มาตรา 32 ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด
และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
-
โทษ “ริบ”
มุ่งตัวทรัพย์เป็นสำคัญ แม้จำเลยไม่ต้องรับโทษ เช่นอายุไม่เกิน 14
ปี ศาลก็ริบได้ (อก /536) แต่ อ โกเมน แย้งว่าโทษหลัก (จำคุก) ยังลงไม่ได้ โทษรอง (คือการ “ริบทรัพย์”)
ก็ไม่น่าจะลงโทษได้ (เน 47/12/9)
-
ลักษณะของโทษริบทรัพย์
-
หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 121/2541
โดย กรกันยา กันยะพงศ์ /
การริบทรัพย์สินเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเฉพาะแต่ทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเท่านั้นที่จะพึงรับได้ มิใช่จะริบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดทั้งหมด การริบทรัพย์สิน มีลักษณะเป็นทั้งการลงโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย (จิตติ ติงศภัทิย์, กฎหมายอาญาภาค 1, สำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2529, หน้า 1033)
กล่าวคือ การริบทรัพย์สิน ซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด เป็นลักษณะของวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนการริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้ กระทำความผิดนั้นเป็นลักษณะของการลงโทษ เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดได้รับประโยชน์จากการกระทำผิดของตน
-
คำพิพากษาฎีกาที่
751/2507 โพยสลากกินรวบของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง ปล่อยตัวจำเลยพ้นข้อหาไป ก็ตาม
ก็ยังอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งริบเสียได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 246/2516
การริบทรัพย์สิน แม้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 บัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง
แต่ก็เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ ต่างกับโทษสถานอื่น
แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำผิดจะไม่ต้องรับโทษ เพราะมีอายุไม่เกิน 14 ปี ก็ตาม
ศาลก็ชอบที่จะสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 714/2542 การริบทรัพย์สินนี้แม้
ป.อ. มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง
แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่น
ศาลฎีกาจึงมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1768/2543 การริบทรัพย์สิน เป็นโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 (5)
จึงต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว และพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อศาลเสียก่อน
เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยถึงการกระทำดังกล่าวในครั้งก่อนโดยตรง
เพียงแต่กล่าวพาดพิงว่าเงินจำนวนดังกล่าว
เป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น
จึงยังไม่เป็นการเพียงพอ ศาลไม่อาจริบเงิน 30,000 บาท ตาม ป.อ.มาตรา 33 (2) ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1814/2543 โจทก์ขอให้ริบทรัพย์ของกลางที่
จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ก่อนหน้าคดีนี้
เมื่อปรากฏว่าของกลางดังกล่าวไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ
หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำ
หรือมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยกระทำความผิด
ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2)
จึงไม่อาจริบได้
-
การนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ และการร้องขอคืนทรัพย์
ไปใช้กับกฎหมายพิเศษอื่น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 þ แม้ตาม
พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ.
ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ.
ม.17 ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล
เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง /
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน
ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง
อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ
ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ
ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ม.29 ทวิ / เปรียบเทียบ þ
คำพิพากษาฎีกาที่ 485/2493 ฟ้องคดีอาญานั้น
กฎหมายบังคับให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น
หาได้บัญญัติให้อ้างบทมาตราที่บัญญัติให้ริบของกลางด้วยไม่
ฉะนั้นแม้จะไม่ได้อ้างมา ศาลก็มีอำนาจริบได้ในเมื่อโจทก์มีคำขอไว้แล้ว พ.ร.บ.มาตราชั่วตวงวัด ได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว
ดังจะเห็นได้ตามมาตรา 24 และ 38 ย่อมเห็นเจตนารมย์ของ
พ.ร.บ.นี้ได้ว่า
ไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา 27, 28 แห่งก.ม.ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่กระทำผิดใด ๆ ตาม พ.ร.บ.นี้อีก ในเมื่อการกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญาด้วย และ þ คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517 พ.ร.บ.ป่าไม้
มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ
จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา บุคคลภายนอกคดีย่อมใช้สิทธิตาม มาตรา 36
ขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ได้
-
การคำพิพากษา เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา
และคำขอริบทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 892/2497 โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในความครอบครอง
และขอให้ศาลสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของ ศาลจะสั่งคืนตามคำขอไม่ได้
เพราะปืนของกลางไม่มีทะเบียน ใครครอบครองย่อมมีความผิด
การสั่งคืนแก่เจ้าของย่อมเป็นการขัดต่อกฎหมายในตัวและศาลจะสั่งริบก็มิได้
เพราะโจทก์มิได้ขอไว้เป็นการเกินคำขอ (ปพพ ม 1327)
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1285/2503 แม้ฟ้องของโจทก์ไม่ได้เน้นความไว้ว่า ของกลางที่จับได้พร้อมกับจำเลย
เป็นของที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดก็ดี
ก็ย่อมต้องเข้าใจว่าเป็นสิ่งของที่แสดงถึงความผิด
หรือพิรุธของจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นของที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดก็ได้
เมื่อโจทก์ขอให้ริบของกลางทั้งหมด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลต้องพิจารณาข้อเท็จจริง
ประกอบกับสภาพของกลางว่า รายการใดพออนุมานได้ว่า จำเลยได้ใช้กระทำผิด
อันเป็นของควรริบ ก็ให้ริบ จะไม่ริบ ก็เฉพาะแต่รายการที่ไม่พอจะอนุมานได้เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2808/2516 โจทก์ฟ้องว่า
จำเลยใช้ปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย เจ้าพนักงานจับจำเลยได้ และได้ปืน ลูกกระสุนปืน
และปลอกกระสุนปืนที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดเป็นของกลาง
ขอให้ลงโทษโดยมิได้ขอให้ริบของกลางด้วย เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลย
แม้จำเลยจะได้เบิกความรับว่าปืนของกลางเป็นปืนที่ไม่มีเครื่องทะเบียน
และจำเลยมีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลก็สั่งริบของกลางไม่ได้
เพราะตามคำฟ้องไม่มีคำขอให้ริบของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 620/2518
จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ซึ่งบรรยายว่าของกลางคือ
โต๊ะเครื่องเล่นไฟฟ้าจักรกลสปริง
(บิลเลียดไฟฟ้า)ฯ อันเป็นอุปกรณ์ใช้ในการเล่นพนันสล๊อตแมซีนจับได้ในขณะเล่นพนัน
จึงต้องริบของกลางนี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่
885/2518 จำเลยยิงคนถึงตาย ฟ้องไม่ได้บรรยายว่ามีปลอกกระสุนปืนในที่เกิดเหตุ
กับหัวกระสุนปืนจากบาดแผลของผู้ตาย เป็นของกลาง ไม่มีคำขอให้ริบ ศาลริบไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1950/2521
รถไถของกลางซึ่งริบได้ตาม ป.อ.ม. 33 หรือต้องริบตาม ม.35 พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ
แต่โจทก์มิได้ขอให้ริบ ศาลริบไม่ได้ เกินคำขอในฟ้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4225/2528
เสื้อของกลางคนร้าย มิได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
ส่วนการถอดเสื้อของกลางทิ้ง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการพรางตาให้พ้นจากการจับกุม
หรือเพื่อสะดวกแก่การเอาทรัพย์ไป จึงมิใช่เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ศาลจึงสั่งริบไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่
5595/2530
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีและพาอาวุธปืนไม่มีทะเบียนกับกระสุนปืนของกลาง
โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางดังกล่าวมาในฟ้อง
ศาลย่อมริบของกลางนั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
วรรคแรก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1707/2531
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้ เพื่อใช้ในการกระทำความผิดได้
ก็ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีความผิดฐานเสพกัญชาเกิดขึ้น
และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเสพกัญชา โจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบบ้องกัญชาและมีดสำหรับหั่นกัญชา
ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานเสพกัญชาหาได้ไม่
แม้จำเลยจะรับสารภาพว่ามีทรัพย์ดังกล่าวไว้ เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานเสพกัญชา
ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบ ศาลสั่งคืนให้แก่เจ้าของ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3021/2533
วัตถุระเบิดของกลาง เป็นวัตถุระเบิดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองได้
วัตถุระเบิดของกลางดังกล่าวจึงเป็นของที่มีไว้เป็นความผิดอยู่ในตัว
จำเลยมีไว้ในครอบครองต้องมีความผิด ซึ่งตาม มาตรา 32
บัญญัติไว้ว่าให้ริบเสียทั้งสิ้น
การที่ศาลไม่สั่งริบของกลางตามคำขอของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วย มาตรา 32
ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186 (9)
แม้โจทก์ไม่ยกขึ้นว่ากันในชั้นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจทำคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 828/2534 โจทก์ไม่จำต้องอ้างมาตราที่ขอให้ริบของกลาง เพราะไม่ใช่มาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
ตามมาตรา 158 (6) ก็ตาม แต่การที่ศาลจะริบของกลาง
โจทก์ต้องมีคำขอด้วย มิฉะนั้น จะริบของกลางไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3595/2540 แม้ “เครื่องมือในการกระทำความผิด” ตาม พรบ ป่าไม้ เป็น “ทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติให้ริบโดยเด็ดขาด”
แต่ โจทก์ต้องมีคำขอให้ริบด้วย มิฉะนั้น ศาลไม่อาจสั่งให้ริบได้
เพราะเกินคำขอ ขัดต่อ ปวิอ ม 192 ว 1
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6590/2541
การริบวัตถุที่ออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตาม
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 นั้น
จะต้องเป็นกรณีมีการลงโทษ แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง
จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ให้ริบตาม ป.อ.
มาตรา 32
มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สิน
นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย
คือ
(1)
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ ใช้
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2)
ทรัพย์สินซึ่งบุคคล ได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
-
มาตรา 33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2073/2492 สิ่งของที่จะริบได้ตามมาตรา 27 (1) นั้น
จะต้องเป็นของที่เจตนาใช้กระทำผิดหรือมีไว้โดยเจตนาใช้ทำผิด
ฉะนั้นจะมีการริบทรัพย์ในความผิดฐานประมาทไม่ได้ (กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 27 (1) ตรงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1))
-
(อ.จิตติ ภาค 1/928)
“ทรัพย์สินซึ่งบุคคลมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด” คือทรัพย์ที่โดยสภาพ เป็นสิ่งที่ใช้ทำผิด ไม่รวมถึงสิ่งที่ได้ใช้ทำผิดเป็นครั้งคราว
เช่น มีดดายหญ้า
-
(อ.จิตติ ภาค 1/928)
สิ่งที่โดยสภาพ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ทำผิดนั้น
จะริบได้เมื่อความผิดได้กระทำถึงขั้นลงมือ
หากไม่ถึงขั้นลงมือจะริบตามองค์ประกอบนี้ไม่ได้
-
“ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด”
ต้องใช้ทำผิดโดยตรง หากผิดที่ไม่ได้ขออนุญาต ไม่เข้า ม.33 ศาลไม่ริบ เช่น ขายยาไม่ได้รับอนุญาต (เน 15/4)
-
หากเปลี่ยนสภาพทรัพย์แล้วริบไม่ได้ เช่น ปล้นสิ่งของ นำไปทำอาหาร หรือนำไปจำนำ ตั๋วจำนำไม่ใช่ทรัพย์ (1)
, (2) (อก./540)
-
ศาลจะสั่งริบได้ทรัพย์สินนั้นต้องมีอยู่
หากถูกทำลายหรือสูญหายแล้ว ริบไม่ได้ และจะใช้วิธีการตาม ม.37 ไม่ได้ (เน 47/12/6)
-
มาตรา 33 การริบทรัพย์สิน
ตามมาตรา 33 จะต้องผ่านการพิสูจน์ความผิดแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 121/2541 ป.อ.
มาตรา 33 (2) ระบุถึงทรัพย์สินที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบได้นั้น
ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยได้กระทำความผิด
ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดฐานใดฐานหนึ่ง
และได้มีการพิสูจน์ความผิดนั้นแล้ว
และศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดจึงจะริบทรัพย์สินนั้นได้
อันถือเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 (5)
เมื่อธนบัตรมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 ดังนั้น การที่โจทก์ยังมิได้ฟ้องจำเลยถึงการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อนโดยตรง
เพียงแต่กล่าวอ้างพาดพึงถึงว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อน จึงยังไม่เป็นการเพียงพอ ตามเจตนารมณ์ของ ป.อ.
มาตรา 18 (5) และ 33 (2) เพื่อลงโทษจำเลยด้วยการริบทรัพย์สิน
และแม้ว่าจำเลยจะได้ให้การรับสารภาพ
หรือให้ยินยอมในชั้นฎีกาเพื่อให้คดีเสร็จไปจากศาลฎีกาโดยเร็วก็ตาม ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางได้
-
มาตรา 31 ศาลใช้ดุลพินิจที่จะริบ
หรือไม่ริบ ก็ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 52/2516
บทบัญญัติในเรื่องริบทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นกรณีตามประมวลกฎหมาย มาตรา 32 หรือ มาตรา
33 นั้น มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จะต่างกันก็แต่ว่าตามมาตรา 32
ศาลจะต้องริบเสียทั้งสิ้น ส่วนมาตรา 33 ให้อยู่ในดุลพินิจของศาล เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา
33 วรรคท้ายเท่านั้นที่จะสั่งริบไม่ได้ / โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกมีปืน
และสายไฟฟ้าติดตัวร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยใช้สายไฟฟ้ารัดคอเจ้าทรัพย์
แม้ศาลจะวินิจฉัยว่า จำเลยมิได้กระทำผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า
สายไฟฟ้าของกลางเป็นทรัพย์ซึ่งใช้ในการกระทำผิดแล้ว ก็ย่อมริบได้
เพราะอยู่ในดุลพินิจของศาล ตามมาตรา 33
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 แม้ตาม
พ.ร.บ.ป่าไม้ฯจะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ.
ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ. ม.17
ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล
เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง
/ รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน
ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง
อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ
ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ
ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ม.29ทวิ
-
ทรัพย์ที่ใช้
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2091/2530
จำเลยร่วมกับ ม.วางแผนฆ่าผู้เสียหายโดยใช้รถยนต์กระบะไปดักรอผู้เสียหายที่สถานีบริการน้ำมัน
และขับรถดังกล่าวตามรถผู้เสียหายไป แล้ว ม.ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย
ขณะรถยนต์กระบะกำลังแซงรถของผู้เสียหายขึ้นไปดังนี้
รถยนต์กระบะดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 /
เมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 แล้ว ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา
288 อีก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3688/2531
การที่จำเลยหลอกลวงขอซื้อสร้อยคอทองคำจากผู้เสียหาย
โดยนำเงินของกลางออกมาแสดงให้ผู้เสียหายดู แล้วนำไปซุกซ่อนไว้ที่อื่น
และบอกผู้เสียหายว่าได้ชำระค่าสร้อยคอทองคำให้แล้วนั้น
การแสดงเงินของกลางให้ผู้เสียหายดู ไม่เกี่ยวกับการกล่าวเท็จว่าได้ชำระเงินให้แล้ว
ฉะนั้นเงินของกลางดังกล่าว จึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำผิด ตาม
มาตรา 33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 7562/2540 ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพร้อมของกลาง
คงเหลือเวลาอีกเพียง 3
วันก็จะถึงกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์จังหวัดบุรีรัมย์นับว่าเป็นระยะเวลาที่ใกล้ชิดกับวันเลือกตั้งมากแล้ว
ประกอบลักษณะธนบัตรของกลางที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นเป็นชุดพร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งที่จำเลยทั้งสองรวบรวมไว้แล้ว
แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครและจำเลยทั้งสองก็ได้เตรียมจัดหาทรัพย์สินรวมทั้งของกลางต่าง
ๆ แล้วจำเลยทั้งสองได้ลงมือดำเนินการตามเจตนาข้างต้นโดยนำธนบัตรมาเย็บติดกันเป็นชุดมัดรวมกัน
มัดละ 100 ชุด
บรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเลเสร็จพร้อมที่จะนำไปให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ทันที
การกระทำของจำเลยทั้งสองถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการนำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้ง
เพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครที่จำเลยทั้สองให้การสนับสนุน
เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองพ้นขั้นตระเตรียมการเข้าสู่การลงมือกระทำความผิดแล้ว
หากแต่ไม่สำเร็จเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้เสียก่อน
มิฉะนั้นแล้วจำเลยทั้งสองก็จะกระทำความผิดต่อไปได้สำเร็จ
การที่จำเลยทั้สองถูกจับเสียก่อนในขณะที่ลงมือกระทำความผิดแล้วเช่นนี้
ย่อมมีความผิดฐานพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครดังนั้น
ธนบัตรของกลางกับของกลางอื่นถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
-
ประเด็นเรื่องทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1073/2525
จำเลยขับจักรยานยนต์พาพวกมายิงผู้เสียหาย แล้วขับรถคันดังกล่าวหลบหนี
รถจักรยานยนต์เป็นเพียงพาหนะที่ใช้ในการไปมาเท่านั้น
ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ร่วมในการกระทำผิด จึงไม่ใช่ของกลางที่พึงริบตาม ป.อ.ม. 33
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3125/2525
จำเลยขนย้ายข้าวเกินจำนวนที่คณะกรรมการฯ กำหนดจากสถานที่อื่นโดยบรรทุกรถยนต์
ดังนี้จะริบรถยนต์ตาม ป.อ.ม.33
ไม่ได้เพราะไม่ใช่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำผิดโดยตรง และ พ.ร.บ.
การค้าข้าว พ.ศ. 2489 ม.21
ได้บัญญัติถึงการริบทรัพย์ไว้เป็นอย่างอื่นคือให้ริบเฉพาะข้าว ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด
กับสิ่งที่บรรจุเท่านั้น มิได้ให้ริบยานพาหนะที่ใช้ขนย้ายข้าวด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1717/2527
จำเลยขับรถไล่ตามกลั่นแกล้งโจทก์
โดยขับรถปาดหน้า ทำให้โจทก์ต้องหยุดรถอย่างกระทันหัน แม้โจทก์ขณะขับรถอยู่
ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการขับรถไปตามถนนสาธารณะตามสิทธิที่กฎหมายรับรองได้ จำเลยขับรถปาดหน้า
โจทก์กลัวจะชนรถจำเลย โจทก์ก็ต้องหยุดรถ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขัง
กระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ป.อ.ม.310 แต่มีความผิดตาม ม.309 / รถยนต์คันที่จำเลยขับปาดหน้ารถโจทก์
มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงริบไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5426/2536
จำเลยกระทำความผิดฐานช่วยคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร
โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคแรก
เพื่อให้พ้นการจับกุม โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะ ให้คนต่างด้าวนั่งมาในรถยนต์ด้วย
ถือไม่ได้ว่ารถยนต์เป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่ควรริบ ศาลไม่ริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5583/2538
จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 1 ไปและจอดรอ เมื่อจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตาย
แล้วก็กลับมานั่งซ้อนท้ายแล้วจำเลยที่ 2 ขับรถหลบหนีไป
เป็นเพียงการใช้รถจักรยานยนต์ ไปและกลับจากการกระทำความผิด
เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็ว ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์ ในการกระทำความผิด
จึงริบรถจักรยานยนต์ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5363/2542 มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายหลายนัด
เมื่อมีการตรวจพิสูจน์กลิ่น เสื้อและหมวกของกลาง โดยสุนัขตำรวจ
พยานโจทก์เบิกความตอบทนายถามค้านว่า ไม่แน่ใจว่ากลิ่นตัวของคนร้ายจะติดอยู่หรือไม่
เสื้อและหมวกของกลาง มิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
จึงริบไม่ได้และต้องคืนให้เจ้าของ
-
กรณีไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2118/2529 ฟ้องว่าจำเลยกับพวกอีก
2 คนร่วมปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นตาย ปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ช่วยวางแผนให้คนร้าย
2 คนไปกระทำผิดใน สวนยางและขณะคนร้าย 2 คนไปกระทำความผิดตามแผนที่วางแผนไว้
จำเลยยืนอยู่นอกสวนยาง ห่างสวนยางชั่วระยะตะโกนกันได้ยิน ใน ช่วงระยะเวลาที่คนร้าย
2 คนดังกล่าวกระทำความผิด นางสาว อ.
บุตรผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ผ่านจำเลยเข้าไปในสวนยางที่ เกิดเหตุจำเลยก็มิได้ส่งสัญญาณให้คนร้าย
2 คนดังกล่าวทราบหรือ เข้าช่วยคนร้าย 2 คนนั้น
คงยืนอยู่เฉย ๆ เมื่อคนร้าย 2 คน นั้นกระทำความผิดตามที่วางแผนไว้สำเร็จแล้ว
คนร้ายคนหนึ่ง หลบหนีไปทางอื่น คนร้ายอีกคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ผ่านหน้าจำเลยไปแล้ว
จำเลยก็กลับบ้าน การกระทำของจำเลย ดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับ
คนร้าย 2 คนนั้นโดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เป็นการช่วยเหลือหรือ
ให้ความสะดวกในการที่คนร้าย 2 คนดังกล่าวกระทำความผิด จำเลย จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของคนร้าย
2 คนดังกล่าว. / เมื่อปรากฏว่าคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ของผู้ตายโดยใช้
กำลังประทุษร้ายโดยการยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวก แก่การลักทรัพย์และพาเอาทรัพย์ไปจนเป็นเหตุให้เจ้าทรัพย์
ถึงแก่ความตายมี 2 คน การกระทำของคนร้าย 2 คนดังกล่าวจึงเป็น ความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคท้าย. /
เสื้อแจกเกตของคนร้ายที่ทิ้งไว้รวมกับบางส่วนของทรัพย์สินของ ผู้ตายที่คนร้ายชิงไปถือไม่ได้ว่าเสื้อตัวนี้เป็นทรัพย์สิน
ที่คนร้ายได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด นอกจาก นี้เสื้อดังกล่าวยังมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า
ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ศาลจะริบเสื้อดังกล่าวไม่ได้
-
ประเด็นเปรียบเทียบ
เรื่องความผิดอันอยู่ที่การไม่ได้ขออนุญาต หรือฝ่าฝืนระเบียบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 495/2500 ( ประชุมใหญ่ ) ของที่วางขายไม่ปิดป้ายหรือแสดงราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ ควบคุมโภคภัณฑ์ นั้น ของที่วางขายไม่เกี่ยวกับความผิด
ความผิดอยู่ที่ งดเว้นไม่ปิดป้าย จึงริบของที่วางขายไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 245/2505 ในกรณีที่จำเลยขาดคุณสมบัติและความรู้
ไม่มีทางที่จะขึ้นทะเบียนรับอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะได้
จำเลยยังฝ่าฝืนปรุงยาเพื่อจำหน่ายนั้นได้ชื่อว่าความผิดเกิดจากการกระทำ
(คือปรุงยา) ของจำเลย ตัวยาและเครื่องอุปกรณ์ในการปรุงยาเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
จึงต้องริบ / แต่ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ปรุงยาได้แล้ว
หากใบอนุญาตขาดอายุยังปรุงยาจำหน่ายต่อไปอีก เช่นนี้ได้ชื่อว่าความผิดเกิด
เพราะไม่ได้รับอนุญาต ของกลางจึงไม่ริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1386/2505
จำเลยไม่ความรู้ทางหมอแต่อย่างใด เป็นคนธรรมดา
ไม่มีสิทธิจะขออนุญาตเพื่อประกอบโรคศิลปะ ได้บังอาจรับฉีดยาบำบัดโรค
เพื่อแสวงหาผลประโยชน์และสินจ้าง การกระทำของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นความผิดอยู่ในตัว
มิใช่มีสิทธิจะขออนุญาต แต่ไม่ได้ขอ ซึ่งเพียงความผิดเพราะไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ฉะนั้น ยาฉีด เข็มฉีดยา ฯลฯ ของกลางที่จำเลยมีไว้ใช้ในการกระทำผิด
จึงเป็นของควรริบตาม มาตรา 33
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 348/2508
ตาม พรบ.ช่วยอาชีพและวิชาชีพ พ.ศ. 2484 ประกอบ พรก.กำหนดอาชีพและวิชาชีพฯ พ.ศ.
2492 นั้น จำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว ไม่มีสิทธิที่จะประกอบอาชีพตัดผมโดยเด็ดขาด
และไม่มีทางที่จะได้รับอนุญาต
เพราะทางการได้สงวนให้เป็นอาชีพเฉพาะคนไทยเท่านั้น การที่คนต่างด้าวประกอบอาชีพตัดผม
จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิด เพราะฝ่าฝืนบทกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ในตัว
ไม่ใช่เป็นการกระทำเพราะไม่ได้รับอนุญาต เครื่องมือ เครื่องใช้และธนบัตรซึ่งเป็นของกลาง
จึงเป็นของที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด และได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป. อาญา
มาตรา 33 จึงให้ริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1170/2533
ความผิดของจำเลยอยู่ที่
การฝ่าฝืนการประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่
88 พ.ศ. 2528 น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไป มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ใน
การกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5299/2533 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีผู้กระทำผิด
ต่อพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 44 (7)
โดยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางขนย้ายน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงาน
โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดก็ตาม
แต่สาระสำคัญของการกระทำความผิดดังกล่าวอยู่ที่ว่า
ขนย้ายน้ำตาลทรายดิบโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
และในการขนย้ายไม่มีหนังสืออนุญาตกำกับการขนย้ายเท่านั้น
รถยนต์บรรทุกและน้ำตาลทรายดิบของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
หรือได้มาโดยการกระทำความผิดอันจะพึงรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
-
พาหนะที่ใช้ทำผิด และกรณีตาม ม. 336 ทวิ 340
ตรี ถ้าใช้ขับมา หรือขับกลับก่อนหรือหลังทำผิดไม่ริบ เพราะมิได้ใช้ หรือมีเพื่อใช้ทำผิดโดยตรง แต่หากใช้ขับตาม
หรือขับชนในการทำผิดโดยตรงในขณะทำผิดริบ (อก/538)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3388/2516
รถจักรยานยนต์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะในการวิ่งราวทรัพย์นั้น
ไม่เรียกว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด ริบไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2663/2522 จำเลยที่ 1
ได้ใช้รถคอยช่วยเหลือพวกที่กำลังปล้น รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1
กับพวกใช้ในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ ศาลมีอำนาจสั่งริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2736/2522
ใช้รถยนต์พาผู้เสียหายไปขู่เอาทรัพย์ โดยเป็นแผนการคบคิดกัน
ไม่เพียงแต่ใช้เป็นยานพาหนะแต่อย่างเดียว ต้องริบรถตาม ม.33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3355/2528
จำเลยขับรถยนต์ของกลางชนท้ายรถจี๊ปที่ ร.ต.ต. ส. ขับขี่โดยมีเจตนาทำร้าย
เพราะโกรธเคืองที่จับจำเลยมาสถานีตำรวจและไม่ยอมปล่อยจำเลยตามคำขอร้องของจำเลยจน
ร.ต.ต. ส.ได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. ม.296
รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิด
ศาลมีอำนาจริบเสียได้ตาม ป.อ. ม.33
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 234/2530
ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์สวนทางกับจำเลย แล้วผู้เสียหายถูกพวกของจำเลย 2
คนใช้อาวุธปืนจี้บังคับเอาทรัพย์ ขณะที่มีการค้นตัวผู้เสียหาย
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ย้อนกลับมาจอดห่างผู้เสียหายประมาณ 1 วาแต่มิได้ลงจากรถ
เมื่อพวกของจำเลยได้ทรัพย์จากผู้เสียหายแล้ว จำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ออกไป
และพวกของจำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายซ้อนท้ายตามไป พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำผิด
แต่การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกับพวก
เป็นเหตุให้ผู้เสียหายซึ่งออกติดตามพวกของจำเลยไป ไม่สามารถติดตามได้ทัน
ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะหลบหนีไปเพื่อให้พ้นจากการจับกุม
เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
แล้ว / รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยขับมา
และขับออกไปจากที่เกิดเหตุ แม้จะเป็นความผิดตามมาตรา 340ตรี แต่การจะริบหรือไม่
จะต้องเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดตาม ม.33 (1) เมื่อของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
จึงริบไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1770/2530
เรือไม้และเครื่องยนต์ของกลาง
เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้เดินทางไปยังเกาะที่เกิดเหตุ
เพื่อกระทำความผิดลักทรัพย์
แม้จะใช้เป็นยานพาหนะนำทรัพย์ที่ลักกลับจากเกาะนั้นด้วย ก็คงเป็นเพียงยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางไปมาเท่านั้น
ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบตาม มาตรา 33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2590/2531
ยานพาหนะใดใช้เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ซึ่งศาลจะพึงสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) หรือไม่
ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำความผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป
จำเลยนำรถยนต์กระบะสองแถวของกลางมา
เพื่อใช้เป็นยานพาหนะบรรทุกน้ำมันที่ลักมาหลบหนีไปเท่านั้น
จำเลยมิได้ใช้รถยนต์กระบะสองแถวในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้องแต่อย่างใด
รถยนต์กระบะสองแถวของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5845/2531
เมื่อรถยนต์ของกลางเป็นพาหนะที่จำเลยใช้คุ้มกันช่วยเหลือขณะทำการปล้นทรัพย์
และใช้นำตัวเจ้าทรัพย์ไปทำร้ายร่างกายระหว่างทำการปล้นทรัพย์ด้วย
รถยนต์ของกลางดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 33(1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2117/2532 จำเลยที่
3 ขับขี่รถจักรยานยนต์มายังที่เกิดเหตุ แล้วยังขับขี่ติดตามรถยนต์ของผู้เสียหายมา ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการที่จะติดต่อรับเงินจากผู้เสียหาย
ในการกระทำความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
จึงถือได้ว่าจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจริบได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 665/2542
จำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลาง แล่นตามรถยนต์ผู้เสียหายจนทัน
แล้วแซงขึ้นหน้าไปจอดขวางให้หยุด กับขู่เข็ญผู้เสียหายจนยอมมอบเงินแก่จำเลยกับพวก
รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ก่อนที่จะกระทำความผิดฐานกรรโชก
อีกทั้งจำเลยกับพวกก็ร่วมกันขู่เข็ญผู้เสียหายว่า
หากไม่ยอมให้เงินจำเลยกับพวกจะทำการระเบิดและพังรถยนต์ของผู้เสียหายเท่านั้น
รถจักรยานยนต์ของกลาง จึงหาใช่ทรัพย์ที่จำเลยกับพวกได้ใช้
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกรรโชกทรัพย์ไม่
ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5014/2542
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ซึ่งบุคคลได้ใช้
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
นั้นมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินฅที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้น
ๆ โดยตรง คือทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดผิด การที่จำเลยใช้รถยนต์กระบะของกลาง
เป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ การพาทรัพย์นั้นไป
และเพื่อให้พ้นการจับกุม แต่ก็มิได้ความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์กระบะดังกล่าว
เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์
อันจะให้ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้กระทำความผิด
แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก, 336 ทวิ
ก็ตาม แต่ตามมาตรา 336 ทวิ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา
335 (1) วรรคสองหนักขึ้น เพราะเหตุที่จำเลยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะ
เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือพาเอาทรัพย์
หรือเพื่อให้จำเลยพ้นจากการจับกุมเท่านั้น รถยนต์กระบะของกลาง
จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง ศาลริบไม่ได้
-
กรณีเกี่ยวกับมาตรา 371 และ พรบ.อาวุธปืน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 111/2504
จำเลยยิงขณะผู้เสียหายยกมีดจะฟันจำเลย
มีดนั้นขนาดใหญ่ถ้าฟันได้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จำเลยยิงนัดเดียว
ดังนี้เป็นการป้องกันชีวิตพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีผิด ส่วนปืนที่ใช้ยิงเป็นปืนแก๊ปไม่มีทะเบียน
ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด จึงเป็นของที่ต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32
แต่อยู่ในระหว่างใช้ พ.ร.บ. อาวุธปืน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 ซึ่งมีมาตรา 9
ผ่อนผันให้นำอาวุธปืนไปขออนุญาตได้ดังนี้ จึงจะสั่งริบอาวุธปืนนั้น
เพราะเหตุจำเลยมีไว้ยังไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 81/2505
การที่ผู้ใดพาปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควร อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371
นั้นแม้ปืนของกลางจะเป็นปืนมีทะเบียน
โดยจำเลยได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองก็ดี ศาลก็ยังมีอำนาจริบได้ตามมาตรานี้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 989/2508
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตแล้ว
จึงไม่ใช่วัตถุที่ผิดกฎหมาย อันจะต้องริบตามมาตรา 32 แต่เป็นวัตถุแห่งการกระทำผิด
อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งริบหรือไม่แล้วแต่คดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2511
ซื้ออาวุธปืนมีทะเบียนแต่มิได้จัดการโอนทะเบียนให้ถูกต้อง
ย่อมมีผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน
แต่ปืนนั้นมิใช่ทรัพย์สินอันมีไว้เป็นความผิด จึงริบมิได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2400/2522
จำเลย พาอาวุธปืนติดตัวและยิงปืนในหมู่บ้าน ผิดตาม พรบ อาวุธปืน ม 8
ทวิ, 72 และ มาตรา 371, 376 ปืนมีทะเบียน จึงไม่ใช่ทรัพย์อันต้องริบ ตาม
มาตรา 32 แต่เป็นวัตถุแห่งการกระทำผิด อยู่ในดุลพินิจ (อ จิตติ ติงศภัทิย์ การพาอาวุธไปตาม ม 371
อาวุธเป็น “วัตถุแห่งการกระทำผิด” ริบได้ตาม ม 371 ซึ่งบัญญัติให้ริบได้ไว้โดยเฉพาะ
แต่อาวุธ ไม่ใช่ “วัตถุที่ใช้กระทำผิด” อันจะริบได้ตาม ม 33)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1369/2523
ซองปืนซึ่งใช้บรรจุอาวุธปืนไม่มีทะเบียน พกพาไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
และชักปืนออกจากซองนั้นยิงขึ้นฟ้า ต้องริบตาม ป.อ.ม.33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2145/2538
ศาลลงโทษตาม พรบ อาวุธปืน บทหนักแล้ว จะริบอาวุธปืน ตาม ปอ ม 371
ไม่ได้ (อ จิตติ การลงโทษบทหนัก ตาม ม 90
ต้องใช้บทหนักทั้งมาตรา ไม่ใช่แยกเป็นส่วน ๆ
เฉพาะส่วนที่หนักกว่ามาตราอื่น เมื่อไม่ใช้มาตรา 371 ก็ไม่ใช้ทั้งมาตรา
รวมตลอดถึงตอนให้ริบอาวุธด้วย)
-
กฎหมายพิเศษ ต่าง ๆ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 485/2493 ฟ้องคดีอาญานั้น กฎหมายบังคับให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า
การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้อ้างบทมาตราที่บัญญัติให้ริบของกลางด้วยไม่
ฉะนั้นแม้จะไม่ได้อ้างมา ศาลก็มีอำนาจริบได้ในเมื่อโจทก์มีคำขอไว้แล้ว / พ.ร.บ.มาตราชั่วตวงวัดได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว
ดังจะเห็นได้ตามมาตรา 24 และ 38 ย่อมเห็นเจตนารมย์ของ
พ.ร.บ.นี้ได้ว่า
ไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา 27,28 แห่งก.ม.ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่กระทำผิดใด ๆ ตาม พ.ร.บ.นี้อีกในเมื่อการกระทำนั้น
ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญาด้วย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1574/2505
เจ้าของเกวียนและโค นำเกวียนและโคของตนไปใช้บรรทุกไม้ท่อน
ซึ่งมีผู้ตัดโดยผิดกฎหมาย
แล้วชักลากออกจากป่าเพื่อประโยชน์ของผู้ตัดโดยผู้ตัดจะเอาไม้นั้น
และเจ้าของเกวียนและโค ก็รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของผู้ตัด เกวียนและโค
ย่อมเป็นยานพาหนะซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด
ต้องรับตามมาตรา 74 ทวิ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 563/2509
ความผิดฐานไม่ปิดป้ายหรือแสดงราคาโภคภัณฑ์ที่วางขายนั้น
ความผิดของจำเลยอยู่ที่การงดเว้นไม่ปิดป้ายหรือแสดงราคา
ตัวโภคภัณฑ์ที่วางขายไม่เกี่ยวข้อกับความผิด จึงริบไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1558/2509
เทวรูปเป็นของแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ.25074 มาตรา 24 แล้ว
ศาลจึงไม่ต้องสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 อีก
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2791/2516
จำเลยใช้ปืนยิงวัวแดง อันฝ่าฝืน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 9
วรรคสอง แม้ปืนนั้นมีเลขทะเบียน ศาลก็มีอำนาจสั่งริบได้ตามมาตรา 47
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3134/2516
พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใด ๆ อันจะพึงห้ามตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของ
หรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน
สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึด
ให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของและให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้น
หมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว
ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบ หรือไม่ริบของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1846/2519 เขาสัตว์ป่าซึ่งติดกับรูปหัวสัตว์ทำด้วยไม้เป็นเครื่องประดับ
ยังคงมีสภาพเดิม มิได้เปลี่ยนสภาพเป็นวัตถุอย่างอื่น เป็นซากของสัตว์ตามบทนิยาม
จำเลยมีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
2503 ม.39 ศาลริบแต่เขาสัตว์ ส่วนไม้ที่ประดิษฐ์เป็นหัวสัตว์ ไม่มีกฎหมายให้ริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2365/2519 คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควรประกาศ
ระบุเนื้อสุกรเป็นสิ่งควบคุม ห้ามจำหน่ายเกินราคาที่กำหนด
จึงประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิตเข้าหรือออกนอกเขตอำเภอ การนำสุกรเข้ามาฝ่าฝืนประกาศ
จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.
ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 ม.17 ไม่ใช่ ม.23, 24
และสุกรไม่ใช่ของที่เกี่ยวกับการค้ากำไรโดยตรงที่จะริบตาม ม.29
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 414/2522
พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 มิได้บัญญัติเรื่องริบเงินของกลาง
และธนบัตรไทยของกลางความผิดอยู่ที่จำเลยนำเข้ามาในประเทศเกิน 500 บาท
โดยไม่ได้รับอนุญาต มิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงริบไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2555/2522 คำว่า
"ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดให้ริบเสีย" ตามมาตรา 21ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวนั้น จะต้องเป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดโดยตรง
จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวโดยชอบแล้ว
ความผิดอยู่ที่ละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวแสดงปริมาณข้าวในครอบครองเท่านั้น
ข้าวของกลางไม่เกี่ยวกับความผิด จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะพึงริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 701/2524
ม้าต่างของกลางเป็นเพียงพาหนะที่จำเลยใช้ในการนำพาของกลางเท่านั้น
มิได้ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งการมีฝิ่นของกลางไว้ในความครอบครองแต่อย่างใด
จึงไม่เป็นทรัพย์ที่พึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. 2472 ม.69
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2226/2524
จำเลยจำหน่ายปูนซิเมนต์ของกลาง เกินกว่าราคาที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้า
และป้องกันการผูกขาดความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศฯ
ปูนซิเมนต์ของกลางซึ่งได้ขายไปแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม
ป.อ. ม.33 (1) เงินที่ได้จากการขายของกลางดังกล่าวจึงริบไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2503/2527 พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
2516 มิได้มีบทบัญญัติให้ริบน้ำมันในกรณีที่มีผู้ฝ่าฝืนมีน้ำมันเบนซิน
โดยไม่มีเหตุต้องใช้หรือไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมัน
ความผิดของจำเลยอยู่ที่การมีน้ำมันโดยไม่มีเหตุต้องใช้ และไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาเท่านั้นน้ำมันเบนซินที่จำเลยมิไว้
จึงมิใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดซึ่งจะต้องถูกริบ ตาม ป.อ. ม.32
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2178/2532
จำเลยกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 3/2529 ตาม พ.ร.ก.
แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งระบุว่า
"ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
หรือถ่ายก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้ม นอกสถานที่บรรจุก๊าซ ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ๆ
ทั้งสิ้น" อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาด ไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้
จึงเป็นความผิดอยู่ในตัว มิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ดังนั้น
เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่ายก๊าซคือ เครื่องสูบก๊าซ ท่อพักก๊าซ ถังเก็บก๊าซและจ่ายก๊าซ ถังก๊าซหุงต้ม เศษเหล็กของถังก๊าซซึ่งระเบิดเสียหาย
สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก
แท่นรองถังก๊าซและรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4104/2540
ขณะที่จำเลยถูกจับจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลาง
พร้อมทั้งกัญชาและถุงพลาสติกเล็กไว้ในย่ามออกไปเพื่อจำหน่ายกัญชา ดังนั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำผิด
ศาลจึงมีอำนาจริบรถจักรยานยนต์ของกลางได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่
4537-4540/2543 (ประชุมใหญ่) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 5
มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว
โดยแบ่งสินค้าแยกวางเสนอจำหน่ายในสถานที่ต่างกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5
มีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าวในคราวเดียวกัน
เพียงแต่แยกวางจำหน่ายในสถานที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5
จึงเป็นความผิดกรรมเดียว / จำเลยที่ 1
ถึงที่ 3 และที่ 5 มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย
ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้รับสินค้าของกลางได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ
มาตรา 115
โดยไม่ต้องคำนึงว่าถึงสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักร
หรือเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร þ และไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์สินค้าของกลางตาม
ป.อ. อันเป็นบททั่วไปอีก
-
กฎหมายพิเศษ พรบ. การพนัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 366/2490
เสื่อที่ใช้ปูเล่นการพะนันถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิด
ศาลมีอำนาจริบเสื่อของกลางนั้นได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2839/2516
จำเลยขายสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ยังมิได้ออกรางวัลให้แก่ผู้มีชื่อ
ครึ่งฉบับ ในราคา 5 บาท 50 สตางค์เกินกว่าราคาที่กำหนดในสลากครึ่งฉบับ 50 สตางค์
เช่นนี้ เงินทั้งจำนวน 5 บาท 50 สตางค์ ย่อมมีส่วนก่อให้เกิดความผิด
มิใช่เฉพาะเงินจำนวนส่วนที่เกิน 50 สตางค์ ศาลมีอำนาจริบเงินซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยการกระทำความผิด
(ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกิน)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1238/2517
เสื่อแม้โดยสภาพจะใช้รองนั่งนอนก็ดี แต่เมื่อจำเลยได้ใช้ปูรองเล่นการพนัน
ก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดในวงเล่นการพนัน ถือได้ว่าเป็นทรัพย์
ได้ใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือประกอบในการกระทำผิด
ศาลย่อมมีอำนาจริบได้ ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 10
ประกอบกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2646/2521
เครื่องรับโทรทัศน์เป็นเครื่องรับภาพชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ ผู้ดูโทรทัศน์ท้าพนันการชกมวย
ไม่ทำให้เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นการพนันชกมวยตาม พ.ร.บ.
การพนันโดยแท้จริงไม่ ศาลไม่ริบเครื่องโทรทัศน์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1859/2527
ผู้ร้องเป็นเจ้าของร้านค้า ในวันเสาร์วันอาทิตย์
จะยกเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางจากชั้นบน ลงมาเปิดบริการลูกค้าที่ชั้นล่าง
เพื่อให้ลูกค้าดูรายการมวย จะฟังว่าเพื่อสนับสนุนให้จำเลยเล่นการพนันกันหาได้ไม่
ผู้ที่ดูมวยโดยไม่เล่นการพนันมีอยู่ไม่น้อย โทรทัศน์ของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือ
เครื่องใช้ในการท้าพนันผลการแข่งขันการชกมวย ต้องคืนแก่ผู้ร้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2137/2531 เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นเครื่องรับภาพการแข่งขันชกมวยจากสถานีโทรทัศน์
ซึ่งเป็นผู้ส่งภาพนั้นมาเท่านั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ดูโทรทัศน์
ท้าพนันผลการแข่งขันชกมวย หาทำให้เครื่องรับ โทรทัศน์ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้
ในการเล่นการพนันชกมวย ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติ การพนัน พ.ศ.2478 โดยแท้จริงไม่
-
กฎหมายพิเศษ พรบ. ควบคุมกิจการเทปฯ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2042/2537
เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลางจำนวน 100 ม้วน
เป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ผ่านการตรวจพิจารณา
และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายแล้ว
จำเลยผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดให้มีการแสดงตราหมายเลขรหัส
บนเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลาง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2531) ออกตามความใน
พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 แต่เมื่อไม่มีการแสดงตรา
หมายเลขรหัสดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์
พ.ศ. 2530 มาตรา 6, 10, 36 และเทปกับวัสดุโทรทัศน์ของกลางดังกล่าว
จึงเป็นทรัพย์ที่ถือได้ว่าจำเลยมีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 32
ทั้งโจทก์บรรยายคำฟ้องอ้างบทบัญญัติดังกล่าวขอให้ศาลริบ
ศาลจึงต้องริบตามคำขอของโจทก์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3040/2541
ความผิดของจำเลยที่เกี่ยวกับวีดีโอเทป 30 ม้วน ที่ไม่ปิดฉลากอยู่ที่การเสนอขาย
โดยได้งดเว้นไม่ปิดฉลากที่วีดีโอเทปดังกล่าว วีดีโอเทปของกลาง 30
ม้วนนี้ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด และไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ที่จะริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32 หรือมาตรา 33
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6556/2541
ของกลางวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก และเทปเพลงที่ไม่มีฉลาก ที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบนั้น
เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
ในขณะเดียวกันเฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้น
ยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม
พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 อีกด้วย ฉะนั้น
การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก
โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วยเช่นนี้
แสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลางในส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค
ฯ เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ฉบับเดิมมาใช้บังคับ
ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับการริบของกลางไว้แต่อย่างใด
จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา
โดยที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับที่ 58 (พ.ศ.2536) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2536
กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา
52 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ
บัญญัติให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก แสดงว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา
52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้น ไม่มีฉลากนั่นเอง
หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวก
จึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
อันจะพึงริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
-
กฎหมายพิเศษ พรบ.ลิขสิทธิ์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4748/2549 จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมให้เผยแพร่งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้ถึงวันที่
20 เมษายน 2547 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20
เมษายน 2547 จนถึงวันเกิดเหตุวันที่ 4 มิถุนายน 2547 จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานเพลงของโจทก์ร่วม
การที่จำเลยนำวิดีโอซีดีที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน
จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 30
(2) และมาตรา 70 วรรคสอง มิใช่เป็นเพียงผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น
-
กฎหมายพิเศษ พรบ. ทางหลวง และ พรบ.จราจร
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 890/2524
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกทราบเกินน้ำหนักอัตราที่กำหนด เป็นการใช้รถยนต์กระทำผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 295 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ไม่บัญญัติให้ริบรถยนต์ ก็ริบได้ตาม
ป.อ.ม.33 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่ริบรถยนต์ โดยศาลชั้นต้นเห็นว่าริบไม่ได้
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าริบได้ แต่ไม่ควรริบ จำเลยฎีกาได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3798/2527
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกทรายเกินน้ำหนักที่กำหนดเดินบนทางหลวงแผ่นดิน
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โดยวินิจฉัยข้อกฎหมายว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำตาม ป.อ. ม.33
แต่ใช้ดุลพินิจไม่ริบ โจทก์ฎีกาขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ต้องห้ามฎีกาตาม ป.ว.อ. ม.218 (ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4006/2535
จำเลยขับรถยนต์บรรทุก ซึ่งมีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่ทางราชการกำหนดถึง 9,300
กิโลกรัม มาเดินบนทางหลวงแผ่นดิน ให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6674/2538
ในความผิดฐานแข่งรถในทางตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 134
รถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่ง ถือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด
หสมควรริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4003/2541 รถจักรยานยนต์ของกลางที่ใช้แข่งขันกันตามถนนหลวงที่คนทั่วไปต้องใช้สัญจรไปมา
เป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
จำเลยทั้งสองได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางแข่งขันกัน โดยฝ่าฝืนกฎหมาย
และคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนรำคาญ
และอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น
เป็นพฤติการณ์ที่พึงริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
แม้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของบิดาจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย
ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของแท้จริงจะต้องร้องขอคืนของกลางต่อศาล ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่
1
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2138/2541 จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางมีน้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักรถเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง
18,990 กิโลกรัม
โดยไม่นำพาว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงเพียงใดต่อสภาพทางหลวงแผ่นดิน
ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมและมีไว้เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนการกระทำดังกล่าวของจำเลยทำให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากสภาพถนนที่ชำรุดทรุดโทรมง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายที่เกิดจากสภาพของรถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักบรรทุกเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับขี่จะควบคุมให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัยเมื่อจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางในการกระทำความผิดเพื่อมุ่งแต่ประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจของตนเพียงอย่างเดียว
ไม่สนใจว่าจะก่อผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอย่างไร
ดังนั้นรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งใช้ในการกระทำความผิดจึงเป็นทรัพย์ที่สมควรต้องริบ
-
กฎหมายพิเศษ พรบ. ป่าไม้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 305/2517 ถ่านไม่มีสภาพเป็นไม้หรือของป่า
จึงไม่อาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 34
แต่อาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33
ในฐานะเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 857/2527
จำเลยมีเปลือกไม้สีเสียด อันเป็นของป่าหวงห้ามไว้ในครอบครอง เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด
รถยนต์ของกลางซึ่งใช้เป็นยานพาหนะ จึงไม่อยู่ในข่ายอันจะพึงริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ
ม.74 ทวิ ทั้งจะริบตาม ป.อ. ม.33 ก็ไม่ได้ เพราะมิใช่ทรัพย์ซึ่งจำเลยได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด
ความผิดของจำเลยอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 þ แม้ตาม
พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ.
ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ.
ม.17 ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล
เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง /
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน
ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง
อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ
ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม
ม.29 ทวิ
-
กฎหมายพิเศษ พรบ.
ยาเสพติด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5220/2531 จำเลยที่ 3
เตรียมเงินจำนวน 850,000 บาทเพื่อนำมาซื้อยาเสพติดตามที่จำเลยที่ 1
ติดต่อกับผู้ขาย แต่จำเลยที่ 1 สามารถนำยาเสพติดของกลางมามอบให้จำเลยที่ 2
ได้ในปริมาณราคาเพียง 600,000 บาทเท่านั้น เงินที่จำเลยที่ 3
เตรียมมาดังกล่าวจึงยังคงเหลืออีก 250,000 บาท
ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับเงินที่ได้เตรียมมาซื้อยาเสพติดในตอนแรกนั่นเอง
จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตาม มาตรา
33 (1)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1829/2538
ความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อมีไว้ในครอบครอง
จำเลยซ่อนเฮโรอีนไว้ในใต้พรมหลังที่นั่งคนขับรถยนต์
ไม่ทำให้รถยนต์เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
จึงไม่อาจริบรถยนต์เป็นของกลางได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 589/2542 จำเลยที่ 1
ซุกซ่อนเฮโรอีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไว้ในรถยนต์
รถยนต์ดังกล่าวจึงเป็นยานพาหนะที่จำเลยที่ 1
ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ต้องริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. 2522 มาตรา 102
หมายเหตุท้ายคำพิพากษาฎีกาที่
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) แบ่งแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย ได้แก่ อาวุธตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
1(5)
2. ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในทางผิดอื่นนอกจากความผิดต่อชีวิตและ ร่างกาย
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้กระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกายจะเห็น ได้ชัดเจนไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ
แตกต่างจากทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ ในการกระทำความผิดอื่นที่มีปัญหาในทางปฏิบัติมาก พิจารณาตามแนว คำพิพากษาศาลฎีกาก็มิได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้เป็นบรรทัดฐาน ที่สามารถนำมายึดเป็นหลักได้ เนื่องจากมีการวินิจฉัยกลับไปกลับมา
ผู้หมายเหตุเห็นว่าการริบทรัพย์เป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนั้น การพิจารณาว่าทรัพย์สินใดใช้ในทางกระทำความผิดหรือไม่จะต้อง ดูเจตนาของจำเลยหรือผู้ใช้กระทำความผิดด้วยว่ามีเจตนาจะใช้ กระทำความผิดหรือไม่ โดยพิจารณาจากเงื่อนไขต่อไปนี้
1. พิจารณาว่าหากไม่ใช้ทรัพย์สินนั้นแล้ว ไม่สามารถกระทำ ความผิดตามที่มุ่งหมายได้
1.1 ปัจจัยเกี่ยวกับความเร็ว เช่น การปล้นทรัพย์บนรถบรรทุก ขณะขับแล่นตามท้องถนน การที่จะปล้นทรัพย์ดังกล่าวได้จะต้อง ใช้ยานพาหนะขับแล่นตามเพื่อปีนขึ้นไปบนรถบรรทุก
ดังนั้น ยานพาหนะ ที่ขับแล่นตามจึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2521 จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำ ความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์รถยนต์บรรทุกสิบล้อที่บรรทุกสินค้า โดยพวกจำเลยขับรถยนต์กระบะตามหลังรถบรรทุกที่จะปล้นไปใน ระยะกระชั้นชิด แล้วจำเลยได้ปีนจากรถกระบะขณะแล่นตามหลังรถบรรทุก ขึ้นไปบนรถบรรทุก เห็นได้ว่าจำเลยได้ใช้รถกระบะเป็นยานพาหนะ เพื่อกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์รายนี้แล้ว
และถือได้ว่า รถยนต์กระบะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้กระทำความผิด
ศาลจึง มีอำนาจสั่งริบเสียได้
1.2 ปัจจัยเกี่ยวกับน้ำหนัก เช่น ลักทรัพย์สินซึ่งมีน้ำหนักมาก ไม่สามารถจะขนย้ายได้ด้วยกำลังคน
ต้องใช้ยานพาหนะขน เช่นนี้ ยานพาหนะก็เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึง การริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติ ถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น
เมื่อจำเลยใช้รถบรรทุกน้ำหนัก เกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่ จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด
ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุก นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ประกอบด้วยมาตรา
17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1712/2521 จำเลยขับรถยนต์บรรทุกโดยสาร ขนาดเล็กไปจอดท้ายรถจี๊ป ของผู้เสียหาย
เห็นมีถังน้ำมันอยู่
ท้ายรถ จำเลยกับพวกจึงร่วมกันลักถังน้ำมันจากท้ายรถจี๊ป
ดังกล่าว นำมาไว้ที่รถจำเลย
ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการลักทรัพย์
โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาเอาทรัพย์นั้นไป
ต้อง ด้วยเหตุฉกรรจ์ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 336 ทวิ
ข้อเท็จจริงในคดีนี้จำเลยลักน้ำมันบรรจุถังจำนวน
20 ลิตร ของผู้เสียหายไปน้ำมันจำนวน
20 ลิตรนี้จำเลยสามารถยกไปได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ยานพาหนะดังนั้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยใช้บรรทุกถัง น้ำมันของผู้เสียหายไปจึงมิได้เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แต่ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าถังน้ำมันที่บรรทุกมีขนาดบรรจุ
100 ลิตร ซึ่งจำเลยไม่สามารถที่จะนำไปได้ ดังนั้นหากใช้รถยนต์บรรทุกไป ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ รถยนต์จึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด
อย่างไรก็ตาม แนวคำพิพากษาศาลฎีกายังไม่ยอมรับหลักเกณฑ์นี้
คงถือแต่เพียงว่าเป็น ยานพาหนะที่บรรทุกน้ำมันไปเท่านั้น เช่นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2531, 2712/2532 เป็นต้น
1.3 หลีกเลี่ยงการตรวจจับกุม
เช่น หากเข้าออกตามช่องทางปกติ ที่ทางราชการจัดไว้เพื่อตรวจตราจะถูกจับกุม จึงต้องหลบหลีกไปทาง ด้านอื่นแต่ต้องใช้ยานพาหนะ เช่นนี้ยานพาหนะต้องเป็นทรัพย์สิน ใช้ในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1598/2521 จำเลยใช้เรือกาบของกลางเป็น พาหนะพาคนต่างด้าวสัญชาติลาวเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ในทางอื่นซึ่งมิใช่ช่องทางที่รัฐบาลได้ประกาศกำหนดให้คนต่างด้าว เข้ามาในราชอาณาจักร และไม่ผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยจำเลยได้รับเงินเป็นค่าจ้างจากคนต่างด้าว จำนวน 2,000 บาท เรือกาบพร้อมด้วยไม้พาย จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลย ใช้เพื่อให้รับผลในการกระทำความผิดโดยตรง
จึงเป็นของควรริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 33(1)
จากคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวหากจำเลยไม่ใช้เรือเป็น พาหนะพาคนต่างด้าวข้ามฝั่งมาแล้ว
ก็ไม่สามารถที่จะนำคนต่างด้าว ข้ามฝั่งมาได้ เรือและพาย จึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด อย่างไรก็ตามมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่มีข้อเท็จจริงคล้ายกัน
แต่ตัดสิน ไปอีกแนวหนึ่ง
คือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2536 ซึ่งวินิจฉัยว่า การกระทำผิดฐานช่วยคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
มาตรา 64 วรรคแรก เพื่อให้ พ้นการจับกุม โดยใช้รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะให้คนต่างด้าว นั่งมาในรถยนต์ของกลางด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็น ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยตรง
ไม่ริบรถยนต์ ของกลาง
1.4 ใช้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
หากไม่ใช้ก็ ไม่สามารถที่จะกระทำความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2875/2531 โทรทัศน์สีและเครื่องเล่น วีดีโอเทปที่จำเลยใช้เป็นเครื่องมือแพร่ภาพลามก
โดยจัดให้มีการ ฉายภาพยนตร์
วีดีโอเทปลามกเพื่อแสดงประชาชนและเรียกเก็บเงิน ประชาชนที่เข้าชม เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
อย่างไรก็ตาม ได้มีคำพิพากษาซึ่งมีข้อเท็จจริงคล้ายกันแต่ ตัดสินแตกต่างไปเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2792/2538 ซึ่งวินิจฉัยว่า เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้ดูมวยในวันหยุดเป็นบริการ แก่ลูกค้า ลูกค้าเล่นพนันกันจากรายการมวย
เครื่องรับโทรทัศน์นั้น เป็นเพียงเครื่องรับภาพ การแข่งขันชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ส่งภาพมาเท่านั้น หาทำให้โทรทัศน์ของกลางเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ในการท้าพนันผลการชกมวยไม่
จึงไม่ริบ จะเห็นว่า หากเจ้าของโทรทัศน์มีเจตนาให้ลูกค้าพนันชกมวยที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ โทรทัศน์น่าจะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเช่นเดียวกับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2875/2531
2. หากไม่ใช้ทรัพย์สินแล้ว จะไม่กระทำความผิด
2.1 ในการกระทำความผิดต้องมีบุคคลคอยคุ้มกัน
หากบุคคล ผู้คุ้มกันใช้ยานพาหนะถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำ ความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5845/2531 เมื่อรถยนต์ของกลางเป็น พาหนะที่จำเลยใช้คุ้มกันช่วยเหลือขณะทำการปล้นทรัพย์
และใช้นำตัว เจ้าทรัพย์ไปทำร้ายร่างกายระหว่างทำการปล้นทรัพย์ด้วย
รถยนต์ ของกลางดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
2.2 เมื่อกระทำความผิดแล้วหากไม่ใช้ทรัพย์สินก็ไม่สามารถ ได้รับประโยชน์จากการกระทำความผิดได้
เมื่อใช้จึงเป็นทรัพย์สิน ที่ใช้ในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2356/2530 จำเลยขุดทรายในแม่น้ำซึ่งเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาต
เป็นการทำลายหรือ ทำให้เสื่อมสภาพที่ทรายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน และรถยนต์ที่ใช้บรรทุกทรายซึ่งขุดได้จากแม่น้ำถือว่าเป็นยานพาหนะ ที่ได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด
จึงต้องริบ
2.3 หากไม่ใช้แล้วไม่สามารถจะหลบหนีได้ทัน
เมื่อใช้ก็เป็น ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
393/2530 ม. กระชากสร้อยคอขาดหลุดจากคอ ผู้เสียหาย ผู้เสียหายใช้มือจับยึดสร้อยคอของตนไว้ก่อน
ม. จึงแย่ง เอาไปไม่ได้ แล้ว ม.วิ่งไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งติดเครื่องจอดรถรออยู่ตามแผนการที่ร่วมกันวางไว้แล้วหลบหนีไป ดังนี้แม้สร้อยคอยังอยู่ที่มือ ม.
ตอนกระชาก เป็นการกระทำใน
ขั้นที่มุ่งหมายจะให้สร้อยขาดหลุดจากคอผู้เสียหายเท่านั้น ม. จะยึดถือเอาไปการที่ ม. จะยึดถือเอาสร้อยไปยังไม่บรรลุผล
จำเลยซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยจึงมีความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์ โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด
แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยไปในทางอื่นเช่นคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 234/2530 เป็นต้น
หากข้อเท็จจริงในคดีที่หมายเหตุนี้จำเลยกับพวกต้องการใช้ รถจักรยานยนต์บรรทุกยางแผ่นที่ลักของผู้เสียหายเนื่องจากไม่สามารถ แบกมาได้ หรือแบกมาได้แต่กลัวหนีไม่ทัน
รถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สิน ที่ใช้ในการกระทำความผิดได้
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานในกรณีที่พยาน เบิกความแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวน
หรือที่เรียกว่าพยาน กลับคำ หลักในเรื่องการรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนยิ่งกว่าคำเบิกความ ในชั้นศาลนี้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาจะต้องปรากฏว่า
คำเบิกความ นั้นมีเจตนาจะช่วยจำเลยให้พ้นผิด
หรือว่าคำเบิกความชั้นศาล ไร้เหตุผล ตรงกันข้ามกับคำให้การชั้นสอบสวนซึ่งประกอบชอบ ด้วยเหตุผล ในการเขียนคำพิพากษาคดีนี้ท่านผู้พิพากษาต้องหา เหตุผลในการวินิจฉัยหักล้างคำเบิกความของพยาน
ต่างจากการฟัง คำเบิกความในชั้นศาลแต่เพียงอย่างเดียว
เพราะกรณีหลังนี้จะเขียน คำพิพากษาได้ง่ายกว่าเพียงแต่ให้เหตุผลว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐาน มายืนยันว่า จำเลยกระทำความผิด ลำพังคำให้การชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยาน บอกเล่าไม่มีน้ำหนักรับฟัง จึงแสดงให้เห็นว่า
ท่านผู้พิพากษา ผู้เขียนคำพิพากษามีความมุ่งมั่นที่จะประสาทความยุติธรรม
ผู้เขียนหมายเหตุศิริชัย วัฒนโยธิน
มาตรา 34 บรรดาทรัพย์สิน
(1)
ซึ่งได้ให้ ตามความในมาตรา 143 มาตรา 144 มาตรา 149 มาตรา
150 มาตรา 167 มาตรา 201 หรือ มาตรา 202 หรือ
(2)
ซึ่งได้ให้ เพื่อจูงใจบุคคลให้กระทำความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัลในการที่บุคคลได้กระทำความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้น
เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่น ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
-
ริบตาม มาตรา 34 นี้ต้อง ”ให้” กันแล้ว (อก/535)
-
หาก “เตรียมไว้
เพื่อจะให้” ริบตาม มาตรา 33 (1) (อก/539)
มาตรา 35 ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน
แต่ศาลจะพิพากษาให้ทำให้ทรัพย์สินนั้นใช้ไม่ได้ หรือทำลายทรัพย์สินนั้นเสียก็ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1986/2523
ของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นเครื่องรับวิทยุ
และเสาอากาศเครื่องรับวิทยุสำหรับใช้ติดกับรถยนต์ ซึ่งเป็นของต่างประเทศที่ยังไม่เสียภาษีศุลกากร
จำเลยรับจ้างขนของดังกล่าว โดยรู้ว่าเป็นของต่างประเทศที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
โดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรเท่านั้น
ของกลางที่ศาลสั่งริบจึงเป็นทรัพย์ที่ยังไม่ควรทำลายตาม ป.อ.ม.35
มาตรา 36 ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา
33 หรือมาตรา 34 ไปแล้ว
หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของแท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของแท้จริง มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ก็ให้ศาลสั่งให้ “คืนทรัพย์สิน” ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน แต่คำเสนอของเจ้าของแท้จริงนั้นจะต้องกระทำต่อศาล
ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
-
การร้องขอคืนของกลาง
-
“รู้เห็นเป็นใจฯ” ไม่ต้องขั้นเป็นผู้สนับสนุน (เน 47/12/3)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 660/2508
คดีนี้กับคดีก่อนเป็นกรณีเดียวกัน ทรัพย์สินของกลางศาลพิพากษาริบแล้วในคดีก่อน
โจทก์กล่าวถึงทรัพย์สินนั้นมาในฟ้องคดีนี้ให้บริบูรณ์ และมิได้มีคำขออย่างใด
ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ใช่ของกลางคดีนี้ ดังนี้ ศาลไม่มีอำนาจที่จะพึงสั่งคืนให้จำเลย
และจะสั่งคืนได้ก็ต่อเมื่อมีคำเสนอของเจ้าของขอคืนในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 36
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1674/2520
จำเลยเรียกสินบน โจทก์ร่วมผู้ถูกเรียกกับตำรวจวางแผนให้เงินจำเลย
แล้วจับพร้อมด้วยเงินของกลาง เป็นการแสวงหาหลักฐานผูกมัดจำเลย
ถือเป็นการร่วมมือกระทำผิด หรือสนับสนุนไม่ได้
ไม่เป็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด จึงขอคืนเงินของกลางได้
โดยไม่ต้องอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ริบของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2001/2528
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอคืนของกลางมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ได้ขอถอนไป
โดยศาลยังมิได้วินิจฉัยสั่งคำร้องนั้น
ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอคืนของกลางรายเดียวกันอีกภายใน 1 ปี
นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3242/2531
การที่เจ้าของแท้จริงจะร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินตาม มาตรา 36
โดยอ้างว่าตนเองมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดนั้น
จะต้องเป็นกรณีที่ได้มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้วเท่านั้น เมื่อมิได้มีการฟ้องคดีต่อศาล
ผู้ร้องจึงจะมาร้องขอให้ศาลไต่สวน และมีคำสั่งให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องไม่ได้
-
องค์ประกอบ “คำร้องขอคืนทรัพย์”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1686/2516
ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยและให้รับของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนของกลางแก่ผู้ร้อง
โดยอ้างแต่เพียงว่าของกลางเป็นของผู้ร้อง ไม่ได้อ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ดังนี้ ไม่ชอบด้วย มาตรา 36 ศาลต้องยกคำร้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517
คำร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ถูกริบอ้างแต่เพียงว่า ของกลางเป็นของผู้ร้อง
มิได้อ้างว่าผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด เป็นคำร้องที่มิชอบด้วย
มาตรา 36 ศาลต้องสั่งยกคำร้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2643/2522
(1.ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่แท้จริง และ 2.ไม่รู้เห็นเป็นใจในการทำผิด)
คำร้องในการขอคืนทรัพย์สินที่ริบตาม
ป.อ.ม.36 นั้น ผู้ร้องต้องอ้างมาในคำร้องด้วยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่แท้จริง
และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ที่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่าการเคลื่อนย้าย หรือขนแร่ของกลางจากจังหวัดพังงา
ไปยังจังหวัดภูเก็ต ก็ได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมายทุกประการนั้น
ไม่อาจถือหรือแปลความหมายได้ว่า
ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่จำเลยกับพวกไปทำผิดกฎหมาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2596/2528
คำร้องบรรยายว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของผู้ร้องขอให้ศาลสั่งคืน
แต่ไม่บรรยายว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย
แม้จะอ้างว่ามีผู้อื่นนำของกลางไปฝากไว้ที่บ้านจำเลย
ก็ไม่อาจถือหรือแปลความหมายได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่จำเลยกระทำผิด
จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.อ. ม.36
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 52/2531
ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบจะต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ศาลจึงจะสั่งคืนทรัพย์สินที่ถูกริบให้แก่เจ้าของได้ คำร้องอ้างว่า
“มิได้มีส่วนร่วม” ในการกระทำความผิด ซึ่งมีความหมายต่างกับ “มิได้รู้เห็นเป็นใจ” ด้วยในการกระทำความผิด
ศาลยกคำร้องขอคืนทรัพย์ได้ โดยไม่จำต้องไต่สวน
-
การยื่นขอกันส่วน เท่ากับ
ขอคืนทรัพย์ หากไม่มีการฟ้องคดี จะขอคืนทรัพย์ตาม ม.นี้
ไม่ได้ (เน 47/15/10)
-
ผู้ร้องขอคืนทรัพย์
-
จำเลยจะเป็นผู้ขอคืนตาม ม.นี้ไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ผิด ศาลก็ไม่ริบ / ทรัพย์ ม.32
แม้จำเลยไม่ผิด ศาลก็ริบ (เน 47/15/8)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 169/2506
กระบือที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรและนอกทางอนุมัติ
ซึ่งจะต้องถูกริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ นั้น หากผู้ร้องได้รับโอนไว้
ภายหลังวันที่จำเลยกระทำความผิด ผู้ร้องย่อมมิใช่เป็นเจ้าของกระบือ
ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33,34
เพราะในวันที่จำเลยนำกระบือเข้ามา ผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของกระบือ ฉะนั้น
แม้ผู้ร้องจะรับโอนไว้โดยสุจริต ก็ไม่เป็นเหตุให้กระบือนั้น
พ้นจากการถูกริบนั้นไปได้ (เทียบ ฎ 119/2506 จำเลยโอนทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของกลาง
บุคคลภายนอกซื้อไว้โดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ มีสิทธิขอคืน)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 532/2513
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เมื่อศาลพิพากษาให้ริบแล้วย่อมตกเป็นของแผ่นดิน
การโอนให้แก่กันในภายหลัง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้ ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์
ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของที่แท้จริงอันจะร้องขอให้สั่งคืนได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1786/2517 ตาม มาตรา 36
ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ
ต้องเป็นเจ้าของอันแท้จริงในทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าซื้อรถยนต์ไม่ใช้เจ้าของแท้จริง
จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนเมื่อรถยนต์ถูกริบ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2690/2518 คำพิพากษาให้ริบไม้ของกลาง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาได้ แต่ร้องขอของกลางคืนตาม ม.36 ไม่ได้ ม.36
เป็นเรื่องที่คนอื่นผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของแท้จริงจะขอคืน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1892/2523
การที่ศาลจะสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอเป็นเจ้าของที่แท้จริง
และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง
ศาลก็สั่งคืนของกลางให้ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1790/2527
ตามสัญญาซื้อขาย
ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกันว่ากรรมสิทธิ์ในยานยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อ
ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจากผู้ซื้อเดิมมาอีกทอดหนึ่ง
ก็ต้องผูกพันตามสัญญานี้ด้วย เมื่อขณะจำเลยกระทำผิดหรือขณะที่ศาลพิพากษาคดีผู้ร้องยังชำระราคาไม่ครบ
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลาง จึงยังไม่โอนมาเป็นของผู้ร้อง
ผู้ร้องเพิ่งชำระราคางวดสุดท้ายในภายหลังนั้น จึงไม่มีอำนาจร้องของคืนของกลางได้
-
คำสั่งคำร้องที่ 1595/2528
ผู้ร้องขอรับของกลางคืนถึงแก่ความตายภริยาผู้ตาย ย่อมมีสิทธิขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ตาม
ป.ว.อ. ม.29
ในเมื่อคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแม้จะขอเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตายเกินหนึ่งปีก็ตาม
เพราะบทกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาไว้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1283/2530
เมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อจนผู้ให้เช่าซื้อยกกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางให้ผู้ร้องแล้ว
แม้จะยังไม่ได้โอนทะเบียน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ก็เป็นของผู้ร้อง โดยการแสดงเจตนาของผู้ให้เช่าซื้อ
เพราะทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์แต่เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกแก่การควบคุมรถยนต์เท่านั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 64/2531
ศาลสั่งให้คืนทรัพย์ของกลางแก่เจ้าของ
หากผู้ร้องเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริง
ก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคท้าย
ด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางในคดีเดิมตาม
มาตรา 36 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์ของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3070/2537
เดิมรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลมีคำสั่งให้ริบเป็นของ ว.ซึ่งจำเลยที่ 1
ไปติดต่อขอเช่าซื้อมา แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 มีเงินไม่พอ จึงไปติดต่อผู้ร้องเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อ
ผู้ร้องจึงได้ซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาจาก ว. และได้ให้จำเลยที่ 1
เช่าซื้ออีกทอดหนึ่ง ดังนี้
กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์จึงตกเป็นของผู้ร้องแล้ว
โดยผู้ร้องไม่จำเป็นต้องเอารถจักรยานยนต์เข้ามาอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องก่อน
และไม่จำต้องโอนใส่ชื่อผู้ร้องในคู่มือการจดทะเบียนด้วย ทั้งการทำสัญญาเช่าซื้อนี้ ก็มิใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินของจำเลยที่ 1 เพื่อไปซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย
เมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 173/2539
แม้ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางขณะจำเลยใช้รถดังกล่าวกระทำความผิด
แต่เมื่อผู้ร้องได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบก่อนที่ศาลจะสั่งริบ
ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถนั้นได้ และเมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ก็ต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1896/2540
ขณะจำเลยถูกจับกุมและศาลมีคำสั่งให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง ส. ผู้เช่าซื้อไม่ครบ
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกของกลางจึงยังเป็นของผู้ร้องอยู่
การที่รถยนต์บรรทุกของกลางถูกศาลสั่งริบ
ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายเพราะอาจจะไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจาก ส.
ได้อีก ดังนั้น จะถือว่าการที่ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียร่วมอยู่ด้วย
ส่วนการที่ผู้ร้องจะมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินคดีแทนนั้น ก็เป็นสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำได้
และการที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลยอย่างไรนั้น
ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น หามีผลถึงผู้ร้องด้วยไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3685/2541
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 36 แม้จะไม่ปฏิบัติไว้โดยตรง ห้ามจำเลยขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบก็ตาม
แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นเรื่องให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่จำเลยในคดีนั้น เท่านั้นที่จะมีสิทธิขอคืนทรัพย์สินของกลางที่ศาลสั่งริบ
โดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดมิใช่ให้สิทธิแก่จำเลยในคดีที่จะใช้สิทธิเช่นนั้นได้ด้วย
เพราะหากจำเลยเป็นเจ้าของอันแท้จริงในทรัพย์สินของกลาง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
จำเลยก็ย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณาคดีนั้น
เพื่อแสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดและมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลที่สั่งริบทรัพย์สินของกลางได้อยู่แล้ว
ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 1
ในคดีที่ศาลมีคำสั่งริบอาวุธปืนของกลางและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว
ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนอาวุธปืนของกลางได้
-
มาตรา 36 "ภาระการพิสูจน์" ในคดีร้องขอคืนของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1622/2509
ตามมาตรา 36 หน้าที่นำสืบพิสูจน์ย่อมตกอยู่แก่ผู้ร้อง
ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 184/2524
ศาลพิพากษาริบเรือและของกลางอื่นแล้ว
ผู้ร้องห้างว่ามิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
เป็นหน้าที่ผู้ร้องต้องนำสืบให้ศาลเชื่อเช่นนั้นมิใช่หน้าที่โจทก์ต้องสืบหักล้าง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 368/2535
การขอให้คืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม
ป.อ. มาตรา 36 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบแสดงให้ศาลเห็นว่า
(1) ผู้ร้องเป็นเจ้าของ และ (2) มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
เมื่อผู้ร้องแถลงไม่สืบพยาน
จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
-
การโอนทรัพย์สิน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 605/2510
ผู้ซื้อทรัพย์สินที่ถูกเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคดีอาญา
เพราะเป็นทรัพย์ที่จะพึงริบตามกฎหมาย
จะอ้างการโอนนั้นยันเจ้าพนักงานไม่ได้ /
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าเจ้าของทรัพย์ไม่รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ศาลก็ไม่สั่งคืนทรัพย์ที่ริบนั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 169/2506 กระบือที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร
โดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรและนอกทางอนุมัติ ซึ่งจะต้องถูกริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ นั้น
หากผู้ร้องได้รับโอนไว้ ภายหลังวันที่จำเลยกระทำความผิด
ผู้ร้องย่อมมิใช่เป็นเจ้าของกระบือ
ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดตาม มาตรา 33,34
เพราะในวันที่จำเลยนำกระบือเข้ามา ผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของกระบือ ฉะนั้น
แม้ผู้ร้องจะรับโอนไว้โดยสุจริต ก็ไม่เป็นเหตุให้กระบือนั้น
พ้นจากการถูกริบนั้นไปได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2041/2522
ศาลสั่งริบรถยนต์แล้ว
ผู้ที่ซื้อและโอนทะเบียนรถนั้นภายหลังโดยสุจริต ไม่ได้กรรมสิทธิ์
ร้องขอคืนรถยนต์ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 453/2539
( สบฎ เน 5) ผู้ร้องเป็นเจ้าของขณะที่ใช้ทำผิด
ระหว่างพิจารณา ผู้ร้องขายให้คนนอก เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบ
จักรยานยนต์ตกเป็นของแผ่นดิน บุคคลภายนอกไม่มีกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องซื้อคืนมาก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
ไม่มีสิทธิร้องขอคืน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1007/2543
รถของกลางที่ศาลให้ริบนั้น
ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อคดีถึงที่สุด ผู้ร้องชำระราคางวดสุดท้าย ก่อนคดีถึงที่สุด
ผู้ขายจึงสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง และถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของ
ขอคืนของกลางได้ (“ผู้ร้อง” และ “ผู้ขาย” มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ ในการกระทำความผิด
จึงสมควรคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง)
-
ประเด็นเรื่องการรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1865/2521
รู้เห็นเป็นใจไม่จำต้องร่วมกระทำผิดในที่เกิดเหตุ ผู้ร้องซึ่งขอเรือของกลางคืนรู้ว่าผู้เช่าใช้เรือจับปลาในแม่น้ำเป็นความผิดแต่ไม่ห้าม
หรือหาทางเลิกสัญญาเช่า ก็เป็นการรู้เห็นเป็นใจ ขอเรือที่ศาลริบคืนไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4117/2532
จำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้ร้องไปใช้กระทำความผิดโดยผู้ร้องรู้และมิได้บอกเลิกสัญญาแต่กลับรับชำระค่าเช่าซื้อต่อไปอีกพฤติการณ์ของผู้ร้องจึงเป็นเพียงประสงค์จะได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น
และการที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
ก็เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยที่จะได้รับรถยนต์ของกลางไปจากผู้ร้องในภายหลัง
อันถือได้ว่าเป็นการร่วมรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย
ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3134/2540
การที่จำเลยนำรถบรรทุกของกลางไปบรรทุกข้าวสารเกินกว่าปกติถึง 70
กระสอบแม้จะไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้สั่งให้จำเลยบรรทุกข้าวสารเที่ยวละกี่กระสอบ
แต่ก็นับว่าเป็นจำนวนมากคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นบาท
จึงไม่น่าเชื่อว่าผู้ร้องจะไม่ทราบ
เพราะผู้ร้องเป็นผู้จัดการโรงสีมีหน้าที่ต้องดูแลกิจการและรักษาผลประโยชน์ของโรงสี
เมื่อปรากฏว่าการขนข้าวสารไปส่งดังกล่าว
เป็นการขายให้แก่ผู้อื่นที่มีจำนวนยอดแน่นอน
มิใช่เป็นการขนข้าวสารไปเก็บยังสถานที่ของโรงสีเอง
กรณีเช่นนี้ย่อมจะต้องมีการตรวจนับจำนวนกันอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่โรงสี
จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ร้องจะปล่อยปละละเลยให้มีการขนข้าวสารขึ้นรถบรรทุกของกลาง
เกินกว่าจำนวนที่เคยบรรทุกตามปกติไปเป็นจำนวนมากเช่นนั้น พฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่าผู้ร้องย่อมรู้เห็นในการบรรทุกข้าวสารเกินจำนวนดังกล่าว
จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1589/2542
การที่ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้าน
จำเลยสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด
แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปใช้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการ
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปขับขี่แข่งขันกันในถนน ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 351/2543 จำเลยที่ 3 เป็นบุตรผู้ร้อง ทั้งรถจักรยานยนต์ของกลาง
ผู้ร้องซื้อมาเพื่อใช้ในการทำมาหากิน และรับส่งบุคคลในครอบครัวโดยให้จำเลยที่ 3
เป็นผู้ใช้ในการนำออกไปซื้อของและขับไปโรงเรียนบ้าง จึงพออนุมานได้ว่า
ผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการที่จำเลยที่ 3 จะนำรถจักรยานยนต์ของกลางออกไปใช้นัก
พฤติการณ์มีผลเท่ากับผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยที่ 3
นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่โดยไม่ขัดขวางดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3
อายุเพียง 17 ปี
อยู่ในวัยรุ่นวัยคะนองนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการขับแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาต
ย่อมถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่
5857/2543
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับแข่ง
แสดงให้เห็นว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์เป็นและขับเก่ง
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาไม่ทราบว่าจำเลยขับเก่ง
แสดงว่าไม่สนใจดูแลเอาใจใส่จำเลยซึ่งเป็นบุตรเท่าที่ควร
และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องใส่กุญแจลิ้นชักที่วางกุญแจรถจักรยานยนต์ไว้ให้ดี
เป็นเหตุให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปขับได้โดยง่ายเช่นนี้
ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2545
ทั้งคำว่า “รู้เห็นเป็นใจ” หมายความว่ารู้เหตุการณ์และร่วมใจด้วย
ส่วนคำว่า “ร่วมใจ” หมายความว่านึกคิดอย่างเดียวกัน
การรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงหมายความว่ารู้แล้วว่าจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิด
และมีความนึกคิดกระทำความผิดด้วย
-
การร้องขอคืนทรัพย์ “โดยไม่สุจริต”
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1865/2521
รู้เห็นเป็นใจไม่จำต้องร่วมกระทำผิดในที่เกิดเหตุ
ผู้ร้องซึ่งขอเรือของกลางคืนรู้ว่าผู้เช่าใช้เรือจับปลาในแม่น้ำเป็นความผิดแต่ไม่ห้าม
หรือหาทางเลิกสัญญาเช่า ก็เป็นการรู้เห็นเป็นใจ ขอเรือที่ศาลริบคืนไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4117/2532
จำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้ร้องไปใช้กระทำความผิด โดยผู้ร้องรู้
และมิได้บอกเลิกสัญญา แต่กลับรับชำระค่าเช่าซื้อต่อไปอีกพฤติการณ์ของผู้ร้อง
จึงเป็นเพียงประสงค์จะได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น
และการที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง ก็เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลย
ที่จะได้รับรถยนต์ของกลางไปจากผู้ร้องในภายหลัง
อันถือได้ว่าเป็นการร่วมรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย
ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4085/2539
แม้สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หากทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกยึดถูกริบ ไม่ว่าโดยเหตุใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันโดยมิต้องบอกกล่าวก่อนและผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างจนครบ
แต่ผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าว กลับยอมรับชำระค่าเช่าซื้ออีก 2 งวด
หลังจากรถยนต์ของกลางถูกยึดแล้ว และยอมผ่อนผันการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอีก
7 งวด ซึ่งเป็นเงินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับราคาเช่าซื้อทั้งหมด
แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะเลิกสัญญากับผู้เช่าซื้อ
และผู้ร้องต้องการจะได้ค่าเช่าซื้อตามสัญญาเท่านั้น การที่ผู้ร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว เป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1431/2543
ผู้ร้องในฐานะผู้ให้เช่าซื้อร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางที่ศาลสั่งริบเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ
เพื่อให้ผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์บรรทุกของกลางคืนไป หาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ร้องไม่
จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5085/2543 การริบทรัพย์สินเป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดหรือจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วยตาม
ป.อ. มาตรา 18 (5) ประกอบมาตรา 33(1) ฉะนั้น การคืนของกลางแก่เจ้าของทรัพย์ผู้สุจริต
หรือผู้ที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ถือเป็นข้อยกเว้นอันจะต้องพิจารณาโดยเคร่งครัด
เพราะเท่ากับเป็นการยกเว้นโทษดังกล่าวให้แก่จำเลยไปด้วยในตัว /
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ขับแข่งรถในทางอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ย่อมเป็นการผิดสัญญาเช่าซื้อ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถกรยานยนต์ของกลาง
จำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ร้องตามข้อสัญญาโดยต้องชดใช้ราคา
หากผู้ร้องต้องการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริตและตามความประสงค์หลักชดใช้ราคา
หากผู้ร้องต้องการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริต และตามความประสงค์หลักในการทำสัญญาเช่าซื้อ
ผู้ร้องควรที่จะเรียกร้องเอาการชำระหนี้
เรื่องราคาจากจำเลยให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อ
หาควรเรียกร้องเอารถจักรยานยนต์ของกลาง อันอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่จำเลยด้วยไม่
หรือนับเป็นการเบี่ยงเบน
ไม่เรียกร้องค่าเช่าซื้อเพื่อจะช่วยเหลือจำเลยมิให้ต้องรับโทษเต็มตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้
พฤติการณ์ของผู้ร้องเป็นการขอคืนของกลางโดยไม่สุจริต
-
การคัดค้านคำร้องขอคืนของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1263/2513
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ที่ศาลได้สั่งริบ
โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว แม้จะมิได้ยื่นคำร้องคัดค้าน ก็ยังถือว่าโจทก์ยอมรับว่าทรัพย์นั้น
เป็นของผู้ร้อง
และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดดังที่อ้างในคำร้อง หาได้ไม่ และการที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน
ถ้าศาลเห็นว่า ตามรูปคดีสมควรจะได้ฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบข้อวินิจฉัย
ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์สืบพยานได้ตามขอ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 18/2541
รถจักรยานยนต์ของกลางที่ถูกยึด
ยังมีรายการจดทะเบียนรถแสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถอยู่
พยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบว่าผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจึงมีพิรุธ
ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากจำเลย ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางอันแท้จริง
ที่จะมีสิทธิมาร้องขอคืนรถคันดังกล่าว
-
การอุทธรณ์ ฎีกา คำสั่งคำร้องขอคืนของกลาง
ในปัญหาข้อเท็จจริง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 211/2504
ถึงแม้ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วว่า ไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้าม จำเลยมีไว้เป็นความผิด
และให้ริบไม้ของกลางแล้วก็ดี เจ้าของไม้ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ขอคืนไม้ของกลาง
โดยอ้างว่าไม่ใช่เป็นไม้หวงห้าม เพราะขึ้นอยู่ในสวนของตนได้
เพราะเจ้าของไม้ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ คำพิพากษานั้นไม่มีผลผูกพันเจ้าของไม้
-
คำสั่งคำร้อง 438/2512 คดีที่ผู้ร้องขอคืนทรัพย์ที่ศาลสั่งริบนั้น
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำร้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง
ผู้ร้องจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิได้
ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 217, 219
-
คำสั่งคำร้องที่ 342/2519
ในกรณีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ
โดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของอันแท้จริง มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 นั้น
แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง
ผู้ร้องก็ฎีกาได้
-
คำสั่งคำร้องที่ 802/2527
ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2732/2527
พ.ร.บ.การพนันฯ ม.10 วรรค 2
ให้ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการริบเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพัน
โดยจะริบหรือไม่ริบก็ได้ ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 600 บาท และริบโต๊ะบิลเลียด
ไม้คิวและลูกบิลเลียดของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะไม่ริบของกลางเท่านั้น
จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย
โจทก์จะฎีกาขอให้ริบของกลางอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม
ป.ว.อ.ม.218
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 705/2529
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 ปี 6
เดือนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.ว.อ. ม.218
เมื่อศาลชั้นต้น
และศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจไม่ริบรถจักรยานสองล้อของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว
โจทก์ฎีกาขอให้ริบ จึงเป็นการใต้เถียงดุลพินิจของศาลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
-
กำหนดเวลาการร้องขอคืนทรัพย์
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5/2526
ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินตาม ป.อ.ม.36 ต้องกระทำภายใน 1 ปี
นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่ภายใน 14 วัน นับแต่ “วันขายทอดตลาด” เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดีอาญา
หาใช่การบังคับคดีตาม ป.ว.พ.ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3335/2527
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้กับผู้ร้องในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้
จำเลยให้การรับสารภาพ ผู้ร้องให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 4 กันยายน 2524
ให้โจทก์แยกฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ และในวันเดียวกันพิพากษาลงโทษจำเลยริบไม้และรถยนต์บรรทุกของกลาง
โจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2524 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ยกฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526
คำว่าวันคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.อ. ม.36 หมายถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์
เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบทรัพย์เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2524
โดยไม่มีการอุทธรณ์ คำพิพากษาจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2524
จึงเป็นการยื่นภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี
คำร้องจึงต้องห้ามตาม ม.36
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549 คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด"
ตาม ป.อ. มาตรา 36 ย่อมหมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์
ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้นกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกันแต่ฟ้องคดีคนละคราว
ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน รวมทั้งธนบัตรของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบไปแล้วในคดีหมายเลขแดงที่
2436/2542 ก่อนคดีนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบ
ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจึงพึงวินิจฉัยสั่งด้วย
เมื่อคดีหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ถึงที่สุด และผู้ร้องมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางถึงที่สุดแล้วเกิน
1 ปี คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
-
กฎหมายพิเศษ
-
ตามกฎหมายศุลกากร
กรณีขอคืนจากเจ้าพนักงาน หากเป็น “ยานพาหนะ” ต้องขอภายใน 60 วัน “ทรัพย์สินอื่น”
ต้องขอภายใน 30 วัน กรณีขอคืนจากศาลใช้ ม.36
ตามปกติ (เน 47/15/14)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2506
การสั่งริบไม้ของกลางในความผิดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ
ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา / ขนไม้ท่อนอันเป็นไม้หวงห้าม
ไม่มีรอยตราที่กฎหมายระบุไว้บรรทุกรถยนต์มาจากป่า อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.
ป่าไม้ฯ มาตรา 69 รถยนต์ที่ใช้ขนไม้ ย่อมเป็นยานพาหนะ ซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดต้องริบตาม
มาตรา 74 ทวิ.
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517 พ.ร.บ.ป่าไม้
มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ
จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา บุคคลภายนอกคดีย่อมใช้สิทธิตาม มาตรา 36
ขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ได้
มาตรา 37 ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ศาลกำหนด
ให้ศาลมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้
(1)
ให้ยึดทรัพย์สินนั้น
(2)
ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม หรือ
(3)
ในกรณีที่ศาลเห็นว่า
ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้แต่ไม่ส่ง
หรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้แต่ไม่ชำระ
ให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกินหนึ่งปี
แต่ถ้าภายหลังปรากฏแก่ศาลเอง
หรือโดยคำเสนอของผู้นั้นว่าผู้นั้นไม่สามารถส่งทรัพย์สินหรือชำระราคาได้
ศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไปก่อนครบกำหนดก็ได้
-
หากทรัพย์ไม่มีแล้วเช่น
สูญหายหรือถูกทำลาย หรือกรณีตกไปอยู่กับผู้อื่น จะขอริบหรือขอให้ชำระราคาไม่ได้
-
“ให้ยึด” นั้นใช้กับบุคคลนอกคดีได้
แต่ (2) “ให้ชำระราคาหรือยึดทรัพย์” และ
(3) “กักขัง” นั้นใช้กับบุคคลนอกคดีไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1375/2503
ศาลลงโทษปรับจำเลย ๆ ชำระค่าปรับบางส่วนแล้ว จำเลยขอให้ศาลสั่งคืนค่าปรับ
โดยจำเลยขอถูกกักขังแทนค่าปรับเช่นนี้ ศาลจะสั่งคืนค่าปรับให้จำเลยหาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 804/2505
อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย แต่จำเลยได้ขว้างทิ้งลงแม่น้ำ
ก่อนได้ตัวจำเลยมาสอบสวน ศาลย่อมไม่สั่งริบตามที่โจทก์ขอ
กรณีเช่นนี้โจทก์ก็จะขอบังคับให้จำเลยส่งปืนที่ทิ้งดังกล่าว
หรือให้จำเลยชำระราคาปืนนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 37 ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1587/2505
การที่ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินที่จะริบต้องมีตัวอยู่ไม่ว่าจะได้ยึดมาเป็นของกลางแล้วหรืออยู่ที่อื่น
ถ้าทรัพย์สินที่จะริบไม่มีตัวอยู่ เช่น ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือความมีอยู่ไม่ปรากฏ
ย่อมริบไม่ได้ และเมื่อริบไม่ได้ ก็จะใช้วิธีการตามมาตรา 37 ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 377/2506
เรื่องการริบทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น
มิได้ให้ริบเฉพาะทรัพย์ซึ่งนำมาอยู่ในอำนาจของศาลหรือเจ้าพนักงานเท่านั้น
แต่ได้มุ่งหมายถึงทรัพย์ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดเป็นสารสำคัญ
แม้ทรัพย์ของกลางที่เจ้าพนักงานคืนให้จำเลยไปแล้ว ศาลก็สั่งริบได้ตามมาตรา 37
-
(ขส พ 2516/ 7) จำเลยใช้ปืนยิงคน แล้วขว้างทิ้งลงแม่น้ำ อัยการฟ้องขอให้ริบปืน
ถ้าไม่ส่งให้ใช้เงิน ตาม ม 35 หมายความว่า ทรัพย์สินที่สั่งริบนั้น
มีอยู่อันจะพึงตกเป็นทรัพย์ของแผ่นดินได้ การที่ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินนั้น
ทรัพย์สินที่จะริบต้องมีตัวอยู่ ไม่ว่าจะยึดได้มาเป็นของกลางแล้วหรือที่อื่น
ถ้าทรัพย์ไม่มีอยู่ เช่นถูกทำลาย หรือสูญหาย หรือความมีอยู่ไม่ปรากฏ ย่อมริบได้
และเมื่อริบไม่ได้ ก็จะใช้วิธีการตาม ม 37 ดังที่โจทก์ขอไม่ได้ ฎ 804 ,
1587/2505
มาตรา 38 โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด
-
“โทษริบทรัพย์สิน” กรณีศาลสั่งริบ แล้วตาย ขอคืนทรัพย์ไม่ได้ เพราะตกเป็นของแผ่นดินตาม ม.35
แล้ว กรณีตาย ก่อนศาลสั่งริบขอคืนทรัพย์ได้ (เน
47/16/1)
-
”ค่าปรับ” ชำระแล้วตาย
ขอคืนไม่ได้ หากยังไม่ชำระศาลเรียกให้ชำระไม่ได้ (เน 47/16/1)
-
คดียอมความได้ ศาลอุทธรณ์หรือฎีกา
สั่งจำหน่ายคดี ก็เป็นอันระงับ ไม่ต้องสั่งยกฟ้อง (เน 47/16/1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น