ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต
มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น
ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
-
เทียบตัวบท ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดลหุโทษ
-
เจตนาฆ่า + ตาย =ม 288
-
เจตนาทำร้าย + ตาย =ม 290 + อันตรายแก่กาย =ม 295
-
+
อันตรายสาหัส =ม 297
-
เจตนาทำร้ายโดยไม่ถึงขนาดจะทำให้เกิดอันตรายแก่กายฯ
(พิจารณาจากพฤติการณ์และผล) +
ไม่เกิดอันตราย ม 391
-
ประมาท + ตาย =ม 291 + อันตรายสาหัส =ม 300 + อันตรายแก่กาย =ม 390
-
ขาดองค์ประกอบภายนอก
-
ฎ 668,669/2521 ม.ถูกยิงแล้วตายทันที จำเลยฟัน ม.เมื่อ ม.ตายแล้ว
ไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.295 (ไม่ปรับ ม 81)
-
ขาดเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1022/2503
การที่จะลงโทษบุคคลฐานพยายามฆ่าคนนั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนากระทำการเพื่อการฆ่า
เพียงแต่จำเลยถือปืนส่ายไปมาต่อหน้าคนหมู่มาก แล้วกระสุนลั่นออก
โดยไม่ได้จ้องยิงผู้ใด คดีมีทางส่อให้วินิจฉัยได้ว่า จำเลยประมาทเลินเล่อ
ทำให้ปืนลั่นออกไปโดยไม่มีเจตนาจะเหนี่ยวไกปืนลั่นกระสุน
จึงจะลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าคนไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 626/2528 จำเลยยิงปืนลูกซองยาว 1 นัด ไปที่กองมะพร้าว 400
ลูกซึ่งบรรทุกอยู่ในกระบะรถยนต์สูงถึงหลังคารถ
เมื่อรถแล่นเลยตำแหน่งที่จำเลยยืนไม่ต่ำกว่า 3 - 4 วา จำเลยย่อมเล็งเห็นแล้ว
ว่าไม่มีทางที่กระสุนปืนจะทะลุกองมะพร้าว ซึ่งสูงถึงหลังคารถไปถูกผู้เสียหายที่นั่งในเก๋งหน้ารถได้
ดังนี้จำเลยไม่มีเจตนาฆ่า จึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1389/2529 จำเลยจ้องปืนไปยังผู้เสียหาย
โดยที่นิ้วมือของจำเลยอยู่ในโกร่งไกปืน หากเจตนาฆ่า ก็อาจยิงได้ทันที
โดยที่ไม่อาจห้ามได้ทันเหตุเกิดในเวลากลางวันที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนเกิดเหตุ
1 เดือนเศษจำเลยใช้ไม้ตีศีรษะ ช.พี่ภรรยาของผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายพา
ช.ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ก็ไม่น่าเป็นเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องฆ่ากัน
เมื่อพี่เขยจำเลยมาจับมือที่ถือปืนให้ปากกระบอกเบนขึ้น
ไม่ปรากฏว่าจำเลยพยายามดิ้นรนขัดขืนที่จะยิงผู้เสียหาย ดังนั้น
จำเลยไม่มีเจตนาจะยิงผู้เสียหาย อาจกระทำไปเพื่อขู่
จึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3579/2531
เจ้าพนักงานตำรวจวิ่งไล่ตามจับจำเลยซึ่งวิ่งหนีไปในระยะห่างกันประมาณ 50 เมตร จำเลยหันกลับมาแล้วใช้ปืนยิงมาที่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งวิ่งนำหน้า
1 นัด
เมื่อพฤติการณ์ที่จำเลยยิงดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเป็นการยิงในลักษณะมุ่งเล็งต่อเป้าหมาย
ทั้งตามบันทึกการจับกุม
ก็ระบุแต่เพียงว่าจำเลยยิงสกัดกั้นการติดตามของเจ้าพนักงานตำรวจ
แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะยิงเจ้าพนักงานตำรวจคนหนึ่งคนใด หากเป็นเพียงการยิงขู่เพื่อมิให้เจ้าพนักงานติดตามจับกุม
เท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6322/2540 ขณะที่จำเลยวิ่งหลบหนีสิบตำรวจตรี ส. และพลตำรวจ ส.
จำเลยหันมายิงปืนใส่เจ้าพนักงานตำรวจทั้งสอง 1 นัด เพื่อให้พ้นจากการจับกุม
จากนั้นหลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ โดยมิได้ยิงปืนใส่เจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองอีก
เช่นนี้ จะฟังว่าการยิงปืนของจำเลยดังกล่าวเป็นการจ้องเล็งปืนยิงตรงไปยังเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองโดยมีเจตนาฆ่าหาได้ไม่
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่
-
เจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผล
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 308/2499 ได้ความว่าจำเลยใช้มีดปลายแหลมขนาดข่อนค้างใหญ่ตัวมีดวัดได้ยาวถึง 21
ซม. จำเลยแทงผู้ตายโดยเต็มแรงตรงชายโครงด้านขวาซึ่งเป็นที่สำคัญปรากฏว่าผู้ตายถูกแทงเป็นบาดแผลลึกถึง
14 1/2 ซม. กว้าง 3 ซม.ทะลุภายในช่องท้องถึงกะเพาะอาหารลำใส้ขาดทะลักออกมาจุกปากแผลโลหิตตกใน
ผู้ตายถูกแทงแล้ววิ่งไล่จำเลยไปได้ 4 วาก็ล้มลงขาดใจตาย
การกระทำของจำเลยอาจแลเห็นผลได้ว่าผู้ที่ตนแทงอาจถึงแก่ความตายถือว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยเจตนา
/ จำเลยจะฆ่าคนตายโดยเจตนาหรือไม่เจตนานั้น ศาลจะต้องพิเคราะห์ถึงอาวุธที่ใช้ทำร้ายว่าร้ายแรงเพียงใด
ลักษณะของบาดแผลที่ถูกทำร้าย ผลอันเนื่องมาจากการกระทำร้าย
ประกอบกันเข้าเป็นเกณฑ์วินิจฉัยความผิดของจำเลย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1414/2499 ในการที่จะพิเคราะห์ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าคนตายหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุการตระเตรียมการก่อนลงมือกระทำร้ายลักษณะของอาวุธที่ใช้ทำร้ายตลอดจนการกระทำของจำเลยและลักษณะบาดแผลรวมประกอบกัน
/ ได้ความว่าจำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนแล้วเกิดเป็นปากเสียงทะเลาะกันอีกพอเกิดทะเลาะกันแล้วจำเลยหยิบเอาเหล็กสว่านแต่จะใช้เป็นไขควงก็ได้ยาว
10 ซม. ด้ามเป็นเหล็กขนาดเท่า ๆ กัน
ส่วนใหญ่ที่สุดของสว่านก็คือตอนที่ใกล้กับส่วนปลายที่แหลมและกว้าง 0.6 ซม.ซึ่งเป็นเครื่องประหารที่ทำให้ร่างกายบุบสลายถึงสาหัสได้
หยิบแล้วเอาใส่กระเป๋ากางเกงไว้
แสดงว่าเป็นการตระเรียมจะทำร้ายร่างกายด้วยของกลางแล้วจำเลยได้ใช้ไขควงหรือสว่านนี้แทงอกทางซ้ายของผู้ตายซึ่งเป็นที่สำคัญ
แผลที่แทงปรากฏว่าลึกถึง 8 ซม. เห็นได้ว่าจำเลยได้แทงเข้าไปอย่างแรงจนเกือบมิดด้ามของเหล็กไขควง
ถือได้แล้วว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่อาจแลเห็นผลได้ เข้าลักษณะเจตนาฆ่า.
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 902/2500 จำเลยลักทรัพย์
เจ้าทรัพย์เข้าจับ จำเลยต่อสู้ใช้มีดปลายแหลม ยาวทั้งตัวและด้ามเท่าปากกาหมึกซึม
แทงเจ้าทรัพย์ 10 กว่าแผล รักษาเดือนเศษจึงหาย ไม่ใช่เรื่องวิวาทต่อสู้
จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1697/2522 จำเลยขับรถยนต์หลอกหญิงว่าจะพาไปส่งบ้าน
เมื่อรถผ่านบ้านกลับเร่งรถเร็วขึ้น พวกของจำเลยท้ายรถดึงมือหญิงไว้มิให้ลงจากรถ
หญิงจะหลุดจากมือพวกจำเลย หรือพวกจำเลยปล่อยมือหญิงก็ตาม หญิงตกจากรถตาย
ไม่ใช่พยายามโดดลงจากรถเอง เป็นการที่เล็งเห็นผลร้ายได้อย่างแน่ชัด
เป็นเจตนาฆ่าหญิงนั้น ฟ้องว่าผลักตกจากรถ ได้ความดังกล่าวต่างจากฟ้อง
ก็ไม่ใช่ข้อสารสำคัญ จำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ลงโทษได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2255/22 บรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถบรรทุก 10 ล้อ
ทางไม่ให้รถที่ตามมาแซง
เมื่อเห็นรถโดยสารสวนมาใกล้จำเลยหยุดรถทันทีและหักหัวรถมาทางซ้าย
รถที่ตามมาต้องหักหลบไปทางขวาและชนกับรถที่สวนมา เป็นเหตุให้คนตาย
ทั้งนี้โดยจำเลยเล็งเห็นผลเจตนาให้คนตาย หรือประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ดังนี้
ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ได้ความว่าจำเลยขับรถปิดทางและหยุดรถทันทีดังฟ้อง
จำเลยเล็งเห็นผลว่าจะเกิดเหตุคนตายเป็นฆ่าคนโดยเจตนา ตาม ป.อ.ม.288
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1270/2526
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกดินลูกรังเกินกำหนด พอถึงจุดตรวจซึ่งมีแผงเหล็กเครื่องหมาย
"หยุด" ตั้งอยู่กลางถนน ตำรวจได้เป่านกหวีดและให้สัญญาณให้จำเลยหยุด
จำเลยกลัวถูกจับ จึงไม่หยุดรถ
แต่กลับเร่งเครื่องยนต์หลีกเครื่องหมายจราจรพุ่งเข้าใส่ตำรวจที่ยืนอยู่ทางซ้าย 2-3
คน แต่ตำรวจกระโดดหลบเสียทัน ดังนี้
จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ารถยนต์ที่จำเลยขับพุ่งเข้าใส่เช่นนั้น
จะต้องชนตำรวจที่ยืนอยู่ในถนนถึงแก่ความตายได้
จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม
ป.อ.ม.289,80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 231/2528 จำเลยยิงปืน 2
นัดไปยังท้ายรถยนต์โดยสารที่ตนขับตามหลังไปเนื่องจากความไม่พอใจที่มีการขับรถยนต์แซงปาดหน้าซึ่งกันและกันระหว่างจำเลยกับพนักงานขับรถยนต์โดยสาร กระสุนนัดหนึ่งทะลุกลางฝากระโปรงที่เก็บของ
และอีกนัดหนึ่งถูกเหนือไฟท้ายด้านขวา ต่ำกว่าที่ผู้โดยสารนั่งประมาณ15 และ 10 ซม.
จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่า อาจทำให้ผู้โดยสารได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต
จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2456/2531 จำเลยไม่พอใจผู้เสียหาย
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงเข้าไปในห้องพัก วิถีกระสุนที่จำเลยยิงถูกฝาห้องสูงจากพื้น
1 เมตรเศษ ซึ่งไม่เกินความสูงของบุคคลธรรมดา
โดยรู้อยู่ว่าผู้เสียหายอยู่ในห้องนั้น แม้จำเลยไม่เห็นตัวผู้เสียหาย
และไม่ทราบว่าผู้เสียหายหลบซ่อนอยู่มุมใดของห้องพัก จำเลยก็ย่อมเล็งเห็นผล
แห่งการกระทำของตนได้ ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ชีวิตได้ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า
จำเลยยิงโดยมีเจตนาให้ถูกผู้เสียหาย เมื่อกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย
จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 327/2540
นอกจากโจทก์จะมีมารดาผู้ตายเป็นประจักษ์พยานแล้ว
ยังมีแพทย์ผู้รักษาผู้ตายเบิกความสนับสนุนว่า
วันเกิดเหตุมารดาผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายถูกจำเลยจับโยนและพนักงานสอบสวนเบิกความว่า
หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยได้มอบตัวและให้การรับสารภาพโดยนำไปชี้ที่เกิดเหตุ
ซึ่งพยานโจทก์สอดคล้องกันมีน้ำหนักน่าเชื่อ
จำเลยเองก็เบิกความรับว่าวันเกิดเหตุได้ผลักผู้ตายเข้าไปหามารดาผู้ตายจริง
จึงเจือสมกับพยานโจทก์ และเมื่อผู้ตายตายเพราะกระดูกต้นคอท่อนที่ 7
เคลื่อนที่ไปข้างหลัง จากการกระทำของจำเลย ทำให้ภาวะการหายใจล้มเหลว
มิได้ตายเพราะโรคเลือดคั่งในสมองกำเริบ อันเป็นอาการบาดเจ็บที่มีอยู่เดิม
ซึ่งแม้จำเลยจะไม่มีเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายโดยตรง แต่ก็มีสาเหตุกับมารดาผู้ตาย
การที่จำเลยจับผู้ตายซึ่งเป็นเด็กอายุเพียง 3 ปี โยนใส่มารดาผู้ตายหลายครั้ง
จนศีรษะผู้ตายกระแทกตะกร้า กระดูกต้นคอเคลื่อน
ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจเป็นต้นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้
จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2870/2540 แม้จำเลยกับผู้เสียหายจะเป็นญาติพี่น้องกัน
สาเหตุแห่งการทำร้ายเกิดจากจำเลยโกรธที่ผู้เสียหายว่ากล่าวตักเตือนให้จำเลยเลิกดื่มสุรา
จำเลยได้ลอบเข้าไปแทงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายนอนหลับ
จำเลยเลือกแทงที่ท้องของผู้เสียหายอย่างแรง บาดแผลลึกถึง 4 นิ้ว
ทะลุลำไส้เล็กตัดเส้นโลหิตใหญ่ฉีกขาด
ถึงแม้จำเลยจะมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย
แต่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้
ย่อมถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา 59 วรรคสอง
และการที่จำเลยไม่แทงซ้ำอีกทั้ง ๆ ที่มีโอกาส
จะทำได้ก็ไม่ทำให้ความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป เพราะเจตนาโดยเล็งเห็นผลนั้นมุ่งถึงลักษณะแห่งการกระทำ
และผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้นเป็นหลัก มิได้มุ่งถึงเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4563/2543
จำเลยถอดกางเกงเดินเข้าไปเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย
ในขณะที่ผู้ตายไม่ได้สวมกางเกง และยืนพิงลูกกรงระเบียงอาคารซึ่งสูงเพียงระดับสะโพก
โดยผู้ตายมิได้ยินยอม จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าหากผู้ตายหลบหลีกขัดขืน
มิให้ข่มขืนกระทำชำเราแล้ว อาจจะตกลงไปจากระเบียงอาคาร ถึงแก่ความตายได้
เมื่อผู้ตายดิ้นรนขัดขืน เพื่อมิให้จำเลยข่มขืนกระทำชำเรา
จนผู้ตายพลัดตกลงไปจากระเบียงอาคารจนได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา
จึงเป็นผลที่เกิดโดยตรง อันเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย
-
พฤติการณ์แสดงถึงเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 369/2496 การใช้ปืนที่ทำขึ้งเองยิงคนนั้น จะสันนิษฐานว่าปืนที่ทำขึ้นเองใช้ยิงคนให้ตายได้หรือไม่
ยังไม่ชอบ ต้องดูพฤติการณ์ทั่วๆไป ประกอบ เช่นลักษณะของปืน กระสุนและบาดแผล
เป็นต้น. / ใช้ปืนที่ทำขึ้นเองยิงเขามีบาดแผล 3 แห่ง แผลที่ 1 ตรงเหนือข้อมือซ้ายกว้าง 5 ม.ม. ยาว 7 ม.ม. ลึกทะลุ, แผลที่ 2 ตรงชายโครงซ้าย กว้าง 3 ม.ม. ยาว 3 ม.ม. ลึก 3 ซ.ม. , แผลที่ 3 ตรงหน้าขาซ้าย กว้าง 1 ซ.ม.
ยาว 1 ซ.ม. ลึก 6 ซ.ม. ฐานแผลช้ำทั้ง 3 แผล ดังนี้ ตามลักษณะบาดแผลเช่นนี้
ถ้าถูกที่สำคัญอาจทำให้ถึงตายได้ จำเลยต้องมีความผิดฐานพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1215/2501 ใช้มีดยาวเกือบคืบแทงตรงหน้าอก
มีแผลเดียวทะลุถึงหัวใจ โดยมีโอกาสเลือกแทง แม้ผู้ตายต่อยจำเลยก่อน
ก็เป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา / ผู้ตายชกจำเลยตกจากฐานเสมาที่นั่ง
จำเลยใช้มีดแทงถูกอก จำเลยรูปร่างสูงใหญ่กว่า
เป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนาโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 59/2502
ใช้ปืนยิงคนตายโดยเชื่อว่าอยู่คงกระพัน อันปราศจากเหตุผล
เป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1281/2508
ผู้เสียหายถูกฟันด้วยมีดโต้ เป็นแผลที่หัวคิ้วขวาผ่านหน้าผาก ยาว 8
นิ้วกว้างครึ่งนิ้วลึกถึงมันสมอง กระดูกศีรษะแตก ถ้าผู้บาดเจ็บไม่ได้รับการรักษาเยียวยาให้ทันท่วงทีแล้ว
ย่อมถึงแก่ความตาย เห็นได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายให้ตาย
จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานพยายามฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 415/2509
จำเลยใช้จอบซึ่งยาวประมาณ 1 วา คมจอบกว้างประมาณ 6 นิ้วฟุต
ตีผู้ตายที่ศีรษะโดยแรงมีบาดแผล 2 แห่ง คือที่กลางกระหม่อมกว้าง 13 เซ็นติเมตร ยาว
18 เซ็นติเมตร กะโหลกศีรษะแตก และที่ขมับขวาแผลกว้าง 2 เซ็นติเมตรยาว 9 เซ็นติเมตร
กะโหลกศีรษะร้าว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำได้ว่าอาจทำให้ถึงตายได้
จึงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 859/2512 จำเลยเตะภรรยาว่าอุ้มบุตรอายุเพียงเดือนเศษ
จนภรรยาล้มลงและบุตรกระเด็นหลุดตกลงไปยังพื้นดินถึง 2
ครั้งขณะที่ภรรยาล้มนอนหงายอยู่กับพื้นดิน
จำเลยจับบุตรที่กระเด็นหลุดจากมือภรรยาไปนั้น ยกขึ้นกระแทกลงไปที่อกภรรยาโดยแรง
จนบุตรเกิดอาการบวมที่หน้าและศีรษะ หายใจขัดและถึงแก่ความตายในวันที่จำเลยกระทำร้ายนั้น
การกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าคนโดยเจตนาตาม มาตรา 288
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1487/2512
จำเลยใช้มีดพกปลายแหลมมีใบมีดยาวเก้านิ้วฟุต
ซึ่งวิญญูชนรู้ว่าหากใช้มีดนั้นแทงหน้าอกหรือกลางหลังอันเป็นอวัยวะสำคัญด้วยน้ำหนักมากก็มีผลให้ถึงตายได้
และบาดแผลตรงราวนม แม้ปรากฏว่าแผลไม่ถูกปอด
แต่แพทย์ต้องเจาะเอาเลือดออกจากช่องปอดจำนวนถึงร้อย ซี.ซี.
หากเลือดท่วมหรือเต็มปอดจะถึงตาย แสดงว่าแพทย์ได้รักษาไว้ได้ทันท่วงที
พฤติการณ์ที่กล่าวมา มีเหตุผลชี้บ่งว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
มิใช่เพียงเจตนาทำร้าย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1531/2512 จำเลยใช้ขวานขนาด 2 นิ้วครึ่ง ยาว 3 นิ้วครึ่ง ด้ามยาว17 นิ้ว
นับว่าเป็นขวานขนาดใหญ่
ฟันข้างหลังผู้เสียหายที่คออันเป็นอวัยวะสำคัญโดยแรงเป็นบาดแผลฉกรรจ์
ถ้าไม่รักษาพยาบาลทันท่วงทีก็อาจถึงแก่ความตาย เนื่องจากโลหิตออกมากได้
กรรมย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนา จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานพยายามฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1582/2513
จำเลยไม่พอใจที่ผู้ตายฉายไฟส่องหน้า จำเลยจึงใช้มีดปลายแหลมใบมีดยาวราว 1 คืบ
แทงผู้ตาย 1 ที ถูกที่เหนือราวนมซ้าย เป็นบาดแผลขนาด 2x1 เซนติเมตร แผลลึกแฉลบขึ้น
9 เซนติเมตร เข้าช่องปอดทางซ้าย เลือดตกในมาก แม้จะแทงเพียงทีเดียว
แต่ก็แทงถูกทีสำคัญมากและแทงโดยแรง จนผู้ตายล้มลง และตายในเวลาเพียง 1 ชั่วโมงเศษ
ถือว่ามีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1264/2514 จำเลยใช้มีดพกขนาดใหญ่ปลายแหลมยาว 12
นิ้วฟุต เฉพาะตัวมีดทำด้วยเหล็กยาว 7 นิ้วครึ่ง กว้าง 1 นิ้ว เข้าแทงทางด้านหลังผู้เสียหาย ตรงอวัยวะสำคัญ
ทะลุช่องซี่โครงเข้าช่องปอดและช่องท้อง ดังนี้
อยู่ในวิสัยที่จำเลยอาจเล็งเห็นผลแห่งการกระทำได้ว่า
ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายได้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2058/2514 จำเลยใช้ไม้ไผ่ตันยาว 1 หลา เส้นผ่าศูนย์กลาง
2 นิ้วฟุต ซึ่งเป็นไม้ใหญ่แข็ง ตีผู้ตายด้านหลังในขณะที่ผู้ตายหันหลังให้
และที่ตรงนั้นมีแสงสว่างเห็นได้ถนัด เป็นการเลือกตีตามใจชอบและเลือกตีที่สำคัญ
แม้จะตีเพียงทีเดียว แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา
ก็ถือเป็นการฆ่าโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 631/2515 ในขณะวิวาทต่อสู้กัน จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาวทั้งด้ามรวมคืบเศษ
แทงผู้ตายที่ใต้รักแร้ซ้าย อันเป็นอวัยวะสำคัญเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
แม้จำเลยแทงเพียงทีเดียว จำเลยก็ย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำนั้นได้ว่า
ผู้ถูกแทงจะถึงแก่ความตาย จึงต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1509/2515 ใช้มีดยาวทั้งตัวและด้ามประมาณ 1 ฟุต
แทงผู้ตายมีบาดแผลผิวหนังฉีกขาดขนาด 2x0.5
เซนติเมตร ทะลุผ่านเนื้อกล้ามเข้าช่องซี่โครงที่ 11 ข้างซ้ายด้านหลัง
เข้าช่องอกเฉี่ยวกระบังลมข้างซ้ายฉีกขาดทะลุเข้าหลอดเลือดแดงใหญ่ เลือดตกในมาก
แม้จะแทงเพียงทีเดียว แต่ก็แทงถูกอวัยวะที่สำคัญมากและแทงโดยแรง จนผู้ตายล้มลงขาดใจตายอยู่ตรงนั้น
และปรากฏว่าสถานที่เกิดเหตุมีแสงไฟฟ้าสว่าง ผู้แทงมีโอกาสที่จะเลือกแทงได้
เพราะผู้ตายไม่รู้ตัว และถูกเตะเซมาหาผู้แทง ดังนี้ ฟังได้ว่ามีเจตนาฆ่า ไม่ใช่มีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกาย
/ ชั้นสอบสวน จำเลยรับว่าได้เตะทำร้ายพวกผู้เสียหายตามข้อ กล่าวหา แต่ในชั้นศาล
จำเลยกลับให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น
และยังอ้างตนเองนำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้เตะใครในคืนเกิดเหตุ
และไม่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้นำเอาคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนขึ้นมาฟังประกอบการวินิจฉัยคดีนี้
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยจึงไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
ตาม ป.อาญา มาตรา 78
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1867/2517 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกใช้อาวุธปืนยิง
ส.ได้รับอันตรายสาหัส โดยมีเจตนาฆ่า ตาม มาตรา 288, 80, 297
จำเลยกระทำโดยมีเจตนาฆ่า ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 288,80 บทเดียว
ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 297 อีกบทหนึ่งด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2804/2519
ยิงด้วยปืนสั้นเข้าไปยังกลุ่มคนโดยสารในเรือเพลายาว
ถูกหัวเรือห่างคนที่หัวเรือ 2 ศอก ย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจถูกคนในเรือตาย
เป็นพยายามฆ่าคนโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 816/2520 จำเลยวิ่งเข้าชก ป.
ด้วยมีดโกนชนิดที่ใช้ในร้านตัดผม ในลักษณะเฉี่ยวปาดถูกบริเวณคอ บาดแผลยาว 10
เซ็นต์ เป็นอวัยวะสำคัญแต่ไม่ถูกเส้นโลหิตแดง ป. จึงไม่ตาย แสดงว่ามีเจตนาฆ่า เป็นความผิดตาม
ม.288, 80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1204/2520 ตีด้วยด้ามจอบโตกลม 3 เซนติเมตร โดยแรง 1 ที ถูกที่ท้ายทอย
กะโหลกศีรษะแตกเป็นชิ้น ๆ โลหิตตกใน ตายระหว่างนำส่งโรงพยาบาล
ย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ถึงตายได้ เป็นเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 736/2521 ใช้มีดพกปลายแหลมทั้งตัวทั้งด้ามยาว 1 คืบเศษแทงชายโครงขวา 1 ที
โดยมีโอกาสเลือกแทง และจะแทงซ้ำอีก หากผู้เสียหายหนีทัน และแพทย์รักษาได้ทันท่วงที
เป็นพยายามฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1734/2521 จำเลยเจตนาฆ่าตำรวจโดยขับรถยนต์ชน
แต่ไม่บรรลุผล เพราะตำรวจหลบทัน เป็นพยายามฆ่าคนโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 218/2525 จำเลยใช้ดุ้นฟืนยาว 1
ศอก ตีศีรษะผู้ตาย 2 ที
จนกะโหลกศีรษะผู้ตายแตก ยุบถึงมันสมอง
เป็นการตีโดยแรงที่อวัยวะสำคัญเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายทันที ดังนี้
จำเลยมีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2373/2525
จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาวประมาณ 6 นิ้ว แทงผู้เสียหายขณะหันหลังให้
จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะเลือกแทง
และแทงที่ใกล้สะบักซ้ายถึง 2 แผล
อันเล็งเห็นได้ว่าอาจถูกอวัยวะสำคัญภายในให้ถึงตายได้
บาดแผลดังกล่าวทำให้มีเลือดและลมในช่องปอด เมื่อผู้เสียหายหันกลับมา
จำเลยยังจ้วงแทงอีก 2 ครั้ง หากไม่ยกข้อศอกขึ้นรับ ก็คงจะถูกแทงที่หน้าอกอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญแห่งร่างกาย
ดังนี้ จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ลงโทษตาม ป.อ.ม.288,80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1119/2526 จำเลย
ผู้เสียหายและผู้ตายเมาสุรา แล้วเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกันในวงสุรา
และต่อเนื่องมาจนเกิดเหตุจำเลยแทงผู้เสียหาย และผู้ตายเป็นเรื่องต่างสมัครใจวิวาทเข้าทำร้ายกันเนื่องจากขาดสติ
เพราะเมาสุราจำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันตนโดยชอบหาได้ไม่ ผู้ตายมีบาดแผลถึง 8
แผล โดยเฉพาะที่หน้าอกมีถึง 6 แผล และทะลุเข้าหัวใจ เป็นเหตุให้ถึงตาย
แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1270/2526 ตำรวจได้เป่านกหวีดและ ให้สัญญาณให้จำเลยหยุด จำเลยกลัวถูกจับ
จึงไม่หยุดรถ แต่กลับเร่ง
เครื่องยนต์หลีกเครื่องหมายจราจรพุ่งเข้าใส่ตำรวจที่ยืนอยู่ทางซ้าย 2-3
คน แต่ตำรวจกระโดดหลบเสียทัน จำเลยย่อมเล็งเห็นผล
ผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการ ตามหน้าที่ตาม ป.อ.ม.289, 80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2320/2526
จำเลยเพิ่งรู้จักหญิงผู้เสียหายได้ 1 วัน
วันรุ่งขึ้นก็ชวนผู้เสียหายไปที่ห้องทำงานของจำเลย แล้วใช้เน็คไทรัดคอ ชกต่อย
ใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้เสียหาย ที่ใกล้ลิ้นปี่ลึกถึงเยื่อหุ้มหัวใจ
ดังนี้จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2331/2526
จำเลยใช้ไม้เหลี่ยมขนาด 4x2 นิ้ว
ยาวประมาณ 50 ซม.ตีผู้ตายเพียง 1 ทีที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ โดยจำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าสามารถทำให้ถึงตายได้
เมื่อกะโหลกศีรษะแตกเละ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายทันที
แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2426/2526
ผู้ตายถูกแทงมีบาดแผลที่บริเวณสีข้างซ้ายทะลุเข้าช่องท้องถูกลำไส้เล็ก ม้าม
และกระเพาะอาหารทะลุ มีโลหิตตกในช่องท้อง ถึงแก่ความตายเกือบจะทันทีทันใด
ส่วนผู้เสียหายศีรษะด้านขวาแตกยาว 3 ซม. หน้าอกแถบขวาและซ้ายระดับราวนมมีบาดแผลยาว
1 ซม. ลึกเข้าภายใน มีโลหิตออกในช่องปอด
แสดงว่าจำเลยกับพวกตีและแทงผู้ตายและผู้เสียหายที่อวัยวะสำคัญ
ถ้าผู้ถูกทำร้ายปอดแฟบหรือโลหิตออกมามากก็อาจทำให้ตายได้
ซึ่งจำเลยกับพวกย่อมสามารถเล็งเห็นผลในการกระทำของตน จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย
/ จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกพากันไปทำร้ายพนักงานขับรถ
ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพที่มีเรื่องกับพวกจำเลย
เมื่อพบผู้ตายและผู้เสียหายซึ่งแต่งเครื่องแบบพนักงานองค์การก็ร่วมกันเข้าทำร้ายทันที
แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้แทงผู้ตายและผู้เสียหาย ก็ถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวการในการแทงทำร้ายด้วย
เพราะจำเลยทั้งสองกับพวกมีเจตนาร่วมกันมาแต่แรก
ไม่ใช่กรณีต่างคนต่างทำร้ายโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2724/2526
จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์มีคมถึงสามคม
ถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรงแทงที่คอผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ โดยมิได้มีการวิวาทต่อสู้กัน
บริเวณบาดแผลมีเส้นเลือดใหญ่ เลือดออกมากถ้าดูดเลือด และเสมหะจากลำคอไม่ทัน
ก็ทำให้หลอดลมอุดตัน หายใจไม่ออก ทำให้ถึงตายได้
ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยอาจเล็งเห็นผลของการกระทำ
ว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ เมื่อแพทย์ทำการเยียวยารักษาไว้ทัน จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าตาม
ป.อ.ม.288,80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1270/2527
จำเลยไปตามโจทก์ซึ่งเป็นภริยาให้กลับบ้าน โจทก์ไม่กลับจำเลยโมโหเข้าแย่งบุตรอายุ 3
เดือนจากโจทก์ ขึ้นรถจักรยานยนต์และติดเครื่อง โจทก์ดับเครื่อง
จำเลยลงจากรถด้วยความโมโห และจับบุตรทุ่มบนถนน กระโหลกศีรษะแตกยุบถึงแก่ความตาย
ดังนี้จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.ม.288
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3030/2526
จำเลยใช้ขวานฟังศีรษะผู้ตายที่บริเวณเหนือหูอย่างแรง จนกะโหลกศีรษะแตกสมองบวม
โลหิตไหล แพทย์ไม่สามารถห้ามโลหิตได้ ดังนี้จำเลยฟันโดยเจตนาฆ่า ที่จำเลยไม่ฟังซ้ำ
เมื่อผู้ตายล้มลง และอุ้มผู้ตายไปรอขึ้นรถไปโรงพยาบาลนั้น
เป็นเหตุการณ์หลังจากจำเลยฟังผู้ตายแล้ว
เป็นการกระทำไปโดยสำนึกในความผิดที่ทำไปแล้ว
หาทำให้การกระทำของจำเลยที่กระทำก่อนนั้นซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า
กลับเป็นการกระทำที่ขาดเจตนาฆ่าไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3172/2526 จำเลยใช้มีดดาบยาว 1
ศอกเศษ ใบมีดกว้าง 1 เซนติเมตร
ฟันถูกที่คอผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญและเป็นที่รวมของเส้นโลหิตใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง
หากเส้นโลหิตใหญ่ขาดก็อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้
ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แม้บาดแผลของผู้เสียหายจะไม่ฉกรรจ์
ไม่ถึงกับเส้นโลหิตใหญ่ขาด เพียงแต่ได้รับบาดเจ็บมีบาดแผล เป็นรอยทางยาวที่คอ
จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1623/2527
จำเลยใช้ขวดตีผู้เสียหายขณะนอนหลับ จนได้รับอันตรายแก่กาย
ผู้เสียหายพยายามลุกขึ้นนั่ง จำเลยเตะจนล้มลง เมื่อผู้เสียหายพยายามจะลุกขึ้นนั่งอีก
จำเลยก็พูดว่า จะสู้หรือ แล้วใช้ปืนยิงผู้เสียหาย จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย /
จำเลยเพิ่งมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายหลังจากทำร้ายผู้เสียหาย จนได้รับอันตรายแก่กายแล้ว
เพราะเข้าใจว่าผู้เสียหายจะลุกขึ้นมาต่อสู้ จึงเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2172/2527
จำเลยใช้ไม้ไผ่ตันขนาดยาว 63 ซม.วัดโดยรอบ 9 ซม. ตีผู้ตายหลายที
รวมทั้งตีที่ศีรษะอันเป็นส่วนสำคัญของร่างกายจนกะโหลกศีรษะ
อันเป็นส่วนท้ายทอยบริเวณด้านล่างของสมองแตก ผู้ตายหมดสติหลังถูกทำร้ายไม่นานนัก
และถึงแก่ความตายในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่ามีเจตนาฆ่าผู้ตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2236/2527
จำเลยใช้มีดปลายแหลมแบบชายธงยาวทั้งตัว
และด้ามประมาณ 10 นิ้วแทงผู้เสียหาย 1 ที
ที่บริเวณหน้าท้องด้านซ้ายปากแผลกว้าง 3 ซม. เปลวไขมันไหลเลือดตกในประมาณ 500 ซีซี
ลำไส้เล็กถลอก พังผืดในช่องท้องมีเลือดซึมตลอดเวลา ต้องรักษาพยาบาลด้วยการผ่าตัด
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส มีดที่จำเลยใช้นับว่าเป็นอาวุธ ด้วยการผ่าตัด
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส
มีดที่จำเลยใช้นับว่าเป็นอาวุธที่ใหญ่และร้ายแรงอาจทำลายชีวิตได้ และจำเลยเสือกมีดแทงขณะเข้าเผชิญหน้าโถมตัวเข้ามุ่งประทุษร้ายสู่อวัยวะสำคัญ
ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
แม้จะแทงเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2720/2528 จำเลยผลักผู้เสียหายตกลงมาจากช่องเพดานโบสถ์
ซึ่งอยู่สูงจากพื้นโบสถ์ประมาณ 10 เมตร พื้นโบสถ์เป็นซีเมนต์เรียบ
หากตกลงมาโดยศีรษะกระทบพื้นแล้วอาจถึงตายได้
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลังหัก
ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีก็อาจพิการถึงตลอดชีวิต ดังนี้
จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าอาจจะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 15/2529 จำเลยปล้นรถยนต์ และใช้ยาสลบปิดจมูกผู้เสียหายซึ่งเป็นคนขับ
แล้วขับรถหนีไป ต่อมาช่วยกันโยนผู้เสียหายซึ่งกำลังมึนงงหมดแรง
เพราะยาสลบลงไปในคลอง ซึ่งมีน้ำลึกท่วมศีรษะ จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
โดยย่อมเล็งเห็นผลว่า อาจทำให้ผู้เสียหายจมน้ำตาย
เพราะเข้าใจว่าผู้เสียหายกำลังอยู่ในภาวะมึนงง ไม่มีแรงจะว่ายน้ำได้
เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม.289,80 ด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 784/2529 น.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กับพวก
ตรวจพบไม้แปรรูปผิดกฎหมายบนรถยนต์บรรทุก จำเลยขอร้องไม่ให้จับกุมแต่เจ้าพนักงานป่าไม้ไม่ยอม
จำเลยจึงสั่งคนให้ขับรถไป โดยพูดด้วยว่าใครขวางชนเลย
ซึ่งคนขับก็ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยขับรถหลบหนีไป เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกเฉี่ยวชน
น.ซึ่งยืนขวางทางอยู่ได้รับบาดเจ็บ การกระทำของคนขับรถยนต์บรรทุก
เป็นการพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
และการกระทำของจำเลยเป็นการใช้ หรือยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำความผิด
จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด จึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2268/2529 โจทก์ร่วมถูกบีบคออย่างรุนแรง
โลหิตเดินไม่สะดวก ทำให้เส้นโลหิตฝอยในตาขาวแตก
หากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีอาจถึงตายได้
และถ้าผู้ถูกบีบสลบไปโอกาสที่จะตายได้มีเสมอ การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำดังกล่าว
ย่อมจะเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่า โจทก์ร่วมอาจถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่า
แต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
เพื่อความสะดวก ในการที่จะกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ป.อ. ม.289 (6), 80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2307/2530
จำเลยใช้มีดถางไร่ฟันถูกที่ศีรษะผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย
แม้จะฟันเพียงทีเดียว แต่ปรากฏว่ากะโหลกศีรษะแตก แสดงว่าจำเลยฟันโดยแรง
ซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
การที่ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เพราะได้รับการรักษาจากแพทย์ทันท่วงที
เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2353/2530 กรณีที่มิใช่เป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าที่
ราษฎรย่อมไม่มีอำนาจตามกฎหมายหมายที่จะจับกุมผู้กระทำผิด การที่ ช.กับผู้ตายซึ่งเป็นเพียงราษฎร
จะเข้าจับกุมจำเลย ภายหลังเกิดเหตุจำเลยทำร้ายผู้อื่นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกัน
เพื่อให้พ้นจากการที่จะต้องถูกจับได้ แต่การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้ตายที่หน้าอกส่วนล่างใต้นมเหนือชายโครงซ้าย
และผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนเกิดเหตุนั้นเอง แสดงว่าจำเลยแทงโดยแรง จำเลยเลือกแทงที่อวัยวะสำคัญ
โดยไม่ปรากฏว่า ช. กับผู้ตายมีอาวุธ หรือแสดงอาการในลักษณะที่จะทำร้ายจำเลย
นอกเหนือจากการกระทำ เพื่อจับกุมเลย จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2100/2531
แม้ไม่ได้ความว่าอาวุธที่จำเลยใช้แทงทำร้ายมีขนาดเท่าใด
แต่เมื่อจำเลยแทงผู้เสียหายถึงสองครั้ง ครั้งแรกถูกที่ข้อศอกขวา
แล้วจำเลยแทงซ้ำอีก
ผู้เสียหายปัดแขนข้างที่จำเลยถืออาวุธ อาวุธของจำเลยจึงผ่านท้องมาถูกแขนซ้ายของผู้เสียหายได้รับบาดแผล และจำเลยได้แทงผู้ตายที่หน้าท้องหนึ่งครั้ง
บาดแผลลึก 6 นิ้วฟุต
เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายแสดงว่าอาวุธที่จำเลยใช้เป็นอาวุธที่ร้ายแรง
และจำเลยตั้งใจแทงผู้เสียหายและผู้ตายที่บริเวณลำตัวอันเป็นอวัยวะสำคัญอย่างร้ายแรง
จำเลยมีความผิดทั้งฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายและฐานฆ่าผู้ตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3368/2531
จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายหลายครั้งและเลือกแทงบริเวณกลางหลังอันเป็นอวัยวะสำคัญ
บาดแผลด้านหลังขวาที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นแผลฉกรรจ์บริเวณช่องซี่โครงที่ 8
กว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร
ทะลุเข้าช่องปอดและลึกเข้าไปในเนื้อปอด 3 เซนติเมตร มีเลือดตกในช่องปอด 1,500
ซี.ซี.ผู้ตายถึงแก่ความตายหลังจากนำส่งโรงพยาบาลได้ 30 นาที
เพราะมีเลือดตกในช่องปอดขวาจำนวนมากและปอดรั่ว
แสดงว่าจำเลยแทงอย่างแรง
จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าจะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้
จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5973/2531 จำเลยใช้ไม้ไผ่กลมตันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
3 เซนติเมตรยาว 1 เมตร ตีผู้เสียหายถึง 10 ครั้ง
ผู้เสียหายถูกตีที่ศีรษะด้านซ้ายอันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย
จนกะโหลกศีรษะหลังร้าว สมองกระทบกระเทือนสลบไปนานประมาณ
5 ชั่วโมง แสดงว่าจำเลยตีโดยแรง
ประกอบกับขณะที่ตีผู้เสียหายจำเลยพูดว่า ถ้าตีไม่ตาย จะยิงซ้ำให้ตาย
และหลังจากผู้เสียหายสลบจำเลยยังถือไม้ไผ่เข้าไปและพูดว่า จะตีให้ตายอีกหลายครั้ง
แต่มีคนห้ามไว้แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 659/2532
จำเลยใช้ของแข็งตีทำร้ายผู้ตายมีบาดแผลฟกช้ำดำเขียวทั่วร่างกาย
กับมีบาดแผลฉีกขาดที่ศีรษะยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
ลึกประมาณ 1.5 เซนติเมตร
มีบาดแผลฉีกขาดที่หัวคิ้วซ้ายยาวประมาณ
3 เซนติเมตร ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
มีบาดแผลถลอกที่ขากรรไกรและและข้อศอกซ้าย กระดูกขากรรไกรหัก กระดูกซี่โครงร้าว ฟังได้ว่าทำร้ายผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 697/2532
จำเลยหลอกหญิงพาไปส่งบ้าน แต่ไม่หยุดรถ กลับเร่งความเร็ว ดึงมือไม่ยอมให้หญิงลง
หญิงตกรถถึงแก่ความตาย มิใช่พยายามโดดลงเอง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลให้หญิงนั้นตาย
ผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ม 310 วรรค ท้าย
และฐานฆ่าคนตาย ตาม ม 288
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3758/2532
จำเลยใช้ขวดสุราแตกซึ่งมีส่วนที่แหลมคมยาวถึง 3
นิ้วฟุตเป็นอาวุธแทงผู้เสียหายถูกที่คอด้านซ้าย ในขณะที่คร่อมตัวผู้เสียหายอยู่
เป็นบาดแผลยาว 5 เซนติเมตร ลึก 1 ถึง 2 เซนติเมตร
แสดงว่าจำเลยแทงโดยแรงและเป็นอวัยวะส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ถึงแก่ความตายได้
จำเลยจึงมีเจตนามุ่งประสงค์จะฆ่าผู้เสียหาย มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5664/2534
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะห่างเพียง 3 เมตร
ถูกที่บริเวณเอวของผู้เสียหาย
อันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายซึ่งหากรักษาไม่ทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้ว หากเป็นเพียงการยิงขู่
จำเลยก็มีโอกาสที่จะยิงไปยังทิศทางอื่น ที่มิใช่ทิศทางที่ผู้เสียหายยืนอยู่
เช่นยิงขึ้นฟ้า เป็นต้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 654/2539 การที่จำเลยที่ 4
ใช้ขวดน้ำอัดลมขนาดใหญ่ที่ทำจากวัสดุแข็ง
และมีน้ำอัดลมบรรจุอยู่บางส่วนอันทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
เป็นอาวุธตีทำร้ายผู้ตายบริเวณศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญหลายครั้ง แม้ขณะที่ผู้ตายล้มลงหมดสติไปแล้ว
ก็ยังตีซ้ำอีกถึง 3 ถึง 4 ครั้ง จนเป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลที่หน้าผากและศีรษะ
ภาวะสมองไม่ทำงานจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด
หัวใจล้มเหลว และถึงแก่ความตายหลังจากเกิดเหตุเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์ของจำเลยที่
4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ตีทำร้ายผู้ตายโดยเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6589/2540
จำเลยให้มีดพร้าที่มีความยาวจากปลายมีดถึงด้าม 3 ฟุต
ฟันผู้เสียหายบริเวณศีรษะด้านหลังซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหนังศีรษะหลุดขาดบาดแผลกว้างถึง
5 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลกศีรษะ แสดงว่าจำเลยฟันผู้เสียหายอย่างแรง
เมื่อพิจารณาถึงมีดพร้าที่จำเลยใช้เป็นอาวุธฟันทำร้ายผู้เสียหาย
โอกาสที่ฟันโดยเลือกฟันตรงอวัยวะสำคัญ และบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับดังกล่าวมา
รวมตลอดถึงมูลเหตุโกรธเคืองระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายซึ่งทะเลาะวิวาทกันมาก่อนจะมาเกิดเหตุและ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ฟันผู้เสียหายซ้ำอีกหลายครั้ง
แม้จะฟันถูกที่ขาอ่อนข้างขวาเพียงครั้งเดียวก็ตาม ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 757/2542 มีดที่จำเลยใช้ฟันผู้เสียหายมีความยาวประมาณ 50
เซนติเมตร แสดงว่าเป็นมีดดาบขนาดใหญ่พอสมควร
สามารถใช้เป็นอาวุธประทุษร้ายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้ บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1
ปรากฏว่าลึกถึงกระดูกบริเวณหัวไหล่ หากไม่นำตัวมารักษาอาจถึงแก่ความตายได้
ส่วนผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผล 2 แห่ง ที่บริเวณศีรษะและบริเวณต้นคอขวา
หากบาดแผลลึกอีกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้เนื่องจากเป็นอวัยวะสำคัญ
แสดงว่าโอกาสที่ฟัน จำเลยฟันโดยเลือกฟันอวัยวะสำคัญ เมื่อพิจารณารวมถึงมูลเหตุโกรธเคืองระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่
1 ซึ่งทะเลาะวิวาทกันมาก่อนเกิดเหตุ และพฤติการณ์ของจำเลยที่ฟันผู้เสียหายที่
1 แสดงว่าฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยมีเจตนาฆ่า
ประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหายที่ 1
ขณะนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์ครั้งหนึ่งแล้ว และขณะผู้เสียหายที่ 1 กำลังวิ่งหนีไปบ้านภริยา
ก็ถูกจำเลยตามไล่ฟันอีกครั้ง หากผู้เสียหายที่ 1
วิ่งหนีเข้าบ้านภริยาไม่ทันก็อาจถูกจำเลยฟันซ้ำถึงแก่ความตายได้
โดยปรากฏว่าจำเลยยังได้ฟันอีกครั้งแต่พลาด
ข้อเท็จจริงจึงมีเหตุผลน่าเชื่อได้ว่าจำเลยกระทำผิดโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง
จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6576/2542
พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถพุ่งเข้าชนสิบตำรวจตรี ป.
ขณะเข้าทำการตรวจค้นขับรถด้วยความเร็วสูง สลับกับการห้ามล้อหลายครั้ง
ในขณะที่สิบตำรวจตรี ป. นอนคว่ำหน้าอยู่บนฝากระโปรงด้านหน้าของรถที่จำเลยขับ
เพื่อให้สิบตำรวจตรี ป. ตกจากรถ ล้วนแต่มุ่งประสงค์ที่จะให้สิบตำรวจตรี ป.
เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งสิ้น เมื่อไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลย
จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7257/2542 จำเลยที่
1 และที่ 2 ทำร้ายจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เบิกความว่า พยานยิงปืนออกไปนัดแรก
ขณะจำเลยที่ 3 นอนหงายอยู่บนเบาะรถยนต์กระบะโดยมีจำเลยที่ 2 นอนคว่ำทับอยู่
จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยที่ 3
และเมื่อพิเคราะห์ถึงอาวุธที่จำเลยที่ 1 ที่ว่า "ดึงกุญแจไว้ เอาให้ตาย"
แม้จำเลยที่ 1 จะยิงถูกจำเลยที่ 3 เพียงนัดเดียว ก็ถือได้ว่า จำเลยที่ 1
มีเจตนาฆ่าจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เข้าทำร้ายจำเลยที่ 3 ก่อน
จำเลยที่ 1 จึงอ้างว่ากระทำโดยป้องกันไม่ได้
-
ไม่ใช่เจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 505/2504
จำเลยกับผู้ตายโต้เถียงทะเลาะกัน จำเลยหยิบไม้ได้ในที่แถวนั้นเป็นไม้ฟืนผ่าซีกแบนขนาด
2 นิ้ว ยาว 27 นิ้วครึ่ง ตีผู้ตายถูกกลางศีรษะ 1
ทีบาดแผลบวมกว้างยาว 10 เซ็นติเมตร นูนสูง 3 เซ็นติเมตร ตรงกลางมีรอยแตก 2
เซ็นติเมตร โลหิตไหลซึม ผู้ตายถูกทำร้ายแล้วพูดจาไม่ได้
ถึงแก่ความตายในวันรุ่งขึ้น ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยอาจเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าจะถึงตาย
จำเลยจึงผิดเพียงฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1557/2512 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า
จำเลยเกิดโทสะใช้มีดโต้ใบมีดกว้างราว 3 นิ้วมือผู้ใหญ่ติดกัน ยาวราว 1 ฟุต
ฟันผู้เสียหายซึ่งเป็นพ่อตา 2 ที ถูกที่ใบหน้า 1 แห่ง แผลเย็บแล้วยาว 14
เซ็นติเมตร
ยาวจากโหนกแก้มอีกข้างหนึ่งพาดผ่านจมูกเต็มใบหน้าเห็นได้ชัดอันเป็นเหตุให้หน้าเสียโฉม
อีกแผลหนึ่งที่กลางหลังยาว 9 เซ็นติเมตร สาเหตุเนื่องจากผู้เสียหายดุด่าลูกจำเลย
ดังนี้เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า เพราะถ้าจำเลยมีเจตนาฆ่า จำเลยต้องฟันมากครั้งกว่านี้และเลือกเฟ้นที่อวัยวะสำคัญมากกว่านี้ได้ ทั้งลักษณะบาดแผล
ก็ไม่ปรากฏว่าอาจทำให้ถึงอันตรายแก่ชีวิต
จำเลยจึงมีผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายสาหัสเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1603/2512
เมื่อพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีวิวาทสมัครใจต่อสู้ทำร้ายซึ่งกันและกัน
จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่า ที่จำเลยกระทำไปนั้นมีลักษณะเป็นการป้องกันหาได้ไม่
และจำเลยจะอ้างว่ากระทำไปด้วยบันดาลโทสะก็ไม่ได้
เพราะจำเลยสมัครใจต่อสู้มาตั้งแต่แรก
จำเลยมิได้ถูกฝ่ายผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมก่อนแล้ว
จำเลยจึงได้ทำร้ายฝ่ายผู้ตาย
แต่การที่จำเลยถูกฝ่ายผู้ตายซึ่งมีจำนวนมากกว่าและมีอาวุธดีกว่าทำร้ายจำเลย
และการที่จำเลยเหวี่ยงมีดกราดไปมา ถูกผู้ตายที่ขมับเพราะผู้ตายโผเข้ามา จำเลยไม่มีโอกาสเลือกแทงผู้ตายให้ถูกที่สำคัญได้
เพราะเป็นการชุลมุนต่อสู้กันหลายคน จะฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายยังไม่ได้
คงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 110/2513
ขณะที่ดื่มสุรากันอยู่จำเลยไม่พอใจผู้เสียหาย จึงกดคอผู้เสียหายนอนคว่ำ
แล้วจับแขนผู้เสียหายยกขึ้นและชักมีดแทงที่ชายโครง 1 ทีแทงแล้วปล่อยมิให้แทงซ้ำ
ผู้เสียหายตกลงจากเรือน จำเลยก็มิได้ตามลงไปทำร้ายอีก ถือว่ามีเจตนาจะฆ่ายังไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 903/2513 จำเลยเมาสุรา
ไม่มีสาเหตุเพียงพอ ที่จะคิดฆ่าผู้เสียหาย ได้ชักปืนลูกซองสั้นขึ้น
ยิงผู้เสียหายเพียงระดับเอวของจำเลย ในขณะที่ผู้เสียหายอยู่ห่างไปเพียง 1 วาเศษ
กระสุนปืนถูกใต้ขาพับของผู้เสียหาย จะต้องรักษาแผล 15 วัน
ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า คงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 415/2515 จำเลยวิ่งเข้าไปข้างหลังผู้เสียหาย
แล้วใช้มีดโต้ปลายมน มีคมข้างเดียว ตัวมีดยาว 10 นิ้วฟุต ด้ามมีดยาว 4 นิ้วฟุต
ฟันศีรษะด้านหลังผู้เสียหาย 1 ที มีบาดแผลยาว 2 ซ.ม. กว้าง 2 ซ.ม.
ลึกจดกะโหลกศีรษะกะโหลกศีรษะ ไม่ร้าว หรือแตกแสดงว่า ฟันไม่เต็มแรง
และถูกหน้ามีดเพียงเล็กน้อย ผู้เสียหายรักษาบาดแผล 25 วันหาย แม้จะได้ความว่า
เมื่อจำเลยฟันแล้ว ผู้เสียหายวิ่งหนี จำเลยวิ่งไล่ตามไป แต่ก็ไม่ได้ทำร้ายผู้เสียหายอีก
ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2378/2515 (อ จิตติ ภาค 2 ตอน 2 น 1896) รุมตีชุลมุน
ไม่มีโอกาสตีตรงที่สำคัญ เผอิญถูกศีรษะตาย ไม่เป็นเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 658/2517 จำเลยกับผู้เสียหายโต้เถียงกันเกี่ยวกับการจ้างทำนา
จำเลยตบเตะผู้เสียหายล้มลงไปในนา ซึ่งมีน้ำลึกประมาณ 1 ศอก
แล้วจำเลยใช้มือกดศีรษะผู้เสียหายลงในน้ำ 1 อึดใจ
จึงมีคนมาแยกจำเลยออกจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่รู้สึกตัวไป 1 นาที
ในขณะที่มีคนมาห้ามจำเลยแล้วนั้น จำเลยชักมีดออกที่สะพาย
และพูดว่าจะแทงผู้เสียหายอีกเช่นนี้ จำเลยไม่ได้มีเจตนาจะทำร้ายผู้เสียหายมาก่อน
การทำร้ายเกิดขึ้นโดยปัจจุบัน การที่จำเลยกดศีรษะผู้เสียหายลงในน้ำ
ก็เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการตบ และเตะ
ประกอบกับจำเลยไม่ได้ใช้มีดทำร้ายผู้เสียหาย
คดีจึงไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1814/2522 จำเลยจับเท้าผู้เสียหายยกขึ้น
แล้วผลักลงกับพื้นแขนหัก เป็นอันตรายสาหัส น่าจะเป็นเรื่องหยอกล้อกัน
ไม่ทันนึกถึงผลไม่มีเจตนาทำร้าย แต่เป็นประมาทตาม ป.อ.ม.300
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3141/2522 ยิงด้วยปืนสั้น 3 นัด เวลาแย่งปืนกัน
นัดหนึ่งถูกแก้มขวาบริเวณขากรรไกร แฉลบไปด้านหลัง หัวกระสุนฝังใน รักษา 2-3
เดือนอีก 2 นัดไม่ถูกใคร ไม่มีโอกาสเลือกยิงให้ถูกอวัยวะที่สำคัญ
และมิได้เลือกยิงอีก 2 นัดที่มีกระสุนเหลืออยู่อยู่ในปืน ฟังไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2413/2526 จำเลยที่ 2
ถือมีดปอกผลไม้และท้าทายให้ออกมาสู้กัน เมื่อผู้ตายถือไม้ออกมาจะต่อสู้กับจำเลยที่
2 จำเลยที่ 2
ได้ทิ้งมีดและหยิบไม้ตีผู้ตาย1 ครั้ง แล้วไม้ที่ถือก็ร่วงไป
และเกิดกอดปล้ำกันขึ้น ผู้ตายจิกผมจำเลยที่ 2 กดต่ำลง จำเลยที่ 2
จึงใช้มีดแทงผู้ตายไปในขณะนั้นไม่มีโอกาสเลือกแทงได้ถนัด บังเอิญไปถูกอวัยวะสำคัญไต้ราวนมซ้าย
ลึกทะลุกล้ามเนื้อหัวใจผู้ตายจึงถึงแก่ความตาย ดังนี้
ยังไม่พอฟังว่ามีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 184/2527
จำเลยใช้มีดปอกผลไม้ทั้งด้ามและตัวมีดยาวเพียง 1 คืบ แทงผู้เสียหาย 1 ที
ขณะชกต่อยกัน แล้วมิได้แทงซ้ำอีก
แสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่า จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสตาม
ป.อ. ม.297 ไม่ผิดฐานฆ่าพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ม.288 ,80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 283/2528 จำเลยกับผู้ตายรักใคร่กันดี ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน
วันเกิดเหตุผู้ตายมาช่วยจำเลยเกี่ยวข้าว
ผู้ตายหลอกล้อจำเลยเรื่องหาสุรามาไม่พอดื่ม
จำเลยใช้เคียวเกี่ยวข้าวฟันผู้ตายถูกบริเวณเอวข้างซ้าย
ในขณะที่ผู้ตายกำลังก้มลงเกี่ยวข้าว
จำเลยมีโอกาสที่จะเลือกฟันผู้ตายให้ถูกอวัยวะสำคัญได้
แต่กลับฟันบริเวณลำตัว และฟันเพียงครั้งเดียวมิได้ฟันซ้ำอีก ทั้ง ๆ
ที่มีโอกาสทำได้ ผู้ตายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากมีโลหิตตกในช่องปอด และมีลมในช่องปอด มากดให้หัวใจหยุดเต้น
ซึ่งน่าจะเป็นเหตุบังเอิญ มากกว่าที่จำเลยจะเล็งเห็นหรือประสงค์ให้เกิดผลเช่นนั้น
ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้ตาย
จนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 148/2528 จำเลยและผู้เสียหายไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ต่างดื่มเหล้ามึนเมา
แล้วเกิดปากเสียงทะเลาะกัน จำเลยจึงแทงผู้เสียหายด้วยความโมโห
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่บริเวณท้องมีแผ่นไขมันในช่องท้องโผล่ออกมา
มีบาดแผลทะลุลำไส้ใหญ่
ไม่ปรากฏว่าบาดแผลมีความกว้างยาวเท่าใด
และลำไส้มิได้ไหลออกมาจากบาดแผล
การที่จำเลยแทงเพียงครั้งเดียว
ก็วิ่งหลบหนีไปโดยมิได้แสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้เสียหายแต่ประการใด
ฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย / การที่จำเลยแทงผู้เสียหายเกิดจากทั้งสองฝ่ายสมัครใจวิวาทกัน
มิใช่ผู้เสียหายประทุษร้ายจำเลยฝ่ายเดียว อันเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิป้องกันตัวได้
จำเลยจึงอ้างว่าเป็นการป้องกันไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 414/2528 จำเลยใช้ขวานฟันศีรษะผู้เสียหายเพียงครั้งเดียว ผู้เสียหายหลบทัน
จำเลยจึงฟันไม่ถูก จำเลยไม่ได้ฟันอีกทั้ง ๆ ที่มีโอกาสติดตามฟันซ้ำได้ ดังนี้
ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงพยายามทำร้าย
ศาลลงโทษจำเลยได้ตาม ป.ว.อ. ม.192 วรรคสุดท้าย
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าก็ตาม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2003/2528 จำเลยใช้ไม้ขนาดกว้าง 3 นิ้ว หนา 1 นิ้วครึ่ง ยาว 1
วาเท่าที่จะหาได้ในที่เกิดเหตุ ตีหน้าผากผู้เสียหาย 1 ที
กะโหลกศีรษะแตกรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 10 วัน
แสดงว่าไม่ตั้งใจจะใช้อาวุธที่ร้ายแรงทั้งมิได้ตีซ้ำ
เมื่อผู้เสียหายล้มลงอยู่ในโอกาสที่จะตีได้อีก สาเหตุเดิมก็เพียงเป็นคนต่างถิ่นไม่ค่อยถูกกัน
การบาดเจ็บก็มิได้รุนแรงมากมาย แสดงว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4457/2528 พวกของจำเลยยกส้นเท้าใส่ผู้เสียหาย
แล้วจำเลยเดินถือมีดสำหรับปอกผลไม้ อันเป็นมีดขนาดเล็กออกมาจากบ้าน
แทงผู้เสียหายหลายครั้งในทันทีทันใด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยวางแผนหรือตระเตรียมการมาก่อน
ผู้เสียหายมีบาดแผลที่ด้านหลังระดับเอว 2 แผล ลึกถึงภายในท้อง
แต่ไม่ทำอันตรายอวัยวะภายใน ที่ตะโพกซ้าย 1 แผล
แพทย์ลงความเห็นว่าใช้เวลารักษาประมาณ 17 วันพักต่ออีก 7 วัน ก็หายเป็นปกติ ดังนี้
ยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่า คงผิดฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1450/2529 จำเลยใช้มีดยาว 8 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว
แทงผู้เสียหายถูกที่หัวไหล่ 2 แผล ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล 10 วัน
และไม่สามารถประกอบกรณียกิจโดยปกติอีก 2 เดือน
โดยไม่ปรากฏว่าตั้งใจเลือกแทงอวัยวะสำคัญนั้น กรณียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหาย
/ ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. ม.288, 80
เมื่อมิได้บรรยายว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสอย่างไร
จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ม.297 ไม่ได้ คงลงโทษได้เพียง ม.295
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2216/2530
ญาติของจำเลยทะเลาะและเข้าชุลมุนกอดปล้ำกับผู้เสียหายทั้งสอง
จำเลยซึ่งกำลังทำครัวอยู่เห็นเหตุการณ์
จึงได้เข้าช่วยญาติของตนด้วยการใช้มีดทำครัวฟันผู้เสียหายทั้งสอง
ผู้เสียหายคนหนึ่งมีบาดแผลถูกฟันที่ศีรษะ 2 แผลกว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร
ลึกถึงกะโหลกศีรษะ กับมีบาดแผลอื่นที่ศีรษะซึ่งมิได้เกิดจากถูกจำเลยฟันอีก 2 แผล
บาดแผลทั้งหมด แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาหายภายใน 15 วัน
ส่วนผู้เสียหายอีกคนหนึ่งมีบาดแผลทั้งหมด 8 แผล แต่บาดแผลที่เกิดจากถูกจำเลยฟันมี
2 แผล แผลหนึ่งกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร
ลึกแค่ผิวหนัง อีกแผลหนึ่งที่กลาง ใบหูซ้ายขาด ลึกถึงกระดูกอ่อน
ที่ใบหูยาวตลอดลำคอด้านซ้าย กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตรลึกถึงกล้ามเนื้อ
แพทย์มิได้เบิกความว่าบาดแผลนี้ จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย บาดแผลดังกล่าว
ไม่เป็นบาดแผลที่ทำให้เกิดอันตรายแก่กายสาหัส ไม่มีรายการการชันสูตรไว้โดยเฉพาะ
ว่ารักษาหายภายในกี่วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง
จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 91 เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5120/2530
จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายในขณะที่จำเลยเมาสุรา โดยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน
มีดที่ใช้แทงไม่มีด้ามและมีสนิมติดอยู่ด้วย
จำเลยแทงผู้เสียหายครั้งแรกที่ใต้ราวนมซ้าย 1 ครั้ง บาดแผลขนาด 1.2x0.3เซนติเมตร ลึก 0.5 เซนติเมตร
ติดกระดูกซี่โครง ไม่ได้ความว่าแทงโดยแรงหรือไม่ ผู้เสียหายล้มลงแล้ว
จำเลยยังแทงผู้เสียหายที่โคนขาอีก 2 ครั้ง แผลลึก 3 และ 2.8 เซนติเมตร
ตามลำดับ สภาพบาดแผลมีขนาดใกล้เคียงกับบาดแผลที่ใต้ราวนมซ้าย
แพทย์มีเห็นว่าใช้เวลารักษาประมาณ 10 วันหาย พิจารณาถึงมีด
ซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้แทงให้ตาย และการที่จำเลยมีโอกาสเลือกแทงในส่วนสำคัญได้
หลังจากผู้เสียหายล้มลงแล้ว แต่กลับแทงไปที่บริเวณโคนขาซึ่งไม่เกิดอันตรายร้ายแรง
ทำให้ฟังไม่ถนัดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 295 เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3307/2531 จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหาย 1
ทีผู้เสียหายใช้มือรับไว้ มีดบาดง่ามมือ บาดแผลเพียงเล็กน้อยใช้เวลารักษา 7-10 วัน
แสดงว่าจำเลยมิได้แทงโดยแรงเช่นกริยาของคนที่ต้องการจะฆ่ากัน
ทั้งสาเหตุที่แทงก็เกิดจากการที่จำเลยอ้างว่าผู้เสียหายเล่นไพ่โกง
มีการพูดปรับความเข้าใจกันแล้วเกิดทำร้ายกันขึ้น ซึ่งไม่ใช่สาเหตุร้ายแรง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3365/2531 จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายมีบาดแผลหลังศีรษะ
2 แผล เป็นแผลยาว 5
เซนติเมตร ลึก 2 เซนติเมตร และแผลยาว 3 เซนติเมตรลึก 0.5 เซนติเมตร แผลที่หน้าอกซ้ายยาว 6
เซนติเมตรไม่ลึกแผลฉีกขาดที่หน้าผากด้านซ้ายยาว 4 เซนติเมตร กว้าง
1เซนติเมตร ใช้เวลารักษาบาดแผลไม่เกิน 14
วัน รอยแผลที่ศีรษะ 2 แผล ไม่ใช่แผลฉกรรจ์ส่วนแผลที่อื่นเกิดจากการปล้ำกัน ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายหันหลังให้จำเลย
ถ้าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย จำเลยมีโอกาสใช้กำลังแรงเข้าโถมฟันผู้เสียหายได้ บาดแผลน่าจะฉกรรจ์มากกว่านี้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4583/2531 ผู้เสียหายพูดรบเร้าให้ ส.ทำบันทึกเรื่องที่
ง. ลักวิทยุเทปของผู้เสียหายไป จำเลยว่าผู้เสียหายพูดไม่รู้เรื่อง
และตบหน้าของผู้เสียหาย ผู้เสียหายลุกขึ้นถีบจำเลย พวกที่มาด้วยกันเข้าห้าม
เมื่อผู้เสียหายเดินลงจากบ้านจำเลยไป จำเลยถือมีดปลายแหลมวิ่งไล่ฟัน
ผู้เสียหายถูกที่บริเวณศีรษะด้านหลังได้รับอันตรายแก่กายสาหัส
แม้มีดที่จำเลยใช้ฟันผู้เสียหายยาวประมาณ 12 นิ้ว
ใบมีดกว้างประมาณ 3.9
เซนติเมตร และจำเลยฟันถูกศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ
แต่การที่จำเลยวิ่งไล่ฟันผู้เสียหายข้างหลัง จำเลยไม่มีโอกาสเลือกฟันได้ถนัด
จำเลยฟันผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวและมีโอกาสฟันซ้ำแต่ไม่ฟัน
พฤติการณ์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4946/2531 จำเลยเป็นพี่ชายผู้เสียหาย คนทั้งสองทำงานอยู่ด้วยกันกับบิดา
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายกับจำเลยทะเลาะโต้เถียงด่าว่ากัน
อันเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกัน
การที่จำเลยได้ใช้เหล็กขูดชาฟท์ยาวประมาณ 4 นิ้ว แทงผู้เสียหายที่ชายโครงขวา 1 ครั้ง
แล้วหลบหนีไปโดยมิได้แทงซ้ำอีก ผู้เสียหายมีบาดแผลทะลุกะบังลมและตับ
ต้องรักษาโดยการผ่าตัดและรักษาต่อตัวอีก 9 วัน จึงออกจากโรงพยาบาล
บาดแผลต้องรักษาเป็นเวลา 4-6 อาทิตย์จึงจะหาย
พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
คงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5354/2531 จำเลยใช้ไม้แปรรูปหน้า 3 นิ้ว กว้าง 1 นิ้วยาว 1
เมตรเศษตีทำร้ายโจทก์ร่วม ขณะที่โจทก์ร่วมกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์
โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบทันไม้ของกลาง ถูกโจทก์ร่วมที่นิ้วก้อยขวา กระดูกนิ้วก้อยหัก
และกระจกไฟเลี้ยวขวาของรถจักรยานยนต์แตก
บาดแผลของโจทก์ร่วมแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรพักรักษาตัวที่บ้าน 3 อาทิตย์
ดังนี้การที่จำเลยใช้ไม่ตีโจทก์ร่วมเพียงทีเดียว โดยตีในระดับหน้าอก ไม่ที่ใช้ตี
ก็มิใช่อาวุธร้ายแรง บาดแผลก็ไม่ร้ายแรง สาเหตุระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย
ก็มิใช่สาเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องฆ่า จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5843/2531 จำเลยใช้อาวุธปืนยิง 1 นัด
โดยถืออาวุธปืนกระชับแน่นด้วยมือทั้งสองข้าง
ไม่ว่าจำเลยจะยิงตอนที่ผู้เสียหายดูโทรทัศน์ห่างประมาณ 1 เมตร
หรือยิงตอนผู้เสียหายลุกขึ้นวิ่งหนีไปห่างประมาณ 4 เมตร
หากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้ว คงยิงผู้เสียหายได้ไม่ผิดพลาด
เพราะอาวุธปืนที่ใช้ยิงเป็นอาวุธปืนลูกซองสั้น
การที่กระสุนปืนไปถูกหลังคาบ้านแสดงว่าจำเลยกระทำไปเพื่อขู่ผู้เสียหายมิได้ยิงไปโดยเจตนาฆ่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7601/2540 การที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นเบอร์ 12
ยิงผู้เสียหายในระยะห่างเพียง 15
เมตร
หากจำเลยมีเจตนาฆ่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงก็น่าจะถูกผู้เสียหายหรือ ร. บ้าง
แต่ลูกกระสุนปืนก็หาได้ถูกผู้หนึ่งผู้ใดไม่
ไม่ปรากฏว่าวิถีกระสุนปืนไปในทิศทางที่ใกล้กับผู้เสียหายหรือไม่อย่างไร
หลังจากที่ผู้เสียหายเดินไปเพื่อแจ้งให้บิดาทราบ
ก็พบจำเลยยกปืนวิ่งมาทางผู้เสียหายห่าง 20 เมตร
แต่จำเลยก็หาได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายไม่ทั้งที่มีโอกาสจะกระทำเช่นนั้นได้
ประกอบกับหลังจากที่ ส. ได้ยินเสียงปืนหันมาดูตะโนบอกจำเลยว่า
ทำอย่างนี้ทำไมให้รีบไป และ ส. กลับไปทำอาหารต่อ แสดงว่า ส.
ก็มิได้ให้ความสนใจต่อการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิง
ผู้เสียหายกับจำเลยไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันและเคยเรียนโรงเรียนเดียวกัน
ไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า
หลังเกิดเหตุจำเลยก็มิได้หลบหนี คงอยู่ที่บ้านมารดาจำเลยในหมู่บ้านเดียวกันกับผู้เสียหาย
ต่อมาได้เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจ
และผู้เสียหายก็มิได้ไปแจ้งความในวันเกิดเหตุทั้งที่สถานีตำรวจอยู่ห่างเพียง 20 กิโลเมตร
และบิดาผู้เสียหายเป็นผู้ใหญ่บ้านท้องที่ที่เกิดเหตุ ก็มิได้ไปสอบถามจำเลย
ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงมีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำร้ายหรือฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้าน
จำเลยมีความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตาม ป.อ.มาตรา 376
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 992/2541 จำเลยที่พาผู้เสียหายไปที่เกิดเหตุ เพื่อข่มขืนกระทำชำเรา
เมื่อผู้เสียหายร้องให้คนอื่นช่วย จำเลยเพียงแต่ใช้มือปิดปากผู้เสียหายไว้
ครั้นมีเสียงรถแล่นผ่านไปจอดที่บ้านผู้เสียหาย
ผู้เสียหายพยายามดิ้นรนและร้องเรียกให้คนมาช่วย
จำเลยจึงใช้มือบีบคอผู้เสียหายจนผู้เสียหายร้องไม่ออก ดังนี้ เจตนาของจำเลยที่บีบคอผู้เสียหายก็เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายส่งเสียงร้องเรียกให้คนอื่นมาช่วย
เนื่องจากการใช้มือปิดปาก
ไม่อาจหยุดการส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือของผู้เสียหายได้
แม้จำเลยจะใช้คำพูดว่ามึงตายเสียเถอะ ประกอบด้วย
ก็เป็นการพูดขู่ให้ผู้เสียหายหยุดส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือนั่นเอง
เมื่อผู้เสียหายแกล้งทำตัวอ่อนและหลับตา จำเลยจึงปล่อยมือจากคอ
แล้วเอามาแตะที่จมูกผู้เสียหาย ผู้เสียหายกลั้นหายใจไว้
จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายแล้ว จึงวิ่งหนี
ทั้งที่จำเลยเองก็ไม่ได้สำเร็จความใคร่ตามความปรารถนา ปรากฏว่าสภาพที่เกิดเหตุเป็นลำคลองไม่มีน้ำ
อยู่ในที่ลับตามีต้นไม้ต้นหญ้าขึ้นปกคลุมยากที่ผู้อื่นจะพบเห็น
หากจำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายให้ตาย
จำเลยมีโอกาสกระทำได้หลังจากกระทำชำเราผู้เสียหายแล้ว จำเลยบีบคอผู้เสียหาย
เพื่อไม่ให้ร้องขอความช่วยเหลือ จึงมิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 30/2541 ขณะเกิดเหตุ จ. และ ร. ต่างถือมีดพร้า
อยู่ในมือ จ. อยู่ห่างผู้เสียหายประมาณ 2 วาเท่านั้น หาก จ. และ
ร.ต้องการฆ่าผู้เสียหายจริง\ จ. น่าจะฟันถูกผู้เสียหาย แม้
จ.ฟันไม่ถูกเพราะผู้เสียหายหลบ จ. และ ร.ก็ย่อมมีโอกาสใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายได้
แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จ. และ ร. ใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายอีก
ย่อมแสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
น่าเชื่อว่าบุคคลทั้งสองมีเจตนาจะฟันขู่ผู้เสียหายเท่านั้น แม้จำเลยร้องบอกให้ จ.
และ ร. ฆ่าผู้เสียหาย แต่เมื่อ จ. ฟันขู่ฆ่าผู้เสียหายเพียง 1 ครั้ง ส่วน ร. มิได้ฟันผู้เสียหายแต่อย่างใด
จำเลยร้อง เป็นเพียงการขู่ฆ่าผู้เสียหาย
ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2292/2541 การที่จำเลยขับรถบรรทุกออกจากจุดจอด
ชนรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ
เป็นเหตุให้ผู้เสียหายและรถจักรยานยนต์กระเด็นไปห่างจากจุดชน 2 ถึง 3 เมตร
แสดงว่าจำเลยขับรถชนรถจักรยานยนต์ไม่แรง หลังจากขับรถชนรถจักรยานยนต์แล้ว
จำเลยขับรถหนีไปทันที หาได้ขับรถตามไปชนหรือทับผู้เสียหายขณะล้มอยู่บนถนนไม่
แสดงว่าจำเลยมีเจตนาขับรถชนจักรยานยนต์โดยเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ว่าเป็นการทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น
-
ประเด็นเปรียบเทียบ การวินิจฉัยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 817/2510 (สบฎ เน 1498) ใช้ปืน เป็นอาวุธร้ายแรง กระทำร้ายแรง
อยู่ในลักษณะที่อาจกระทำให้ถึงตายได้ ผิด ม 288+80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1085/2510 (สบฎ เน 1521) เข้าต่อสู้ทำร้ายกัน (มีด-ขวาน) ไม่มีเวลาเลือกแทงที่สำคัญ
ฝ่ายหนึ่งตาย ผิด ม 290 ไม่ผิด ม 288
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1003/2512 (สบฎ เน 2065) จำเลยขับรถแซง
แล้วหักพวงมาลัยให้ท้ายรถ ปัดหน้ารถผู้เสียหาย จนเกือบตกถนน "หากเป็นถนนที่สูง ย่อมเล็งเห็นว่า อาจทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิต
แม้รถไม่ตกถนน ผิดฐานพยายามฆ่า" / แต่เมื่อถนนสูงประมาณ
1 เมตร จะถือว่าเจตนาฆ่ายังไม่ได้
แต่คาดหมายได้ว่าเล็งเห็นผลอันตรายถึงบาดเจ็บได้ ผิด ม 295+80
-
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
กรณีผลโดยตรง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4419/2533 ผู้ตายถูกยิงที่ด้านหลังตรงกลาง
กระสุนปืนถูกไขสันหลังซึ่งทำให้ผู้ตายเป็นอัมพาตต้องนอนเป็นเวลานาน บาดแผลที่ก้นกบจึงเกิดเน่าเปื่อย
ทำให้มีลิ่มเลือดหลุดเข้าไปในหลอดเลือดดำของปอด
เป็นเหตุให้ผู้ตายหยุดหายใจและถึงแก่ความตาย ผู้ตายไม่เคยมีโรคประจำตัวมาก่อน
และเป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพแข็งแรง เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย
จึงเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่ผู้ตายถูกจำเลยกับพวกใช้อาวุธปืนยิง
จำเลยย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7663/2540 (สบฎ สต 82)
ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายร่างกายโดยใช้มีดพร้าฟันบริเวณลำคอ 2 ครั้ง
จนระบบหายใจเป็นอัมพาต และถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุประมาณ 56 วัน
การตายของผู้ตายเกิดจากภาวะหายใจล้มเหลว จากปอดอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากระบบหายใจเป็นอัมพาต
อันเนื่องจากไขสันหลังช่วงคอถูกทำลาย
ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการถูกจำเลยฟันทำร้ายทั้งสิ้น และผู้ตายถึงแก่ความตาย
ขณะที่ยังต้องรักษาอาการที่เกิดจากการถูกจำเลยทำร้าย
และไม่ปรากฏว่ามีเหตุพิเศษอื่นใดเกิดขึ้นกับผู้ตายอีก
การตายของผู้ตายจึงเป็นผลธรรมดาที่เกิดจากการถูกจำเลยฟันทำร้าย (ศาลลงโทษตาม ม 288
ซึ่งหากวินิจฉัยตามแนวของ อ เกียรติขจร ไม่ต้องระบุถึงผลธรรมดา
เพราะไม่ใช่ผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ม 63 แต่ใช้ทฤษฎีเงื่อนไข ว่า
“การความตาย จากภาวะหายใจล้มเหลว เพราะปอดอักเสบติดเชื้อ เป็นผลโดยตรง
จากการฆ่า)
-
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล กรณี
เหตุแทรกแซง ฎ 617/2526
(เน 51/2/35)
-
เหตุแทรกแซง ที่เกิดจากธรรมชาติ ฎ 1548/2531 หลังรักษา 1 เดือน ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
จากการถ่ายเลือด
-
เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก “ผู้กระทำผิด” ฎ 1395/2518 ตีสลบ เข้าใจว่าตาย
เอาไปผูกไว้ที่ต้นไม้ พรางคดี ผิด ม 290
-
เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก “ผู้เสียหาย” ฎ 1436/2511 ขับรถน่าหวาดเสียว ผู้ตายกระโดดลงรถ
หนีอันตราย
-
เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก “บุคคลที่สาม” ฎ 659/2532 ขณะรักษาอาการ ญาติผู้เสียหาย
มาดึงเครื่องช่วยหายใจออก
-
เหตุแทรกแซง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 659/2532
จำเลยใช้ของแข็งตีทำร้ายผู้ตาย แล้วได้มีการนำตัวผู้ตายไปรับการรักษา
แพทย์ผู้รักษามีความเห็นว่าหากให้ผู้ตายรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป แล้วโอกาสที่ผู้ตายจะมีชีวิตรอดมีมากกว่าผู้ตายจะถึงแก่ความตาย
ญาติผู้ตายกระทำให้การรักษาสิ้นสุดลง โดยการดึงเครื่องช่วยหายใจ
และท่อช่วยหายใจออก แล้วพาผู้ตายกลับบ้าน และผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นผลโดยตรง
ที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย หาใช่เป็นผลจากการกระทำของจำเลยโดยตรงไม่
เพราะเมื่อผู้ตายอยู่ในความดูแลรักษาของแพทย์แล้ว
ผู้ตายย่อมเป็นผู้อยู่ในสภาพที่มีโอกาสมีชีวิตอยู่รอดสูง
จำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานพยายามฆ่าผู้ตาย
-
ผู้ใช้ในความผิดต่อชีวิต
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2057/2535 จำเลยตะโกนว่า
พ่อมันมาแล้ว เอามันเลย แล้ว ส. ได้ใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตาย
ดังนี้จำเลยต้องมีความผิดฐานยุยงส่งเสริมให้นาย ส. ฆ่าผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 84
ประกอบด้วย มาตรา 288 / โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำผิด
แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ แตกต่างจากฟ้อง จึงลงโทษในความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิดไม่ได้
แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วย
ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยได้
-
ตัวการในความผิดต่อชีวิต
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3266/2526
จำเลยทั้งสองกับพวกโกรธผู้เสียหายจึงเดินตามไป แล้วเข้าทำร้ายผู้เสียหายทันที
ย่อมเป็นการติดตามไป โดยมีเจตนาร่วมกันที่จะทำร้าย
และจะต้องทราบดีว่าใครมีอาวุธพกไปบ้าง เพราะเป็นพวกเดียวกัน
ต่างมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายด้วยวิธีการต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1
ชกต่อยและใช้มีดพกแทงทำร้ายผู้เสียหายแล้ว ป. จะเข้าไปช่วยเหลือ จำเลยที่ 2ไดใช้เก้าอี้ตี
ป. ทันที เพื่อมิให้ ป. เข้าช่วยผู้เสียหาย แล้วจำเลยทั้งสองกับพวกหลบหนีไป ดังนี้
ย่อมเล็งเห็นเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 1
กระทำความผิดทำร้ายผู้เสียหายด้วยกัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการที่จำเลยที่ 1
พยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1831/2529
ศ.ยิงผู้อื่นแล้ววิ่งหนีมาขึ้นซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของกลาง
ที่จำเลยนั่งคร่อมในที่นั่งคนขับและจอดไว้ข้างที่เกิดเหตุ ศ.กับคนร้าย
ที่อยู่ในรถยนต์ปิคอัพ ซึ่งจอดอยู่ใกล้รถจักรยานยนต์
ยิงต่อสู้กับตำรวจที่วิ่งไล่ตาม เพื่อจับกุม เมื่อ ศ.ถูกยิงล้มลง
จำเลยทิ้งรถจักรยานยนต์วิ่งไปขึ้นรถยนต์ปิคอัพหลบหนีไป ดังนี้ จำเลยกับ
ศ.และพวกหลบหนีไปได้ร่วมกันวางแผนฆ่ามาแต่ต้นโดยตลอด โดยจำเลยรับหน้าที่คอยพา
ศ.หลบหนีไปหลังจากที่กระทำการฆ่าผู้อื่นบรรลุผลสำเร็จแล้ว
จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกระทำผิดด้วย มีความผิดตาม ป.อ. ม.288,83
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1839/2530 การที่จำเลยที่ 1
ถอดหลังคารถ เพื่อความคล่องตัวในการนำรถไปใช้กระทำความผิด และใช้รถหลบหนี โดยจำเลยที่ 1
รู้มาแต่แรกว่าคนร้ายให้ขับรถไปเพื่อฆ่าผู้อื่น แล้วจำเลยที่ 1
ขับรถพาคนร้ายไปจอดรถที่ถนนหน้าร้านผู้ตาย ติดเครื่องรออยู่
ให้คนร้ายลงจากรถไปใช้อาวุธปืนยิงเร็วยิงผู้ตายกับพวกประมาณ 50 คนที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่
แล้วคนร้ายกลับมาขึ้นรถ จำเลยที่ 1 ขับรถพาคนร้ายหลบหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 1
เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำความผิดที่ร่วมกันไปฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1321/2545 แม้โจทก์ไม่ได้ตัวพยานในชั้นสอบสวนมาเบิกความในชั้นพิจารณาก็ตาม
แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้รับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน
เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนบันทึกคำให้การของพยานไว้ไม่ถูกต้อง จึงรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
Ø
คนร้ายเดินเข้าไปชำระค่าโดยสารให้แก่ผู้ตาย แล้วได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันที เกิดเหตุแล้วคนร้ายกระโดดขึ้นซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่มาจอดเทียบ
โดยจำเลยเตรียมรถจักรยานยนต์ ขับตามรถยนต์โดยสารสองแถวที่ผู้ตายขับมา
เพื่อรับคนร้ายหลบหนี อันเป็นการวางแผนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ซึ่งรวมถึงแผนในการหลบหนีด้วย รับฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับคนร้ายที่หลบหนีกระทำความผิดตามป.อ. มาตรา 289 (4), 83 Øธนบัตรของกลางที่คนร้ายส่งให้แก่ผู้ตายเป็นค่าโดยสาร
ก่อนที่ผู้ตายถูกยิง กับหมวกนิรภัยที่จำเลยสวมขณะเกิดเหตุอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดว่า
จำเลยมีเจตนาสวมเพื่อปกปิดใบหน้าในการกระทำผิด ธนบัตรและหมวกนิรภัยของกลาง
จึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) โดยตรง
-
ผู้สนับสนุนในความผิดต่อชีวิต
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3116/2527
ล.นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลย ลงมาพูดทำนองบังคับผู้ตายให้กลับรถของจำเลย ใช้ปืนจี้ท้ายทอยและลั่นไกแต่กระสุนไม่ลั่น
จึงใช้ปืนตีศีรษะ แล้วร้องบอกให้จำเลยติดเครื่องรถรอ จำเลยก็ติดเครื่องรถรอจน
ล.มาถึงรถจำเลยแล้วยิงไปที่ผู้ตาย 1 นัด เมื่อขึ้นคร่อมท้ายรถแล้ว
ล.ยิงไปอีกหลายนัด ขณะเดียวกันจำเลยก็ขับรถพาหลับหนีไป การติดเครื่องรถรออยู่เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่
ล.ยิงผู้ตาย เป็นการให้กำลังใจว่า
เมื่อยิงแล้วมีโอกาสซ้อนรถจำเลยหลบหนีไปได้ทันท่วงที และปลอดภัย
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดของ ล. ตาม ป.อ.ม.86
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 625/2543 การที่จำเลยที่ 2 เพียงแต่ส่งมีดพร้า ให้จำเลยที่ 1
โดยมิได้เข้าร่วมใช้มีดพร้าฟันทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เสีย เอง จึงถือไม่ได้ว่ามีเจตนาเป็นตัวการร่วม
แต่มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือ การที่จำเลยที่ 1 ถืออาวุธปืนสั้นมายังที่เกิดเหตุโดยจำเลยที่ 2 ถือ
มีดพร้ามาด้วยนั้น พฤติการณ์พอถือได้ว่าต่างคนต่างเจตนาจะครอบ
ครองอาวุธของตนเองโดยลำพัง จำเลยที่ 2 จึงมิได้ร่วมกับจำเลยที่
1 มีและพาอาวุธปืนดังกล่าว มาทำร้ายและพยายามฆ่า
ผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนฐาน
พยายามฆ่า
-
ประเด็นเปรียบเทียบ ม 90-91 ความรับผิดต่อผู้เสียหายหลายคน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1429/2515 จำเลยเอายาฆ่าแมลงให้บุตร 2 คนกิน ด้วยเจตนาให้ลูก ๆ
และตนเองตายไปเสียพร้อม ๆ กัน
เป็นกรรมเดียว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1863/2527 จำเลยและ ป.โกรธแค้น
ม.ที่ฆ่าเพื่อนของจำเลยตาย จึงถือปืนไปถามหา ม.ต่อ ส.และ ย. โดยมิได้มีเจตนาจะฆ่า
ส.และ ย.มาก่อนเลย ครั้นไม่พบ จำเลยก็ยิงและไล่ตามยิง ส. ส่วน ป. ยิงและไล่ตามยิง
ย. ต่อมาอีกเล็กน้อย เมื่อ ป.ยิง ย.ขณะที่จำเลยอยู่ด้วย จำเลยก็มิได้ยิง ย. ดังนี้
ส่อเจตนาของจำเลยและ ป.ว่าต่างคนต่างยิง ส. และ
ย.เป็นเจตนาที่ต่างเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ จำเลยมิได้มีเจตนาร่วมกัน ป.ฆ่า ย.จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า
ย. อีกกรรมหนึ่ง
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 288
-
(ขส พ 2516/ 8) ดำมองหน้าแดง
แดงกับพวกตีและแทงดำสาหัส ดำจึงชักปืน แดงกับพวกวิ่งหนี ดำยิงไปทางแดง
กระสุนพลาดไปถูกขาว / การมองหน้า
ไม่เป็นเหตุตามกฎหมายที่แดงจะรุมทำร้ายดำ ถือว่าแดงข่มเหงดำอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
เมื่อดำถูกข่มเหงขาดตอนแล้วเพราะแดงวิ่งหนี ไม่มีการกระทำอย่างไร
ที่จะถือว่าทำร้ายดำต่อไปอีก ดำจึงไม่จำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิตาม มาตรา 68
การที่ดำยิงแดงจึงเป็นการบันดาลโทสะ มาตรา 72 ดำผิดฐานฆ่านายขาว มาตรา 288 ,60 ,72 ฎ 1682/2509
-
(ขส พ 2523/ 8) อู๋หยุดรถให้เม้งแซง
แล้วหักรถให้ท้ายรถปัดถูกหน้ารถเม้ง เกือบตกถนนสูงประมาณครึ่งเมตร หน้ารถพัง
เม้งชักปืนยิงอู๋ กระสุนพลาดไปถูกผู้โดยสารในรถอู๋ / อู๋ผิด
ม 358 ถนนสูง ย่อมคาดหมายได้ว่าถ้าตกถนน จะได้รับอันตราย
อู๋เล็งเห็นผลได้ จึงผิด ม 295+80 ฎ 1003/2512 / เม้งยิงอู๋ขณะโทสะ กระสุนพลาดไป ผิด ม 288+80+60+72 ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดเพียงใดก็ได้
ฎ 1682/2509
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น