ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๓๓๔ - ๓๓๖ ทวิ


-          ความรับผิดในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
-          & ผู้ร่วมกระทำผิดในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ อันเป็นการได้ทรัพย์นั้น ไม่ต้องรับผิดฐานรับของโจรอีก
-          & บางกรณี อาจเข้าลักษณะเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 2 ข้อหาได้ เช่น Ø ผู้ต้องหา K เอาทรัพย์ที่รับฝากไว้จากบุคคลหนึ่ง  ไปหลอกขายให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง = ผู้ต้องหา K ยักยอกทรัพย์  และฉ้อโกง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 199/2494 ฟ้องข้อ 1 หาว่าจำเลยหลอกลวงฉ้อโกงเอาทรัพย์ไปข้อ 2 ว่า เมื่อได้ทรัพย์ไป แล้วจำเลยก็ยักยอกเอาทรัพย์นั้นเสีย ดังนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หาว่าจำเลยยักยอกเอาทรัพย์ที่จำเลยฉ้อโกงไปนั้นเอง จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ฉะนั้นต้องถือว่า ฟ้องเช่นนี้เป็นฟ้องหาว่าจำเลยทำผิดฐานฉ้อโกงฐานเดียว / ฟ้องฎีกาของโจทก์ชี้แจงข้อเท็จจริงไปในทางความผิดฐานยักยอกและในฎีกาก็แสดงความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอก เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกแล้ว คดีก็ไม่มีทางลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามที่โจทก์ฎีกาได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 278-279/2501 ลงชื่อและประทับตราซึ่งไม่มีตัวจริงลงในหนังสือเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือ / หลอกว่า มีผู้ต้องการซื้อของ จึงขอรับของไปจำหน่ายแก่ผู้ที่ต้องการซื้อนั้น เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่ไม่ต้องด้วย ม.306 (4) / รับมอบทรัพย์ไปเพราะใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง การจำหน่ายทรัพย์นั้นต่อไป ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก / คำร้องขอแก้ฟ้องที่ศาลไม่ได้สั่งประการใดไม่เป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 159/2512 ผู้เสียหายปล่อยกระบือให้กินหญ้า กระบือตัวหนึ่งยังจับไม่ได้เพราะยังติดอยู่ในกระบือฝูงอื่นซึ่งอยู่บนเขาและเป็นทำเลเลี้ยง มิใช่กระบือเพริดไป จนพ้นการติดตามเช่นนี้ ตามกฎหมายต้องถือว่าผู้เสียหายยังครอบครองกระบือตัวนั้นอยู่ เพราะยังไม่ได้สละการครอบครอง ฉะนั้น การที่จำเลยยิงกระบือของผู้เสียหาย จึงเป็นการเอาไปโดยทุจริต และเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนการที่จำเลยชำแหละเนื้อกระบือเอาไป ก็เป็นการครอบครอง เพราะยึดถือเพื่อตน แต่เป็นผลภายหลังจากการที่จำเลยลักกระบือนั้นแล้ว ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรค 2
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1264/2513 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับข้าวเปลือกไว้จากผู้อื่นโดยรู้ว่าเป็นของร้ายอันได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือฉ้อโกงนั้น ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องครบองค์ความผิดฐานรับของโจรชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม / ข้อเท็จจริงฟังว่า จำเลยใช้ผู้อื่นไปลักทรัพย์หรือฉ้อโกงนั้น ถือว่าจำเลยเป็นตัวการด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ดังนั้น เมื่อจำเลยรับทรัพย์นั้นจากผู้ที่จำเลยใช้ ถือว่าเป็นการรับทรัพย์ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรรมอันเดียวกับความผิดฐานลักทรัพย์หรือฉ้อโกง ที่จำเลยเป็นผู้ใช้นั้นเอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2147/2517 จำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าจะขายแร่พลวงให้ และขอรับราคาค่าแร่ทั้งหมดกับขอรับกระสอบไปใส่แร่ด้วย โดยมีเจตนาทุจริตมาแต่แรกผลจากการหลอกลวงดังกล่าว ทำให้จำเลยได้รับเงินค่าแรง และกระสอบ 30 ใบไปจากผู้เสียหายในคราวเดียวกัน ดังนี้ แม้เงินค่าแรงจะเป็นทรัพย์สิน ซึ่ง เป็นวัตถุประสงค์อันสำคัญที่จำเลยมุ่งหมายหลอกลวงไปจากผู้เสียหาย ส่วนกระสอบนั้นจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งให้ เพื่อให้สมกับอุบายของจำเลยที่อ้างว่ามีแร่ที่จะขายให้เท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยได้กระสอบไปด้วยนี้ ก็ได้ไปจากการหลอกลวงผู้เสียหาย ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ว่าจะใส่แร่พลวงมาส่งให้ โดยจำเลยมิได้ตั้งใจจะนำกระสอบไปใส่แร่พลวง มาส่งให้แก่ผู้เสียหายเลย แสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกแล้วว่าจะหลอกลวงเอากระสอบ 30 ใบนี้ จากผู้เสียหายด้วยเหมือนกัน จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงกระสอบด้วย ส่วนการที่ผู้เสียหายเข้าใจว่าให้กระสอบแก่จำเลยไป ในลักษณะเป็นการยืมใช้คงรูปนั้น ก็เป็นความเข้าใจผิดของผู้เสียหายซึ่งถูกจำเลยหลอกลวงเพียงฝ่ายเดียว จำเลยหาได้ตั้งใจปฏิบัติตามที่ผู้เสียหายหลงเข้าใจไม่ และการที่จำเลยได้กระสอบไปจากผู้เสียหายเช่นนี้ เป็นการครอบครองอันได้มาจากการหลอกลวงผู้เสียหาย จึงมิใช่การครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น อันจะเป็นความผิดฐานยักยอก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 325/2520 จำเลยร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ รุ่งขึ้นจำเลยจูงกระบือที่ปล้นไปนั้น การจูงกระบือในวันรุ่งขึ้น ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจรขึ้นใหม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1205/2542 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352, 83 แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7297/2547 จำเลยบอกขายถังน้ำมันของกลาง ซึ่งวางอยู่ในที่ดินของผู้อื่นให้แก่ผู้ซื้อ โดยแจ้งแก่ผู้ซื้อว่าถังน้ำมันของกลางเป็นของจำเลย แต่ความจริงเป็นของผู้เสียหาย ผู้ซื้อตกลงซื้อถังน้ำมันของกลางแล้วได้ว่าจ้าง ส. ให้ขนถังน้ำมันของกลางไปไว้ที่สถานีบริการน้ำมันของผู้ซื้อ หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงชำระราคาให้แก่จำเลย โดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ (จำเลยผิดลักทรัพย์ต่อเจ้าของทรัพย์ และผิดฉ้อโกงต่อผู้ซื้อทรัพย์)

ประเด็นปัญหาในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
          & ผู้ต้องหา K เป็นลูกจ้างบริษัท  ตำแหน่งพนักงานขาย เมื่อมีการเลิกจ้างแล้ว ยังไปหลอก ลูกค้าของบริษัท รับเงินค่าสินค้ามาเหมือนทางปฏิบัติปกติ แล้วเบียดบังเอาไป ในระหว่างที่บริษัท  ยังไม่ได้แจ้งเรื่องการเลิกจ้าง ผู้ต้องหา K ให้ลูกค้าทราบ
          Ø ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831 ห้ามมิให้บริษัท  ตัวการ ยกเรื่องการระงับสิ้นไปของสัญญาตัวแทน อ้างต่อ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต บริษัท  ตัวการ จึงต้องผูกพันในผลแห่งการที่ ผู้ต้องหา K กระทำไป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 ประกอบมาตรา 823 ถือว่าผู้ต้องหา K รับทรัพย์ไว้แทนบริษัท  = ผู้ต้องหา K ยักยอกทรัพย์  และฉ้อโกง โดยการไปรับเงินค่าสินค้า เป็นการหลอกลวงว่าตนเองยังเป็นลูกจ้าง  และมีสิทธิรับเงินค่าสินค้าอยู่ หรือวินิจฉัยอีกทางหนึ่ง
          Ø ผู้ต้องหาเจตนาฉ้อโกง โดยได้หลอกลวง แต่การที่  ยังต้องผูกพันในสิ่งที่ ผู้ต้องหา K กระทำต่อ เท่ากับ ผู้ต้องหา K ได้ทรัพย์ไปจากอีกบุคคลหนึ่ง  โดยพลาดไป ตามมาตรา 60




ลักษณะ 12      ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
หมวด 1                        ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์

มาตรา 334     ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยทุจริต ผู้นั้นกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

-          ประเด็นพิจารณาผู้กระทำผิดคนเดียว
-          องค์ประกอบความผิด
-          เอาไป
-          วิธีการเอาไป (เอาไป เอาไปต่อหน้า - ชิงเอาไป - หลอกเอาไป ครอบครองอยู่แล้วเอาไป - เก็บได้)
-          ขั้นตอนการตั้งกรรมสิทธิ์
-          ทรัพย์” (ชิ้นเดียว หลายชิ้น)
-          ทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
-          ทรัพย์ของผู้อื่น
-          ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย (เอาไปขณะอยู่กับตนเอง เอาไปขณะอยู่กับผู้อื่น)
-          ทรัพย์ไม่มีเจ้าของ
-          โดยทุจริตเจตนาในการเอาทรัพย์ไป
-          เหตุฉกรรจ์
-          ทรัพย์สำคัญ / วิธีการ / เวลา / สถานที่ / การแต่งกาย / อาวุธ
-          ประเด็นพิจารณาเมื่อมีผู้ร่วมกระทำผิด
-          ผู้ร่วมกระทำผิดนั้น อยู่ในฐานะใด
-          ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ผู้รับของโจร หรือไม่มีส่วนต้องร่วมรับผิด
-          เหตุฉกรรจ์
-          จำนวนคน



-          ผู้กระทำมีเจตนาประสงค์ต่อทรัพย์ ในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1683/2500 จำเลยบังคับให้เขาขับรถยนต์ และขับรถของเขาไป เพื่อหนีมิให้ถูกทำร้ายและถูกจับ พ้นไปแล้วก็จอดรถทิ้งไว้ข้างทาง ไม่มีเจตนาจะถือเอารถคันนั้น ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 216/2509 จำเลยยอมให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีมีสิ่งตอบแทน แต่ผู้เสียหายผิดข้อตกลง จำเลยไม่พอใจ จึงได้ทำร้ายผู้เสียหาย แล้วเอาปืนผู้เสียหายไปทิ้งที่ปรักน้ำกลางทุ่งนา เพราะกลัวผู้เสียหายจะยิงเอาการเอาปืนไปทิ้งน้ำ โดยไม่นำเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์ การเอาปืนของผู้เสียหายไปทิ้ง จึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนไฟฉายนั้น ผู้เสียหายก็ให้จำเลยไปส่องทาง จำเลยเอาไป ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์เช่นเดียวกัน (จำเลยผิดฐานทำร้ายร่างกาย และทำให้เสียทรัพย์)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 528/2512 การที่จำเลยเอาทรัพย์ซึ่งมีผู้อื่นควบคุมดูแลแทนเจ้าทรัพย์ไป โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ครอบครอง และนำทรัพย์นั้นไปแต่อย่างไร จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 443/2515 จำเลยแอบเอารถของผู้เสียหายออกมา เพื่อจะขับไปกินข้าวต้ม แล้วจะเอากลับมาคืน แสดงว่าไม่มีเจตนาจะเอารถนั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2767/2516 จำเลยกับพวกขู่เข็ญและใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายซึ่งเคยเป็นภรรยาของจำเลย เพื่อให้ผู้เสียหายกลับไปอยู่กับจำเลยอีก แม้สร้อยคอของผู้เสียหายจะขาดติดมือจำเลยไป เมื่อจำเลยดึงคอผู้เสียหาย แล้วจำเลยเอาไว้โดยทุจริต จำเลยก็คงมีความผิดฐานลักทรัพย์เท่านั้น หามีความผิดฐานชิงทรัพย์ไม่ เพราะการขู่เข็ญ และใช้กำลังประทุษร้ายนั้น มิได้เป็นไปเพื่อให้ความสะดวกในการลักทรัพย์ พาทรัพย์ไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์หรือยึดถือทรัพย์นั้นไว้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 139/2521 (สบฎ เน 5630) ตำรวจยึดรถบรรทุกไม้ผิดกฎหมายไว้เป็นของกลาง จำเลยกับพวกมาขับเอาไป เพื่อช่วยให้ได้รถกลับคืน ไม่มีเจตนาทุจริตมาลักทรัพย์ (แต่อาจผิด ม 142 ได้)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 228-231/2521 จำเลยขู่เจ้าทรัพย์ ค้นตัวเอาเงินไป 160 บาท นาฬิกาข้อมือยึดรถจักรยานยนต์ไว้แล้วเรียกค่าไถ่ตัว ตกลงให้ภริยาเจ้าทรัพย์ไปเอาเงินค่าไถ่จำเลยคืนเงิน 160 บาทให้ภริยาเจ้าทรัพย์นำเงินกลับไปให้จำเลย จำเลยคืนนาฬิกาและจักรยานยนต์ให้ เสื้อกันฝนหายไป ดังนี้ นอกจากความผิดตาม ป.อ.ม.316 ยังเป็นความผิดตาม ม.340 ด้วย ที่จำเลยคืนเงิน 160 บาท ให้เป็นค่ารถไปเอาเงินกับคืนนาฬิกาและจักรยานยนต์ ไม่ใช่เรื่องไม่ประสงค์ต่อทรัพย์นั้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 965/2521 เอารถของผู้เสียหายไปทิ้งแม่น้ำ เป็นการเอาทรัพย์ไปโดยทุจริต เข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จำเลยเอารถของกลางไปทิ้งแม่น้ำ ก็เพื่อซ่อนมิให้ติดตามเอารถคืน ไม่พ้นความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1533/2521 (สบฎ เน 5630) จำเลยเอาไม้พื้นเรือนของโจทก์ร่วมไป 8 แผ่น เพื่อใช้จัดงานศพ "ชั่วคราว" ไม่เจตนาเอาไปเลย ไม่ผิดลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1892/2522 จำเลยฆ่าคนในเรือยนต์ แล้วเอาเรือท้ายตัดท้องแบนในเรือ ใช้เป็นพาหนะหลบหนี ไม่มีเจตนาลักทรัพย์ ไม่ผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1376/2522 เอาบานประตูของผู้อื่นไป โดยผู้ครอบครองทรัพย์อนุญาต ไม่เป็นการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้อื่น อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยทุจริตหรือไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2831/2525 จำเลยเข้าไปเอาหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในบ้าน รุ่งขึ้นก็เอาไปคืนสามีผู้เสียหาย พฤติการณ์ดังนี้น่าเชื่อว่ากระทำไปโดยถือวิสาสะว่าเป็นผู้คุ้นเคยกับสามีผู้เสียหาย เคยหยิบยืมของของสามีผู้เสียหายไปใช้แล้วนำมาคืน การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาที่จะลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1958/2526 เจตนาเป็นองค์ประกอบภายในของความผิดอาญาที่จะแสดงว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ อันเป็นมูลฟ้องในข้อหาบุกรุกลักทรัพย์ ของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจยกเจตนาของจำเลยขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ว่ากระบวนพิจารณาอยู่ในชั้นใด และจำเลยจะได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แล้วหรือไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2151/2529 จำเลยเป็นตำรวจเข้าเวรที่ป้อมได้รับมอบวิทยุสื่อสารแบบมือถือของกลาง ส่งมอบให้แก่ผู้เข้ารับเวรต่อจากจำเลย เพื่อกลั่นแกล้งเพื่อนไม่ให้มีวิทยุใช้นั้น ไม่ได้ทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากวิทยุ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยแต่อย่างใด อีก 8 วัน จึงได้นำไปส่งมอบแก่ ร.ต.ต.บ. เพื่อคืนให้แก่ทางราชการ มิได้เอาวิทยุของกลางไปโดยเจตนาทุจริต แม้ทางราชการจะได้รับความเสียหาย อันเกิดจากการไม่ได้ใช้วิทยุติดต่อราชการก็ตาม ก็ไม่เป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต ไม่ผิดตาม ป.อ.ม.335 (1)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2749/2529 ผู้เสียหายได้เสียเป็นสามีภริยากับจำเลย แต่อยู่บ้านคนละหลัง วันเกิดเหตุจำเลยให้ผู้เสียหายไปหาจำเลย แต่ผู้เสียหายไม่ไป จำเลยจึงนำรถจักรยานของผู้เสียหายไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลย เพื่อให้ผู้เสียหายไปพบจำเลย จำเลยไม่ได้เอารถจักรยานไปโดยเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4441/2530 จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินฉันสามีภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรสและทำงานอยู่โรงงานเดียวกัน จำเลยเป็นผู้ซื้อสร้อยคอทองคำให้ผู้เสียหาย บางครั้งจำเลยก็นำไปใส่ วันเกิดเหตุจำเลยทราบว่าผู้เสียหายจะไปเที่ยว จึงเข้าไปพบผู้เสียหายและพูดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายไปเที่ยว ผู้เสียหายไม่ยอมจะไปให้ได้ จึงเกิดการโต้เถียงกัน การที่จำเลยดึงเอาสร้อยคอทองคำดังกล่าวที่ผู้เสียหายใส่อยู่ขาดและเอาสร้อยคอไปด้วยความโมโหนั้น เจตนาของจำเลย เพียงแต่ไม่ต้องการให้ผู้เสียหายนำสร้อยคอทองคำติดตัวไปด้วยเท่านั้น จำเลยมิได้เอาสร้อยคอทองคำดังกล่าวไปโดยเจตนาทุจริต  การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6045/2531 ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ไม่นาน จำเลยเคยถูกนักเรียนโรงเรียนเดียวกับผู้เสียหายขู่บังคับเอาเข็มขัดไป การที่จำเลยขู่บังคับให้ผู้เสียหายถอดเข็มขัดให้ จึงเป็นเพราะความโกรธแค้นไม่มีเจตนาเป็นอย่างอื่น จำเลยมิได้ขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งนาฬิกาข้อมือ และแหวนนากที่ผู้เสียหายสวมใส่ในขณะเกิดเหตุให้ด้วย เข็มขัดที่จำเลยเอาไปมีราคาเพียง 50 บาท ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักเข็มขัดของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ การที่จำเลยขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งเข็มขัดแก่จำเลยนั้น เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้กระทำตามความประสงค์ของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพ ตาม มาตรา 309 วรรคแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2535 จำเลยนำรถยนต์ออกจากห้างผู้เสียหาย เพื่อไปทำความสะอาดตามหน้าที่ เสร็จแล้วได้นำรถไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวที่ต่างจังหวัด แต่รถเสียระหว่างทาง เป็นเหตุให้นำรถมาคืนผู้เสียหายไม่ เป็นการเอารถไปใช้ชั่วคราวเท่านั้น มิได้กระทำเพื่อเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายตลอดไป จึงมิใช่เป็นการกระทำที่ถือว่าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป อันจะผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1643/2535 จำเลยเอาปืนของผู้เสียหายไปเพื่อจะยิงทำร้าย ส. ซึ่งเป็นชู้กับภริยาของจำเลย ด้วยความบันดาลโทสะที่เห็น ส. นั่งอยู่กับภริยาของจำเลย มิได้มีเจตนาที่จะเอาปืนของผู้เสียหายไปเป็นของตนโดยทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1915/2543 ก่อนจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไป พูดว่าให้ผู้เสียหายไปเอารถจักรยานยนต์คืนที่โรงเรียนวัด บ. แสดงให้เห็นว่าต้องการนำรถจักรยานยนต์ไปใช้ชั่วคราว โดยตั้งใจจะคืนให้ภายหลัง มิได้กระทำเพื่อเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ตลอดไป มิใช่เป็นการกระทำที่ถือว่าเอาทรัพย์ขอผู้เสียหายไป อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7297/2547 จำเลยบอกขายถังน้ำมันของกลาง ซึ่งวางอยู่ในที่ดินของผู้อื่นให้แก่ผู้ซื้อ โดยแจ้งแก่ผู้ซื้อว่าถังน้ำมันของกลางเป็นของจำเลย แต่ความจริงเป็นของผู้เสียหาย ผู้ซื้อตกลงซื้อถังน้ำมันของกลางแล้วได้ว่าจ้าง ส. ให้ขนถังน้ำมันของกลางไปไว้ที่สถานีบริการน้ำมันของผู้ซื้อ หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงชำระราคาให้แก่จำเลย โดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ (จำเลยผิดลักทรัพย์ต่อเจ้าของทรัพย์ และผิดฉ้อโกงต่อผู้ซื้อทรัพย์)

-          ผู้กระทำได้การยึดถือ และทรัพย์เคลื่อนที่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1682/2500 (สบฎ เน 33) ล้วงกระเป๋า ได้ธนบัตรออกมา นอกกระเป๋าแล้วเจ้าทรัพย์ตบกระเป๋าถูกมือ ธนบัตรร่วง ผิดสำเร็จ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2507 จำเลยใช้ตะไกรตัดสร้อยคอ ของผู้เสียหายขาดจากกันและตกไปที่พื้นดิน แต่ยังมิได้เข้ายึดถือเอาสายสร้อยนั้นไป เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจร้องบอกให้ผู้เสียหายรู้ตัวและเก็บเอาสายสร้อยนั้นไว้เสียก่อน เป็นความผิดฐานพยายามหลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 965/2521 (สบฎ เน 5630) เอารถของผู้เสียหายไปทิ้งแม่น้ำ เป็นการเอาทรัพย์ไปโดยทุจริต เข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จำเลยเอารถของกลางไปทิ้งแม่น้ำ ก็เพื่อซ่อนมิให้ติดตามเอารถคืน ไม่พ้นความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2527 (เน 51/10/58) จำเลยมีเจตนาลักทรัพย์ สร้อยคอซึ่งบุตรของผู้เสียหายสวมอยู่ พอใช้กรรไกรตัดสร้อยนั้นขาดตกลงยังพ้นดิน ยังมิได้ยึดถือเอาสร้อย ก็มีคนบอกให้ผู้เสียหายรู้ และเก็บเอาสร้อยไว้เสียก่อน จะถือว่าจำเลยเอสร้อยนั้นไปยังไม่ได้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์เท่านั้น (การตัดสร้อย ก็เพื่อต้องการที่จะแยกเอาทรัพย์ออกจากสิ่งที่ติอยู่ คือคอมนุษย์ เพื่อจะทำให้มีอำนาจเหนือสร้อย แล้วจึงพาสร้อยนั้นไปได้ เมื่อตัดสร้อยลงพื้น แต่ยังไม่มีการเข้าไปขยับทรัพย์อีกครั้งหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงขั้นพยายาม)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 574/2527 จำเลยขึ้นไปบนต้นลำใย หักลำใยทิ้งกิ่งจากต้นใส่ในเข่ง เจ้าพนักงานจำจำเลย ขณะจำเลยอยู่บนต้น และกำลังหักกิ่งลำใยใส่เข่งอยู่เป็นการแยก หรือเคลื่อนที่ผลลำใยออกจากต้น และเข้ายึดถือเอาผลลำใยจำนวนนั้นไว้แล้ว อันเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหาย ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 8329/2540 การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ ภายหลังจากฆ่าผู้ตาย โดยจะขุดมาแบ่งกับพวก เมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่ เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์

-          ทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 755/2527 จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ทำไร่ แล้วจำเลยขุดเอาดินจากที่ดินนั้นไปขายโดยทุจริต จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ผิดฐานยักยอก เพราะการเช่าที่ดินนั้นผู้ให้เช่า ให้เช่าทรัพย์สินในสภาพที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินถูกขุดขึ้นมาแล้ว ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เช่า ดินที่ถูกขุดมาจึงคงอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5354/2539 จำเลยนำโทรศัพท์มือถือ มาปรับจูนและก๊อปปี้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหาย แล้วใช้รับส่งวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นเพียงการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายโดยไม่มีสิทธิ มิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3642/2540 จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุญาตหรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 เอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายไปซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ทราบดีแล้วว่าโฉนดที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย และยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจให้คำอนุญาตหรือยินยอมได้ เมื่อจำเลยที่ 1 “เอาโฉนดที่ดิน” ของผู้เสียหายไป ด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตาม ป.อ.มาตรา 335 (7) วรรคหนึ่งและมาตรา 83 (เทียบกับคดียักยอกโฉนด)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5423/2541 การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุด ดินที่ได้ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ โจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย ไม่ได้มอบการครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครอง ดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ดังนั้น การที่จำเลยเอาดินดังกล่าวไปขาย อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นความผิดอันยอมความกันไม่ได้ การที่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายตกลงอะไรกับจำเลย ภายหลังจำเลยกระทำความผิดแล้ว ก็ไม่ทำให้ความผิดฐานลักทรัพย์ระงับสิ้นไป
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1880/2542 (สบฎ สต 95) “สัญญาณโทรศัพท์คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูด เคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 8177/2543 จำเลยร่วมกับพวก ลักเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอันเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับวิทยุคมนาคม โดยจำเลยกับพวกนำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ปรับสัญญาณ และรหัสเลขหมายของโทรศัพท์ผู้อื่น มาใช้ติดต่อสื่อสารโทรออก หรือรับการเรียกเข้า ผ่านสถานีและชุมสายโทรศัพท์ระบบเซลลูลาร์ของผู้เสียหายนั้น เป็นเพียงการรับส่งวิทยุคมนาคม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ โดยไม่มีสิทธินั่นเอง จึงมิใช่เป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริต การกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง แต่จำเลยคงมีความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคมฯ
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545 สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ชุมสายประจำภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 310/2546 การที่จำเลยที่ 1 ลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคาร ก.ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าไม่สามารถเบิกถอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายในครั้งเดียวได้หมด เพราะมีข้อจำกัดของธนาคารเกี่ยวกับจำนวนเงินในการเบิกถอน เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 นำบัตรดังกล่าวไปเบิกถอนเงินในวันเวลาและสถานที่ต่างๆ กันหลายจังหวัด ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ต้องการใช้บัตรนั้นเบิกถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหายเป็นคราว ๆ ไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดลักทรัพย์หลายกรรมต่างกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม เบิกถอนเงิน 60 ครั้ง เป็นความผิด 60 กระทง เมื่อรวมกับความผิดฐานลักบัตรดังกล่าวอีก 1 กระทง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดรวม 61 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุก 20 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 91 (2) (þ ต่อมาปีเดียวกัน มี ฎ.5684/2546 วินิจฉัยข้อเท็จจริงทำนองเดียวกันว่าการถอนเงินของจำเลยเกิดจากเจตนาอันเดียวกันที่จะถอนเงินให้ได้มากที่สุดในครั้งนั้น จึงถอนเงินต่อเนื่องกันไป เป็นความผิดกรรมเดียว ý หมายเหตุ ฎ.5684/2546 หาไม่มีในเวป) / ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำผิดหลายกรรมรวม 62 กระทง จำคุกกระทงละ 4 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก กระทงละ 2 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุก 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 105,530 บาท และคืนรถยนต์กับ รถจักรยานยนต์ของกลางรวมราคา 558,800 บาท แก่ผู้เสียหาย หากไม่สามารถคืน รถยนต์และรถจักรยานยนต์ของกลางได้ให้ใช้ราคาแทน  ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิด 2 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 4 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 8 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 ปี ให้ จำเลยที่ 1 คืนเงิน 664,330 บาท แก่ผู้เสียหาย ให้ยกคำขอในส่วนที่ให้คืนรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิด หลายกรรมรวม 61 กระทง จำคุกกระทงละ 4 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 2 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุก 20 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5161/2547 เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือรับรองของบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น งบบัญชีกำไร-ขาดทุน และ สำเนาหนังสือเดินทาง เป็นเอกสารที่บุคคลสามารถไปขอตรวจสอบและขอคัดสำเนาได้จากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงไม่ถือเป็นความลับของบริษัทลูกค้าโจทก์ร่วมอันต้องปกปิด การที่จำเลยใช้เอกสารดังกล่าวปฏิบัติในหน้าที่ให้แก่โจทก์ร่วม เสร็จแล้วไม่นำกลับคืนแก่โจทก์ร่วม จึงไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหรือลูกค้าของโจทก์ร่วมต้องเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่น / ข้อมูล ตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า ข้อเท็จจริง หรือ สิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ส่วนข้อเท็จจริง หมายความว่า ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่จริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง ดังนั้นข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 481/2549 ลักกระแสไฟฟ้า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 699/2542 ของศาลชั้นต้น ได้ร่วมกันลักเอากระแสไฟฟ้า คิดเป็นมูลค่า 2,847 บาท ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอสังขะ ผู้เสียหายไปใช้ประโยชน์โดยทุจริต โดยจำเลยกับพวกร่วมกันแก้ไขดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งในบ้านของจำเลยกับพวกไม่ให้หมุน ทำให้ตัวเลขวัดการใช้กระแสไฟฟ้าชำรุดเสียหายไม่เคลื่อนที่ แล้วจำเลยกับพวกได้ใช้ไฟฟ้าโดยไม่เสียค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้เสียหาย เหตุเกิดที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 เจ้าพนักงานจับจำเลยได้ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 335 จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยเฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยมีว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์หรือเป็นความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องสรุปความว่า จำเลยกับพวกลักเอากระแสไฟฟ้าไปใช้ ด้วยการทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าไม่หมุน เพื่อให้ตัวเลขวัดการใช้ไฟฟ้าไม่เคลื่อนที่ ซึ่งก็ตรงกับข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจ พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่าจำเลยกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอากระแสไฟฟ้าของผู้เสียหายไปใช้โดยไม่เสียค่าไฟฟ้าเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำวินิจฉัย และตรงตามคำบรรยายฟ้องและคำขอให้ลงโทษของโจทก์แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น อย่างไรก็ดี ศาลฎีกาเห็นต่อไปว่า แม้การกระทำของจำเลยไม่สมควรรอการลงโทษให้ เพราะเป็นการลักทรัพย์อันเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกขั้นมูลฐานแก่ประชาชน แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจได้ความว่ามีการชดใช้ค่าเสียหายจนผู้เสียหายพอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยแล้ว จึงสมควรลงโทษจำเลยสถานเบากว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนด" พิพากษาแก้เป็นว่า ให้วางโทษจำคุก 1 ปี เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยรับโทษมาเกินกำหนดแล้ว จึงให้ปล่อยตัวไป (จำเลยกับพวกลักเอากระแสไฟฟ้าไปใช้ ด้วยการทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าไม่หมุน = ลักกระแสไฟฟ้า และทำให้เสียทรัพย์มิเตอร์)

