ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๘๓ ต่อ

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย กรณีตัวการ ยุติเจตนาร่วมกระทำผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1478/2527 จำเลยทะเลาะวิวาทและชกต่อยกับผู้ตาย แต่สู้ไม่ได้ จึงไปเรียก ส. กับ ข. มาช่วย ส. กับ ข.รุมชกต่อย จนผู้ตายยอมแพ้แล้ว เมื่อ ส.กับ ข. ใช้ไม้ตีผู้ตายอีก จำเลยเห็นว่ารุนแรงเกินไป จึงเข้าห้ามปราม ดังนี้ การร่วมกระทำผิดของจำเลย ย่อมยุติลงเพียงนั้น เมื่อผู้ตายวิ่งหนี ส. กับ ข. วิ่งไล่ตามไปและใช้ ไม้ตีจนถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำของ ส. กับ ข. โดยลำพัง ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา คงผิดตาม ม.295 เท่านั้น

- จำเลยรับผิด เจตนาร่วมทำร้าย (ม 83+295) แล้วยุติเจตนาร่วม ไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดต่อมาคือความตาย

- ผู้ที่ตีผู้ตาย ต้องรับผิด เจตนาฆ่า (ม 288) + ผลคือความตาย = ผิด ม 288

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย กรณีตัวการรับผิดเฉพาะภายในขอบเขตแห่งเจตนาที่ร่วมกระทำผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 368/2531 จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้าย ช. และ จ. พวกของผู้ตายก่อน ช. และ จ. วิ่งหนีไป โดยจำเลยกับพวก มิได้ติดตามไปทำร้ายซ้ำเติม เมื่อผู้ตายกับ ธ. ขี่รถจักรยานยนต์มาถึง จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้ตายกับ ธ. อีก โดยพวกจำเลยใช้ไม้ตีผู้ตายล้มลง แล้วจำเลยกับพวกเข้ารุมทำร้ายโดยจำเลยมิได้มีอาวุธ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีสาเหตุกับผู้ตายมาก่อน มูลเหตุที่จะทำร้ายผู้ตายก็มีเพียงว่า จำเลยกับพวกไม่ถูกกับคนในหมู่บ้านเดียวกับผู้ตายจึงทำร้ายฝากมา ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกทำร้ายผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย เพราะถูกพวกของจำเลยใช้ไม้และท่อนเหล็กตี จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย

- จำเลยรับผิด เจตนาร่วมทำร้าย (ม 83+295) + ผลคือความตาย = ผิด ม 290

- ผู้ที่ตีผู้ตาย ต้องรับผิด เจตนาฆ่า (ม 288) + ผลคือความตาย = ผิด ม 288

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2341/2532 จำเลยที่ 3 โกรธที่ผู้ตายทวงเงิน 10 บาทที่จำเลยที่ 3 ยืมไป จำเลยที่ 3 จึงชวนจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และพวกมาดักทำร้ายผู้ตายกับพวก สาเหตุที่ดักทำร้ายเป็นเรื่องเล็กน้อย จำเลยทั้งสี่มิได้พกอาวุธมาด้วย แสดงว่าเจตนาเพียงชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้ตายกับพวกเท่านั้น เมื่อชกต่อยจนผู้ตายล้มลง จำเลยที่ 1 กระชากไม้รั้วจากข้างทางมาตีผู้ตายจนตาย จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเท่านั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้มีเจตนาร่วมในการกระทำในส่วนนี้ด้วย คงมีเจตนาเพียงร่วมทำร้ายร่างกายผู้ตายเท่านั้น เมื่อการร่วมทำร้ายเป็นผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีความผิดฐานร่วมทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย

- จำเลยที่ 2 - 4 รับผิด เจตนาร่วมทำร้าย (ม 83+295) + ผลคือความตาย = ผิด ม 290

- จำเลยที่ 1 ตีผู้ตาย ต้องรับผิด เจตนาฆ่า (ม 288) + ผลคือความตาย = ผิด ม 288

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1586/2535 พฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกลงรถที่ปากซอย แล้วถูกผู้ตายขว้างแก้วมาทางจำเลยกับพวก ย่อมก่อความไม่พอใจแก่จำเลยกับพวก การที่จำเลยกับพวกปรึกษากันก่อนที่จะเข้าไปทำร้ายผู้ตายกับผู้เสียหายทั้งสอง จึงเห็นได้ว่าเป็นการตกลงร่วมกันที่จะเข้าไปทำร้ายผู้ตายกับผู้เสียหายทั้งสองนั่นเอง เมื่อพวกของจำเลยเข้าไปสอบถามสาเหตุจากผู้ตาย และได้ใช้สุราที่ผู้ตายส่งให้ดื่มสาดหน้าผู้ตาย จำเลยก็เข้าทำร้ายผู้ตายทันที เมื่อผู้ตายวิ่งหนี พวกของจำเลยก็ไล่ติดตามไปรุมทำร้ายผู้ตายต่อเนื่องกันไป ขณะเดียวกันพวกของจำเลยอีกหลายคน ก็แบ่งแยกกันทำร้าย ส. และ ม. ผู้เสียหายทั้งสองพร้อมกันไปด้วย มีลักษณะเป็นการนัดแนะกันไว้ก่อน หลังจากทำร้าย แล้วจำเลยกับพวกก็พากันหลบหนีไปด้วยกัน ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสอง แต่เนื่องจากมูลเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นโดยบังเอิญ จำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่า พวกของจำเลยซึ่งมาด้วยกันกว่าสิบคนนั้นคนใด ได้พกอาวุธติดตัวมาด้วย ขณะจำเลยกับพวกเดินเข้าไปสอบถามสาเหตุจากผู้ตายนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยคนใดได้ถือมีอยู่ในมือ แสดงอาการว่าจะเข้าไปแทงผู้ตาย ประกอบทั้งมูลเหตุที่จำเลยกับพวกไม่พอใจผู้ตายนั้น ก็ไม่ใช่สาเหตุร้ายแรงถึงขนาดไปรุมทำร้ายผู้ตายด้วยอาวุธซ้ำอีก พฤติการณ์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกฆ่าผู้ตาย คงฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเหตุนาร่วมกันพวกทำร้ายผู้ตาย และผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย เพราะถูกพวกของจำเลยทำร้าย จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย

- ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295, 288 ลงโทษตามมาตรา 288 ซึ่งเป็นบทหนัก

- ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391

- ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก และมาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83 แต่การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1185/2543 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางพกติดตัวอยู่ เมื่อผู้ตายมาถึง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมชกต่อยทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้าทำร้ายผู้ตาย ภายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ยิง เป็นการกระทำโดยเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้ปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตาย เพราะบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันทำร้ายผู้ตายดังกล่าว มีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งความตายที่เกิดขึ้นด้วย

- จำเลยที่ 1 ผิด มาตรา 288, 371, 376 จำเลยอื่นผิด มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในองค์ประกอบเรื่องการเอาทรัพย์ไป

- คำพิพากษาฎีกาที่ 565/2502 แม้จำเลยมิได้ลงมือกระทำการปล้น เพียงรับหน้าที่คอยแจ้งสัญญาณอันตรายให้พวกทราบ ซึ่งเป็นการกระทำส่วนหนึ่งเพื่อให้การปล้นบรรลุผลสำเร็จก็เรียกได้ว่า จำเลยได้เป็นตัวการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม มาตรา 83 แล้ว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1134/2508 การที่จำเลยยืนอยู่กับพวก พวกของจำเลยเข้าไปทักทายผู้เสียหาย ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แล้วเดินคุยรวมมากับผู้เสียหาย จำเลยเดินรวมมากับพวกของจำเลยด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกของจำเลยรัดคอและรูดเอานาฬิกาข้อมือผู้เสียหาย จำเลยยืนกระหนาบอยู่ข้าง ๆ ผู้เสียหาย พวกของจำเลยรูดเอานาฬิกาข้อมือได้แล้ว จำเลยวิ่งหนีเข้าวัดพวกของจำเลยวิ่งตามไปนั้น เป็นพฤติการณ์แวดล้อมที่ถือได้ว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดกับพวกของจำเลย ตามมาตรา 83 ด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1600/2511 เมื่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ได้แล้ว จึงขึ้นรถสามล้อเครื่องของจำเลยที่ 3 ซึ่งติดเครื่องรออยู่หนีไป ดังนี้เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมคบคิดวางแผนกันทำผิด โดยจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ติดเครื่องรถ ไว้บริเวณที่เกิดเหตุคอยรับจำเลยที่ 1 และ 2 พาหนีไป เป็นส่วนหนึ่งของการชิงทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 393/2519 (สบฎ.เน 5040) ผู้เสียหายจับสร้อยที่สวมคอไว้ ม. กระชากสร้อยขาด แต่ยังติดมือผู้เสียหายอยู่ ยังเป็นแต่จะทำให้สร้อยขาดหลุดจากคอเท่านั้น การเอาไปยังไม่บรรลุผล ผู้เสียหายร้องขึ้น ม. วิ่งไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยติดเครื่องคอยอยู่ริมถนนฝั่งตรงข้าม ขับหนีไปตามแผนการณ์ที่ร่วมกันวางไว้ เป็นการพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ จำเลยเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 13 ด้วย / คดีที่ ม.เป็นจำเลยศาลลงโทษตามคำรับสารภาพฐานวิ่งราวทรัพย์ เป็นความผิดสำเร็จ คดีที่ศาลสั่งให้แยกฟ้องจำเลยนี้ ได้ความว่าการกระทำ เป็นเพียงพยายาม ศาลลงโทษคดีนี้ฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1235/2519 จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยที่ 1 ซ้อนท้ายมาที่ร้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 เข้าไปในร้าน จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดรถห่างร้าน 4 วา จำเลยที่ 1 วิ่งราวสร้อยคอออกมาจากร้าน แล้ววิ่งตรงมาที่รถ ซึ่งจำเลยที่ 2 ขับออกจากที่จอดชะลอรับจำเลยที่ 1 เพื่อพาหลบหนี แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมคบคิดกันกระทำผิดมาแต่แรกโดยจำเลยที่ 2 รับหน้าที่พาหลบหนี เป็นการแบ่งหน้าที่ในการกระทำผิดร่วมกัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการกระทำผิดด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 393/2520 (สบฎ.เน 5332) ม.ดึงสร้อยคอของ ป. ป.รู้ตัวก่อนได้จับสายสร้อยไว้สายสร้อย ขาดติดมือ ป.อยู่ ม.เอาไปไม่ได้ ม.วิ่งหนีไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งจำเลยติดเครื่องจอดรถอยู่เยื้องที่เกิดเหตุ ขับหนีไป เป็นแผนการณ์ที่จำเลยกับ ม.ร่วมกันวางไว้ เป็นตัวการพยายามวิ่งราวทรัพย์ โดยใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 80, 336, 336 ทวิ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 639/2520 จำเลยที่ 4 นั่งมาในรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับแซงและปาดหน้ากับรถที่โจทก์ร่วมขับ จำเลยที่ 1 ขับแซงรถโจทก์ร่วม จำเลยที่ 4 ขว้างก้อนอิฐถูกกระจกรถโจทก์ร่วมแตก เป็นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 กระทำผิดเป็นตัวการ ตาม ม.358, 83

- คำพิพากษาฎีกาที่ 464/2523 จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปจอดคอยอยู่ที่ปากซอยบ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 และพวก 2 คนเข้าไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย แล้วหนีมาขึ้นรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์พาจำเลยที่ 2 และพวกหนีออกไปในลักษณะรีบร้อนเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ปล้นทรัพย์โดยแบ่งหน้าที่กัน จึงเป็นตัวการในความผิดฐานปล้นทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 718/2522 คนยามรถไฟร่วมคิด ในการลักทรัพย์ที่บรรทุกมาในตู้รถ ได้ดูต้นทางในระหว่างขนสินค้าไปจากป่าข้างทางรถไฟ และสับเปลี่ยนตู้รถไปเข้าทางที่เปลี่ยว ถือเป็นตัวการแบ่งหน้าที่กันทำในการลักทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1233/2527 จำเลยกับพวกคนร้ายที่ขึ้นบ้านปล้นทรัพย์พายเรือไปด้วยกัน2 ลำ เมื่อถึงบ้านเจ้าทรัพย์ก็จอดเรือไว้หน้าบ้าน จำเลยกับพวกอีก 2 คนอยู่ในเรือ พวกของจำเลยอีก 3 คน ในเรืออีกลำหนึ่งขึ้นบนบ้านปล้นได้ทรัพย์แล้วกลับมาลงเรือ จำเลยกับพวกทั้งหมดพายเรือกลับไปด้วยกัน การที่จำเลยจอดเรืออยู่ที่หน้าบ้านเจ้าทรัพย์ พฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยอยู่ในลักษณะคุมดูต้นทาง และสามารถช่วยเหลือให้การปล้นทรัพย์สำเร็จลุล่วงไป เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำและร่วมกระทำผิดด้วยกัน จำเลยจึงเป็นตัวการในการปล้นทรัพย์ด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3249/2528 จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบ้านสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ยอมให้คนขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันเข้าไปสูบถ่าย ปลอมปนน้ำมัน โดยใช้สถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้ของตน ดังนี้จำเลยร่วมเป็นตัวการลักน้ำมัน ปลอมปนน้ำมันด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 49/2538 โจทก์มีพยานเบิกความประกอบกันยืนยันว่าจำเลยที่ 4 ขับรถยนต์กระบะติดตามรถยนต์บรรทุกกุ้งตั้งต้นจนถึงปลายทางและในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 4 ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมวางแผนปล้นทรัพย์ โดยจำเลยที่ 4 ทำหน้าที่ขับรถยนต์กระบะดูเส้นทางและรถยนต์บรรทุกกุ้งคันที่ทำการปล้น อันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4197/2540 ในขณะที่ ช. ขับรถตามผู้เสียหายจนทัน และแซงขึ้นประกบคู่ด้านซ้ายมือรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายนั้น จำเลยก็ได้ขับรถจักรยานยนต์ของตนตามไปติด ๆ และแซงขึ้นประกบคู่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายทางด้านขวา จากนั้น ช. ก็ตะปบผู้เสียหายที่บริเวณคอซึ่งสวมสร้อยคอทองคำพร้อมพระ จึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยได้ร่วมมือกับ ช. ในการประกบคู่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย มิให้หักหลบหนี เป็นการประสานงานตามแผน ข้อแก้ตัวของจำเลยที่ว่าไม่ทราบว่า ช. จะลงมือกระทำความผิดนั้นจึงฟังไม่ขึ้น แต่การที่จำเลยช่วยยกรถจักรยานยนต์ที่ทับขาผู้เสียหายออก นับได้ว่าเป็นการพยายามบรรเทาผลร้ายอันเกิดจากการกระทำของจำเลย เป็นเหตุบรรเทาโทษเห็นสมควรลดโทษให้

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์กรณีเกี่ยวพันกับความผิดต่อชีวิตและร่างกาย (สังเกตประเด็นมาตรา 87)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 593/2510 จำเลยกับพวกรวม 4 คนทำการปล้นทรัพย์ โดยแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยกับพวกอีก 2 คนขึ้นไปเอาทรัพย์บนเรือน พวกจำเลยอีกคนหนึ่งถือปืนเฝ้าอยู่ใต้ถุน เพื่อคอยขัดขวางผู้ที่จะมาช่วยผู้เสียหายโดยใช้ปืนนั้นยิง เมื่อคนร้ายนั้นใช้ปืนยิงผู้ที่จะมาช่วยบาดเจ็บสาหัส จำเลยต้องมีความผิดฐานพยายามฆ่าคนด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 851/2512 (สบฎ 2115) จำเลยกับพวกสมคบกันไปปล้นผู้โดยสารรถยนต์ประจำทาง มิได้สมคบกันไปฆ่า เมื่อพวกของจำเลยคนหนึ่งไปยิงผู้โดยสารที่ถูกปล้นบาดเจ็บสาหัส โดยจำเลยไม่ได้เป็นผู้ยิง จะปรับเป็นความผิดของจำเลยฐานพยายามฆ่าคนด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม มาตรา 340 วรรค 4 เท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1262/2514 จำเลย 4 คนปล้นบ้านเจ้าทรัพย์ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ขึ้นไปปล้นบนบ้าน ส่วนจำเลยที่ 1 คอยเฝ้าระวังเหตุการณ์อยู่ริมรั้ว ขณะจำเลยอื่นกำลังทำการปล้นอยู่บนบ้าน จำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงพวกเจ้าทรัพย์คนหนึ่งถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่รู้เห็นด้วยในการที่จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตาย ดังนี้ จำเลยที่1 ผู้เดียวมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 340 วรรคท้าย ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีความผิดตามมาตรา 340 วรรคท้าย แต่ไม่ผิดตามมาตรา 289

- คำพิพากษาฎีกาที่ 84, 85/2516 (สบฎ เน 3916) จำเลยกับพวกนี้ขึ้นไปขู่เข็ญเจ้าทรัพย์บนบ้านผู้ตาย และบังคับให้ผู้ตายนอนคว่ำหน้า จำเลยที่ 2 เหยียบหลังผู้ตายไว้ จำเลยที่ 1 ถือปืนยืนคุมอยู่ตรงศีรษะผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 3 เข้าไปในห้องค้นหาทรัพย์ ครั้นได้ทรัพย์แล้วก็เดินออกจากห้อง จำเลยที่ 2 พูดชวนกลับแล้วเดินตามจำเลยที่ 3 ไป จำเลยที่ 1 ก็เดินตามไปด้วยพอคล้อยห่างผู้ตายได้เพียง 2 ศอก ผู้ตายผงกศีรษะขึ้น จำเลยที่ 1 จึงยิงผู้ตาย 1 นัด ผู้ตายถึงแก่ความตาย การที่จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตาย ก็เพราะผู้ตายผงกศีรษะขึ้น เพื่อดูหน้าจำเลยนั่นเอง จำเลยที่ 2 และจำเลยที 3 มิได้ร่วมกระทำในตอนนี้ด้วย การที่จำเลยทั้งสามกับพวกมีอาวุธปืนร่วมกันปล้นทรัพย์ หาพอที่จะฟังว่า จำเลยมีเจตนาร่วมกันที่จะฆ่าเจ้าทรัพย์มาแต่แรกไม่ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้าย มิใช่มาตรา 289 (7)

- จำเลยที่ 2 และ 3 ต้องรับผิดในผล คือความตายของผู้เสียหาย จากการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 วรรคท้าย แต่ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่มีเจตนาฆ่าและไม่ต้องร่วมรับผิดในลักษณะตัวการ ในข้อหาฆ่าผู้อื่นฯ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 234/2516 คนร้าย 3 คน พยายามปล้นทรัพย์ผู้เสียหายคนร้าย 2 คน คือ ผ.และจำเลยขึ้นไปบนเรือนผู้เสียหาย จำเลยมีมีดปลายแหลมและก้านเครือกล้วย และจำเลยได้ใช้ก้านเครือกล้วยตีทำร้ายผู้เสียหาย แม่ยายผู้เสียหายอยู่ที่เรือนซึ่งมีสะพานทอดเดินถึงกัน ได้ตะโกนเรียกให้คนช่วย ผ.จึงไปที่เรือนแม่ยายผู้เสียหาย จำเลยยืนคุมผู้เสียหาย ผู้เสียหาย กลัว ผ. จะทำร้ายแม่ยาย จึงเดินไปขอร้องไว้ และว่าจะเอาทรัพย์อะไรก็เอาไป แต่ ผ. กลับใช้ปืนยิงผู้เสียหาย การที่ ผ. ยิงผู้เสียหาย ในพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมถือว่า ผ.กระทำไปโดยลำพัง จำเลยมิได้มีส่วนร่วมกระทำผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย จำเลยมีความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงเท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 353/2520 คนร้ายยิงผู้เสียหายในการปล้นโดยเหตุการณ์เกิดขึ้นกระทันหัน คนร้ายอื่นมิได้มีเจตนาร่วมด้วย ไม่เป็นตัวการในฐานพยายามฆ่าคนร่วมกับผู้ยิง / จำเลยที่ 4 ใช้ปืนขู่ปล้นทรัพย์ มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรค 2 และเพิ่มโทษอีกตาม มาตรา 340 ตรี จำเลยอื่นที่ไม่ใช้ปืนมีความผิดตาม มาตรา 340 วรรค 2 ไม่ผิด มาตรา 340 ตรี (การปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืน โดยปกติคาดหมายได้ว่าหากเจ้าทรัพย์ขัดขืน ผู้ร่วมปล้นอาจยิงเจ้าทรัพย์ถึงตายได้ จึงน่าจะถือว่าไม่เกินเจตนาที่ร่วมกัน เว้นแต่ไม่รู้มาก่อนเลย หรือตกลงกันไว้ชัดว่าจะไม่ยิงทำอันตรายเจ้าทรัพย์

- เปรียบเทียบ ฎ 2207/2532 แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นคนใช้อาวุธปืนยิง ช.ด้วยตนเอง แต่พวกของจำเลย รวมทั้งจำเลยเอง ก็มีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยในการปล้นทรัพย์ “จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า” พวกของจำเลยอาจใช้อาวุธปืนยิงผู้ใดผู้หนึ่งในรถคันเกิดเหตุ หากผู้นั้นขัดขืนเพื่อความสะดวกในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ เมื่อพวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ช.แต่ ช.ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ด้วย)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 333/2527 ผู้เสียหายขี่รถจักรยานสองล้อจะกลับบ้าน ระหว่างทางจำเลยทั้งสองกับพวกขี่รถจักรยายนต์ตามมาทัน แล้วกลุ้มรุมทำร้าย การที่ ต. พวกจำเลยล้วงเอาเงินจากกระเป๋ากางเกงผู้เสียหาย ในขณะถูกกลุ้มรุมทำร้าย เป็นการฉวยโอกาสของ ต.ในขณะนั้นเอง จะฟังว่าจำเลยร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วยไม่ได้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์ คงผิดฐานทำร้ายร่างกายเท่านั้น

- จำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาหรือร่วมกระทำผิดกับ ต. ในข้อหาลักทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องรับผิดเฉพาะข้อหาทำร้ายร่างกาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2082/2527 จำเลยกับ ว.คบคิดกันลักทรัพย์บนบ้านผู้เสียหายเวลากลางคืน บังเอิญผู้เสียหายตื่นอยู่ ฉายไฟไปยัง ว. ว.จึงโถมเข้ากดคอผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมิได้รู้เห็นเป็นใจ หรือร่วมด้วยในการที่ ว.ประทุษร้ายผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. ม.335 (1) (7) (8) เท่านั้น

- จำเลยมีเจตนาร่วมกระทำผิด เฉพาะในข้อหาลักทรัพย์ แต่ไม่มีเจตนาร่วมกระทำผิดในการทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยต้องรับผิดเฉพาะข้อหาทำลักทรัพย์ ไม่ต้องร่วมรับผิดในข้อหาชิงทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2537/2531 แม้ในขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ไม่มีอาวุธปืนใดๆ ติดตัวมาเลย และขณะจำเลยที่ 1 กับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและกระชากสร้อยคอทองคำไปจากผู้ตาย จำเลยที่ 2 จะยืนอยู่เฉย ๆ ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 มายังที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่ 1 กับพวก เมื่อจำเลยที่ 1 กับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและกระชากสร้อยคอทองคำที่ผู้ตายสวมอยู่ไปได้แล้ว จำเลยที่ 2 วิ่งหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 กับพวก ประกอบกับคดีฟังได้ตามคำให้การชั้นสอบสวนว่าขณะจำเลยที่ 1 กับพวกปรึกษากันเรื่องจะปล้นทรัพย์ผู้ตาย จำเลยที่ 2 ก็นั่งฟังอยู่ด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ / ขณะจำเลยที่ 1 กับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายนั้น จำเลยที่ 2 ยืนเฉย ๆ มิได้พูด หรือกระทำการใด ๆ อันจะถือได้ว่าเป็นตัวการ หรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กับพวกในการฆ่าผู้ตายเลย จำเลยที่ 1 กับพวกตัดสินใจใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายไปตามลำพัง และโดยฉับพลันในขณะนั้นเอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวก ฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1595/2532 ผู้ตายถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตาย เนื่องจากจำเลยทั้งสองเป็นผู้ยิง แต่ไม่อาจระบุได้ว่าจำเลยคนใด แม้จะฟังว่าจำเลยคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ยิง แต่การที่จำเลยทั้งสองต่างก็มีอาวุธปืนอาก้าไปร่วมชิงทรัพย์ ส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยทั้งสองว่า ถ้ามีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้นในการชิงทรัพย์ จำเลยทั้งสองจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ที่ต่อสู้หรือขัดขวาง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยกัน เมื่อยิงแล้วก็วิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับขี่หลบหนีไปด้วยกัน โดยได้ยิงปืนอีก 1 ชุดพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวาง และยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2117/2532 พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้แล้ว แต่ก็เป็นเวลาต่อเนื่อง และเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำยังไม่ขาดตอน ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกเคยส่งจดหมายถึงผู้เสียหายข่มขู่เรียกเงินจากผู้เสียหาย มิฉะนั้นจะทำอันตรายแก่ชีวิต ถือว่าจำเลยกับพวกตกลงร่วมกันจะกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือพยายามฆ่าผู้อื่นมาแต่ต้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จะมิได้เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก แต่ก็ต้องรับผิดในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นที่เกิดขึ้นด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2207/2532 แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นคนใช้อาวุธปืนยิง ช.ด้วยตนเอง แต่พวกของจำเลยรวมทั้งจำเลยเอง ก็มีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยในการปล้นทรัพย์ “จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า” พวกของจำเลยอาจใช้อาวุธปืนยิงผู้ใดผู้หนึ่งในรถคันเกิดเหตุ หากผู้นั้นขัดขืนเพื่อความสะดวกในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ เมื่อพวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ช.แต่ ช.ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 375/2533 จำเลยที่ 1 กับพวกอีก 2 คน เข้าไปในบ้าน และพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหาย แล้วพวกของจำเลยดังกล่าวได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย จนได้รับอันตรายแก่กาย เพื่อสะดวกในการลักทรัพย์ หรือพาทรัพย์ไป การที่พวกของจำเลยที่ 1 ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายดังกล่าว จึงมิได้นอกเหนือความมุ่งหมาย หรือเจตนาของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงเป็นความผิดตาม มาตรา 340 วรรคแรก 80

- คำพิพากษาฎีกาที่ 476/2535 จำเลยที่ 3 วิ่งเข้ามาถามผู้เสียหายทั้งสอง ว่าเป็นนักศึกษาวิทยาลัย ท.หรือไม่ ขณะเดียวกันจำเลยที่ 2 ใช้มีดสะปาต้า ฟันแขนซ้ายของผู้เสียหายที่ 1 บาดเจ็บและใช้มีดดังกล่าว จี้เอาเสื้อฝึกงาน 1 ตัว นาฬิกาข้อมือ 1 เรือนไป ส่วนพวกของจำเลยทั้งสามขึ้นไปล้วงกระเป๋าใส่เงิน 1 ใบ พร้อมเงินสด 10 บาทไปและจำเลยที่ 1 ขึ้นไปกระชากเอาสร้อยคอทองคำ 1 เส้น จาก คอผู้เสียหายที่ 2 แล้วจำเลยทั้งสามกับพวกหลบหนีไป ต่อมาวันที่ 3 กันยายน 2529 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 3 ได้พร้อมนาฬิกา ของผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยที่ 3 พาเจ้าพนักงานตำรวจไปซื้อสร้อยคอ ทองคำของผู้เสียหายที่ 2 คืนมาจากร้านขายทองดีจิน ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้นำไปขายไว้ / แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 กระทำต่อผู้เสียหายคราวเดียวกัน แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ที่ 3 กับพวกไม่ได้สมรู้ร่วมคิด อันมีลักษณะประสงค์ต่อทรัพย์ผู้เสียหาย เพียงแต่พวกของทั้งสามคนหนึ่งชวนให้ไปตีกับพวกนักศึกษาวิทยาลัย ท. ลักษณะที่จำเลยที่ 3 แยกไปสอบถามผู้เสียหายทั้งสอง น่าจะเป็นความคึกคะนองและพาลหาเรื่อง หาใช่เป็นการแบ่งหน้าที่กันกระทำ ดังกล่าวเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหายไม่ ที่จำเลยที่ 1 ขึ้นไปกระชากเอาสร้อยคอทองคำจากคอผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็เป็นลักษณะที่ จำเลยที่ 1 ถือโอกาสเป็นการส่วนตัวในขณะนั้นเข้าไปกระชากเอาสร้อย คอทองคำของผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ลำพังแต่ผู้เดียวมี เจตนากระทำผิดดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานวิ่ง ราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก ส่วนที่พวก ของจำเลยทั้งสามขึ้นไปล้วงเอากระเป๋าใส่เงินและได้เงินสดของผู้เสียหาย ที่ 1 ไปด้วยนั้นก็น่าจะเป็นการที่พวกของจำเลยดังกล่าวถือโอกาสใน ขณะนั้นเข้าไปเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 1 โดยพลการ โดยจำเลยที่ 1 ที่ 3 มิได้สมรู้ร่วมคิดด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์

- ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 2 และจำเลยที่ 2 มีความ ผิดลหุโทษอีกกระทงหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371

- ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม, 295 ลงโทษตามมาตรา 339 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทหนัก จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคแรก

- จำเลยที่ 1 มีความผิดข้อหาวิ่งราวทรัพย์ เพราะเอาทรัพย์ไป โดยเจตนาส่วนตัว ไม่ได้ตกลงร่วมกับจำเลยอื่น ในส่วนของการทำร้ายจึงไม่มีเจตนาพิเศษตามมาตรา 339 (1) (5)

- จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานชิงทรัพย์เพราะเอาทรัพย์ไป และทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย โดยเจตนาส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยอื่นไม่มีเจตนาร่วมด้วย จึงไม่ใช่การชิงทรัพย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคน

- ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ตกลงร่วมกับจำเลยอื่น ในส่วนของการลักทรัพย์และชิงทรัพย์ แต่ปรากฏว่าได้ช่วยพาทรัพย์ไป ช่วยนำไปจำนำ อันเป็นความผิดข้อหารับของโจร และพฤติการณ์ควรจะต้องร่วมรับผิด ในฐานะตัวการในความผิดข้อหาทำร้ายร่างกาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 47/2538 จำเลยทั้งสี่กับพวกมาด้วยกันและหลบหนีไปด้วยกัน แม้จำเลยทุกคนจะไม่ได้ลงมือยิง และพวกของจำเลยคนอื่นเอาทรัพย์สินของผู้ตายกับผู้เสียหายไป แต่ก็มีจำเลยที่ 1 รวมอยู่ในกลุ่มคนร้ายที่เข้ามาในบ้าน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถพาคนร้ายมาและพาคนร้ายหลบหนี จำเลยที่ 3 ใช้ปืนจี้บังคับ จ. ไว้ และจำเลยที่ 4 รวมอยู่ในกลุ่มคนร้ายที่หน้าบ้านขณะเกิดเหตุ เป็นการคุมเชิงอยู่ใกล้ ๆ ในลักษณะที่พร้อมช่วยเหลือกันได้ทันที เป็นลักษณะการแบ่งหน้าที่กันทำถือได้ว่าร่วมกระทำผิดด้วยกัน (จำเลยทั้งสี่รับผิดตาม มาตรา 288, (+ 298 ) 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ,83 เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1297/2541 การที่จำเลยร่วมกับพวกปล้นร้านขายทองรูปพรรณของผู้เสียหาย โดยรู้ว่าคนร่ายด้วยกันมีอาวุธสงคราม ซึ่งเป็นอาวุธปืนร่ายแรงถึง 2 กระบอก จำเลยย่อมต้องเล็งเห็นอยู่แล้วว่าหากมีผู้ใดขัดขวางการปล้นทรัพย์จำเลยกับพวกจะต้องใช้อาวุธปืนที่เตรียมมายิงทำร่ายผู้ขัดขวางแน่ ดังนี้ แม้พวกของจำเลยเป็นผู้ยิงทำร่ายจ่าสิบตำรวจ ส. ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับพวกฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ด้วย

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ข้อหาฉ้อโกง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 706/2539 จำเลยที่ 2 กับพวก คงมีแต่สำเนา นส. 3 ก ที่ถ่ายมาจากที่ทางราชการเก็บรักษาไว้เท่านั้น โดยยังมิได้มิได้มีการรวบรวมซื้อที่ดินจากชาวบ้านเพื่อนำมาขายให้โจทก์ร่วม ดังนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะระบุข้อความในอนาคต ว่าจำเลยกับพวกจะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชื้อขายภายใน 1 ถึง 3 เดือน นับแต่โจทก์ร่วมชำระมัดจำครบ แต่ตามข้อความในเอกสารดังกล่าวมีความว่า ขณะทำสัญญาจำเลยกับพวกมีสิทธิในที่ดินที่จะนำมาขายให้โจทก์ร่วม เป็นการแสดงข้อความในปัจจุบันอยู่ด้วย เมื่อข้อความดังกล่าวเป็นเท็จ โดยความจริงจำเลยกับพวกมิได้ตั้งใจจะขายสิทธิในที่ดินให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมหลงเชื่อจำเลยกับพวกในการแสดงข้อความเท็จและจ่ายเงินมัดจำให้ไปการกระทำของจำเลยกับพวก จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 จำเลยที่ 1 รู้จักกับโจทก์ร่วมมาก่อน เป็นผู้ติดต่อพาโจทก์ร่วมไปดูที่ดินจนโจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาวางมัดจำ และทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ประกอบกับขณะจะทำสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมดูสัญญาซื้อขายที่ฝ่ายจำเลยทั้งสองอวดอ้างว่าได้ทำไว้กับชาวบ้านแล้ว แสดงว่าจำเลยทั้งสองกับพวก มีเจตนาทุจริตหลอกลวงขายที่ดินให้โจทก์ร่วม โดยแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ข้อหาโกงเจ้าหนี้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 143/2517 คำว่า "ผู้อื่น" ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายถึงบุคคลอื่น นอกจากตัวลูกหนี้ / จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ร่วม โอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยที่ 3 ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนไปให้แก่ผู้อื่น ตามความหมายแห่งมาตรา 350 แล้ว

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2080/2526 จำเลยที่ 2 พาสายลับไปพบจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเฮโรอีนมาขายแล้วนั่งรถไปยังสถานีนัดซื้อขายเฮโรอีนด้วยกัน ทั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกระเป๋าใส่เฮโรอีนที่ขายลงจากรถส่งมอบให้ผู้ซื้อด้วยตนเอง แม้จะมีจำเลยที่ 1 อยู่ด้วยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และได้กระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งความผิด จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการในความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2212/2527 มอร์ฟีนและโคเคอีนของกลาง เป็นของจำเลยที่ 1 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองของกลางอยู่ จำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันมีมอร์ฟีนโคอีนของกลาง ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับใบอนุญาต / ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของมอร์ฟีนและโคเคอีนของกลางกำลังกระทำความผิดตามฟ้องอยู่ เมื่อตำรวจจะเข้าจับกุม จำเลยที่ 2 ซึ่งทราบว่ากล่องกระดาษที่จำเลยที่ 1 หิ้วมามีของกลางบรรจุอยู่ จึงช่วยเหลือโดยยกขยับแท็งก์น้ำเพื่อให้จำเลยที่ 1 เอากล่องกระดาษใส่ในช่องใต้แท็งก์น้ำ เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ฐานมีมอร์ฟีนและโคเคอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับใบอนุญาต

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4378/2528 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมมือกับสายลับของตำรวจ ไปติดต่อล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยที่ 3 กับพวก โดยมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือตำรวจปราบปรามการค้าเฮโรอีน และโดยหวังเงินรางวัลที่ตำรวจจะแบ่งให้ จำเลยที่ 1 และที่ 4 ขาดเจตนาที่จะกระทำความผิด ไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการ หรือผู้สนับสนุน ในความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครอง เพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายเฮโรอีน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 222/2535 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่ารถคันที่ใช้บรรทุกกัญชาและร่วมโดยสารมาในรถ การขนกัญชาเป็นการกระทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะขนกันเป็นจำนวนมากด้วยย่อมมีโทษสูง ตามธรรมดาผู้กระทำผิด ย่อมจะต้องปกปิดเป็นความลับ ถ้าจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอันใด ที่ผู้กระทำความผิด จะกล้าให้จำเลยโดยสารมาในรถด้วย พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกันมีกัญชาไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาต

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1306/2539 ขณะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้ร่วมนั่งอยู่กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในรถยนต์เก๋งที่มีเฮโรอีนของกลางซุกซ่อนอยู่ แสดงให้เห็นได้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

- ประเด็นเรื่องตัวการ กรณีที่ผู้ร่วมกระทำมิได้อยู่ด้วย ขณะเกิดการกระทำผิด แต่ถือเป็นตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2429/2528 จำเลยกับพวกรวม 10 คนจับกลุ่มกันวางแผนจะใช้ตลับยาหม่องครอบเหรียญ พนันบนรถยนต์โดยสารประจำทาง โดยจำเลยที่ 1 จะเป็นคนใช้ตลับยาหม่องครอบเหรียญ แล้วให้จำเลยอื่นเป็นหน้าม้าแทง อันเป็นการสมคบกัน เพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์สินของผู้ที่โดยสารไปกับรถยนต์โดยสาร โดยทุจริต อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้จำเลยที่ 5 จะมิได้ขึ้นไปบนรถยนต์โดยสารพร้อมกับจำเลยอื่น แต่ก็รออยู่ที่สถานีขนส่ง และจะขับรถตามมารับจำเลยอื่น เมื่อเลิกเล่นกันแล้ว อันเป็นการแสดงถึงการแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 5 ได้เข้าร่วมปรึกษาวางแผนกับจำเลยอื่นแล้ว จึงเป็นความผิดฐานซ่องโจร (ไม่ได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าเป็นตัวการฐานฉ้อโกง เพราะไม่ได้อยู่ช่วยในที่เกิดเหตุ แต่ต้องร่วมรับผิดตาม ม 213 อยู่แล้ว)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1970/2530 น.กู้เงินผู้เสียหายโดย ส.ใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ ส. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ แม้จำเลยจะมิได้ร่วมไปบ้านผู้เสียหายในวันทำสัญญากู้ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับ น. และ ส.มาแต่ต้นในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ โดยในวันเกิดเหตุจำเลยพา น. และ ส.ไปพบ ว. เพื่อให้พาบุคคลทั้งสองไปพบผู้เสียหาย ส่วนจำเลยรออยู่เพื่อคอยรับเงินส่วนแบ่งจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าว ฟังได้ว่าจำเลยเป็นตัวการในการใช้เอกสารปลอมด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2537 จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ได้กรอกข้อความ โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการปลอมหนังสือมอบอำนาจด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ไปด้วยในวันที่นำหนังสือมอบอำนาจปลอม ไปจดทะเบียนโอนที่ดิน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด กับจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น ทั้งเป็นสามีภรรยากันมีส่วนได้เสียในที่ดินที่รับโอน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมในการใช้เอกสารปลอมด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1508/2538 จำเลยปลอมตั๋วเครื่องบิน แล้วได้มอบให้แก่ผู้มีชื่อในตั๋วหรือมอบให้แก่ผู้อื่น ซึ่งจะนำไปมอบให้แก่ผู้มีชื่อในตั๋ว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้มีชื่อในตั๋วต้องนำตั๋วไปใช้ในการเดินทาง จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้ตั๋วเครื่องบินปลอม และถือว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงเจ้าของสายการบิน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2917/2538 จำเลยว่าจ้าง จ. จัดพิมพ์ใบหุ้นธนาคาร ม. และบริษัท ผ. ซึ่งเป็นแบบฟอร์มยังไม่ได้กรอกข้อความ โดยเจตนาจะนำไปกรอกข้อความรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญเพื่อใช้อย่างใบหุ้นที่แท้จริง ซึ่งต่อมาก็มีการกรอกข้อความดังกล่าว แล้วนำไปฝากขายที่บริษัท ว. แสดงว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นในการกรอกข้อความ จึงเป็นตัวการในความผิดฐานปลอมใบหุ้น

- การกระทำโดยประมาท หลายบุคคล ต่างรับผิดในความประมาทของตน แต่ไม่ใช่ตัวการ เพราะไม่ใช่การร่วมกระทำความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1211/2530 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันลักน้ำมันที่ปั๊มผู้เสียหาย โดยใช้สายไฟต่อขั้วแบตเตอรี่กับเครื่องปั๊ม ดูดน้ำมันจากถังใต้ดินมาใส่ถังในรถยนต์เมื่อดูดน้ำมันได้ 4 ถังแล้ว จำเลยที่ 2 ดึงสายไฟจากขั้วแบตเตอรี่ให้ปั๊มติ๊กหยุดทำงาน เพื่อจะเปลี่ยนสายยางไปใส่ถังที่ 5 ทำให้เกิดประกายไฟเป็นเหตุให้เพลิงไหม้ ดังนี้ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมาลักทรัพย์โดยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เกิดไอระเหยของน้ำมันกระจายอยู่ในบริเวณนั้น ง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท เพราะแบตเตอรี่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และน้ำมันเป็นวัตถุติดไฟได้ง่าย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นเนื่องจากวิธีการในการลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสอง ซึ่งกระทำด้วยความประมาท ต้องถือว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทุกคนที่ร่วมกันลักทรัพย์ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้เป็นผู้ถอดสายไฟฟ้าจากขั้วแบตเตอรี่ ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องมีความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท


- ประเด็นเปรียบเทียบ ข้อหาความผิดที่กำหนดคุณสมบัติของผู้กระทำผิดไว้ ซึ่งผู้ร่วมกระทำมีคุณสมบัติรับผิดในข้อหา ตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 990/2508 จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับที่โจทก์นำมาฟ้อง จึงต้องรับผิดเป็นตัวการในการที่หนังสือพิมพ์ จำเลยลงข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรค 2 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ลงข่าวนี้ โดยได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการแทนก็ตาม จำเลยที่ 1 หาพ้นผิดไม่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 250/2510 (สบฎ เน 1517) ความผิดในเรื่องข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดที่ร่วมกันกระทำผิดได้ โดยผู้ร่วมกระทำผิดมิต้องเป็นผู้ลงมือกระทำชำเราด้วยทุกคน เพียงแต่คนใดคนหนึ่งกระทำชำเรา ผู้ที่ร่วมกระทำผิดทุกคนก็มีความผิดฐานเป็นตัวการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ก็หาได้บัญญัติให้ลงโทษแต่เฉพาะชายเท่านั้น ในบทกฎหมายมาตรานี้บัญญัติแต่เพียงว่า "ผู้ใดกระทำผิด ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหญิง เมื่อฟังได้ว่าได้สมคบกับจำเลยที่ 1 ร่วมกันกระทำผิด ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการตาม มาตรา 83 ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 526/2512 การที่จำเลยเซ็นรับรองลายมือของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค และจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปใช้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เพราะมาตรา 17 แห่งประมวลกฎมายอาญาบัญญัติว่าบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วยเว้นแต่กฎหมายนั้น ๆจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น และมาตรา 83 ก็เป็นบทบัญญัติในภาค 1 ทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ก็มิได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 143/2517 คำว่า "ผู้อื่น" ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นหมายถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ / จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ร่วม โอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยที่ 3 ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนไปให้แก่ผู้อื่น ตามความหมายแห่งมาตรา 350 แล้ว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 388/2520 จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทเท่านั้น ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานมีแร่ดีบุกไว้ในครอบครองเกินกว่าใบสุทธิแร่ แม้จะมีไว้ในครอบครองในฐานะตัวแทนบริษัท จำเลยก็มีความผิดร่วมกับบริษัทด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 681/2522 (สบฎ เน 5866) ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ ใช้คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ฯลฯ ไม่ได้หมายความว่าผู้ทำผิดคือผู้ออกเช็คเท่านั้นผู้อื่น เช่นผู้สลักหลัง อาจร่วมกระทำเป็นตัวการด้วยก็ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1073/2522 (สบฎ เน 5868) ฐานเสพยาเสพติด กฎหมายมุ่งลงโทษผู้เสพ ลักษณะความผิดไม่เปิดช่องให้ผู้อื่นร่วมกระทำผิดได้ จำเลยฉีดเฮโรอีน ให้ ร ไม่ถือว่าจำเลยร่วมเสพ แต่ผิดฐานสนับสนุน (1948/2522 สบฎ เน 5869 ข้อเท็จจริงคล้ายกัน)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1385/2522 (สบฎ เน 5872) เสมียนอำเภอ ร่วมคิดกันหลอกขายฝาก แม้ไม่ได้ไปรับเงินด้วย ผิด ตัวการฉ้อโกง กรรมเดียวกับใช้ นส และทำสัญญาขายฝากปลอม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3323/2522 (สบฎ เน 5868) จอดรถปิดถนน ผิดสำเร็จตั้งแต่จอดรถ ผู้มาร่วมภายหลัง ไม่เป็นตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 59/2524 ความผิดฐานข่มขืนชำเราหญิง ผู้ร่วมกระทำไม่จำต้องลงมือกระทำชำเราด้วยกันทุกคน หาได้บัญญัติลงโทษเฉพาะชายเท่านั้นไม่หญิงซึ่งร่วมกระทำผิดกับชายผู้กระทำชำเรา ก็เป็นตัวการด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 525/2525 เมื่อจำเลยในฐานะ ผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงมือกระทำการ เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคล ศาลก็ลงโทษจำคุกจำเลยได้ เพราะมิใช่เป็นการลงโทษในฐานะตัวแทนของนิติบุคคลตาม ป.ว.อ. ม.7 วรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3894/2525 แม้ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม ในพินัยกรรมมีลักษณะลายเส้นนูนเลอะเลือน จนผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์ลงความเห็นไม่ได้ มีพยานลงชื่อรับรองสองคน ก็มีสภาพเป็นพินัยกรรม แต่เป็นพินัยกรรมที่จำเลยกับ บ. ร่วมกันทำปลอมขึ้น เมื่อนำส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลสำเร็จลงแล้ว ต้องมีความผิดฐานใช้พินัยกรรมปลอมอีกกระทงหนึ่ง มิใช่การพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้ตาม ป.อ. ม.81 แม้จำเลยจะได้กระทำในฐานะทนายความของ บ. จำเลยในคดีแพ่ง จำเลยก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันใช้พินัยกรรมปลอมตาม ป.อ. ม.83

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2000/2526 การดำเนินกิจการของบริษัทแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท จำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ลงชื่อแทนบริษัท ได้ออกเช็คโดยลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราบริษัทสั่งจ่ายเงินชำระหนี้ให้ผู้เสียหาย โดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ย่อมถือว่าจำเลยร่วมกับบริษัทออกเช็คนั้น และมีความผิดฐานเป็นตัวการด้วย โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3615/2528 ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เจ้าของปั๊มน้ำมันโดยจำเลยที่2 หุ้นส่วนผู้จัดการใช้ให้ อ. นำน้ำมันก๊าดมาผสมกับน้ำมันดีเซลในปั๊ม ซึ่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิงฯ ม.25ตรี มีข้อสันนิษฐานไว้ว่าผู้ค้าน้ำมันตาม ม.6 ทวี เมื่อการกระทำผิดนั้นเกิดขึ้นภายในสถานทีทำการหรือสถานที่จำหน่ายของตน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เมื่อจำเลยไม่มีพยานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้าน้ำมัน และจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิงฯ ม.25ตรี วรรคสอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1582/2531 จำเลยที่ 2 ร่วมกับคนร้าย 7 - 8 คนไปปล้นทรัพย์ โดยมีอาวุธปืนติดตัวไป 6 กระบอก แม้จะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับคนร้ายอื่นไปปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเจ้าทรัพย์โดยใช้ปืนยิง เสร็จแล้วหลบหนีไปด้วยกัน แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกับคนร้ายอื่นมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย / ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาต เป็นความผิดที่ร่วมกระทำด้วยกันได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3582/2531 ความผิด ตาม ม 371 เป็นความผิดที่ร่วมกันกระทำด้วยกันได้ การที่จำเลยร่วมกับคนร้ายอื่นไปปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเจ้าทรัพย์โดยใช้ปืนยิง แล้วหลบหนีไปด้วยกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับคนร้ายอื่น ผิด ตาม ม 371 ( เทียบ ฎ 625/2543 ต่างครอบครองอาวุธของตน ไม่มีเจตนาครอบครองอาวุธของผู้อื่น ไม่ผิดตัวการ ในส่วนการพาอาวุธของผู้อื่น)

- คำพิพากษาฎีกาที่3595/2532 ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ไม่ใช่ความผิดเฉพาะตัวของผู้ครอบครองทรัพย์เพียงผู้เดียว ผู้อื่นก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ครอบครองในการยักยอกทรัพย์ได้ หากได้ร่วมมือร่วมใจกันกระทำการยักยอก กับผู้ได้รับมอบหมายให้ครอบครองทรัพย์ ข้อที่ว่าผู้ใดครอบครองทรัพย์นั้น มิใช่คุณสมบัติเฉพาะตัวผู้กระทำ แต่เป็นเพียงองค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำอันหนึ่งเท่านั้น / การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก มิใช่ผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ได้ร่วมกับผู้จัดการและสมุห์บัญชีของธนาคารยักยอกทรัพย์ของธนาคาร จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 352 ประกอบด้วยมาตรา 83 แม้จำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เป็นเหตุเฉพาะตัวผู้กระทำผิดแต่ละคน จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 354 ประกอบด้วยมาตรา 86 (ข้อที่ว่าผู้ใดครอบครองทรัพย์นั้น มิใช่คุณสมบัติเฉพาะตัวผู้กระทำ ผู้ที่ไม่ได้รับการครอบครอง ร่วมรับผิดกับผู้ครอบครอง ในฐานตัวการได้ แต่ "อาชีพอันเป็นที่ไว้วางใจชองประชาชน" เป็นเหตุเฉพาะตัว คนธรรมดาร่วมยักยอก ผิด มาตรา 352 +83 ไม่ผิด มาตรา 354 แต่ผิด มาตรา 354+86)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2274/2533 คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 นั้น มิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่น แม้มิใช่ผู้สั่งจ่าย ก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตาม มาตรา 83 ได้ ดังนั้น ผู้สลักหลังเช็คจึงอาจเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับผู้ออกเช็คได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 373/2536 ความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 นั้นผู้กระทำผิดจะเป็นผู้ใดก็ได้ ที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน ไม่จำกัดเฉพาะผู้ควบคุมงานเท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารผู้จัดให้มีการก่อสร้าง จึงร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมงานได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5583/2538 จำเลยที่ 2 สมคบกับจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มี ตามกฎหมาย ไปฆ่าผู้ตายแล้วหลบหนีไปด้วยกัน แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมครอบครองอาวุธปืนด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายไว้ในครอบครอง และมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4548/2540 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ร่วมกันวางแผนไปปล้นร้านทองของผู้เสียหายที่ 2 และได้ร่วมกันปล้นเอารถยนต์จากผู้เสียหายที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 4 กับพวกใช้เป็นพาหนะไปทำการปล้นร้านทองของผู้เสียหายที่ 2 อีกทอดหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 4 กับพวกไปปล้นร้านทองของผู้เสียหายที่ 2 ตามแผนที่ร่วมกันวางไว้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ผู้ร่วมวางแผน ย่อมมีความผิด ฐานเป็นตัวการปล้นร้านทอง ร่วมกับจำเลยที่ 4 กับพวกด้วย ตาม มาตรา 213 และความผิดฐานเป็นซ่องโจร กับความผิดฐานปล้นทรัพย์เกี่ยวเนื่องกัน กระทำผิดฐานเป็นซ่องโจรเพื่อจะไปปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสอง เป็นกรรมเดียว ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ อันเป็นบทหนัก


- ประเด็นเปรียบเทียบระหว่าง ตัวการกับผู้ใช้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 237/2516 จำเลยที่ 1 วางแผนให้จำเลยอื่นไปทำการปล้นทรัพย์ จำเลยอื่นไปปล้นทรัพย์ตามแผนดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้ไปด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 185/2520 จำเลยร้องบอกให้ อ.ยิงตำรวจ และร่วมกับ อ.ยิงตำรวจ โดยดึงพานท้ายปืนของตำรวจไว้ ไม่ให้ป้องกันตัว เป็นการยุให้ผู้อื่นทำผิดและร่วมกันกระทำผิดด้วย จึงเกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียว ฐานเป็นตัวการร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3960/2529 จำเลย “เป็นผู้ก่อ” ให้ผู้อื่นปลอมบัตรประจำตัวประชาชน และ “เป็นตัวการ” ร่วมกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารนั้นด้วย ความผิดฐานก่อให้ผู้อื่นปลอมเอกสารจึงเกลื่อนกลืน เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว กับความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นปลอมเอกสารการลงโทษจำคุกทุกบทจึงไม่ชอบ ต้องลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการ่วมกับผู้อื่นปลอมเอกสารตาม ป.อ. ม.265 ประกอบด้วย ม.83 แต่เพียงบทเดียว ไม่ลงโทษตาม ม.265 ประกอบด้วย ม.84

- ประเด็นเปรียบเทียบระหว่าง ตัวการกับผู้สนับสนุน ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1112-1114/2508 จำเลยเห็นผู้ตายกำลังถูกทำร้าย ไม่ได้เข้าขัดขวางแต่อย่างใด และไล่ลูก ๆ ให้ออกไป ทั้งสั่งห้ามไม่ให้ไปบอกใครด้วย เมื่อมีหญิงคนหนึ่งมายังที่เกิดเหตุ จำเลยวิ่งไปรับหน้าห้ามมิให้เข้าไป โดยกล่าวเท็จว่า ผัวเมียตีกันไม่ใช่ธุระ เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำไปโดยตั้งใจ เพื่อจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ตายถูกฆ่า โดยไม่ต้องถูกผู้ใดขัดขวาง จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ตาม มาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1478/2510 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 2 ,3 ไม่ได้ทำร้าย และไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการทำร้ายมาก่อน แต่ได้จ้องปืนมาทางพยานโจทก์ พูดห้ามไม่ให้คนอื่นเกี่ยวข้อง ในการที่จำเลยที่ 1 ,4 ทำร้ายผู้ตายจึงเป็นการช่วยเหลือ และให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1,4 แม้จำเลยที่ 1 ,4 จะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม จำเลยที่ 2,3 ก็เป็นผู้สนับสนุน แต่ไม่ใช่ตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 382/2512 จำเลยที่ 1 ทะเลาะกับผู้ตายอยู่ริมรั้ว จำเลยที่ 2 ถือมีดพร้าวิ่งลงจากบ้าน พร้อมกับร้องว่าฟันให้ตาย ๆ การแสดงออกด้วยกิริยาและคำพูดของจำเลยที่ 2 ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจะฆ่าผู้ตาย ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 คว้ามีดพร้าจากมือจำเลยที่ 2 แหวกรั้วเข้าไปฟันผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำที่สมเจตนาของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ฟันผู้ตายแล้วได้โยนมีดพร้าข้ามรั้วมาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้พามีดพร้าวิ่งหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการร่วมมือกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 / จำเลยที่ 3 ได้วิ่งมาและพูดยุยงให้จำเลยที่ 1 ฟันผู้ตายให้ตาย หลังจากจำเลยที่ 1 ลงมือทำร้ายผู้ตายได้ 1 แผล จึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3มิได้เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด เพราะจำเลยที่ 1ได้เริ่มลงมือกระทำผิดไปแล้ว คำยุยงของจำเลยที่ 3 จึงเป็นเพียงสนับสนุนเร้าใจให้จำเลยที่ 1 มุ่งกระทำร้ายต่อผู้ตายให้ถึงตายหนักแน่นยิ่งขึ้นเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงฟังได้เพียงว่าเป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1141/2514 พี่ชายจำเลยโต้เถียงกับเจ้าของที่นาข้างเคียงเรื่องเขตที่นาผู้ตายซึ่งเป็นกำนันเข้าพูดไกล่เกลี่ย พี่ชายจำเลยไม่เชื่อฟังจึงถูกผู้ตายว่ากล่าว สักพักหนึ่งต่อมาพี่ชายจำเลยเดินเข้าไปหาผู้ตาย จำเลยเดินตามไปด้วย พร้อมกับพูดให้พี่ชายจำเลยยิงผู้ตายให้ตาย พี่ชายจำเลยจึงใช้ปืนสั้นยิงผู้ตาย 2 นัด แล้วพี่ชายจำเลยกับจำเลย ก็วิ่งหนีไปด้วยกัน ผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยร่วมกับพี่ชายฆ่าผู้ตาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3116/2527 ล.นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลย ลงมาพูดทำนองบังคับผู้ตายให้กลับรถของจำเลย ใช้ปืนจี้ท้ายทอย และลั่นไก แต่กระสุนไม่ลั่น จึงใช้ปืนตีศีรษะ แล้วร้องบอกให้จำเลยติดเครื่องรถรอ จำเลยก็ติดเครื่องรถรอจน ล.มาถึงรถจำเลยแล้วยิงไปที่ผู้ตาย 1 นัด เมื่อขึ้นคร่อมท้ายรถแล้ว ล.ยิงไปอีกหลายนัด ขณะเดียวกันจำเลยก็ขับรถพาหลับหนีไป การติดเครื่องรถรออยู่เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่ ล.ยิงผู้ตาย เป็นการให้กำลังใจว่า เมื่อยิงแล้วมีโอกาสซ้อนรถจำเลยหลบหนีไปได้ทันท่วงที และปลอดภัย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดของ ล. ตาม ป.อ.ม.86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 545/2528 ผู้ประสงค์จะฆ่าผู้ตายติดต่อกับจำเลยที่ 3 ให้หาคนมายิงผู้ตายและจำเลยที่ 3 เป็นผู้ติดต่อพาจำเลยที่ 1 ที่ 2 มาพบผู้ว่าจ้างและได้รับมอบปืน 2 กระบอกจากผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 วันเกิดเหตุ ผู้ว่าจ้างพาจำเลยทั้งสามมาดูตัวผู้ตาย ขณะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยิงผู้ตาย จำเลยที่ 3 ยืนอยู่คนละฝั่งถนนมีมีดปลายแหลมติดตัว หากจำเลยอื่นยิงพลาด จำเลยที่ 3 ก็คงจะไม่เข้าช่วยเหลือโดยซ้ำเติมหรือทำอันตรายแก่ผู้ตายอีก เพราะไม่มีอาวุธปืน การที่จำเลยที่ 3 อยู่ในที่เกิดเหตุก็เพียงคอยวิ่งนำหน้าพาจำเลยที่ 1 ที่ 2 หลบหนีไปในเส้นทางที่ตนชำนาญเท่านั้น เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ในการฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้สนับสนุนมีความผิดตาม ป.อ. ม.289 (4) ประกอบด้วย ม.86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1839/2530 การที่จำเลยที่ 1 ถอดหลังคารถ เพื่อความคล่องตัวในการนำรถไปใช้กระทำความผิด และใช้รถหลบหนี โดยจำเลยที่ 1 รู้มาแต่แรกว่าคนร้ายให้ขับรถไปเพื่อฆ่าผู้อื่น แล้วจำเลยที่ 1 ขับรถพาคนร้ายไปจอดรถที่ถนนหน้าร้านผู้ตาย ติดเครื่องรออยู่ ให้คนร้ายลงจากรถไปใช้อาวุธปืนยิงเร็วยิงผู้ตายกับพวกประมาณ 50 คนที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่ แล้วคนร้ายกลับมาขึ้นรถ จำเลยที่ 1 ขับรถพาคนร้ายหลบหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำความผิดที่ร่วมกันไปฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3205/2536 จำเลยที่ 1 จอดรถรอรับ อยู่ห่างที่เกิดเหตุ ไม่เห็น หรืออาจช่วยเหลือในขณะจำเลยที่ 2 –3 ยิงผู้ตายได้ ไม่เป็นตัวการ เป็นเพียงผู้สนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 625/2543 การที่จำเลยที่ 2 เพียงแต่ส่งมีดพร้า ให้จำเลยที่ 1 โดยมิได้เข้าร่วมใช้มีดพร้าฟันทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เสีย เอง จึงถือไม่ได้ว่ามีเจตนาเป็นตัวการร่วม แต่มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือ การที่จำเลยที่ 1 ถืออาวุธปืนสั้นมายังที่เกิดเหตุโดยจำเลยที่ 2 ถือ มีดพร้ามาด้วยนั้น พฤติการณ์พอถือได้ว่า ต่างคนต่างเจตนาจะครอบครองอาวุธของตนเองโดยลำพัง จำเลยที่ 2 จึงมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนดังกล่าว มาทำร้ายและพยายามฆ่า ผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนฐาน พยายามฆ่า

- ประเด็นเปรียบเทียบระหว่าง ตัวการกับผู้สนับสนุน ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2154/2516 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมปรึกษาหารือกับจำเลยที่ 3 เพื่อจะไปลักกระบือ แล้ววางแผนให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.ไปซุ่มรอรับกระบือที่หัวทุ่ง จำเลยที่ 3 กับพวกไปต้อนกระบือของผู้เสียหายมาส่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.สถานที่ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.รอรับกระบือกับสถานที่ที่จำเลยที่ 3 และพวกไปต้อนกระบือนั้น อยู่ไกลกันมาก จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะร่วมมือกับจำเลยที่ 3 ขณะจำเลยที่ 3 กับพวกกระทำการลักกระบือ อันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นตัวการ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ส่งเสริม อันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 3 กับพวกในการที่จะไปลักกระบือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นผู้สนับสนุนก่อนกระทำผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1124/2519 จำเลยร่วมคิดวางแผนกับพวก จำเลยจอดรถยนต์ห่างที่เกิดเหตุ 80 เมตร มีศาลาบังมองไม่เห็น พวกจำเลยวิ่งราวทรัพย์แล้ววิ่งมาขึ้นรถหนีไปตามแผน จำเลยเป็นผู้สนับสนุน รถยนต์ไม่ได้ใช้กระทำผิด ไม่ริบ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1840/2519 คนร้ายเข้าขู่บังคับเอาทรัพย์ในร้านขายของใส่กระสอบและคุมตัวผู้เสียหายไป จำเลยคอยอยู่ห่างร้าน 3 เส้น รับของแบกต่อไป จำเลยเป็นผู้สนับสนุนการปล้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2020/2519 คนร้าย 2 คนออกจากป่ามาแก้กระบือที่ผู้เสียหายผูกไว้หน้ากระท่อม ขู่ผู้เสียหายแล้วจูงกระบือไปสมทบกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยืนอยู่ชายป่าห่าง 1 เส้น ไล่ต้อนกระบือไปด้วยกัน เป็นการวางแผนแบ่งหน้าที่กันทำ ทั้ง3 คนเป็นตัวการปล้นทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 393/2520 ม.ดึงสร้อยคอของ ป. ป.รู้ตัวก่อนได้จับสายสร้อยไว้สายสร้อย ขาดติดมือ ป.อยู่ ม.เอาไปไม่ได้ ม.วิ่งหนีไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยติดเครื่องจอดรถอยู่เยื้องที่เกิดเหตุขับหนีไป เป็นแผนการณ์ที่จำเลยกับ ม.ร่วมกันวางไว้ เป็นตัวการพยายามวิ่งราวทรัพย์ โดยใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะ ตาม ป.อ. ม.80, 336, 336 ทวิ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 690/2521 ช.คนประจำรถที่บรรทุกถุงพลาสติก ส่งถุงพลาสติก 6 ถุงให้จำเลยรับทางท้ายรถบรรทุก เป็นการที่ ช.ลักทรัพย์สำเร็จแล้วตั้งแต่ยกถุงออกจากที่เก็บ จำเลยมิได้ร่วมลักทรัพย์ด้วย จำเลยมีความผิดฐานรับของโจร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1453/2522 จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์ จำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายขับชลอตามรถจักรยานที่ผู้เสียหายขี่ จำเลยที่ 2 กระชากแขนผู้เสียหายล้มลง แล้วลงจากรถ บีบคอกระชากสร้อยคอของผู้เสียหาย กลับไปขึ้นรถที่จำเลยที่ 1 จอดติดเครื่องรออยู่ บริเวณที่เกิดเหตุออกรถหนีย้อนกลับทางเดิมไปทันที จำเลยแบ่งหน้าที่กันทำเป็นตัวการชิงทรัพย์ทั้ง 2 คน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1732/2522 จำเลยรับเอาแผนการปล้นโดยนำรถบรรทุกสินค้าไปหยุด ณ ที่กำหนด ให้พวกปล้นเอารถและสินค้าไป ไม่มีพฤติการณ์อื่นว่าจำเลยร่วมกระทำในขณะปล้น จึงเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2663/2522 จำเลยที่ 1 ได้ใช้รถคอยช่วยเหลือพวกที่กำลังปล้น รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 กับพวกใช้ในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ศาลมีอำนาจสั่งริบ จำเลยที่ 1 ขับรถแล่นขึ้นล่องไปมาในท้องที่เกิดเหตุ ก่อนเกิดเหตุและขับรถตามหลัง แล้วแซงขึ้นหน้ารถโดยสารคันที่ถูกปล้น เพื่อคอยช่วยเหลือจำเลยอื่นขณะทำการปล้นอยู่ในรถ ทั้งเพื่อคอยรับพาหลบหนีหลังจากการปล้นทรัพย์เสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด มิใช่เป็นตัวการร่วมปล้นทรัพย์ด้วยโดยการแบ่งหน้าที่กันทำ เพราะมิได้มาในรถโดยสารและร่วมปล้นด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1389/2526 จำเลยมิได้มีส่วนรู้เห็น และร่วมวางแผนแบ่งหน้าที่กันทำในการปล้นทรัพย์ ไม่พอฟังว่าเป็นตัวการด้วย แต่การช่วยยืมเรือ และรับส่งคนเป็นจำนวนมากนับสิบซึ่งมีอาวุธปืนนานาชนิด พาไปพักแรมระหว่างทาง 1 คนรุ่งขึ้นเดินทางต่อ เมื่อส่งคนขึ้นฝั่งแล้วยังคงคอยรับกลับพาขึ้นฝั่ง แล้วหลบหนีไปด้วยกัน แสดงว่าจำเลยรู้พฤติการณ์ของคนร้ายน่าจะหาทางหลีกเลี่ยง ถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่คนร้าย จึงเป็นผู้สนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3985/2530 จำเลยที่ 2 ขับรถสามล้อเครื่องพาจำเลยที่ 1 มายังที่เกิดเหตุขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังลักทรัพย์ในร้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จอดรถอยู่บริเวณหน้าร้านผู้เสียหายห่างประมาณ 6 - 7 เมตร และนั่งอยู่เฉย ๆ ข้างรถสามล้อเครื่องมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเอาทรัพย์ผู้เสียหายไป มิได้คอยดูต้นทางให้จำเลยที่ 1 หรือให้ความร่วมมือ โดยใกล้ชิดกับการที่จำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 เพียงแต่รอคอยอยู่เพื่อจะขับรถพาจำเลยที่ 1 ออกไปจากที่เกิดเหตุ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนและขณะกระทำผิด จำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3116/2537 จำเลยที่ 2 ร่วมคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาก่อนเกิดเหตุเพื่อที่จะมากระทำผิด โดยเขียนแผนที่เพื่อประโยชน์ในการเข้ากระทำผิดและหลบหนี และขณะที่ และที่ 3 กระทำผิดฐานชิงทรัพย์ จำเลยที่ 2 รออยู่ณ ที่ตามที่นัดหมายกันไว้ พร้อมกับมีรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 3 หลังจากได้กระทำความผิดสำเร็จ และขาดตอนไปแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 รออยู่ในที่ ๆ ใกล้ชิดเพียงพอที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในขณะกระทำผิดได้ ไม่พอฟังว่าเป็นการร่วมเป็นตัวการในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 3 ก่อนการกระทำผิด จำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ / จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปในบ้านผู้ตาย ผู้ตายเรียก ช. เข้าไปในบ้านจำเลยที่ 3 เอาวิทยุโทรศัพท์มือถือของผู้ตายยื่นให้ ช.นำไปมอบแก่ภริยาผู้ตาย ช. ไม่ยอมรับ จำเลยที่ 1 ดึงมือ ช. พาเข้าไปยืนที่หน้าโต๊ะทำงานของผู้ตาย จำเลยที่ 3 สั่งให้ผู้ตายส่งลูกกุญแจให้แล้วจำเลยที่ 3 ส่งกุญแจต่อให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไปเปิดลิ้นชักโต๊ะทำงานของผู้ตายเอาเงินสดไป ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 เตะปลายคาง ช.และชักอาวุธปืนสั้นออกมายิงผู้ตาย1 นัด แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 3 เดินออกไปขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้าย พากันหลบหนีไป ดังนี้ การกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์กับการฆ่าผู้ตายได้กระทำต่อเนื่องกันไป อันเป็นการฆ่าเพื่อสะดวกในการชิงทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไป ทั้งเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงเป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท

- คำพิพากษาฎีกาที่ 47/2538 จำเลยทั้งสี่กับพวกมาด้วยกันและหลบหนีไปด้วยกัน แม้จำเลยทุกคนจะไม่ได้ลงมือยิง และพวกของจำเลยคนอื่นเอาทรัพย์สินของผู้ตายกับผู้เสียหายไป แต่ก็มีจำเลยที่ 1 รวมอยู่ในกลุ่มคนร้ายที่เข้ามาในบ้าน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถพาคนร้ายมาและพาคนร้ายหลบหนี จำเลยที่ 3 ใช้ปืนจี้บังคับ จ. ไว้ และจำเลยที่ 4 รวมอยู่ในกลุ่มคนร้ายที่หน้าบ้านขณะเกิดเหตุ เป็นการคุมเชิงอยู่ใกล้ ๆ ในลักษณะที่พร้อมช่วยเหลือกันได้ทันที เป็นลักษณะการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือได้ว่าร่วมกระทำผิดด้วยกัน

- ประเด็นเปรียบเทียบระหว่าง ตัวการกับผู้สนับสนุน ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายพิเศษ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1904/2517 จำเลยใช้ให้ผู้อื่นนำช้างไปชักลากไม้หวงห้าม โดยจำเลยไม่ได้ไปร่วมทำการชักลากไม้ด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีไม้ดังกล่าวไว้ในความครอบครอง อันจะต้องได้รับอนุญาต จำเลยไม่มีความผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในความครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ แต่จำเลยรู้ว่าไม้ดังกล่าวเป็นไม้หวงห้าม จำเลยจึงเป็นผู้ใช้ให้ชักลากไม้ (ทำไม้) หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมทำการชักลากไม้ จึงลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิดไม่ได้ คงลงโทษได้เพียง ฐานเป็นผู้สนับสนุนกระทำความผิดตาม มาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1948/2522 จำเลยที่ 1 ฉีดเฮโรอีนให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ ฐานมีและเสพเฮโรอีน จำเลยที่ 1 เป็นผู้สนับสนุนให้เสพเฮโรอีน ไม่ใช่ตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2860/2527 จำเลยทราบว่าไม้หวงห้ามของกลางเป็นไม้ที่มีคนลักลอบตัด แต่มิได้เป็นเจ้าของไม้ของกลาง เพียงแต่รับจ้างเฝ้าเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับค่าจ้างเท่านั้นและจำเลยถูกจับขณะที่เฝ้าไม้ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีไม้ของกลางไว้ในความครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ แต่เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่นายจ้าง ซึ่งเป็นผู้มีไว้ในความครอบครอง จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ.ม.86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2897/2528 ความผิดฐานเสพฝิ่นนั้น กฎหมายประสงค์ลงโทษผู้เสพรับเข้าร่างกายเท่านั้น ลักษณะความผิดไม่เปิดช่องให้ผู้อื่นมาร่วมกระทำความผิดด้วยกันได้การที่จำเลยช่วยเหลือ ก.โดยใช้เหล็กแหลมแยงรูกล้องสูบฝิ่นขณะ ก.กำลังเสพฝิ่นกับ ก. แต่การกระทำของจำเลย เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ก. ในการเสพฝิ่น จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ก. ในการกระทำความผิดฐานเสพฝิ่น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1831/2529 ศ.ยิงผู้อื่นแล้ววิ่งหนีมาขึ้นซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของกลาง ที่จำเลยนั่งคร่อมในที่นั่งคนขับและจอดไว้ข้างที่เกิดเหตุ ศ.กับคนร้าย ที่อยู่ในรถยนต์ปิคอัพ ซึ่งจอดอยู่ใกล้รถจักรยานยนต์ ยิงต่อสู้กับตำรวจที่วิ่งไล่ตาม เพื่อจับกุม เมื่อ ศ.ถูกยิงล้มลง จำเลยทิ้งรถจักรยานยนต์วิ่งไปขึ้นรถยนต์ปิคอัพหลบหนีไป ดังนี้ จำเลยกับ ศ.และพวกหลบหนีไปได้ร่วมกันวางแผนฆ่ามา แต่ต้นโดยตลอด โดยจำเลยรับหน้าที่คอยพา ศ.หลบหนีไปหลังจากที่กระทำการฆ่าผู้อื่นบรรลุผลสำเร็จแล้ว จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกระทำผิดด้วย มีความผิดตาม ป.อ. ม.288, 83

- คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2530 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของอาวุธปืน จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ติดต่อพาผู้ซื้อไปซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยตรง การเจรจาต่อรองราคา และการจะขายอาวุธปืนหรือไม่ อยู่ที่การตัดสินใจของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนร่วมด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 2 อาจจะได้ผลประโยชน์จากการขายอาวุธปืนของกลางก็ตาม พฤติการณ์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายอาวุธปืน จำเลยที่ 2 คงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 จำหน่ายอาวุธปืนเท่านั้น

- กฎหมายพิเศษ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1684/2521 กระทำผิดด้วยกันตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ม.14 (1) มีความหมายกว้างกว่าร่วมกันกระทำตาม ป.อ.ม. 83 พลเรือนกับทหารวิวาททำร้ายกันและกัน ก็เป็นการกระทำผิดด้วยกัน ซึ่งศาลพลเรือนพิจารณาพิพากษาตาม ม.14 (1)

- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 83

- (ขส เน 2511/ 8) จัน เติม และเงิน รวมสามคนร่วมกัน เพื่อไปทำร้ายนายบัว แต่นายปั่นลงมาห้าม / จันจึงชกนายปั่น 1 ที ไม่ถึงบาดเจ็บ / เติมใช้สนับมือ ชกนายปั่น 1 ที หน้าแตก รักษา 7 วัน / เงินฟันนายปัน 1 ที แขนขาด แล้วแยกย้ายกันหลบหนี / คนชก ผิด ม 391 / คนใช้สนับมือชก ผิด ม 295 / คนใช้มีดฟัน ผิด ม 297 เพราะร่วมกันไปทำร้ายนายบัว ไม่ใช่นายปัน / การทำร้ายนายปัน เกิดขึ้นในขณะนั้น โดยทั้งสามคนไม่ได้ร่วมกันกระทำ จึงรับผิดเฉพาะการกระทำของตน (ไม่ต้องร่วมกันรับผิดฐานตัวการ)

- (ขส พ 2498/ 9) ตัวการตามกฎหมายลักษณะอาญา คือ (อธิบายหลักของการสมคบ") คบคิดกันมาถึงจุดแห่งความประสงค์ ตั้งแต่ชั้นต้นแล้วแบ่งแยกหน้าที่กันทำ หรือได้มีการร่วมมือในการกระทำ / ก ข ค ยืนดูหมอลำร่วมกัน ง เดินมา ก ใช้อาวุธทำร้าย แล้วทุกคนหนีไปด้วยกัน ไม่พอฟังว่าเป็นสมคบ / ก ทำร้าย ง ส่วน ข ค ขัดขวางไม่ให้พวกของ ง เข้าช่วยและจับ ก ฟังได้ว่าสมคบกันมาแต่แรก และแบ่งแยกหน้าที่กัน หรือหากฟังว่า เกิดเจตนาภายหลัง ที่จะป้องกันไม่ให้เหตุลุกลาม ก็ไม่ผิด

- (ขส พ 2528/ 8) จำเลยที่ 1 ชักปืนเจตนายิงตำรวจ แต่ขณะกระชากลูกเลื่อนถูกขัดขวาง ยังไม่ถึงขั้นลงมือ ไม่ผิด ม 80,288 แต่ผิด ม 140 ว ท้าย ฎ 1120/2517 / จำเลยที่ 2 นำกระสุนด้านมาใช้ยิง กระสุนด้านอีก เป็นเหตุบังเอิญ หาใช่แน่แท้ว่าจะไม่ทำให้เกิดอันตราย ผิด ม 140 ว ท้าย และผิด ม 80,289 ฎ 783/2513 เหตุเกิดกระทันหัน ไม่มีพฤติการณ์เป็นตัวการ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามจำเลยที่ 2

- (ขส พ 2529/ 7) ก ข แดง ดำ สมัครใจวิวาท แดงใช้ไม้ซีกตี ก ทีเดียว ก ตาย / ทุกคนผิด ม 294 แดงต้องรับผลที่ตนทำ แต่ยังไม่พอฟังว่า มีเจตนาฆ่า แดง ผิด ม 294+290 505/2504 1064/2519 / สมบอกให้สมชายขว้างอิฐไปที่ ข และ ดำ ตีกัน สมชาย ตรงไปที่ ข และดำ ตีกัน แล้วขว้างอิฐไปตรงที่วิวาท ทำให้บาดเจ็บ ผิด ม 295 / สมใจผู้ใช้ให้สมชายขว้าง ผิด ม 295+84

- (ขส พ 2529/ 9) สมัครกระชากข้อมือให้หญิงกลับไปอยู่กินด้วย สร้อยติดมือมา ผิด ม 335 (1) (7) เจตนาลักทรัพย์ภายหลังยึดถือทรัพย์แล้ว ส่วนการใช้ปืนขู่เพื่อให้กลับไปอยู่กินร่วมกัน ไม่ใช่ประสงค์ต่อทรัพย์ ไม่ผิด ม 339 2767/2512 / เสมอ ไปฉุดหญิงกับสมัคร ไม่ผิดลักทรัพย์ เพราะไม่มีเจตนาร่วม ฎ 131/2515 / สมัครและเสมอ ร่วมกัน ฉุดหญิง และสมัครชำเรา ผิด ม 284 + 309 2 + 83 และ ม 276 + 83 และฆ่าผู้เข้าช่วย ผิด ม 289 (6) 975/2508 / ผิด พรบ อาวุธปืน และ ปอ ม 371 ด้วย

- (ขส อ 2519/ 9) นายจ้างได้เสียกับคนใช้ ขู่ว่าถ้าไม่รีดลูกออกจะเลิกจ้าง คนใช้ผิด ม 301+80+304 / นายจ้างผิด ม 84 รับโทษเหมือนตัวการ ไม่ต้องรับโทษเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี ม 89

- (ขส อ 2526/ 3) จิ๋วจ้างใหญ่ฆ่าเล็ก วันฆ่า ใหญ่ไม่สบายให้โตกับเบิ้มไปแทน โตขับรถให้ถึงบ้านแล้วจอดคอย เบิ้มยิงเล็ก 1 นัด สาหัส และถูกตำรวจตาย / เบิ้มโต พยายามฆ่าเล็ก ผิด ม 289 (4)+80 กระสุนถูกตำรวจ ผิด ม 289 (4) +60 ไม่ผิด ม 289 (2) ตาม ม 60 ตอนท้าย กรรมเดียว / ใหญ่เป็นผู้ใช้ ผิด ม 84 รับโทษเสมือนตัวการ / จิ๋วเป็นผู้ใช้ผิดเหมือนใหญ่

(ขส อ 2542/ 5) 5 คน วางแผนลักขนุน 2 คนเจอตำรวจ เลิก / 3 คนลัก หนีไปคนหนึ่ง อีกสองคนกำลังมัดปากถุง ผิด ม 210+335(1) (7) + 80 ยังไม่ผิดสำเร็จ ตราบที่ยังไม่ได้เก็บ และยึดถือขนุนที่หลุด ไว้ในครอบครอง / 2 คนแรกผิด ม 213 + 83

ไม่มีความคิดเห็น: