ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๘๔ - ๘๙ ต่อ

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดข้อหาทำให้แท้ง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6443/2545 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้หญิงคนหนึ่งไม่ทราบชื่อทำให้นางสาว ป. ผู้เสียหายแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 83 , 84 , 303 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายไปหาจำเลยที่ 1 ที่บ้านและถูกจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเรา หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายไปตรวจร่างกายที่สถานีอนามัยจึงทราบว่าผู้เสียหายตั้งครรภ์ ต่อมาจำเลยทั้งสามมาหาผู้เสียหายที่บ้านโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถ จำเลยที่ 2 เป็นมารดาจำเลยที่ 1 แล้วพาผู้เสียหายไปหาผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อทำแท้ง ระหว่างทางจำเลยที่ 3 ลงจากรถไปก่อน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายเข้าไปทำแท้งในบ้านหลังหนึ่งโดยผู้เสียหายยินยอมให้ทำแท้งลูก ระหว่างการทำแท้งจำเลยที่ 1 นั่งขวางประตูบ้านอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดในการที่ผู้อื่นทำแท้งผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตามมาตรา 302 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86 แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรานี้ ศาลก็ย่อมลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เพราะการทำให้แท้งลูกไม่ว่าหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเป็นความผิดทั้งนั้น หากแต่กำหนดโทษหนักเบาต่างกัน

- กรณีไม่ถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดต่อเสรีภาพ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1173/2521 ตำรวจกำลังค้นหาตัวผู้ถูกเอาตัวไปเรียกค่าไถ่ จำเลยร้องบอกตำรวจ โดยเข้าใจว่าเป็นคนร้าย ว่ามีตำรวจมา 2 คันรถ แต่จำเลยไม่ใช่ผู้ทำหน้าที่สอดส่องความเคลื่อนไหวของตำรวจ ดังนี้ จำเลยไม่ใช่ผู้สนับสนุนการเรียกค่าไถ่

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ กรณีลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 587/2496 จำเลย 2 คน ได้ร่วมรู้กับคนร้าย ไปในการปล้นทรัพย์ แต่ไม่ได้ไปลงมือทำการปล้นด้วย เป็นการแต่นั่งรออยู่ในรถยนต์ ซึ่งคนร้ายใช้เป็นพาหนะไปปล้น จอดอยู่ห่างที่เกิดเหตุราว 20 เส้น เมื่อคนร้ายปล้นได้ทรัพย์แล้ว ก็มาขึ้นรถ จำเลยทั้งสองก็กลับมารถพร้อมกัน จำเลยคนหนึ่งเป็นคนขับรถยนต์นั้น ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยทั้ง 2 ได้กระทำการอุดหนุนแก่ผู้กระทำผิดในการปล้นทรัพย์ มีผิดฐานสมรู้ ยังไม่ถึงขั้นเป็นตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 50/2511 จำเลยคอยรับถุงแป้งมันสำปะหลังจากคนร้ายที่ลักมาลงบรรทุก เรือของจำเลยซึ่งจอดคอยรับบรรทุกอยู่ที่ท่าน้ำริมตลิ่งห่างจากโกดังที่ คนร้ายไปเอาแป้งมา 30 วา อันมิใช่รับส่งกันในที่เกิดเหตุ จึงถือว่า เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ประกอบ ด้วยมาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2154/2516 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมปรึกษาหารือกับจำเลยที่ 3 เพื่อจะไปลักกระบือ แล้ววางแผนให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.ไปซุ่มรอรับกระบือที่หัวทุ่ง จำเลยที่ 3 กับพวกไปต้อนกระบือของผู้เสียหายมาส่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.สถานที่ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.รอรับกระบือกับสถานที่ที่จำเลยที่ 3 และพวกไปต้อนกระบือนั้นอยู่ไกลกันมาก จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะร่วมมือกับจำเลยที่ 3 ขณะจำเลยที่ 3 กับพวกกระทำการลักกระบืออันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นตัวการ แต่พฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ส่งเสริมอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 3 กับพวกในการที่จะไปลักกระบือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นผู้สนับสนุนก่อนกระทำผิด (สังเกต หากเป็นตัวการ จะเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ม 335 (7))

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1556/2518 จำเลยที่ 3 จ้างให้จำเลยที่ 2 พาไปหารถมาบรรทุกไม้ จำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกไปจอดรออยู่ที่หลังสถานีรถไฟ จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายไปจอดอยู่ใกล้กับรถบรรทุก ขณะนั้นมีไม้กระดานของผู้เสียหาย ซึ่งได้ฝากเก็บไว้ ใต้ถุนบ้านพักคนงานรถไฟถูกลักจากที่เก็บมากองไว้ บริเวณนั้น จำนวนหนึ่งแล้ว จำเลยที่ 3 บอกว่าจะเข้าไปขนไม้มาอีก จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 3 กำลังเข้าไปลักไม้ที่เหลือออกมาอีก จำเลยที่ 2 จึงไปรออยู่ที่ชานชาลาสถานีรถไฟ ส่วนจำเลยที่ 1 อยู่ที่รถบรรทุก เมื่อได้ไม้ตามจำนวน ที่ต้องการแล้ว จะได้ขนไม้ทั้งหมด ขึ้นบรรทุกรถพาหนีไป แต่ตำรวจมาตรวจพบและจับกุมเสียก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ ถือได้ว่าได้ส่งเสริมอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 3 กระทำการลักทรัพย์ จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน การกระทำผิดของจำเลยที่ 3

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1124/2519 จำเลยร่วมคิดวางแผนกับพวก จำเลยจอดรถยนต์ห่างที่เกิดเหตุ 80 เมตร มีศาลาบังมองไม่เห็น พวกจำเลยวิ่งราวทรัพย์แล้ววิ่งมาขึ้นรถหนีไปตามแผน จำเลยเป็นผู้สนับสนุน รถยนต์ไม่ได้ใช้กระทำผิด ไม่ริบ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1732/2522 จำเลยรับเอาแผนการปล้นโดยนำรถบรรทุกสินค้าไปหยุด ณ ที่กำหนด ให้พวกปล้นเอารถและสินค้าไป ไม่มีพฤติการณ์อื่นว่าจำเลยร่วมกระทำในขณะปล้น จึงเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2663/2522 จำเลยที่ 1 ขับรถแล่นขึ้นล่องไปมาในท้องที่เกิดเหตุ ก่อนเกิดเหตุและขับรถตามหลัง แล้วแซงขึ้นหน้ารถโดยสารคันที่ถูกปล้น เพื่อคอยช่วยเหลือจำเลยอื่น ขณะทำการปล้นอยู่ในรถ ทั้งเพื่อคอยรับพาหลบหนีหลังจากการปล้นทรัพย์เสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด มิใช่เป็นตัวการร่วมปล้นทรัพย์ด้วย โดยการแบ่งหน้าที่กันทำ เพราะมิได้มาในรถโดยสารและร่วมปล้นด้วย เมื่อจำเลยอื่นร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้สนับสนุนการปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3347/2525 จำเลยที่ 1 ชวนผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานไปดูภาพยนตร์ขากลับ เมื่อมาระหว่างทาง จำเลยที่ 1 จอดรถและเข้าไปปัสสาวะข้างทาง กลับมามีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามมาด้วย จำเลยที่ 3 ตรงไปเอารถจักรยานถีบไป แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใช้กำลังประทุษร้ายพรากผู้เสียหายไป ดังนี้ เป็นการให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำความผิด จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. ม. 86, 318

- คำพิพากษาฎีกาที่ 757/2528 จำเลยเป็นบุตรของผู้เสียหาย อันเกิดจากภรรยาคนเดิมเคยอาศัยอยู่ที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยรู้ว่าพวกคนร้ายจะทำการปล้นทรัพย์ จำเลยได้ผูกสุนัขดุไว้ และพาพวกคนร้ายเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย ดังนี้ เป็นการช่วยเหลือ และให้ความสะดวกแก่คนร้ายในการปล้นทรัพย์ จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดปล้นทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2118/2529 ฟ้องว่าจำเลยกับพวกอีก 2 คนร่วมปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นตาย ปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ช่วยวางแผนให้คนร้าย 2 คนไปกระทำผิดใน สวนยางและขณะคนร้าย 2 คนไปกระทำความผิดตามแผนที่วางแผนไว้ จำเลยยืนอยู่นอกสวนยาง ห่างสวนยางชั่วระยะตะโกนกันได้ยิน ใน ช่วงระยะเวลาที่คนร้าย 2 คนดังกล่าวกระทำความผิด นางสาวอ. บุตรผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ผ่านจำเลยเข้าไปในสวนยางที่ เกิดเหตุจำเลยก็มิได้ส่งสัญญาณให้คนร้าย 2 คนดังกล่าวทราบหรือ เข้าช่วยคนร้าย 2 คนนั้น คงยืนอยู่เฉย ๆ เมื่อคนร้าย 2 คน นั้นกระทำความผิดตามที่วางแผนไว้สำเร็จแล้ว คนร้ายคนหนึ่ง หลบหนีไปทางอื่น คนร้ายอีกคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ผ่านหน้าจำเลยไปแล้ว จำเลยก็กลับบ้าน การกระทำของจำเลย ดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับ คนร้าย 2 คนนั้นโดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เป็นการช่วยเหลือหรือ ให้ความสะดวกในการที่คนร้าย 2 คนดังกล่าวกระทำความผิด จำเลย จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของคนร้าย 2 คนดังกล่าว. / เมื่อปรากฏว่าคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ของผู้ตายโดยใช้ กำลังประทุษร้ายโดยการยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวก แก่การลักทรัพย์และพาเอาทรัพย์ไปจนเป็นเหตุให้เจ้าทรัพย์ ถึงแก่ความตายมี 2 คน การกระทำของคนร้าย 2 คนดังกล่าวจึงเป็น ความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคท้าย. / เสื้อแจกเกตของคนร้ายที่ทิ้งไว้รวมกับบางส่วนของทรัพย์สินของ ผู้ตายที่คนร้ายชิงไปถือไม่ได้ว่าเสื้อตัวนี้เป็นทรัพย์สิน ที่คนร้ายได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด นอกจาก นี้เสื้อดังกล่าวยังมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ศาลจะริบเสื้อดังกล่าวไม่ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3985/2530 จำเลยที่ 2 ขับรถสามล้อเครื่องพาจำเลยที่ 1 มายังที่เกิดเหตุขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังลักทรัพย์ในร้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จอดรถอยู่บริเวณหน้าร้านผู้เสียหายห่างประมาณ 6-7 เมตรและนั่งอยู่เฉย ๆ ข้างรถสามล้อเครื่องมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเอาทรัพย์ผู้เสียหายไป มิได้คอยดูต้นทางให้จำเลยที่ 1 หรือให้ความร่วมมือ โดยใกล้ชิดกับการที่จำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 เพียงแต่รอคอยอยู่เพื่อจะขับรถพาจำเลยที่ 1 ออกไปจากที่เกิดเหตุ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนและขณะกระทำผิด จำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด / จำเลยที่ 2 เพียงแต่ขับรถสามล้อเครื่องมาส่งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ผู้เสียหาย ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถสามล้อเครื่องดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ พาทรัพย์ไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 336 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 335 วรรคสามเท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3091/2531 จำเลยที่ 5 มิได้มีเจตนาร่วมลักทรัพย์ แต่ขับรถยนต์กระบะเข้ามาจอดตรงบริเวณที่มีลูกปาล์ม ซึ่งจำเลยอื่นได้ลักตัดจากต้นปาล์มของผู้เสียหาย นำมากองไว้ โดยจำเลยที่ 5 ได้นัดหมายกับจำเลยอื่นไว้ก่อนแล้ว ว่าจะมาขนลูกปาล์มไป หลังจากจำเลยอื่นลักทรัพย์เสร็จสิ้นแล้วนั้น เท่ากับว่าจำเลยที่ 5 ได้ตกลงช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยอื่นกระทำความผิด ไว้ตั้งแต่ก่อนกระทำความผิดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นผู้สนับสนุนในการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยอื่น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5087/2533 จำเลยที่ 2 เป็นภรรยาจำเลยที่ 1 ในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสอง ไปซักผ้าที่บ่อน้ำหน้าบ้านของโจทก์ร่วมด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 แยกตัวไปก่อน แล้วจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปชวน ส. มารดาของโจทก์ร่วม ซึ่งอยู่เฝ้าบ้านให้ออกไปเก็บใบพลู ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือ จำเลยที่ 1 ให้เข้าไปลักทรัพย์ในบ้านของโจทก์ร่วมได้โดยสะดวก และหลังจากมีเสียงสุนัขเห่าซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปใน บ้านของโจทก์ร่วมแล้ว ส. จะกลับ จำเลยที่ 2 ก็ได้ชวนคุยต่อ อันถือได้ว่าเป็นการหน่วงเวลาไว้เพื่อให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งกำลังเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านโจทก์ร่วมกระทำผิดได้ต่อไป การกระทำ ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ทั้งก่อนและขณะเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม อันเป็นความผิดฐาน เป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3257/2537 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระภิกษุร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปในห้องเกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 2 จากไปด้วยอาการรีบร้อน เป็นพฤติการณ์ที่เปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ลงมือทำร้ายและ ลักทรัพย์ของผู้เสียหาย และอาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 ก็เป็น อาวุธปืนกระบอกเดียวกับที่จำเลยที่ 2 นำไปฝากไว้แก่พยานโจทก์ และจำเลยที่ 2 ไปขอคืนมาในตอนเช้าวันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 ยังไม่ถึงขั้น เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เป็น เพียงผู้สนับสนุนให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดเท่านั้น / ก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไปชี้ห้องที่เกิดเหตุเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 4 เป็นเพียง ผู้สนับสนุน มิใช่ตัวการร่วมกระทำผิด แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 4 ให้ถูกต้องได้ / โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 92, 340, 340 ตรี, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ให้จำเลยทั้งสี่ ร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์พระพุทธรูปที่แตกหักเป็นเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ริบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และรถยนต์ ของกลางและเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย / ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ตามวัน เวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้เข้าไป ในห้องที่เกิดเหตุลักเอาสร้อยคอทองคำ 1 เส้น ราคา 5,000 บาท พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนหน้าตัก 8 นิ้ว 1 องค์ ราคา 20,000 บาท พระพุทธรูปแก้วสีน้ำตาลหน้าตัก 8 นิ้ว 1 องค์ ราคา 20,000 บาท ของ ผู้เสียหายไป โดยในการลักทรัพย์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ใช้อาวุธปืน ต่อสู้ระหว่างหลบหนีการจับกุม ทรัพย์สองรายการแรกผู้เสียหาย ได้รับคืนแล้ว ส่วนพระพุทธรูปแก้วสีน้ำตาลจำเลยที่ 1 ทำตกแตกในบริเวณที่เกิดเหตุ คดีมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ ได้ร่วมกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ข้อเท็จจริง จากพยานหลักฐานของโจทก์เห็นได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 ร่วมทางกับ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไปยังห้องพักที่เกิดเหตุในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2534 และได้พูดกับนางชีฟองเพียงว่า มาจากวัดบ่อไร่ จังหวัดตราด จะมาซื้อของไปทอดผ้าป่า หากกลับวัดบ่อไร่ไม่ทันจะขอพัก ค้างคืนที่นั่น ซึ่งดูไม่เป็นสาระประการใด พฤติการณ์ส่อว่าจำเลย ที่ 1 ถึงที่ 3 พากันไปดูลู่ทางเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์มากกว่า และในวันถัดไปคือวันเกิดเหตุ จำเลยทั้งสามดังกล่าวได้ไปยัง ห้องพักดังกล่าวอีก ทั้งที่ไม่ปรากฏว่ามีธุระจำเป็นใดที่จะต้องไปยัง สถานที่ดังกล่าวอีก การที่จำเลยที่ 2 ไปเพียงเข้าห้องน้ำแล้วจากไป ด้วยอาการรีบร้อน เป็นพฤติการณ์ที่เปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ลงมือทำร้ายผู้เสียหายและลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป และอาวุธปืน ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากจำเลยที่ 1 ในขณะจับกุมก็เป็น อาวุธปืนพกลูกซองมีทะเบียน นว.6/14802 ซึ่งมีกระสุนปืนบรรจุอยู่ 3 นัด ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นอาวุธปืนกระบอกเดียวกับที่จำเลยที่ 2 นำไปฝากสิบตำรวจตรีสุวัฒน์ชัยไว้ และไปขอคืนมาในตอนเช้า วันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนดังกล่าวไปในเมืองหมู่บ้าน และ ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร / ส่วนที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ ด้วยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 2 นำจำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปในห้องที่เกิดเหตุ แล้วออกไปก่อนที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ลงมือกระทำความผิดการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ถึงขั้น เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำความผิด / อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 ได้ไปยังห้องที่เกิดเหตุกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย คงได้ความแต่เพียงว่าก่อนเกิดเหตุหนึ่งวัน จำเลยที่ 4 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไปชี้ห้องที่เกิดเหตุเท่านั้น ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก ก่อนการกระทำความผิด มิใช่ตัวการในการกระทำความผิด เมื่อปรากฏว่า ขณะเกิดเหตุมีเพียงจำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปลักทรัพย์ผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการอุดปากและทุบแก้มผู้เสียหายจนฟันหัก 1 ซี่ เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ และการพาทรัพย์นั้นไป เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่น ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ที่ศาลล่าง ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้น วินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 16/2544 จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสายไฟฟ้าเก่าของผู้เสียหายที่วางอยู่ตามพื้นในโรงงานมาวางบนเหล็กร้อน ทำให้เปลือกสายไฟฟ้าไหม้ละลายหมดเหลือแต่ลวดทองแดงที่เป็นซากของสายไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการเอาทรัพย์นั้นไปขายก็มิใช่แปรสภาพไปเป็นของอื่น ถือว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 เริ่มลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นับแต่ที่นำสายไฟฟ้าไปวางบนเหล็กร้อนและเป็นความผิดต่อเนื่องกันมา จนกระทั่งขนย้ายลวดทองแดงออกจากโรงงาน ไปขึ้นรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 ที่นอกรั้วโรงงาน แต่จำเลยที่ 1 รออยู่ห่างจากจุดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โยนทรัพย์ออกมาประมาณ 100 เมตร ไม่อาจช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที ไม่ใช่แบ่งหน้าที่กันทำในส่วนที่เป็นการกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการ คงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น / การที่จำเลยทั้งสามคบคิดกันลักลวดทองแดงของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างโดยให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้โรงงานเพื่อบรรทุกทรัพย์ไปย่อมเล็งเห็นเจตนาได้ว่า ประสงค์จะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อการพาทรัพย์นั้นไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ดังกล่าว / สายไฟฟ้าของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยลักนำไปเผาลอกเอาเปลือกออกยังคงเหลือซากที่เป็นลวดทองแดงอยู่ มิได้ถูกทำลายสูญหายไปทั้งหมดหรือแปรสภาพไปเป็นของอื่น เมื่อผู้เสียหายได้รับลวดทองแดงคืนแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จะขอให้คืนหรือใช้ราคาเต็มของสายไฟฟ้าแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 อีกไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยเนื่องจากนำสายไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเอาเองเป็นคดีใหม่ / จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุเพื่อจะใช้เป็นพาหนะบรรทุกลวดทองแดงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลักไป จำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้เป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรง จึงถือไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33(1)

- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2545 จำเลยที่ 4 เข้าไปแอบซ่อนตัวอยู่ในช่องเก็บสัมภาระใต้ท้องรถ เพื่อลักทรัพย์ของผู้โดยสาร โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ด้วยความรู้เห็นเป็นใจของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขับรถ ขณะนำรถมาจอดและรับประทานอาหาร การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 4 ลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

- กรณีไม่ถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ กรณีลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2028/2535 พฤติการณ์ที่ปรากฏในบันทึกคำรับสารภาพชั้นจับกุม และบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 รู้ถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีว่าจะไปชิงทรัพย์ผู้ตาย และขณะที่จำเลยที่ 1 ล็อกคอผู้ตาย จำเลยที่ 2 ก็รีบปลีกตัวออกมาจากที่เกิดเหตุ ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้ตายร่วมกับจำเลยที่ 1 เพราะไม่ได้มีการแบ่งหน้าที่กันทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 2ไม่ได้ร่วมกระทำผิดตามเจตนาเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุน ทั้งการนัดหมายระหว่างจำเลยทั้งสองว่าหากจำเลยที่ 1 ลงมือกระทำผิดขณะใด ให้จำเลยที่ 2 หลบไปจากที่นั้น ก็ไม่ใช่การร่วมมือหรือเป็นการกระทำผิดในทางอาญาเช่นกัน

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ กรณีฉ้อโกง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3789/2533 จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินทุนดำเนินการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงาน ของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมาตามพฤติการณ์ จำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงานการรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าว เป็นการหลอกลวงประชาชน เพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงานซึ่งจำเลยที่ 4 ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้น บรรลุผลเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กระทำผิดจำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 811/2534 สามีจำเลยได้ประกาศชักชวนหลอกลวงประชาชนในหมู่บ้านว่าสามารถ จัดหางานให้ไปทำที่ประเทศสิงค์โปร์ได้ เมื่อผู้เสียหายมอบเงิน ให้สามีจำเลย จำเลยก็นั่งอยู่ด้วย สามีจำเลยรับเงินจากผู้เสียหาย แล้วส่งให้จำเลย จำเลยรับเงินไว้และพูดว่าหากไม่ได้ไปจะคืนเงินให้ แสดงว่าจำเลยรู้ว่าความจริงสามีจำเลยไม่สามารถพาพวกผู้เสียหาย ไปทำงานต่างประเทศได้ การที่จำเลยรับเงินและพูดดังกล่าวจึงเป็น การพูดสนับสนุนให้พวกผู้เสียหายเชื่อในคำชักชวนของสามีจำเลยยิ่งขึ้น อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่สามีจำเลย กระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จึงมีความผิดฐานสนับสนุนการฉ้อโกงประชาชน / ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ก่อนวันเวลาเกิดเหตุ นายทวี ไหวมาก สามีของจำเลยได้ประกาศชักชวนหลอกลวงประชาชนในหมู่บ้านตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ว่า สามารถจัดหางานให้ไปทำงานที่ ประเทศสิงคโปร์ได้ ทำให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดหลงเชื่อและมอบเงิน ให้นายทวีรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 80,000 บาท แต่นายทวีไม่สามารถ จัดหางานให้ได้ ขณะผู้เสียหายทั้งเจ็ดมอบเงินให้นายทวีสามีของจำเลย จำเลยได้นั่งอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย นายทวีรับเงินจากผู้เสียหายแล้ว ส่งเงินต่อให้จำเลย จำเลยได้รับเงินไว้ และจำเลยยังได้พูดกับพวก ผู้เสียหายว่า หากไม่ได้ไปจะคืนเงินให้ นายทวีและจำเลยเป็นสามี ภรรยากันย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การที่จำเลยพูดกับพวก ผู้เสียหายว่า หากไม่ได้ไปจะคืนให้ก็เป็นการแสดงว่าจำเลยรู้ว่า ความจริงนายทวีไม่สามารถพาพวกผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ แม้ จะได้ความว่าก่อนวันรับเงินจำเลยเคยถามนายทวีต่อหน้านางหน่วยว่า นายทวีสามารถพาไปได้จริงหรือเปล่าก็ตาม แต่จำเลยก็ยังพูดข้อความ ดังกล่าวและรับเงินที่นายทวีรับไว้จากพวกผู้เสียหายด้วย อันเป็น การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่นายทวีกระทำความผิด ฐานฉ้อโกงประชาชนหรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการพูดสนับสนุนให้พวก ผู้เสียหายเชื่อในคำชักชวนของนายทวียิ่งขึ้น การกระทำของจำเลย จึงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3533-3535/2535 จำเลยที่ 2 เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมหลอกลวงโจทก์ร่วม หรือพวกผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น นอกจากช่วยพูดจารับรองกับโจทก์ร่วม และพวกผู้เสียหายในวันสมัครงานว่าจำเลยที่ 1 สามารถส่งคนไปทำงาน ต่างประเทศได้จริงและพูดจารับรองว่าจะคืนเงินให้หากไม่ได้ไปหรือ ไปแล้วไม่ได้ทำงานเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 แล้ว / ในสำนวนแรกและสำนวนที่สามโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสามารถ จัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน และฟ้องสำนวนที่สองว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครอง คนหางาน พ.. 2528 เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ข้อเท็จจริงปรากฏว่า พวกของจำเลยที่ 1 ได้จัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายบางส่วนในสำนวน ที่สองซึ่งเป็นชุดเดียวกับสำนวนแรกและสำนวนที่สามไปทำงานในประเทศ สิงคโปร์ และบางส่วนให้ไปรอเข้าประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ประเทศ มาเลเซียก่อน แต่ในที่สุดคนสมัครงานทุกคนก็ถูกส่งกลับประเทศไทย โดยไม่ได้เข้าทำงานที่ประเทศไต้หวันตามที่จำเลยที่ 1 กับพวก หลอกลวงไว้แม้แต่คนเดียว การส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปประเทศ สิงคโปร์หรือประเทศมาเลเซียนั้นจึงเป็นเพียงวิธีการหรืออุบาย อย่างหนึ่งในการกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนซึ่งเป็นชุดเดียวกัน นั่นเอง โดยจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้มีเจตนาที่จะจัดหางานหรือ ส่งคนสมัครงานไปทำงานในประเทศที่หลอกลวงไว้แต่อย่างใด และจาก พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกเคยส่งคนสมัครงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวันจริง การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางาน และคุ้มครองคนหางาน พ.. 2528 อีกบทหนึ่ง

- กรณีไม่ถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ กรณีฉ้อโกง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1584/2529 ผู้เสียหายติดต่อกับบุตรจำเลย จนตกลงใจจะไปทำงานต่างประเทศ ได้ไปทำหนังสือเดินทางเสร็จ และกำหนดวันจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่บุตรจำเลย เมื่อนำเงินไปจ่ายตามนัด แม้จำเลยจะอยู่ด้วยช่วยนับเงินและพูดเสริมคำของบุตรที่รับรองว่าหากไปไม่ได้งานทำ ก็จะคืนเงินให้ ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการกระทำของบุตร จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานสนับสนุนการฉ้อโกงตาม ป.อ. ม.341, 86

