หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก
รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์
มาตรา 337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น
ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน “โดยใช้กำลังประทุษร้าย” หรือ “โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย” ต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ
หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(1)
ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น
ให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น
หรือ
(2)
มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
-
“ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน”
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2543 จำเลยที่ 1 ชกต่อยทำร้ายผู้เสียหายเพื่อบังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายจำต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินและสัญญาซื้อขาย
การที่จำเลยที่ 2 พูดกับผู้เสียหายว่า คิดจะโกงหรือ
อย่ามาเล่นกับฉันนะ ในขณะที่ จำเลยที่ 1 กระชากคอเสื้อผู้เสียหายอยู่
และต่อมาจำเลยที่ 1 ต่อยที่ บริเวณหางคิ้วซ้ายผู้เสียหายจนบาดเจ็บเลือดออก
และพูดกับผู้เสียหาย ว่าให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน มิฉะนั้นจะเจ็บตัวอีก
ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันกับจำเลยที่ 1
ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และร่วมกัน ข่มขืนใจผู้เสียหาย ให้ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงิน
สัญญากู้เงินก่อให้เกิดสิทธิในหนี้ซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินแก่ผู้ให้กู้ จึงเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่ผู้ให้กู้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งสัญญากู้เงินจากการข่มขืนใจโดยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย
ให้ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้กู้เงินจากจำเลยที่ 2 อันเป็นการได้ประโยชน์
ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแล้วจึงเป็นการร่วมกันกระทำผิดฐานกรรโชก และทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย
-
“โดยใช้กำลังประทุษร้าย”
-
“โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต
ร่างกาย”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1278/2503 จำเลยเขียนจดหมายไปขู่เข็ญผู้เสียหายให้ส่งเงิน
3,000 บาท ไปให้จำเลย มิฉะนั้นบุตรผู้เสียหายจะเป็นอันตรายถึงชีวิต
แม้จะได้ความว่า บุตรของผู้เสียหายเอง เป็นคนบอกให้จำเลยเขียนจดหมายไปขู่เข็ญบิดา
เพื่อหลอกลวงให้บิดาส่งเงินมาให้ ก็ยังถือว่าผู้เสียหายถูกข่มขืนใจ จำเลยมีความผิดฐานกรรโชกตาม
มาตรา 337
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3221/2522 ตำรวจขู่พระภิกษุว่า มีผู้ร้องเรียนว่าเป็นพระจรจัด
ถ้าไม่ให้เงินจะเอาเรื่องรายงานจับสึก ผู้เสียหายว่าไม่มีเงิน ให้มาเอาใน 7 วัน ตำรวจทำมือลักษณะจะทำร้าย
ผู้เสียหายกลัว จึงชี้ซองใส่ธนบัตร 2,000 บาท ให้ตำรวจเอาไปเป็นกรรโชกตาม
ป.อ.ม.337
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3656/2527 จำเลยบอกผู้เสียหายว่า มีคนจ้างจำเลยฆ่าผู้เสียหาย แต่ไม่บอกชื่อคนจ้าง
พร้อมกันนั้นจำเลยขอเงินผู้เสียหาย ถ้าหากไม่ให้ ก็จะไม่รับรองความปลอดภัย
ผู้เสียหายตกลงยอมให้และนัดมาเอาเงินในวันรุ่งขึ้น ดังนี้ คำพูดของจำเลยเป็นการข่มขู่ผู้เสียหายให้ยอมให้
หรือยอมจะให้เงินแก่จำเลย อันเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหาย
ครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว แม้จะใช้คำว่า "ขอ" และ "เพื่อบอกชื่อผู้ที่จ้างฆ่า"
ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการข่มขู่เท่านั้น
หาทำให้การข่มขู่นั้น กลายเป็นการเรียกร้องเงินเพื่อตอบแทนการบอกชื่อผู้ว่าจ้างฆ่าผู้เสียหายไม่
-
“โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพ”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3861/2528 มีผู้ไปแจ้งว่าผู้เสียหายลักโค
สารวัตรใหญ่ให้จำเลยซึ่งเป็นตำรวจไปจับผู้เสียหาย ผู้เสียหายว่าซื้อมา
เอาสัญญาซื้อขายให้ดู จำเลยไม่ยอมดู พูดว่าโคอยู่ที่ใครก็จับคนนั้น
ถ้าไม่ให้จับ ต้องเอาเงินมาให้ ผู้เสียหายกลัวจึงมอบเงินให้จำเลยไป ดังนี้
เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจให้ผู้เสียหายยอมมอบให้ ซึ่งทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะจับกุมผู้เสียหายฐานลักทรัพย์
หรือรับของโจร อันไม่เป็นความจริง และผู้เสียหายเกรงกลัวยอมมอบทรัพย์ให้จำเลย
ตามที่เรียกร้อง จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม.148 ,337 ลงโทษตาม ม.148 อันเป็นบทหนัก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5096/2540 ครั้งแรก จำเลยและ ถ.ไปบ้านผู้เสียหาย ถ.บอกผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ
จำเลยได้ยินคำพูดของ ถ. แต่ก็นิ่งเฉยและมิได้ปฏิเสธเท่ากับจำเลยต้องการให้ผูเสียหายหายเชื่อหรือเข้าใจตามที่
ถ. บอก ทั้งจำเลยได้เรียกเงินจำนวน 2,000 บาท จากผู้เสียหาย มิฉะนั้นจะจับผู้เสียหาย
พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานแล้ว
ส่วนการเรียกรับเงินครั้งที่สอง แม้จำเลยไม่ได้บอกหรืออ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ
แต่จำเลยเคยไปหาผู้เสียหาย และมีพฤติการณ์แสดงให้ผู้เสียหายเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจริง
ทั้งผู้เสียหายเคยให้เงินแก่จำเลยเพื่อมิให้ถูกจับมาก่อน การที่จำเลยไปเรียกเงินจากผู้เสียหายอีกโดยขู่ว่า
หากไม่ให้จะจับผู้เสียหาย จนผู้เสียหายยอมให้เงินจำนวน 2 ,000 บาท แก่จำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น
และมีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา. มาตรา 145,
337
-
“โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียง”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1280/2543 วันเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โทรศัพท์ ไปข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมมอบเงินและรถยนต์แก่ตนโดยพูดขู่เข็ญ
ว่าจะนำเรื่องผู้บริหารของบริษัท ท. ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรมตามข่าวในหนังสือพิมพ์
ม. ไปอภิปราย ในรัฐสภาและให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์ อันเป็นการทำอันตรายต่อ
ชื่อเสียงและทรัพย์สินของบริษัท ท. ซึ่งมี ป. เป็นประธานกรรมการ บริษัทและมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ช่วยบริหารงานของบริษัท จนเป็นเหตุให้
โจทก์ร่วมยอมจะให้เงินสด 1,000,000 บาท กับรถยนต์กระบะ
1 คัน แก่จำเลยตามที่ต่อรองตกลงกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานกรรโชกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 337 วรรคแรก /
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
มีหน้าที่ควบคุมการบริหารงานราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีโดยการอภิปรายและตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องต่าง
ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรีนั้น ๆ ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับในช่วงเกิดเหตุ ในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
จำเลยมีสิทธิที่จะนำเรื่องที่มีข่าว ในหนังสือพิมพ์ในทำนองว่าผู้บริหารบริษัท ท.
ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรมไปอภิปรายในรัฐสภาโดยอภิปรายถึงการกระทำ
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งการอภิปรายจะต้องเชื่อมโยง ไปถึงผู้บริหารของบริษัท
ท. แต่เรื่องที่จำเลยจะนำไปอภิปรายจะต้อง เป็นความจริงหรือจำเลยเชื่อว่าเป็นความจริงจำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่
นำความอันเป็นเท็จไปอภิปรายในรัฐสภาได้ การที่โจทก์และโจทก์ร่วม อ้างว่าที่จำเลยพูดขู่เข็ญโจทก์ร่วมเกี่ยวกับเรื่องผู้บริหารของบริษัท
ท. ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น เป็นเรื่องที่จำเลย
แกล้งกล่าวหาเพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมให้เงิน และรถยนต์แก่จำเลยเพื่อแลกกับการที่จำเลยจะไม่นำเรื่องดังกล่าวไป
อภิปรายในรัฐสภา กรณีตามคำฟ้องไม่ใช่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งมีตำแหน่ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
อันเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ได้พบเห็นหรือรู้เห็นความผิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ที่รับสินบนจากผู้บริหารของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดขึ้นจริง
แล้วจำเลยใช้เหตุดังกล่าวมาเป็นข้อต่อรองเรียกรับทรัพย์สินจากโจทก์ร่วม โดยมิชอบ เพื่อแลกกับการที่จำเลยจะไม่นำเรื่องดังกล่าวไปอภิปราย
ในรัฐสภาตามตำแหน่งหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรการกระทำ ของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
เรียกรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อไม่กระทำการอย่างใด ในตำแหน่งหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 149
-
“โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สิน”
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายที่ 1 นำเงินจำนวน 5,500
บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1
และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืน จำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น
เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ
คือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 ไป
ซึ่งทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงินจำนวน
5,500 บาท ไปให้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก
ตาม ป.อ. มาตรา 337
-
กรณี ไม่เป็นการขู่เข็ญ “ว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพฯลฯ”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4075/2530 จำเลยเพียงแต่ทำนายดวงชะตาแก่ผู้เสียหาย
ว่าผู้เสียหายกำลังมีเคราะห์ให้สะเดาะเคราะห์ โดยเสียเงินค่ายกครูให้แก่จำเลย
หาใช่เป็นการขู่เข็ญตามความหมายของมาตรา 337 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไม่ ดังนั้น
แม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยพูดขู่ว่า ถ้าไม่ให้เงิน จะให้พ่อปู่มาทำอันตรายผู้เสียหายทางไสยศาสตร์
และผู้เสียหายยอมให้เงิน ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายเชื่อตามคำทำนายว่าจะมีเคราะห์
มิใช่เพราะกลัวคำขู่เข็ญของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
-
การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย
และการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริต
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 830/2502 เจ้าพนักงานป่าไม้
ยึดใบเบิกทางนำไม้ของผู้อื่นไว้เพื่อตรวจสอบตามอำนาจ
แต่แล้วเรียกร้องเอาเงินจากผู้ถูกยึด เพื่อแลกเปลี่ยนในการจะคืนใบเบิกทางให้
ยังไม่เข้าลักษณะบีบบังคับโดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือขู่เข็ญขืนใจ ไม่ผิดฐานกรรโชก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1942/2514 โคของจำเลยที่ 3
ถูกคนร้ายลักไปฆ่าเอาเนื้อขายให้ผู้เสียหายและพวก
ต่อมาจำเลยทั้งสี่ได้ไปเรียกร้องเอาเงินค่าโคจากผู้เสียหาย ถ้าไม่ให้จะเอาตำรวจจับตัวมาดำเนินคดีฐานรับซื้อเนื้อโคของร้าย
ผู้เสียหายกลัวถูกดำเนินคดีจึงยอมให้เงินแก่จำเลยที่ 3
จะถือว่าเป็นการข่มขืนใจโดยขู่เข็ญผู้เสียหายฐานรับของโจรได้
ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยมีเจตนาทุจริต ไม่ผิดฐานกรรโชก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2457/2518 (ขู่ว่าจะใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมาย และทำนองเสนอระงับข้อพิพาท ไม่ผิดกรรโชก)
จำเลยพูดว่าถ้าโจทก์จะรื้อบ้านพิพาท จะให้ตำรวจจับ
จะให้รื้อต่อเมื่อโจทก์นำเงินสดให้จำเลย 30,000 บาท
เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมาย และทำนองเสนอระงับข้อพิพาท
ไม่เป็นข่มขืนใจในฐานกรรโชก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2688/2530 (เน 51/12/34) (การขู่ ผู้ลักทรัพย์
เป็นการเสนอให้ใช้ราคาค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ผิดกรรโชก)
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าผู้เสียหายลักสติกเกอร์ราคา 1 บาท ของห้างฯ
ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ดูแลกิจการอยู่ไป การที่จำเลยเรียกให้ผู้เสียหายชำระค่าปรับแก่ห้างฯ
จำนวน 30 บาท มิฉะนั้นจะส่งตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจนั้น
เป็นการที่จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายในทางอาญาได้
คำพูดของจำเลยดังกล่าว
เท่ากับเป็นข้อเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อตกลงเลิกคดีตามที่ห้างฯ ถือปฏิบัติ
จำเลยไม่มีความผิดฐานกรรโชก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2531 (เน 51/12/34) (การขู่ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
ไม่ผิดกรรโชก) ป
เป็นผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยขอให้ช่วยสืบหาคนร้ายที่ลักกระบือของตน
นัดผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกบ้านมาเจรจากับจำเลย ย่อมมีมูลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายเป็นคนร้าย
การที่จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่ากระบือที่ถูกลักไป
เพื่อที่จะไม่ดำเนินคดีแก่ผู้เสียหาย โดยมี ป
ฝ่ายผู้เสียหายเป็นคนตกลงช่วยไกล่เกลี่ยจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย ตามที่ ป
ไกล่เกลี่ย ดังนี้เป็นการใช้สิทธิของตนโดยสุจริต ไม่ผิดฐานกรรโชก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4114/2533
ผู้เสียหายด่าจำเลยว่า "ไอ้แก่หัวหงอก หัวดำ"
แล้วสารวัตรกำนันเป็นผู้ไกล่เกลี่ย จนผู้เสียหายตกลงจ่ายค่าเสียหายให้จำเลยรวม 650
บาท และรับว่าจะไม่ด่ากัน ทั้งได้ขอขมาจำเลยด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าว
ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริต ว่าตนมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้เสียหายได้
ผู้เสียหายยินยอมให้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายจำเลยด้วยความสมัครใจ
หาใช่เกิดจากการข่มขู่ของฝ่ายจำเลย แม้ในระหว่างเจรจาเรื่องค่าเสียหายกันนั้น
จำเลยจะพูดกับผู้เสียหาย ด้วยถ้อยคำรุนแรง
ว่าถ้าผู้เสียหายไม่ให้เงินจะเอาตำรวจนับเข้าคุกและ
ถ้าไม่เซ็นชื่อในบันทึกชดใช้ค่าเสียหาย จะเห็นดีกันก็ตาม ย่อมถือได้ว่าเป็น
การใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมาย ในทำนองเสนอขอระงับข้อพิพาท การกระทำของจำเลย
ไม่เป็นการกระทำผิดฐานกรรโชกผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 330/2535
พวกจำเลยล้อมรถขายไอศกรีมของผู้เสียหายไว้ จำเลยที่ 3 เข้าต่อรองราคา
แม้จะเป็นราคาที่อาจรู้ว่าผู้เสียหายไม่ตกลงด้วย
ก็ไม่ถือว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อผู้เสียหาย การล้อมรถ
โดยไม่ปรากฏว่ามีทีท่าทางว่าจะเข้ามาทำร้ายผู้เสียหาย
เพียงแต่ยืนจับกลุ่มกันอยู่ก่อน ไม่ถือว่าเป็นการใช้พวกเข้าขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
เพื่อให้ผู้เสียหายยอมจะให้ทรัพย์แก่พวกจำเลย จึงไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
-
การขู่มีเหตุจูงใจอันมิชอบ
เพื่อจะดำเนินคดีตามกฎหมาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1123/2509 โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้จำเลยรับไปแล้วห้าแสนบาท
จำเลยตั้งข้อเรียกร้องเอาเงินค่าวิ่งเต้นให้โจทก์ร่วมจ่ายเพิ่มอีก
โดยพูดขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าไม่ตกลงจ่ายเงินตามที่จำเลยเรียกร้อง
ก็ให้เตรียมตัวเข้าคุก เป็นการข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมยอมจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก
จนโจทก์ร่วมผู้ถูกข่มขืนใจ ยอมจะให้เพิ่มขึ้นตามคำขู่ของจำเลย เพราะเกรงว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องได้รับโทษจำคุก
ซึ่งเป็นอันตรายต่อเสรีภาย ชื่อเสียงของโจทก์ร่วมเป็นความผิดตามมาตรา 337
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1615/2513 กระบือของจำเลยหายไป
ผู้เสียหายมิได้เป็นคนลัก จำเลยไปเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย
โดยกล่าวหาว่าผู้เสียหายลักกระบือ และขู่เข็ญว่าถ้าไม่ให้เงินจะพาตำรวจมาจับและผู้เสียหายจะต้องติดคุก
ทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่ทราบว่าผู้เสียหายลักกระบือจำเลยไปจริงหรือไม่
ผู้เสียหายกลัวว่าจะเสียเวลา จึงให้จำเลยไปโดยสมัครใจ จำเลยกระทำโดยเจตนาทุจริต
ผิดฐานกรรโชก (ยอมเพราะกลัวเสียเวลา ไม่ใช่เพราะกลัวคำขู่ ผิดพยายามกรรโชก)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3470/2543 (สต 7/136) จำเลยทั้งสามร่วมกันขู่เข็ญเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหาย
เพื่อที่จะละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหายไปดำเนินคดี จนผู้เสียหายกลัวว่าจะถูกจับกุม
อันจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพของตน จึงยอมจะให้จำเลยแก่จำเลยทั้งสามนั้น เป็นความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไป และฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคแรก ด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่เมื่อเป็นความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 149 แล้วจะไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา337 ด้วยไม่
เพียงแต่เมื่อเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว
ก็ไม่จำต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกเท่านั้น
-
ความผิดสำเร็จ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1193/2502 ผู้เสียหายถูกจำเลยขู่
จนยอมรับจะให้เงินตามที่จำเลยข่มขืนใจเอาแล้ว
ย่อมครบองค์แห่งความผิดฐานกรรโชกแล้วทุกประการ
จะได้รับเงินตามที่ผู้เสียหายรับปากให้แล้วหรือยัง
หาใช่สารสำคัญขององค์ความผิดฐานกรรโชกไม่ ฉะนั้น
การที่จำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับเสียก่อนที่จะได้รับเงินจากผู้เสียหาย
จึงไม่เป็นเหตุให้การกระทำของจำเลย อยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดไปได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1447/2513
จำเลยกับพวกมีอาวุธปืนติดตัวเข้าไป พูดจาให้ผู้เสียหายคิดบัญชีการเงิน
ที่จำเลยกับผู้เสียหายเข้าหุ้นกันทำการก่อสร้างโดยขู่ว่า ถ้าไม่คิดจะเกิดเรื่อง
แต่การกระทำของจำเลยไม่บรรลุผล เพราะผู้เสียหายไม่ยอมคิดบัญชีให้
ไม่ว่าจะด้วยเหตุที่ผู้เสียหายไม่กลัว หรือเพราะมีตำรวจมาขัดขวางก็ตาม จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามกระทำผิดต่อเสรีภาพแล้ว
แต่ไม่เป็นความผิดฐานพยายามกรรโชก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2025/2516 จำเลยที่ 1
กับพวกเข้าไปในร้านของผู้เสียหายและพูดขู่เข็ญเอาเงินจากผู้เสียหาย
ผู้เสียหายตอบว่าไม่มี พอดีมีคนเข้ามาในร้าน ผู้เสียหายจึงหลบหนีไป ต่อมาอีก 2
วันจำเลยที่ 1 กับพวกก็มาขอเงินจากผู้เสียหายอีก ผู้เสียหายตอบว่าไม่มีอีก
เมื่อจำเลยที่ 1 กับพวกไปที่ร้านผู้หายอีกคนหนึ่งก็ถูกตำรวจจับได้ ดังนี้ ผู้เสียหายยังไม่ยอมให้เงิน
หรือรับว่าจะให้เงินแก่จำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยที่ 1
อยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดฐานกรรโชกเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2406-2408/2519 ความผิดต่อเสรีภาพตาม มาตรา 309
และฐานกรรโชกตามมาตรา 337 นั้น เมื่อผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้นแล้ว
แม้จะยอมไม่เต็มตามที่ถูกเรียกร้อง ก็เป็นความผิดสำเร็จ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3656/2527 การข่มขืนใจโดยการข่มขู่จนผู้เสียหายยอมจะให้เงินแก่จำเลย
และนัดมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ถือได้ว่าการกรรโชกได้สำเร็จแล้ว
แม้ผู้เสียหายจะยินยอม เพื่อต้องการรู้ตัวผู้จ้างจำเลย
และได้นำเจ้าหน้าที่มาคอยจับจำเลย เมื่อมารับเงินในวันรุ่งขึ้น
ก็หาทำให้เป็นความผิดฐานพยายามไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1743/2530 เมื่อผู้เสียหายได้อ่านจดหมายกรรโชกของจำเลยแล้ว
จึงตกลงยอมจะให้เงินตามที่เรียกร้อง เนื่องจากเกรงจะได้รับอันตราย การที่ผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน
เป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครอง ตามที่ประชาชนกระทำกันตามปกติ มิใช่ผู้เสียหายไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญ
การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดสำเร็จ ไม่ใช่อยู่ในขั้นพยายาม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4012/2534
ผู้เสียหายยินยอมมอบเงินให้ ด. เพราะเหตุว่า ด. จะนำรูปถ่ายของผู้เสียหาย
ซึ่งแต่งตัวเป็นฆราวาสไปโฆษณา
อันเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของผู้เสียหาย และผู้เสียหายยินยอมมอบเงินให้
ด. แม้ ด.จะยังมิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไป
ก็เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์สำเร็จแล้ว
-
ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิดฐานกรรโชก
กับความผิดอื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1941/2500 จำเลยสมคบ 5 คน
มีอาวุธอ้างว่าเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยไม่เป็นความจริง ขู่เข็ญจับผู้เสียหายไป
หาว่าเล่นการพนัน แล้วขู่เอาเงิน มิฉะนั้นจะฆ่า
ผู้เสียหายปรึกษากันแล้วก็ส่งเงินให้จำเลย เป็นความผิดฐานปล้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 396/2503
โจทก์ฟ้องศาลขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชก ทางพิจารณาได้ความเพียงว่า จำเลยไปพูดขู่เอาเงินผู้เสียหายโดยว่าถ้าไม่ให้จะทำร้าย
แต่ผู้เสียหายไม่ได้ให้เงินไป หรือมิได้สัญญาว่าจะให้เงิน เพราะได้แจ้งความไว้แล้ว
และเจ้าพนักงานตำรวจมารอให้ความอารักขาอยู่แล้วจึงเข้าจับกุมจำเลย ดังนี้
ยังไม่เป็นผิดฐานกรรโชก เป็นเพียงความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพได้ เพราะความผิดฐานนี้รวมอยู่ในความผิดฐานกรรโชกด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1077/2505 ป. ส.
ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน
และค้นได้แป้งเชื้อสุราแล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ค. ที่บ้านของ ป.
ค.แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิตบอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เสียจะจับส่งอำเภอ
แล้วผู้เสียหายถูกคุมตัวไปหายืมเงินพบ ช.
ซึ่งเป็นกำนันได้เล่าเรื่องให้ฟัง ช.
พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช.
รับเงินไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช.
ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป.ส. และ ค. ดังนี้
ป.ส.ค.มีความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตาม มาตรา 145
ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามมาตรา 310 และฐานกรรโชกตามมาตรา 337 ส่วน ช.
เป็นเพียงสนับสนุนการกระทำผิดฐานกรรโชก ไม่ใช่เรื่องหลอกลวงฉ้อโกง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1945/2514 จำเลยได้ขู่เข็ญข่มขืนใจโจทก์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดแห่งหนึ่ง
ว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของห้างหุ้นส่วนจำกัดแห่งนั้นซึ่งเป็นนิติบุคคล
และเป็นบุคคลที่สาม และได้ขู่เข็ญข่มขืนใจโจทก์ ว่าจะเปิดเผยความลับ
ซึ่งการเปิดเผยนั้น จะทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวเสียหาย จนโจทก์ยอมจะให้เงินแก่จำเลยตามที่ถูกขู่เข็ญ
ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถูกขู่เข็ญเป็นผู้เสียหาย ตามความใน ป วิ อาญา มาตรา 2
(4) มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดฐานกรรโชกและฐานรีดเอาทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2434/2527 จำเลยกับพวกเอาตัวผู้เสียหายไป “หน่วงเหนี่ยว”
ไว้ในห้องพักโรงแรม ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
เป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อ “ขู่เข็ญข่มขืนใจผู้เสียหาย”
จนกระทั่งผู้เสียหายยอม ให้เงินแก่จำเลยกับพวก เป็นความผิดฐานกรรโชกอีกกรรมหนึ่ง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3679/2529 นายตรวจสรรพสามิต ไปตรวจที่ร้านค้าของผู้เสียหายเวลา
17.00 น. และเรียกผู้เสียหายไปบอกว่าสุราของผู้เสียหายไม่ค่อยดี
ซึ่งหมายความว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และจะจับสุราไปนั้น
ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่
และเมื่อเรียกร้องให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทน เพื่อจะไม่จับ ทั้งที่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทำผิดกฎหมายอย่างไร
จึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.148
ส่วนจำเลยอื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าพนักงาน เป็นเพียงพนักงานของบริษัทสุรา
แต่ได้ร่วมในการกระทำดังกล่าว มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน อันเป็นความผิดตาม
ม.148ประกอบด้วย ม.86
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้าสุราให้เงินแก่พวกจำเลย
ก็ด้วยความกลัวที่เกิดจากการถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะจับสุรา จึงเป็นความผิดตาม
ป.อ. ม.337 ด้วย ต้องลงโทษตาม ม. 148 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 631/2532 (สบฎ เน 100) ขู่ให้เขียนเช็ค ผิด 340 ไม่ผิด 337 (และผิด ม 309 ว 2
ข่มขืนใจ ให้ทำเอกสารสิทธิ) แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3
กับพวกร่วมกันขู่บังคับให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อในเช็ค 3 ฉบับ
สั่งจ่ายเงินให้จำเลยกับพวก แต่เจตนาของจำเลยทั้งสามกับพวก
ประสงค์ที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปในทันทีนั้นเอง เพราะขณะที่จำเลยที่ 3
กับพวกนำเช็คไปเบิกเงินที่ธนาคารนั้น โจทก์ร่วมยังถูกจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ป.
ควบคุมตัวไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือให้พ้นจากการจับกุม อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์
การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1844/2536 จำเลยกับพวกได้เป็นคนร้ายมีปากกาติดตัว เป็นอาวุธได้ร่วมกันข่มขืนใจนายพีระสัณห์
วีโนทัย ผู้เสียหาย โดยการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยกับพวกจำนวน
20 บาท การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ หรือยอมจะให้จำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น
จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 เมื่อฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์แล้วคดีไม่จำต้องพิจารณาว่า ศาลจะลงโทษจำเลยตามความผิดฐานชิงทรัพย์แล้วคดีไม่จำต้องพิจารณาว่า
ศาลจะลงโทษจำเลยตามความผิดฐานชิงทรัพย์ได้หรือไม่ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้วฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3058/2539 (สบฎ เน 41) จำเลยไม่มีอำนาจเรียกเก็บเงิน
แต่จำเลยมิได้ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายตั้งแต่ต้น
เงินที่เก็บก็เท่ากันทุกรายและไม่ได้ขู่เข็ญเอาเงินเกินกว่านี้
เพียงแต่ว่าหากไม่ให้เงินต้องไปจอดรถยนต์ที่อื่นเท่านั้น การขู่เข็ญจึงมีเงื่อนไข
มิได้เจตนาแย่งการครอบครองเงินโดยตรง ไม่ผิดลักทรัพย์
และไม่เป็นชิงทรัพย์ แต่เป็นการข่มขืนใจฯ ผิดฐานกรรโชกสำเร็จ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5096/2540 (สบฎ เน 36) ครั้งแรก จำเลยและ ถ.ไปบ้านผู้เสียหาย ถ.บอกผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ
จำเลยได้ยินคำพูดของ ถ. แต่ก็นิ่งเฉยและมิได้ปฏิเสธเท่ากับจำเลยต้องการให้ผูเสียหายหายเชื่อหรือเข้าใจตามที่
ถ. บอก ทั้งจำเลยได้เรียกเงินจำนวน 2,000 บาท จากผู้เสียหาย มิฉะนั้นจะจับผู้เสียหาย
พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานแล้ว
ส่วนการเรียกรับเงินครั้งที่สอง แม้จำเลยไม่ได้บอกหรืออ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ
แต่จำเลยเคยไปหาผู้เสียหายและมีพฤติการณ์แสดงให้ผู้เสียหายเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจริง
ทั้งผู้เสียหายเคยให้เงินแก่จำเลยเพื่อมิให้ถูกจับมาก่อน การที่จำเลยไปเรียกเงินจากผู้เสียหายอีกโดยขู่ว่าหากไม่ให้จะจับผู้เสียหาย
จนผู้เสียหายยอมให้เงินจำนวน 2,000 บาท แก่จำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
โดยจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น และมีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ผู้เสียหาย
ตามประมวลกฎหมายอาญา. มาตรา 145, 337
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1796/2541 พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปสอบถามโจทก์ร่วมเกี่ยวกับการเฝ้ารถ
เมื่อโจทก์ร่วมไม่ยอมให้เฝ้าจำเลยกลับเร่งเครื่องยนต์ให้ดังกว่าปกติ และพูดในลักษณะไม่รับรองความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์นั้น
ย่อมชี้ชัดให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ต้องการจะข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมให้ซึ่งค่าจอดรถแก่จำเลยนั่นเอง
แม้ในครั้งแรกโจทก์ร่วมจะปฏิเสธไม่ให้จำเลยเฝ้ารถ แต่เมื่อโจทก์ร่วมถูกจำเลยข่มขู่ในภายหลัง
จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเกิดความกลัวว่าจะเกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของตน
โจทก์ร่วมจึงยินยอมจ่ายเงินให้แก่ ศ. พวกของจำเลยไป นับได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการถูกจำเลยข่มขู่
ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จในข้อหากรรโชกแล้ว
แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะมิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดสำเร็จ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความเรียบร้อย
ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เองโดยลงโทษไม่เกินกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1280/2543
วันเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โทรศัพท์ไปข่มขืนใจโจทก์ร่วม
ให้ยอมมอบเงินและรถยนต์แก่ตน โดยพูดขู่เข็ญว่าจะนำเรื่องผู้บริหารของบริษัท ท.
ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามข่าวในหนังสือพิมพ์ ม.
ไปอภิปรายในรัฐสภาและให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์
อันเป็นการทำอันตรายต่อชื่อเสียงและทรัพย์สินของบริษัท ท. ซึ่งมี ป.
เป็นประธานกรรมการบริษัทและมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ช่วยบริหารงานของบริษัท
จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมยอมจะให้เงินสด 1,000,000 บาท กับรถยนต์กระบะ 1 คัน
แก่จำเลยตามที่ต่อรองตกลงกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตาม
ป.อ. มาตรา 337 วรรคแรก / ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งถือว่าเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
มีหน้าที่ควบคุมการบริหารงานราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี
โดยการอภิปรายและตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องต่างๆ
เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรีนั้นๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521
ซึ่งใช้บังคับในช่วงเกิดเหตุ ในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
จำเลยมีสิทธิที่จะนำเรื่องที่มีข่าวในหนังสือพิมพ์ในทำนองว่าผู้บริหารบริษัท ท.
ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไปอภิปรายในรัฐสภาโดยอภิปรายถึงการกระทำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งการอภิปรายจะต้องเชื่อมโยงไปถึงผู้บริหารของบริษัท ท.
แต่เรื่องที่จำเลยจะนำไปอภิปรายจะต้องเป็นความจริง หรือจำเลยเชื่อว่าเป็นความจริง
จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่นำความอันเป็นเท็จไปอภิปรายในรัฐสภาได้
การที่โจทก์และโจทก์ร่วมอ้างว่าที่จำเลยพูดขู่เข็ญโจทก์ร่วมเกี่ยวกับเรื่องผู้บริหารของบริษัท
ท. ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยแกล้งกล่าวหา
เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมให้เงินและรถยนต์แก่จำเลย
เพื่อแลกกับการที่จำเลยจะไม่นำเรื่องดังกล่าวไปอภิปรายในรัฐสภา
กรณีตามคำฟ้องไม่ใช่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
อันเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐได้พบเห็น หรือรู้เห็นความผิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่รับสินบนจากผู้บริหารของบริษัทท.
ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดขึ้นจริง แล้วจำเลยใช้เหตุดังกล่าว
มาเป็นข้อต่อรองเรียกทรัพย์สินจากโจทก์ร่วม โดยมิชอบ
เพื่อแลกกับการที่จำเลยจะไม่นำเรื่องดังกล่าวไปอภิปรายในรัฐสภา
ตามตำแหน่งหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน
เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐเรียกรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบ
เพื่อไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา149
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1161/2543 (ฎ สต 2543/4/41) ความผิดฐานกรรโชก เป็นการขู่ เพื่อประโยชน์ในภายหลัง
หากขู่เพื่อจะเอาประโยชน์ทันที เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ จำเลยชักอาวุธมีดคัดเตอร์
มาจี้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายกลัวจึงบอกให้ ส มอบเงินให้จำเลย ผิดฐานชิงทรัพย์ ไม่ใช่กรรโชก
เนื่องจากมิใช่การขู่ว่าจะทำร้ายผู้เสียหาย และให้ส่งเงินให้แก่จำเลยในภายหลัง (เทียบ ฎ 1844/2536 ผิดทั้งกรรโชก และชิงทรัพย์ได้)
-
ตัวการ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2117/2532 จำเลยที่ 3
ขับขี่รถจักรยานยนต์มายังที่เกิดเหตุ แล้วยังขับขี่ติดตามรถยนต์ของผู้เสียหายมา ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการที่จะติดต่อรับเงินจากผู้เสียหาย
ในการกระทำความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
จึงถือได้ว่าจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจริบได้
/ พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 3
ที่ 4 และที่ 5 ได้แล้ว แต่ก็เป็นเวลาต่อเนื่อง และเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำยังไม่ขาดตอน
ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกเคยส่งจดหมายถึงผู้เสียหายข่มขู่เรียกเงินจากผู้เสียหาย
มิฉะนั้นจะทำอันตรายแก่ชีวิต
ถือว่าจำเลยกับพวกตกลงร่วมกันจะกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือพยายามฆ่าผู้อื่นมาแต่ต้น
ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5
จะมิได้เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก
แต่ก็ต้องรับผิดในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นที่เกิดขึ้นด้วย
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 337
-
(ขส เน 2514/ 7) บุตรเอามีดจ่อคอตนเอง
เพื่อขอเงินมารดา มิฉะนั้นจะฆ่าตัวตาย มารดากลัวบุตรตาย จึงยอมให้เงิน / บุตรไม่ผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ม 337 และไม่มีความผิดต่อเสรีภาพ
ม 309 เพราะขู่เข็ญจะทำร้ายตัวเอง ไม่ใช่จะทำร้าย
หรือขู่ว่าจะทำอันตรายแก่ผู้ถูกขู่หรือบุคคลที่สาม ไม่ผิด ม 392 เพราะเป็นเรื่องกลัวบุตรจะฆ่าตัวตาย
ไม่ใช่กลัวตนเองหรือผู้อื่นจะเป็นอันตรายโดยการขู่เข็ญ
-
(ขส พ 2511/ 6) ดำเขียนจดหมาย ว่า แดงเป็นนักเลง ในย่านที่เขียวตั้งร้านค้าอยู่
ให้เขียวจ่ายค่าคุ้มครองให้แก่ดำผู้ถือหนังสือ หากไม่ให้จะได้รับอันตรายแก่ชีวิต /
เขียวไม่เชื่อว่าเป็นจดหมายของแดง แกล้งบอกดำให้คอย
แล้วเขียวโทรแจ้งตำรวจ เมื่อเขียวจ่ายเงินให้ดำ ตำรวจจึงจับดำ / ดำผิดฐานปลอมเอกสาร ม 264 และฐานพยายามกรรโชก ม 337, 80 เพราะเขียวไม่ยอมที่จะส่งทรัพย์ การส่งเงินให้ดำเพื่อหลอกจับ
ผู้กระทำมีความผิดเพียงพยายามเท่านั้น
-
(ขส พ 2517/ 8) แดงดำ หลอกขาวว่าเป็นตำรวจขอค้นบ้าน
และค้นได้แป้งสุรา คุมตัวไปมอบให้เขียว เขียวอ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรสามิต
ทำบันทึกให้ขาวยอมรับ และแจ้งให้นำเงินค่าปรับมาชำระ ขาวบอกไม่มีเงิน
แดงดำคุมตัวขาวไปหายืมเงิน ม่วงเป็นกำนัน แนะนำให้เสียค่าปรับ
แล้วทุกคนแบ่งเงินกัน / แดง ดำ เขียว ผิด ม 145 และ ม 310
และ ม 337 ประกอบ ม 83 ส่วนม่วงผิด ม 86 , 337 และ ม 157 ฎ 1077/2505
-
(ขส พ 2517/ 9) จ กับ ส ลงหุ้นกันรับจ้าง ส
กับพวกแต่งกายเป็นทหารและมีปืน เข้าไปเคหสถานของ จ
บอกให้คิดบัญชีเพื่อขอรับส่วนแบ่ง จ ไม่ยอม
การเข้าไปขอให้คิดบัญชีในการเป็นหุ้นส่วน มีเหตุสมควร ไม่ผิดฐานบุกรุก ส
ไม่ได้ข่มขืนใจ เพื่อให้ได้ทรัพย์สิน ได้แต่เพียงสิทธิในฐานะหุ้นส่วน ไม่ผิดกรรโชก
ม 337 ส กับพวกผิดฐานพยายาม ม 309 ว 2 , 80 ฎ 1447/2513
-
(ขส พ 2523/ 6) บุรุษไปรษณีย์แอบเปิดจดหมายหญิงที่ตนแอบรัก
และนำเงินในจดหมายไป แล้วเผาจดหมาย จากนั้นโทรศัพท์ไปขู่ผู้ส่งให้ส่งเงินให้ตน
มิฉะนั้นจะฆ่าหญิง ผู้ส่งกลัวหญิงถูกฆ่าจึงตกลง
ต่อมาแจ้งตำรวจแล้ววางแผนนำเงินไปล่อจับ / ไปรษณีย์ผิด ม 322
, 334 , 358 , 188 และผิด ม 337 เป็นความผิดสำเร็จ แม้ยังไม่ได้เงิน ฎ 1193/2502
-
(ขส พ 2524/ 9) ม 337 ฎ ป 1278/2503
+ 391+336 / ม 295 / ม 138 ฎ 2564/2517
-
(ขส พ 2528/ 9) นาย ข ขู่ นาย ก ที่ซื้อเนื้อโค
จากคนร้ายที่ลักเอาโค ของนาย ข ไป โดยขู่ให้ใช้เงินคาโค
ถ้าไม่ยอมจะให้ตำรวจจับฐานรับของโจร เป็นความชอบธรรมของนาย ข การเรียกเงินเพื่อตกลงทางคดี
หาใช่มีเจตนาทุจริตไม่ จึงไม่ผิด ม 337 ฎ 1942/2514 /
นาย ข บอกว่าได้แจ้งความไว้แล้ว ถ้าไม่ไปสถานีตำรวจ จะนำตำรวจไปจับ
นาย ข ไม่ใช่คนจับเอง และไม่เป็นการข่มขู่ หน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำให้นาย ก
ไปไหนไม่ได้ และไม่ทำให้ปราศจากเสรีภาพ ไม่ผิด ม 310 (ชี้ให้ตำรวจจับ)
ฎ 1301/2510 / ต่อมานาย ก นำเงินมา แต่นาย ข
นัดตำรวจมาจับ นาย ก จึงบังคับให้นาย ค ขับรถหนีตำรวจ ผิด ม 309+310 แล้วไล่นาย ค ลงรถ และขับหนีเอง ถึงที่โล่ง ก็จอดทิ้งไว้
แสดงว่าไม่มีเจตนาจะถือเอา อันจะเป็นการลักทรัพย์ ฎ 1683/2500
-
(ขส อ 2523/ 9) ตำรวจขู่พระว่ามีผู้ร้องเรียนเรื่องใบ้หวยและยุ่งสีกา
ให้จ่ายเงิน / พระไม่มี บอกว่า อีก 7 วันให้มาเอา
ตำรวจขอเอาเงินไปส่วนหนึ่งก่อน แล้วเอามือจับปืน พระกลัวจึงจ่ายเงินไป 1000
/ การข่มขืนใจเพื่อเอาเงิน และพระบอกอีก 7 วันให้มาเอา
ตำรวจผิด ม 337 ฎ 3221/2522 (สบฎ เน 5898)
/ การแสดงท่าไม่พอใจและจับปืน เป็นการขู่เข็นว่าทันใดนั้นจะทำร้าย
ผิด ม 339 เป็นกรรมเดียว ลงโทษ ม 339 ฎ
1637/2509
-
(ขส อ 2529/ 6) ตำรวจและราษฎร ร่วมกันแกล้งจับ ชกหน้า
ใช้ปืนตบปาก ยึดบัตรประชาชน เรียกเงิน คุมตัวไปบ้านเพื่อเอาเงิน / ราษฎรหลอกมารดาผู้ถูกจับ ว่าไปขับรถชน ให้จ่ายเงินเพื่อคดีจบ
มารดาไม่เงินน้อย จึงไม่เอา / ตำรวจผิด ม 148 + 337 +
297 + 83 / ราษฎรผิด ม 148+86 - 337+297+83 / ราษฎรที่หลอก
ผิด ม 341+80
-
(ขส อ 2533/ 4) แต่งกายคล้ายตำรวจ
ไม่ถือเป็นการสวมเครื่องแบบเจ้าพนักงาน แต่การอ้างเป็นนายดาบ
เป็นการใช้ยศโดยไม่มีสิทธิ ผิด ม 146 / การเรียกให้หยุดรถและขอเงิน
ยังไม่มีการกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน ไม่ผิด ม 145 / การได้เงินไป
ไม่ปรากฏว่าขู่เข็ญ ไม่ผิด ม 337
-
(ขส อ 2541/ 2) จำนำแหวน แล้วตามไปใช้มีดขู่เอาคืน
จะแทงให้ตาย / ผิด ม 337 ได้ประโยชน์ฯ (ม 337 ว 2 (1) ขู่ฆ่า +
(2) มีอาวุธ) + 349 เอาไปเสียทรัพย์ซึ่งจำนำ /
ไม่ผิดชิงทรัพย์ ม 339 เพราะทรัพย์เป็นของผู้จำนำ
จึงไม่เข้า ม 334 ไม่ ม 339 / ปรับ 90
(+ ม 309 ว 2 มีอาวุธ)
มาตรา 338 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น
ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน “โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ” ซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย
จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1945/2514 จำเลยได้ขู่เข็ญข่มขืนใจโจทก์
“ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ” ของห้างหุ้นส่วนจำกัดแห่งหนึ่ง ว่าจะเปิดเผยความลับ
เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งจะทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียหาย
(อันถือเป็นบุคคลที่สาม) จนโจทก์ยอมจะให้เงินแก่จำเลยตามที่ถูกขู่เข็ญ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถูกขู่เข็ญ
เป็นผู้เสียหาย ตามความใน ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4)
มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดฐานกรรโชกและฐานรีดเอาทรัพย์
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
-
(ขส เน 2511/ 9) ผู้ประกวดนางงามเคยเสียตัวมาแล้ว
นายธาดาจึงเข้าไปขู่ว่าหากไม่จ่ายเงิน จะแจ้งกรรมการว่าเคยเสียตัวให้ชายอื่นมาแล้ว
ผู้ประกวดจึงตกลงจะจ่ายเงินตามคำขู่ โดยบอกให้น้องสาวไปเอาเงินมาให้นายธาดา
น้องสาวโทรเรียกตำรวจมาจับ โดยนายธาดายังไม่ได้รับเงิน / ผู้ประกวดตกลงยอมให้ตามที่ถูกข่มขืนใจ
ให้ยอมให้ นายธาดามีความผิดสำเร็จฐานรีดเอาทรัพย์ ตาม ม 338 (ผิด ฐานกรรโชก ตาม ม 337 ด้วย
เพราะขู่ว่าจะทำให้เสียชื่อเสียง แต่ถือเป็นบททั่วไป ซึ่งไม่ต้องปรับบทนี้อีก)
-
(ขส พ 2502/ 8 ครั้งที่สอง) คนยามเห็นผู้จัดการ
ลอบเข้าทำไปลายเอกสารบริษัทตอนกลางคืน จึงแสดงตัว และขู่จะรายงานกรรมการ
โดยให้ผู้จัดการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ (ก) ให้มอบเงินให้บุตรของคนยาม หรือ (ข) จดทะเบียนสมรสกับลูกสาวของคนยาม ผู้จัดการจึงยอมจดทะเบียนสมรส / (ก) การขู่ให้มอบเงินให้บุตรของคนยาม
คนยามผิดฐานรีดเอาทรัพย์ เมื่อผู้จัดการไม่ยอมตามข้อนี้
จึงผิดฐานพยายามรีดเอาทรัพย์ / (ข) การขู่ให้จดทะเบียนสมรสกับลูกสาวของคนยาม
ผิด ม 309
-
(ขส พ 2522/ 9) แสงกู้เงิน วางโฉนดเป็นประกัน
แล้วจ้างผ่องไปลักโฉนด ผ่องเห็นว่าได้ค่าจ้างน้อย เขียนจดหมายขู่แสง
ให้เพิ่มค่าจ้าง มิฉะนั้นจะคืนโฉนดและบอกเจ้าหนี้ / การมอบโฉนดไม่เป็นการจำนำ
ไม่ผิด ม 349,84 และไม่ผิด ม 334,84
เพราะเป็นทรัพย์ตน แต่ผ่องผิด ม 338
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น