-          ข้อหาลักทรัพย์ เกี่ยวกับความผิดในข้ออื่น เนื่องจากลักษณะของทรัพย์นั้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1567/2535 จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ลักเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม ของธนาคาร ก. นายจ้าง แล้วนำไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติของธนาคาร ก. กดเบิกเงินไปจำนวน 5,000 บาท แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ แต่ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคาร ก. นายจ้างเป็นคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 613/2540 (จำเลยปลอมลายมือชื่อของเจ้าของบัญชีเงินฝาก ในคำขอใช้บริการบัตร เอ.ที.เอ็ม. ต่อมาจำเลยได้ลักบัตรไปถอนเงินจากธนาคาร เป็นการลักเงินของธนาคาร ไม่ใช่ของผู้ฝากเงิน ธนาคารเป็นผู้เสียหาย (ใน ความผิดมาตรา 335 , 365 และ 368)) โจทก์ร่วมเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพ ตามมาตรา 672 เงินที่ฝากไว้ย่อมเป็นเงินของโจทก์ร่วม ผิดลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง ตาม ป..มาตรา 335 (11) 17 กระทง (ลักบัตร เอทีเอ็ม 1 ครั้ง ถอนเงิน 16 ครั้ง) และ มาตรา 264 และ 268 อีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 9/2543 การที่จำเลยเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปจากผู้เสียหาย แล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหาย โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภท และเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม Ø การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปนั้น เป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 188 Ø บัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไป ก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตรเอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหาย แล้วลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม

-          ประเด็นเปรียบเทียบ เรื่อง ทรัพย์ของผู้อื่น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 303/2503 การซื้อขายกระบือนั้น เมื่อยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.2482 มาตรา 14 และตาม ป.พ.พ. มาตรา456 กรรมสิทธิ์ในกระบือที่ขายจึงยังเป็นของผู้ขายอยู่ ผู้ขายเอากระบือนั้น มาจากผู้ซื้อเอาไปขายให้ผู้อื่นเสีย ยังไม่เป็นผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1093/2507 โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันฉ้อโกงโดยหลอกลวงโจทก์ ให้ทำสัญญาเช่าซื้อตัวถังรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อลงนามสัญญาเช่าซื้อและได้ต่อตัวถังรถยนต์นั้นขึ้น ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันลักรถยนต์ดังกล่าวซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของตัวถังรถ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานลักทรัพย์ ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากัน เป็นรถยนต์ชนิดมีตัวถังเป็นส่วนควบ ซึ่งตัวรถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้ออาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1316 วรรคหลัง ผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นเจ้าของตัวรถยนต์ จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว โจทก์หาใช่เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อเอารถยนต์นั้นไป จึงหาใช่เป็นการเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปไม่ จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 650/2510 จำเลยนำสร้อยคอของตนไว้กับผู้เสียหาย เพื่อเอาเงินมาเล่นการพนัน แล้วจำเลยกระชากสร้อยเส้นนั้นไปจากคอผู้เสียหาย ไม่เป็นผิดฐานลักทรัพย์ เพราะสร้อยเส้นนั้นเป็นของจำเลยเอง เมื่อไม่เป็นการลักทรัพย์ ก็ไม่อาจเป็นผิดฐานชิงทรัพย์ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1450/2510  โจทก์เช่าที่ดินซึ่งมีบ่อเลี้ยงปลา แต่โจทก์ได้ปิดกั้นบ่อ ปลูกต้นไม้ล้มลุก และล้อมรั้วลวดหนามไว้ ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินแปลงนั้น แต่โจทก์ยังคงครอบครองในฐานะเป็นผู้เช่า แล้วจำเลยไปวิดปลาในบ่อ ตัดต้นไม้ล้มลุกและรื้อรั้วลวดหนามเหล่านั้น จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 159/2512 (สบฎ เน 2111) กระบือกินหญ้า ติดอยู่ในกระบือฝูงอื่น ไม่ใช่เพริดไปจนพ้นการติดตาม ถือว่าผู้เสียหายยังครอบครองอยู่ เพราะไม่ได้สละการครอบครอง จำเลยยิงตายและชำแหละเนื้อ ผิดลักทรัพย์ ส่วนการชำแหละเนื้อเป็นผลภายหลังการลักกระบือ ไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ม 352 2
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 715/2515 โจทก์สูบน้ำออกจากหนองเพื่อจับปลา จนน้ำแห้งสามารถจับปลาได้แล้ว ย่อมถือได้ว่าปลาในหนองอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ไม่ว่าหนองนั้นจะเป็นหนองสาธารณะหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยใช้ปืนขู่ห้ามมิให้โจทก์จับปลาในหนอง แล้วสั่งให้พวกของจำเลยเอาปลาเหล่านั้นไป จำเลยย่อมมีความผิดฐานชิงทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3081/2527 ผู้เสียหายและจำเลยตกลงแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน แม้ว่าจะยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็ตาม แต่ต่างก็เข้าครอบครองที่ดินที่แลกเปลี่ยนกันนั้น เป็นสัดส่วนแล้ว เป็นเวลาประมาณ 20 ปี ผู้เสียหายย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่แลกเปลี่ยน โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.ม. 1382 ก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 ปี จำเลยได้ขอแลกเปลี่ยนที่ดินคืนตามเดิม แต่ผู้เสียหายไม่ยินยอม แสดงว่าจำเลยยอมรับสิทธิครอบครองของผู้เสียหายเหนือที่ดินซึ่งเคยเป็นของจำเลย การที่จำเลยเอาผลมะพร้าวจากต้นมะพร้าวจากต้นมะพร้าว ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งผู้เสียหายครอบครองไป จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง เป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต มีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3896/2528 รถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายคว่ำกะหล่ำปลี ที่ผู้เสียหายบรรทุกมาในรถยนต์ ตกอยู่บนถนน ผู้เสียหายไม่ได้มาเบิกความต่อศาล แต่ได้ให้การในชั้นสอบสวนว่าไม่ติดใจที่จะดำเนินคดี เพราะเห็นว่าเป็นของที่จะเสียหายเน่า นำไปจำหน่ายไม่ได้ ดังนี้ จำเลยเอากะหล่ำปลีนั้นไป ก็ไม่ผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4799/2533 คดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับ ท.ครั้น พ.ถึงแก่กรรม ท. ได้อาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าว เรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ทายาทของ พ.ไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่ตน แต่เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนให้ ท. ก็หาได้ใช้สิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 5 โอนให้ไม่ ท. เป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาท แทนทายาทของ พ. จนกว่าจะได้จดทะเบียนโอน  สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ยังเป็นของทายาทของ พ. ซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 5 ท. ไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่ ว. ว.จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ ว. โอนขาย ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่ทำให้โจทก์ผู้รับโอนมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า ว. ผู้โอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และลักทรัพย์ในที่ดินพิพาทของโจทก์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4208/2534 เหรียญกษาปณ์ที่ตกลงไปในช่องคืนเหรียญ เนื่องจากไม่สามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยังปลายทางได้นั้น ยังเป็นของผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะอยู่ การที่นาย พ. นำก้อนกระดาษไปอุดไว้ในช่องคืนเหรียญในตำแหน่งที่อยู่เหนือฝาปิดขึ้น เป็นเพียงการขัดขวางไม่ให้เหรียญกษาปณ์ ตกกลับลงไปถึงมือผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะที่รออยู่ โดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวยังคงติดค้างอยู่ในเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ ในลักษณะที่ง่ายแก่การมาล้วงเอาไปในภายหลัง ฉะนั้น ขณะที่เหรียญกษาปณ์ตกลงไปค้างอยู่บนก้อนกระดาษในช่องคืนเหรียญ ความผิดฐานลักทรัพย์ยังไม่สำเร็จ เพราะนาย พ. ยังไม่ได้เอาเหรียญกษาปณ์นั้นไป และการที่เจ้าของเหรียญกาษปณ์ออกจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ไม่ได้หมายความว่ามีเจตนาสละทิ้งเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างเพราะการสละกรรมสิทธิ์จะต้องกระทำด้วยความสมัครใจ มิใช่อยู่ในลักษณะที่ถูกขัดขวางการได้ทรัพย์คืน / จำเลยร่วมมือกับนาย พ. เข้าไปเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างอยู่ โดยจำเลยทำทีเป็นผู้ใช้โทรศัพท์พูดจาเพื่อกลบเกลื่อนไม่ให้ผู้อื่นสงสัย ระหว่างนั้นให้นาย พ. เขี่ยกระดาษที่อุดไว้จนเหรียญกษาปณ์ตกลงไปสู่มือของจำเลยและนาย พ. ที่รอรับอยู่เป็นการร่วมมือกันเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ที่ยังมีกรรมสิทธิ์นั้นอยู่ จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2780/2537 โจทก์ร่วมตกลงขายทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 กรรมสิทธิ์จึงโอนไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสามนำเอาทรัพย์นั้นไปจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3629/2538 ผู้เสียหายโดยสารรถยนต์ที่จำเลยเป็นผู้ขับส่งธนบัตรฉบับละ 100 บาท ให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าโดยสารเป็นเงิน 5 บาท ถือได้ว่าผู้เสียหายได้มอบการครอบครองธนบัตรฉบับละ 100 บาทให้แก่จำเลย การที่จำเลยไม่ได้ทอนเงินให้แก่ผู้เสียหายทันที หรือแม้จำเลยไม่มีเจตนาที่จะทอนเงินให้แก่ผู้เสียหายโดยเจตนาที่จะเอาเงินที่เหลือจำนวน 95 บาท เป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริตก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะเจตนาทุจริตเกิดขึ้นภายหลังที่ธนบัตรอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้ว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5422/2541 จำเลยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายการเงินของบริษัท ส. ให้ น. ลงชื่อในเอกสารว่าได้รับเช็คพิพาท แต่จำเลยยังยึดถือเช็คพิพาทไว้ ไม่ส่งมอบให้ น. ตัวแทนโจทก์ จึงยังไม่ถือว่าการครอบครองในเช็คพิพาทได้ผ่านมือไปยังโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

-          ทรัพย์ซึ่งยังไม่มีผู้เข้าถือครองเอา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 958/2509 บ่ออยู่ในลำรางสาธารณะ ซึ่งอยู่ติดต่อกับคลองระหว่างบ่อกับคลองมีร่องน้ำ ซึ่งร่องน้ำได้เป็นทางให้ปลาในบ่อกับในลำคลองเข้าออกถึงกันได้โดยอิสระ ปลาที่อยู่ในบ่อยังไม่ได้อยู่ในความยึดถือ หรือยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด แม้จำเลยจะได้จับเอาปลาไปจากบ่อ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1684/2513 หนองน้ำที่เกิดเหตุเป็นหนองน้ำสาธารณะกว้างยาวด้านละ1 เส้น ปลาเข้ามาในหนองเองตามธรรมชาติ โจทก์ขุดลอกหนองไว้กว้างยาวด้านละ 10 วา แม้จะมีเจตนาให้ปลาตกอยู่ในหนอง เมื่อฤดูแล้ง น้ำลดแล้ว แต่ก็มิได้ขุดเป็นบ่อต่างหาก หรือกั้นเขตเป็นสัดส่วน ปลายังอยู่ในหนองได้อย่างอิสระ จะถือว่าปลาเป็นของโจทก์ยังไม่ได้ ผู้อื่นเข้าจับปลาในหนอง จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2727/2537 รังนกในถ้ำตามเกาะเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกได้อันเป็นการได้รับผูกขาดจากรัฐบาลนั้น เมื่อยังมิได้เข้ายึดถือเอารังนก ตาม ปพพ ม 1318 การเก็บรังนก จึงไม่เป็นการลักทรัพย์ของผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6736/2541 ผู้เสียหายได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังเป็นผู้ผูกขาดให้เก็บรังนกได้แต่เพียงผู้เดียว ผู้เสียหายได้ปักป้ายแสดงห้ามเข้าเกาะไว้ และได้ส่งคนงานเข้าไปเก็บรังนกชนิดขาวในถ้ำที่เกิดเหตุไปเสร็จแล้ว ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุประมาณ 20 วัน คงเหลือแต่รังนกชนิดดำซึ่งติดอยู่ที่ผนังถ้ำตามธรรมชาติ ผู้เสียหายไม่ได้เก็บมารวบรวมไว้ และไม่มียามคอยเฝ้าดูแแลบริเวณถ้ำที่เกิดเหตุเหมือนในเวลาที่ผู้เสียหายทำการเก็บรังนกตามปกติ ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวรังนกอีแอ่นในถ้ำตามเกาะดังถ้ำ ของสถานที่เกิดเหตุคดีนี้จึงเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่ผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกอีแอ่น เป็นการผูกขาดจากรัฐบาล ผู้เสียหายมีสิทธิเพียงเข้าไปเก็บรังนกได้เท่านั้น แต่จะมีกรรมสิทธิ์ในรังนกอีแอ่นได้ ต้องมีการเข้ายึดถือเอา เมื่อผู้เสียหายยังไม่ได้เข้ายึดถือเอาซึ่งรังนกของกลาง ผู้เสียหายจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรังนกของกลางการกระทำของจำเลยทั้งเก้าที่ร่วมกันเอารังนกอีแอ่นที่ผู้เสียหายได้รับสัมปทานไป จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

-          คำชี้ขาดฯ 32/2539 (อัยการนิเทศ 2540 ฉบับที่ 3-4 หน้า 90) อัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า สำหรับความผิดฐานลักทรัพย์นั้น มีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้น คือ ลูกกอล์ฟของกลาง ที่ผู้เล่นกอล์ฟตีตกน้ำทิ้งไว้นั้น จะถือว่าเป็น ทรัพย์ของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานลักทรัพย์ หรือไม่ ทรัพย์ของผู้อื่น หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่ใช่ของผู้กระทำ และไม่ใช่ไม่มีเจ้าของ ในการเล่นกอล์ฟนั้น เมื่อผู้เล่นตีลูกกอล์ฟตกน้ำ และไม่อาจติดตามเอาคืน หรือหวงกันได้อีกต่อไป ถือว่าผู้เล่นเลิกครอบครองทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิ์ ลูกกอล์ฟดังกล่าว จึงเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่มีเจ้าของ

-          ทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1093/2507 โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันฉ้อโกงโดยหลอกลวงโจทก์ ให้ทำสัญญาเช่าซื้อตัวถังรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อลงนามสัญญาเช่าซื้อและได้ต่อตัวถังรถยนต์นั้นขึ้นต่อมามาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันลักรถยนต์ดังกล่าวซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของตัวถังรถ กรณีเป็นเรื่องเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากัน เป็นรถยนต์ชนิดมีตัวถังเป็นส่วนควบ ซึ่งตัวรถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้ออาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน ตาม ปพพ มาตรา 1316 วรรคหลัง ผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นเจ้าของตัวรถยนต์ จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว โจทก์หาใช่เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อเอารถยนต์นั้นไป จึงหาใช่เป็นการเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปไม่ จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2478/2528 การกระทำที่เจ้าของรวม จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ไปจากเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องได้ความว่าเจ้าของรวมผู้ลักมิได้ครอบครองทรัพย์อยู่ในขณะที่ลัก หากแต่ทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าของรวมคนอื่น และเอาไปจากการครอบครองของผู้นั้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1891-2/2536 เจ้าของรวม จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ไปจากเจ้าของรวมคนอื่น จะต้องได้ความว่าเจ้าของรวมผู้ลัก มิได้ครอบครองทรัพย์อยู่ การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ป.หุ้นส่วนกับชาวมาเลเซีย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองหองแครงร่วมอยู่ด้วย ใช้บุคคลอื่นไปตักหองแครง ซึ่งอยู่ในความครอบครองของตนเอง ไม่มีความผิดฐานใช้บุคคลอื่นลักทรัพย์

-          โดยทุจริต
-          เจตนาพิเศษ ใช้กับ เจตนาประสงค์ต่อผล ไม่ใช้กับ เจตนาย่อมเล็งเห็นผล (เรื่องชกหน้าคนใส่แว่น / เรื่องนักศึกษาขู่เอาเครื่องหมายโรงเรียน) “โดยทุจริตนี้ เป็นเจตนาพิเศษ ซึ่งผู้กระทำต้อง ประสงค์ต่อผลที่จะแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่นด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 935/2490 จำเลยเก็บปืนที่ตกไว้ เมื่อเจ้าของตาม ก็รับว่าได้เก็บไว้แล้วเช่นนี้ ถ้าไม่มีเจตนาทุจจริตในการเอาทรัพย์นั้นไป ก็ยังไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพียงแต่การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยไม่มีใครอนุญาตนั้นจะถือว่าเป็นการทุจจริตยังไม่ได้.
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1977/2497 การที่จำเลยสมคบกันใช้อาวุธและวาจาขู่เข็ญให้เจ้าทรัพย์จ่ายเงินค่าสลากกินรวบซึ่งจำเลยถูกสลากและเจ้าทรัพย์เป็นเจ้ามือนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยมุ่งหมายจะเอาทรัพย์ที่จำเลยเข้าใจว่าจำเลยควรจะได้ ไม่มีเถยยจิตต์จะลักทรัพย์ ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์.
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 427-430/2500 ต้นฉำฉาปลูกอยู่ในที่ดิน เป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน แต่ครั่งเป็นแมลงซึ่งคนนำไปปล่อยไว้ที่ต้นฉำฉา ไม่ใช่ส่วนควบหรืออุปกรณ์ของต้นฉำฉา ผู้ที่ปล่อยครั่งเพาะไว้ ย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น จำเลยตัดครั่งในที่ดินของโจทก์ โดยจำเลยพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินกับโจทก์ การตัดกิ่งฉำฉา จำเลยไม่มีเจตนาทุจริต แต่การเอาครั่งไป ถ้าจำเลยรู้ว่าเป็นครั่งของโจทก์โดยเจตนาลัก จำเลยก็อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 791/2502 จำเลยกับพวกได้พูดกับเจ้าของม้า ขอลองกำลังม้า อ้างว่าเพื่อนของจำเลยจะซื้อ เจ้าของม้ายังไม่ทันอนุญาต จำเลยยัดเยียด ส่งบังเหียนให้เพื่อนของจำเลยขี่ม้ามานั้น แล้วตีม้าเร่งฝีเท้าหนีไปต่อหน้า ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 279/2503 ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นเรื่องเอาทรัพย์ของคนอื่น หรือเอาทรัพย์ของคนอื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยไปโดยเจตนาจะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์ไปโดยเจตนาเป็นอย่างอื่น ก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 965/2521 (ขส อ 2523 / 8) นายน้อยเอารถจักรยานยนต์ไปทิ้งไว้ในแม่น้ำ เพื่อไม่ให้เจ้าของทรัพย์หาพบ เป็นการครอบครองอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นการเอาไปโดยทุจริต มีความผิดฐานลักทรัพย์ ม 335 (1)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2586/2525 ผู้เสียหายตกลงขายนาพิพาทให้จำเลยแล้ว ต่อมาได้บอกเลิกการขาย โดยยินยอมให้จำเลยเกี่ยวข้าวในนา และวิดน้ำเอาปลาในบ่อที่นาพิพาทของผู้เสียหายไป จึงไม่เป็นการกระทำผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3772/2529 จำเลยกับผู้เสียหายเป็นคู่เขยกัน การที่จำเลยเข้าไปในบ้านและเอาปืนผู้เสียหายไปเพื่อเฝ้าข้าวในนา ก็โดยถือวิสาสะในความเป็นญาติดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3887/2529 จำเลยมีทะเบียนรถแสดงว่าจำเลยรับโอนรถจักรยานยนต์คันพิพาทจากเจ้าของ ก่อนจะนำรถไป จำเลยได้บอกกับโจทก์ว่ารถเป็นของจำเลย และเอาทะเบียนรถให้ดู ดังนี้ จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่ารถเป็นของจำเลย และเอารถไปจากความครอบครองของโจทก์โดยขาดเจตนาทุจริต จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ.ม.336
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2145/2531 จำเลยจูงรถจักรยานยนต์ของบุคคลอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดไว้ ไปจากที่จอดรถหน้าสถานีตำรวจ โดยไม่มีเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดได้ว่ารถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นของจำเลย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตามไปทัน ขณะจำเลยกำลังจูงรถจักรยานยนต์อยู่  จำเลยก็ไม่ได้โต้เถียงว่าเป็นรถของจำเลย เจ้าหน้าที่ตำรวจขอดูใบอนุญาตขับขี่และสำเนาทะเบียนรถ จำเลยก็ไม่มีแสดง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปโดยเจตนาทุจริต
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 430/2532 จำเลยถอดเอาแหวนและตุ้มหูของผู้เสียหาย โดยจำเลยบอกกับผู้เสียหาย ว่าถ้ามีแหวนและตุ้มหูติดตัวอาจมีเงินหลบหนีได้ แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาเพียงที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายหลบหนี หามีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายเป็นประโยชน์ส่วนตัวไม่  จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1337/2532 (สบฎ เน 42) ผู้เสียหายขับรถยนต์โดยสารไปส่งคนโดยสารที่ปลายทาง เมื่อจอดรถให้คนโดยสารลงแล้ว จำเลยเดินตรงมาตบหน้าผู้เสียหาย 1 ที ผู้เสียหายเปิดประตูลงจากรถเพื่อจะชกจำเลย จำเลยขึ้นไปบนรถขับรถแล่นวนไปวนมาในบริเวณที่เกิดเหตุประมาณ 5 นาที แล้วขับไปจอดทิ้งไว้ในทุ่งนาซึ่งมีป่าละเมาะ ห่างจากถนนประมาณครึ่งกิโลเมตร และห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 2 กิโลเมตร ประกอบกับจำเลยได้หลบหนีไปอยู่ที่อื่น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยตบหน้าผู้เสียหาย เพื่อการอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) ถึง (5) จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์คงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายตามมาตรา 391 กระทงหนึ่งและฐานลักทรัพย์ตามมาตรา  334 อีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2549/2532 (สบฎ เน 96) จำเลยทวงค่าแรงจากผู้เสียหายไม่ได้ จึงโกรธและใช้มีดเหลียนฟันพยายามทำร้ายผู้เสียหาย แล้วเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป มิใช่เป็นการฟันผู้เสียหาย เพื่อความสะดวกหรือเพื่อเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป การเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป เกิดขึ้นหลังจากการทำร้ายร่างกายขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ / แม้จำเลยเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป เพื่อยึดเอาไว้ให้ผู้เสียหายไปจ่ายค่าแรงบุตรชายจำเลย แล้วจำเลยจะคืนให้ ก็ถือได้ว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาทุจริต อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะจำเลยไม่มีอำนาจเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยพลการได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4792/2533 ฝ่ายจำเลยกับฝ่ายผู้เสียหาย ต่างเป็นนักเรียนอาชีวะ ในระยะเกิดเหตุนักเรียนอาชีวะ มีเรื่องตีกันบ่อย แต่ไม่มีเจตนาที่จะปล้น หรือฆ่ากันวันเกิดเหตุ เป็นเวลากลางวันและเหตุเกิดที่สถานีรถไฟ ซึ่งปกติมีผู้คนพลุกพล่าน จำเลยที่ 1 แต่งกายนักเรียน พร้อมกับพวกเมาสุรา เข้ามาหาผู้เสียหายไปหาเรื่องเพื่อนจำเลยที่ 1 เมื่อผู้เสียหายปฏิเสธ จำเลยที่ 1 ได้ล้วงเอามีดออกมาจากกระเป๋าย่าม ทำท่าจะฟันผู้เสียหายจำเลยอื่นห้ามไว้ จำเลยที่ 1 จึงเก็บมีด และดึงเอาปากกาและกระเป๋าของผู้เสียหายไป แล้วพูดว่าอยากได้ของ ก็ตามมาเอา จำเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้หลบหนีไปไหน คงอยู่ที่สถานีรถไฟ จนกระทั่งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 กระทำไปด้วยความคะนองเพื่อแสดงอวดให้เพื่อน ๆ เห็นเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาเอาทรัพย์สิน ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1942/2538 จำเลยและพวกกับผู้เสียหายทั้งสี่เป็นนักศึกษาต่างสถาบัน ซึ่งมีเรื่องยกพวกทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำ ในขณะที่สวมเครื่องแบบนักศึกษา แม้ไม่เคยรู้จักกัน จำเลยกับพวกมีอาวุธปืน มีด และก้อนหินขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสี่ ให้ถอดเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัด ซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อย ผู้เสียหายทั้งสี่กลัวจึงยอมทำตาม จำเลยและพวกย่อมไม่สามารถนำเสื้อฝึกงาน และหัวเข็มขัดดังกล่าวไปใช้ หรือแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้ จึงเป็นการกระทำโดยมิได้มุ่งประสงค์ต่อผล ในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง มิได้มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่น หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ทำไปด้วยความคะนอง ตามนิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อย เพื่อหยามศักดิ์ศรีของนักศึกษาต่างสถานศึกษาเท่านั้น เป็นการกระทำที่ขาดเจตนาลักทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้กระทำตามที่จำเลย และพวกประสงค์โดยทำให้กลัวว่า จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายทั้งสี่ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 519/2540 พฤติการณ์แห่งคดี ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเอาอวนของผู้เสียหายไปโดยสำคัญผิด ว่าเป็นอวนของตนเอง หรือเป็นการเอาไปโดยถือวิสาสะ หากแต่เป็นการเอาไปในลักษณะแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1147/2540 จำเลยเอาวิทยุมือถือของผู้เสียหายไปโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของผู้เสียหายเพราะขณะนั้นผู้เสียหายนอนหลับ แม้จำเลยจะรู้จักกับผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยและผู้เสียหายมีความสนิทสนมกันถึงขนาดที่จำเลยสามารถหยิบฉวยสิ่งของของผู้เสียหายไปได้โดยพลการ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเอาวิทยุมือถือของผู้เสียหายไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง / การที่จำเลยลักเอาเครื่องวิทยุไปเป็นความผิดสำเร็จกระทงหนึ่ง และเมื่อครอบครองเครื่องวิทยุนั้นต่อมา ก็ย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องวิทยุมือถือโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดกระทงนี้ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3670/2542 ผู้เสียหายฟ้องจำเลยทั้งสองขอแบ่งนามมรดกและข้าวเปลือกเหนียวที่เก็บเกี่ยวได้จากนาพิพาท ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองได้ไปตกลงกันที่สถานีตำรวจว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไม่เอาข้าวเปลือกเหนียวที่ได้จากการทำนาพิพาทไปขาย  แต่ยอมให้แต่ละฝ่ายเอาไปสีรับประทานได้ ผู้เสียหายทำผิดข้อตกลงดังกล่าว โดยผู้เสียหายเอาข้าวเปลือกเหนียวจำนวน 50 ถุงปุ๋ย ไปให้ น. เพื่อเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ผู้เสียหายยืมจาก น. มา จำเลยทั้งสองจึงปิดยุ้งข้าวพิพาท การกระทำของจำเลยทั้งสองก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์พิพาทซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีนั่นเอง ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าจำเลยทั้งสองจะได้กวาดข้าวเปลือกข้าวเหนียวไปกองรวมไว้ในยุ้งข้าวด้วยก็ตาม พฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ขาดเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5164/2542 จำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ก็ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัดรางม่วง และกระทืบจนหลอดไฟแตก แล้วยกป้ายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์เข้าไปวัดถ้ำสิงโตทองนั้น แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรก ต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์ อันสืบเนื่องมาจากความไม่พอใจวัดรางม่วง การเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าว กระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้น ในวาระเดียวเกี่ยวพันกัน โดยไม่ขาดตอน จึงมิใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง จำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาจะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวเป็นของตน หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย มิใช่เกิดจากเจตนาทุจริต ไม่ผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 200/2544 จำเลยขายรถยนต์และเครื่องนวดข้าวให้โจทก์ จำเลยกับพวกไปหาโจทก์ที่บ้าน แต่ไม่พบ แต่ได้บอกภริยาบุตร แล้วได้ยึดรถยนต์และเครื่องนวดข้าวกลับไปเก็บ เพราะโจทก์ยังชำระเงินส่วนที่เหลือไม่ครบ เป็นการใช้อำนาจบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้โดยพลการ มิได้ดำเนินการฟ้องร้องบังคับให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเจตนาให้ใช้หนี้ หาได้มีเจตนาลักเอาไปโดยทุจริตไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4882/2550 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336, 336 ทวิ ให้จำเลยคืนสร้อยคอทองคำส่วนที่เหลือหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 1,250 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน กับให้จำเลย คืนสร้อยคำทองคำส่วนที่เหลือหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 1,250 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง แต่ให้จำเลยคืนสร้อยคอ ทองคำส่วนที่เหลือหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 1,250 บาท แก่ผู้เสียหาย โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว โจทก์มีผู้เสียหาย และนายสุรชัย ปิดตะคุ สามีผู้เสียหาย เบิกความยืนยันตรงกันว่า จำเลยเข้าไปดึงสร้อยคำทองคำของ ผู้เสียหายที่สวมอยู่ ทำให้สร้อยคอทองคำขาด แต่ผู้เสียหายสร้อยคำทองคำ ส่วนที่มีจี้กางเขนไว้ได้ สามีของผู้เสียหายจะเข้าไปช่วยเหลือก็ไม่ทัน จำเลยจึงได้ สร้อยคำทองคำของผู้เสียหายไปครึ่งหนึ่ง ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นสร้อยคอ ทองคำที่บิดามอบให้ผู้เสียหาย แต่จำเลยก็ไม่ยอมคืน และนายสุรชัยได้เบิกความ ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า สร้อยคอทองคำที่จำเลยกระชากไปได้นั้นจำเลยเอาไปด้วย เพราะจำเลยชูให้ดู สร้อยคอทองคำดังกล่าวไม่ได้ตกหล่นอยู่ในร้าน นอกจากนี้โจทก์ ยังมีร้อยตำรวจเอกเสกสรร บุญยรัชนิกร พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า ผู้เสียหายนำสร้อยคอทองคำครึ่งเส้นที่แย่งจากจำเลยได้มามอบให้ไว้เป็นของกลาง พยานได้ถ่ายภาพสร้อยคำทองคำที่ผู้เสียหายแย่งคืนตามภาพถ่าย ได้ทำบัญชีทรัพย์ ถูกประทุษร้ายไม่ได้คืน และได้ทำบันทึกคำให้การของผู้เสียหายซึ่งยืนยันว่าจำเลย ได้กระชากสร้อยคำทองคำของผู้เสียหายไปบางส่วนตามบันทึกคำให้การร้อยตำรวจเอก เสกสรรได้บันทึกคำให้การดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย ดังนั้นโจทก์จึงมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารที่สอดคล้อง ต้องกันว่า จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย และเอาสร้อยคอทองคำของ ผู้เสียหายดังกล่าวไปได้ครึ่งเส้น ที่จำเลยเบิกความว่า จำเลยไม่ได้กระชากสร้อยคอ ของผู้เสียหาย จำเลยเพียงกระชากคอเสื้อผู้เสียหายนั้น เห็นว่าค่อนข้างเลื่อยลอยยัง ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้กระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปครึ่งเส้น คดีมีปัญหาต่อไปว่า จำเลย มีเจตนาลักสร้อยคอทองคำครึ่งเส้นของผู้เสียหายไปหรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยไปหา ผู้เสียหายโดยมีเจตนาเพื่อทวงหนี้ที่ผู้เสียหายค้างชำระ โดยก่อนเกิดเหตุจำเลย พยายามยกถังแก๊สที่ผู้เสียหายใช้หุงต้มในการขายก๋วยเตี๋ยวไปเพื่อการชำระหนี้ แต่จำเลยเอาไปไม่ได้ เพราะสามีผู้เสียหายไม่ยอมให้เอาไป ต่อมาจำเลยกับผู้เสียหาย ก็โต้เถียงกันอีกเรื่องที่ผู้เสียหายไม่ชำระหนี้ให้จำเลยทำให้จำเลยโกรธแค้น จึงเข้า กระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายและเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปครึ่งเส้น แม่เพื่อชดเชยที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ แต่การบังคับชำระหนี้ก็ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย มิใช่กระชากสร้อยคอทองคำครึ่งเส้นของผู้เสียหายไปโดยพลการ ทั้งมูลหนี้ที่จำเลยมาทวงผู้เสียหายนั้น ผู้เสียหายเบิกความว่าเกิดจากหนี้การพนัน หวงใต้ดิน ซึ่งจำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงเป็นมูลหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่ผู้เสียหายพึงชำระ และแม้จำเลยเบิกความ ว่าเป็นหนี้เงินยืม จำเลยก็รับว่าที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ก็เพราะไม่มี ลายมือชื่อของผู้เสียหาย หนี้กู้ยืมเงิน 2,000 บาท ของผู้เสียหายจึงไม่มีหลักฐานแห่ง การกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ยืม จำเลยย่อมฟ้องร้องบังคับคดี ไม่ได้ กรณีจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะฟ้องร้องบังคับคดีต่อผู้เสียหายได้ด้วย ดังนั้น การ กระชากสร้อยคอคร่งเส้นของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการเอาไปโดยทุจริต เพื่อแสวงหา ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยขับรถยนต์ไปพบผู้เสียหายเพื่อทวงหนี้ แต่ผู้เสียหาย ไม่ยอมชำระหนี้ได้เกิดโต้เถียงกัน จำเลยจึงกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายไปได้ ครึ่งเส้นเพื่อบังคับชำระหนี้แล้วขับรถยนต์ออกไปบริเวณที่เกิดเหตุนั้น ยังฟัง ไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการ พาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อพ้นการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ส่วนที่จำเลยยื่นคำแก้ฎีกาแต่ศาล ชั้นต้นสั่งรับเป็นคำแถลงการณ์ว่า หากฟังว่าจำเลยทำผิดก็ขอให้ศาลฎีการอการ ลงโทษแก่จำเลยนั้น เห็นว่า การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เคารพต่อกฎหมายของบ้านเมืองส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลซึ่งอยู่ร่วมกันในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนี้เป็นเรื่องร้ายแรง กรณีจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย ฎีกาโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน" พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก ลงโทษจำคุก 6 เดือน และให้จำเลยคืนสร้อยคอทองคำส่วนที่เหลือ หรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 1,250 บาท แก่ผู้เสียหาย

-          ความผิดสำเร็จฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1682/2500 ล้วงกระเป๋าได้ธนบัตรเอาออกมานอกกระเป๋าแล้ว พอดีเจ้าทรัพย์ตบกระเป๋าถูกมือจำเลย ธนบัตรร่วงหล่นลงที่เท้าเจ้าทรัพย์เป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1403/2510 คนร้าย 3 คนร่วมกันลักรถยนต์จี๊ป โดยคนหนึ่งทำหน้าที่ขับรถกำลังต่อสายไฟให้เครื่องยนต์ติด  อีกสองคนช่วยกันเข็นรถเพื่อให้เครื่องยนต์ติดรถเคลื่อนไป 3 เมตร แต่เครื่องยนต์ไม่ติด และเจ้าพนักงานตำรวจพบการกระทำผิดเสียก่อน ดังนี้ ถือได้ว่าคนร้ายนำรถยนต์เคลื่อนที่ไปแล้ว พ้นขั้นพยายามเป็นความผิดสำเร็จ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2421/2532 (สบฎ เน 96) ใช้มือล้วงเข้าไปในช่องลมแผงลอย แล้วปลดเอาพวงผงชูรสซึ่งแขวนอยู่ที่ใต้ช่องลม ปลดพวงผงชูรสแล้ว ถูกมีดฟันนิ้วมือ ผงชูรสหลุดจากมือ เป็นความผิดสำเร็จฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 8098/2540 จำเลยกับคนร้ายอีก 2 คน ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ ทำการปล้นสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหาย เมื่อคนร้ายคนหนึ่งปลดสร้อยข้อมือออกไปจากข้อมือของผู้เสียหายไปได้นั้น ทรัพย์นั้นจึงขาดจากการครอบครองของผู้เสียหาย แต่อยู่ในมือคนร้ายคนนั้น พร้อมที่จะนำไปได้ ย่อมเป็นการเคลื่อนที่ไปจากแหล่งที่ทรัพย์นั้นติดตรึงอยู่ตามปกติ ไปอยู่ในความครอบครองของคนร้าย เป็นการเอาไปโดยสมบูรณ์ เป็นการปล้นทรัพย์สำเร็จ แม้ผู้เสียหายแย่งคืนมาในทันที ก็เป็นกรณีเกิดขึ้นหลังจากการเอาทรัพย์นั้นไปแล้ว ย่อมไม่ทำให้การเอาทรัพย์ไปซึ่งสมบูรณ์แล้ว กลับเป็นว่าไม่สมบูรณ์ไปได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 8329/2540 การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ ภายหลังจากฆ่าผู้ตาย โดยจะขุดมาแบ่งกับพวก เมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น ผิดฐานลักทรัพย์ตาม มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่ เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 ผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2546 จำเลยกับพวกมีเจตนาลักหม้อแปลงไฟฟ้าของผู้เสียหายโดยขึ้นไปบนเสาไฟฟ้า แล้วใช้เลื่อยตัดสายลวดสลิงที่ยึดหม้อแปลงไฟฟ้าดังกล่าวใช้เชือกผูกผลักลงจากคานบนเสาไฟฟ้า เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเคลื่อนจากจุดที่ติดตั้งเดิมและถูกเคลื่อนมาอยู่บนพื้นดิน ถือว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์หม้อแปลงไฟฟ้าอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันยกหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลย เพราะหม้อแปลงไฟฟ้ามีน้ำหนักมากก็ตาม หาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่

