หมวด 7 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย
ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์
ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน
ทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
เจตนาทำให้เสียทรัพย์
-
อ คณิต เห็นว่า “การทำให้ทรัพย์กลับคืนดีขึ้น ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์” / ส่วนตัวเห็นว่า หากพิจารณาถึงการซ่อมแซมอาคาร โดยทุบไปบางส่วนเพื่อต่อเติม
หรือปรับปรุง ต้องดูเจตนาผู้กระทำอีกชั้นหนึ่ง โดยส่วนของการทุบของเดิมทิ้ง
แม้มีเจตนาเพื่อจะปรับปรุง ก็อาจเป็นความผิดทำให้เสียทรัพย์ได้ ลองดูตัวอย่างของ อ
จิตติ หรือ อ เกียรติขจร เรื่องเจตนาทำร้าย แพทย์ตัดขาคนไข้ ในการรักษา
-
อ คณิต เห็นว่า
การทำให้ทรัพย์หลุดมือไปจากเจ้าของ เช่น การปล่อยนกของผู้อื่น ให้บินหนีไป
ไม่เป็นการกระทำผิดอาญา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 29/2487 จำเลยไช้ไม้ซางยิงไก่ของผู้อื่น ที่เข้ามากินผักสวนครัวของจำเลยตาย
ย่อมมีความผิดตามมาตรา 324. อ้างฎีกาที่ 1271/2481 / การไช้ไม้ซางยิงไก่ที่เข้ามากินผักตาย เปนป้องกันเกินกว่าเหตุ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1162/2491 จำเลยตัดกิ่งไม้ที่ล้ำเข้ามาในนาของจำเลย
โดยไม่บอกผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อให้ตัดเสียก่อนนั้น
เป็นการทำผิดหน้าที่ซึ่งกฎหมายบังคับไว้ในทางแพ่ง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่า
เป็นการบังอาจทำให้ทรัพย์ของเขาอันตรายชำรุดเสียหาย
อันเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ในทางอาญาเสมอไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6344/2531
นายอำเภอขอความร่วมมือจากประชาชนให้ร่วมกันพัฒนาบริเวณที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 2
ได้ฟันตัดไม้ของโจทก์ในบริเวณนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของโจทก์ทั้งจำเลยที่ 2
เคยตัดฟันต้นไม้ของโจทก์มาก่อนจนถูกฟ้องมาแล้วครั้งหนึ่ง แสดงว่าจำเลยที่ 2
มีเจตนาทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย การที่นายอำเภอขอความร่วมมือดังกล่าว เป็นแต่เพียงคำแนะนำจำเลยที่
2 จะกระทำหรือไม่กระทำก็ตาม
มิได้มีลักษณะเป็นคำสั่งตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70
อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 358
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 9093/2544 โจทก์ร่วมและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องขับไล่จำเลยจากตึกแถวพิพาท
โดยจำเลยตกลงยกเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 เครื่อง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม
ต่อมาเมื่อโจทก์ร่วมได้เลือกเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 เครื่องแล้ว
เครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้รื้อเอาไม้กั้นห้อง
บานประตู และเครื่องปรับอากาศสองเครื่องดังกล่าวไปจากตึกแถวพิพาท จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 334 Ø ส่วนที่จำเลยรื้อไม้กั้นห้องและเครื่องปรับอากาศออกไปเป็นเหตุให้ฝาผนังตึกเป็นรอย
กระจกและเสาแตกนั้น จำเลยมีความประสงค์ในทรัพย์ซึ่งติดตั้งอยู่กับตึกจึงต้องรื้อออกไป
การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับผนังตึกย่อมทำให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ ขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น
สภาพแตกร้าวตามที่ปรากฏในภาพถ่ายนั้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (เปรียบเทียบ ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต
สมัยที่ 55 ประจำปี พ.ศ. 2545 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 6 / ถาม นายดำเช่าบ้านไม้สักของนายรวยเป็นที่อยู่อาศัย
ในระหว่างนายรวยเดินทางไปต่างประเทศ นายดำเล่นการพนันเสีย
จึงแอบเอาแจกันลายครามซึ่งอยู่ในห้องรับแขกของนายรวยไปขาย คืนวันหนึ่งของเดือนต่อมา
นายดำได้ใช้ชะแลงงัดฝาบ้านเช่าของนายรวยออกมาหลายแผ่น จนฝาบ้านมีรอยแตก แล้วนำแผ่นกระดานไม้สักไปขายให้แก่ร้านค้าไม้ซึ่งอยู่ติดกับบ้านเช่า
ตอบ การที่นายดำใช้ชะแลงงัดฝาบ้านย่อมเล็งเห็นผลได้โดยชัดแจ้งว่า
จะทำให้บ้านเสียหาย การกระทำของนายดำย่อมเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 358 อีกด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ 5804/2533)
-
การทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า
หรือทำให้ไร้ประโยชน์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1846/2500
กิ่งงิ้วของโจทก์รุกล้ำเข้าไปเหนือที่ดินของจำเลย เป็นการละเมิด
จำเลยต้องบอกกล่าวก่อนจึงจะตัดได้ จำเลยตัดกิ่งงิ้วนั้น โดยไม่บอกกล่าวโจทก์ก่อน
จะมีความผิดทางอาญาหรือไม่ ต้องพิจารณาเจตนาของจำเลยอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยเพียงแต่ป้องกันสิทธิในทรัพย์สิน ตามที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้โดยทั่วไป
แต่มิได้ปฏิบัติการให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขในกฎหมาย ยังไม่เป็นเจตนาทำผิดทางอาญา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 963/2502 นายอำเภอสั่งให้คนปลดเชือกผูกป้ายผ้าโฆษณาหาเสียงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งแขวนไว้บนทางเดินขึ้นจากท่าเรือจ้างหน้าที่ว่าการอำเภอ
ให้พ้นจากการกีดขวางทางเดิน ซึ่งตนมีหน้าที่ดูแลรักษาท่าเรือจ้างนั้น
ต่อมาป้ายนั้นได้หายไปโดยไม่ได้เกิดจากการกระทำของนายอำเภอโดยตรง และนายอำเภอมิได้มีเจตนาจะทำให้เสียทรัพย์
นายอำเภอย่อมไม่มีผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
และฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วย (ฎีกาวินิจฉัยว่า
เพราะผ้าป้ายที่ปลดลงมานั้น ยังใช้ประโยชน์ต่อไปได้ เมื่อนำไปแขวนไว้ที่อื่น ดู อ
คณิต ภาคความผิด)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 35/2503 จำเลยฆ่าเป็ดของผู้เสียหาย
โดยโปรยข้าวเปลือกผสมยาพิษให้เป็ดกิน เป็ดตายถึง 33 ตัว
การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 358
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 705/2507 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม
มาตรา 358 นั้น ผู้กระทำต้องมีเจตนากระทำ เพื่อให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย
เพียงแต่ถอนเสารั้วของผู้อื่นกองไว้ เพื่อใช้ทางเดินตามที่เคยใช้
ยังไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1097/2507
การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคาร จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ
ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม มาตรา 385
นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหาย ย่อมเป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์
ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้วไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของ
จนวัตถุก่อสร้างสูญหายไปนั้น หาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่
จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 253/2510 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าข้าวนั้นเป็นข้าวของผู้เสียหายปลูกไว้ซึ่งจำเลยก็รู้
การที่จำเลยถอนทำลายต้นข้าวที่เขาปลูกออกเสีย
แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ต้นข้าวที่ปลูกไว้นั้นเสียหาย
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ฟ้องว่า
จำเลยบุกรุกนาของผู้เสียหายและถอนต้นข้าวที่ผู้เสียหายปลูกไว้ทิ้งเสีย
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ความชัดว่าที่พิพาทเป็นของผู้เสียหายดังที่โจทก์ฟ้อง
และตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบกันมา
ก็เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายยังเถียงการครอบครองกันอยู่ เช่นนี้ การที่จำเลยเข้าไปในที่พิพาท
จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานบุกรุก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1152/2510
ผู้เสียหายและจำเลยมีที่ดินติดต่อกัน ที่พิพาทอยู่ระหว่างที่สองแปลงนี้
แต่หลักหมุดเขตสูญหายไปหมด ทั้งสองฝ่ายต่างโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท
และไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าที่พิพาทเป็นของใคร
เพียงแต่รับว่าเสารั้วลวดหนามเป็นของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายได้ปลูกต้นกกไว้ด้วยเมื่อจำเลยรื้อลวดหนาม ขุดทำลายโคกปลูกมะพร้าว
ทั้งได้ถอนต้นกกในที่พิพาทออกทั้งหมด การกระทำของจำเลยเป็นการทำให้เสียทรัพย์
ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ผู้อื่น จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา
358 จำเลยจะอ้างว่าตนมีสิทธิทำได้ตาม ปพพ มาตรา 1336,1337 หาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1067/2512 (สบฎ เน
2119) เสารั้วโรงเรียน ปักบนคลองของกรมชลประทาน
ล้ำทางเดินเกือบกึ่งทาง ครูและภารโรงร่วมกับนักเรียนจัดทำรั้วขึ้น
ย่อมมีสิทธิถอนเพื่อทำใหม่ได้ เพราะโรงเรียนไม่มีสิทธิทำรั้วรุกล้ำทางเดิน
ซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโรงเรียน แม้รื้อถอนเวลากลางคืน
ก็ไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1862/2512 จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง
30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3 ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ
จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน
จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์
และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน
โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท
แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม
ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริต ว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ
หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา
จำเลยไม่มีความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2907-2928/2517 ที่ดินพิพาทที่จำเลยยึดถือครอบครอง
แม้จะอยู่ในเขตที่สาธารณะ แต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองมาหลายปีแล้ว
โดยสำคัญว่าตนมีสิทธิครอบครอง แม้จำเลยจะแผ้วทางก่นสร้าง
ก็กระทำเพื่อมุ่งประสงค์จะทำนาในที่ดินนั้น ๆ อันเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิในที่ดินตามสมควรในการทำนาตามสภาพปกติของที่ดิน
โดยที่ไม่ปรากฏความเสียหายที่แท้จริง หรือได้ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า
หรือทำให้ไร้ประโยชน์ในที่ดินประการใด การเข้าทำนาตามสภาพของที่ดิน
เป็นการห่างไกลเกินความประสงค์ของเรื่องทำให้เสียทรัพย์
ทั้งจำเลยหาได้มีเจตนาโดยตรงที่จะทำให้เสียทรัพย์ไม่ ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา
360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1260/2517 เจ้าพนักงานบังคับคดียึดอาคารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
แล้วทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้รักษา
โดยโจทก์ร่วมให้สัญญาว่าจะรักษาด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหาย
หรือเสื่อมคุณภาพและจะไม่เอาออกใช้สอย ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายจะชดใช้ราคาให้
แล้วโจทก์ร่วมใส่กุญแจห้อง ล่ามโซ่ใส่กุญแจอาคาร แม้มิได้เข้าไปอยู่ในตัวอาคาร
ก็เป็นการครอบครองรักษาทรัพย์ตามสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยเข้าไปรื้อห้อง
ตกแต่งอาคารใหม่ และเปิดทำการค้าในอาคารนั้น จึงเป็นการเข้าไปกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งโจทก์ร่วมครอบครองอยู่โดยปกติสุข และทำให้เสียทรัพย์
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยและมีอำนาจฟ้องฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2907-2928/2517 ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่สาธารณะ
แต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองมาหลายปีแล้ว โดยสำคัญว่าตนมีสิทธิครอบครอง แม้จำเลยจะแผ้วทางก่นสร้าง
ก็เพื่อมุ่งประสงค์จะทำนาในที่ดินนั้น
อันเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิในที่ดินตามสมควรในการทำนาตามสภาพปกติของที่ดิน
โดยที่ไม่ปรากฏความเสียหายที่แท้จริง หรือได้ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า
หรือทำให้ไร้ประโยชน์ในที่ดินประการใด การเข้าทำนาตามสภาพของที่ดิน
เป็นการห่างไกลเกินความประสงค์ของเรื่องทำให้เสียทรัพย์
ทั้งจำเลยหาได้มีเจตนาโดยตรงที่จะทำให้เสียทรัพย์ไม่ ไม่เป็นความผิดตาม ม 360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 89/2519
จำเลยเข้าใจว่าเสารั้วของโจทก์ที่ขุดหลุมปักไว้อยู่ในที่ดินของจำเลย
จำเลยจึงถอนออก โดยเจตนาใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. ม.1336,1337 ไม่เป็นความผิดตาม ม.358
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1896/2519 โจทก์ร่วมกับจำเลยที่
2 เป็นความกันว่าที่นาเป็นของตนศาล ยังไม่ได้พิพากษา
จำเลยไถนา ทำให้ข้าวที่โจทก์หว่านไว้เสียหายเป็นความผิด ตาม ป.อ.ม. 359
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1155/2520 จ.ปลูกข้าวในหนองสาธารณะ จ.อ้างสิทธิครอบครองใน
หนองไม่ได้ จำเลยมีสิทธิใช้หนองได้เท่าเทียมกับ จ.แต่จำเลยนำเรือเข้าไป
ตัดใบบัว ซึ่งปนอยู่กับต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหาย เป็นการกระทำโดยเล็งเห็นผล ตาม
ม.59 จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม.359
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1676/2520 ตัดไม้ไผ่ที่งอกรุกล้ำเข้ามาครึ่งหนึ่งถึงกลางทางสาธารณะ เหลือทางเพียง 3
ศอก เพื่อให้โคกระบือเดินผ่าน มิได้เจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์เสียหาย
ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1757 ถึง 1760/2522 จำเลยตัดฟันต้นยางเดิม แล้วปลูกใหม่
โดยรับทุนสงเคราะห์ เข้าใจว่าเป็นต้นไม้ของจำเลย
ไม่มีเจตนาทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย ไม่เป็นความผิดตาม ม.358
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2587/2525
จำเลยเช่าที่นาของผู้เสียหายเพื่อทำนา มาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี ต่อมากล้วยมีราคาดี
จึงจ้างคนขุดที่นาบางส่วนเพื่อปลูกกล้วย
หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาจะกระทำให้เสียหาย
ทำให้เสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์ไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม
ป.อ.ม.358
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3071/2527
จำเลยทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ร่วมซึ่งครอบครองอยู่ก่อนโดยมี น.ส.3
เป็นหลักฐาน เมื่อโจทก์ร่วมนำที่พิพาทไปจำนอง จำเลยก็รู้เห็นในการจำนอง ด้วยการที่จำเลยเข้าไปบุกรุกแผ้วถางตัดต้นยางพาราในที่พิพาท
จึงมิใช่กรณีที่จำเลยเข้าใจผิดหรือขาดเจตนาแต่อย่างใด
จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5451/2530 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายอำเภอใช้ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3
รื้อกระท่อมโจทก์ ซึ่งปลูกในที่ดินของทางราชการ และยังปลูกสร้างไม่เสร็จ
ใช้พักอาศัยไม่ได้ แล้วนำมากองไว้ข้างถนน เพื่อใช้ที่ดินปลูกสร้างศาลาเอนกประสงค์
ให้ประชาชนใช้เป็นประโยชน์ร่วมกัน จำเลยทั้งสามกระทำไปด้วยความเชื่อโดยสุจริต
ว่าตนมีสิทธิที่จะกระทำได้ หาใช่มีเจตนากระทำ
เพื่อให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายแต่อย่างใดไม่
การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
(เป็นการอ้างความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ว่ามีอำนาจกระทำการเช่นนั้น เพื่อยกเว้นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
ตาม ม ๖๒)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6521/2539 จำเลยที่ 2 กับพวก รื้อถอนบ้านเรือนออกจากที่พิพาทไปอยู่ที่อื่น
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 สละสิทธิครอบครองที่พิพาท
รวมทั้งต้นกล้วยและต้นไม้อื่นๆ ที่ขึ้นอยู่ในที่พิพาทแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2
กลับเข้ามาในที่พิพาท และตัดฟันต้นกล้วยในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำ โดยไม่มีสิทธิ
และเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
การทำให้เสียหาย ทำลาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 879/2517 โจทก์ได้รับโอนสิทธิในเหมืองฝาย
ซึ่งเป็นการชลประทานส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
แม้ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกประกาศ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.
การชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482
กำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎร มีตำบลของเหมืองฝายของโจทก์รวมอยู่ด้วย
แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการสั่งเปลี่ยนแปลงประเภทการชลประทานส่วนบุคคลของโจทก์ เป็นการชลประทานส่วนราษฎร
เมื่อจำเลยถมเหมือง แล้วปลูกข้าวบนดินที่ถม โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6666/2542 การที่จำเลยดึงรั้วไม้ไผ่ผ่าซีกที่ยึดติดเป็นแผงซึ่งเป็นรั้วบ้านของโจทก์ร่วมที่
1 แล้วนำไปเผาทำลายนั้น เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358
เพียงบทเดียว มิใช่กระทำผิดหลายบท
เพราะจำเลยมีเจตนาจะทำลายรั้วไม้ไผ่ที่ปักติดเป็นแผงโดยนำไปเผาให้ใช้การไม่ได้เท่านั้น
การเผาแผงไม้ไผ่นั้น เป็นการทำลายทรัพย์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ให้เสียหาย
มิใช่วางเพลิงเผาทรัพย์รั้วบ้านของโจทก์ร่วมที่ 1
เนื่องจากจำเลยมิได้วางเพลิงเผาแผงไม้ไผ่ ในขณะที่มีสภาพเป็นรั้วบ้านกั้นขอบเขต
เป็นที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมที่ 1 อันจะต้องด้วยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 217
-
คำชี้ขาด 61/2537 (รวมคำชี้ขาดฯ 2535 - 2538 เล่ม 1 น 185 ) การกระทำในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องเป็นการกระทำต่อทรัพย์
“ให้มีสภาพเลวลง” ลำพังการกระทำของผู้ต้องหาที่เป็นการปรับปรุงดัดแปลงนั้น
ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำให้เสียหายฯลฯ อย่างไร จึงชี้ขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำชี้ขาด 74/2537 (รวมคำชี้ขาดฯ 2535 - 2538 เล่ม 1 น 197 ) ผู้ต้องหาประสงค์จะก่อสร้างรั้วคอนกรีต ผู้เสียหายแจ้งผู้มีชื่อ
ไปบอกแก่ผู้ต้องหาว่าอย่าก่อสร้างลุกร้ำและอย่ารั้วถอนรั้วของผู้เสียหาย
ผู้ต้องหาไม่เชื่อ ใช้อำนาจโดยพลการ ตัดรั้วไม้ของผู้เสียหายออกบางส่วน เป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้รั้วไม้ของผู้เสียหายถูกทำลาย
ทำให้เสื่อมค่าและไร้ประโยชน์
แม้จะสร้างรั้วปูนขึ้นใหม่เป็นประโยชน์แก่ผู้กล่าวหาก็ตาม
การกระทำก็เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
การทำให้ไร้ประโยชน์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 361/2518
จำเลยล้อมรั้วที่ดินตาม น.ส.3 ของจำเลย รุกล้ำลำห้วย เพื่อกั้นเอาบ่อน้ำสาธารณะมาเป็นของตน
ทำให้ประชาชนเข้าไปใช้น้ำในบ่อไม่ได้ บ่อน้ำคงมีสภาพเป็นบ่อน้ำตามเดิม
ไม่ได้ถูกทำให้ไร้ประโยชน์ไปอย่างใด ไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1517/2529
จำเลยปิดกั้นทางสาธารณะโดยการขุดหลุมและปักเสาไม้ลงบนถนนแล้วใช้ไม้ และกิ่งไม้ขวางไว้โดยมีเจตนาไม่ให้บุคคลทั่วไปผ่านไปมาการขุดหลุมปักเสาลงบนถนนย่อมทำ
ให้ถนนเสียหาย และการที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถผ่านไปมาได้
ย่อมเป็นการทำให้ถนนไร้ประโยชน์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.360
-
การใช้อำนาจตามกฎหมาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 699/2502
พนักงานป่าไม้บอกให้รถยนต์บรรทุกไม้ซึ่งมีไม้ไว้ผิดกฎหมายหยุด แต่คนขับรถไม่หยุด
พนักงานป่าไม้จึงยิงยางที่ล้อรถแตกเพื่อให้รถหยุดจะจับกุมคนและไม้
ซึ่งมีไว้ผิดกฎหมายตามอำนาจโดยใช้วิธีเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับตาม
ป.วิ.อาญา มาตรา 83 แล้ว ย่อมไม่เป็นผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 288/2505
จำเลยกับครอบครัวใช้ทางเดินในที่ดินของโจทก์ไปออกทางสาธารณะเกินกว่า 10 ปีแล้ว
โดยมีช่องปะตูรั้วสำหรับเข้าออกบ้านจำเลยได้
ต่อมาโจทก์ทำรั้วใหม่ตามแนวรั้วเดิมที่ผุพัง
และล้อมปิดกั้นประตูรั้วที่เคยมีเข้าออกบ้านจำเลยเสียด้วย จำเลยไม่มีทางอื่นออก
เพราะบ้านที่จำเลยอยู่ในที่ผู้อื่นล้อมรอบมีรั้วกั้น
จำเลยร้องต่ออำเภอขอให้โจทก์เปิดรั้วให้จำเลยเข้าออกได้โจทก์ไม่ยอม
จำเลยจึงได้รื้อรั้วเฉพาะตรงที่เคยเป็นช่องประตูเข้าออกบ้านจำเลยกว้างประมาณ 1
วาเพื่อเดินเข้าออกบ้านจำเลยดังเดิม ดังนี้
จำเลยมีสิทธิทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2762/2523
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ของโจทก์
การที่จำเลยเข้าไปทำนาในที่พิพาท จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปปลูกพืชผลในที่ดินนั้น
การที่โจทก์เข้าไปปลูกจึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต
จำเลยมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตน
และเป็นการใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยตามสมควรแก่การทำนาของจำเลย
การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2207/2524
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมมีสิทธิเหนือพื้นดิน หรือที่เรียกว่าแดนแห่งกรรมสิทธิ์ด้วย
โจทก์ไม่สิทธิที่จะสร้างรางน้ำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต
จำเลยมีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์สอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตน
โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
และเป็นการใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยตามควรแก่การสร้างตึกแถวของจำเลย จำเลยให้คนรื้อรางน้ำของโจทก์
จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2954/2525 จำเลยมีสิทธิครอบครอง
และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ก.
ยกที่ดินนั้นให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งจ้างผู้รับเหมาสร้างอาคารโรงเรียน
การที่จำเลยรื้อผังไม้ซึ่งผู้รับเหมาไปปักไว้
แล้วนำไปกองไว้ข้างอาคารโรงเรียนหลังเดิม เป็นการใช้สิทธิขัดขวาง
มิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตน โดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.
ม.1336 ทั้งตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็มีเหตุสมควรที่จำเลยจะปฏิบัติเช่นนั้นได้
เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนให้สิ้นไปตาม ม.1337
จำเลยไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
ทรัพย์ของผู้อื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 372/2498 พลูเป็นไม้ยืนต้นจึงเป็นส่วนควบของดิน ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์
เจ้าของที่ดินตัดฟันต้นพลูซึ่งผู้เช่าปลูกอยู่ในที่ดินของตนก็เท่ากับทำลายทรัพย์ของตนเอง
จึงไม่มีความผิดฐานทำลายทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1355/2508 โจทก์เป็นผู้ปลูกต้นพลู
แต่ต้นพลูได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 4
ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์ปลูกต้นพลูเสียแล้ว แม้จำเลยจะร่วมกันตัดต้นพลู
ก็ย่อมไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1450/2510 โจทก์เช่าที่ดินซึ่งมีบ่อเลี้ยงปลา
แต่โจทก์ได้ปิดกั้นบ่อ ปลูกต้นไม้ล้มลุก และล้อมรั้วลวดหนามไว้
ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินแปลงนั้น แต่โจทก์ยังคงครอบครองในฐานะเป็นผู้เช่า
แล้วจำเลยไปวิดปลาในบ่อ ตัดต้นไม้ล้มลุกและรื้อรั้วลวดหนามเหล่านั้น
จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์
-
ผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1319/2462 อัยยการนครสวรรค์
โจทก์ นายดำ จำเลย ธ.3 หน้า 749 (ประชุมสารบัญฎีกา 1748 รวมฎีกา 35 ปี
ตอนที่ 3 บรรพ 5 ลักษณะอาชญา โดยนายมาลัย จั่นสัญจัย หน้า 1748) จำเลยได้ใช้สาสตราวุธ สับฟันประตูสถานีรถไฟแตกหักเสียหาย อัยยการจึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์
ตามมาตรา 324 - 325 โดยไม่มีผู้ร้องทุกข์
ปัญหามีว่าอัยยการจะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ ตัดสินว่าถึงแม้จะเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็ดี
อัยยการก็มีอำนาจฟ้องได้เพราะเท่ากับเป็นเจ้าทุกข์เสียเอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 420/2505 "ผู้เสียหายนั้น"
นั้นไม่จำต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกทำให้เสียหาย
บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ ก็เป็นผู้เสียหายได้
หากได้รับการเสียหายเกี่ยวกับสิทธิครอบครอง /
บรรยายฟ้องว่าทรัพย์เป็นของผู้เสียหาย
แต่ทางพิจารณาได้ความว่าทรัพย์นั้นเป็นของบุคคลอื่น ผู้เสียหายครอบครองอยู่ ดังนี้
ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1284/2514 ผู้เสียหายในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์
และลักทรัพย์ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น ผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์เหล่านั้น
ก็เป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1828/2523 จำเลยขุดรื้อถนนซึ่งเป็นทางภารจำยอม
ทำให้ทางภารจำยอมชำรุดเสียหาย และตึกแถวของโจทก์แตกร้าว
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ หามีฐานะเป็นเจ้าของรวมในภารยทรัพย์ไม่
เมื่อถนนดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ และโจทก์มิได้เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้อง ฐานทำให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ทำลาย
หรือทำให้ถนนนั้นเสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5310/2530 แม้ที่ดินจะเป็นที่สาธารณะ
แต่เมื่อโจทก์ร่วมเป็นผู้ครอบครองอยู่ และได้ปลูกต้นมะม่วงไว้
การที่จำเลยตัดฟันต้นมะม่วงดังกล่าว โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหาย
จึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5166/2531
ขณะใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหคีรี
อำเภอโกรกพระ จัดหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช2479 ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตนั้นเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอยู่
จึงเป็นที่ดินหวงห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
และตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 10
ยังคงให้เป็นที่หวงห้ามต่อไป
โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในภายหลังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
หากก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันต่อรัฐ
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ไม่ ที่ดินพิพาท จึงไม่ใช่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1
ซึ่งเป็นข้าราชการกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยราชการ
ที่จะเข้าใช้ประโยชน์โดยได้รับอนุญาตจากกองทัพบก ได้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3
ขับรถแทรกเตอร์ไถคันดินที่โจทก์ทำไว้ปรับระดับให้เสมอกัน
เพื่อปลูกสร้างสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในที่ดินพิพาท
จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3523/2541 องค์ประกอบความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม
ป.อ.มาตรา 358 นั้น
ต้องกระทำต่อทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย คำว่า
"ทรัพย์ของผู้อื่น"
ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายโดยตรงจากเจ้าของทรัพย์ให้เป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์นั้น
พ. กับ ธ. เป็นลูกจ้างของบริษัท บ. โดยบริษัทดังกล่าวจัดให้บุคคลทั้งสองพักอยู่ที่หอพักคนงาน
ซึ่งทำให้ พ. และ ธ. มีเพียงได้ใช้สิทธิอาศัยอยู่ในห้องพักเท่านั้น ธ.
จึงมิใช่ผู้เสียหาย เมื่อบริษัท บ.
ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้
พนักงานอัยการไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในข้อหาฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
-
คำชี้ขาด 61/2537 (รวมคำชี้ขาดฯ 2535 - 2538 เล่ม 1 น 185 ) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เป็นความผิดที่กระทำต่อกรรมสิทธิ์ เจ้าของทรัพย์เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายได้ ผู้เช่ายังไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ที่กระทำต่อกรรมสิทธิ์
และการกระทำในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องเป็นการกระทำต่อทรัพย์ “ให้มีสภาพเลวลง” ลำพังการกระทำของผู้ต้องหาที่เป็นการปรับปรุงดัดแปลงนั้น
ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำให้เสียหายฯลฯ อย่างไร จึงชี้ขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานทำให้เสียทรัพย์
-
ข้อหารือ ที่ อส 0017/14144 ลว 8 พ.ย. 2537 ทรัพย์สินของนิติบุคคลซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ
ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม ฉะนั้น
ความผิดฐานฉ้อโกงที่กระทำต่อนิติบุคคลที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ
จึงไม่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ที่จะต้องห้ามตามมาตรา
121 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การดำเนินคดีกับผู้ฉ้อโกงทรัพย์สินขององค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ
จึงกระทำได้โดยมิพักต้องมีการร้องทุกข์
-
คำชี้ขาดที่ 107/2541 (อัยการนิเทศ 2542 เล่ม 61 ฉบับ 1 หน้า 25) รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นกรรมสิทธิ์ของพี่ชายผู้เสียหาย
ซึ่งได้มอบให้ผู้เสียหายไว้ใช้มาเป็นเวลานาน 5 ปี เมื่อมีผู้มาทำให้รถยนต์ที่อยู่ในความครอบครองได้รับความเสียหาย
ถือว่าผู้ครอบครองรถยนต์ดังกล่าวเป็นผู้เสียหายโดยตรง มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
-
ประเด็นเปรียบเทียบ
การโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรณีทำลายต้นไม้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5543/2534 แม้ คชก.
ตำบลวินิจฉัยสั่งให้โจทก์ผู้เช่าออกจากที่พิพาท และโจทก์ไม่อุทธรณ์ต่อ
คชก.จังหวัดก็ตาม แต่การที่โจทก์ไม่ออกจากที่พิพาทคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสีย
ก็จะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524
จำเลยนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถไร่อ้อยของโจทก์ในที่พิพาท โดยไม่มีอำนาจ
มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และบุกรุก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6303/2539 จำเลยทั้งสองเข้าไปปักเสาสร้างรั้วในที่พิพาท
ซึ่งฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งสองยังโต้เถียงการครอบครองกันอยู่
เป็นการเข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
และต้นไผ่ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทเป็นไม้ยืนต้น
แม้โจทก์จะเป็นผู้ปลูกก็เป็นส่วนควบของที่พิพาท เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธาน
เท่ากับโจทก์และจำเลยทั้งสองยังโต้เถียงกรรมสิทธิ์ของต้นไผ่ด้วย การที่จำเลยที่ 2
เข้าไปตัดฟันต้นไผ่ พฤติการณ์จึงมีเหตุอันสมควรให้จำเลยที่ 2
เข้าใจโดยสุจริตว่าต้นไผ่ดังกล่าวเป็นของตนเช่นกัน จำเลยที่ 2
จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5830/2539 แม้ผู้เสียหายทั้งสองกับจำเลยยังมีเรื่องโต้เถียงกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะทำลายต้นยูคาลิปตัสที่ผู้เสียหายทั้งสองเป็นผู้ปลูกในที่ดินพิพาทได้
หากจะถือว่าการปลูกต้นยูคาลิปตัสลงในที่ดินเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของจำเลย
ในกรณีที่ต่างโต้เถียงสิทธิครอบครองกันเช่นนี้ต่างก็ต้องฟ้องเอาคืนการครอบครองโดยต้องว่ากล่าวกันในทางศาล
การที่จำเลยเข้าตัดฟัน
ขุดและเผาต้นยูคาลิปตัสจึงเป็นการทำให้เสียทรัพย์ของผู้เสียหาย
-
ประเด็นเปรียบเทียบ
ที่ดินสาธารณะประโยชน์ประชาชนใช้ร่วมกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 361/2518 จำเลยล้อมรั้วที่ดินตาม
ส.ส.3 ของจำเลยรุกล้ำลำห้วยเพื่อกั้นเอาบ่อน้ำสาธารณะมาเป็นของตน
ทำให้ประชาชนเข้าไปใช้น้ำในบ่อไม่ได้บ่อน้ำคงมีสภาพเป็นบ่อน้ำตามเดิม
ไม่ได้ถูกทำให้ไร้ประโยชน์ไปอย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 8140/2541 จำเลยบุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์
และได้แผ้วถางที่ดินดังกล่าวใช้ทำไร่
ทำให้บุคคลอื่นทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์จากหนองคำปลาหลาอันเป็นสาธารณประโยชน
์ในส่วนที่จำเลยบุรุกยึดถือครอบครอง เป็นการทำให้หนองสาธารณะนั้นไร้ประโยชน์
แม้เป็นเพียงบางส่วน
การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์แล้ว
ตาม ป.อ. มาตรา 360
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 358
-
(ขส เน 2511/ 5) นายสีขายนกปล่อยที่ศาลหลักเมือง
ร้องว่านกปล่อยจ้า ตัวละ 5 บาท นายส้มรำคาญเดินไปเปิดกรงนกเขา นกบินไปจากกรง
แล้วนายส้มเดินเลยไป นายส้มผิดฐานใด / นายส้มผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ม 358 (อ คณิต เห็นว่า “การหยิบเงินเหรียญของคนอื่น
แล้วขว้างลงแม่น้ำ ไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เพราะไม่ได้ทำให้เสียหาย
หรือไร้ประโยชน์ ที่ตัวทรัพย์”)
-
(ขส พ 2498/ 7) โจทก์ทำนาและเลี้ยงปลาในที่สาธารณะ
แต่ไม่รู้มาก่อน เมื่อทางอำเภอแจ้ง และตรวจสอบแล้ว โจทก์รับว่าจะรื้อออกไป
แต่จำเลยกับพวกเข้ามารื้อก่อน / จำเลยไม่ผิดฐานบุกรุก
เพราะเป็นที่สาธารณประโยชน์ แต่ผิด ม 324 ลักษณะอาญา
ฐานทำให้เสียทรัพย์ เพราะเป็นการบังอาจรื้อบ่อปลาของโจทก์
ทำให้เสียหายโดยไม่มีอำนาจ
-
(ขส พ 2500/ 9) เจ้าของรวมคนหนึ่ง
ไม่ยอมให้อีกคนหนึ่งใช้ทรัพย์ / เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งจึงใช้ขวานฟันทรัพย์
ผิด ปอ ม 358
-
(ขส พ 2510/ 6) คนร้ายลักโคของนายแขกไป
นายจีนไปขอซื้อโคเพื่อนำไปคืนนายแขก นายจีนนำโคไปผสมพันธ์กับโคของตน
และรับจ้างผสมพันธ์กับโคผู้อื่น ได้ค่าจ้าง 100 บาท แล้วนำโคไปคืนนายแขก
นายแขกใช้เงินที่นายจีนจ่ายคนร้ายไป / นายจีน
ไม่ผิดฐานรับของโจร ม 357 เพราะไม่มีเจตนารับโคเพื่อตนเอง แต่จะเอาไปคืนเจ้าของ
และได้คืนเจ้าของ / ไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ม 358
เพราะไม่มีเจตนาทำให้โคเสียหาย เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ / ไม่ผิดฐานยักยอก ม 352 เพราะไม่ได้รับมอบโคจากนายแขก / ไม่ผิดฐานฉ้อโกง ม 341 เพราะไม่ได้ปกปิด เพื่อให้ได้ทรัพย์สิน
แต่ปิดเมื่อได้รับทรัพย์สินมาแล้ว
-
(ขส พ 2519/ 6) ดินเอาก้อนหินขว้างน้ำ
น้ำหลบหัวชนเรือ ตกน้ำตาย ดินผิด ม 290 เพราะดินมีเจตนาทำร้าย น้ำหลบ
คิ้วแตกเป็นผลจากการกระทำของดิน ฎ 895/2509 / ไม่มีเจตนาฆ่า
ฎ 150/2489 / ก้อนหินถูกตะเกียง ไม่ผิด ม 358
เพราะไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ ไม่อาจเล็งเห็นผล
และไม่มีกฎหมายให้ต้องรับผิดกรณีทำให้เสียทรัพย์โดยประมาท ทั้งไม่ใช่ ม 60
-
(ขส พ 2523/ 6) บุรุษไปรษณีย์แอบเปิดจดหมายหญิงที่ตนแอบรัก
และนำเงินในจดหมายไป แล้วเผาจดหมาย จากนั้นโทรศัพท์ไปขู่ผู้ส่งให้ส่งเงินให้ตน
มิฉะนั้นจะฆ่าหญิง ผู้ส่งกลัวหญิงถูกฆ่าจึงตกลง
ต่อมาแจ้งตำรวจแล้ววางแผนนำเงินไปล่อจับ / ไปรษณีย์ผิด ม 322
, 334 , 358 , 188
และผิด ม 337 เป็นความผิดสำเร็จ แม้ยังไม่ได้เงิน ฎ 1193/2502
-
(ขส พ 2523/ 8) อู๋หยุดรถให้เม้งแซง
แล้วหักรถให้ท้ายรถปัดถูกหน้ารถเม้ง เกือบตกถนนสูงประมาณครึ่งเมตร หน้ารถพัง
เม้งชักปืนยิงอู๋ กระสุนพลาดไปถูกผู้โดยสารในรถอู๋ / อู๋ผิด
ม 358 ถนนสูง ย่อมคาดหมายได้ว่าถ้าตกถนน จะได้รับอันตราย
อู๋เล็งเห็นผลได้ จึงผิด ม 295+80 ฎ 1003/2512 / เม้งยิงอู๋ขณะโทสะ กระสุนพลาดไป ผิด ม 288+80+60+72 ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดเพียงใดก็ได้
ฎ 1682/2509
-
(ขส พ 2523/ 9) สามคน ร่วมกันเตะรั้วบ้านผู้เสียหาย
แล้วขอเงิน เมื่อไม่ได้ ก็เตะหนักขึ้นจนสังกะสีหลุด 3 แผ่น
ผู้เสียหายกลัว จึงมอบเงิน 300 บาทให้ไป / เป็นการลักทรัพย์โดยขู่เข็ญ ว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์ การขู่เข็ญอาจขู่ตรง ๆ หรือใช้ถ้อยคำกริยา
หรือทำประการใดให้เข้าใจเช่นนั้น แม้ใช้กำลังทำร้ายต่อทรัพย์สิน
ไม่ใช่การใช้กำลังประทุษร้าย ก็ผิด ม 340 ว 1 ฎ 549/2517 และ ม 358
-
(ขส พ 2528/ 7) สัญญากู้ แม้ไม่มีพยานก็สมบูรณ์แล้ว
แม้จัดให้มีพยานลงลายมือชื่อภายหลัง ก็ไม่ผิด ม 265 เพราะไม่น่าจะเสียหาย
เมื่อนำไปยื่นฟ้องจึงไม่ผิด ม 268 และไม่ผิด ม 180 ฎ 1126/2505
/ ผู้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ ก็ไม่ผิด ม 265
เพราะไม่น่าจะเกิดความเสียหาย / ผู้กู้หยิบสัญญามาดูแล้วฉีก
ผิด ม 358 และ 188 เป็นกรรมเดียว ม 90 ฎ 1418/2506
-
(ขส พ 2529/ 6) ประชุมกัน 5 คนเพื่อปล้นทรัพย์
ม 210 ว 2 ฎ 116/2471 / มีดาบคนละเล่มไปที่บ้านเจ้าทรัพย์ ผิด ม 371 เข้าปล้นเวลากลางคืน
ผิด ม 364 + 365 (2) (3) +83 / ก ฟันกุญแจบ้าน เจตนาเดียวกัน
พวกปล้น ผิด ม 358 + 83 / ช่วยกันลากหีบเหล็ก แต่ติดโซ่
แล้วถูกตำรวจจับ ผิด ม 334+80 + 335 (1) (3) (7) (8) + 80 + 83 +335 ว 2 ฎ 237/2461
-
(ขส อ 2519/ 6) ปล่อยไก่ให้หากิน
ไก่เข้าไปกินผักในสวนผู้อื่น ผิด ม 395 / เจ้าของสวนยิงไก่
ผิด ม 358+68+69 ฎ 29/2497 / ไก่ตาย
เอาไปแกงกิน เจตนาทุจริตเกิดขึ้นภายหลัง ผิด ม 334 ต่างกรรม
-
(ขส อ 2522/ 6) 1-2 รักหญิงคนเดียวกัน คืนหนึ่ง 1
แอบเอารูปหญิงจากห้อง 2 ไปทิ้งน้ำ
ไม่ผิดลักทรัพย์ เพราะไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตน
เจตนาเรื่องนี้ต้องการทำลายด้วยความโกรธ ผิด บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ม 358+368
(+364) (อ จิตติ ภาค 2/2357 ถ้าเอาไปใช้ก่อน
ผิดลักทรัพย์ได้ ฎ 867/2513)
-
(ขส อ 2526/ 5) สามีภรรยาทะเลาะกัน
สามีเอาเสื้อภรรยามาเผา ผิด ม 358 ไม่ต้องรับโทษตาม ม 71
-
(ขส อ 2531/ 4) เขียวปลูกบ้านบนที่ดินเช่าซื้อโดยได้รับความยินยอม
ไม่เป็นส่วนควบ ม 146 / เขียวผู้เช่าซื้อหนีไป
ไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญา แล้วจดทะเบียนขายบ้านพร้อมที่ดินให้ขาว
ขาวไม่ทราบว่าบ้านเป็นของเขียว และได้เข้าอยู่แล้ว / เขียวชวนดำและแดงไปรื้อบ้าน
ไม่ผิด ม 358 ไม่รู้ว่าขาวเข้าอยู่แล้ว ไม่ผิด ม 364
(แปลกดี มามุขนี้)
-
(ขส อ 2533/ 2) เจ้าของรวม เผาบ้าน ไม่ผิด ม
217 ไม่เข้าเหตุฉกรรจ์ ม 218 ผิด ม 358
/ ไฟไหม้บ้านอยู่ชายทุ่ง ไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์
เด็กแอบเข้าไปนอน โดยคนเผาไม่รู้ ไม่ผิด ม 220 (เพราะไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคล
ขาดองค์ประกอบภายนอก) (แม้เด็กสาหัส ไม่ผิด ม 220 + ม 224 เพราะไม่ใช่ผลธรรมดาที่คาดหมายได้
และไม่เป็นเหตุแทรกแซง เพราะเด็กเข้าไปก่อนที่จะวางเพลิง เป็นเหตุที่มีอยู่แล้ว)
-
(ขส อ 2536/ 3) สามียิงบิดา เพราะโกรธเรื่องพินัยกรรม
แล้วหนี ภรรยากลัวตำรวจจับสามี จึงหั่นศพทิ้ง ฝังปืน เผาพินัยกรรม ภรรยาผิด ม 199
(+ปวิอ ม 150 ทวิ) / +184 + 188 + 358 (ส่วนของ ม 184
อ้าง ม 193)
-
(ขส อ 2541/ 1) ร่วมกันทำร้าย ห้ามแล้ว
แต่เพื่อนอัดตาย / เป็นตัวการ ม 83 ห้ามแล้วเจตนาร่วมยุติ
คนห้าม ผิด ม 295+83 คนทำต่อประสงค์ต่อผล ผิด ม 288
("ทำร้ายถึงแก่ความตาย" ไม่ ม 290)
/ ต่อยกันในร้าน เล็งเห็นทรัพย์เสียหาย ผิด ม 358
มาตรา 359 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 358 ได้กระทำต่อ
(1)
เครื่องกลหรือเครื่องจักร
ที่ใช้ในการประกอบกสิกรรม หรืออุตสาหกรรรม
(2)
ปศุสัตว์
(3)
ยวดยานหรือสัตว์พาหนะ
ที่ใช้ในการขนส่งสาธารณ หรือในการประกอบกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม หรือ
(4)
พืชหรือพืชผลของกสิกร
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 701/2505 คำว่า พืช หรือพืชผลการกสิกร ตาม
มาตรา 359 (4) นั้น หมายถึงพืชหรือพืชผลที่ปลูกในการกสิกรรมของกสิกร ส่วนต้นนุ่น
และต้นมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเจ้าของทรัพย์ผู้เป็นกสิกรในการทำนา ปลูกไว้เฉย ๆ
ตามแนวเขต จะฟังว่า เป็นพืชหรือพืชผลในการกสิกรรมของเจ้าทรัพย์ตามข้อนี้ไม่ได้
จำเลยถอนทำลาย ผิดมาตรา 358 เท่านั้น (ดูฎีกาย่อเพิ่ม ใน อ คณิต
กฎหมายอาญาภาคความผิด) (กสิกร ตามพจนานุกรม หมายถึง ผู้ทำไร่ไถนา , กสิกรรม
ตามพจนานุกรม หมายถึง การทำไร่ไถนา) (คำพิพากษาฎีกาที่ 504/2524 ต้นกล้วยที่ผู้มีอาชีพทำนาปลูกไว้เพื่อขาย เป็นพืชของกสิกรตาม ม.359
(4))
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2046/2515 คำว่า "ปศุสัตว์" หมายถึงสัตว์สี่เท้าที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร
สุกรจึงเป็นปศุสัตว์ตาม มาตรา 359 (2) ด้วย (ปศุ ตามพจนานุกรม หมายถึง
สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้แรงงาน บางครั้งรวมถึงสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหารด้วย)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1896/2519 โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2
เป็นความกันว่าที่นาเป็นของตน ศาลยังไม่ได้พิพากษา
จำเลยไถนาทำให้ข้าวที่โจทก์หว่านไว้เสียหาย เป็นความผิดตาม ม. 359
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1155/2520 จ.ปลูกข้าวในหนองสาธารณะ
จ.อ้างสิทธิครอบครองในหนองไม่ได้ จำเลยมีสิทธิใช้หนอง ได้เท่าเทียมกับ
จ.แต่จำเลยนำเรือเข้าไปตัดใบบัว ซึ่งปนอยู่กับต้นข้าวทำให้ต้นข้าวเสียหาย
เป็นการกระทำโดยเล็งเห็นผลตาม ม. 59 ผิด ป.อ. ม.359
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 504/2524 ต้นกล้วยที่ผู้มีอาชีพทำนาปลูกไว้เพื่อขาย
เป็นพืชของกสิกรตาม ป.อ. ม.359 (4)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2560/2527
บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายมีอาชีพกสิกรรมทำสวนมะพร้าว
แต่ตามข้อนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า
ผู้เสียหายมีอาชีพอะไรคงได้ความว่าต้นมะพร้าวที่ถูกฟันปลูกอยู่ในสวนของผู้เสียหาย
ไม่ได้ความว่าเป็นสวนมะพร้าวโดยเฉพาะ หรือสวนไม้เบญจพรรณ
แต่ปลูกตามแนวเขตที่ดินของผู้เสียหายรวมกับต้นมะพร้าวอื่นเป็นแนวเดียวกัน
จึงฟังไม่ได้ว่าต้นมะพร้าวที่ถูกฟัน
เป็นพืชที่ปลูกในการกสิกรรมของผู้เสียหายลงโทษจำเลยตาม ป.อ.ม.359 มิได้
มาตรา 360 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย
ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่ง “ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์”
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ต้องหาใช้เท้าถีบกระจกประตูห้องผู้ป่วยใน
ของ โรงพยาบาลแตก ประตูห้องผู้ป่วยใน ของ โรงพยาบาล เป็น ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือไม่
(" สาธารณประโยชน์ คือ ทรัพย์ที่เป็นประโยชน์กับประชาชนทั่วๆ
โดยตรง ฎ.1113/2516 สถานีตำรวจเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เป็นทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
มิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ) /
ดู ป.พ.พ. ประกอบ มาตรา 1304 “สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น
รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดิน ซึ่งใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
เช่น (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืน
หรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน (2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง
ทะเลสาบ (3) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า
ป้อม และโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธ ยุทธภัณฑ์” &
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดิน ซึ่ง
(1) ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือ (2) สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
ส่วนอนุ (1) - (3) ที่เหลือเป็นตัวอย่างครับ เพราะ
ขึ้นต้นคำว่า "เช่น" / กรณีของโรงพยาบาล มีข้อแตกต่าง
และมีข้อเหมือนกับสถานีตำรวจ สถานีตำรวจ มีไว้เพื่อเป็นสถานที่ราชการ
ทำงานของข้าราชการตำรวจโดยตรง ความรับผิดชอบของตำรวจ มากกว่า
งานที่บริการโดยตรงกับประชาชน เพราะไม่ใช่แค่รับแจ้งความของประชาชนเท่านั้น แต่งานของตำรวจนั้น
ไปถึงเรื่องการออกไปตรวจตราท้องที่ รักษาความสงบเรียบร้อย แสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน
สรุปคือ ประชาชน เข้าไปใช้ได้บริการสาธารณะ ไปแจ้งความร้องทุกข์ได้ แต่เป็นเพียงส่วนเล็กน้อย
ของงานที่ตำรวจรับผิดชอบ ส่วนโรงพยาบาลของรัฐนี่ การให้บริการแก่ประชาชน
เป็นงานหลัก โดยตรงเลยครับ แม้ตามปกติ คนรับบริการจะเป็นผู้ป่วย แต่ในที่นี้
ประชาชนทั่วไป ใคร ๆ ก็ป่วยได้ เข้ารับการรักษาได้ ส่วนที่นอกเหนือจากนี้
เป็นงานเสริมงานหลัก เช่น การบริหารงานบุคลากรภายใน ใช้เป็นสำนักงานของบุคคลากร
แต่ไม่มีภารกิจสำคัญอื่น มากไปกว่าการให้บริการรักษาประชาชน ผมจึงมองว่า
ทรัพย์ของโรงพยาบาล เป็นทรัพย์ที่มีไว้ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ไม่ใช่ทรัพย์ที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันอย่างเดียว
ในลักษณะของทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ อย่าง สถานีตำรวจ หรือค่ายทหาร
-
ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1968/2506 ทำนบซึ่งใช้เป็นทางสัญจรไปมานี้ เป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เมื่อจำเลยทำการขุด
ถือได้ว่าจำเลยทำให้เสียหายมีความผิดแล้ว แม้จะได้ความว่ามีการถมทำให้คืนดีดังเดิมแล้วก็ดี
จำเลยไม่พ้นความผิด ปอ มาตรา 360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 361/2518
จำเลยล้อมรั้วที่ดินตาม น.ส.3 ของจำเลย รุกล้ำลำห้วย
เพื่อกั้นเอาบ่อน้ำสาธารณะมาเป็นของตน ทำให้ประชาชนเข้าไปใช้น้ำในบ่อไม่ได้
บ่อน้ำคงมีสภาพเป็นบ่อน้ำตามเดิม ไม่ได้ถูกทำให้ไร้ประโยชน์ไปอย่างใด
ไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2538/2522 จำเลยขุดทำลายถนน ซึ่งประชาชนช่วยกันทำ
และได้ใช้สัญจรไปมาเป็นถนนสาธารณะแล้ว จำเลยมีความผิดตาม มาตรา 360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1175/2526
โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์ฯ เสียค่าบริการใช้อย่างเดียว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างอื่น
ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะใช้และใช้ได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ
จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เมื่อจำเลยทำให้หูโทรศัพท์สาธารณะแตกเสียหายใช้การไม่ได้
จึงต้องมีความผิดตาม ป.อ.ม.360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1517/2529
จำเลยปิดกั้นทางสาธารณะโดยการขุดหลุมและปักเสาไม้ลงบนถนนแล้วใช้ไม้
และกิ่งไม้ขวางไว้โดยมีเจตนาไม่ให้บุคคลทั่วไปผ่านไปมาการขุดหลุมปักเสาลงบนถนนย่อมทำ
ให้ถนนเสียหาย และการที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถผ่านไปมาได้
ย่อมเป็นการทำให้ถนนไร้ประโยชน์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.360
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 8140/2541 จำเลยบุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์
และได้แผ้วถางที่ดินดังกล่าวใช้ทำไร่
ทำให้บุคคลอื่นทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์จากหนองคำปลาหลา อันเป็นสาธารณประโยชน์
ในส่วนที่จำเลยบุรุกยึดถือครอบครอง เป็นการทำให้หนองสาธารณะนั้น ไร้ประโยชน์
แม้เป็นเพียงบางส่วน การกระทำของจำเลย ก็เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้
หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์แล้ว ตาม ป.อ. มาตรา 360
-
กรณีไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1113/2516 สถานีตำรวจ
เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ปพพ ม 1304 (1) แต่เป็นทรัพย์สินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ตาม มาตรา 360
จำเลยทำให้สถานีตำรวจเสียหาย ไม่ผิด มาตรา 360 จำเลยเสพสุราเมา ขึ้นไปบนสถานีตำรวจและใช้ปืนยิงขึ้นโดยใช่เหตุ ผิดตาม
มาตรา 378 กระทงหนึ่ง และ มาตรา 376 กับ มาตรา 358 อีกกระทงหนึ่ง
มาตรา 360 ทวิ
ผู้ใดทำให้เสียหาย
ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่ง “ทรัพย์ตามมาตรา
335 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่ประดิษฐานอยู่ในสถานที่ตามมาตรา 335
ทวิ วรรคสอง” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
361 ความผิดตามมาตรา 358 และมาตรา 359 เป็นความผิดอันยอมความได้
-
ประเด็นเรื่องผู้เสียหาย
-
คำชี้ขาด 61/2537 (รวมคำชี้ขาดฯ 2535 - 2538 เล่ม 1 น 185 ) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เป็นความผิดที่กระทำต่อกรรมสิทธิ์ เจ้าของทรัพย์เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายได้ ผู้เช่ายังไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ที่กระทำต่อกรรมสิทธิ์ และการกระทำในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องเป็นการกระทำต่อทรัพย์
“ให้มีสภาพเลวลง” ลำพังการกระทำของผู้ต้องหาที่เป็นการปรับปรุงดัดแปลงนั้น
ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำให้เสียหายฯลฯ อย่างไร จึงชี้ขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานทำให้เสียทรัพย์
(เทียบ ข้อหารือ ที่ อส 0017/14144 ลว 8
พ.ย. 2537 ทรัพย์สินของนิติบุคคลซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ
ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม ฉะนั้น ความผิดฐานฉ้อโกงที่กระทำต่อนิติบุคคลที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ
จึงไม่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ที่จะต้องห้ามตามมาตรา
121 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การดำเนินคดีกับผู้ฉ้อโกงทรัพย์สินขององค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงกระทำได้โดยมิพักต้องมีการร้องทุกข์
-
คำชี้ขาดที่ 107/2541 (อัยการนิเทศ 2542 เล่ม 61 ฉบับ 1 หน้า 25) รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นกรรมสิทธิ์ของพี่ชายผู้เสียหาย
ซึ่งได้มอบให้ผู้เสียหายไว้ใช้มาเป็นเวลานาน 5 ปี เมื่อมีผู้มาทำให้รถยนต์ที่อยู่ในความครอบครองได้รับความเสียหาย
ถือว่าผู้ครอบครองรถยนต์ดังกล่าวเป็นผู้เสียหายโดยตรง มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
-
ประเด็นเรื่องผู้เสียหาย
และเงื่อนไขการร้องทุกข์และสิทธิในการดำเนินคดี
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1319/2462 อัยยการนครสวรรค์
โจทก์ นายดำ จำเลย ธ.3 หน้า 749 (ประชุมสารบัญฎีกา 1748 รวมฎีกา 35 ปี
ตอนที่ 3 บรรพ 5 ลักษณะอาชญา โดยนายมาลัย จั่นสัญจัย หน้า 1748) จำเลยได้ใช้สาสตราวุธ สับฟันประตูสถานีรถไฟแตกหักเสียหาย
อัยยการจึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 324 - 325 โดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ ปัญหามีว่าอัยยการจะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่
ตัดสินว่าถึงแม้จะเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็ดี
อัยยการก็มีอำนาจฟ้องได้เพราะเท่ากับเป็นเจ้าทุกข์เสียเอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 405/2464 อัยยการนครสวรรค์
โจทก์ นายดำจำเลย ธ.5 หน้า 294 (ประชุมสารบัญฎีกา 1748 รวมฎีกา 35 ปี
ตอนที่ 3 บรรพ 5 ลักษณะอาชญา โดยนายมาลัย จั่นสัญจัย หน้า 1748) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวนั้น
ถ้าแม้ทรัพย์ที่เสียหาย เป็นทรัพย์ของรัฐบาลแล้ว อัยยการก็มีอำนาจฟ้องได้
โดยไม่ต้องมีผู้ร้องทุกข์ (ข้อมูล website ศาลฎีกา ย่อฎีกา ฎ 405/2464 ความผิดทำให้เสียทรัพย์ของแผ่นดิน เช่นฟันประตูเสาแลฝาสถานีรถไฟหลวงชำรุด
ถึงแม้จะไม่มีผู้ร้องทุกข์ พนักงานอัยการก็ว่าความได้เสมอ)
-
กฎหมายลักษณะ อาญา ร.ศ.127 / ภาค 2
ว่าด้วยลักษณะความผิด / ส่วนที่ 9
ว่าด้วยความผิดที่ประทุษร้ายแก่ทรัพย์ / หมวดที่ 7
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
-
มาตรา 324
ผู้ใดมิได้มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แลมันบังอาจทำแก่ทรัพย์ของผู้อื่น
ให้ทรัพย์ของเขาเป็นอันตราย หรือชำรุดไป ท่านว่ามันมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ต้องระวางโทษานุโทษเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้จำคุกไม่เกินกว่าสองปี
สถานหนึ่งให้ปรับไม่เกินกว่าพันบาท
สถานหนึ่งให้ลงโทษทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามาแล้วด้วยกัน
-
มาตรา 326
การฟ้องเอาโทษแก่ผู้กระทำผิดกฎหมายหมวดนี้นั้น ท่านให้ถือว่า ต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายมาร้องทุกข์
จึ่งให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 18/2536 เงินค่าครุภัณฑ์ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเบียดบังไป
เป็นเงินที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จ่ายให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอ
เพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม
แต่โจทก์ร่วมไม่ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้รับมอบเงินแทน
ต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าว ยังคงเป็นของทางราชการ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหาย เมื่อส่วนราชการที่เป็นเจ้าของเงินไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย
ฐานยักยอกทรัพย์พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
1 ความคิดเห็น:
การรักษาของแพทย์เป็นmedical treatment ครับ ไม่ใช่การทำร้าย เว้นแต่มีเจตนาแต่แรก มิฉะนั้นแพทย์คงไม่ยอมรักษาใครเลยเพราะจะถูกดำเนินคดีทั้งหมด
ช่างซ่อมบำรุง ทำให้ดีขึ้นไม่ใช่ทำลาย และเป็นความยินยอม
แสดงความคิดเห็น