(10)
ที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(11)
ที่เป็นของนายจ้าง หรืออยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(12)
ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์
พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะ
ดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็น
โค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักร
ที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำผิดดังกล่าวในมาตรานี้
เป็นการกระทำโดยความจำใจ หรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย
ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ก็ได้
-
มาตรา 335 (1) ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2487 พระอาทิตย์ขึ้นนั้น หมายความว่าพระอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้าแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 512/2516 เวลา 18 นาฬิกา ของเดือนมีนาคม เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าพระอาทิตย์ยังไม่ตก
เป็นเวลากลางวัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3145/2527 เวลากลางคืนหลังเที่ยงของวันที่ 9
หมายความถึงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกของวันที่ 9 จนถึงเวลา 24 นาฬิกา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2082/2527 จำเลยกับ
ว.คบคิดกันลักทรัพย์บนบ้านผู้เสียหายเวลากลางคืน บังเอิญผู้เสียหายตื่นอยู่
ฉายไฟไปยัง ว. ว.จึงโถมเข้ากดคอผู้เสียหาย
เมื่อจำเลยมิได้รู้เห็นเป็นใจหรือร่วมด้วยในการที่ ว.ประทุษร้ายผู้เสียหาย
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. ม.335 (1) (7)
(8) เท่านั้น
-
มาตรา 335 (2) ลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้
การวางระเบิด อุทกภัย หรือในที่บริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัย แก่รถไฟ
หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกัน
หรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น
หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 402/2546 การลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335
(2) วรรคแรก อุบัติเหตุนั้น เฉพาะเกิดแก่รถไฟหรือยานพาหนะที่ประชาชนโดยสารเท่านั้น ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ
ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (2) วรรคแรกได้
จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ
เรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195
วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
-
มาตรา 335 (3) ลักทรัพย์โดยทำอันตราย
สิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคล หรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้น
เข้าไปด้วยประการใด ๆ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1080/2511 ลักรถจักรยานยนต์โดยใช้ลูกกุญแจไขกุญแจรถซึ่งใส่ไว้
เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 เท่านั้น ไม่ผิดตามมาตรา
335 (3)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2250/2515 การใช้กุญแจผิดกฎหมาย ไขตู้โชว์
แล้วลักเอาทรัพย์ในตู้โชว์ไป ไม่ใช่เป็นการลักทรัพย์
โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไป
ตามความหมายของ ป. อาญา มาตรา 335 (3)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2447/2527 จำเลยใช้ลูกกุญแจปลอมที่เตรียมมา
ไขกุญแจประตูรถ และติดเครื่องยนต์
หาใช่เป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ไม่ และกุญแจประตูรถ
เป็นส่วนหนึ่งของรถจำเลยลักรถยนต์ไปทั้งคัน จะถือว่าลักทรัพย์ โดยผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์หาได้ไม่
จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ.ม.335(3) คงมีความผิดตาม ม.334
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 98/2532 (สบฎ เน 95) การลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคล
หรือทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไป จะต้องมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งกีดกั้นแล้วผ่านเข้าไป
เมื่อประตูห้องนอนที่เปิดอยู่ มิได้มีสภาพเป็นสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลและทรัพย์
จำเลยซึ่งผู้เสียหายเชิญให้มาร่วมฉลองปีใหม่ที่เดินขึ้นไปชั้นบน
เข้าห้องนอนทางประตูดังกล่าวซึ่งเปิดอยู่ แล้วลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (3) /
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำเลยมีความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 335 (3)
เท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ในความผิดตามมาตรา 335(8)
เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 335 (8) ด้วย
ปัญหาที่ว่าจำเลยมีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวหรือไม่
จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้
เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 448/2543 แม้ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำอันตรายสิ่งกีดกั้น
แต่การที่จำเลยเข้าไปในรถกระบะ โดยผ่านทางประตูรถเข้าไป ถือว่าเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไป
“ด้วยประการใด ๆ” แล้ว ผิดตามมาตรา 335
(3) / จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับในขณะที่กำลังก้มเงยอยู่ข้างประตูด้านคนขับรถกระบะคันที่เกิดเหตุ
โดยมีลูกกุญแจ 2 ดอก กุญแจล็อกประตูรถกระบะอยู่ในกระเป๋าเสื้อจำเลย ส่วนประตูรถกระบะเปิดได้และพบประแจบล็อก
3 ทางกับไขควงวางอยู่ที่เบาะคนขับ
ประตูรถด้านคนขับมีร่องรอยงัดแงะตรงช่อกุญแจส่วนกุญแจหายไป
จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าพี่ชายให้มาเอารถ แต่ลืมกุญแจ จึงงัดรถเข้าไปส่วนเงิน
1,000 บาท ที่จำเลยมีติดตัวอยู่นั้นเตรียมไว้เป็นค่าน้ำมันรถ
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยงัดประตูรถกระบะเข้าไปโดยมีไม้บรรทัดเหล็ก
ไขควง ประแจบล็อก 3 ทาง กุญแจ 2 ดอก และไฟฉายเป็นอุปกรณ์ ถึงแม้กุญแจ 2
ดอกไม่มีเขี้ยวและไม่ปรากฏว่าใช้ไขสตาร์ทรถกระบะได้หรือไม่ก็ตาม
แต่ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยแล้วว่าต้องการใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นเครื่องมือเพื่อเอารถกระบะไป
เมื่อจำเลยสามารถงัดประตูรถกระบะจนเปิดออก และงัดเอากุญแจล็อกประตูรถออกไปได้
ถือได้ว่าเป็นการลงมือเพื่อจะเอารถกระบะไปโดยทุจริตแล้ว เมื่อไม่สามารถเอากระบะไปได้
จะด้วยเหตุเพราะยังไม่ได้ทำลายกุญแจล็อกเกียร์ หรือเพราะมีเจ้าพนักงานตำรวจมาพบการกระทำความผิดของจำเลยเสียก่อนก็ดี
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
-
มาตรา 335 (4) ลักทรัพย์โดยเข้าช่องทางซึ่งได้ทำขึ้น
โดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าช่องทางซึ่งมีผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
-
(ขส พ 2522/ 6) คนใช้ไม่พอใจเจ้านาย
แกล้งเปิดหน้าต่างให้ขโมยเข้าบ้าน ขโมยเห็นหน้าต่างเปิด จึงปีนเข้าบ้าน
คนใช้ตื่นพอดี เกิดสงสารเจ้านาย จึงตะโกนว่ามีคนร้าย ขโมยหนีทันที ยังไม่ได้ทรัพย์
เจ้านายจับขโมยได้จึงต่อว่า ขโมยชกฟันหัก (เพราะโกรธ)
/ ขโมยผิด พยายามลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน
โดยเข้าช่องทางที่มีผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ ม 335 (1) (4) (8) , 80 ลงโทษสองในสามส่วน ฎ 854/2507 / ไม่ผิดพยายามชิงทรัพย์
ม 339, 80 เพราะไม่ได้ทำร้ายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม /
คนใช้ผิดสนับสนุนลักทรัพย์ ม 335 , 80 ,
86 แต่ไม่ผิดสนับสนุนทำร้ายร่างกาย เพราะนอกเหนือเจตนา ม 87
แต่การขัดขวางทำให้ไม่ได้ทรัพย์ไป ไม่ต้องรับโทษตาม ม 88
-
มาตรา 335 (5) ลักทรัพย์โดยแปลงตัว
หรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้า
หรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
-
มาตรา 335 (6) ลักทรัพย์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
-
มาตรา 335 (7) ลักทรัพย์โดยมีอาวุธ
-
ตรวจก่อน 335 (4) เป็นเหตุลักษณะคดี ส่วน 336 ทวิ เป็นเหตุส่วนตัว ถ้าลักทรัพย์คนเดียวก็เข้าทั้ง
335 (7) 336 ทวิ แต่ถ้าลักทรัพย์หลายคน คนที่ไม่มีปืน ผิด 335
(7) คนที่มีปืน ผิด 336 ทวิ
-
ฎ 2822/2525 จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ ของผู้เสียหายในเวลากลางคืน
แม้จำเลยถือมีดเดินเข้าไปในห้องนอนผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายเรียกให้บิดาช่วย
จำเลยผละวิ่งหนีออกจากห้อง โดยไม่ปรากฏว่าใช้มีดจ้องจี้ หรือแสดงท่าทีให้เห็นว่า
เป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
คงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธเท่านั้น
-
มาตรา 335 (7) ลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1445/2530 (สบฎ เน 106) จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสอง
จึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7)
บทหนึ่ง
และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90
ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลย อัตราโทษขั้นสูงของมาตรา 335
(7) และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากัน คือจำคุกไม่เกิน 5 ปีแต่ตามมาตรา 335 (7)
มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปจึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335 (7)
เป็นบทลงโทษ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4208/2534 เหรียญกษาปณ์ที่ตกลงไปในช่องคืนเหรียญ
เนื่องจากไม่สามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยังปลายทางได้นั้น ยังเป็นของผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะอยู่
การที่นาย พ. นำก้อนกระดาษไปอุดไว้ในช่องคืนเหรียญในตำแหน่งที่อยู่เหนือฝาปิดขึ้น เป็นเพียงการขัดขวางไม่ให้เหรียญกษาปณ์
ตกกลับลงไปถึงมือผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะที่รออยู่ โดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวยังคงติดค้างอยู่ในเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ
ในลักษณะที่ง่ายแก่การมาล้วงเอาไปในภายหลัง ฉะนั้น
ขณะที่เหรียญกษาปณ์ตกลงไปค้างอยู่บนก้อนกระดาษในช่องคืนเหรียญ ความผิดฐานลักทรัพย์ยังไม่สำเร็จ
เพราะนาย พ. ยังไม่ได้เอาเหรียญกษาปณ์นั้นไป และการที่เจ้าของเหรียญกาษปณ์ออกจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ
ไม่ได้หมายความว่ามีเจตนาสละทิ้งเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างเพราะการสละกรรมสิทธิ์จะต้องกระทำด้วยความสมัครใจ
มิใช่อยู่ในลักษณะที่ถูกขัดขวางการได้ทรัพย์คืน / จำเลยร่วมมือกับนาย
พ. เข้าไปเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างอยู่ โดยจำเลยทำทีเป็นผู้ใช้โทรศัพท์ พูดจาเพื่อกลบเกลื่อน
ไม่ให้ผู้อื่นสงสัย ระหว่างนั้นให้นาย พ. เขี่ยกระดาษที่อุดไว้จนเหรียญกษาปณ์ตกลงไปสู่มือของจำเลย
และนาย พ. ที่รอรับอยู่ เป็นการร่วมมือกันเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ที่ยังมีกรรมสิทธิ์นั้นอยู่
จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้อื่น โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3642/2540 จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุญาตหรือยินยอมให้จำเลยที่ 1
เอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายไป ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ทราบดีแล้วว่าโฉนดที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายและยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจให้คำอนุญาตหรือยินยอมได้
เมื่อจำเลยที่ 1 เอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายไปด้วยความยินยอมของจำเลยที่
2 จึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) วรรคหนึ่ง
และมาตรา 83
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 335 (7)
-
(ขส พ 2513/ 9) แดง ดำ ขาว เขียว
ไปโจรกรรมบ้านนายเหลือง / ดำขับรถและดูต้นทาง แดงรับของ
ขาวและเขียวขนของ / ดำและแดงรับของแล้วกลับก่อน / ต่อมาขาวถือมีดคุมเชิง เขียวเข้าไปขู่เหลืองเอาเงิน / ทั้งสี่คนผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเคหถาน โดยร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
และโดยมีอาวุธ ม 335 (7) (8) เพราะร่วมมือกันแต่แรกและแบ่งหน้าที่กันทำ
/ ขาวและเขียวผิด ม 339 (2) เพราะการข่มขู่เป็นเหตุการเกิดขึ้นใหม่ในภายหลัง
ขาดตอนและไม่เกี่ยวกับดำและแดง ดำและแดงจึงไม่ผิดชิงทรัพย์
-
(ขส พ 2524/ 8) นายมา เมฆ หมอก นัดหมายให้นายกลอนวางยาสลบนายสิน
ถือว่านายกลอนเป็นตัวการ ตาม ม 83 แต่นายกลอนให้นายสินกินน้ำตาลก้อน
คิดว่าเป็นยาสลบ ไม่ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย ตอนยิงปืนเข้าปล้น
ก็ไม่มีใครอยู่ จึงผิดฐานพยายามลักทรัพย์ ตาม ม 335 (1) (3) , 336 ทวิ ประกอบ ม 80 แต่กลอนสงสารจึงปลุกและพานายสินหนี เป็นการกลับใจ
ไม่ต้องรับโทษตาม ม 82
-
(ขส พ 2504/ 7) จวง จัน และเจิม รวมสามคน
ไปร้านสุราเพื่อขอซื้อ แต่คนขายไม่ตกลงขาย เพราะเห็นว่าเมาแล้ว ทั้งสามคนว่า
ถ้าไม่ขาย ก็จะรินกินเอง จึงเข้าไปหยิบสุราดื่มกัน
แล้วนำขวดเหล้าที่ยังมีเหล้าเหลืออยู่ไปด้วย (ผิดฐานใดหรือไม่)
/ จวง จัน เจิม ผิดฐานลักทรัพย์ ม 335 (7) (และผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ตาม ม 336 ทวิ แต่ ม 335 (7) มีโทษสูงกว่า
เพราะมีโทษขั้นต่ำด้วย)
-
(ขส อ 2542/ 5) 5 คน วางแผนลักขนุน 2 คนเจอตำรวจ เลิก / 3 คนลัก หนีไปคนหนึ่ง
อีกสองคนกำลังมัดปากถุง ผิด ม 210+335 (1) (7) + 80 ยังไม่ผิดสำเร็จ ตราบที่ยังไม่ได้เก็บ และยึดถือขนุนที่หลุด ไว้ในครอบครอง
/ 2 คนแรกผิด ม 213 + 83
-
มาตรา 335 (8) ลักทรัพย์ในเคหสถาน
สถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่จัดไว้ เพื่อให้บริการสาธารณ
ที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 996/2492 (บันทึก อ จิตฤดี อาญา น 390) ยื่นมือเข้าไปในช่องลม “เข้าไป” หมายความว่า
ร่างกายของผู้กระทำต้องล่วงล้ำเข้าไปในเคหสถานหมดทั้งตัว / จำเลยยื่นมือเข้าไปทางประตูเอาไม้เล็กประมาณ
1 แขนสอยเอากางเกงของเจ้าทรัพย์ ที่ตากไว้ข้างฝาในห้องไป
ดังนี้ จำเลยย่อมมีผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 288 หาใช่ตามมาตรา
294 ข้อ 1 ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1732/2494 จำเลยเอาข้าวต้มผัดไปขายแก่ผู้อยู่ในเคหะสถานถึงในเคหะสถาน
การเข้าไปเช่นนี้ต้องฟังว่าได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้โดยปริยาย
เมื่อจำเลยลักทรัพย์เขาในเคหะสถานนั้น ก็คงเป็นผิดตามมาตรา 288 หาใช่มาตรา 294 (1) ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 393/2509 เล้าไก่
อยู่ห่างจากเรือนผู้เสียหายประมาณ 1 เมตร แม้แยกออกไปต่างหากจากตัวเรือนแล้ว
ก็ยังอยู่ในที่ดินอันเป็นบริเวณของโรงเรือนซึ่งมีรั้วอยู่ด้วย มิใช่อยู่ในที่
ซึ่งเป็นบริเวณต่างหากจากโรงเรือนซึ่งใช้เป็นที่คนอยู่อาศัย
จำเลยลักไก่ในเล้าซึ่งอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นการลักทรัพย์ในเคหสถานที่จำเลยได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
ผิดมาตรา 335 (8) \
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2421/2532 (สบฎ เน 96) ยื่นมือเข้าไปในช่องลม ปลดพวงผงชูรสแล้ว
ถูกมีดฟันมือ ผิดสำเร็จ (คดีนี้พนักงานอัยการโจทก์
ฟ้องจำเลยเฉพาะข้อหาความผิดตามมาตรา 335 (1) ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ
ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2014/2536 คำว่า
"กุฏิ" ตามพจนานุกรม
หมายความว่า "เรือนหรือตึก สำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่"
จึงเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น หาใช่สถานที่บูชาสาธารณะ (กุฏิ เป็นเคหสถานของพระภิกษุสามเณร
ตามมาตรา 335 (8) แต่ไม่เข้าเหตุฉกรรจ์ ตามมาตรา 335 ทวิ ในข้อหา “ลักทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูป หรือวัตถุในทางศาสนาในวัด สำนักสงฆ์
สถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา โบราณสถานอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน สถานที่ราชการ
หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2138/2537 þ คำที่ว่า "ที่ตนได้เข้าไป"
มาตรา 335 นั้นหมายถึงว่าผู้กระทำจะต้องเข้าไปในเคหสถานทั้งตัว
มิใช่เพียงแต่ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้กระทำ ล่วงล้ำเข้าไปในเคหสถาน
เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ยื่นมือ ผ่านบานเลื่อนไม้เข้าไปในห้องพักของผู้เสียหาย
แล้วทุบกระต่ายออมสินของผู้เสียหาย ลักเอาเงินไป
โดยจำเลยมิได้เข้าไปในห้องพักของผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335
(8)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6825/2538 (สบฎ เน 16) จำเลยได้ยินเสียง ย. ร้องด้วยความเจ็บปวด
จำเลยจึงเข้าไปในห้องผู้เสียหายและทำการช่วยเหลือ
ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันควร และได้รับอนุญาตให้เข้าไปโดยปริยาย แม้ ย.
จะมิใช่เจ้าของห้อง แต่เป็นมารดาของผู้เสียหาย
ย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปในห้องได้ตามสมควร
จำเลยพบเห็นเงินอยู่ในลิ้นชักตู้เสื้อผ้า ถือโอกาสเอาไปเสีย ผิดฐานลักทรัพย์ตาม
ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก แต่ไม่ผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน ตาม ป.อ. มาตรา
335 (8)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1478/2542
จำเลยรับว่าถอดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางจริง
โดยอ้างว่าได้รับอนุญาตจาก อ.
เจ้าของรถให้ยืมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ดังกล่าวซึ่งขัดต่อเหตุผล
เนื่องจากการถอดชิ้นส่วนจากรถจักรยานยนต์ของกลางจะทำให้รถจักรยานยนต์ของกลางใช้การไม่ได้
ทั้งยังขัดกับคำให้การับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวน
ซึ่งมิได้นำสืบปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของบันทึกคำให้การดังกล่าว
ทั้งตามบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายปรากฏว่าจำเลยได้นำชี้เส้นทางที่ใช้เป็นทางเข้าออกโดยเข้ามาข้างศาลาพักผู้โดยสารด้านหลังสถานีตำรวจ
แล้วเข้ามาลักชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของกลางและหลบหนีไปทางเส้นทางเดิม
ซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าบันทึกและภาพถ่ายดังกล่าวไม่ถูกต้องเช่นกัน
จึงรับฟังได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามบันทึกคำให้การผู้ต้องหาและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพโดยสมัครใจ
เมื่อคำรับสารภาพดังกล่าวเจือสมกับคำเบิกความของสิบตำรวจโท จ.
ที่ว่าพบรอยเท้าคนเดินที่พงหญ้าด้านหนังสถานีตำรวจ
นอกจากนี้จำเลยก็มิได้นำสืบใบมอบอำนาจที่จำเลยอ้างว่า อ.
เจ้าของรถมอบอำนาจให้มาถอดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ หรือนำเจ้าพนักงานตำรวจที่จำเลยแสดงใบมอบอำนาจดังกล่าว
มาเบิกความสนับสนุน
ทั้งรถจักรยานยนต์ของกลางก็ยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงานตำรวจซึ่ง อ.
จะอนุญาตให้ถอดชั้นส่วนรถไปโดยพลการไม่ได้ ข้ออ้างของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ พฤติการณ์ของจำเลยจึงมีเจตนาทุจริต แม้ว่า
อ.
จะทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางแต่ก็เป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุแล้ว
ไม่ทำให้จำเลยพ้นความผิดไปได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335(1)
และ (8) วรรคสาม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2845/2543
โรงอาหารของมหาวิทยาลัยที่ซึ่งนักศึกษา
หรือผู้ที่เข้ามาติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัย
มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปนั่งรับประทานอาหารได้ เป็นที่ซึ่งอยู่ภายใต้บริเวณรั้วของมหาวิทยาลัย
แต่เป็นบริเวณนอกอาคารเรียน หรือนอกสถานที่ตั้ง
อันเป็นที่ปฏิบัติงานของราชการหรือข้าราชการตามปกติ ไม่มีความผิดตาม มาตรา 335
(8) คงผิดตามมาตรา 334
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1243/2545 สถานที่เกิดเหตุอยู่ในสำนักงานประปาสงขลา
(เขตจำหน่ายน้ำหาดใหญ่) อันเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ
มิใช่สถานที่ราชการ การที่จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ในบริเวณสำนักงานประปาสงขลาในเวลากลางคืน
จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
-
คำพิพากษาฎีกาที่
4284/2547 คำว่า "ศาลาการเปรียญ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
หมายถึง ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม ศาลาการเปรียญ จึงหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตาม
ป.อ. มาตรา 335 (9) ด้วยไม่ พระยอดขุนพลของกลางที่จำเลยเข้าไปลัก ขณะเกิดเหตุติดอยู่ที่แผงบริเวณเสาของศาลาการเปรียญ
การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8)
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8106/2548 ลานจอดรถของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
เป็นเพียงสถานที่ซึ่งทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการ
ตลอดจนข้าราชการของวิทยาลัย หาใช่เป็นสถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในวิทยาลัยโดยตรงแต่อย่างใดไม่
การที่จำเลยทั้งสองลักรถจักรยานยนต์จากบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 335 (8) คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335
(7) วรรคแรก เท่านั้น
-
มาตรา 335 (8) ลักทรัพย์ “ในเคหสถาน หรือสถานที่ราชการ”
ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไป ไม่ต้องรับผิดในเหตุฉกรรจ์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2307/2519
ผู้เสียหายกับจำเลยเช่าบ้านหลังเดียวกัน แต่อยู่คนละห้องวันเกิดเหตุผู้เสียหายไม่อยู่
จำเลยเข้าไปในห้องรับแขก นอนอ่านหนังสือพิมพ์บนเก้าอี้นอน น้องผู้เสียหายอยู่บ้าน
แต่ก็มิได้ห้ามปรามจำเลย จำเลยลักนาฬิกาข้อมือของผู้เสียหาย
ซึ่งวางอยู่บนตู้โชว์ติดกับเก้าอี้นอนไป ดังนี้ การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย
ถือได้ว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้โดยปริยาย
การลักทรัพย์มิใช่ลักในเคหสถาน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2526 ผู้เสียหายมอบกุญแจบ้านและกุญแจห้องนอน
ให้จำเลยกับพวกเข้าไปเดินสายไฟในบ้าน ถือได้ว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องนอนด้วย
จำเลยลักสร้อยข้อมือ ในห้องนอนไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดา
มิใช่ลักทรัพย์ในเคหสถาน
และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดาได้ ผิด ม 334 ไม่ผิด ม 335 (8)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2193/2531 ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าซึ่งประชาชนย่อมจะเข้าไปได้
แม้จะเป็นเคหะสถานที่ผู้เสียหายใช้อยู่อาศัยด้วย แต่ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวันร้านค้ายังคงเปิดขายสินค้าอยู่
การที่จำเลยเข้าไปลักสุราและบุหรี่ จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหะสถาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา
335 (8)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7373/2538 (ตัวการร่วม เข้าไปลักโฉนดในบ้านของตัวการคนหนึ่ง เป็นเหตุลักษณะคดี ไม่ผิด
ม 335 (8)) ข้อสอบคัดเลือกผู้พิพากษา พ.ศ.2540) จำเลยที่ 1 คดีนี้ร่วมกับนาง ส.
กระทำการลักทรัพย์ เมื่อคดีก่อน ศาลวินิจฉัยคดีถึงที่สุดแล้วว่า นาง ส.
เข้าไปลักโฉนดที่ดินในบ้านของผู้เสียหายเพียงคนเดียว “ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนาง
ส. ด้วย” การกระทำของนาง ส.จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8)
เมื่อการกระทำของนาง ส. ซึ่งเป็นตัวการ ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 1
ซึ่งเป็นตัวการจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 335 (8) ด้วย
-
มาตรา 335 (9) ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณ
สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือสาธารณ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า
หรือในยวดยานสาธารณ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 71/2503
จำเลยบังอาจลอบเข้าไปลักทรัพย์ ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
เป็นการลักทรัพย์ในสาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้าตาม มาตรา 335 (9)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2508 (สบฎ เน 563) “ที่จอดรถสาธารณะ” ตาม ม 335 (9) นั้น
เป็นที่จอดรถที่สาธารณชนมีสิทธิจะนำรถของตนไปจอดได้ ส่วนที่ซึ่งมีป้ายให้รถประจำทาง
หยุดรับส่งผู้โดยสาร เป็นระยะๆ ไป ไม่ใช่ที่จอดรถสาธารณะตามกฎหมาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1926/2527 จำเลยทำร้าย ส.เนื่องจากทะเลาะโต้เถียงกัน
ไม่ใช่เป็นการทำร้ายเพื่อประสงค์จะเอาทรัพย์จาก ส.
จำเลยเพิ่งมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์ไปในตอนที่ ส.ใช้กระบอกตั๋วตีจำเลย
เมื่อจำเลยแย่งกระบอกตั๋วมาได้ ก็มิได้ขู่เข็ญจะประทุษร้าย
ส.แต่อย่างใดการกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นการชิงทรัพย์
แต่ผิดฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงบาดเจ็บตาม ป.อ.ม. 391 กระทงหนึ่ง และลักทรัพย์ตาม ม.
335 (1) (9) อีกระทงหนึ่ง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1084/2530 จำเลยยืนอยู่นอกรถยนต์โดยสารประจำทาง
ใช้กำลังประทุษร้ายดึงตัวผู้เสียหายให้ลงมาจากรถ แล้วบังคับเอาทรัพย์จากผู้เสียหาย
เช่นนี้การชิงทรัพย์ได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยใช้กำลังประทุษร้าย
ในขณะที่ผู้เสียหายยังอยู่บนรถ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน
ไม่ขาดตอนกับการบังคับเอาทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 339
วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 335 (9)
-
คำพิพากษาฎีกาที่
4284/2547 คำว่า "ศาลาการเปรียญ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
หมายถึง ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม ศาลาการเปรียญจึงหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตาม
ป.อ. มาตรา 335 (9) ด้วยไม่ พระยอดขุนพลของกลางที่จำเลยเข้าไปลัก ขณะเกิดเหตุติดอยู่ที่แผงบริเวณเสาของศาลาการเปรียญ
การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8)
-
มาตรา 335 (10) ทรัพย์ที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
-
มาตรา 335 (11) ทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง
หรืออยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 702/2497 จำเลยเป็นลูกจ้างตักน้ำคิดค่าจ้างเป็นรายหาบ
จำเลยอาจจะตักก็ได้ไม่ตักก็ได้ ไม่มีความสัมพันธ์ที่จะบังคับหรือว่ากล่าวกันในฐานะนายจ้างลูกจ้างได้เช่นนี้
แม้จำเลยจะได้ลักทรัพย์ของผู้จ้างไปในขณะตักน้ำให้
ก็ไม่เป็นผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 294 (5).
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 700/2503
เจ้าพนักงานของเทศบาลซึ่งมีหน้าที่เก็บเงินของเทศบาล
ลักใบเสร็จเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่อีกผู้หนึ่งไป
แล้วนำใบเสร็จนั้น ไปเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้า เอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว
ผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (11) กระทงหนึ่ง และปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 อีกกระทงหนึ่ง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 663/2519 แม้จำเลยจะพักนอนบนเรือนของผู้เสียหายระหว่างที่รับจ้างขุดมันสำปะหลังให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม
แต่ค่าจ้างที่ผู้เสียหายตกลงจ่าย
ให้แก่จำเลยคิดตามน้ำหนักมันสำปะหลังที่จำเลยขุดได้ซึ่งจะได้มากน้อยเท่าใด
แล้วแต่ความสมัครใจและ ความสามารถของจำเลย ผู้เสียหายหาได้กำหนดกฎเกณฑ์สั่งการและคุม
ให้จำเลยขุดให้ได้จำนวนมันสำปะหลังแน่นอนอย่างใดไม่
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลย ไม่ใช่อยู่ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกัน
เมื่อจำเลยลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์บุคคลธรรมดา
หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างตาม มาตรา 335( 11) ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2617/2529 จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วม ผิดตามมาตรา 335 (11) 2 กระทง และเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นใช้ตั๋วเงินปลอมและฉ้อโกงโจทก์ร่วม
สำหรับเช็คแต่ละฉบับ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4141/2530 จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายเอาบุหรี่ของผู้เสียหาย
ซึ่งเก็บไว้ที่ชั้นเก็บของบนชั้นที่ 5 ของร้าน
บรรจุลงในกล่องกระดาษสำหรับบรรจุข้าวเกรียบกุ้งปิดฝากล่องใช้กระดาษกาวปิดทับ แล้วนำไปวางไว้บนชั้นที่ 3
เพื่อเตรียมขนย้ายไปจากร้านผู้เสียหาย
เป็นการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2480/2535 จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย
มีหน้าที่ทำใบเบิกสินค้า จำเลยได้เขียนใบเบิกสินค้าตามใบสั่งซื้อจำนวน 5
รายการ และเบิกสินค้า
โดยไม่มีใบสั่งซื้อจำนวน 2 รายการ คือ จานเปล และโถ
แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองเอาจานเปล และโถดังกล่าวไป
เนื่องจากมีผู้มาพบสินค้าดังกล่าวเสียก่อน
ถือว่าเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แต่กระทำไปไม่ตลอด
จึงเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้าง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2966/2539 ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ มาตรา 335 (11)
วรรคแรก ขึ้นอยู่กับตัวทรัพย์ที่ลักว่าเป็นของนายจ้าง
หรืออยู่ในความครอบครองของนายจ้างหรือไม่ หาได้จำกัดว่าต้องเป็นการลักทรัพย์
ที่นายจ้างมอบหมายให้ถูกจ้าง ครอบครองดูแลรับผิดชอบเท่านั้นไม่
แม้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างจะไม่มีหน้าเกี่ยวกับทรัพย์ของกลางที่ลักไปจากคลังสินค้าของนายจ้างของจำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) วรรคแรก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5980-5981/2539 จำเลยที่ 2
มิได้เป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย แม้ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1
ลักทรัพย์ของผู้เสียหายในเวลากลางคืน ก็ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างด้วย
เพราะความเป็นลูกจ้างเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2
จึงมีความผิดตามมาตรา 335 (1) (7) วรรคสาม, 83 เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 316/2540 (หาไม่พบ) จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของ ส. ในใบคำขอใช้บริการบัตร
เอ.ที.เอ็ม. จำเลยลักบัตรนั้นรวมทั้งซองบรรจุรหัส
เพื่อใช้กับบัตรกรุงศรี เอ.ที.เอ็ม.
ในชื่อของ ส. ไป
ต่อจากนั้นจำเลยจึงได้นำบัตรกรุงศรี เอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าวไปถอนเงินของโจทก์ร่วมที่เป็นนายจ้างของจำเลยผิด
ป.อาญา ม 264 ว1 +268 ว 1 +335
(11) ว2 (ผิด 17 กรรม
บัตร 1 เงิน 16)
-
มาตรา 335 (12) ทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม
บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 892/2502
ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่
1 ตาม มาตรา 335 (12) นั้น
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ยังไม่สมบูรณ์ เพราะขาดองค์ความผิดที่ว่า เป็นโคของผู้มีอาชีพกสิกรรม
เพียงเขียนว่ามีไว้ประกอบกสิกรรม ยังไม่เพียงพอที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยที่
1 ตาม มาตรา 334 ชอบแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1733/2506 ฟ้องโจทก์บรรยายว่า
จำเลยลักห่านซึ่งเป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรมไป ไม่ได้กล่าวว่า
ห่านนั้นเป็นผลิตภัณฑ์หรือสัตว์อันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (12)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2560/2527
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยใช้มีดตัดฟันต้นมะพร้าวของผู้เสียหายจริงแต่ที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 359 นั้น วินิจฉัยว่าต้นมะพร้าวที่ถูกฟันปลูกอยู่ในสวนตามแนวเขตที่ดินของผู้เสียหายรวมกันต้นมะพร้าวอื่นเป็นแนวเดียวกัน
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายมีอาชีพอะไร และสวนของผู้เสียหายเป็นสวนมะพร้าวโดยเฉพาะหรือสวนไม้เบญจพรรณ
จึงฟังไม่ได้ว่าต้นมะพร้าวที่ถูกฟันนั้นเป็นพืชที่ปลูกในการกสิกรรมของผู้เสียหาย และวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า
ฟังไม่ได้ว่าจำเลยพยายามทำร้ายร่างกายเด็กหญิง ก.
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1083/2542
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักยางพาราซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกสิกรรมมิได้กล่าวในฟ้องว่าเป็น
ยางพาราของเจ้าของทรัพย์ผู้มีอาชีพกสิกรรม จึงขาดองค์ประกอบ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 335(12) ลงโทษตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 227/2544
เครื่องสูบน้ำที่ถูกจำเลยลักไปเป็นเครื่องมือเครื่องกลอันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมของผู้มีอาชีพกสิกรรม
เมื่อยังมีสภาพและรูปร่างเป็นเครื่องสูบน้ำอยู่ก็ต้องถือว่าเข้าหลักเกณฑ์แล้ว จะเสียหรือใช้การได้ไม่เป็นปัญหา
เพราะถ้าเสียก็ยังสามารถซ่อมแซมให้ดีได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) ไม่ได้กำหนดว่าการลักเครื่องมือเครื่องกลดังกล่าวจะต้องเป็นทรัพย์ที่ยังใช้การได้เท่านั้น
จำเลยจึงจะรับโทษหนักขึ้นตามบทบัญญัติดังกล่าว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6133/2544 ความผิดตาม
ปอ.ม.335(12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้วจะต้องได้ความอีกว่า
ทรัพย์ที่ถูกลักนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธ์ หรือสัตว์หรือเครื่องมือ อันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
หรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย เมื่อตามฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยลักไปเป็นผลิตภัณฑ์
หรือพืชพันธ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมหรือไม่
ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 335(12) ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1610/2546 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันลักมือหมุนเครื่องยนต์รถไถนา
1 อัน และนอตขันแท่นเครื่องยนต์ 3 ตัว
ของผู้เสียหายไป โดยเป็นการลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน ทรัพย์ที่ลักเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่ผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
และเป็นการกระทำผิดโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์ที่ถูกลักนั้นไป
จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดตาม ปอ.ม.335(1) (7) (วรรคสอง
ประกอบ ม.336 ทวิ โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรม
จึงลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ม.335 วรรคสาม ไม่ได้ / ข้อสังเกต กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูก เลี้ยงปศุสัตว์ ไม่หมายความรวมถึงการประมงหรือป่าไม้
ý
/ กสิกรรม ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง
การทำไร่ไถนา)
-
การระบุวรรค
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4641/2531 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม มาตรา 335
ตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไป เข้าองค์ประกอบของมาตรา 335 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวโดยไม่ได้ระบุวรรค
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาแก้ระบุวรรคให้ถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้นได้
แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ถึงปัญหานี้ เพราะมิได้เป็นการเพิ่มโทษจำเลยแต่อย่างใด
แต่ที่แก้เป็นมาตรา 335 วรรคสองนั้นยังไม่ถูกต้อง
ศาลฎีกาย่อมแก้ให้ถูกต้องเป็นมาตา 335 วรรคสามได้
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
-
(ขส พ 2500/ 6) ลูกจ้างเลี้ยงโค หิวจึงรีดนมโคทาน /
นมโคเป็นดอกผลที่ถือเอาได้เมื่อขาดจากตัวทรัพย์ แยกต่างหากจากแม่โค
ตาม ป.พ.พ. มาตรา
148 เมื่อรีดจากแม่โค แล้วเป็นการลักทรัพย์ (ลักทรัพย์นายจ้าง ตาม ม 335 (11))
-
มาตรา 335 (13)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1733/2506 ฟ้องโจทก์บรรยายว่า
จำเลยลักห่านซึ่งเป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรมไป ไม่ได้กล่าวว่า
ห่านนั้นเป็นผลิตภัณฑ์หรือสัตว์อันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงยังไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 (12)
-
มาตรา 335 วรรคท้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 501/2508 การกระทำผิดตามมาตรา 335 จะลงโทษตามมาตรา 334 ได้
มิใช่ทรัพย์มีราคาเล็กน้อยอย่างเดียว ผู้กระทำต้องกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทานเป็นหลักประกอบด้วย
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 335
-
(ขส พ 2529/ 6) ประชุมกัน 5 คนเพื่อปล้นทรัพย์
ม 210 ว 2 ฎ 116/2471 / มีดาบคนละเล่มไปที่บ้านเจ้าทรัพย์ ผิด ม 371 เข้าปล้นเวลากลางคืน
ผิด ม 364 + 365 (2) (3) +83 / ก ฟันกุญแจบ้าน เจตนาเดียวกัน
พวกปล้น ผิด ม 358 + 83 / ช่วยกันลากหีบเหล็ก แต่ติดโซ่
แล้วถูกตำรวจจับ ผิด ม 334+80 + 335 (1) (3) (7) (8) + 80 + 83 +335 ว 2 ฎ 237/2461
มาตรา 335 ทวิ
ผู้ใดลักทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูป
หรือวัตถุในทางศาสนา ถ้าทรัพย์นั้นเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน หรือเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป หรือวัตถุดังกล่าว
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาททถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก
ได้กระทำในวัด สำนักสงฆ์ สถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา โบราณสถานอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
สถานที่ราชการ หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1558/2509 เทวรูปนั้นไม่มีคุณค่าเป็นพิเศษ
จึงไม่ใช่สังหาริมทรัพย์อันมีค่าตาม มาตรา 355
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1142/2515 ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูปตาม
มาตรา 335 ทวิ จะต้องเป็นพระพุทธรูปที่เป็นสักการะบูชาของประชาชน
หรือเป็นพระพุทธรูปที่เป็นสมบัติของชาติ มิใช่พระพุทธรูปที่เป็นทรัพย์ส่วนบุคคล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักพระเครื่องยอดธงที่เป็นพระพุทธรูปอันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนและผู้เสียหาย
1 องค์ โดยล้วงเอาไปจากกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหายเหตุเกิดในบริเวณวัด
ขอให้ลงโทษตาม มาตรา 335ทวิ แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง
แต่ก็เห็นได้ว่าพระพุทธรูปนี้เป็นแต่พระเครื่องอันเป็นทรัพย์ส่วนตัวของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายใส่กระเป๋าเสื้อติดตัวไปเพราะนับถือว่า
เป็นพระเครื่องที่คุ้มครองป้องกันอันตรายแก่ตัวผู้เสียหายโดยเฉพาะ
ไม่อาจถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่สักการะบูชาของประชาชน
และแม้เหตุลักทรัพย์จะเกิดในบริเวณวัด
ก็ไม่เป็นการลักพระพุทธรูปที่สักการะบูชาของประชาชนในวัดเช่นกัน
จะลงโทษจำเลยตามมาตรา 335 ทวิ หาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2063/2515 ความในวรรค 2 ของมาตรา 335 ทวิ
นั้นสืบเนื่องมาจากความในวรรคแรก คือ ถ้าการลักทรัพย์ดังที่ระบุไว้ในวรรคแรกนั้น
กระทำในสถานที่ดังที่ระบุไว้ในวรรค 2 ผู้กระทำผิดจะต้องรับโทษหนักขึ้น “โบสถ์” เป็นอาคารสถานที่อันเป็นส่วนหนึ่งของวัด
หรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา ดังที่กล่าวไว้ในวรรค 2 มาตรา 335ทวิ
ไม่ใช่ทรัพย์ที่ระบุในวรรคแรก “ถ้วยเคลือบอย่างเก่า” ซึ่งฝังอยู่ที่ผนังโบสถ์
ไม่ใช่วัตถุในทางศาสนาซึ่งเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน คงเป็นแต่เพียงวัตถุซึ่งเป็นเครื่องประดับผนังโบสถ์
แม้จำเลยจะลักถ้วยเคลือบนี้ไปจากโบสถ์อันเป็นที่สักการะของประชาชน
ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1024/2518
พระพุทธรูปกับสิงห์สัมฤทธิ์ซึ่งขุดได้และเก็บรักษาไว้เอง มีเพื่อนบ้านมาบูชา
ไม่ใช่ทรัพย์ที่สักการะบูชาของประชาชนหรือสมบัติของชาติตาม ป.อ.มาตรา 335ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2382/2519 รูปพระฤาษีเดินดงที่จำเลยเอาไปนั้น
เก็บอยู่ในหีบบนกุฏิพระ ทางนำสืบไม่ปรากฏว่าเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน
หรือต้องเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติตาม มาตรา 335 ทวิ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา
339 ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 745/2520
ผงดินของขลังที่บรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพุทธรูปยิ่งขึ้น
ไม่ใช่วัตถุทางศาสนาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน
"คำว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป" ใน ป.อ. ม.335 ทวิ หมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างพระพุทธรูปเช่น
พระเศียร พระหัตถ์ พระกร และพระบาท
ซึ่งถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งถูกตัดหรือถูกทำลายย่อมทำให้พระพุทธรูป ขาดความสมบูรณ์
ผงดินของขลังที่บรรจุอยู่ในฐานองค์พระพุทธรูปไม่เป็นส่วนหนึ่ง ส่วนใดของพระพุทธรูป
จำเลยเจาะฐานพระพุทธรูปแล้วเอาผงดินของขลังไป ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1812/2527 พระพุทธรูปบูชา ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว
ตั้งไว้ที่มุมโต๊ะหมู่บูชา ในห้องของหอสวดมนต์
มิใช่ทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตาม ม.335 ทวิ วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยจะลักพระพุทธรูปนี้ในวัด ก็ไม่เป็นความผิด ตาม ม.335 ทวิ วรรคสอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2226/2531
เงินในตู้บริจาคของศาลเจ้าและเงินของผู้ดูแลศาลเจ้า แม้จะเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้า
ก็มิใช่วัตถุทางศาสนา การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ดังกล่าว จึงมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก และไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสองได้ ดังนั้น
การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา
340 ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2712/2532
จำเลยเพียงแต่ใช้รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะไปลัก
และบรรทุกเอาพระพุทธรูปไปจากวัดที่เกิดเหตุ ไม่ได้ใช้ในการลักพระพุทธรูปดังกล่าวโดยตรง
รถยนต์นั้นจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ / การนำพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่สักการบูชาของประชาชน
สืบมาแต่เดิมไปเก็บซ่อนไว้ เพื่อให้พ้นจากการโจรกรรม หาทำให้พระพุทธรูปนั้น พ้นจากการเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนสักการบูชาไม่
มาตรา 336 ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้
ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้
ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้
ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่บาทถึงสามหมื่นบาท
-
มาตรา 336 การฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
-
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
บัญญัติความหมายของคำว่า "ฉกฉวย" แปลว่า "ยื้อแย่งเอาไปต่อหน้า"
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 919/2503 จำเลยเข้าไปในร้านขอซื้อสุรา
เจ้าของร้านบอกว่าหมดเวลาแล้วขายไม่ได้ จำเลยพูดว่าไม่ขาย ก็เอาไปกินเฉย ๆ
จะทำอะไรเขา แล้วจำเลยหยิบขวดสุราออกจากร้านไปด้วย ดังนี้
เป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3624/2530 จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา
100 บาทเศษ แต่จำเลยกลับหยิบธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับ
จากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไป โดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์
ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย
แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลย มิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่ง
หรือเข้าใจผิด เพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร
การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า จำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
-
มาตรา 336 กรณีที่ไม่ถึงขั้นเป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1200/2481 ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ทรัพย์ต้องอยู่ใกล้ชิดเจ้าทรัพย์ จึงจะเป็นการฉกฉวยพาหนีไปต่อหน้า
กรณีที่ทรัพย์อยู่ห่างเจ้าทรัพย์ 5 วา เจ้าทรัพย์กำลังทำงานเพลินอยู่ได้ยินเสียงเหลียวไปดู
จำเลยก็คว้าห่อผ้าหนีไป ไม่ผิด ฐานวิ่งราวทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 893/2487 เข้าไปไนร้านแล้วเอาทรัพย์ไส่กะเป๋าเวลาเขาเหลียวไปทางอื่น
พอเขาเห็นร้องขึ้น ก็หนีไป ดังนี้ไม่เปนวิ่งราว เพราะไม่มีกิริยาฉกฉวย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 983/2487 คำว่าฉกฉวยตาม ม.297 หมายถึงกิริยาฉุกชักกะชากหยิบโดยรวดเร็วหรือฉับพลันทันที
/ หยิบทรัพย์ที่ลักในเวลาเจ้าของเผลอ พอเจ้าของรู้ตัวก็รับวิ่งหนีไปดังนี้
ขาดกิริยาฉกฉวยไม่เป็นวิ่งราวทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1704/2530 จำเลยขอดูนาฬิกาที่ผู้เสียหายใส่อยู่ เมื่อผู้เสียหายถอดให้จำเลย
จำเลยรับนาฬิกามาจากผู้เสียหายแล้ววิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาทรัพย์ผู้เสียหายไป
แต่เป็นการใช้อุบายให้ผู้เสียหายถอดนาฬิกาจากข้อมือส่งให้จำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
แต่เป็นการลักทรัพย์ด้วยการใช้อุบาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 334 Ø แม้โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
แต่การลักทรัพย์เป็นการกระทำอย่างหนึ่งซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองและรวมอยู่ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 10344/2550 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
“พิเคราะห์แล้ว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ จำเลยกับพวกอีกสองคนขับรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนไปจอดที่หน้าร้านค้าของนางสุณีผู้เสียหาย
แล้วจำเลยลงจากรถเข้าไปในร้านใช้อุบายขอซื้อกระดาษทิสชูและปลั๊กไฟฟ้า เมื่อนางสาวนิภาบุตรสาวเดินไปหยิบปลั๊กไฟฟ้านั้น
จำเลยเดินตามเข้าไปด้วย ขณะนางสาวนิภากำลังหยิบสินค้าและเผลอนั้น พวกของจำเลยอีกคนหนึ่งลงจากรถเข้าไปลักบุหรี่จำนวน
7 หีบ ราคา 1,918 บาท ซึ่งวางอยู่ในตู้หน้าร้านขึ้นรถหลบหนีไป
ส่วนจำเลยขึ้นรถไม่ทันและถูกผู้เสียหายกับพวกจับกุมไว้ได้ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า
จำเลยได้กระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์หรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยใช้อุบายเข้าไปขอซื้อสินค้า
เมื่อนางสาวนิภาไปหยิบสินค้าและเผลอ พวกของจำเลยลงจากรถลักบุหรี่ไปจากร้านค้าของผู้เสียหายนั้น
ได้ความว่านางสาวนิภาและนายวิษณุซึ่งอยู่ในร้านค้ามิได้รู้เห็น แสดงว่า พวกของจำเลยลอบลักหยิบเอาบุหรี่ไปโดยไม่ให้บุคคลในร้านเห็น
แม้ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในร้านตัดผมฟากถนนฝั่งตรงข้าม จะเห็นเหตุการณ์ขณะพวกของจำเลยลงจากรถเข้าไปลักบุหรี่ก็ตาม
แต่ก็ได้ความว่า ผู้เสียหายอยู่อีกฟากถนนและเห็นเหตุการณ์ในระยะห่าง 20 เมตร ตามแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุเอกสารหมาย จ.2 ลักษณะการกระทำดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าพวกของจำเลยเอาบุหรี่ของผู้เสียหายไปต่อหน้าผู้เสียหาย
การกระทำของพวกของจำเลยไม่เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”
-
มาตรา 336 ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ กับความผิดอื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1445/2530 จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า
การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) บทหนึ่ง
และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา
90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลย อัตราโทษขั้นสูงของมาตรา
335 (7) และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากัน คือจำคุกไม่เกิน 5 ปีแต่ตามมาตรา 335 (7)
มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปจึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335 (7)
เป็นบทลงโทษ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 476/2535 จำเลยที่ 3 วิ่งเข้ามาถามผู้เสียหายทั้งสองว่าเป็นนักศึกษาวิทยาลัย
ท.หรือไม่ ขณะเดียวกันจำเลยที่ 2 ใช้มีดสะปาต้า ฟันแขนซ้ายของผู้เสียหายที่ 1
บาดเจ็บและใช้มีดดังกล่าว จี้เอาเสื้อฝึกงาน 1 ตัว นาฬิกาข้อมือ 1 เรือนไป
ส่วนพวกของจำเลยทั้งสามขึ้นไปล้วงกระเป๋าใส่เงิน 1 ใบ พร้อมเงินสด 10 บาทไปและจำเลยที่
1 ขึ้นไปกระชากสร้อยคอทองคำ 1 เส้น จากคอผู้เสียหายที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 ที่
3 กระทำต่อผู้เสียหายคราวเดียวกัน แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ที่ 3
กับพวกไม่ได้สมรู้ร่วมคิด อันมีลักษณะประสงค์ต่อทรัพย์ผู้เสียหาย
เพียงแต่พวกของทั้งสามคนหนึ่งชวนให้ไปตีกับพวกนักศึกษาวิทยาลัย ท.
ลักษณะที่จำเลยที่ 3 แยกไปสอบถามผู้เสียหายทั้งสอง
น่าจะเป็นความคึกคะนองและพาลหาเรื่อง หาใช่เป็นการแบ่งหน้าที่กันกระทำ
เพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยที่ 1
กระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหายที่ 2 เป็นลักษณะที่ถือโอกาสเป็นส่วนตัวลำพังผู้เดียว
เจตนากระทำความผิดดังกล่าวการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม
ป.อ.มาตรา 336 วรรคแรก พวกของจำเลยทั้งสามถือโอกาสร่วมคิด จำเลยที่ 1 ที่ 2
ไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์ (หากฟังข้อเท็จจริงยุติดังนี้ จำเลยที่ ๒
ต้องผิดชิงทรัพย์)
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 336
-
(ขส เน 2514/ 6) เขียวจะซื้อตั๋วโดยสารรถไฟ
แดงจึงฝากเงินให้ช่วยซื้อตั๋วรถไฟ / เขียวรับเงิน แล้ววิ่งหนีไปต่อหน้า
/ เขียวผิด ม 335 (9) การครอบครองยังอยู่กับแดง
แต่ไม่ผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เพราะไม่ได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
-
(ขส พ 2515/ 7) ก ข ค แกล้งทิ้งสร้อยไว้ ง เก็บได้ ก
ข ค อ้างว่าเห็น ขอให้แบ่งกัน แต่ยอมให้สร้อยแก่ ง โดย ง ต้องให้นาฬิกาแลกเปลี่ยน
ข พูดพลางจับมือรูดนาฬิกา ง ไม่ยอม ข ค พูดให้คล้อยตาม ข รูดนาฬิกาสำเร็จ ก ข ค
วิ่งหนีไป ปรากฏว่าสร้อยเก๊ การรูดนาฬิกาไป เจ้าทรัพย์มิได้ปลดส่งให้ด้วยตนเอง
แสดงว่าเจ้าทรัพย์ไม่ยินยอม ผิด ม ๓๓๕ (๗) (ธงไม่ถึง ม ๓๓๖ , ๓๓๙)
-
(ขส พ 2522/ 7) พี่ชายจำเลยและนายแก่น
ด่าท้าทายและร้ายกัน แก่นท้าให้จำเลยยิง และชักเหล็กแหลมเดินเข้าใส่
จำเลยยิงถูกแก่นสาหัส ถูกแก้วตาย จำเลยเห็นสร้อยของแก่น จึงกระชากวิ่งหนีไป /
ไม่เป็นป้องกัน ม ๖๘ เพราะจำเลยสมัครใจเข้าร่วมเป็นฝ่ายพี่ชาย
และเตรียมตัวต่อสู้ ผิด ม ๒๘๘,๘๐ และการที่กระสุนถูกแก้ว ผิด
ม ๒๘๘ เป็นกรรมเดียว ม ๙๐ ฎ ๒๒๒/๒๕๑๓ / การเอาสร้อยไม่เป็นชิงทรัพย์ ม ๓๓๙ แต่ผิด ม ๓๓๖ เรียงกระทงตาม ม ๙๑ ฎ
๑๖๒๖/๒๕๐๐
มาตรา 336 ทวิ
ผู้ใดกระทำความผิดตาม
มาตรา 334 มาตรา 335 มาตรา 335 ทวิ หรือมาตรา 336 โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด
หรือโดยใช้ยานพาหนะ เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม
ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง
-
มาตรา 336 ทวิ กรณีเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ต้องดูเจตนาเป็นสำคัญ
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2546
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยมีเจตนาจะลักเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่วางอยู่ในรถที่จำเลยขับอยู่ก่อนแล้ว
โดยใช้อุบายหลอกผู้เสียหายให้ลงจากรถไปซื้อน้ำอัดลม แล้วถือโอกาสขับรถซึ่งมีกระเป๋าสะพายใส่เงินและกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้เสียหายหนีไป
จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะใช้รถเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม
จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามมาตรา 336 ทวิ คงผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา
334
-
มาตรา 336 ทวิ กรณีเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 393/2520 ม.ดึงสร้อยคอของ ป.
ป.รู้ตัวก่อนได้จับสายสร้อยไว้สายสร้อย ขาดติดมือ ป.อยู่ ม.เอาไปไม่ได้
ม.วิ่งหนีไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยติดเครื่องจอดรถอยู่เยื้องที่เกิดเหตุขับหนีไป
เป็นแผนการณ์ที่จำเลยกับ ม.ร่วมกันวางไว้ เป็นตัวการพยายามวิ่งราวทรัพย์
โดยใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะ ตาม ป.อ. ม.80, 336, 336 ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2534/2527 จำเลยขี่รถจักรยานสองล้อเข้าไปในมหาวิทยาลัย
เพื่อลักรถจักรยานสองล้อของผู้เสียหาย
รถจักรยานสองล้อที่จำเลยใช้ขี่ไปย่อมเป็นยานพาหนะที่ให้ความสะดวก
แก่จำเลยในการกระทำผิด และหลังจากพวกของจำเลยนำรถจักรยานสองล้อ
ของผู้เสียหายขี่หนีไปแล้ว จำเลยได้ขี่รถจักรยานสองล้อที่ขี่มาหลบหนีไปด้วย
เป็นการใช้ยานพาหนะหลบหนีไป เพื่อให้พ้นการจับกุม จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.336
ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2966/2539
การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ
ดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นสำคัญว่าต้องการใช้ยานพาหนะ เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด
หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับคุมหรือไม่
ส่วนยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดจะเป็นของผู้ใด หาใช่ข้อสำคัญไม่
-
มาตรา 336 ทวิ กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3985/2530 จำเลยที่ 2 ขับรถสามล้อเครื่องพาจำเลยที่ 1
มายังที่เกิดเหตุขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังลักทรัพย์ในร้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2
จอดรถอยู่บริเวณหน้าร้านผู้เสียหายห่างประมาณ 6-7 เมตรและนั่งอยู่เฉย ๆ
ข้างรถสามล้อเครื่องมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเอาทรัพย์ผู้เสียหายไป
มิได้คอยดูต้นทางให้จำเลยที่ 1 หรือให้ความร่วมมือ โดยใกล้ชิดกับการที่จำเลยที่ 1
ลักทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 เพียงแต่รอคอยอยู่เพื่อจะขับรถพาจำเลยที่ 1
ออกไปจากที่เกิดเหตุ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2
ได้กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนและขณะกระทำผิด จำเลยที่ 2
จึงไม่เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์
แต่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด / จำเลยที่ 2
เพียงแต่ขับรถสามล้อเครื่องมาส่งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1
ลักทรัพย์ผู้เสียหาย ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1
ได้ใช้รถสามล้อเครื่องดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ พาทรัพย์ไป
หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 336 ทวิ
คงมีความผิดตามมาตรา 335 วรรคสามเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1492-4/2532 (สบฎ เน 98) จำเลยกับพวก ไปลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
โดยเพียงแต่นำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างจากบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร
เมื่อลักทรัพย์เสร็จได้กลับไปที่รถจักรยานยนต์ แบ่งทรัพย์กัน แล้วก็นั่งรถจักรยานยนต์หลบหนีไป
กรณียังฟังไม่ได้ว่าเป็นการใช้รถจักรยานยนต์ เพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไป
ตามมาตรา 336 ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 435/2536 จำเลยขับรถยนต์บรรทุกออกนอกเส้นทางหลบไปที่อื่น
เพื่อประสงค์จะลักโทรทัศน์สีของผู้เสียหาย
แต่เมื่อจำเลยมีหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกขนส่ง
และลักเอาโทรทัศน์สีที่บรรทุกอยู่บนรถนั้นเอง การกระทำของจำเลยจึง มิใช่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ
เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 336 ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5457/2541 กระดาษดราฟท์ที่จำเลยกับพวกลักนั้น
ได้บรรทุกอยู่บนรถพ่วงซึ่งถูกลากจูงโดยรถบรรทุก เพื่อขนส่งไปยังสถานที่ขนส่งถ่ายอยู่ก่อนแล้ว
จำเลยกับ ฉ. ร่วมกันลักกระดาษดราฟท์โดยใช้รถข้างต้น
ซึ่งบรรทุกกระดาษดราฟท์มาแต่แรก และ ฉ. เป็นลูกจ้างผู้มีหน้าที่ขับรถคันดังกล่าว
จึงไม่ใช่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ
เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336
ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7007/2543 จำเลยนำรถจักรยานยนต์เคลื่อนออกมาจากคอกเก็บรถหลังจากตัดต่อสายไฟสายตรงของสวิสต์กุญแจปิดเปิดเครื่องยนต์แล้ว
โดยนำห่างออกมาจากคอกเก็บประมาณ 3 เมตร เข้าองค์ประกอบคำว่า
"เอาทรัพย์ไป" แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
Ø คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น
คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป
หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
336 ทวิ
-
มาตรา 336 ทวิ ประเด็นเรื่องการริบยานพาหนะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2224/2533 จำเลยที่ 2 เพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์ของกลาง
เป็นพาหนะไปส่งจำเลยที่ 1 เพื่อลักทรัพย์ของผู้เสียหายเท่านั้น
หาได้ใช้พาหนะดังกล่าวในการลักทรัพย์โดยตรงไม่
รถจักรยานยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึงริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5014/2542 (สบฎ สต 99) การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน
ซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
นั้นมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินฅที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้น
ๆ โดยตรง
คือทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดผิด การที่จำเลยใช้รถยนต์กระบะของกลาง
เป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ การพาทรัพย์นั้นไป
และเพื่อให้พ้นการจับกุม แต่ก็มิได้ความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์กระบะดังกล่าว
เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์
อันจะให้ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้กระทำความผิด แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก, 336 ทวิ ก็ตาม แต่ตามมาตรา 336 ทวิ
ก็เป็นเพียงบทบัญญัติให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (1)
วรรคสองหนักขึ้น เพราะเหตุที่จำเลยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะ
เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือพาเอาทรัพย์
หรือเพื่อให้จำเลยพ้นจากการจับกุมเท่านั้น รถยนต์กระบะของกลาง
จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง ศาลริบไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น