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามกฎหมายพิเศษ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2597/2516 คำฟ้องในตอนแรกกล่าวว่า ส. ซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ ขององค์การ ร... ร่วมกับจำเลยและพวกลักเอาผ้าปูพื้นเต็นท์สนาม ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์การ ร... และบรรทุกมาในรถที่ ส. ขับ ในตอนต่อไปกล่าวว่า การกระทำของ ส. ดังกล่าวเป็นการเบียดบังทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองขององค์การ ร... ในขณะที่ ส. มีหน้าที่จัดการและรักษาทรัพย์นี้ตามหน้าที่ไป เป็นประโยชน์ของตนและผู้อื่นโดยทุจริต จำเลยกับพวกเป็นผู้สนับสนุน การกระทำของ ส. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นไป กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ บรรยายฟ้องประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.. 2502 มาตรา 4 ซึ่งมีอัตราโทษหนักนั่นเอง และในกรณีเช่นนี้การกระทำ ของจำเลยเป็นความผิดฐานสนับสนุนผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.. 2502 เท่านั้น หาเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ด้วยไม่

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับการครอบครอง หรือพาอาวุธ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2173/2514 จำเลยที่ 1 เคยเหมาเรือยนต์ของจำเลยที่ 4 ไปเอาอาวุธปืนเป็นประจำ โดยจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 ได้อาวุธปืนนั้นไปสำหรับการค้า การที่จำเลยที่ 4 รู้แล้วยังใช้เรือเป็นพาหะรับส่งจำเลยที่ 1 อีกเช่นนี้ ถือเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทำความผิด ฐานมีอาวุธปืนไว้นครอบครอง จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1809/2530 การที่จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ปิดเปิดประตูบ้านให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ซึ่งพาผู้ซื้อเข้าไปดูเฮโรอีนที่บ้าน และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 เดินออกจากบ้านพร้อมจำเลยที่ 1ซึ่งนำเฮโรอีนไปส่งแก่ผู้ซื้อก็ดี การที่จำเลยที่ 3 เจรจาซื้อขายเฮโรอีนกับผู้ซื้อก็ดีและการที่จำเลยที่ 4 เข้ามาร่วมกับจำเลยที่3 เจรจาซื้อขายเฮโรอีนกับผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อถามถึงเรื่องส่งมอบ จำเลยที่ 4 ไปตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของของผู้ครอบครองเฮโรอีนมาเจรจาก็ดี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้ร่วมครอบครองเฮโรอีนด้วย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการขายเฮโรอีน จึงเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

- กรณีถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับการไม้หวงห้าม หรือป่าไม้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2183/2522 จำเลยรับจ้างบรรทุกไม้ขึ้นบรรทุกรถยนต์ โดยรู้ว่าเป็นไม้หวงห้ามผิดกฎหมาย โดยเจ้าของควบคุมไปด้วย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีไม้ของกลางไว้ในความครอบครอง แต่เป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. ม.86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3418/2524 ขณะเกิดเหตุ เจ้าของได้ครอบครองไม้ของกลางอยู่ด้วยตนเอง จำเลยเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ซึ่งบรรทุกไม้นั้น ก็เป็นแต่ผู้รับจ้างบรรทุกไม้เท่านั้น จำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองไม้ของกลาง จึงถือว่าจำเลยร่วมกระทำผิดกับเจ้าของไม้ไม่ได้ การกระทำของจำเลย เป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่เจ้าของไม้ซึ่งกำลังกระทำความผิด อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดเท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 527/2532 ไม้ฟืนของกลางที่จำเลยรับจ้างบรรทุกรถยนต์นั้น ถูกเก็บกองอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ความผิดฐานเก็บหาไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่ายังไม่ขาดตอน พฤติการณ์ที่จำเลยหลบหนีไปเพราะพบเห็นเจ้าหน้าที่ แสดงว่าจำเลยทราบดีว่าไม้ฟืนของกลางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยรับจ้างบรรทุกไม้ฟืน อันเป็นของป่าซึ่งผู้กระทำผิดนำมากองไว้ เพื่อจะนำออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิดฐานเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้จำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4035/2532 จำเลยนำรถยนต์บรรทุกของนายจ้างขนไม้หวงห้ามให้แก่นายจ้าง เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่นายจ้างของจำเลย ในการกระทำความผิดฐานมีไม้ยางแปรรูปของกลางไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 86

- กรณีไม่ถือเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด ความผิดเกี่ยวกับการพนัน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 394/2502 ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันตามบัญชี ข. โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นได้มี พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4, 12 บัญญัติความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่มีผิดฐานสมรู้สนับสนุนผู้กระทำผิดตาม มาตรา 86 อีก

- จุดที่เกิดความรับผิดของผู้สนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2800/2522 การสนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อาญา ม.86 นั้น จะต้องมีผู้อื่นเป็นตัวการในการกระทำผิด หากเป็นกรณีที่ไม่มีตัวการกระทำผิดในความผิดดังกล่าว ผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในความผิดนั้น ก็ย่อมไม่มีความผิดในฐานเป็นสนับสนุน

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 37 ประจำปี พ.ศ. 2527 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 3 / ก. ต้องการฆ่า . แต่ไม่รู้ว่าจะไปจ้างมือปืนที่ไหน . จึงแนะนำ . ไปจ้าง . ซึ่งเป็นมือปืนไปฆ่า . . ไปจ้าง . ตามที่ . แนะนำถ้าหาก . ไปว่าจ้าง . แล้ว แต่ . เกิดไม่ยอมรับจ้างฆ่า . จะมีความผิดฐานใดหรือไม่ / กรณี . ไม่ยอมตกลงรับจ้างฆ่านั้น ค. ย่อมไม่มีความผิดอะไร . ก็ไม่มีความผิดเช่นกัน เพราะความผิดที่ตนสนับสนุนไม่ได้กระทำลง จึงถือไม่ได้ว่ามีการสนับสนุน จะถือว่า . พยายามสนับสนุนก็ไม่ได้ เพราะการพยายามสนับสนุนมีไม่ได้

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 52 ประจำปี พ.ศ. 2542 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 2 / นายแดงตกลงตามที่นายม่วงว่าจ้าง เพราะอยากได้เงินค่าจ้างและตนได้ตกลงใจที่จะฆ่านายดำอยู่ก่อนแล้วไม่ว่านายม่วงจะมาว่าจ้างหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ นายม่วงได้ให้นายแดงยืมปืนไปใช้ฆ่านายดำด้วย เมื่อนายแดงพบนายดำจึงได้แอบเดินไปข้างหลังนายดำและชักปืนออกมาจากเอวเพื่อจะยิงนายดำ โดยที่ยังมิทันได้ยกปืนจ้องยิงไปทางนายดำ แต่นายแดงถูกพลเมืองดีเข้าขัดขวางเสียก่อน จึงไม่สามารถยิงนายดำได้ / ม้การที่นายม่วงจ้างให้นายแดงไปฆ่านายดำ และการให้ยืมปืนไปใช้ในการฆ่า จะเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่นายแดง แต่นายม่วงก็ไม่เป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เพราะการกระทำของนายแดงยังไม่ถึงขั้นที่เป็นความผิด (คำพิพากษาฎีกาที่ 2800/2522)

- ความรับผิดภายในเจตนาของผู้สนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 280/2510 คนร้ายเข้าปล้นและยิงเจ้าทรัพย์ตาย พยานโจทก์ที่วิ่งไปสกัดคนร้าย เห็นจำเลยวิ่งมาในพวกคนร้าย 6 คน จำเลยจ้องปืนพูดว่า อย่าเข้ามา พยานจึงไม่กล้าไล่ตามไป พยานอีกคนหนึ่งเห็นจำเลยนั่งอยู่ชายป่า เมื่อเกิดเสียงปืนดังแล้ว คนร้ายวิ่งจากบ้านเกิดเหตุมายังที่ที่จำเลยนั่งอยู่ ส่งปืนให้จำเลยแล้ววิ่งเข้าป่าไป เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่า จำเลยสนับสนุนในการที่คนร้ายอื่นเจตนาฆ่าเจ้าทรัพย์มาตั้งแต่ต้น และแม้ว่าการมีปืนไปปล้น น่าจะเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้เป็นธรรมดา แต่ก็ยังไม่พอที่จะฟังว่า จำเลยได้เล็งเห็นว่าคนร้ายอื่น จะถึงกับฆ่าเจ้าทรัพย์โดยเจตนาอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 340 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 86 ภายในขอบเขตของเจตนาในการสนับสนุนตามมาตรา 87 เท่านั้น

- ประเด็นเปรียบเทียบ ผู้ใช้ กับผู้สนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 382/2512 (สบฎ เน 2086) จำเลยที่ 3 วิ่งมาพูดยุยงให้ฆ่าผู้ตาย หลังจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 "มิได้เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 ทำผิด" เพราะลงมือแล้ว คำพูดยุยงเป็นเพียงสนับสนุนเร้าใจให้มุ่งทำร้ายถึงตายผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

- การร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงาน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 774/2520 จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และนำชี้ให้จำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดพิสูจน์ น.ส. 3 ไปโดยจำเลยที่ 2 ได้บันทึกในคำขอรับรองการทำประโยชน์ว่า ลักษณะของที่ดินเป็นที่ดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การทำนา ปลูกข้าว อันมิใช่ความจริง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกระทำผิดตาม ป.อ. ม.157 กับจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดฐานผู้สนับสนุน

- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- มาตรา 213 หากเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจร อาจต้องต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการ ตามเงื่อนไข ม 213

- มาตรา 282 4 และ มาตรา 283 4 ผู้สนับสนุน โทษเท่าตัวการ

- มาตรา 314 ผู้สนับสนุนในความผิด มาตรา 313 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกันตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 394/2502 ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันตามบัญชี ข. โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นได้มี พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4, 12 บัญญัติความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่มีผิดฐานสมรู้สนับสนุนผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 อีก

- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 86

- (ขส เน 2512/ 3) สามีแกะ สร้อยของมารดาภรรยาไปจากคอของภรรยา ผิด ลักทรัพย์ ม 334 ไม่ได้รับยกเว้นโทษตาม ม 71 เพราะเป็นทรัพย์ของ มารดาภรรยา” / นายแกะเห็นเหตุการณ์ตลอด ขับรถพาสามีหนี นายแกะไม่ผิดฐานสนับสนุนให้ลักทรัพย์ ม 334+86 เพราะเป็นช่วยเหลือหลังจากความผิดลักทรัพย์สำเร็จแล้ว ไม่ใช่ช่วยเหลือก่อนหรือขณะทำผิด จึงไม่เป็นการสนับสนุน แต่นายแกะผิด ม 189 ฐานช่วยผู้กระทำผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ โดยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม และ ฐานรับของโจร ตาม ม 357 โดยการที่ได้ช่วยพาเอาทรัพย์ที่ลักนั้นไปเสีย

- (ขส เน 2527/ 3) ก ต้องการฆ่า จ / ข จึงแนะนำ ก ให้ไปจ้าง ค ซึ่งเป็นมือปืน / ก จึงจ้าง ค ให้ยิง จ / ก ข ค ผิดฐานใด และหาก ก จ้าง ค แล้ว แต่ ค ไม่ฆ่า จ จะผิดฐานใด / กรณีแรก ค ยิง จ ตามที่รับจ้างฆ่า ผิด ม 289 (4) ฎ 1968/2521 / ก ผู้ใช้ รับโทษตาม ม 289 (4) เสมือนเป็นตัวการ โดยผลของ ม 84 ว 2 / ส่วน ข แนะนำ ก เป็นผู้สนับสนุน การใช้ให้ฆ่าถือเป็นผู้สนับสนุนการฆ่า ตาม ม 289 (4) , 86 / กรณีหลัง ค ไม่ตกลงฆ่า ค ย่อมไม่ผิด / ข ก็ย่อมไม่ผิด เพราะความผิดที่สนับสนุน ไม่ได้กระทำลง จึงถือไม่ได้ว่ามีการสนับสนุน และถือว่า พยายามสนับสนุนก็ไม่ได้ เพราะการพยายามสนับสนุน มีไม่ได้ / ก ผู้ใช้นั้น แม้ความผิดยังไม่ได้ทำลง ผู้ใช้ก็ต้องระวางโทษสองในสามส่วน ของความผิดที่ใช้ ตาม ม 84 ว 2

- (ขส พ 2504/ 6) เด็กหญิงดำอายุไม่ครบ 13 ปีตกลงอยู่ร่วมฉันสามีภรรยากับนายขาว อายุ 19 ปี บิดามารดาของเด็กหญิงดำตามใจ เด็กหญิงดำจึงไปอยู่กินหลับนอนกับนายขาว (นายขาว เด็กหญิงดำ และบิดามารดาของเด็กหญิงดำ ผิดฐานใด) / นายขาวผิด ฐานชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปี แม้หญิงยินยอมก็เป็นความผิด ตาม ม 277 / เด็กหญิงดำไม่มีความผิด เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ ตาม ปอ ม 2 (ประกอบกับ มาตรา 277 มุ่งคุ้มครองตัวเด็กหญิงเอง เด็กหญิงที่ยินยอมด้วยในการชำเรา จึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ในความผิดนี้ / บิดามารดา ของเด็กหญิง ไม่มีความผิด เพราะไม่เป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิดตาม ม 86 การกระทำเกิดขึ้น เนื่องจากความตกลงใจของเด็กหญิงเอง ที่ไปหานายขาว ไม่ใช่การกระทำของบิดามารดา

- (ขส พ 2517/ 8) แดงดำ หลอกขาวว่าเป็นตำรวจขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งสุรา คุมตัวไปมอบให้เขียว เขียวอ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรสามิต ทำบันทึกให้ขาวยอมรับ และแจ้งให้นำเงินค่าปรับมาชำระ ขาวบอกไม่มีเงิน แดงดำคุมตัวขาวไปหายืมเงิน ม่วงเป็นกำนัน แนะนำให้เสียค่าปรับ แล้วทุกคนแบ่งเงินกัน / แดง ดำ เขียว ผิด ม 145 และ ม 310 และ ม 337 ประกอบ ม 83 ส่วนม่วงผิด ม 86 , 337 และ ม 157 ฎ 1077/2505

- (ขส พ 2522/ 6) คนใช้ไม่พอใจเจ้านาย แกล้งเปิดหน้าต่างให้ขโมยเข้าบ้าน ขโมยเห็นหน้าต่างเปิด จึงปีนเข้าบ้าน คนใช้ตื่นพอดี เกิดสงสารเจ้านาย จึงตะโกนว่ามีคนร้าย ขโมยหนีทันที ยังไม่ได้ทรัพย์ เจ้านายจับขโมยได้จึงต่อว่า ขโมยชกฟันหัก (เพราะโกรธ) / ขโมยผิด พยายามลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน โดยเข้าช่องทางที่มีผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ ม 335 (1) (4) (8) , 80 ลงโทษสองในสามส่วน ฎ 854/2507 / ไม่ผิดพยายามชิงทรัพย์ ม 339, 80 เพราะไม่ได้ทำร้ายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม / คนใช้ผิดสนับสนุนลักทรัพย์ ม 335 , 80 , 86 แต่ไม่ผิดสนับสนุนทำร้ายร่างกาย เพราะนอกเหนือเจตนา ม 87 แต่การขัดขวางทำให้ไม่ได้ทรัพย์ไป ไม่ต้องรับโทษตาม ม 88

- (ขส พ 2529/ 8) ดำฟันสีแล้ว แดงร้องบอกว่าฟันให้ตาย ดำจึงฟันสีอีก ถึงตาย แดงมิได้ก่อให้ดำทำผิด เพราะดำลงมือแล้ว แต่เป็นคำยุยง อันเป็นการสนับสนุนในการที่ดำกระทำผิด แดง ผิด ม 288+86 382/2512 / ดำทำชู้กับสา ต่อมา สีทุบตีสา สาเรียกให้ดำช่วย ดำรัดคอสีตาย สาก็มิได้ขัดขวางไว้ แสดงว่าสารู้เห็นเป็นใจกับสี ตามที่ตนร้องขอความช่วงเหลือ สากำชับบุตรห้ามบอกใคร และหลอกเพื่อนบ้านว่าผัวเมียตีกัน ทั้งที่ดำกำลังทำร้ายสี เห็นเจตนาได้ชัดว่าทำเพื่อให้ความสะดวกในการที่ดำทำร้ายสี ผิด ม 288+86 1113-4/2508

- (ขส พ 2529/ 10) ยอมให้ใช้บ้าน ทดลองทำเหรียญปลอม ผิด ม 240+86 / รับฝากเครื่องมือผิด ม 246 ลงโทษ ม 240 + 86 กระทงเดียว ตาม ม 248 / รับฝากเหรียญปลอม ซึ่งไม่เหมือนจริง ไม่ใช่เจตนาเพื่อนำออกใช้ไม่ผิด ม 244 ฎ ป 1969/2505

- (ขส อ 2520/ 6) กลมจ้างเบี้ยวไปฆ่าเหลี่ยม บิดาของกลม / เบี้ยวไม่รู้ไปถามเหลี่ยม เหลี่ยมชี้แบน จึงยิงแบนตาย / กลมผิด ม 289 (4) + 84 (สังเกต ม 289 (1)) / เบี้ยว ผิด ม 289 (4) + 61 / (เหลี่ยม ไม่ผิดสนับสนุน เพราะไม่มีเจตนาให้ความสะดวกหรือช่วยเหลือ / ไม่ผิดผู้ใช้ เพราะไม่ได้ก่อให้เบี้ยวตัดสินใจ / จึงไม่ต้องอ้างจำเป็น หรือป้องกัน) (ไม่เป็นป้องกัน เพราะไม่มีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิ))

- (ขส อ 2530/ 1) แต่งเป็นพระ หลอกว่าเป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ เพื่อเอาเงินบริจาค จากชาวบ้าน ผิด ม 208 คนร่วมหลอกเป็นตัวการ ม 208 ด้วย (ฎ 3699-3739/2541 (สบฎ สต 53) ไม่ใช่พระอุปัชฌาย์ แต่บวชให้คนอื่น และมอบเครื่องแต่งกาย ผิด ม 208+86 คนถูกบวช ไม่มีสิทธิ ผิด ม 208) / + ม 343 ว 1 + 83 + 343 ว 2 แสดงตนเป็นคนอื่น (ม 342 (1))

- (ขส อ 2542/ 6) สินสมรส ชื่อของสามี คดีฟ้องหย่า ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดิน สามีขายไป ผิด ม 352 + 187 + 90 / คนแนะนำให้ขายและซื้อเอาไว้ ผิด ม 352 + 187 + 86 (น่าจะ ม 84 เพราะแนะนำแล้ว สามีขาย โดยไม่ปรากฏว่าสามีมีเจตนาตั้งแต่ต้น และเกลื่อนกลืนเป็นตัวการ ม 83 เพราะได้ร่วมมือในการที่สามีขายทรัพย์ ด้วยการรับซื้อเอาไว้เอง) + 357 + 90 / เมียน้อยรับเงินจากสามีโดยรู้ข้อเท็จจริงเรื่องการยักย้ายถ่ายโอนทรัพย์ ไม่ผิด ม 3571 เพราะเงินที่ได้ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาโดยตรง


มาตรา 87 ในกรณีที่มีการกระทำความผิด เพราะมีผู้ใช้ให้กระทำตามมาตรา 84 เพราะมีผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดตามมาตรา 85 หรือโดยมีผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 ถ้าความผิดที่เกิดขึ้นนั้น ผู้กระทำได้กระทำไป เกินขอบเขตที่ใช้หรือที่โฆษณาหรือประกาศ หรือ เกินไปจากเจตนาของผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่รณี ต้องรับผิดทางอาญาเพียงสำหรับความผิดเท่าที่อยู่ในขอบเขตที่ใช้ หรือที่โฆษณาหรือประกาศ หรืออยู่ในขอบเขตแห่งเจตนาของผู้สนับสนุนการกระทำความผิดเท่านั้น แต่ถ้าโดยพฤติการณ์อาจเล็งเห็นได้ว่า อาจเกิดการกระทำความผิดเช่นที่เกิดขึ้นนั้นได้ จากการใช้ การโฆษณาหรือประกาศ หรือการสนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่เกิดขึ้นนั้น

ในกรณีที่ผู้ถูกใช้ ผู้กระทำตามคำโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป ให้กระทำความผิด หรือตัวการในความผิด จะต้องรับผิดทางอาญา มีกำหนดโทษสูงขึ้น เพราะอาศัยผลที่เกิดจากการกระทำความผิด ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย แต่ถ้าโดยลักษณะของความผิด ผู้กระทำจะต้องรับผิดทางอาญามีกำหนดโทษสูงขึ้น เฉพาะเมื่อผู้กระทำต้องรู้ หรืออาจเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลเช่นนั้นขึ้น ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด จะต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้น ก็เฉพาะเมื่อตนได้รู้ หรืออาจเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลเช่นที่เกิดขึ้นนั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 280/2510 คนร้ายเข้าปล้นและยิงเจ้าทรัพย์ตาย พยานโจทก์ที่วิ่งไปสกัดคนร้าย เห็นจำเลยวิ่งมาในพวกคนร้าย 6 คน จำเลยจ้องปืนพูดว่า อย่าเข้ามา พยานจึงไม่กล้าไล่ตามไป พยานอีกคนหนึ่ง เห็นจำเลยนั่งอยู่ชายป่า เมื่อเกิดเสียงปืนดังแล้ว คนร้ายวิ่งจากบ้านเกิดเหตุมายังที่ที่จำเลยนั่งอยู่ ส่งปืนให้จำเลย แล้ววิ่งเข้าป่าไป เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่า จำเลยสนับสนุนในการที่คนร้ายอื่นเจตนาฆ่าเจ้าทรัพย์มาตั้งแต่ต้น และแม้ว่าการมีปืนไปปล้น น่าจะเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้เป็นธรรมดา แต่ก็ยังไม่พอที่จะฟังว่า จำเลยได้เล็งเห็นว่าคนร้ายอื่น จะถึงกับฆ่าเจ้าทรัพย์โดยเจตนาอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 340 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 86 ภายในขอบเขตของเจตนาในการสนับสนุนตามมาตรา 87 เท่านั้น

- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 87

- (ขส พ 2522/ 6) คนใช้ไม่พอใจเจ้านาย แกล้งเปิดหน้าต่างให้ขโมยเข้าบ้าน ขโมยเห็นหน้าต่างเปิด จึงปีนเข้าบ้าน คนใช้ตื่นพอดี เกิดสงสารเจ้านาย จึงตะโกนว่ามีคนร้าย ขโมยหนีทันที ยังไม่ได้ทรัพย์ เจ้านายจับขโมยได้จึงต่อว่า ขโมยชกฟันหัก (เพราะโกรธ) / ขโมยผิด พยายามลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน โดยเข้าช่องทางที่มีผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ ม 335 (1) (4) (8) , 80 ลงโทษสองในสามส่วน ฎ 854/2507 / ไม่ผิดพยายามชิงทรัพย์ ม 339, 80 เพราะไม่ได้ทำร้ายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม / คนใช้ผิดสนับสนุนลักทรัพย์ ม 335 , 80 , 86 แต่ไม่ผิดสนับสนุนทำร้ายร่างกาย เพราะนอกเหนือเจตนา ม 87 แต่การขัดขวางทำให้ไม่ได้ทรัพย์ไป ไม่ต้องรับโทษตาม ม 88


มาตรา 88 ถ้าความผิดที่ได้ใช้ ที่ได้โฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำ หรือที่ได้สนับสนุนให้กระทำ ได้กระทำถึงขั้นลงมือกระทำความผิด แต่เนื่องจาก การเข้าขัดขวางของผู้ใช้ ผู้โฆษณาหรือประกาศ หรือผู้สนับสนุน ผู้กระทำได้กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้ใช้ หรือผู้โฆษณาหรือประกาศ คงรับผิดเพียงที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84 วรรคสอง หรือมาตรา 85 วรรคแรก แล้วแต่กรณี ส่วนผู้สนับสนุนนั้นไม่ต้องรับโทษ

- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 88

- (ขส เน 2512/ 2) สมศรีโกรธสามี จึงจ้างอุดมและเอนกไปฆ่าสามี / สมศักดิ์หาปืนและขับรถไปส่งอุดมและเอนกที่บ้านสามีสมศรี เมื่ออุดมและเอนกขึ้นไปบนบ้าน พบสามีสมศรีหลับอยู่ อุดมจึงยกปืนขึ้นจะยิง แต่กลัวต้องโทษ จึงไม่ยิง เอนกจึงยกปืนจะยิง แต่สมศรีเกิดความอาลัย จึงวิ่งไปปัดปืน กระสุนลั่นถูกฝาเรือน / สมศรีผู้ใช้ให้ฆ่าคน ผิด ม 289 (4) + 84 รับโทษเสมือนตัวการ แต่การปัดปืน ถือว่าความผิดที่ใช้ได้กระทำลงแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะผู้ใช้เข้าขัดขวาง ผู้ใช้มีความผิดตาม ม 289 ประกอบ ม 84 1 และ ม 88 รับโทษตาม ม 84 2 คือ 1 ใน 3 ของ ม 289 / อุดม ยกปืนแล้ว กลัวต้องโทษ จึงไม่ยิง ตาม ม 82 ไม่ต้องรับโทษ / เอนกยิงแล้ว ถูกปัดปืน ผิด ม 289 +80 / สมศักดิ์ผู้สนับสนุน โดยการหาปืนและขับรถให้ ผิด ม 289 + 86 รับโทษ 2 ใน 3

- (ขส อ 2542/ 3) จ้างไปฆ่า ม 289 (4) + 84 คนจ้างปัดปืน ม 88 (ผู้ใช้รับโทษหนึ่งในสาม ของ ม 289 (4)) คนยิงคนแรก ผิด ม 289+80 แต่ยับยั้งเอง ม 82 (ลักษณะตัวการยังไม่ขาดตอนเลย ไปด้วยกัน) คนยิงคนที่สอง ถูกปัดปืน ม 289+80 กระสุนถูกทรัพย์ ไม่ผิด ม 358 ไม่มีเจตนา / ผู้สนับสนุน ม 289+86 รับโทษ 2/3

มาตรา 89 ถ้ามี เหตุส่วนตัว อันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดคนใด จะนำเหตุนั้นไปใช้แก่ผู้กระทำความผิดคนอื่นในการกระทำความผิดนั้นด้วยไม่ได้ แต่ถ้าเหตุอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษ เป็น เหตุในลักษณะคดีจึงให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น: