หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด มาตรา 80 - 82
มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วน ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
- ความผิดสำเร็จ ในแต่ละองค์ประกอบความผิด มี 3 ประเภท
- อาศัยผล คือ ความผิดสำเร็จ เมื่อกระทำการนั้น และเกิดผลจากการกระทำ เช่น ฆ่าคนตาย
- อาศัยเหตุจูงใจหรือเจตนาพิเศษ หรือพฤติการณ์ประกอบการกระทำ ความผิดสำเร็จเมื่อกระทำการนั้น ไม่ต้องมีผลเกิดขึ้น
- องค์ประกอบ “เพื่อการอนาจาร” ในความผิดตาม มาตรา 284
- องค์ประกอบ “เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ” ในความผิดตาม มาตรา 313
- องค์ประกอบ “โดยทุจริต” ในความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม มาตรา 334
- องค์ประกอบ “ในประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง” ในความผิดฐานหมิ่นประมาท
- อาศัยทั้งผล และเจตนาพิเศษ
- มาตรา 284 พาไปเพื่อการอนาจาร
- ผล คือ การพาไป อาจเป็นด้วยการฉุด หากยังไม่สามารถพาคนเคลื่อนที่ได้ ก็ยังไม่เกิดผล คือการพาไป
- เจตนาพิเศษ คือ เพื่อการอนาจาร ความผิดสำเร็จ เมื่อมีการพาไป โดยมีเจตนาพิเศษ เพื่อการอนาจาร แม้จะยังไม่มีการทำอนาจารตามที่คิดไว้ก็ตาม
- อาศัยทั้งผล และพฤติการณ์ประกอบการกระทำ
- มาตรา 137 แจ้งความเท็จ
- ผล คือการแจ้งให้เจ้าพนักงานทราบ หากแจ้งแล้ว แต่เจ้าพนักงานยังไม่ทราบ เป็นพยายาม
- พฤติการณ์ประกอบการกระทำ คือน่าจะเกิดความเสียหาย หากการแจ้งนั้นน่าจะเกิดความเสียหายฯ และเจ้าพนักงานทราบแล้ว ก็เป็นความผิดสำเร็จ หากไม่น่าจะเสียหาย ก็ไม่เป็นความผิดเลย
- อาศัยทั้งเจตนาพิเศษ และพฤติการณ์ประกอบการกระทำ
- มาตรา 236 ปลอมปนอาหาร
- เจตนาพิเศษ คือ ปลอมปนอาหาร ยา หรือเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นใด “เพื่อบุคคลอื่นเสพย์หรือใช้”
- พฤติการณ์ประกอบการกระทำ คือ การปลอมปนนั้น น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ
- มาตรา 264 ปลอมเอกสาร
- เจตนาพิเศษ คือ ถ้าได้กระทำ “เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง”
- พฤติการณ์ประกอบการกระทำ คือ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีฐานพยายาม (อพ 107)
- "ความผิดที่ต้องลงมือกระทำ และเกิดผลขึ้นแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จ โดยไม่มีความผิดฐานพยายาม”
- มาตรา 292+293 ถ้าไม่มีการฆ่า หรือพยายามฆ่าตนเอง
- มาตรา 294 + 299 ถ้าไม่มีคนตายหรือสาหัส ไม่ผิด
- มาตรา 177 + 178 ทำสำเร็จแล้ว หากลุแก่โทษ มาตรา 182 ไม่ต้องรับโทษ (ตรวจประเด็น)
- มาตรา 352 ยักยอก
- พรบ เช็ค ผิดเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การออกเช็คไม่เป็นพยายาม
- "ความผิดที่ต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยผลของเจตนาเดิม" ไม่มีพยายามในผลที่ยังไม่เกิด”
- มาตรา 297 / มาตรา 290 / มาตรา 157 / มาตรา 162
- "ความผิดที่ไม่คำนึงถึงผล เป็นความผิดสำเร็จเมื่อกระทำ แม้ไม่บรรลุผล”
- (อ จิตติ 2/167) ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า “(ข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานฯ ตาม ป.อาญา มาตรา 138 การต่อสู้ขัดขวาง ไม่จำต้องมีผล ถือว่าความผิดสำเร็จทันที เมื่อมีการต่อสู้ขัดขวาง ไม่ต้องรอให้ผลเกิด แม้การขัดขวางนั้นจะไม่ได้ผลเลย เพราะเจ้าพนักงานยังสามารถกระทำการตามหน้าที่ได้สำเร็จก็ตาม” ฎ 243/2509 การที่จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้า เพื่อขู่ตำรวจมิให้ไล่จับกุมจำเลยต่อไปนั้น เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงาน ตาม ม 138 ต้องลงโทษตาม มาตรา 140 (เป็นการ “ต่อสู้ขัดขวาง” โดย “ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย” แต่มีเหตุฉกรรจ์ ตรงที่ใช้อาวุธปืน / แม้ตำรวจไล่ตามจับจำเลยจนได้ ซึ่งหมายถึง การต่อสู้ขัอขวางของจำเลย ไม่เกิดผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานหยุดชะงัก )/ เปรียบเทียบ ฎ 2989/2537 การที่จำเลยพูดขู่เข็ญจะฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้หากไม่ปล่อยไม้ที่ยึด เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นการลงมือกระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดแล้ว แต่การกระทำนั้น ไม่บรรลุผล เพราะผู้เสียหายไม่เกรงกลัว ไม่ยินยอมปล่อยไม้ที่ยึด ผู้เสียหายจึงไม่ได้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่จำเลยข่มขืนใจ จำเลยจึงมีความผิดขั้นพยายาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 ประกอบมาตรา 80
- ข้อสังเกตเพิ่มเติม
- “พยายาม” เป็นการกระทำโดย ”เจตนา” เท่านั้น “ประมาท” ไม่มีพยายาม
- ต้องดูว่าเจตนาทำผิดฐานใด
- ต้องพ้นขั้น “ตระเตรียม” แล้ว
- แนวฎีกา อาวุธปืน เมื่อควักยังอยู่ขั้นตระเตรียม เมื่อยกขึ้นเล็ง หรือจ้อง แม้ยังไม่ขึ้นนก ถึงขั้นลงมือ เป็นพยายาม (เน 47/11/18) ถือปืนส่ายแล้วลั่นถูกคน ยังไม่เห็นเจตนาหลัก ไม่ปรับโทษทำร้าย แต่อาจถือว่าประมาท (เน 47/11/13)
- ความผิดที่ต้องการผล แต่ผลที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำความผิด ถือเป็นการพยายามกระทำผิด
- ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า การกระทำอนาจาร ต้องเป็นผลจากการขู่เข็ญนั้น ถ้ายอม เพราะเหตุอื่นอาจเป็นความผิดได้ ก็แต่ในขั้นพยายาม
- ประเด็นเปรียบเทียบ มาตรา 80 และ มาตรา 81
- มาตรา 81 เป็นเรื่องไม่อาจเกิดผลได้เลย แต่ ม.80 การไม่บรรลุผลนั้นเกิดจากเหตุบังเอิญ
- ยิงปืนเข้าไปในบ้าน โดยไม่รู้ว่าคนอยู่ตรงจุดใด ปรับ ม.288+80 แต่หากไม่มีคนอยู่เลย ปรับ มาตรา 288+81 (เน 47/12/60)
- ประเด็นเปรียบเทียบ เรื่องการกระทำกับโทษ
- การตระเตรียมการที่เป็นความผิดและมีโทษ ม 107 ว 3 / ม 108 ว 3 / ม 109 ว 3 / ม 110 ว 4 / 114 / ม 128 / ม 219 วางเพลิง /
- การพยายามกระทำผิด ที่ไม่ต้องรับโทษ ม 82 "ยับยั้ง-กลับใจ" / ม 105 “ลหุโทษ” / ม 304 “หญิงทำแท้ง - ทำแท้งหญิงโดยยินยอม”
- การพยายามกระทำผิด ที่มีโทษเท่าความผิดสำเร็จ ม 107 ว 2 / ม 108 ว 2 / ม 109 ว 2 ม 110 ว 2 / ม 128 / ม 130 ว 2 / ม 131
- การพยายามกระทำผิด ที่ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ ม 132
- การกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าไม่ต้องรับโทษ ม 294 ว ท้าย / ม 299 ว ท้าย
- การกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าไม่เป็นความผิด ม 305 “แพทย์ทำแท้ง” / ม 329 / ม 331
- ผู้สนับสนุน โทษเท่าตัวการ ม 111 / ม 129 / ม 314
- ทฤษฎีที่ชี้ว่าถึงขั้นลงมือ
- ใกล้ชิดต่อผล (The proximity Rule) (แนวคำพิพากษาฎีกาใช้ทฤษฎีนี้) ผู้กระทำได้กระทำ “ขั้นสุดท้าย” ซึ่งจำต้องกระทำเพื่อให้ความสำเร็จ ถือว่าการกระทำนั้นใกล้ชิดต่อผล เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว / การกระทำสุดท้ายที่ทำให้เกิดผลได้ รวมทั้งกระทำส่วนหนึ่งของการกระทำสุดท้าย เช่น ยาพิษกิน 6 เม็ดตาย ให้กิน 2 เม็ด / กรณีหลอกให้ผู้ไม่มีเจตนาร่วม ให้กระทำผิดแทน เมื่อหลอกก็ถือเป็นการลงมือแล้ว
- ไม่คลุมเครือ (Unequivocal Rule) การกระทำนั้นชี้ให้เห็นได้อย่างปราศจากความสงสัยตามสมควร ว่ามุ่งหมายต่อผลใด การพยายามกระทำในทางอาญา จะต้องสามารถแสดงออกให้เห็นในตัว ถึงเจตนาในทางอาญา โดยไม่ต้องพึ่งคำรับสารภาพ
- มีความอันตรายจากการกระทำ (The Criterion of Danger) จะถึงขั้นลงมือ ต่อเมื่อการกระทำนั้นเป็นภยันตรายโดยตรง ต่อผลประโยชน์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง
- กระทำถึงขั้นตอนสำคัญ (The Substantial Step Rule) การกระทำขั้นตอนที่สำคัญจะถือเป็นการลงมือได้ ต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบด้วย
- การกระทำขั้นตระเตรียม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 394/2504 จำเลยเขียนสลากกินรวบไว้สำหรับขาย แต่ยังไม่ทันลงมือขาย ก็ถูกจับ ยังไม่เป็นผิดฐานพยายามขายสลากกินรวบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2444/2520 บรรจุเฮโรอีนใต้ฐานพระพุทธรูปไม้ เพื่อนำออกนอกราชอาณาจักร ถูกจับได้ก่อนออกเดินทาง 8 วัน ยังอยู่ในขั้นตระเตรียม ไม่เป็นพยายามนำเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย
- การกระทำขั้นลงมือ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2191/2522 จำเลยดึงเด็กอายุ 8 ปี ไปจากผู้ดูแลพยายามจับตัวอุ้มไป แต่ผู้ดูแลดึงตัวเด็กไว้และร้องขอให้ช่วย จำเลยจึงปล่อยเด็กเป็นพยายามพรากผู้เยาว์ตาม ม.317, 80 / ใช้ปืนจี้บังคับให้คนขับรถนั่งเฉย ๆ เอามือวางไว้ที่พวงมาลัย คนขับรถต้องปฏิบัติตาม เป็นความผิดตาม ม.309
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1691/2526 หลังจากผ่านการตรวจค้นหาวัตถุระเบิดและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าอากาศยานกรุงเทพ อันเป็นการตรวจขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจค้นพบเฮโรอีนของกลางบรรจุพลาสติก 1 ถุง ซ่อนอยู่ในรองเท้าของจำเลยส่อเจตนาที่จะนำของกลางออกนอกราชอาณาจักร จำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด จึงมีความผิดฐานพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งเฮโรอีน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1154/2533 จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงเดินทางจากที่พักไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพ โดยจำเลยประสงค์จะพาผู้เสียหายออกไปจากประเทศไทยเพื่อรับจ้างให้เขาทำเมถุนกรรม แต่จำเลยถูกจับกุมเสียก่อนที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ในขณะที่จำเลยกำลังเข้าแถวขอรับบัตรเลขที่นั่งเครื่องบินสำหรับจำเลยและผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการพาผู้เสียหายออกไปจากประเทศไทย และใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่จะเกิดขึ้น พ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามพาหญิงออกไปจากประเทศไทย เพื่อการรับจ้างให้เขาทำเมถุนกรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง พ.ศ. 2471 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80
- กรณีถึงขั้นเป็นความผิดสำเร็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 277/2506 จำเลยขายสลากกินรวบแล้ว แม้สลากกินแบ่งของรัฐบาลงวด ซึ่งจำเลยถือเอาเป็นเกณฑ์ในการรับกินรับใช้ จะยังไม่ออก ความผิดฐานจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบโดยไม่ได้รับอนุญาตก็สำเร็จแล้ว และแม้คนซื้อสลากจากจำเลยจะเป็นคนที่ตำรวจจัดให้ไปซื้อ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้
- ข้อหาความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 + 295 "การตระเตรียม" กระทำความผิดในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย กรณีใช้อาวุธปืน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1647/2512 จำเลยไม่พอใจผู้เสียหายและพูดว่าเดี๋ยวยิง ผู้เสียหายท้าให้ยิง จำเลยควักปืนออกมา ปากกระบอกเพิ่งพ้นจากเอว ยังไม่ทันหันมาทางผู้เสียหาย ถูกผู้เสียหายแย่งไปได้ การชักปืนออกมา เป็นเพียงเตรียมการเอาปืนออกมาเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นลงมือ ปืนยังไม่พ้นจากเอว จำเลยอาจทำท่าขู่ก็ได้ ยังไม่พอฟังว่ามีเจตนาจะฆ่า จึงยังไม่เป็นพยายามกระทำความผิดตาม ม 80
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1120/2517 ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จำเลยได้ชักอาวุธปืนสั้นออกจากเอว แล้วกระชากลูกเลื่อนเพื่อให้กระสุนเข้าลำกล้อง แต่เจ้าพนักงานตำรวจวิ่งเข้ามาขัดขวางป้องกัน มิให้จำเลยกระชากลูกเลื่อนได้ และแย่งปืนจากจำเลยไป ดังนี้ จำเลยยังไม่อยู่ในสภาพพร้อมจะยิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า (แต่ในข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานนั้น น่าจะถึงขั้นผิดสำเร็จแล้ว)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2604/2526 จำเลยไม่พอใจหาว่าผู้เสียหายเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันฟุตบอลไม่ยุติธรรม จึงกลับไปบ้านนำเอาอาวุธปืนสั้นมีกระสินบรรจุอยู่ แล้วขับรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดในสนามฟุตบอลห่างผู้เสียหายประมาณ 3 เมตรจำเลยหยิบปืนจากใต้เบาะรถเดินเข้าไปหาผู้เสียหาย อาวุธปืนยังอยู่ในซองปืน แม้จำเลยถือปืนโดยปากกระบอกชี้มาทางผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ได้จ้องปืนมาทางผู้เสียหาย ผู้เสียหายเข้าแย่งปืนเสียก่อน การกระทำของจำเลยยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำความผิด จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
- ข้อหาความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 + 295 "การลงมือพยายาม" กระทำความผิดในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย กรณีใช้อาวุธปืน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 556/2502 มีเจตนาจะฆ่า จึงคว้าปืนบาเร็ตต้าขึ้นมากระชากลูกเลื่อน แต่กระชากไม่ถึงที่ กระสุนปืนไม่ขึ้นลำกล้อง ได้ใช้นิ้วสอดเข้าไปที่ไก ปลายกระบอกปืนตรงไปทางผู้เสียหาย แต่มีผู้อื่นมาล็อกคอและแย่งปืนไป ย่อมเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 147/2504 การที่จำเลยยกปืนที่พร้อมจะยิงได้ จ้องไปทางเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งกำลังกอดปล้ำจับกุมพวกของจำเลยโดยเจตนาที่จะยิง แม้ยังมิทันขึ้นนกปืนก็ตาม ก็เป็นพยายามกระทำผิด ฐานฆ่าเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่แล้ว เพราะการลงมือยิงได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ตั้งยกปืนที่พร้อมจะยิงได้ เล็งไปยังเป้าหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1868/2512 การที่จำเลยใช้ปืนที่ขึ้นนกแล้วจ้องจะยิงห่างจากอกผู้เสียหายเพียง 1 ศอกและยิงปืนขึ้น แต่มีผู้อื่นจับมือจำเลยข้างที่ถือปืนให้เบนไป แม้กระสุนปืนจะไม่ถูกผู้เสียหายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยเจตนาตาม มาตรา 59 แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1765/2521 จำเลยกระชากลูกเลื่อนปืนคาบิน กระสุนเข้ารังเพลิงพร้อมจะยิงได้ จ้องเล็งไปทางผู้เสียหายซึ่งอยู่ห่าง 10 เมตร แต่ถูกขัดขวางเสีย เป็นพยายามฆ่าคนโดยเจตนา
- ฎ 870/2526 ผู้เสียหายกับจำเลยทะเลาะกัน ในที่สุดจำเลยชักปืนเล็งไปที่หน้าอกผู้เสียหาย และขึ้นนกจะยิงในระยะห่างประมาณ 1 เมตรเศษ สามีจำเลยเข้าจับมือกดลงต่ำ ปืนลั่นกระสุนถูกผู้อื่นที่เท้า ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4120/2528 ข.พวกของจำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย แล้ววิ่งหนีขณะที่กำลังวิ่งอยู่นั้น จำเลยก็ถือปืนเข้ามาจ้องจะยิงผู้เสียหายซ้ำ พ.ผลักผู้เสียหายให้ล้มลงแล้วเข้ายืนบังไว้ ส. ก็ร้องขอจำเลยว่าอย่าทำอีกเลยเพราะคนเจ็บแล้ว จำเลยจึงลดปืนลง แล้ววิ่งไปทางเดียวกับ ข. ดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายแล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1451/2531 จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาดักยิง ศ. เมื่อ ส. ขับรถปิคอัพมาถึงที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็น ศ. เพราะไม่รู้จักมาก่อนจึงจ้องปืนเล็งไปยัง ส.โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรอง แต่ ส.โบกมือให้ทราบว่าตนมิใช่ ศ.จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ยิง ดังนี้ เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม มาตรา 289 (4), 80
- ข้อหาความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 334-335 การตระเตรียมกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 911/2518 จำเลยกล่าวหาว่าผู้เสียหายชกต่อยน้องชาย จำเลยขอให้ไปพบน้องชายจำเลยที่วัด เมื่อไปถึงหลังโบสถ์ ผู้เสียหายกับจำเลยนั่งคอยอยู่ราว10 นาที มีตำรวจมาพบและค้นตัวบุคคลทั้งสอง ผู้เสียหายเล่าเรื่องให้ฟัง ตำรวจจึงจับจำเลย จำเลยรับว่าจำเลยกับพวกลวงผู้เสียหายมาเพื่อชิงทรัพย์เช่นนี้ จำเลยยังมิทันได้กระทำการอันใดที่จะถือว่าลงมือกระทำการลักทรัพย์ ก็มีตำตรวจมาค้นตัว และจับจำเลยไปเสียก่อน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ผู้เสียหาย
- ข้อหาความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 357 การตระเตรียมกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5058/2533 หลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 รับซื้อกระบือของกลางจากคนร้ายที่ลักมาแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ร่วมปรึกษากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่าจะหาเงินให้ผู้ขายอย่างไร เอากระบือไปขายที่ไหน เมื่อขายได้แล้วจะนำกำไรมาแบ่งกันวันต่อมา จำเลยที่ 1 ที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ไปดูกระบือที่ผูกซ่อนไว้จึงถูกจับกุม ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ลงมือกระทำผิด เป็นเพียงการตระเตรียมที่จะร่วมกระทำผิดกลับจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้นการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงยังไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร
- ข้อหาความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 358 การตระเตรียมกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 7037/2547 คำว่า "ฉีด" ตามพจนานุกรม ให้ความหมายไว้ว่า "ใช้กำลังอัด หรือดันของเหลวพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ" ดังนั้น กระบอกฉีดยาที่ไม่มีเข็มฉีดยา ก็สามารถฉีดของเหลวเข้าสู่ร่างกายกระบือโดยทางปากหรือทางทวารได้ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีกระบอกฉีดยาบรรจุสารพิษไว้แล้ว และจำเลยกำลังจับเชือกที่ผูกกระบือของผู้เสียหายซึ่งพร้อมที่จะลงมือฉีดสารพิษใส่เข้าไปในตัวกระบือ การกระทำของจำเลยดังนี้ใกล้ชิดต่อผลแห่งการกระทำให้เสียทรัพย์ ถือว่าเป็นการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะผู้เสียหายมาพบและเข้าขัดขวางเสียก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ และเมื่อศาลฎีกาฟังว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาดังกล่าวถือว่าจำเลยได้ลงมือกระทำความผิด พ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
- องค์ประกอบความผิดที่ต้องการผล ในข้อหาความผิดตามมาตรา 217
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5544/2531 ความผิดสำเร็จฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ ไม่ได้หมายความเพียงว่า เอาเพลิงไปวางเท่านั้น หากแต่ต้องเป็นการเผาทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์นั้นติดไฟขึ้นด้วย จำเลยใช้มีดฟันประตูครัว ราดน้ำมันเบนซินใส่และจุดไฟเผาแล้วหลบหนีไป ปรากฏว่าพื้นบ้านที่จุดไฟเผา เป็นแต่เพียงรอยเกรียมดำ และหลังจากจุดไฟเผาแล้วประมาณ 3 นาที ไฟก็ดับเอง จึงเป็นเพียงพยายามกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหาย แต่ใช้วิธีการที่แตกต่างกันเท่านั้น ปรับ มาตรา 90 ต้องลงโทษ มาตรา 218 ประกอบ มาตรา 80
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2829/2532 ความผิดสำเร็จฐานวางเพลิงเผาโรงเรือนนั้น ไม่หมายความเพียงว่าเอาเพลิงไปวางเท่านั้น หากต้องเป็นการเผาทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนนั้นลุกติดไฟขึ้นด้วย เพียงแต่ฝาผนังบ้าน อันเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือนมีรอยเขม่าดำ แต่ยังไม่ไหม้ไฟ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จ แม้จะมีทรัพย์สินอื่นหลายรายการ เช่นเครื่องเรือนถูกไฟลุกไหม้ไปด้วย ก็ถือไม่ได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้ถูกไฟไหม้ไปด้วย เป็นเพียงความผิดฐานพยายามวางเพลิงเผาโรงเรือนเท่านั้น
- องค์ประกอบความผิดที่ต้องการผล ในข้อหาความผิดตามมาตรา 271
- คำพิพากษาฎีกาที่ 549/2504 จำเลยขายด้ายหลอดตราสมอแก่ตำรวจที่ขอซื้อ ที่หีบห่อแสดงว่ายาว 200 หลา แต่ความจริงยาว 130 - 150 หลา ตำรวจผู้ซื้อรู้ความจริงอยู่ก่อนแล้ว เป็นความผิดฐานพยายาม (มาตรา 271 “ขายของโดยหลอกลวง” ด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นฯ ผลของการหลอกลวงคือ การซื้อไปโดยหลงเชื่อ ในการหลอกลวงนั้น)
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “เจตนาพิเศษ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 143
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2715/2531 แม้ผู้เสียหายไม่หลงเชื่อ และไม่มีเจตนาจะมอบทรัพย์สินให้ โดยได้แจ้งความไว้แล้ว นำเงินของเจ้าพนักงานตำรวจมาให้จำเลยรับไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการจับกุม การกระทำดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิด มาตรา 143 แล้ว (ไม่ต้องเป็นการมอบให้โดยหลงเชื่อ ความผิดสำเร็จ ตั้งแต่เมื่อเรียกสินบน โดยมีเจตนาพิเศษ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4846/2536 การที่จำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไป จากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริต ให้กระทำการในหน้าที่โดยพิพากษาคดีให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายให้ผู้เสียหายชนะคดีในชั้นศาลฎีกานั้น ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว จำเลยที่ 1 จะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายหรือไม่ หาใช่องค์ประกอบของความผิดไม่ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้เรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถจะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา ให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายได้ทันก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “เจตนาพิเศษ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 145
- คำพิพากษาฎีกาที่ 382/2508 การกระทำที่จะเป็นความผิด ตามมาตรา 145 ต้องได้ความว่านอกจากได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ต้องกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้นด้วย / จำเลยมิได้เป็นตำรวจสันติบาล ได้แสดงตัวเป็นตำรวจสันติบาลได้ถามถึงเรื่องคนร้าย แล้วจดชื่อลงในสมุดพก โดยจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำการสืบสวนหาตัวคนร้ายอย่างจริงจัง ดังนี้การกระทำของจำเลย ย่อมไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “เจตนาพิเศษ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 148
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2406-8/2519 (สบฎ เน 5051) ความผิดตาม มาตรา 148 เพียงแต่ผู้กระทำผิดมีเจตนาจะให้เขาส่งมอบทรัพย์สินให้ ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้ผู้ถูกข่มขืนใจจะไม่ยอมตามนั้นก็ตาม แม้ผู้ถูกเรียกไม่มีเงินให้ เป็นความผิดสำเร็จ
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “เจตนาพิเศษ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 149
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1246/2510 (สบฎ เน 1507) ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกทรัพย์สินโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ในตำแหน่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 นั้น เพียงแต่เรียกก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้จะยังไม่ได้ทรัพย์ที่เรียกไปก็ตาม หรือแม้จะมีการกลับกระทำการโดยชอบด้วยหน้าที่ในภายหลังก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแต่ขณะเรียกแล้ว หาใช่พยายามไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3228/2527 ความผิดตาม ป.อ.ม.149 นั้น เพียงจำเลย ซึ่งเป็นตำรวจเรียกเงินจากผู้ถูกจับเพื่อตนโดยมิชอบ เพื่อไม่จับกุม เป็นความผิดแล้ว แม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ตาม
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “เจตนาพิเศษ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 246
- คำพิพากษาฎีกาที่ 744/2521 จำเลยมีเครื่องพิมพ์โดยเจตนาที่จะใช้พิมพ์ธนบัตรปลอม แม้ขาดอุปกรณ์บางตัว แต่ถ้ามีอุปกรณ์ประกอบเข้ากันก็ใช้พิมพ์ธนบัตรปลอมได้ จึงเป็นความผิดตามมาตรานี้ / เส้นสีแดงที่กระดาษของกลางต่างกับธนบัตรของแท้ เป็นเรื่องของขีดความสามารถที่จะทำปลอม ไม่จำต้องถึงกับเหมือนของแท้ จนไม่รู้ว่าปลอม หรือแท้ (จำเลยมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงเงินตรา “เพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง”)
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “เจตนาพิเศษ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 264
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1654/2503 ทำประกาศนียบัตรปลอมเอามาให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่ลวงให้ผู้ซื้อหลง ก็เป็นการทำขึ้นเพื่อให้ใครคนหนึ่งหลงว่าเป็นของแท้ แม้ผู้ที่จะถูกลวงให้หลงนั้นยังไม่ได้เห็นประกาศนียบัตรนั้น ก็เป็นเอกสารปลอม
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “เจตนาพิเศษ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 270
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1554/2521 การ “มี” เครื่องชั่ง เครื่องตวง หรือเครื่องวัด ที่ผิดอัตรา “เพื่อเอาเปรียบในการค้า” เป็นความผิดสำเร็จในทันที แม้จะยังไม่ได้ใช้ชั่งสินค้าที่ขาย จำเลยมีเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา เพื่อใช้ในกิจการค้าและเพื่อเอาเปรียบในการค้า ผิดตามมาตรานี้
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “พฤติการณ์ประกอบการกระทำ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 233
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1281-1282/2538 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกลงกันเป็นหุ้นส่วนซื้อเรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลง เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในกิจการท่องเที่ยว โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ไปติดต่อขอซื้อเรือ จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ติดต่อจดทะเบียนและขออนุญาตใช้เรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบและต่อเติมเรือและได้จ้างจำเลยที่ 1 ขับเรือของกลางซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือไปในการรับจ้างขนส่งคนโดยสาร ด้วยการบรรทุกจนน่าเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จึงเป็นกรณีจำเลยทั้งสี่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันตาม ป.อ. มาตรา 83 / คำว่า "น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะ" ตาม ป.อ.มาตรา 233 ไม่ใช่ผลของการกระทำ เพราะความผิดสำเร็จโดยที่ยังไม่มีความเสียหาย เป็นแต่การกระทำหรือเจตนากระทำมีสภาพน่าจะเป็นอันตรายเท่านั้น เมื่อเรือนั้นมีลักษณะ หรือมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น แม้ยังไม่มีความเสียหาย ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “พฤติการณ์ประกอบการกระทำ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 249
- เสด็จในกรมหลวงราชบุรี ทรงอธิบายว่า นายแดงเอาตะกั่วมาทำเป็นเงินบาทขัดให้ขาว ๆ สำหรับให้เด็กเล่น และนายแดงได้ขายแผ่นตะกั่วนี้ถูก ๆ เป็นเครื่องเล่น ไม่ได้มีเจตนาหลอกผู้ใด ถ้าหากแผ่นตะกั่วที่นายแดงทำนี้ คล้ายคลึงกับเงินบาทจริงมาก จนอาจทำให้คนบ้านนอกและคนแก่ หลงสำคัญว่าเป็นเงินจริงได้แล้ว นายแดงมีโทษ ข้อวินิจฉัยนั้นคือว่า เหมือนมาก เหมือนน้อย ถ้าเหมือนมากมีโทษ ถ้าไม่เหมือนไม่มีโทษ (มาตรา 249 “ทำบัตรหรือโลหธาตุอย่างใด ๆ ให้มีลักษณะและขนาด คล้ายคลึงกับเงินตรา”)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 332/2503 ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่า กรณีตามมาตรา 249 เป็นเรื่องที่กระทำบัตรหรือโลหะธาตุอย่างใด ให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตราขึ้นเท่านั้น โดยผู้กระทำ “ไม่เจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตรา” เพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง แต่ในคดีนี้ ผู้กระทำคือจำเลย เจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตราเพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง พยานโจทก์เบิกความตอนหนึ่งว่า แม่พิมพ์ของกลางมีลักษณะลวดลาย ไม่เหมือนของทางราชการ เป็นแต่เพียงคล้าย ๆ กันเท่านั้น ก็ไม่หมายความว่าแม่พิมพ์ของกลางใช้ปลอมเงินตราไม่ได้ โดยปรากฏตามคำเบิกความของเจ้าหน้าที่ผู้นี้ต่อไปว่า เพียงแต่เอาตะไบตบแต่งส่วนที่ไม่เรียบร้อยของเหรียญ ที่เทออกมาจากแม่พิมพ์เสียบ้างเท่านั้น ก็อาจนำออกจำหน่ายใช้ได้ทีเดียว ดังนี้ กรณีจึงปรับด้วยมาตรา 249 ไม่ได้ ต้องปรับด้วยมาตรา 240 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยมานั้นชอบแล้ว
- องค์ประกอบความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทำ “พฤติการณ์ประกอบการกระทำ” ในข้อหาความผิดตามมาตรา 268
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1407/2510 นำพินัยกรรมปลอมไปแสดงต่อพนักงานที่ดินอำเภอ เพื่อขอรับมรดกและอำเภอได้ประกาศการขอรับมรดกแล้ว แม้ต่อมาจะได้ขอถอนคำขอรับมรดกนั้นเสีย การทำพินัยกรรมปลอมไปแสดงเช่นนั้น ก็เป็นการกระทำอันเป็นเหตุที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จึงเป็นความผิดตาม มาตรา 268
- การบรรยายฟ้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1291/2518 จำเลยขนข้าวสารลงเรือยังไม่หมด การพยายามกระทำผิด ต้องผ่านการตระเตรียมมาก่อน ฟ้องว่าพยายามขนย้ายข้าว จึงรวมถึงตระเตรียมด้วย อันเป็นความผิดในตัวเอง ศาลลงโทษตาม พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าวได้ตาม ป.ว.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 80
- (ขส เน 2511/ 7) นางริษยาตั้งใจเอาน้ำกรดสาดหน้าให้นางจริตตาบอดเสียโฉม นางจริตหลบทัน น้ำกรดถูกหลังเป็นแผลไหม้เล็กน้อย รักษา 5 วันหาย นางริษยาผิดฐานใด / นางริษยา ผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตาม ม 295 ไม่ผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายสาหัส ตาม ม 297 + 80 เพราะ ม 279 มุ่งถึงผลที่เกิดแล้ว หลักเรื่องพยายามตามลักษณะทั่วไป จึงไม่ต้องนำมาใช้กับกรณีนี้ ( “ความรับผิดจากการพยายามกระทำผิด” ไม่นำมาใช้กับ “ผลของการกระทำที่ต้องทำให้รับโทษหนักขึ้น”)
- (ขส เน 2512/ 4) นายสา ให้นาสี เขียนข้อความหมิ่นประมาท แล้วให้นายสีเอาไปปิดไว้ที่ตลาด เมื่อปิดประกาศ แต่หลุดหายไปก่อนมีคนเห็น / นายสาบอกให้นายสีเขียนข้อความหมิ่นประมาท ไม่ผิด ม 326 เพราะนายสีเป็นผู้ร่วมทำผิด ไม่ใช่การใส่ความต่อบุคคลที่สาม / นายสีนำประกาศไปปิดไว้ แต่หลุดหายไปก่อน ผิดฐานพยายามหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ม 328+80
- (ขส เน 2520/ 1) สามคน ขึงลวดดักรถ คนขับรถจักรยานยนต์ขับมาเห็น และหยุดทัน คนขึงผิด ปล้นทรัพย์ พ้นขึ้นตระเตรียม ม 340+80 (+ 289 (4) (6) + 59 ว 2 เจตนาย่อมเล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผลแล้วแต่กรณี)
- (ขส พ 2517/ 6) ชายหญิงลักลอบได้เสียกัน ชายแนะให้หญิงทำแท้ง ชายหายามาฉีดให้หญิง ทารกคลอดออกมาก่อนกำหนด อยู่ได้ 5 นาที ก็ตาย / ชายไม่ผิดฐานเป็นผู้ใช้ เพราะได้ลงมือกระทำความผิดตามที่ได้ใช้ ความผิดเปลี่ยนสภาพมาเป็นตัวการในการทำแท้ง ชายผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอม ตาม ม 302 วรรคแรก หญิงผิด ม 301 แต่เป็นขั้นพยายามทั้งสองคน เพราะการแท้ง ต้องเป็นการทำให้ทารกคลอดในลักษณะปราศจากชีวิต ฎ ป 677/2510 ชายหญิงพยายามทำผิด ไม่ต้องรับโทษตาม ม 304
- (ขส พ 2528/ 8) จำเลยที่ 1 ชักปืนเจตนายิงตำรวจ แต่ขณะกระชากลูกเลื่อน ถูกขัดขวาง ยังไม่ถึงขั้นลงมือ ไม่ผิด ม 80, 288 แต่ผิด ม 140 ว ท้าย ฎ 1120/2517 / จำเลยที่ 2 นำกระสุนด้านมาใช้ยิง กระสุนด้านอีก เป็นเหตุบังเอิญ หาใช่แน่แท้ว่าจะไม่ทำให้เกิดอันตราย ผิด ม 140 ว ท้าย และผิด ม 80 ,287 ฎ 783/2513 เหตุเกิดกระทันหัน ไม่มีพฤติการณ์เป็นตัวการ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามจำเลยที่ 2
- (ขส อ 2520/ 10) หลอกเจ้าของร้านขายที่นอน ว่าตนเป็นเจ้าของโรงแรม เจ้าของร้านจึงพาไปเลี้ยงอาหารและซื้อของให้ เพื่อเอาใจ แต่บ่ายเบี่ยง ไม่ยอมลงชื่อในสัญญาซื้อขายที่นอน ผิด ม 341+80 เพราะลงมือแล้ว (ไม่ชัดว่าหมายถึง ที่นอน หรือค่าอาหาร)
- (ขส อ 2529/ 3) ขับรถชนรถตำรวจ ให้ตกน้ำตาย แต่น้ำตื้น ผิด ม 289 (2) + 80 + 358 ผลักตำรวจที่ควบคุมตัวมาในรถเดียวกัน ให้ตกรถ ผิด ม 296 + 190 ว 2 (ไม่มีประเด็น ม 138 ว 2+140 ไม่ถือว่าขัดขวางการจับกุม แต่น่าจะขัดขวางการควบคุมตัว)
- (ขส อ 2531/ 3) เผาที่นอนประสงค์ต่อผล (ต้องผิด ม 217 แต่ไม่มีประเด็นนี้) ไฟไหม้เตียงนอน อาคาร เล็งเห็นผล ม 218 (1) (+ ม 358) (ที่นอนลุกไหม้แล้วดับไฟทัน ไม่บอกว่าอาคารติดไฟ ต้องผิดพยายาม ไม่ใช่ผิดสำเร็จ + ม 80)
- (ขส อ 2533/ 1) วางระเบิดไว้ที่คอสะพานทางเข้าวัด เพื่อฆ่า ถือว่าลงมือแล้ว ตำรวจมาพบ ผิด ม 289 (4) + 80 (+ม 221 + 80 + ม 358 + 80 ปรับ ม 90)
- (ขส อ 2542/ 5) 5 คน วางแผนลักขนุน 2 คนเจอตำรวจ เลิก / 3 คนลัก หนีไปคนหนึ่ง อีกสองคนกำลังมัดปากถุง ผิด ม 210+335(1) (7) + 80 ยังไม่ผิดสำเร็จ ตราบที่ยังไม่ได้เก็บ และยึดถือขนุนที่หลุด ไว้ในครอบครอง / 2 คนแรกผิด ม 213 + 83
มาตรา 81 ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ หรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ ให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิด แต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
- ประเด็นเปรียบเทียบ มาตรา 81 กับกรณีขาดองค์ประกอบความผิด (องค์ประกอบภายนอก)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 668, 669/2521 (ม. ถูกยิงแล้วตายทันที จำเลยฟัน ม. เมื่อ ม. ตายแล้ว จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295) เมื่อจำเลยที่ 2 ให้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตาย ผู้ตายถูกกระสุนปืนล้มลงนอนหงาย จากนั้นจำเลยที่ 1 ใช้ปืนพกสั้นยิงผู้ตายอีกหลายนัด ต่อมาจำเลยที่ 3 จึงเข้าใช้มีดฟันผู้ตาย นายแพทย์ผู้ชันสูตรบาดแผลและพยานโจทก์เบิกความว่า ผู้ตายถูกกระสุนแล้วถึงแก่ความตายทันที จำเลยที่ 3 ทำร้ายผู้ตายเมื่อถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิด
- ประเด็นเปรียบเทียบ มาตรา 80 และมาตรา 81
- คำพิพากษาฎีกาที่ 980/2502 กรณีจะปรับด้วย มาตรา 81 นั้นเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิด ไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ ถ้าเป็นกรณีอาจจะบรรลุผล ก็ต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่ มาตรา 81
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1760/2538 จำเลยใช้นำมันเบนซินราดที่พื้นซีเมนต์หน้าประตู และที่ประตูเข้าบ้านชั้นล่างของผู้เสียหาย แล้วใช้ไม้ขีดจุดจนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้พื้นซีเมนต์และประตูหน้าบ้าน ลุกลามไปเผาผนังซีเมนต์กระจกหน้าต่างและเสื้อผ้าของผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้หาเป็นการแน่แท้ว่าจะไม่สามารถทำให้เพลิงไหม้บ้านของผู้เสียหายได้ หากชาวบ้านไม่ช่วยดับเพลิงไว้ทันท่วงที บ้านของผู้เสียหายก็ต้องถูกเพลิงไหม้วอดหมด การกระทำของจำเลยไม่บรรลุผล มิใช่เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ หรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งกระทำต่อ กรณีจึงต้องปรับด้วย ป.อ. มาตรา 80 ไม่ใช่ มาตรา 81
- ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3894/2525 แม้ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม ในพินัยกรรมมีลักษณะลายเส้นนูนเลอะเลือน จนผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์ลงความเห็นไม่ได้ มีพยานลงชื่อรับรองสองคน ก็มีสภาพเป็นพินัยกรรม แต่เป็นพินัยกรรมที่จำเลยกับ บ. ร่วมกันทำปลอมขึ้น เมื่อนำส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลสำเร็จลงแล้ว ต้องมีความผิดฐานใช้พินัยกรรมปลอมอีกกระทงหนึ่ง มิใช่การพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้ตาม ป.อ. มาตรา 81 แม้จำเลยจะได้กระทำในฐานะทนายความของ บ. จำเลยในคดีแพ่ง จำเลยก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันใช้พินัยกรรมปลอมตาม ป.อ. มาตรา 83
- ความผิดเกี่ยวกับเพศ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4166/2547 พฤติการณ์ของจำเลยนับแต่จูงผู้เสียหายไปที่ที่นอน ถอดกางเกงผู้เสียหายออกและใช้อวัยวะเพศของจำเลยยัดใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเจ็บแต่ร้องไม่ออกเพราะจำเลยใช้มือบีบคอไว้ ซึ่งจำเลยทำอยู่นาน ผู้เสียหายเจ็บจนกระทั่งมีน้ำสีขาวออกมาจากอวัยวะเพศของจำเลย อากัปกิริยาเช่นนี้ของจำเลยเห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยเจตนาชำเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่ที่การกระทำไม่บรรลุผลเป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กเนื่องจากเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 8 ปี เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย หาใช่เจตนาเพียงกระทำอนาจารไม่ Ø การพยายามกระทำชำเราที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตาม ป.อ. มาตรา 81 ต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวกับปัจจัยหรือวัตถุซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น หญิงไม่มีช่องคลอด ผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งอย่างไร ๆ อวัยวะเพศชายก็ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของหญิงดังกล่าวได้ แต่สำหรับในกรณีของจำเลยที่ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย มิได้เกิดจากความผิดปกติที่ช่องคลอดของผู้เสียหาย แต่เป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กตามธรรมชาติ ในวัยเด็กเล็กที่มีอายุเพียง 8 ปี การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายในมาตรา 81
- ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เกี่ยวกับอาวุธปืน และเครื่องกระสุน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1766/2509 จำเลยชักปืนซึ่งมีกระสุนบรรจุอยู่ออกมา แล้วกระชากลูกเลื่อนขึ้นลำกล้อง เล็งไปยังผู้เสียหาย นิ้วมือแตะอยู่ที่ไกปืนพร้อมที่จะยิงโจทก์ร่วมจำเลยยังไม่ยิงทันที เพราะเกรงกระสุนจะถูกมารดาโจทก์ร่วม ประกอบกับพวกของจำเลยเข้าแย่งปืนจากจำเลยไป จำเลยจึงยิงโจทก์ร่วมไม่สำเร็จ การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาจะฆ่าโจทก์ร่วม โดยได้ลงมือกระทำความผิดนั้นแล้ว แต่กระทำไปโดยไม่ตลอด จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น (ไม่ปรับ มาตรา 81 เพราะเกิดจากปัจจัยภายนอก)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1725/2512 การที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองยาว ยิงผู้เสียหายในระยะห่างกัน 10 วา ถูกบริเวณเอวด้านหลังเป็นบาดแผลสาหัส ขณะผู้เสียหายลงจากเรือนวิ่งหนี เนื่องจากจำเลยสงสัยว่าผู้เสียหายเป็นชู้กับภรรยานั้น หากเป็นเพราะผู้เสียหายวิ่งหนีพ้นระยะวิถีกระสุนที่สามารถจะทำอันตรายให้ถึงตายได้ ผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตาย มิใช่เพราะกระสุนปืนมีแรงระเบิดน้อย ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาฆ่า ฉะนั้นเมื่อจำเลยกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 711/2513 จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย แต่กระสุนปืนไม่ลั่น การที่กระสุนปืนไม่ระเบิดออกไปนั้น จะเป็นเพราะคุณภาพของกระสุนปืนนั้นไม่ดี หรือเพราะเหตุใดก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นการพยายาม ตาม มาตรา 80 แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 783/2513 กระสุนปืนเคยใช้ยิงมาก่อน 3 ครั้งแล้วกระสุนด้าน จำเลยนำมาใช้ยิงผู้เสียหายอีกโดยเข้าใจว่ายังใช้ได้อยู่ แต่กระสุนก็ด้านอีก ถือว่าการที่กระสุนไม่ระเบิดออกนี้เป็นแต่เพียงการที่เป็นไปไม่ได้โดยบังเอิญ หาเป็นแน่แท้ว่า จะไม่สามารถทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยไม่ ต้องปรับด้วย มาตรา 80
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1446/2513 จำเลยใช้ปืนยิงผ่านไปตรงที่ที่ผู้เสียหายเคยนอนในห้องเรือนแต่กระสุนปืนไม่ถูก เพราะผู้เสียหายรู้ตัวเสียก่อน จึงย้ายไปนอนเสียที่ระเบียง การที่ผู้เสียหายก็ยังคงอยู่บนเรือนนั่นเอง ดังนี้ การกระทำของจำเลย หาใช่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามมาตรา 81 ไม่ แต่ต้องปรับด้วย มาตรา 80
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1361/2514 จำเลยใช้อาวุธปืนพกสั้นยิงผู้เสียหาย 1 นัด ในระยะ 3 วาถูกที่บริเวณตะโพกขวา เป็นแผลตื้น แค่ผิวหนัง 2 แผล ปืนที่ใช้ยิงจะเป็นปืนที่ทำขึ้นเองหรือทำมาจากที่ใดไม่ปรากฏ ลักษณะของบาดแผลปรากฏว่ากระสุนเข้าตรง ๆ มิใช่เฉี่ยวหรือแฉลบ แต่กระสุนไม่ทะลุเข้าไปถึงเนื้อ มีแต่ช้ำบวมที่ผิวหนัง รักษาประมาณ 10 วันหาย แสดงว่าอาวุธที่ใช้ยิงไม่อาจทำให้ผู้ถูกยิงถึงตายได้ แม้จะถูกอวัยวะอื่นที่สำคัญของร่างกาย ดังนี้ ถือว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งประสงค์ต่อผล ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ จึงเป็นการพยายามกระทำความผิด ตาม มาตรา 81 มิใช่ มาตรา 80
- คำพิพากษาฎีกาที่ 280/2515 จำเลยใช้ปืนพกลูกโม่ชนิดทำเองยิงผู้เสียหาย แต่ปืนไม่ลั่น ปรากฏว่าปืนนี้ใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตได้ มีช่องบรรจุกระสุน 7 ช่อง แต่จำเลยบรรจุไว้เพียง 4 ช่อง ช่องที่ตรงกับเข็มแทงชนวนอาจเป็นช่องว่าง ถ้าจำเลยได้บรรจุกระสุนไว้ในช่องที่ตรงกับเข็มแทงชนวน กระสุนปืนจะต้องลั่น และผู้เสียหายก็น่าจะได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงไม่เป็นการแน่แท้ ว่าจะไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายได้ ต้องปรับด้วย ป.อาญา มาตรา 80 มิใช่มาตรา 81
- คำพิพากษาฎีกาที่ 281/2517 จำเลยยิงผู้เสียหายในระยะห่าง 2 วา มีบาดแผลบริเวณใบหน้าและหัวไหล่ขวา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร แผลที่ใบหน้ามี 12 แผล มีเลือดซึมเล็กน้อย และที่หัวไหล่มี 7 แผล บาดแผลแต่ละแห่งมีกระสุนเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตรฝังใต้ผิวหนัง แพทย์ลงความเห็นว่าอาจจะหายภายใน 10-14 วัน ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 10 วันเศษ แสดงว่าเป็นบาดแผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และไม่ได้ความว่า ถ้าผู้เสียหายไม่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันท่วงทีอาจถึงชีวิตได้ ย่อมแสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่อาจทำให้ผู้เสียหายถูกยิงถึงตายได้ แม้จะถูกอวัยวะสำคัญของร่างกายดังนี้ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1480/2520 จำเลยเถียงกับผู้เสียหายเรื่องผู้เสียหายสงสัยว่าจำเลยเป็นชู้กับภริยาผู้เสียหาย จำเลยยิงผู้เสียหายด้วยปืนลูกซองสั้น 1 นัด ในระยะ 1 วา เป็นแผลเล็กน้อยรักษาในโรงพยาบาล 2 วัน ก็กลับบ้านได้ แสดงว่าปืนไม่อาจทำให้ตายได้ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 81 ไม่เป็นบันดาลโทสะหรือป้องกัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3543/2526 บ้านของผู้เสียหายเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง 2 เมตรจำเลยยิงปืนไปที่ห้องนอน ป. บุตรผู้เสียหาย เพราะเชื่อว่าผู้เสียหายนอนอยู่ในห้องนอนนั้น กระสุนเป็นถูกที่ฝาบ้านสูงจากพื้นบ้าน 1 เมตร ดังนี้ แม้ขณะที่จำเลยยิง ผู้เสียหายและ ป. มิได้นอนอยู่ในห้องโดยลุกจากที่ที่ตนนอน มาแอบดูจำเลยที่หน้าต่างและฝาบ้าน การกระทำของจำเลย ก็เป็นการยิงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าซึ่งกระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย (ศาลไม่ปรับว่า เป็นกรณีไม่บรรลุผลได้อย่างแน่แท้)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1623/2527 จำเลยทราบว่าปืนมีกระสุนบรรจุอยู่ ที่กระสุนด้านไม่ระเบิด อาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพ หรือเป็นเหตุบังเอิญประการอื่น หาเป็นการแน่แท้ว่าจะไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายจากการยิงไม่ การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. ม.288 ,80
- คำพิพากษาฎีกาที่ 589/2529 จำเลยเอาปืนแก๊ปที่ไม่มีแก๊ปปืน ยิงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า กระสุนปืนไม่อาจลั่นออกไปได้อย่างแน่นอน ดังนี้ เป็นการกระทำที่ไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิด จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม.288,81
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1560/2529 จำเลยใช้ปืนยิง ร. ในระยะใกล้เพียง 1 วา กระสุนปืนถูก ร.ฝังลึกใต้ผิวหนังรักษา 10 วัน หาย และกระสุนปืนพลาดไปถูก ช. ผิวหนังฉีกขาดตื้น รักษา 5 วันหาย ไม่ได้ความจากแพทย์ว่า ถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิง ไม่อาจทำให้ผู้ถูกยิงถึงตายได้ ถือว่าจำเลยมุ่งประสงค์จะฆ่า แต่ปืนอันเป็นปัจจัยในการที่จำเลยใช้ยิงไม่บรรลุผลอย่างแน่แท้ จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม.288 ประกอบด้วย ม.81
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1837/2531 (สบฎ เน 45) จำเลยกับ ร.ขู่บังคับผู้เสียหายให้ยอมร่วมประเวณี โดยจำเลยใช้อาวุธปืนไม่มีทะเบียนของจำเลยจี้ผู้เสียหาย เมื่อสามีผู้เสียหายไปตามพลตำรวจ ส.มาจับกุม ส.เอาปืนดังกล่าวจากเอว ร.มาเก็บไว้โดยถอดกระสุนปืนออกให้หมด แล้วจึงเข้าแย่งเอาปืนคืนจาก ส. ยกขึ้นจ้องยิงที่หน้าอก ส.ดังแซะสามครั้ง ดังนี้พฤติการณ์ที่จำเลยกับ ร.ผลัดกันใช้อาวุธปืนของกลางเช่นนี้ ถือว่าร่วมกันมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองและพกพาโดยไม่ได้รับอนุญาต และการกระทำของจำเลย เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ โดยไม่สามารถบรรลุผลอย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยที่ใช้ในการกระทำผิดอีกกระทงหนึ่ง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1188/2536 กระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้เสียหาย ไม่มีเม็ดกระสุนปืนบรรจุ ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลย ไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 288, 81 วรรคแรก
- ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เกี่ยวกับวัตถุระเบิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4402/2530 จำเลยขว้างลูกระเบิดใส่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า แต่ลูกระเบิดไม่เกิดการระเบิด เพราะยังมิได้ถอดสลักนิรภัย เมื่อปรากฏว่าลูกระเบิดดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ใช้การระเบิดได้ และหากระเบิดขึ้น จะมีอำนาจทำลายสังหารชีวิตมนุษย์ ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 288, 80
- คำพิพากษาฎีกาที่ 231/2542 ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผล 2 แห่ง บาดแผลที่กลางหลังมีลักษณะถูกดินระเบิด แผลกลมถลอก พอมีเลือดซึม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ส่วนที่ขาข้างซ้ายบวมแดง สันนิษฐานว่าถูกของแข็งไม่มีคม บาดแผลดังกล่าวรักษา 7 วัน หาย ผู้เสียหายที่ 2 จึงได้รับอันตรายแก่กายเพียงเล็กน้อย ทั้ง ๆ ที่จุดระเบิดอยู่ห่างจากผู้เสียหายที่ 2 เพียงประมาณ 2 เมตร หรือห่างเพียงประมาณ 2 ศอก แสดงว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยกับพวกใช้นั้น ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ชีวิตได้ แม้จำเลยกับพวกจะเล็งเห็นผลของการกระทำว่าสะเก็ดระเบิดอาจทำให้ผู้อื่นถึงตายได้ แต่การกระทำของจำเลยกับพวก ไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 81 และ 83
- ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2844/2535 (สบฎ เน 17) รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายลักไป และได้ถูกเจ้าพนักงานอำเภอยึดไว้เป็นของกลาง ในคืนที่รถจักรยานยนต์หาย เนื่องจากคนร้ายขับรถจักรยานยนต์ไปชนคนได้รับบาดเจ็บแล้วทิ้งไป โดยเจ้าพนักงานตำรวจไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางพ้นสภาพจากทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด การที่จำเลยไปติดต่อ ช. ให้นำเงินไปไถ่ในวันรุ่งขึ้นนั้น เข้าลักษณะเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งยังเป็นทรัพย์ที่อยู่ในสภาพที่ถูกลักมา โดยรู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของร้าย จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร แต่เนื่องจากการช่วยจำหน่ายของจำเลยนั้น ไม่มีทางที่จะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานรับของโจรที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 81
- (ขส พ 2515/ 6) แดงข่มเหงดำ ดำบันดาลโทสะแทงแดง พลาดไปถูกเขียว เขียวโกรธวิ่งไปเอาปืนที่บ้านมายิงดำ แต่ลืมบรรจุกระสุนปืนไว้ / ดำผิด มาตรา 295,60 อ้างบันดาลโทสะได้ ตามมาตรา 72 ฎ 1682/2509 / เขียวผิด มาตรา 288,81 อ้างบันดาลโทสะได้ ตามมาตรา 72 ฎ 247/2478
- (ขส อ 2530/ 5) ก จับ ข ลักทรัพย์ ส่งตำรวจ นาย ค คิดว่า ก เป็นตำรวจ เข้าช่วยให้ ข หลบหนี / ก มีอำนาจจับตาม ปวิอ มาตรา 79 ไม่ผิด / ค ผิด ตามมาตรา 191+81 (อ เกียรติขจร ถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก แล้วไม่ผิดพยายาม)
- (ขส อ 2531/ 2) จิ๋วให้แจ๋วพาไปทำแท้ง โจทำแท้งไม่สำเร็จ เพราะจริงแล้ว จิ๋วไม่ท้อง แต่ทำให้มีบุตรไม่ได้ตลอดชีวิต / จิ๋ว ผิด ม 301+81 ไม่ต้องรับโทษ ตามมาตรา 304 (ขาดองค์ประกอบภายนอก) / โจ ผิด ตามมาตรา 302 ว 2 + 81 ต้องรับโทษ ไม่เข้า ตามมาตรา 304 (ไม่มีเรื่อง ม 295) / แจ๋ว สนับสนุน ผิด ตามมาตรา 301+ 86 + 81 ไม่ต้องรับโทษ ตามมาตรา 304 เพราะตัวการไม่ต้องรับโทษ (เป็นเหตุลักษณะคดี)
มาตรา 82 ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น แต่ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นๆ
- การยับยั้ง หรือกลับใจ ของผู้พยายามกระทำความผิด
- ต้องยับยั้งด้วยความสมัครใจ ต้องถึงขั้นลงมือแล้ว เช่น ยังไม่เล็ง กลับโยนปืนทิ้ง เท่ากับยังไม่ลงมือ ไม่เป็น ม 82 และต้องไม่ถึงขั้นความผิดสำเร็จ เช่น บุกรุกเพื่อลักทรัพย์ ฐานบุกรุกสำเร็จแล้ว ไม่เป็น ม 82 แต่ฐานลักทรัพย์ได้ ม 82 เน 47/11/23
- ควรตอบให้ชัดว่า “ยับยั้ง” หรือ “กลับใจ”
- แม้ไม่กลับใจ ผลก็ไม่สำเร็จ เพราะมีคนอื่นช่วยผู้เสียหายแน่นอน ไม่ได้รับการลดโทษ (เน 47/11/26)
- กรณี มาตรา 105 (พยายามทำผิดลหุโทษ ไม่ต้องรับโทษ) มาตรา 304 (พยามยามทำแท้งฯ ไม่ต้องรับโทษ) ไม่ต้องอ้าง มาตรา 82 และ มาตรา 82 ไม่ใช้กับ มาตรา 60 มาตรา 61 ส่วน มาตรา 132 ผิดแล้ว อ้าง มาตรา 82 ไม่ได้ (เน 47/11/28)
- การกระทำต้องถึงขั้นลงมือ ตามตัวบทมาตรา 80 และ 81
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1120/2517 ชักปืนแล้ว กำลังกระชากลูกเลื่อน ตำรวจเข้าขัดขวาง ยังไม่พร้อมจะยิง ไม่ผิด ม 288 + 80 (ยังไม่ถึงขั้นลงมือ) ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จำเลยได้ชักอาวุธปืนสั้นออกจากเอว แล้วกระชากลูกเลื่อน เพื่อให้กระสุนเข้าลำกล้อง แต่เจ้าพนักงานตำรวจวิ่งเข้ามาขัดขวางป้องกัน มิให้จำเลยกระชากลูกเลื่อนได้ และแย่งปืนจากจำเลยไป ดังนี้ จำเลยยังไม่อยู่ในสภาพพร้อมจะยิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า
- การยับยั้งและกลับใจโดยผู้กระทำความผิดเอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 508/2529 จำเลยท้าทาย ธ.ให้มาสู้กัน และวิ่งไล่แทงจนถึงหน้าบ้าน ธ.จึงหยุดไล่ต่อมาจำเลยถือปืนยาวเมื่อใกล้ถึงตัว ธ. ก็จ้องปืนมายัง ธ.โดยนิ้วมือสอดเข้าไปในโกร่งไกปืน ธ.วิ่งหนี จำเลยไม่ได้วิ่งตาม โดยกลับใจเอาปืนมาจ้อง ว.แทน ทั้งที่มีโอกาสจะยิง ธ.ได้จึงเป็นการยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด เมื่อจำเลยจ้องปืนไปทาง ว. ว. พูดว่าไม่เกี่ยว และหลบเข้าไปทางหลังบ้าน จำเลยก็เดินไปอีกทางหนึ่ง โดยไม่ตามเข้าไปยิง ว. ทั้งที่มีโอกาสจะยิงได้ จึงเป็นการยับยั้งเสียเอง ไม่กระทำการให้ตลอด จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานพยายามฆ่า ธ.และ ว.
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1218/2530 จำเลยชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุ 4 ปีเศษไปดูการ์ตูนที่บ้านจำเลยและพาไปนอนบนกระดาน ถอดกางเกงผู้เสียหายและจำเลยออก แล้วจำเลยใช้อวัยวะเพศดันไปตรงอวัยวะเพศของผู้เสียหายเพียงครั้งเดียว บริเวณอวัยวะเพศของผู้เสียหายไม่มีบาดแผล จำเลยไม่ได้กระทำซ้ำต่อไป เพื่อให้สำเร็จความใคร่ทั้ง ๆ ที่จำเลยมีโอกาสที่จะกระทำได้ นับได้ว่าเป็นการยับยั้งเสียเอง ไม่กระทำการให้ตลอด จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา เด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี ตาม มาตรา 277 ประกอบด้วยมาตรา 80, 82 แม้ผู้เสียหาย ไม่มีช่องคลอด ผิดปกติแต่กำเนิด อันเป็นเหตุประกอบให้เห็นว่า โดยสภาพวัตถุที่มุ่งหมายกระทำ ต่อให้การกระทำของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ก็ตาม ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหยุดกระทำต่อผู้เสียหาย เพราะได้เห็นหรือทราบข้อเท็จจริงอันนี้ เมื่อจำเลยยับยั้งเสียเองได้ จำเลยก็ไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำผิดนั้น คงมีความผิดเท่าที่ต้องตามกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด คือกระทำอนาจารตาม มาตรา 279
- กรณีไม่ใช่การยับยั้ง หรือกลับใจแก้ไขเสียเอง แต่เกิดจากเหตุปัจจัยภายนอก ไม่ได้รับยกเว้นโทษตาม ม 82
- คำพิพากษาฎีกาที่ 147/2504 เล็งแล้วไม่ยิง เพราะกลัวถูกพวกเดียวกัน ผิด ม 289 (2) + 80 (ไม่ได้ ม 82 เพราะการไม่ยิงเกิดจากปัจจัยภายนอก ไม่ใช่การยับยั้งเสียเอง) การที่จำเลยยกปืนที่พร้อมจะยิงได้ จ้องไปทางเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งกำลังกอดปล้ำจับกุมพวกของจำเลยโดยเจตนาที่จะยิง แม้ยังมิทันขึ้นนกปืนก็ตาม ก็เป็นพยายามกระทำผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่แล้ว เพราะการลงมือยิงได้เริ่มต้นขึ้นแล้วตั้งยกปืนที่พร้อมจะยิงได้เล็งไปยังเป้าหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1766/2509 เล็งปืนแล้วไม่ยิง เพราะกลัวถูกแม่ตนเองที่ยืนด้วยกัน ผิดพยายามฆ่า (ไม่ถือว่ายับยั้ง เพราะเป็นเหตุภายนอก ไม่ใช่ “ยับยั้งเสียเอง”) จำเลยชักปืนซึ่งมีกระสุนบรรจุอยู่ออกมา แล้วกระชากลูกเลื่อนขึ้นลำกล้อง เล็งไปยังผู้เสียหาย นิ้วมือแตะอยู่ที่ไกปืนพร้อมที่จะยิงโจทก์ร่วมจำเลยยังไม่ยิงทันที เพราะเกรงกระสุนจะถูกมารดาโจทก์ร่วม ประกอบกับพวกของจำเลยเข้าแย่งปืนจากจำเลยไป จำเลยจึงยิงโจทก์ร่วมไม่สำเร็จ การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาจะฆ่าโจทก์ร่วม โดยได้ลงมือกระทำความผิดนั้นแล้ว แต่กระทำไปโดยไม่ตลอด จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1451/2531 จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาดักยิง ศ. เมื่อ ส. ขับรถปิคอัพมาถึงที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็น ศ. เพราะไม่รู้จักมาก่อนจึงจ้องปืนเล็งไปยัง ส.โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรอง แต่ ส.โบกมือให้ทราบว่าตนมิใช่ ศ.จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ยิง ดังนี้ เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม มาตรา 289(4), 80
- คำพิพากษาฎีกาที่ 566/2532 การที่จำเลยมาพูดขอซื้อบุหรี่จากผู้เสียหาย ขณะที่ผู้เสียหายเอื้อมมือจะหยิบบุหรี่ในตู้ จำเลยได้เข้าประชิดตัวและชักปืนลูกซองสั้นที่มีกระสุนปืนบรรจุอยู่ออกมาจ่อที่หน้าอกผู้เสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้ปัดป้องเสียทัน และแย่งปืนจากจำเลยได้ จำเลยจึงมิได้ลั่นไกปืน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยยับยั้งเสียเอง ไม่กระทำการให้ตลอด แต่เป็นเรื่องกระทำไปไม่ตลอด ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 80 จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80
- ประเด็นปัญหาการยับยั้ง หรือกลับใจแก้ไข
- (อ จิตติ น 348) ฎ 62/2454 ล กับพวกเข้าปล้นบ้าน ก ยังไม่ทันขึ้นเรือน พวกของ ล ยิงปืนไปถูกเจ้าทรัพย์ ล ร้องว่ายิงถูกคนเสียแล้ว กลับเกิด แล้วพากันกลับ ศาลตัดสินว่าเป็นการยับยั้งเสียเอง ไม่มีโทษในฐานพยายามปล้นทรัพย์ คงลงโทษในฐานทำร้ายร่างกาย / และ (อ จิตติ น 348) ถ้ายิงเขาแล้วกลับใจแก้ไขไม่ให้ตาย ก็อาจมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 295
- (อ จิตติ น 347) ฎ 1243/2456 ล ยิง ก ด้วยปืนเบรานิง 1 นัด แต่ไม่ถูก ก กระสุนปืนยังมีอยู่ในปืนอีก แต่ ล ไม่ยิง ศาลตัดสินว่า ล ผิดฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนา / อ จิตติ กรณีเช่นนี้ไม่ใช่ยับยั้งเสียเอง แต่การกระทำไม่บรรลุผล เพราะความไม่แม่นยำ ยิงยิงไม่ถูก เป็นความไม่สามารถของผู้กระทำ ไม่ใช่ยับยั้งด้วยใจสมัคร ที่ไม่ยิงอีกนั้น เป็นการภายหลังที่ได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล ไม่ใช่ยับยั้งเสีย ก่อนกระทำไปให้ตลอด ทั้งมิใช่การแก้ไข เพื่อมิให้การกระทำบรรลุผลแต่ประการใด
- ข้อสังเกต ตามแนว อ จิตติ หากยิงไปแล้ว ไม่ถูก และยับยั้งไม่ยิงต่อ ไม่เข้ายับยั้ง และไม่ถือเป็นกลับใจ / แต่หากยิงถูก แล้วพาไปรักษา เป็นกลับใจได้ / เห็นว่า กรณีแรก เป็นการยับยั้งได้ คำว่ากระทำไปตลอดแล้ว น่าจะหมายถึง กระทำการทั้งหมด จนเกิดผลแล้ว เมื่อกระทำการไปแล้ว แต่ยังไม่เกิดผล และไม่กระทำต่อให้เกิดผล ก็น่าจะเป็นยับยั้งได้เช่นกัน
- การลงมือไปส่วนหนึ่งแล้ว ยับยั้งหรือกลับใจ ตามแนวคิดของ อ เกียรติขจร ไม่ได้รับยกเว้นโทษตาม ม 82
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1243/2456 (อพ 125) ยิงนัดแรกไม่ถูก ไม่ยิงนัดที่สอง “ทั้งที่ยิงได้” ไม่เป็นยับยั้งและกลับใจ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3688/2541 จำเลยใช้มีดยาวทั้งด้ามรวม 8 นิ้วแทงผู้เสียหายหลายครั้ง โดยเฉพาะบาดแผลที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ เป็นเหตุให้กระเพาะอาหารและตับฉีกขาด จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำว่าจะเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ถือได้จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ทั้งจำเลยได้กระทำผิดไปโดยตลอดแล้ว การที่จำเลยไม่แทงผู้เสียหายซ้ำอีก และช่วยพาผู้เสียหายลงจากตึกที่เกิดเหตุไปรักษาพยาบาล ไม่ใช่เป็นการยับยั้งไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำบรรลุผลตาม ป.อ. มาตรา 82 จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายก่อน และเป็นการสมัครใจต่อสู้ทำร้ายซึ่งกันและกัน จำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือกระทำโดยบันดาลโทสะไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5089/2542 จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำความผิดไปตลอด ครบองค์ประกอบของความผิดฐานพยายามฆ่าแล้ว แม้ผู้เสียหายไม่ตายสมดังเจตนา ก็เป็นกรณีที่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล การที่จำเลยทิ้งมีดโต้ แล้วไปสวมกอดผู้เสียหาย เพราะความรักผู้เสียหายและรักลูก โดยเกิดจากความรู้สึกนึกคิดของจำเลยเอง จึงหาใช่เป็นการยับยั้งเสียเอง ไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้เสียหายต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 82 แต่อย่างใด
- ประเด็นเปรียบเทียบเรื่องเจตนาฆ่า กับทำร้าย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1048/2512 ผู้เสียหายใช้ของแข็งตีศีรษะจำเลย 1 ที จำเลยไปหยิบมีดโต้วิ่งเข้าหาผู้เสียหาย ผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลยไล่ตาม ผู้เสียหายล้ม จำเลยตามทัน ก็ใช้มีดโต้ฟันผู้เสียหาย มีบาดแผล 2 แห่ง คือ ที่ข้อศอกซ้ายและที่ไหล่ขวาแห่งละแผล แล้วจำเลยก็กลับไปเอง แม้อาวุธมีดที่จำเลยใช้ฟันผู้เสียหาย จะเป็นมีดที่ใหญ่ยาวถึงศอกเศษ อันอาจทำให้ผู้เสียหายถึงตายได้ก็ดี แต่จำเลยก็ใช้ฟันผู้เสียหายเพียง 2 แผลในที่ไม่สำคัญเท่านั้น แล้วจำเลยกลับไปเอง ทั้งที่มีโอกาสที่จะฟันซ้ำในที่สำคัญ ๆ ให้ถึงตายได้ บาดแผลก็รักษาหายในเวลาหนึ่งเดือน จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟันทำร้ายผู้เสียหาย โดยมีเจตนาฆ่า คงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น (ศาลวินิจฉัยว่ามีเจตนาเพียงทำร้าย หากวินิจฉัยว่ามีเจตนาฆ่า และยับยั้ง ก็จะผิด ม 288 + 80 + 82 คงรับผิดตาม ม 295 เช่นเดียวกัน)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3030/2526 จำเลยใช้ขวานฟังศีรษะผู้ตายที่บริเวณเหนือหูอย่างแรง จนกะโหลกศีรษะแตกสมองบวม โลหิตไหล แพทย์ไม่สามารถห้ามโลหิตได้ ดังนี้จำเลยฟันโดยเจตนาฆ่า ที่จำเลยไม่ฟังซ้ำ เมื่อผู้ตายล้มลง และอุ้มผู้ตายไปรอขึ้นรถไปโรงพยาบาลนั้น เป็นเหตุการณ์หลังจากจำเลยฟันผู้ตายแล้ว เป็นการกระทำไปโดยสำนึกในความผิดที่ทำไปแล้ว หาทำให้การกระทำของจำเลยที่กระทำก่อนนั้น ซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า กลับเป็นการกระทำที่ขาดเจตนาฆ่าไม่ / จำเลยเชื่อว่าต้นสะแบงที่ผู้ตายตัดมาไว้ที่นาของผู้ตาย เป็นของจำเลย จึงเข้าไปพูดกับผู้ตาย ผู้ตายไม่ยอมรับว่าตัดมาจากที่ดินของจำเลย และผู้ตายพูดว่า มึงจะไปที่ไหนก็ไป กูไม่กลัวมึงหรอก จำเลยจึงใช้ขวานฟันผู้ตาย ถือไม่ได้ว่าขณะจำเลยใช้ขวานฟัน จำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม ป.อ. ม.72 (ไม่มีการวินิจฉัยในประเด็น กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำบรรลุผล หากเป็นแนวคิดของ อ เกียรติขจร การลงมือแล้ว ไม่กระทำต่อไป ไม่ได้รับยกเว้นโทษตาม ม 82)
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 82
- (ขส เน 2513/ 2) คนรับใช้แกล้งนายจ้าง โดยเปิดหน้าต่างครัวไว้ เผื่อมีคนมาลักทรัพย์จะได้เข้าบ้านสะดวก / คืนหนึ่งคนร้ายแง้มหน้าต่าง แต่เกิดระแวง ว่าเป็นแผนของเจ้าของบ้าน จึงไม่เข้าไปลักทรัพย์ และกลับบ้านไป / คนร้ายผิด ม 364 + 365 (3) “เกิดระแวง” ไม่ใช่ยับยั้งเอง ตาม ม 82 ผิด ม 335 + 80 ลงโทษบทหนัก ม 365 / คนรับใช้ผิด ม 335 (+ 80) + 86 เพราะมีเจตนาช่วยเหลือคนร้าย แม้คนร้ายจะไม่รู้ถึงการให้ความสะดวก
- (ขส เน อาญา /2537/2) ยกปืนเล็งแล้ว แต่ผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่คนที่ต้องการยิง จึงลดปืนลง ไม่มีประเด็น ตาม มาตรา 82 (ไม่เป็นยับยั้ง เพราะถือเป็นเหตุภายนอก ไม่ใช่ยับยั้งเสียเอง)
- (ขส พ 2519/ 7) แจ่มเช่าบ้านนายลบ อยู่ในบริเวณรั้วเดียวกับลบ แจ่มปลูกต้นไม้ ปล่อยตัวครั่งไว้ ลบมีเจตนาตัดกิ่งต้นไม้ไปทำฟืนและเอาตัวครั่งไปขาย แต่กิ่งหักตกพื้น ยังไม่ทันหยิบ เห็นตัวครั่ง จึงจับไปปล่อยกิ่งอื่น คงเอาแต่กิ่งหักไปทำฟืน / ต้นจามจุรีเป็นส่วนควบ ของที่ดินนายลบ นายลบจึงมีกรรมสิทธิ์ในต้นจามจุรี ปพพ ม 145 ฎ 372/2498 ฎ 1355/2508 ลบไม่ผิดลักทรัพย์ ม 334 แต่เป็นการพยายามลักทรัพย์ตัวครั่ง ตาม ม 80,334 เมื่อยับยั้งเสียเอง ไม่ต้องรับโทษตาม ม 82
- (ขส พ 2524/ 8) นายมา เมฆ หมอก นัดหมายให้นายกลอนวางยาสลบนายสิน ถือว่านายกลอนเป็นตัวการ ตาม มาตรา 83 แต่นายกลอนให้นายสินกินน้ำตาลก้อน คิดว่าเป็นยาสลบ ไม่ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย ตอนยิงปืนเข้าปล้น ก็ไม่มีใครอยู่ จึงผิดฐานพยายามลักทรัพย์ ตาม ม 335 (1) (3) , 336 ทวิ ประกอบ ม 80 แต่กลอนสงสารจึงปลุกและพานายสินหนี เป็นการกลับใจ ไม่ต้องรับโทษตาม ม 82
- (ขส อ 2530/ 6) ภรรยาด่าเหยียดหยาม เพราะสามีกลับบ้านดึก สามีใช้ไม้ตีศรีษะ จะให้ตาย ตีสองทีแล้ว กลัวผิดจึงเรียกรถพยาบาล แพทย์ช่วยได้ แต่พิการ สามีผิด ตาม มาตรา 288+82 การตีต่อหน้าบุตร 1 ปี แล้วหยุด ไม่ใช่หยุดเพราะปัจจัยภายนอก ลง ม 297 ไม่อาจอ้าง มาตรา 68 + 72 / ถ้าหยุดตีเพราะมีคนกดกริ่ง ไม่ใช่ยับยั้ง ผิด ม 288+80
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น