-          การกระทำขั้นพยายามกระทำความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2111/2492 สายพานที่จำเลยลักและกำลังม้วนอยู่นั้น เพียงแต่หลุดจากมู่เล่อันบนและอันล่าง ที่สายพานเชื่อมกันอยู่ แต่สายพานยังคงพาดอยู่กับเพลาและสลักต่อสายพานถูกชักออกแล้ว จำเลยม้วนสายพานได้ 1 ใน 10 ของความยาว และคงอยู่ข้างมู่เล่นั้นเอง ดังนี้ ถือว่าการลักทรัพย์ยังไม่สำเร็จ เพราะสายพานยังมิได้เคลื่อนหลุดไปจากที่ คงผิดเพียงฐานพยายาม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 14/2510 (สบฎ เน 1531) จำเลยได้งัดแงะประตูหน้าถังร้านของผู้เสียหายแล้ว ในร้านนั้นมีของมีค่าเก็บไว้เป็นจำนวนมาก ตำรวจมาพบเห็นจำเลยเข้า จำเลยจึงทำการลักทรัพย์ไม่ตลอด การกระทำของจำเลยเข้าขั้นพยายามลักทรัพย์แล้ว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 393/2519 ผู้เสียหายจับสร้อยที่สวมคอไว้ ม. กระชากสร้อยขาด แต่ยังติดมือผู้เสียหายอยู่ ยังเป็นแต่จะทำให้สร้อยขาดหลุดจากคอเท่านั้น การเอาไปยังไม่บรรลุผล ผู้เสียหายร้องขึ้น ม. วิ่งไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยติดเครื่องคอยอยู่ริมถนนฝั่งตรงข้าม ขับหนีไปตามแผนการณ์ที่ร่วมกันวางไว้ เป็นการพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ จำเลยเป็นตัวการตาม ป.อ.ม. 336ทวิ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 13 ด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1465/2519 ใช้เส้นลวดขึงกั้นสะพานบนถนน ดักรถที่ผ่านมาให้ชนเพื่อเอาทรัพย์ มีผู้ขับรถ 6 ล้อมาเห็นเส้นลวดและหยุดได้ห่าง 3 วาเป็นความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1250/2520 คอกสุกรจึงไม่ใช่บริเวณของที่อยู่อาศัย ไม่เป็นเคหสถาน จำเลยมีเครื่องใช้สำหรับลักสุกร ขุดรูใต้รั้วเพื่อพาสุกรออกไป เข้าไป ยืนอยู่ในรั้ว ห่างคอกสุกร 1 เมตร พร้อมที่จะเอาสุกรไปได้ เป็นพยายามลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 847/2530 ในคืนเกิดเหตุ จำเลยเดินเข้าไปใต้ถุนบ้านของผู้เสียหาย แล้วจับและดึงท้ายรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ซึ่งใส่กุญแจคอ (ล็อก) อยู่บนขาตั้งไป ผู้เสียหายร้องขึ้นว่า ขโมย จำเลยวิ่งหนีไป แม้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายจะยังไม่เคลื่อนที่ไป ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว  แต่กระทำไปไม่ตลอด เป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6252/2531 จำเลยกระชากกระเป๋าถือแบบสะพายที่ผู้เสียหายสะพายอยู่ จนสายสะพายหลุดจากไหล่ แต่ผู้เสียหายแย่งกระเป๋ากลับคืนมาได้ในทันทีทันใด กระเป๋ายังไม่หลุดไปจากความครอบครองของผู้เสียหาย แม้กระเป๋าจะอยู่ที่มือของจำเลยตอนกระชาก ก็เป็นการกระทำ ในขั้นมุ่งหมายจะให้กระเป๋าหลุดจากไหล่ผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยยังมิได้ยึดถือกระเป๋าของผู้เสียหายไว้ในครอบครองของตน การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดขั้นพยายามวิ่งราวทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2417/2533 จำเลยที่ 1 ขับขี่จักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุในเวลากลางคืน  แล้วยืนคุมเชิงอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2 พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยที่  2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 / การที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นเสียก่อน จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 121/2537 จำเลยเพียงแต่นั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ ยังไม่ได้เอารถออก เป็นการลงมือลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะผู้เสียหายเข้ามากอดเอาไว้ ทำให้จำเลยเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปไม่ได้ เป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 480/2537 จำเลยใช้กุญแจไขประตูห้องซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย และเก็บรักษาทรัพย์ของผู้เสียหายจนประตูเปิดออก ถือได้ว่าจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน และลักทรัพย์ของผู้เสียหายแล้ว แต่เมื่อผู้เสียหายพบเห็นและขัดขวางการกระทำของจำเลยเสียก่อน จึงเป็นการพยายามกระทำความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6917/2542 ผู้เสียหายเบิกความโดยไม่ได้ความว่าไก่ชนของผู้เสียหาย พ้นขึ้นมาจากสุ่มไก่แล้วหรือไม่ หรือจำเลยปล่อยไก่ชนในสุ่มไก่หรือปล่อยไว้บนลานดินนอกสุ่มไก่ อันจะเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเอาไก่ชนของผู้เสียหาย แยกออกจากสุ่มไก่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ไก่ชนติดอยู่ภายใน ไม่สามารถนำเอาออกมาไปได้ เมื่อกรณียังมีข้อสงสัยต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลย คือจำเลยยังไม่ได้เอาไก่ชนของผู้เสียหายออกจากสุ่มไก่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การยึดถือเอาไก่นั้นยังไม่บรรลุผล จึงอยู่ในขั้นพยายามลักทรัพย์ เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดในเวลากลางคืน โดยใช้ฉมวกเป็นอาวุธ ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้น จะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย เพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 448/2543  จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ในขณะที่กำลังก้มเงยอยู่ข้างประตูด้านคนขับรถกระบะคันที่เกิดเหตุ โดยมีลูกกุญแจ 2 ดอก กุญแจล็อกประตูรถกระบะอยู่ในกระเป๋าเสื้อจำเลย ส่วนประตูรถกระบะเปิดได้และพบประแจบล็อก 3 ทางกับไขควงวางอยู่ที่เบาะคนขับ ประตูรถด้านคนขับมีร่องรอยงัดแงะตรงช่อกุญแจส่วนกุญแจหายไป จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าพี่ชายให้มาเอารถ แต่ลืมกุญแจ จึงงัดรถเข้าไปส่วนเงิน 1,000 บาท ที่จำเลยมีติดตัวอยู่นั้นเตรียมไว้เป็นค่าน้ำมันรถ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยงัดประตูรถกระบะเข้าไปโดยมีไม้บรรทัดเหล็ก ไขควง ประแจบล็อก 3 ทาง กุญแจ 2 ดอก และไฟฉายเป็นอุปกรณ์ ถึงแม้กุญแจ 2 ดอกไม่มีเขี้ยวและไม่ปรากฏว่าใช้ไขสตาร์ทรถกระบะได้หรือไม่ก็ตาม แต่ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยแล้วว่าต้องการใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นเครื่องมือเพื่อเอารถกระบะไป เมื่อจำเลยสามารถงัดประตูรถกระบะจนเปิดออก และงัดเอากุญแจล็อกประตูรถออกไปได้ ถือได้ว่าเป็นการลงมือเพื่อจะเอารถกระบะไปโดยทุจริตแล้ว เมื่อไม่สามารถเอากระบะไปได้ จะด้วยเหตุเพราะยังไม่ได้ทำลายกุญแจล็อกเกียร์ หรือเพราะมีเจ้าพนักงานตำรวจมาพบการกระทำความผิดของจำเลยเสียก่อนก็ดี การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7053/2545 สุกรตัวเกิดเหตุมีน้ำหนักเกือบ 200 กิโลกรัม ไม่สามารถอุ้มหรือจับไปได้โดยง่ายทั้งวัดเจ้าของสุกรก็ไม่ได้กักขัง แต่ปล่อยให้มีอิสระไปไหนมาไหนได้ ขณะที่นายดาบตำรวจ อ. เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 กำลังช่วยกันดึงและผลักดันสุกรให้เข้าไปในซองบรรจุ สุกรยังไม่ได้เข้าไปในซองทั้งตัว ทั้งยังไม่ได้นำขึ้นรถ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ยังไม่อยู่ในฐานะที่สามารถจะนำสุกรไปได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 จึงยังไม่บรรลุผล คงเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเท่านั้น

-          ผู้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1947/2499 ใช้ปืนยิงโคของผู้อื่นในตอนบ่าย แล้วตอนเย็น จึงมาชำแหละเอาเนื้อโค ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว ส่วนผู้ที่มาร่วมชำแหละเนื้อโคด้วยในตอนหลัง ยังไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์.
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2154/2516 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมปรึกษาหารือกับจำเลยที่ 3 เพื่อจะไปลักกระบือ แล้ววางแผนให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.ไปซุ่มรอรับกระบือที่หัวทุ่ง จำเลยที่ 3 กับพวกไปต้อนกระบือของผู้เสียหายมาส่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ  ส.สถานที่ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.รอรับกระบือกับสถานที่ที่จำเลยที่ 3 และพวกไปต้อนกระบือนั้นอยู่ไกลกันมาก จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะร่วมมือกับจำเลยที่ 3 ขณะจำเลยที่  3 กับพวกกระทำการลักกระบืออันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นตัวการ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ส่งเสริมอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 3 กับพวกในการที่จะไปลักกระบือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นผู้สนับสนุนก่อนกระทำผิด (สังเกต หากเป็นตัวการ จะครบองค์ประกอบเหตุฉกรรจ์ตาม ม 335 (7)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1556/2518 จำเลยที่ 3 ลักไม้กระดานจากใต้ถุนบ้านมากองไว้ จำเลยที่ 1,2 จอดรถยนต์ รอบรรทุกไม้ อยู่ตรงที่กองไม้ระหว่างที่จำเลยที่ 3 เข้าไปขนไม้อีก จำเลยที่ 1 เป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 335 ,86
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1235/2519 จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยที่ 1 ซ้อนท้ายมาที่ร้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 เข้าไปในร้าน จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดรถห่างร้าน 4 วา จำเลยที่ 1 วิ่งราวสร้อยคอออกมาจากร้าน แล้ววิ่งตรงมาที่รถ ซึ่งจำเลยที่ 2 ขับออกจากที่จอดชะลอรับจำเลยที่ 1 เพื่อพาหลบหนี แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมคบคิดกันกระทำผิดมาแต่แรกโดยจำเลยที่ 2 รับหน้าที่พาหลบหนี เป็นการแบ่งหน้าที่ในการกระทำผิดร่วมกัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการกระทำผิดด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3091/2531 จำเลยที่ 5 มิได้มีเจตนาร่วมลักทรัพย์ แต่ขับรถยนต์กระบะเข้ามาจอดตรงบริเวณที่มีลูกปาล์ม ซึ่งจำเลยอื่นได้ลักตัดจากต้นปาล์มของผู้เสียหาย นำมากองไว้ โดยจำเลยที่ 5 ได้นัดหมายกับจำเลยอื่นไว้ก่อนแล้ว ว่าจะมาขนลูกปาล์มไป หลังจากจำเลยอื่นลักทรัพย์เสร็จสิ้นแล้วนั้น เท่ากับว่าจำเลยที่ 5 ได้ตกลงช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยอื่นกระทำความผิด ไว้ตั้งแต่ก่อนกระทำความผิดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นผู้สนับสนุนในการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยอื่น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2417/2533 จำเลยที่ 1 ขับขี่จักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุในเวลากลางคืน  แล้วยืนคุมเชิงอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2 พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยที่  2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 / การที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นเสียก่อน จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3642/2540 จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุญาตหรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 เอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายไป ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ทราบดีแล้วว่าโฉนดที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายและยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจให้คำอนุญาตหรือยินยอมได้ เมื่อจำเลยที่ 1 เอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายไปด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) วรรคหนึ่ง และมาตรา 83
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2545 จำเลยที่ 4 เข้าไปแอบซ่อนตัวอยู่ในช่องเก็บสัมภาระใต้ท้องรถ เพื่อลักทรัพย์ของผู้โดยสาร โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ด้วยความรู้เห็นเป็นใจของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขับรถ ขณะนำรถมาจอดและรับประทานอาหาร การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 4 ลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
-           


-          ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิด ฐานลักทรัพย์ กับฐานฉ้อโกง

-          1.ตามคำบรรยาย อ.มล. ไกรฤกษ์ฯ ได้เเบ่งเเยกหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้ดังนี้
-          1.1. ความผิดฐานลักทรัพย์(โดยวิธีใช้อุบาย) เป็นการใช้อุบายเพื่อหลอกเอาการยึดถือ
-          1.2. ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงเป็นการใช้อุบายหลอกลวงเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นโดยไม่ได้หลอกเอาการยึดถือ
-          ตามความเห็นนี้ การหลอกให้คนใช้มอบทรัพย์ให้โดยหลอกว่าเจ้านายบอกให้มาเอาทรัพย์ กรณีนี้คนใช้เพียงเเต่ยึดถือทรัพย์เเทนเจ้านาย การครองครองทรัพย์ยังอยู่กับเจ้านายหลอกเอาทรัพย์นั้นมาอยู่ในการยึดถือของตนซึ่งอ้างว่ามีอำนาจยึดถือเเทนเจ้าทรัพย์เพราะใช้อุบายหลอกว่าเจ้านายให้มาเอา กรณีนี้เป็นการหลอกเอาการยึดถือก่อน เเละเมื่อเอาทรัพย์นั้นไป ในลักษณะ ตัดกรรมสิทธิ์ ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ผิดฐานฉ้อโกงเพราะในขณะที่หลอกลวงนั้นการครอบครองทรัพย์ยังอยู่กับเจ้านาย(ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์)คนใช้เพียงเเต่ยึดถือเเทน จะเห็นได้ว่าตามเเนวความเห็นนี้เมื่อดูฎีกา จะไม่สามารถนำมาพิจารณาได้ทุกกรณี ซึ่งไม่น่าจะเป็นหลักตายตัว เเละยังไม่ชัดเจน โดยพิจารณาหลักเกณฑ์ในด้านผู้เสียหายเป็นสำคัญ แทนที่จะพิจารณาจากการกระทำของจำเลย (1563/03(ป),321/10,611/30,3245/45)
-          2. ส่วนเเนวล่าสุด ตามฎีกา 259-260/2488,1104/07,973/20,554/09(ป),2581/29,
-          ฎีกา 682/42 (ประชุมใหญ่) ออกสอบเนฯแล้วครับ วินิจฉัยเปรียบเทียบความเเตกต่างไว้ดังนี้
-          การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง
-          การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางซึ่งติดราคา 1,785 บาท ออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทน แล้วมอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหาย มิใช่จำเลยเอาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางไปโดยพลการโดยทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางมีราคา 134 บาท พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายหลงเชื่อยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้จำเลย โดยรับเงินจากจำเลยไว้เพียง 134 บาท การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จอยู่ในตัว และจำเลยกระทำโดยมีเจตนาหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายให้ยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้จำเลยแล้ว จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่จำเลยไม่มีเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จไม่ ’’
-          สรุปตามฎีกานี้ ถ้าเป็นการได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง ไม่ผิดลักทรัพย์แต่ผิดฉ้อโกง
-          ผมเห็นด้วยหลักเกณฑ์ตามแนวฎีกานี้ครับ เพราะ 1. ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องเป็นการทำร้ายการครองครอง และ 2. เป็นการทำร้ายกรรมสิทธิ์ โดยการเอาทรัพย์ไปลักษณะตัดกรรมสิทธิ์
-          ดังนั้น ถ้าเป็นการหลอกลวงให้ผู้อื่นยินยอมมอบทรัพย์ให้ตน ตนเองก็เป็นผู้มีการครอบครองทรัพย์นั้น (ไม่ใช่เพียงยึดถือแทน) แล้วผู้ครอบครองทรัพย์ เอาทรัพย์ไปจะผิดลักทรัพย์ได้อย่างไรครับ ?
-          ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องไม่ใช่ผู้ซึ่งครอบครองทรัพย์นั้น ดังเช่นกรณีเจ้าของรวมครอบครองกรรมสิทธิ์รวมแล้วเอาทรัพย์ไป ย่อมไม่ผิดลักทรัพย์ เพราะการครองครองอยู่กับตนเองในขณะที่เอาทรัพย์ไป แต่ผิดยักยอก แต่ถ้าเจ้าของรวมผู้นั้นมิได้ครอบครองกรรมสิทธิ์รวม แล้วเอาทรัพย์นั้นไปลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ เช่นนี้ผิดลักทรัพย์ ตามฎีกาที่554/2509 “จำเลยกับสิบตำรวจโทสำเนียงและสิบตำรวจเอกเหมกลับจากงานบวชนาคด้วยกันเมื่อไปถึงทุ่งนาสิบตำรวจโทสำเนียงบอกว่าจะไปถ่ายเพราะปวดท้องจึงมอบปืนไว้กับสิบตำรวจเอกเหมแล้วสิบตำรวจโทสำเนียงก็เดินไปโดยจำเลยเดินตามไปด้วยสิบตำรวจเอกเหมไปคุยอยู่กับพรรคพวกจำเลยได้กลับมาหาสิบตำรวจเอกเหมและเอาความเท็จบอกว่าสิบตำรวจโทสำเนียงให้มาเอาปืนจะไปธุระ สิบตำรวจเอกเหมเห็นว่าจำเลยกับสิบตำรวจโทสำเนียงเจ้าของปืนเป็นเพื่อนกัน จึงหลงเชื่อตามคำหลอกลวงของจำเลยและมอบปืนให้จำเลยไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในลักษณะที่เห็นได้ว่าจำเลยหลอกลวงให้สิบตำรวจเอกเหมหลงเชื่อจนได้ปืนไปจากสิบตำรวจเอกเหมผู้ถูกหลอกลวง ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341’’
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1004/2499 หัวผักกาดที่เจ้าทรัพย์มอบให้บุคคลอื่นครอบครอง บุคคลอื่นยินยอมให้จำเลยเอาไปได้โดยดี เพราะหลงเชื่อในถ้อยคำของจำเลยที่อ้างว่าเจ้าของให้มาเอาไปขายและหลงเชื่อในอาการที่จำเลยเป็นคนมาติดต่อขอซื้อและจำเลยเป็นคนพูดจาฝากหัวผักกาดเหล่านั้นไว้ โดยผู้ครอบครองมิได้รู้ถึงความจริงว่าหัวผักกาดเหล่านั้นเป็นของผู้ใดกันแน่กรณีเช่นนี้จะเป็นความผิดอาญา ก็เป็นเรื่องฉ้อโกง หาใช่ฐานลักทรัพย์ไม่ / ฟ้องว่าลักทรัพย์พิจารณาได้ความว่ากระทำผิดฐานฉ้อโกงต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.192
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 848/2507 การที่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายและภริยานั้น มิใช่เพื่อให้ผู้เสียหายและภริยายอมส่งมอบโคให้จำเลย หากเป็นแต่เพียงอุบายในการที่ จำเลยจะพาโคไปได้แนบเนียนขึ้นเท่านั้น การที่จำเลยเอาโคไป หาใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงไม่ จำเลยจึงมีผิดฐานลักทรัพย์ หาผิดฐานฉ้อโกงไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2581/2529 จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันที่บ้านผู้เสียหายเสร็จแล้วภริยาผู้เสียหายขอเงินค่าน้ำมัน  จำเลยที่ 2 กลับตอบว่าไม่มีเงิน มีแต่ไอ้นี่เอาไหม ขณะพูดจำเลยที่ 2 ถือลูกกลม ๆ ซึ่งภริยาผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นลูกระเบิดแล้วจำเลยทั้งสองก็ขี่รถจักรยานยนต์ออกไป เมื่อลูกกลม ๆ ที่จำเลยที่ 2 ถือ ฟังไม่ได้ว่าเป็นลูกระเบิดหรือไม่ การที่จำเลยที่ 2 บอกภริยาผู้เสียหายเมื่อถูกทวงให้ชำระราคาน้ำมัน จึงเป็นการที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหาย เพียงเพื่อจะเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์ โดยไม่ชำระราคาเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ (ท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ กล่าวในวรรคท้ายของบันทึกท้าย ฎ.2581/2529 มีความตอนหนึ่งว่า " ลักทรัพย์เป็นการเอาทรัพย์ไปโดยเจ้าของไม่ยินยอม ความยินยอมนั้นถือว่าไม่มีหากเกิดขึ้นโดยการขู่ หลอกลวงหรือสำคัญผิด หลักนี้ถึงกับบัญญัติในประมวลกฎหมายอินเดีย ที่อังกฤษทำให้และใช้อยู่จนทุกวันนี้ ฉะนั้นการขู่เอาทรัพย์ไป เจ้าของส่งให้ จึงเป็นชิงทรัพย์ หลอกเอาทรัพย์ไปได้เป็นฉ้อโกง ได้ทรัพย์ที่ส่งให้โดยสำคัญผิดเป็นกึ่งยักยอกตาม ม.352 วรรคสอง เมื่อการฉ้อโกงตาม ม.341 เป็นการได้ทรัพย์ไปโดยการหลอกลวงเอากรรมสิทธิ์ จึงไม่เป็นลักทรัพย์ เพราะ กม.บัญญัติโดยเฉพาะแยกออกไปจากลักทรัพย์ จะเป็นลักทรัพย์อยู่อีกไม่ได้ แต่การหลอกเอาการครอบครองไม่เป็นฉ้อโกง จึงยังคงเป็นลักทรัพย์อยู่ตามเดิม เพราะไม่ถือเป็นการได้ทรัพย์ไป โดยเจ้าทรัพย์ยินยอม โดยหลอกให้เขาส่งการครอบครองมา แต่ไม่ถึงกับฉ้อโกง เพราะไม่ใช่ได้ไปอย่างหลอกเอากรรมสิทธิ์ ยังคงเป็นลักทรัพย์ที่เรียกว่าลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย เหตุผลเหล่านี้คงช่วยให้เข้าใจการลักทรัพย์ โดยกลอุบายและความแตกต่างระหว่างหลอกในลักทรัพย์ และในฉ้อโกงได้บ้าง") / (คำพิพากษาฎีกาที่ 2581/2529 มีข้อเท็จจริงคล้ายกัน และควรเปรียบเทียบกับ คำพิพากษาฎีกาที่ 611/2530 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 'ข้อเท็จจริงฟังยุติว่าในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ไปเติมน้ำมันใส่ถังในรถยนต์ ซึ่งจำเลยขับจากปั๊มของผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้ชำระเงินค่าน้ำมัน 256 บาท แก่ผู้เสียหายจริง ปัญหามีว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ พยานโจทก์ที่รู้เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดโดยตลอด คือนายทวี หนูขาว คนเติมน้ำมันให้จำเลย นายทวีเบิกความว่าจำเลยสั่งให้เติมน้ำมัน 300 บาท แต่เมื่อเติมไปได้เป็นเงิน 256 บาท ปรากฏว่าน้ำมันจะเต็มถัง พยานจึงชะลอการไหลของน้ำมันลง ขณะนั้นพยานยังถือหัวเติมน้ำมัน อยู่ที่ปากท่อของถังน้ำมัน จำเลยได้พูดว่า ไม่มีเงิน เดี๋ยวจะเอามาให้ พยานจึงบอกว่าต้องไปบอกผู้เสียหายก่อน แต่จำเลยได้ขับรถออกไปทันที ขณะเติมน้ำมัน จำเลยไม่ได้ดับเครื่องยนต์รถ และฝาปิดถังน้ำมันไม่มี โดยใช้ผ้าอุดไว้แทน เห็นว่าพฤติการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้วางแผนการไว้ เพื่อจะไม่ชำระเงินค่าน้ำมัน เมื่อได้น้ำมันมาแล้ว โดยจะรีบหนีไป อันเป็นอุบายอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้ลักทรัพย์สำเร็จ ส่วนที่นายทวีเบิกความว่าระหว่างเติมน้ำมัน เห็นจำเลยทำท่าค้นหาของในกระเป๋ากางเกงและกระเป๋าเสื้อก็อาจเป็นอุบายประกอบที่จำเลยจะหลอกนายทวีว่าหาเงินไม่พบเพื่อจะยังไม่ต้องชำระค่าน้ำมันหากจำเลยประสงค์จะเข้าไปซื้อน้ำมันโดยสุจริตใจและทำเงินหายไปจริง จำเลยก็น่าจะได้พูดจากับผู้เสียหายให้รู้เรื่องเป็นหลักเป็นฐาน แต่ตรงกันข้ามทั้ง ๆ ที่นายทวีบอกว่าต้องไปบอกผู้เสียหายก่อน จำเลยกลับขับรถออกไปโดยเร็ว จนกระทั่งนายทวีตกตะลึง นายสมชายคนงานผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ซึ่งกำลังนั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ใกล้ ๆ กันนั้นเบิกความว่า นายทวีได้ร้องว่ารถเติมน้ำมันแล้วหนี เช่นนี้ มิใช่ลักษณะอาการของผู้ที่สุจริต เมื่อจำเลยถูกจับแล้ว ผู้เสียหายไปดูที่รถจำเลย ปรากฏว่าฝาปิดถังน้ำมันอยู่ในกระบะรถนั่นเอง และจำเลยพูดขอร้องมิให้ผู้เสียหายเอาความผิด จะชดใช้ค่าเสียหายให้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้เตรียมการไว้พร้อม แม้กระทั่งเปิดฝาถังน้ำมันไว้เพื่อจะให้หนีไปได้โดยเร็ว เมื่อได้น้ำมันแล้ว ไม่ต้องพะวงเรื่องฝาถังน้ำมัน ที่จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าตนไม่มีเจตนาทุจริตนั้น มีเพียงคำจำเลยเพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ ไม่มีน้ำหนัก เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นดังวินิจฉัยมาแล้วเห็นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น ที่จะลักเอาน้ำมันของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามฟ้อง)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3624/2530 จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษ แต่จำเลยกลับหยิบธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับ จากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไป โดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลย มิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่ง หรือเข้าใจผิด เพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า จำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3162/2536 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของธนาคาร จำเลยที่ 2 เดิมเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมเปิดบัญชีสะสมทรัพย์ ได้โอนบัญชีเงินฝากดังกล่าว ซึ่งมีเงินต้น 12,015.66 บาท และดอกเบี้ย 39.82 บาท ไปฝากต่อที่สาขาพะเยา จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีได้ และจำเลยที่ 1 ได้บันทึกรายการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีเงินฝากเงินต้น 12,015.66 บาท และดอกเบี้ย 398,200 บาท มากกว่าความเป็นจริง ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 200,000 บาท และต่อมาถอนอีก 202,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุมัติ จำเลยทั้งสองหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อ ว่าจำเลยที่ 2 มีเงินฝากในบัญชีคือดอกเบี้ย มากกว่าความเป็นจริง มิใช่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5344/2540 (สบฎ สต 286) ((คดีประกันภัย) ผู้เช่าไม่มีเจตนาเช่ารถ แต่เข้าทำสัญญาเช่า เพื่อเอาทรัพย์ เป็นการลักโดยใช้กลอุบาย) กรมธรรม์ประกันภัยยกเว้น ไม่ใช้ค่าเสียหายกรณีสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์โดยบุคคลที่ครอบครองรถยนต์ตามสัญญา การที่ ท. และ ข. ลักรถยนต์โดยใช้กลอุบายทำสัญญาเช่าเช่นนี้ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องรับผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6892/2542 (สบฎ สต 96) การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไป เพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากลูกหลอกลวง (เปลี่ยนป้ายราคาสินค้า เพื่อชำระค่าสินค้าน้อยลง)
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7297/2547 จำเลยบอกขายถังน้ำมันของกลาง ซึ่งวางอยู่ในที่ดินของผู้อื่นให้แก่ผู้ซื้อ โดยแจ้งแก่ผู้ซื้อว่าถังน้ำมันของกลางเป็นของจำเลย แต่ความจริงเป็นของผู้เสียหาย ผู้ซื้อตกลงซื้อถังน้ำมันของกลางแล้วได้ว่าจ้าง ส. ให้ขนถังน้ำมันของกลางไปไว้ที่สถานีบริการน้ำมันของผู้ซื้อ หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงชำระราคาให้แก่จำเลย โดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ (จำเลยผิดลักทรัพย์ต่อเจ้าของทรัพย์ และผิดฉ้อโกงต่อผู้ซื้อทรัพย์)

-          ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิดลักทรัพย์โดยใช้อุบาย กับฉ้อโกง
-          ความผิดข้อหาลักทรัพย์โดยใช้อุบาย เป็นการหลอกให้ส่งมอบ การยึดถือ ให้แก่ผู้กระทำผิด
-          ความผิดข้อหาฉ้อโกง เป็นการหลอกให้ส่งมอบ การครอบครอง หรือกรรมสิทธิ์ ให้แก่ผู้กระทำผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1463/2503 จำเลยตั้งใจจะลักรถจักรยานจึงวางวิธีการทำอุบาย ลอบหยิบบัตรคู่หนึ่งของเจ้าของร้าน แล้วเอาบัตรนั้นใบหนึ่งไปแขวนไว้ ที่รถจักรยานโดยเอาบัตรเลขอื่นที่แขวนอยู่เดิมออกเสีย แล้วต่อมาก็เอาบัตรคู่กันอีกใบหนึ่งมาขอรับรถจักรยาน เขาไม่ยอมให้ จำเลยกล่าวเท็จว่า เพื่อนให้เอาบัตรมารับรถเพราะเปลี่ยนกันขี่ ผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ไม่ใช่ฉ้อโกง (เจ้าของรถจักรยาน ยังอยู่ในบริเวณงานนั้น เพียงแต่มอบการยึดถือดูแลทรัพย์ให้แก่เจ้าของร้าน จำเลยหลอกเจ้าของร้าน ได้แต่เพียงการยึดถือ ไม่ใช่ได้สิทธิครอบครองไปจากเจ้าของร้านผู้ดูแลทรัพย์ จึงเป็นลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ไม่ใช่ฉ้อโกง)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 848/2507 จำเลยได้เสียกับบุตรสาวของผู้เสียหาย จำเลยจึงนำโคไปอ้าง ว่าจะนำไปให้กินน้ำ แล้วก็นำโคไปขายเสีย ารที่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายและภริยานั้น มิใช่เพื่อให้ผู้เสียหายและภริยายอมส่งมอบโคให้จำเลย หากเป็นแต่เพียงอุบายในการพาโคไปได้แนบเนียนขึ้นเท่านั้น หาใช่ผลโดย ตรงจากการหลอกลวงไม่ จำเลยจึงมีผิดฐานลักทรัพย์ หาผิดฐานฉ้อโกงไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 554/2509 จำเลยกับสิบตำรวจโทสำเนียง และสิบตำรวจเอกเหม กลับจากงานบวช ถึงทุ่งนา สิบตำรวจโทสำเนียงบอกว่าจะไปถ่าย จึงมอบปืนไว้กับสิบตำรวจเอกเหม แล้วสิบตำรวจโทสำเนียง ก็เดินไปโดยจำเลยเดินตามไปด้วย สิบตำรวจเอกเหมไปคุยอยู่กับพรรคพวก จำเลยได้กลับมาหาสิบตำรวจเอกเหม และเอาความเท็จบอกว่าสิบตำรวจโทสำเนียงให้มาเอาปืนจะไปธุระ สิบตำรวจเอกเหม เห็นว่า จำเลยกับเจ้าของปืนเป็นเพื่อนกัน จึงหลงเชื่อและมอบปืนให้จำเลยไป ผิดฐานฉ้อโกงตาม มาตรา 341 (สิบตำรวจโทสำเนียงเจ้าของปืน มอบการครอบครองดูแลให้แก่สิบตำรวจเอกเหม ไม่ใช่เพียงแต่มอบการยึดถือดูแลทรัพย์ จำเลยหลอกสิบตำรวจเอกเหม เป็นการหลอกให้ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองจากสิบตำรวจเอกเหม ไม่ใช่ได้แต่เพียงการยึดถือ จึงเป็นฉ้อโกง)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 321/2510 (สบฎ เน 1531) เรียกเอาเงินและทองมาใส่ย่ามของตน เพื่อทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ แอบล้วงเอาไปผิด ลักทรัพย์ มาตรา 334 เพราะเจ้าของไม่ได้สละการครอบครองให้จำเลย เขาเพียงแต่ให้ยึดถือไว้ชั่วคราว
-          คำพิพากษาฎีกาที่2600/2516 จำเลยลูกจ้างของ ส. ได้หลอกลวง ป. ให้ หลงเชื่อว่า ทางอู่ของ ส. ให้จำเลยมาขอรับเงิน 5,000 บาท เพื่อไป ซื้อเครื่องอะไหล่ในการซ่อมรถ ป. จึงมอบเงินให้จำเลยไป ดังนี้การกระทำ ของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 226-7/2521 (สบฎ เน 5632) จำเลยปลอมลายมือชื่อผู้อื่นเบิกเงินจากธนาคาร เปลี่ยนเงินเป็น แคชเชียร์เช็ค แล้วปลอมลายมือชื่อสลักหลังเช็คเข้าบัญชีของจำเลย เป็นฉ้อโกง ไม่ใช่ลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3150/2522 ใช้อุบายเอาทรัพย์ของเขาไป โดยเขาไม่รู้ตัว ขณะเขายังครอบครองยึดถือธนบัตรนั้นอยู่ โดยเขาไม่ได้ส่งมอบให้ เป็นลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2581/2529 จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันที่บ้านผู้เสียหายเสร็จแล้ว ภริยาผู้เสียหายขอเงินค่าน้ำมัน  จำเลยที่ 2 กลับตอบว่าไม่มีเงิน มีแต่ไอ้นี่เอาไหม ขณะพูดจำเลยที่ 2 ถือลูกกลม ๆ ซึ่งภริยาผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นลูกระเบิด แล้วจำเลยทั้งสองก็ขี่รถจักรยานยนต์ออกไป เมื่อลูกกลม ๆ ที่จำเลยที่ 2 ถือ ฟังไม่ได้ว่าเป็นลูกระเบิดหรือไม่ การที่จำเลยที่ 2 บอกภริยาผู้เสียหายเมื่อถูกทวงให้ชำระราคาน้ำมัน จึงเป็นการที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหาย เพียงเพื่อจะเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์ โดยไม่ชำระราคาเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ / โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. ม.334, 335, 339, 340, 340 ตรี ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง ศาลลงโทษตาม ม.341 ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 26172529 จำเลยเป็นพนักงานลักสมุดเช็ค กรอกข้อความลงในบัญชีจ่ายเช็คว่าจ่ายให้ ม. ลูกค้าของโจทก์ร่วม และมอบเช็คให้บุคคลอื่นไปกรอกวันเดือนปีจำนวนเงิน ปลอมลายมือชื่อ ม. ผู้สั่งจ่าย แล้วนำไปขึ้นเงิน ผิดตามมาตรา 335 (11) 2 กระทง และเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นใช้ตั๋วเงินปลอมและฉ้อโกงโจทก์ร่วม สำหรับเช็คแต่ละฉบับ268 1 + 264, 266 (4), และ ม 341
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 611/2530 (สบฎ เน 104) จำเลยขับรถเข้าไปเติมน้ำมันที่ปั๊มน้ำมันของผู้เสียหายเมื่อเติม น้ำมันเกือบจะเต็มถัง จำเลยพูดว่าไม่มีเงินเดี๋ยวจะเอามาให้ แล้วจำเลยได้ ขับรถออกไปทันที เป็นการวางแผนการไว้ เพื่อจะไม่ชำระเงิน อันเป็นอุบายในการที่จะทำให้ลักทรัพย์สำเร็จ และจำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น ผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 191/2532 (สบฎ เน 97) จำเลยขออนุญาตเอาพระพุทธรูปบูชาของผู้เสียหาย ลงไปดูกลาแสงแดดที่พื้นดินหน้าบ้าน แล้วอุ้มพระพุทธรูปวิ่งหนีไป ขึ้นรถยนต์ปิกอัพซึ่งพวกของจำเลยจอดรออยู่ โดยมีการวางแผนเตรียมการมาก่อน ไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เพราะไม่ได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า คงเป็นความผิดตาม มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบด้วย มาตรา 336 ทวิ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1567/2535 จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ลักเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม ของธนาคาร ก. นายจ้าง แล้วนำไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติของธนาคาร ก. กดเบิกเงินไปจำนวน 5,000 บาท แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ แต่ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคาร ก. นายจ้างเป็นคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 671/2539 จำเลยอาสานำบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหาย ไปตรวจสอบยอดเงินในบัญชีเงินฝาก แต่กลับนำบัตรไปเบิกถอนเงินจากตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคารไป ถือว่าจำเลยหลอกเอาบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไป เพื่อเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากในธนาคารของผู้เสียหายจากตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคาร เงินที่เบิกถอนนั้นเป็นของผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงเงินของผู้เสียหาย แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลก็ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 613/2540 (จำเลยปลอมลายมือชื่อของเจ้าของบัญชีเงินฝาก ในคำขอใช้บริการบัตร เอ.ที.เอ็ม. ต่อมาจำเลยได้ลักบัตรไปถอนเงินจากธนาคาร เป็นการลักเงินของธนาคาร ไม่ใช่ของผู้ฝากเงิน ธนาคารเป็นผู้เสียหาย (ใน 335 , 365 และ 368)) โจทก์ร่วมเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพ ตามมาตรา 672 เงินที่ฝากไว้ย่อมเป็นเงินของโจทก์ร่วม ผิดลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง ตาม ป..มาตรา 335 (11) 17 กระทง (ลักบัตร เอทีเอ็ม 1 ครั้ง ถอนเงิน 16 ครั้ง) และ มาตรา 264 และ 268 อีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5449/2540 (สบฎ เน 40) จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินของบริษัทผู้เสียหาย เก็บเงินจากลูกค้า แล้วยักยอกไปโดยจำเลยได้แจ้งควยามต่อพนักงานสอบสวนว่า มีคนร้ายใช้อาวุธปืน และมีด จี้บังคับปล้นเอาเงินจำนวน 74,320 บาท ซึ่งเป็นของผู้เสี่ยหายข และบางส่วนเป็นของจำเลยไป โดยไม่มีการปล้นทรัพย์เกิดขึ้น แต่จำเลยทำพยานหลักฐานเท็จ ด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลย และแจ้งข้อความเท้จแก่พนักงานสอบสวน ว่าได้มีการปล้นทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แจ้งความเท็จว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 496-7/2542 (สบฎ สต 113) จำเลยได้ แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คให้น้อยลง จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม จำเลยได้ทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด และเช็คที่แท้จริง ผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่น จำเลยได้เบียดบังเงินฝากของโจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ต้องรับโทษหนัก ตาม ม 354
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6892/2542 (สบฎ สต 96) ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไป เพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากลูกหลอกลวง การที่จำเลยเปลี่ยนเอา ป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะ นำป้ายราคาโคมไฟอื่นมาติดแทน เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต ผิดฉ้อโกง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 7264/2542 (สบฎ สต 98) การลอบทำรายการถอนเงินอันเป็นเท็จ โดยไม่มีการถอนเงินจริง เชื่อได้ว่าผู้กระทำเช่นนี้กระทำเพื่อเอาเงินของผู้เสียหาย โดยทำรายการถอนพรางไว้ จำเลยเป็นผู้เอาเงินของผู้เสียหายไป โดยมีอำนาจยึดถือเงินสดของผู้เสียหายไว้เพียงชั่วระยะเวลาทำการ ผู้เสียหายได้ส่งมอบเงินสดให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ จึงผิดฐานลักทรัพย์
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2546 จำเลยทั้งสามกับ ย. ทำทีขอซื้อผ้าจากโจทก์ร่วม โดยหลอกให้โจทก์ร่วมขนผ้าขึ้นรถแล้วบอกว่าจะชำระค่าผ้าก่อน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือให้ตามไปเก็บจาก ย. เมื่อบุตรสาวของโจทก์ร่วมร้องไห้ภริยาของโจทก์ร่วมเข้าไปดูแลบุตรสาวภายในร้าน จำเลยทั้งสามกับ ย. ก็พากันนำรถบรรทุกผ้าออกไปจากร้านทันที จำเลยทั้งสามกับ ย. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจะซื้อผ้ามาแต่ต้น ด้วยการวางแผนการเป็นขั้นตอน และไม่มีเจตนาจะใช้ราคาผ้าเลย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 มิใช่ลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฟ้อง

ไม่มีความคิดเห็น: