ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรา ๙๐ - ๙๑

หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบท หรือหลายกระทง มาตรา 90 – 91

มาตรา 90 เมื่อการกระทำใดอันเป็น กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด

มาตรา 91 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้

(1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี

(2) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี แต่ไม่เกินสิบปี

(3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

- สรุปกรณีการใช้ มาตรา 90 (อ เกียรติขจร หนังสือรพี 38 เนติฯ หน้า 79)

- การกระทำกรรมเดียวซึ่งเป็นความผิดตาม บทเฉพาะและ บททั่วไปให้ลงโทษตาม บทเฉพาะไม่ต้องคำนึงถึงโทษ โดยไม่นำหลักในมาตรา 90 มาใช้ ซึ่งการผิดบทเฉพาะ ย่อมผิดในบททั่วไปด้วย แต่เมื่อปรับบทเฉพาะแล้ว ไม่ต้องปรับบททั่วไปอีก

- การกระทำกรรมเดียว ตาม บทฉกรรจ์และ บทธรรมดาให้ลงโทษตาม บทฉกรรจ์โดยไม่นำหลักในมาตรา 90 มาใช้

- การกระทำกรรมเดียว ซึ่งเป็นความผิดหลายมาตรา อันไม่ใช่เรื่อง บทเฉพาะและ บททั่วไปหรือ บทฉกรรจ์และ บทธรรมดาจึงให้นำหลักในมาตรา 90 มาใช้

- ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อาศัยหลักดังต่อไปนี้

- กฎหมายประสงค์ให้ลงโทษตามบทเฉพาะเท่านั้น

- หากไม่ลงโทษตาม บทเฉพาะแล้ว บทเฉพาะจะไม่มีที่ใช้ได้เลย ในกรณีที่โทษตาม บทเฉพาะนั้นโทษเบากว่า บททั่วไป” (เช่น กรณีปลอมตั๋วโดยสารรถไฟ ซึ่งผิด มาตรา 258 อันเป็น บทเฉพาะและมีโทษเบากว่า มาตรา 265 อันเป็น บททั่วไป”)

- มีหลักทั่วไปว่า บทบัญญัติเฉพาะย่อมยกเว้น บทบัญญัติทั่วไป

- การลงโทษตาม บทเฉพาะซึ่งอาจมีโทษเบากว่า บททั่วไป” (เช่น กรณีมาตรา 258 อันมีโทษเบากว่า มาตรา 265 นั้น) คงไม่ขัดต่อ มาตรา 90 เพราะถือว่าเป็นกรณีที่เข้าตาม มาตรา 17 ที่มิให้นำ มาตรา 90 ซึ่งเป็น บทบัญญัติในภาค 1ไปปรับใช้กับกรณีของเรื่อง บทเฉพาะและ บททั่วไป

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1618/2499 การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกะทงหรือเป็นความผิดกะทงเดียวแต่ต้องด้วย ก..หลายบท มีหลักวินิจฉัยดังนี้คือ ถ้าการกระทำใดเป็นความผิดต้องด้วย ก..หลายบทแล้ว จะแยกการกระทำนั้นออกจากกันไม่ได้ ก็เป็นความผิดที่ต้องด้วย ก..หลายบท แต่ถ้า ก..บัญญัติการกระทำเป็นความผิดไว้คนละอย่างต่างกัน เช่น ลักทรัพย์กับทำร้ายร่างกายหรือทำร้ายร่างกายกับบุกรุก ดังนี้ ผู้ที่กระทำผิดทั้งสองอย่างก็ต้องเป็นความผิด 2 กะทงไม่ใช่ต้องด้วย ก..หลายบท เพราะต่างกรรมต่างวาระกัน / การที่จำเลยที่ 1 ทำผิดทั้งบุกรุกและพยายามฆ่าคน เป็นความผิด 2 ฐาน ไม่ใช่เป็นการกระทำเพียงอย่างเดียวจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดเป็นสองกะทง คือฐานบุกรุกกะทงหนึ่ง และฐานพยายามฆ่าคนอีกกะทงหนึ่ง แต่ถ้าความผิดอาญานั้นเกี่ยวเนื่องกันศาลอาจใช้ดุลยพินิจ รวมกะทงลงโทษจำเลยได้

- มาตรา 91 ความผิดหลายกรรม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1924/2527 คำว่า "อัตราโทษ" ตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราต่าง ๆ ของ ป.อ. ม. 91 ที่แก้ไขโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 นั้น หมายถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หาได้หมายถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงที่ศาลลงแก่จำเลยไม่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3614/2527 การกระทำครั้งเดียว ถ้าหากผู้กระทำมีเจตนาจะให้เกิดผลเป็นหลายกรรม ก็ย่อมถือเป็นความผิดหลายกรรมได้ จำเลยมีเจตนาใช้รถผิดประเภทตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ม.128 กรรมหนึ่ง และมีเจตนากระทำความผิดฐานแย่งผลประโยชน์กับบริษัท ข.ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางอนุญาตตาม ม.138 อีกกรรมหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกันในลักษณะของความผิดอย่างเห็นได้ชัด จำเลยจึงมีความผิด 2 กระทง

- มาตรา 91 (3) คำว่า "เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต"

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1919/2530 ตาม มาตรา 91 อนุมาตรา 3 นั้นศาลจะลงโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงรวมกันเกิน 50 ปีไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า "เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น" หมายความว่าหากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวม ศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทกระทงหนึ่ง และมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่ง ศาลลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทหนักให้จำคุกตลอดชีวิต และฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตให้จำคุก 2 ปี ดังนี้ เมื่อศาลลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นจำคุก 25 ปี และลงโทษฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 1 ปีแล้ว ศาลรวมโทษทั้งสองกระทงเป็นจำคุกจำเลย 26 ปีได้

& ประเด็นเปรียบเทียบ การนับโทษต่อ

Ø คดีสองสำนวน เกี่ยวพันกัน อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ (ปวิอ ม 24) เมื่อโจทก์แยกฟ้องและศาลไม่รวมสำนวน หากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ ตาม ม 91 (2) ในสำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่อาจนับโทษต่อจากอีกสำนวนหนึ่งได้ ฎ 2355/2539

Ø คดีสองสำนวน ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องและศาลไม่รวมสำนวน ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำคุก นับโทษต่อจากอีกสำนวนหนึ่งได้ เกินกว่า 20 ปี ได้ ฎ 85-87/2536

- มาตรา 91 การจำกัดโทษจำคุก คดีที่เกี่ยวพันกัน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 831 ถึง 1450/2528 กรณีที่ความผิดของจำเลย ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อกับคดี 620 สำนวนที่ศาลสั่งรวมการพิจารณาและกำลังพิจารณาอยู่ เป็นความผิดเกี่ยวพันกัน และความผิดทุกสำนวนปรากฏต่อพนักงานสอบสวนก่อนโจทก์ฟ้องคดีแรกแล้ว เห็นได้ว่าโจทก์อาจฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันก็ได้ แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลก็จะลงโทษจำคุกจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตาม ป.อ. ม.91 ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะแยกฟ้องคดี 620 สำนวน เป็นรายสำนวนซึ่งศาลสั่งรวมการพิจารณาแล้ว โดยมิได้สั่งรวมการพิจารณากับคดีที่ขอให้นับโทษต่อ เมื่อศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลย เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ม.91 แล้ว ศาลก็จะนับโทษจำเลยต่ออีกไม่ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1220/2530 การที่จะนับโทษจำคุกจำเลยต่อกับโทษจำคุกในคดีอื่นหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล แม้ในคดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุก 50 ปี ก็ตาม หากศาลเห็นสมควร ก็อาจสั่งนับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอื่นอีกก็ได้ ไม่ขัดต่อ มาตรา 91 / กรณีที่ความผิดกระทงหนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป แม้มาตรา 91 (3) จะกำหนดไว้ว่าเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกต้องไม่เกิน 50 ปี ก็ตาม แต่ก็มีบทบัญญัติยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับ สำหรับกรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม มาตรา 289 ให้ประหารชีวิต ฐานมีอาวุธและเครื่องกระสุนปืนในครอบครอง จำคุก 1 ปีฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม มาตรา 78 แล้ว ให้จำคุกตลอดชีวิต และจำคุก 1 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี แต่คงให้จำคุกเพียง 50 ปีจึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็ไม่อาจแก้ไขให้เป็นผลร้ายแก่จำเลย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6116/2534 บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) หมายความว่ากรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปีเว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า "เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวม ศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้ สำหรับความผิดกระทงแรกของจำเลยที่ 2 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นนั้น ศาลได้วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต แต่เมื่อมีการลดโทษให้จำเลยที่ 2 แล้ว คงเหลือโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เพียง 40 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษ ในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 2 เป็นจำคุกทั้งสิ้น 41 ปี 7 เดือน 6 วัน ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5124/2537 ป.อ. มาตรา 91 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าไม่ว่ากรณีใด ๆ โทษจำคุกทั้งสิ้น จะต้องไม่มากกว่าจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น หาได้ระบุว่า เมื่อมีโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ห้ามมิให้มีโทษปรับด้วยไม่ ฉะนั้น ที่ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยตลอดชีวิตโดยให้ปรับ 1,000 บาท ด้วย จึงชอบแล้ว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2355/2539 ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 5 ในคดีก่อนคดีทั้งสองมีความเกี่ยวพันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อ โดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดี หากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (2) ในสำนวนใดสำนวนหนึ่งแล้วก็ไม่อาจนับโทษต่อในอีกสำนวนหนึ่งได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนด / แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษจำเลยต่อรวมแล้วเกิน 20 ปี ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นก็ย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่เป็นไม่นับโทษต่อได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาแต่อย่างใดเพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

- มาตรา 91 คดีไม่เกี่ยวพันกัน ไม่จำกัดกำหนดเวลาจำคุก ตามมาตรา 91

- คำพิพากษาฎีกาที่ 85-87/2536 มาตรา 91 (2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปี นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลย ในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรม แต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่การเกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 (2) เช่นเดียวกันดังนั้น / เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหลายสำนวนนั้น เป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน หรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีแต่ละสำนวนซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี ติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1365/2536 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังกับได้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด โดยให้นับโทษต่อจากโทษของ จำเลยทั้ง 5 คดี รวมแล้วเกิน 20 ปี จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 91 (2) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่เป็น ให้นับโทษต่อจาก โทษของจำเลยทั้ง 5 คดีแล้วโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปีได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงแก้ไข หมายจำคุกที่ไม่ถูกต้องให้ถูกต้องได้ การที่จะนับโทษจำคุกต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นนั้นเป็น การกระทำความผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้ จนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียว กันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อผู้เสียหายทั้ง 5 คดีดังกล่าว ไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้เสียหายในคดีนี้พยานหลักฐานทั้ง 5 คดี ก็ไม่ใช่พยาน หลักฐานชุดเดียวกันกับคดีนี้ ทั้ง 5 คดีไม่เกี่ยวพันกับคดีนี้จนอาจจะฟ้องเป็นคดี เดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับเป็นโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยทั้ง 5 คดีดังกล่าวโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นเกิน 20 ปีได้ กรณี ไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 91 (2)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1513/2537 ป.อ. มาตรา 91 (3) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรม และถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี และเป็นคดีที่เกี่ยวพันกัน จนศาลได้มีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน คดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน หรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน กรณีจึงจะอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 91 (3) คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 รวม 8 คดี และฟ้องจำเลยที่ 2 รวม 9 คดีนั้น แต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกัน เป็นคดีไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกิน 50 ปีได้ ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 91 (3)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4656/2540 บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 91 ใช้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาอันเดียวกัน ในคำฟ้องคดีเดียวที่รวมเอาความผิดหลายกระทงไว้ด้วยกันตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 หรือคำฟ้องหลายคดีที่พิจารณาพิพากษารวมกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 25 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ก็ให้ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป โดยมีข้อยกเว้นว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้น ต้องไม่เกินกำหนดตามที่ระบุไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 วรรคท้าย þ ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่าการนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่ง ต่อจากคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้อง และคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป เมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ þ ซึ่งการขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่ง ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในคำพิพากษาเกี่ยวกับการ เริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่า จะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับโทษต่อหรือไม่เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3072/2541 ป.อ. มาตรา 91 (2) ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดยี่สิบปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกัน โดยอาจถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือแยกฟ้องเป็นหลายคดี สำหรับคดีของจำเลยทั้ง 11 คดี ซึ่งเป็นคดีที่จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ 10 คดี และฐานรับของโจร 1 คดีนั้น เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหาก โดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ทั้งไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาทั้ง 11 คดี ติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3558/2543 การรวมโทษของจำเลยทุกคดีแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 20 ปีตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) นั้นจะต้องปรากฏว่าการกระทำผิดของจำเลยทุกคดีมีลักษณะที่เกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160วรรคหนึ่ง หรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อปรากฏว่าคดีทั้งสามคดีที่จำเลยขอให้รวมโทษดังกล่าวเป็นคดีที่มีวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุต่างกันอยู่ในอำนาจศาลต่างกัน และพยานหลักฐานก็เป็นคนละชุดกัน การกระทำผิดของจำเลยทั้งสามคดีจึงไม่ได้เกี่ยวพันกัน จนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ แต่เป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 91 (2) แห่ง ป.อ. จึงไม่อาจรวมโทษของจำเลยทั้งสามคดีดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้ว คงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปี


- บทเฉพาะและบททั่วไป

- (“บททั่วหมายถึง เรื่องที่มีองค์ประกอบกว้างขวาง ครอบคลุม องค์ประกอบของ บทเฉพาะเช่น ม 172 คลอบคลุม ม 173 และ ม 157 คลอบคลุม ม 149 , 161 2159/2518 / ส่วนกรณีอยู่คนละ หมวดไม่ใช่บทเฉพาะและบททั่วไป ฎ 929/2537)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1907/2517 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเข้าไปในบ้านอันเป็น อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ เพื่อถือการครอบครองบ้านนั้น การกระทำของ จำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา 362 กรณีไม่จำต้อง ปรับบทด้วยมาตรา 364 อีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2159/2518 นายสิบตำรวจพบกัญชาที่ ว.แต่เรียกเอาเงินจาก ว.เพื่อไม่จับดำเนินคดี เป็นการรับสินบนตาม ม.149 ไม่ใช่ ม.148 เช่นแกล้งจับโดย ไม่มีความผิด ทั้ง ไม่ต้องปรับด้วย ม.157” ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก แต่ ยังไม่เป็นการคุมขัง ไม่ผิด ม.204

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1561/2525 จำเลยเป็นตำรวจประจำการกองร้อย มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาและมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ในเมื่อเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้ที่เกิดเหตุจะเป็นที่รโหฐาน การที่จำเลยไปพบ จ. กับพวกกำลังเล่นการพนันในห้องชั้นบนบ้าน อันเป็นที่รโหฐานและจับกุม จ. กับพวกในข้อหาดังกล่าว ย่อมเรียกได้ว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ เมื่อจำเลยเรียกและรับเงินจาก จ. แล้วปล่อยตัว จ. กับพวกโดยไม่ส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.149 / เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตาม ม.157 มาด้วย ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วย ม.157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 929/2537 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน ช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ เป็นความผิด ตาม ป.. มาตรา 200 วรรคแรก และมาตรา 157 ด้วย การกระทำ ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1088/2536 จำเลยมิได้แลกเช็คจาก ศ. เพียงแต่รับสมอ้าง จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรง โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิด เพราะโจทก์มิได้ลงวันที่สั่งจ่าย เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ อันจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง / เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

- บทธรรมดากับ บทฉกรรจ์

- (“บทฉกรรจ์หรือ เหตุฉกรรจ์หรือเหตุที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น เป็นเรื่องของ ข้อเท็จจริงซึ่งผู้กระทำผิดจะรับโทษหนักขึ้น เมื่อรู้ข้อเท็จจริงนั้น ตาม มาตรา 62 วรรค 3)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 627/2515 ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม มาตรา 172 , 173 , 174 เมื่อได้ความว่าจำเลยรู้ว่า มิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่แจ้งว่าได้ มีการกระทำผิดเกิดขึ้น ต้องลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 174 มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวเป็นความ ผิดต่อกฎหมายหลายบท

- บทเบากับ ผลที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น

- (ผลของการกระทำความผิด ที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น เป็นเรื่องของ ผลการกระทำไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำผิดจะต้องรู้ หรือคาดเห็นได้ ก็รับโทษหนักขึ้นได้ แต่ต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาเกิดขึ้นได้ ตาม มาตรา 63)

- บทธรรมดากับ บทหนักตาม ม 90”

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1937/2522 ยิง 4-5 นัด เจตนาฆ่า ก. กระสุนถูก ก. ตาย ถูก ส.อันตรายสาหัส เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.288 กับ ม.288,80 อีกบทหนึ่ง คำพิพากษาต้องอ้างความผิดทั้ง 2 บท ให้ลงโทษตาม ม.288 บทหนัก


- การปรับบทความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1730/2506 จำเลยฉุดคร่าผู้เสียหายจากทางเดิน นำเข้าป่าข้างทางห่างทางเดิน 7-8 วา แล้วร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในป่านั้นเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน / มาตรา 281 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ไม่ใช่บทลงโทษ ไม่จำต้องยกขึ้นปรับบทลงโทษจำเลย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2512 มาตรา 91 เป็นเรื่องกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะลงโทษผู้กระทำผิดทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป หรือจะลงโทษเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดก็ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 476/2515 การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์จึงเป็นเหตุฉกรรจ์ของความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อาญา มาตรา 289 (7),80 แล้ว ศาลไม่จำต้องปรับบทว่าผิดฐานชิงทรัพย์ด้วย แต่ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ ราคาทรัพย์ให้แก่ผู้เสียหายได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1867/2517 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกใช้อาวุธปืนยิง ส.ได้รับอันตรายสาหัส โดยมีเจตนาฆ่า ตาม มาตรา 288, 80, 297 จำเลยกระทำโดยมีเจตนาฆ่า ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 288,80 บทเดียว ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 297 อีกบทหนึ่งด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1156/2517 เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) เพราะเป็นการบุกรุกซึ่งมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกระทำผิดด้วยกันแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 362 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับความผิดฐานบุกรุกอันไม่มีเหตุฉกรรจ์อีกบทหนึ่งด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1365/2522 (สบฎ เน 5872) มาตรา 268 ต้องลงโทษตาม มาตรา 264 - 267 คำพิพากษาต้องระบุ มาตรา 268 ประกอบมาตรา มาตรา 264-2677

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1835/2522 (สบฎ เน 5873) มาตรา 340 ตรี เป็นเหตุรับโทษหนัก ไม่ใช่ความผิดต่างหาก ลงโทษ มาตรา 340 ตรี บทหนักไม่ได้ ต้องลง มาตรา 340 + 340 ตรี

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2304/2523 ศ. และจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองฟ้องร้องกันเรื่องเครื่องหมายการค้า จำเลยแจ้งนำกำลังตำรวจมาตรวจค้นบ้าน ศ. แล้วจำเลยรื้อค้นของภายในบ้าน โดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจค้นมิได้มอบหมายให้ช่วยเหลือ การกระทำของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ศ. ออกปากไล่ จำเลยก็ไม่ยอมออกไป ถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ ศ. โดยปกติสุข จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก ศาลลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 365 ไม่ต้องอ้าง มาตรา 362

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3170/2527 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เมื่อจำเลยผิดตาม มาตรา 359 แล้ว ก็ไม่จำต้องยก มาตรา 358 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3650/2527 ความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยมีความผิดตาม มาตรา 335 แล้ว ก็ไม่จำต้องยก มาตรา 334 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4473/2528 เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องยก มาตรา 364 ซึ่งเป็นบททั่วไปขึ้นปรับบทลงโทษอีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2091/2530 เมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 แล้ว ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 288 อีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 134/2531 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ฐานฉ้อโกงประชาชน โดยอ้าง มาตรา 341, 343 เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 343 แล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 341 อีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1866/2531 การที่ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยมีอาวุธติดตัวและใช้ยานพาหนะในการกระทำผิดโดยไม่ระบุวรรคในมาตราที่จำเลยกระทำผิด และใช้คำว่าเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 340 ตรี เป็นบทกำหนดโทษ ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง,83, 340 ตรี

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2084/2531 การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคแรกด้วยหาได้ไม่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2531 กรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แม้ความผิดบางกระทงจะมีโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลก็ต้องกำหนดโทษความผิดกระทงอื่นไว้ด้วย แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) การลงโทษจำคุก ตลอดชีวิตเพียงกระทงเดียว โดยไม่กำหนดโทษกระทงอื่นอีก หาชอบไม่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2356/2535 เมื่อจำเลยมีความผิดตามมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ศาลจึงไม่ต้องระบุมาตรา 264 ในคำพิพากษาอีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4788/2538 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่ 2มีความผิดตามมาตรา 288 อีกบทหนึ่ง ให้ลงโทษตามมาตรา 288 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 20 ปี โดยแก้ไขทั้งบทและโทษเป็นการแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง / โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายโดยเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 288,83 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กับพวกทำร้ายผู้ตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าจึงลงโทษตามมาตรา 290 วรรคแรก หากศาลอุทธรณ์ภาค 3ฟังว่าจำเลยที่ 2 ทำร้ายผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่า ก็ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา288,83 ตามฟ้องเพียงบทเดียว จะพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 288, 83 อีกบทหนึ่ง และลงโทษตามบทนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดไม่ได้ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1325/2542 จำเลยมีความผิดตาม ป.. มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสองตอนท้าย + 289 (4)

- เปรียบเทียบการใช้ ม 90 กับ ม 91

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2512 (สบฎ เน 2090) ปอ ม 91 เป็นเรื่องหลายกรรมต่างกัน ศาลจะลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด "หรือลงโทษเฉพาะกระทงที่หนักสุดก็ได้" จำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรอง และพยายามฆ่าผู้เสียหาย ผิดหลายกรรม


- ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1279/2519 การที่จำเลยร่วมกันปลอมบัตรประจำตัวประชาชน และปลอมตั๋วแลกเงินในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2518 ถึงวันที่ 5 เมษายน 2518 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อาญา มาตรา 265, 266, 91 แต่จำเลยร่วมกันนำบัตรประจำตัวประชาชนและตั๋วแลกเงินที่ปลอมขึ้นนั้นไปใช้ด้วย จึงต้องลงโทษแต่ละกระทงฐานใช้กระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรค 2 และเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 342 ต้องลงโทษฐานใช้ตั๋วแลกเงินปลอมอันเป็นบทหนัก ตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266, 90

- คำพิพากษาฎีกาที่ 100/2523 จำเลยปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม เพื่อช่วยเหลือคนต่างด้าวให้มีบัตรประจำตัวเช่นเดี่ยวกับคนสัญชาติไทย การกระทำดังกล่าวนี้เป็นความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเพื่อมิให้ต้องถูกจับกุม ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 ม.63 อีกบทหนึ่ง เป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.ม.90 ลงโทษตาม ม.265

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2178/2524 การที่จำเลยปลอมเอกสาร และใช้เอกสารที่ทำปลอมขึ้น ก็เพื่อใช้ในการยักยอกเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปในคราวเดียวกัน ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน แต่มีความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.ม.90 แต่เมื่อจำเลยได้ทำปลอมเอกสารและใช้เอกสารที่ปลอมเพื่อใช้ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม 22 ครั้ง มีจำนวนถึง 22 ฉบับ การกระทำของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. ม.91

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3470/2525 จำเลยเป็นคนต่างด้าว แม้จะเคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ก็หาใช่ข้ออ้างที่จะนำมาใช้ เพื่อขอให้มีการทำบัตรใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุ ซึ่งได้มาโดยไม่ถูกต้องและฝ่าฝืนกฎหมายนั้นไม่ การอ้างสัญชาติของจำเลยต่อนายทะเบียนในครั้งก่อนและครั้งหลัง แม้จะเป็นการอ้าง และนำหลักฐานแสดงความเป็นสัญชาติไทย อันเป็นเท็จในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้าง และนำหลักฐานแสดงเท็จต่อนายทะเบียน คนละเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาใหม่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1447/2531 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่ตามฟ้องได้ความว่าจำเลยปลอมลายมือชื่อของ ก.ลงในแบบฟอร์ม แล้วรับเอาสมุดรายงานประจำตัว นักศึกษาและคู่มือสำหรับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ที่ ก.มีสิทธิจะรับไปเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์จะเอาสมุดรายงานประจำตัวและคู่มือนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ของโรงพยาบาลศิริราชไปเป็นข้อสำคัญ การลงลายมือชื่อของจำเลยเป็นเพียงการใช้กลอุบายแสดงตัวว่าจำเลยเป็น ก. เพื่อเป็นหลักฐานในการเอาทรัพย์ไปเท่านั้น การกระทำของจำเลย จึงเป็นกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2358/2533 การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267, 268 นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 และมาตรา 268 ซึ่งเกิดจากการกระทำผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอม แต่เนื่องจากมาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไร คงให้นำอัตราโทษตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ซึ่งแล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้หรืออ้างนั้น เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราหนึ่งมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในกรณีเช่นนี้ หากจะมีการลงโทษตามมาตรา 268 ก็จะต้องนำเอาอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 265 มาใช้เป็นโทษของมาตรา 268 เพราะโจทก์ได้กล่าวอ้างมาในฟ้องด้วยว่า จำเลยได้ใช้หรืออ้างเอกสารอันเป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยได้ปลอมขึ้น เมื่อมาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3355/2533 แม้จำเลยปลอมลายมือชื่อของ ป.ที่ด้านหลังเช็คทั้งสิบฉบับในคราวเดียวกัน แต่การปลอมลายมือชื่อดังกล่าวในแต่ละฉบับ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารแยกออกจากกันได้ ทั้งจำเลยกระทำโดยมีเจตนานำเช็คที่มีลายมือชื่อปลอมนั้น ไปหลอกขายลดให้แก่บุคคลอื่นเป็นรายฉบับ จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4609/2533 แม้ว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำปลอมขึ้นและประทับตราปลอม คือหนังสือรับรองว่าได้รับอนุญาต เป็นผู้ขับรถจำนวน 3 ฉบับ จะเป็นเอกสารต่างชนิดกับหนังสือรับรองใบอนุญาต เป็นผู้ขับรถเป็นภาษาอังกฤษ รวม3 ฉบับ ซึ่งเป็นการปลอมหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของบุคคลต่างคนกันก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย และยึดเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวในคราวเดียวกัน โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำการปลอมและประทับตราปลอมเอกสารเหล่านั้น โดยมีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกัน จึงลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4747/2533 จำเลยรับตั๋วเงินเช็คเดินทางไว้คราวเดียวกัน 19 ฉบับโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ภายหลังจำเลยจะแยกใช้ตั๋วเงินเช็คเดินทางดังกล่าวเป็น 2 ครั้ง ก็เป็นความผิดฐานรับของโจรเพียงกรรมเดียว เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรในคดีก่อนเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรเป็นคดีนี้ซ้ำอีก เพราะสิทธิฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) / การที่จำเลยใช้ตั๋วเงินเช็คเดินทางปลอม 13 ฉบับ รวมเป็นเงิน 12,585 บาท และใช้หนังสือเดินทางปลอมในคราวเดียวกัน เพื่อขอแลกเงินจากผู้เสียหายเป็น การกระทำโดยมีเจตนาเพื่อหลอกลวงเอาเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เสียหายเพียงประการเดียว จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5356/2533 จำเลยที่ 1 กับพวกปลอมหนังสือเดินทางและเช็คเดินทางรวม 12 ฉบับ แล้วแยกนำไปใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารต่าง ๆ รวม 4ธนาคารในคราวเดียวกันในแต่ละธนาคาร โดยมีเจตนาเพียงประการเดียว เพื่อฉ้อโกงเงินจากธนาคารแต่ละธนาคาร ด้วยการขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้นให้ได้ ความผิดข้อหาปลอมหนังสือเดินทางและเช็คเดินทาง กับใช้เอกสารปลอมดังกล่าว แต่ละครั้งข้อหาปลอมหนังสือเดินทาง และเช็คเดินทาง กับใช้เอกสารปลอมดังกล่าวแต่ละครั้งในแต่ธนาคาร จึงเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษข้อหาใช้เช็คเดินทางปลอมดังกล่าวที่ธนาคารต่าง ๆ รวม 4 ธนาคาร การกระทำความผิดในส่วนนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรม 4 กรรม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2599/2534 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 เฉพาะข้อที่ว่าสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากพิเศษ เป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ และการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย / ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากพิเศษไม่ใช่เอกสารสิทธิ ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานปลอมเอกสารสิทธิไม่ได้ แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 จะเพิ่งยกข้ออ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เห็นว่า สมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากพิเศษ มีข้อความแสดงว่าผู้ฝากได้ฝากเงินไว้ที่ธนาคาร ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่ผู้ฝากที่จะเรียกถอนเงินฝากคืน หาใช่เพียงแต่แสดงรายการการฝากเงินและชื่อผู้ฝากไม่ จึงเป็นเอกสารสิทธิ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น / ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 มีว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 ปลอมเอกสารต่าง ๆ ตามฟ้องแล้วนำไป ยื่นแสดงต่อนายวัฒนา วิเศษเธียรกุล ผู้ช่วยกงสุลสถานกงสุล สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนั้น ศาลฎีกาเชื่อว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปเพื่อประสงค์ให้เจ้าหน้าที่กงสุลดังกล่าวออกหนังสือผ่านแดน (วีซ่า) ให้จำเลยที่ 1 เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาดังที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและฎีกาขึ้นมา การปลอมเอกสารของจำเลยที่ 1 ย่อมเห็นได้ว่ามีเจตนาอย่างเดียวที่จะให้เจ้าหน้าที่กงสุลดังกล่าวออกหนังสือผ่านแดน (วีซ่า) ให้เท่านั้น ดังนั้นการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 เพียงกรรมเดียว แม้เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นจะเป็นเอกสารต่างชนิดกันก็หาทำให้เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ และการที่จำเลยที่ 1 นำเอกสารต่าง ๆ ตามฟ้องไปยื่นแสดงต่อนายวัฒนา วิเศษเธียรกุล ซึ่งเป็นความผิด ฐานใช้เอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการปลอมอีกกรรมหนึ่ง แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปลอมเอกสารเหล่านั้นเองจึงลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานใช้เอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการปลอมได้เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง..." / พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 กระทงหนึ่ง และมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 อีกกระทงหนึ่ง ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 ไว้มีกำหนด 1 ปี ริบเอกสารปลอมของกลางทั้งหมด.

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3238/2536 จำเลยเป็นผู้จัดการ ร่วมทำการปลอมใบเสร็จรับเงินกับใบรับเงิน และใช้เอกสารปลอม เพื่อปกปิดการกระทำของจำเลยที่ได้ยักยอกเงินบางส่วนของโจทก์ร่วมไป แม้การปลอมเอกสารดังกล่าว จะกระทำภายหลังที่จำเลยยักยอกเงินไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับที่จำเลยได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไป การปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวกับการกระทำความผิดฐานยักยอก จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นกรรมเดียว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2248/2537 แม้วันเวลากระทำผิด ลักษณะของความผิดและผู้เสียหายจะแตกต่างกัน แต่การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาทุ่งสงของ ว. ไปแล้ว ปลอมลายมือชื่อของ ว. ลงในใบถอนเงินของธนาคารดังกล่าว และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมทั้งใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานของธนาคารและได้รับเงินจำนวน 6,400 บาทไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลัก ส่วนการกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิด แต่ก็เป็นกรณีการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นเรื่องเจตนากระทำความผิดของจำเลยแตกต่างกัน ทั้งไม่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่ว่าจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใด หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาวินิจฉัย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 657/2541 จำเลยปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูง ใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมซึ่งเป็นเอกสารราชการ และยังได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และประทับดวงตราปลอมดังกล่าวในหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูง ใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมที่ปลอมขึ้นนั้น พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยกระทำการดังกล่าว ก็ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงาน เฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้กรณีไปทำงาน นอกเหนือพื้นที่ควบคุมทั้งฉบับให้สำเร็จบริบูรณ์เท่านั้น กรณีหาได้มีการกระทำอื่นใดอีก ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4381/2541 การที่จำเลยปลอมลายมือชื่อ ว. ในหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาท กับที่จำเลยปลอมลายมือชื่อ ว. ในหนังสือมอบอำนาจ แล้วใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว ไปยื่นขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ ร. เป็นเหตุการณ์และระยะเวลาห่างกันประมาณ 8 เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏว่ามีความมุ่งหมายเดียวกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมและต่างเจตนากัน เป็นความผิดสองกรรม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6575/2541 จำเลยปลอมใบรับฝากไปรษณีย์ โดยเพิ่มเติมจำนวนรายการ กับปลอมใบนำส่งจดหมายของบริษัท บ. ผู้เสียหาย โดยแก้ไขจำนวนจดหมายลงทะเบียน และลบแก้ไขจำนวนจดหมายธรรมดาแล้ว จากนั้นจำเลยได้ใช้เอกสารที่ตนเองทำปลอมขึ้นทั้งหมดไปหลอกลวงผู้เสียหาย เป็นเหตุให้จำเลยได้เงินไป เป็นการกระทำอย่างต่อเนื่องกัน มีเจตนาอย่างเดียว คือให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง จะได้มอบเงินให้แก่จำเลย เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม โดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเอง ต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว และเป็นความผิดฐานฉ้อโกงอีกบทหนึ่ง อันเป็นการกระทำกรรมเดียว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 22/2542 จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษา ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำอันเป็นความผิด ของจำเลยว่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยให้การ รับสารภาพในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องส่งสำนวน ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา พิพากษาใหม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัย ในปัญหานี้ไปเสียเลย / การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดู หลักฐานเพราะมี พฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจาก แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้าย ทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลม แสดงการเสียภาษีเป็นเอกสาร ที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และ อ้างแผ่นป้าย ทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสีย ภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐาน ที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้อง ของโจทก์ก็ปรากฏ ว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์ เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็น รถยนต์ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็น กรรมเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 / สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาต ขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาต ให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ .4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อ เจ้าพนักงานตำรวจ ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกัน โดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสาร ดังกล่าว มีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้าง แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า รถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ .. 2535 จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1 มีความสามารถ ขับรถยนต์ ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่ จำเลยแล้วและการใช้ หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ .4) ปลอมเพื่อ ให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและ ใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 / แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ มิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรอง ในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้ แผ่นป้ายแสดงการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษ จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 โดยไม่ได้ระบุ บทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรค ในความผิดอื่น ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้อง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1160/2542 มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลาง ของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้ มีการติดแผ่นป้าย ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลม แสดงการเสียภาษีประจำปี และแผ่นป้ายทะเบียนรถ ซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติด เอกสารปลอมทั้งหมด ไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผย เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่น ที่พบเห็นเข้าใจว่า เอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง และเข้าใจว่า รถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ใน ครอบครอง โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถ ที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลาง ไปขาย ถือได้ว่า เป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม / จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้าย วงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี .. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิด ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่น ป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี ประจำปีปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมี เจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้อง เพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิด กรรมเดียวกัน / การใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถ และแผ่นป้าย วงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสาร คนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิด ผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำ ต่างกรรมต่างวาระ แยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้าย ทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียง กระทงลงโทษตาม มาตรา 91 / การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอม ทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่น หลงเชื่อว่า รถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไป มีหมายเลขทะเบียน ตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนา เดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด เพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิด ฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกา เห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้ เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลย ไม่เกินโทษที่ ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1106/2547 จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นซึ่งธนบัตรซึ่งรัฐบาลไทยออกใช้ กับธนบัตรซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกใช้ เป็นการกระทำที่มีเจตนาให้เกิดผลแตกต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม

- ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสาร ที่เกี่ยวกับรถยนต์และยานพาหนะ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2239/2522 ใช้เอกสารใบทะเบียนรถยนต์ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน หลอกลวงโดยแสดงเป็นผู้มีชื่อในบัตรประชาชนขายรถยนต์แก่ผู้เสียหายเป็นการใช้เอกสารปลอมฉ้อโกง โดยหลอกว่าเป็นคนอื่นตาม ป.อ.ม.268, 341, 342 ลงโทษตาม ป.อ.ม.268 บทหนักกรรมเดียว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2642/2541 การที่จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเอง และใช้เอกสารปลอมนี้ติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์ของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก และฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดรวม 2 กระทง แต่ ป.อ.มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำผิดตามวรรคแรก เป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นเอง ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยยังได้ปลอมแผ่นป้ายวงกลม แสดงการเสียภาษีรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบกซึ่งเป็นเอกสารราชการ และได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์ของจำเลยอีกกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 แต่แม้จำเลยจะใช้เอกสารปลอมทั้งสองในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภท และมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน โดยการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ามีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 จริง ส่วนการใช้แผ่นป้ายวงกลมปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าได้มีการเสียภาษีรถยนต์ถูกต้องตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 2 กระทง ตาม ป.อ.มาตรา 91

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2965/2544 ความผิดฐานใช้รถที่มิได้เสียภาษีประจำปีก็ดี ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถก็ดี ฐานใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยก็ดีล้วนแต่เป็นการกระทำความผิดที่แยกต่างหากจากกัน และเป็นความผิดสำเร็จได้ในแต่ละฐานโดยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน


ไม่มีความคิดเห็น: